Author Topic: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย  (Read 77322 times)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #240 on: พฤษภาคม 10, 2022, 08:50:28 pm »
239.วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ(จังหวัดสุโขทัย)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด : ราชวรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ศรีสัชนาลัย
เขต/อำเภอ : ศรีสัชนาลัย
จังหวัด : สุโขทัย
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 17.42954, 99.8122


***เปิดตลอด

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดโบราณ เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าข้าศึกโจมตี ได้ถูกข้าศึกเอาไฟเผาผลาญถึง 3 ครั้ง คือ ในปี พ.ศ. 2310, พ.ศ. 2313 และ พ.ศ. 2328 จึงกลายเป็นวัดร้างตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนถึงปี พ.ศ. 2497 จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างขึ้นใหม่โดยพระมุนินทรานุวัตต์ เป็นเจ้าอาวาส

วัดนี้เดิมมีหลายชื่อ เช่น วัดพระบรมธาตุ วัดมหาธาตุ และวัดพระพุทธปรางค์ แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดพระปรางค์" หรือ "วัดพระร่วง" และเมื่อปี พ.ศ. 2497 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ" ได้รับยกฐานนะเป็นพระอารามหลวง เมื่อ ปี พ.ศ. 2501

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


« Last Edit: มิถุนายน 10, 2022, 10:46:39 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #241 on: พฤษภาคม 10, 2022, 08:51:50 pm »
240.วัดหนองโว้ง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เมืองบางยม
เขต/อำเภอ : สวรรคโลก
จังหวัด : สุโขทัย
พ.ศ.ที่สร้าง : สร้างสมัยสุโขทัย
พิกัด : 17.20000, 99.86495

***หลวงพี่เปิดให้

วัดหนองโว้ง สร้างสมัยสุโขทัยไม่ปรากฏหลักฐานนามผู้สร้าง ภายหลังเป็นสำนักสงฆ์หรือเป็นวัดป่าสำหรับเผาศพและฝังศพ เพราะบริเวณด้านเหนือวัดประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งศาลเมืองบางยม ปัจจุบันศาลเมืองบางยมได้ถูกแม่น้ำยมเซาะพังทลาย ตามประวัติเดิม สมัยโบราณด้านหน้าวัดหันเข้าหาแม่น้ำยม เพราะเส้นทางคมนาคม ชาวมอญซึ่งมีอาชีพขายเครื่องปั่นดินเผามาขายตามลำน้ำยมและได้จอดเรือพักอาศัยในบริเวณวัด นำโอ่งมาขายในวัดเป็นจำนวนมากจนกระทั่งชาวบ้านเรียกว่า "วัดหนองโอ่ง" ต่อมาภายหลังแม่น้ำยมได้เซาะตลิ่งพังเป็นรูปเว้าโค้ง ซึ่งภาษาพื้นบ้านเรียกความเว้าโค้งว่า "โว้ง" จึงพากันเรียกชื่อวัดว่า "วัดหนองโว้ง" วัดหนองโว้ง เป็นวัดที่เจ้าเมืองบางยมอุปถัมภ์ต่อกันมาโดยตลอด

ปี พ.ศ.2533 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โปรดพระราชทานนามว่า "วัดวาปีวงการาม" ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2536

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: มิถุนายน 11, 2022, 06:55:31 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #242 on: พฤษภาคม 10, 2022, 08:52:51 pm »
241.วัดสว่างอารมณ์(จังหวัดสุโขทัย)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เมืองสวรรคโลก
เขต/อำเภอ : สวรรคโลก
จังหวัด : สุโขทัย
พ.ศ.ที่สร้าง : สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเมื่อปี พ.ศ.2328
พิกัด : 17.31272, 99.82887


***เปิดตลอด

วัดสว่างอารมณ์ สร้างขึ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเมื่อปี พ.ศ.2328 พระยาวิชิตภักดีศรีสุรสงครามรามราชแสนยาธิบดีศรีสัชนาลัยอภัยพิริยะพาหะ(ชื่อเดิม "นาค") ต้นสกุลวิชิตนาค ผู้ครองเมืองสวรรคโลก เป็นผู้มีจิตศรัทธาสร้างขึ้น โดยมอบถวายที่ดินถึง 42 ไร่ให้เป็นที่ตั้งวัดและบริจาคจวนหรือเรือพักให้เป็นเสนาสนะสงฆ์ ชาวบ้านเรียกว่า "วัดจวน"

ต่อมาได้เปลี่ยนนามวัดว่า "วัดสว่างอารมณ์" เนื่องมาจากชื่อหมู่บ้านสว่างอารมณ์ ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร หมู่บ้านนี้เป็นที่เกิดและที่อยู่เดิมของพระยาวิชิตภักดี(นาค) ก่อนมารับราชการที่เมืองสวรรคโลก จึงได้นำชื่อหมู่บ้านเดิมมาตั้งชื่อวัด ต่อมาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์และก่อสร้างเพิ่มเติมจากเจ้าเมืองสวรรคโลกคนต่อๆ มา และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2501

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

« Last Edit: มิถุนายน 12, 2022, 08:34:46 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #243 on: พฤษภาคม 10, 2022, 08:53:53 pm »
242.วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ศรีนคร
เขต/อำเภอ : ศรีนคร
จังหวัด : สุโขทัย
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 17.34823, 99.97989


***เปิดตลอดงับประตูไว้เฉยๆ หมามันจะเข้าไป

วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม เป็นพระอารามหลวงแห่งล่าสุดของจังหวัดสุโขทัย โดยเพิ่งจะได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อกลางปี พ.ศ. 2555 นี้เอง มีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางชุมชนของชาวอำเภอศรีนคร และเป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อหล้า" ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้าน และเป็นสิ่งคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอศรีนคร (หาประวัติไม่ได้เลยตอนนี้)

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน
« Last Edit: มิถุนายน 14, 2022, 08:34:36 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #244 on: พฤษภาคม 10, 2022, 08:55:56 pm »
243.วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ(จังหวัดพิษณุโลก)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก   
ชนิด : วรมหาวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมือง   
จังหวัด : พิษณุโลก   
พ.ศ.ที่สร้าง : สมัยกรุงสุโขทัย
พิกัด : 16.82378, 100.26206


***เปิดตลอด

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นวัดโบราณ มีหลักฐานพงศาวดารยืนยันว่าพระมหาธรรมราชาลิไท(พญาลิไทย) แห่งกรุงสุโขทัยสร้าง มีหลักฐานแสดงสถานที่ซึ่งได้หล่อพระพุทธรูปสำคัญ 3 องค์ คือ พระชินสีห์ พระศาสดา และพระพุทธชินราช นั่นคือพระวิหารน้อยในระหว่างต้นพระศรีมหาโพธิ์ทั้ง 3 ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์น้อย(พระพุทธรูปน้อย) นามว่าพระเหลือกับพระสาวกทั้งสอง

พระมหากษัตริย์ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ต่อมาตามหลักฐานคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรฐ(เอกาทศรถ) สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ(บรมโกษฐ์) แห่งกรุงศรีอยุธยาพร้อมด้วยเจ้าเมืองขุนนางข้าราชบริพารรวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระวิหารรวมทั้งเสนาสนะและอื่นๆ ทั่วไปตลอดรัชกาล ต่อจากนั้นเจ้าเมืองพิษณุโลก พระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการ ประชาชน ราษฏรทุกชั้นทุกวัยมีจิตศรัทธาทำการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระวิหารรวมทั้งเสนาสนะและอื่นๆ ทั่วไปตลอดรัชกาล ต่อจากนั้นทำการบูรณปฏิสังขรณ์ก่อสร้างสิ่งต่างๆ ด้วยดีตลอดมา

ในรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะของวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก เมื่อปี พ.ศ.2458 และเป็นพระอารามหลวงแห่งเดียวในพิษณุโลก เป็นวัดสำคัญที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์งดงามเป็นที่เคารพนับถือของพี่น้องชาวไทยทั่วประเทศ

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน

เพิ่มเติม

https://mgronline.com/travel/detail/9640000081083
« Last Edit: มิถุนายน 15, 2022, 09:25:15 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #245 on: พฤษภาคม 10, 2022, 08:58:18 pm »
244.วัดท่าหลวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองพิจิตร   
จังหวัด : พิจิตร   
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ. 2388 สร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พิกัด : 16.44114, 100.35175


***เปิดตลอด

วัดท่าหลวง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2388 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นมีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน มีพระนามว่า "หลวงพ่อเพชร" หล่อด้วยทองคำสำริดพุทธลักษณะงดงามมาก หน้าตักกว้าง 1.4 เมตร สูง 1.60 เมตร เดิมเรียกว่า "วัดราษฎร์ประดิษฐาราม" ต่อมาเรียก "วัดราชดิษฐาราม" และปัจจุบัน "วัดท่าหลวง" ซึ่งเป็นหมู่บ้านเดิมที่วัดนี้ตั้งอยู่ เคยเป็นชื่อตำบลและอำเภอมาก่อนด้วย ภายหลังเมื่อปี พ.ศ. 2481 อำเภอท่าหลวงได้เปลี่ยนเป็นอำเภอเมืองพิจิตร ทางราชการเคยใช้สถานที่วัดนี้ในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเป็นประจำ  วัดท่าหลวงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงเมื่อ พ.ศ.2529

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: มิถุนายน 17, 2022, 03:38:43 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #246 on: พฤษภาคม 10, 2022, 09:00:27 pm »
245.วัดมงคลทับคล้อ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ทับคล้อ
เขต/อำเภอ : ทับคล้อ
จังหวัด : พิจิตร   
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 16.16724, 100.5772


***หลวงพี่เปิดให้

วัดมงคลทับคล้อ ก่อสร้างเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เท่าที่ทราบมีว่านายแพงกับนายเม้งยกที่ดินให้สร้างวัดก่อน พ.ศ.2480 ต่อมาได้ประกาศเป็นวัดใน พ.ศ.2482 วัดเจริญขึ้นเพราะได้เจ้าอาวาสที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาวัดจากวัดสำคัญในพิจิตรและกรุงเทพฯ จากวัดเล็กๆ กลายเป็นวัดใหญ่ มีความสำคัญด้านการศึกษาพระศาสนาพระปริยัติธรรม(นักธรรมและบาลี) มาตั้งแต่ พ.ศ.2488 ในนามของวัดท่ามงคล จนถึง พ.ศ. 2491 จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดมงคลทับคล้อตั้งแต่นั้นมา

วัดมงคลทับคล้อเจริญรวดเร็วมากในระยะหลัง ทั้งด้านการก่อสร้างปูชนียวัตถุ ศาสนสถาน เสนาสนะ และการศึกษาด้านปริยัติธรรมเจ้าอาวาสเป็นพระครูชั้นพิเศษ พระราชาคณะชั้นสูง(ชั้นเทพ) ซึ่งนับว่าหาได้ยากสำหรับพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญเล็กๆ ในต่างจังหวัดเช่นนี้

ในด้านสาธารณะประโยชน์ได้ช่วยให้การศึกษาแก่เยาวชน มีการจัดอบรมภาคฤดูร้อนเป็นประจำทุกปี สนับสนุนในการสร้างโรงพยาบาลจัดตั้งทุนการศึกษาของนักเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษา มีกองทุนสงเคราะห์ประชาชนที่ประสบภัยต่างๆ ได้จัดกิจกรรมอันเป็นประโยชน์อำนวยความสะดวกแก่ส่วนราชการและเอกชนที่มาขอใช้สถานที่วัดจัดประชุม อบรม และสัมมนาต่างๆ เป็นต้น

วัดมงคลทับคล้อ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงในปี พ.ศ. 2539

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
« Last Edit: มิถุนายน 17, 2022, 04:01:13 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #247 on: พฤษภาคม 17, 2022, 07:58:33 pm »
246.วัดพระธาตุดอยสุเทพ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด : ราชวรวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : สุเทพ
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ. 1929
พิกัด : 18.80498, 98.92163

***ปิดเฉพาะวันพระใหญ่ ตอนตีห้า

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคล เพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้งพร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบแล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหินแล้วก่อพระเจดีย์ สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้ จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการ สวมรองเท้าในบริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น

ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯ ให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิมเป็น กว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งใช้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำราชโอรส ได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ

ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูน ได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้งสองข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร

ระหว่างทางขึ้นไปวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ แวะสักการะอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เพื่อเป็นศิริมงคล จากนั้นพักผ่อนหย่อนใจกับธรรมชาติอันสวยงามที่น้ำตกมณฑาธารซึ่งมีความสูงถึง 9 ชั้น แวะเยี่ยชมวัดผาลาดอนุสรณ์สถานแห่งการเสี่ยงทาย สถานที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ ตามตำนานสร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพ แวะถ่ายรูปและชมทัศนียภาพอันสวยงามของเมืองเชียงใหม่จากมุมสูง ที่จุดชมวิวสูงสุด ก่อนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ

ที่มา : ป้ายในวัด


พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะทรงไทย หลังคาลด 2 ชั้น มุงกระเบื้องหน้าบันลายปูนปั้น ลงรักปิดทอง ผนังภายในมีจิตกรรมเขียนภาพเล่าประวัติพระธาตุดอยสุเทพ พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเททองหล่อเมื่อวันเพ็ญมาฆบูชา 5 มีนาคม พ.ศ. 2501

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

« Last Edit: พฤษภาคม 23, 2022, 09:07:12 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #248 on: พฤษภาคม 17, 2022, 08:52:45 pm »
247.วัดพระสิงห์(จังหวัดเชียงราย)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เวียง   
เขต/อำเภอ : เมืองเชียงราย
จังหวัด : เชียงราย   
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 19.91135, 99.83052

***เปิดตลอด

วัดพระสิงห์ เป็นพระอารามหลวงแต่โบราณกาล และเป็นศาสนสถานอันเป็นศูนย์รวมใจของชาวเชียงรายอย่างยาวนาน มูลเหตุที่ได้ชื่อว่าวัดพระสิงห์ นั้นเชื่อกันว่า น่าจะมากจากการที่ครั้งหนึ่ง วัดนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของใทยในปัจจุบัน คือ พระพุทธสิหิงค์ หรือที่เรียกกันในชื่อสามัญว่า "พระสิงห์"

พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านนาไทย พุทธศตวรรษที่ 21 มีพุทธลักษณะสง่างาม อย่างยากที่จะหาพระพุทธรูปในสมัยเดียวกันมาทัดเทียมได้ หน้าตักกว้าง 37 ซม. สูงทั้งฐาน 66 ซม. ชนิดสำริดปิดทอง ประดิษฐานอยู่บนบุษบกภายในกุฏิเจ้าอาวาส ชาวเชียงรายและประเทศใกล้เคียงในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ถือว่า พระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปที่ทรงความสำคัญ และทรงความศักดิ์สิทธิ์มีมหิทธานุภาพสามารถยังความสงบร่มเย็น และเป็นมิ่งขวัญของชาวประชามาทุกยุคทุกสมัย จนกล่าวกันว่า พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ คือ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเชียงราย และประเทศใกล้เคียง

ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุที่สำคัญของวัดได้แก่

พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธปฏิมาศิลปะล้านนาไทย พุทธศตวรรษที่ 21 ปางมารวิชัย ชนิดสำริดปิดทอง หน้าตักกว้าง 204 ซม. สูงทั้งฐาน 284 ซม. ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถมีพุทธลักษณะสง่างาม ประณีต

บานประตูหลวง ทำด้วยไม้แกะสลักจิตกรรมอย่างประณีตวิจิตรบรรจง เป็นปริศนาธรรมระดับปรมัตถ์ เป็นเรื่องราวของ ดิน น้ำ ลม ไฟ อันหมายถึง ธาตุทั้ง 4 ที่มีอยู่ในร่างกายคนเราทุกคน

พระเจดีย์ เป็นพุทธศิลป์แบบล้านนาไทย สร้างในสมัยเดียวกันกับพระอุโบสถ ได้รับการบูรณะปฏิสังขรหลายครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2492 ครั้งหนึ่งโดยท่านพระครูปสิกขาลังการ เจ้าอาวาสในขณะนั้น และอีกหลายครั้งในสมัยต่อมาโดยท่านเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

พระพุทธบาทจำลองบนแผ่นศิลาทราย มีขนาดกว้าง 60 ซม. ยาว 150 ซม. มีจารึกอักษรขอมโบราณว่า "กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพยากตา ธมฺมา"

หอระฆัง เป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัยแบบล้านนาไทยประยุกต์ มีระฆังเป็นแบบใบระกาหล่อด้วยทองเหลืองทั้งแท่ง ซึ่งหาดูได้ยากมากในปัจจุบัน ขนาดความสูง 25 นิ้ว ยาว 39 นิ้ว หนา 1 นิ้ว ขุดพบบริเวณวัดพระสิงห์เมื่อ พ.ศ. 2438 ปัจจุบันชั้นล่างใช้เป็นหอกลอง

ต้นพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา นำมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 19 กรกฏาคม พ.ศ. 2506 และปลูกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2506 ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นไม้มงคลเนื่องในพระพุทธศาสนา ในฐานที่เป็นต้นไม้ซึ่งพระโพธิสัตว์ลาดบัลลังก์ประทับในคืนก่อนตรัสรู้

ต้นสาละลังกา เป็นไม้มงคลเนื่องในพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ คือ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับสำเร็จสีหไสยาสน์เป็นครั้งสุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานสมเด็จพระพุทธชินวงศ์นำมาจากประเทศศรีลังกา และมาปลูกไว้ที่วัดพระสิงห์เมื่อ พ.ศ. 2512

ที่มา : ป้ายในวัด
« Last Edit: พฤษภาคม 19, 2022, 12:54:51 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #249 on: พฤษภาคม 17, 2022, 08:53:39 pm »
248.วัดเจ็ดยอด(จังหวัดเชียงราย)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เวียง   
เขต/อำเภอ : เมืองเชียงราย
จังหวัด : เชียงราย   
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 19.90362, 99.83097

***เปิดตลอด

วัดเจ็ดยอดเป็นวัดเก่าแก่ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จากซากวัดโบราณ ซึ่งไม่มีหลักฐานทั้งชื่อวัด และผู้สร้าง วันที่สร้าง แต่เชื่อกันว่าสร้างในสมัยอาณาจักรล้านนา เพราะในบริเวณใกล้เคียงมีวัดที่สร้างในสมัยพระเจ้าเม็งราย เช่น วัดพระแก้ว วัดพระสิงห์ เป็นต้น

การสร้างวัดและพระเจดีย์ในวัดเจ็ดยอดสร้างตามวัดเจ็ดยอดที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยพระธาตุเจ็ดยอด เป็นพระเจดีย์เจ็ดองค์อยู่บนฐานเดียว ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว พระเจดีย์องค์ใหญ่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยพระเจดีย์ขนาดเล็กอีก 6 องค์ พระเจดีย์ทั้งหมดเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ทาสีขาว ตั้งแต่ช่วงบัวปากระฆังขึ้นไปปิดทอง ส่วนยอดปักฉัตรทองฉลุลายที่ฐานพระเจดีย์องค์ใหญ่มีสิงห์ปูนปั้นเฝ้าอยู่ทั้งสองข้าง ด้านหน้าพระธาตุเจ็ดยอดเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ หรือ พระวิหารหลวง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ตกแต่งอย่างวิจิตรสวยงาม บานประตูเขียนสีลายเทพพนมยืนบนดอกบัว ภายในมี พระประธาน และพระพุทธรูปหน้าพระประธานอีก 6 องค์ พร้อมทั้งอัครสาวกซ้ายขวา

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน

สาเหตุที่เรียกว่า "วัดเจ็ดยอด" เป็นเพราะพระครูบาคันธะ คนฺธวโส ได้ออกแบบมาจากเชียงใหม่ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า บริเวณวัดเจ็ดยอดมีวัดร้างถึง 7 วัด พระครูบาคันธะ คนฺวโส ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง จึงเอามารวมกันเป็นวัดเจ็ดยอดวัดเดียว ซึ่งเดิมวัดสร้างเมื่อ วัน เดือน ปี ใดไม่ปรากฏหลักฐานเพราะไม่มีหลักฐานอ้างอิง ตามประวัติศาสตร์ พ่อขุนเม็งรายสร้างเมืองเชียงรายเมื่อปี พ.ศ. 1805 มีวัดดอยทอง วัดงำเมือง วัดพระแก้ว วัดพระสิงห์ ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากวัดเจ็ดยอดนัก ก็ล้วนแต่สร้างขึ้นเมื่อสมัยขุนเม็งรายครองเมืองเชียงราย สมัยนั้นวัดเจ็ดยอดคงเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองอีกวัดหนึ่ง ซึ่งหลักฐานยังปรากฏเป็น อุโบสถ พระเจดีย์เจ็ดยอด กำแพงวัด และอื่นๆ เป็นต้น เมื่อหยุดสมัยพ่อขุนเม็งราย บ้านเมืองทรุดโทรม พลเมืองได้กระจัดกระจาย อพยพไม่เป็นปึกแผ่น ทำให้วัดเจ็ดยอดขาดการทำนุบำรุง จนกลายเป็นวัดร้างไปด้วย ตามตำนาน แล้วคำว่าเจ็ดยอดคง หมายถึง หลักธรรมของพระพุทธเจ้า คือ อริยทรัพย์ 7 ทรัพย์ คือ คุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ

ที่มา : ป้ายในวัด
« Last Edit: พฤษภาคม 19, 2022, 06:13:11 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #250 on: พฤษภาคม 17, 2022, 08:54:26 pm »
249.วัดพระแก้ว

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เวียง   
เขต/อำเภอ : เมืองเชียงราย
จังหวัด : เชียงราย   
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 19.91175, 99.8277

***เปิดตลอด

วัดพระแก้ว เดิมชื่อว่า "ญรุกขวนาราม" ซึ่งแปลว่าวัดป่าญะ หรือป่าเยี้ยะ(ป่าไผ่ชนิดหนึ่งคล้ายไม้ไผ่สีสุก ไม่มีหนามนิยมมาใช้ทำหน้าไม้ และคันธนู) เป็นวัดสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยได้พบพระแก้วมรกต(ปัจจุบันประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสนดาราม พระบรมมหาราชวัง) หลังจากที่ฟ้าได้ผ่าองค์พระเจดีย์พังทลายลง ในปี พ.ศ.1977 มีพระพุทธรูปปูนปั้นอยู่ภายใน จึงนำมาประดิษฐานไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบางแห่งหลุดกะเทาะออกแลเห็นเนื้อแก้วสีเขียวภายใน จึงกะเทาะปูนออกทั้งองค์ พบพระพุทธรูปทำด้วยแก้วมรกต มีพุทธลักษณะงดงามมากเป็นที่เลื่องลือโจษขานกันไปทั่ว ความทราบถึงเจ้าเมือง จึงมีใบบอกไปยังพระเจ้าสามฝั่งแทนผู้ครองอาณาจักรล้านนา ซึ่งราชธานีที่เชียงใหม่ สั่งให้อัญเชิญไปยังเชียงใหม่ หลังจากนั้นมาพระแก้วมรกตได้ประดิษฐานยังสถานที่ต่างๆ อีกหลายแห่ง ได้แก่ ลำปาง เชียงใหม่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ ธนบุรี  จนในที่สุดประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯจนกระทั่งปัจจุบัน การค้นพบพระแก้วมรกตครั้งนั้นทำให้วัดป่าเยี้ยะได้รับขนานนามใหม่ว่า  "วัดพระแก้ว" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

อีกป้ายนึงบอกว่า
ตำนานรัตนพิมพ์วงศ์ กล่าวไว้ว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 300 เทวดาได้สร้างพระแก้วมรกต ถวายพระนาคเสนเถระที่เมืองปาฏลีบุตร(ปัจจุบันเรียก ปัตนะ) ประเทศอินเดีย ต่อมาได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองลังกา

ในสมัยพระเจ้าอโนรธามังฉ่อ(พระเจ้าอนุรุทธะ) แห่งเมืองพุกามได้ส่งพระสมณฑูตไปขอจากเจ้าเมืองลังกา ซึ่งถูกพวกทมิฬรุกราน จึงได้มอบพระแก้วมรกตพร้อมพระไตรปิฏกให้ แต่สำเภาที่บรรทุกได้พัดหลงไปเกยอยู่ที่อ่าวเมืองกัมพูชา พระแก้วมรกตจึงตกเป็นของกัมพูชา และต่อมาได้ถูกนำไปไว้ ที่เมืองอินทาปัฐ(นครวัด) กรุงศรีอยุธยา และกำแพงเพชร(ตามลำดับ)

เมื่อประมาณ พ.ศ. 1933 พระเจ้ามหาพรหม เจ้าเมืองเชียงรายได้ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาจากเมืองกำแพงเพชร และนำมาซ่อนไว้ที่เจดีย์วัดป่าเยี้ยะเมืองเชียงราย กระทั่ง พ.ศ. 1977 อัสนีบาต(ฟ้าผ่า) เจดีย์จึงได้ค้นพบพระแก้วมรกตต่อมาได้ถูกอัญเชิญไว้เมืองต่างๆ ดังนี้
เมืองเชียงราย พ.ศ.1934-1979
เมืองลำปาง พ.ศ. 1979-2011
เมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2011-2096
เมืองลาว พ.ศ. 2096-2321
กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2321-ปัจจุบัน

ที่มา : ป้ายในวัด



« Last Edit: พฤษภาคม 20, 2022, 10:06:45 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #251 on: พฤษภาคม 17, 2022, 08:55:46 pm »
250.วัดท่าตอน

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ท่าตอน
เขต/อำเภอ : แม่อาย
จังหวัด : เชียงใหม่
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 20.06052, 99.35977

***เปิดตลอด

วัดท่าตอน เดิมชื่อว่า "วัดจอมคีรีปิงขอด" หรือ "วัดจอมคีรีปิงขอกต่าตอนจัย" เป็นวัดร้างมีพระเจดีย์เก่าชำรุดอยู่หนึ่งองค์ ล้อมรอบด้วยป่าหนาทึบ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด เมื่อปี พ.ศ.2432 พระครูบาแก้ว กาวิชโย จากสำนักวัดแม่แหลงดอนชัย(วัดมงคลสถาน) ได้มาเป็นประธานในการบูรณะวัดร้าง และได้ยกเป็นวัดมีพระสงฆ์ โดยสร้างพระเจดีย์ครอบพระเจดีย์องค์เดิม และสร้างเสนาสนะ ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2534

พระเจดีย์แก้ว มี 3 ชั้น ฐานพระเจดีย์มีขนาดใหญ่ กว้าง 16 ม. ยาว 16 ม. สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2541 เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปโบราณ

พระประธานที่เห็นในภาพคือ พระประธานในอุโบสถหลังใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น แทนหลังเดิมที่สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2523


ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: พฤษภาคม 22, 2022, 07:30:23 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #252 on: พฤษภาคม 17, 2022, 08:57:13 pm »
251.วัดป่าดาราภิรมย์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ริมใต้
เขต/อำเภอ : แม่ริม
จังหวัด : เชียงใหม่
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2481
พิกัด : 18.91072, 98.94126

***เปิดเฉพาะวันพระใหญ่ และงานบวช


วัดป่าดาราภิรมย์สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2481 โดยชาวบ้านที่เลื่อมใสศรัทธาในหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้พร้อมใจกันสร้างเสนาสนะขึ้นที่บริเวณที่หลวงปู่มั่นจาริกธุดงค์มาพักที่ป่าช้าติดกับสวนเจ้าสบาย ตำหนักดาราภิรมย์ของพระชายาเจ้าดารารัศมี เมื่อปี พ.ศ. 2473 และตั้งชื่อว่าวัดป่าวิเวกจิตตาราม

กระทั่งปี พ.ศ.2484 เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่ ทายาทของเจ้าดารารัศมี ได้ถวายที่ดินอันเป็นที่ตั้งของตำหนักดารารัศมีและสวนเจ้าสบายให้แก่วัดจำนวน 6 ไร่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่เจ้าดารารัศมี ทางราชการและสาธุชนจึงพร้อมใจกันถวายนามให้แก่วัดใหม่ว่า "วัดป่าดาราภิรมย์" ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงปีมื่อปี พ.ศ. 2542



วัดป่าดาราภิรมย์ มีศิลปะแบบล้านนา โดยบริเวณใจกลางของวัดเป็นที่ตั้งของ "มณฑปพระจุฬามณีศรีบรมธาตุ" หรือ หอแก้ว ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระทันตธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งแต่เดิมหอแก้วนี้เป็นศาลาปฏิบัติธรรม และได้ทำการดัดแปลงเป็นมณฑป 4 ชั้น ศิลปล้านนามีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้างด้านละ 21 เมตร สูงจากฐานถึงยอดฉัตร 39 เมตร หลังค่าซ้อนกัน 4 ชั้น ยอดมณฑป เป็นรูปทรงปราสาทเจดีย์ปิดทองคำหุ้มจังโก

นอกจากหอแก้วยังมีสิ่งปลูกสร้างอื่นๆทีสำคัญอาทิ พระธาตุเจดีย์พระพุทธบาทสี่รอย และรอยพระพุทธบาทจำลองของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ พระวิหารหลวงและพระประธาน พระอุโบสถและพระประธาน พระหยก มณฑปพระเจ้าทันใจและพระพุทธรูปพระนามว่า "พระเจ้าทันใจ" หอกิตติคุณ พระวิหารราย ศาลาพัฒนานุสรณ์ ตำหนักสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และหอระฆัง เป็นต้น

พระวิหารหลวง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคาลด 3 ชั้น มุงกระเบื้องศิลปะล้านนา จำลองมาจากหอคำเจ้าหลวงเชียงใหม่ในสมัยโบราณ เป็นที่รวมศิลปะการแกะสลัก ปูนปั้นและลายคำแบบล้านนา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปพระนามว่า "พระพุทธมหาธรรมราชธิราชเจ้า" หรือ "พระเจ้าธรรมจักพรรดิ" พร้อมทั้งพระบรมสามรีริกธาตุ และล้อมรอบด้วยพระพุทธรูปพระพุทธเจ้า 28 พระองค์

พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคาลด 2 ชั้น มุงกระเบื้องศิลปะล้านนา ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน ซุ้มประตูและหน้าต่างประดับด้วยลายปูนปั้น ภายในมี พระประธาน ศิลปะสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิลงรักปิดทองพระนามว่า "พระสยัมภูโลกนาถ"

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน
         พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: พฤษภาคม 21, 2022, 11:23:25 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #253 on: พฤษภาคม 17, 2022, 08:59:10 pm »
252.วัดศรีโคมคำ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เวียง
เขต/อำเภอ : เมืองพะเยา
จังหวัด : พะเยา
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 19.17656, 99.88938

***ขอให้หลวงพี่เปิดให้

วัดศรีโคมคำ มีชื่อเดิมที่ชาวบ้านนิยมเรียกคือ "วัดพระเจ้าตนหลวง" เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน องค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทยมีชื่อว่า พระเจ้าองค์หลวงหรือพระเจ้าตนหลวง ที่มีพุทธลักษณะงดงามมาก ขนาดหน้าตัก 14 เมตร สูง 18 เมตร รวม 3 แผ่นดินคือ แผ่นดินพระยาเมืองยี่ พญาหัวเคียน และพระเมืองตู้ อายุร่วม 519 ปี วัดศรีโคมคำ มีประวัติเล่าสืบกันมาว่า เมื่อครั้งพุทธกาลพญานาคได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์และเกิดศรัทธาที่จะสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่จึงนำทองคำมาให้ตายาย ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมก๊วนพะเยา เพื่อสร้างพระพุทธรูปซึ่งใช้เวลาสร้างทั้งหมด 33 ปี ระหว่างปี พ.ศ.2034-2067

พระเจ้าองค์หลวง ไม่เป็นแค่เพียงพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ยังถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอาณาจักรล้านนาไทยด้วย ทุกปีในช่วงวันวิสาขบูชาจะมีการนมัสการเป็นประจำ เรียกว่า งานนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง

ที่มา : ป้ายในวัด


« Last Edit: พฤษภาคม 20, 2022, 09:38:02 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #254 on: มิถุนายน 05, 2022, 12:44:55 pm »
253.วัดใหญ่สุวรรณาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : วรวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ท่าราบ
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เพชรบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 19.17656, 99.88938

***เปิดตลอด

วัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่มีพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ 5 ทรงไว้ว่า ภาพและลวดลายในพระอุโบสถเขียนมาก่อน 300 ปีขึ้นไป ต่อมาสมเด็จพระสังฆราชแตงโม ได้มาบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ ซึ่งเคยเป็นสถานศึกษาของท่าน ให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นแล้วตั้งชื่อว่า "วัดใหญ่สุวรรณาราม" โดยสันนิษฐานว่า คำว่าใหญ่ เพราะมีเนื้อที่มากถึง 20 ไร่เศษ ส่วนคำว่าสุวรรณ ได้จากพระนามของสมเด็จพระสังฆราชแตงโม ซึ่งเดิมท่านชื่อว่า "ทอง" หรือเป็นฉายาของท่านว่าสุวณฺณ


ในปีพุทธศักราช 2450 พระครูมหาวิหาราภิรักษ์ (พุก) ได้ทำการก่อสร้างวิหารโถง พระระเบียงรอบพระอุโบสถ และกำแพงรอบวัด นับว่าเป็นการปฏิสังขรณ์ใหญ่และได้ทำการปฏิสังขรณ์เรื่อยมาตามลำดับ

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าราบ อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดที่มีมาแต่สมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัดสันนิษฐานว่าได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ โดยพระสุวรรณมุนี ที่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชแตงโม ในเวลาต่อมา อุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูนไม่มีช่องหน้าต่าง ผนังด้านหน้า (ทิศตะวันออก) เจาะเป็นประตูสามช่องประตูช่องกลางมีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่สูงกว่าประตูทั้งสองข้าง ผนังด้านหลังเจาะเป็นประตูสองช่อง ช่องประตูเป็นแบบเรียบไม่มีการตกแต่งบานประตูเป็นแผ่นไม้สักหนา ด้านนอกทาสีแดง ด้านในมีภาพเขียนรูปทวารบาล เสาอิงที่ผนังด้านหน้ามีบัวหัวเสาและลายลัดเกล้ายกเว้นเสาอิงด้านหลังที่ไม่มีลายรัดเกล้าเครื่อง บนหลังคาเป็นหลังคาทรงจั่วสองชั้นไม่มีมุขมุงด้วยกระเบื้องกาบ พื้นหลังคามีด้านละสามตับประดับด้วยกระเบื้องเชิงชาย

สมเด็จ ฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์ถึงจิตรกรรมที่วัดใหญ่สุวรรณาราม ในจดหมายเหตุระยะทางไปมณฑลราชบุรี ร.ศ.121 มีความตอนหนึ่งว่า "วัดนี้เป็นวัดเก่าที่สุดที่ได้เห็นมา แต่ยังดีมาก มีภาพเขียนเหลือเห็นมาก แต่ของเก่าก็มีแต่โบสถ์ก่อหลังหนึ่งเครื่องประตูกับการเปรียญไม้เครื่องประดูหลังหนึ่ง อายุ 300 ฤา 400 ปี โบสถ์นั้นมีเสาลายปิดแบบลายต่างกัน พื้นเขียนเบญจรงค์ด้านหน้ามารผจญแต่ลบเสียมาก เห็นไปใครได้ ด้านข้างเป็นรูปภาพชุมนุมมีรูปอินทร์ พรหม เทวดา ยักษ์ นาค ครุฑ วิชาธร บานประตูกลางหน้าเทวดายินดีเต็มที่ได้เครื่องเก่าชัดเจน ประตูข้างหน้ารูปเสี้ยวกางไม่สู้ดี ประตูหลังข้าวรูปกินนร...." หน้าบันพระอุโบสถ ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นลายก้านขดคล้ายกับหน้าบันศาลาการเปรียญซึ่งเป็นลายแกะสลักไม้ ส่วนด้านหลังพระอุโบสถเป็นลายกนกเปลว ตรงกลางมีเทพอสูรสวยงามมาก มีลักษณะคล้ายกับหน้าบันอุโบสถวัดไผ่ล้อม (ร้าง) และวัดสระบัว

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสวัดใหญ่ ฯ เวลานั้นกำลังมีการต่อตีนหัวเสาและชื่อ พระองค์ได้ทอดพระเนตร ฝีมือการรักษาของเก่าว่าตัวไม้อันไหนควรเปลี่ยนหรืออันควรรักษาไว้ ทรงพอพระราชหฤทัยมาก ทรงรับสั่งให้เว้นหัวเสาต้นหนี่งด้านทิศเหนือซึ่งเป็นเสาต้นที่แปดไว้ไม่ให้ลงรักหรือทสีทับ เพื่อให้คนชั้นหลังได้ศึกษา ยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้ ปรากฏพระราชหัตถเลขาของพระองค์มีความตอนหนึ่งว่า "หลังพระอุโบสถตรงกับแนวเดียว มีการเปรียญยาว เสาแปดเหลี่ยม เขียนลายรดน้ำ ลายไม่ซ้ำกันทุกคู่ ฝากระดานประกบข้างนอกเขียนลายทอง ข้างในเขียนลายน้ำกาว บานประตูสลักซับซ้อน ซุ้มเป็นคูหางามเสียจริง"

ที่มา : ป้ายในวัด
#royalthaimonastery
#hikingthai
« Last Edit: พฤศจิกายน 26, 2022, 07:11:40 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #255 on: พฤศจิกายน 17, 2022, 01:16:47 pm »
254.วัดพระธาตุช่อแฮ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ช่อแฮ   
เขต/อำเภอ :เมืองแพร่
จังหวัด : แพร่
พ.ศ.ที่สร้าง : สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 1879-1881
พิกัด : 18.08719, 100.20318

***เปิดตลอด

วัดพระธาตุช่อแฮ สร้างสมัยสุโขทัย เมื่อปีพุทธศักราช 1879-1881 ในสมัยที่สมเด็จพระมหาธรรมราชา (ลิไท) ยังทรงเป็นพระมหาอุปราชปกครองเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) โปรดให้สร้างวัด เพื่อเป็นที่สร้างพระเจดีย์สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุได้พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุแก่ขุนลัวะอ้ายก้อม ให้นำบรรจุไว้ในฐานพระเจดีย์ ขุนลัวะ อ้ายก้อมสำรวจหาสถานที่ที่เหมาะสมมาถึงบริเวณดอยโกสิยธชัคคะ เห็นว่าทำเลดีจึงสร้างพระเจดีย์ขึ้น และนำผอบพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในสิงห์ทองคำ สร้างแท่นที่ตั้งผอบด้วยเงินและทองแล้วตั้งสิงห์ทองคำไว้โดยโบกปูนทับอีกชั้นหนึ่งหลังจากนั้นก็จัดงานบำเพ็ญกุศลเฉลิมฉลอง 7 วัน 7 คืน ต่อมาได้ชื่อว่า "พระธาตุช่อแฮ" (คำว่า แฮมาจากคำว่า “แพร” หมายถึงผ้าแพร ในสมัยกรุงธนบุรีพระยาศรีสุริยะวงศ์เจ้าเมืองนครแพร่ อุปถัมภ์บูรณะและพัฒนาวัดนี้มาโดยตลอด) ภายหลังเมืองแพร่ถูกรวมเข้ากับอาณาจักรล้านนาไทย กษัตริย์ล้านนาก็ได้ทะนุบำรุงพระธาตุช่อแฮตามลำดับจนกระทั่งราชวงศ์นี้หมดอำนาจ พระธาตุช่อแฮก็ทรุดโทรม จนถึงปีพุทธศักราช 2467 พระครูบาศรีวิชัย (หรือเจ้าวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน) ได้เป็นประธานบูรณปฏิสังขรณ์ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดแพร่ และมีพระมหาเมธังกร (พรหม พรหมเทโว) อดีตเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2549

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: พฤศจิกายน 26, 2022, 07:52:04 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #256 on: พฤศจิกายน 17, 2022, 01:22:04 pm »
255.วัดคลองโพธิ์   

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บ้านเกาะ   
เขต/อำเภอ : เมืองอุตรดิตถ์
จังหวัด : อุตรดิตถ์
พ.ศ.ที่สร้าง : สร้างในปี พ.ศ. 2365
พิกัด : 17.61358, 100.09655

***เปิดตลอด

วัดคลองโพธิ์ เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อว่า "วัดป่าข่อย" อยู่ริมคลองโพ ทางด้านฝั่งตะวันออกติดต่อกับแม่น้ำน่าน

สมัยพระอุปัชฌาย์เรื่อง สิริสมฺปนฺโน เจ้าอาวาส วัดป่าข่อยได้ถูกน้ำจากแม่น้ำน่านเซาะตลิ่งเข้ามายังบริเวณวัด ใกล้ที่ตั้งเสนาสนะ จึงย้ายเสนาสนะมาทางทิศตะวันตก โดยข้ามคลองโพมาตั้งใหม่ทางฝั่งตะวันตก จึงมีชื่ออีกชื่อว่า "วัดใหม่"

ปีพุทธศักราช 2462 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจการคณะสงฆ์หนเหนือ ขณะที่เสด็จตรวจการจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้จอดเรือเทียบประทับแรมริมฝั่งแม่น้ำน่านหน้าวัดใหม่

เมื่อพระองค์ประทานโอวาทแก่คณะสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาที่มารอรับเสด็จแล้ว ทรงรับสั่งกับเจ้าอาวาสว่า วัดนี้ชื่ออะไร มีพระภิกษุสามเณรที่รูป และมีการศึกษาพระปริยัติหรือไม่ ท่านเจ้าอาวาสได้กราบทูลตามความเป็นจริง และพระองค์ได้ทรงถามคลองที่ผ่านหน้าวัดว่าชื่ออะไร ท่านเจ้าอาวาสจึงกราบทูลขอ คลองโพ พระองค์จึงรับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้นวัดนี้ก็ควรจะชื่อว่า "วัดคลองโพธิ์" ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2530

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: พฤศจิกายน 26, 2022, 03:12:51 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #257 on: พฤศจิกายน 17, 2022, 01:27:38 pm »
256.วัดพระแท่นศิลาอาสน์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ทุ่งยั้ง
เขต/อำเภอ : ลับแล
จังหวัด : อุตรดิตถ์
พ.ศ.ที่สร้าง : สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2283
พิกัด : 17.59818, 100.0435

***ทำวัตรเย็น 17.00 น.

วัดพระแท่นศิลาอาสน์ เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อ "วัดมหาธาตุ" อยู่ติดกับวัดพระยืนพุทธบาทยุคล(อยู่บนเนินเขาลูกเดียวกันแต่คนละยอด) ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง และสร้างแต่เมื่อใด ในศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัยไม่ได้มีข้อความกล่าวถึงพระแท่นศิลาอาสน์

ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้เสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อปีพุทธศักราช 2283 แสดงว่าพระแท่นศิลาอาสน์ได้มีมาก่อน จนเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไป พระแท่นศิลาอาสน์เป็นพุทธเจดีย์เช่นเดียวกับพระแท่นดงรัง ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2549

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: พฤศจิกายน 26, 2022, 03:09:21 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #258 on: พฤศจิกายน 17, 2022, 01:33:26 pm »
257.วัดพระบาทมิ่งเมือง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : วรวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเวียง
เขต/อำเภอ : เมืองแพร่
จังหวัด : แพร่
พ.ศ.ที่สร้าง :
พิกัด : 18.14353, 100.14054   

***เปิดตลอด

วัดพระบาทมิ่งเมือง เป็นวัดโบราณ เจ้าหลวงเมืองแพร่ เป็นผู้สร้าง ได้ทำนุบำรุงมาเป็นเวลาช้านาน ไม่ปรากฏหลักฐานในการสร้าง มีอายุประมาณ 600 ปี

เดิมมีอยู่ 2 วัด คือ วัดไชยอารามพระบาทกับวัดมิ่งเมือง อยู่ห่างกันเพียงตรอกคั่น ต่อมาเมื่อผู้ครองนครไม่มีแล้ว ราษฎรอพยพไปตั้งหลักแหล่งที่อื่น ในปีพุทธศักราช 2492 ทางคณะสงฆ์และทางบ้านเมืองให้รวมทั้ง 2 วัดเป็นวัดเดียวกัน โดยมีนามใหม่ "วัดพระบาทมิ่งเมือง" และได้รับยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2498

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: พฤศจิกายน 26, 2022, 07:48:37 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #259 on: พฤศจิกายน 17, 2022, 01:38:13 pm »
258.วัดพระธาตุช้างค้ำ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : วรวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเวียง
เขต/อำเภอ : เมืองน่าน
จังหวัด : น่าน
พ.ศ.ที่สร้าง :
พิกัด : 18.77629, 100.77226      

***เปิดตลอด

วัดพระธาตุช้างค้ำ เป็นวัดโบราณ ตามพงศาวดารกล่าวว่า เจ้าผู้ครองนครน่าน ชื่อพญาภูเข่ง หรือภูเย็ง เป็นผู้สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 1949 เรียกชื่อว่า "วัดหลวง" หรือ "วัดหลวงกลางเมือง" หรือ "วัดหลวงกลางเวียง" ส่วนชื่อ "วัดช้างค้ำ" หรือ "วัดพระธาตุช้างค้ำ" มาเรียกในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ตรงกับรัชกาลที่ 1 เพราะว่าภายในวัดมีพุทธเจดีย์หรือพระธาตุหลวงก่อเป็นช้างครึ่งตัว โผล่หน้าออกมาเอาหลังหนุนองค์พระเจดีย์ไว้ทั้ง 4 ด้าน ๆ ละ 6 เชือก รวม 24 เชือก

มูลเหตุการสร้างวัดตามตำนานมีว่า ครั้งหนึ่งกองทัพพม่าซึ่งมีแสนยานุภาพช้างม้าพลมาจะยึดเอานครน่านเป็นเมืองออก เจ้านครน่านเห็นเหลือกำลังจะรับข้าศึกได้ จึงแต่งอุบายส่งทูตไปเจรจากับแม่ทัพพม่า โดยมีเงื่อนไขว่า ทั้งสองต่างเป็นชาวพุทธด้วยกัน หากจะรบกันก็จะเสียกำลังพลเป็นจำนวนมากให้สร้างเจดีย์แข่งกัน โดยเริ่มสร้างตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนรุ่งอรุณ ฝ่ายใดสร้างเสร็จและยกฉัตรเจดีย์ขึ้นได้ก่อน ก็ให้ลั่นฆ้องเป็นสัญญานฝ่ายชนะ ถ้านครน่านแพ้จะยอมเป็นเมืองออกของพม่า แต่ถ้าฝ่ายพม่าแพ้ต้องยกทัพกลับไป ฝ่ายแม่ทัพยอมรับเงื่อนไข ฝ่ายพม่าระดมกำลังพลปั้นอิฐสร้างพระเจดีย์ ฝ่ายนครน่านใช้ไม้ไผ่สานสังเวียนใหญ่น้อยลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ ให้มีลักษณะเหมือนพระเจดีย์ ระดมผู้คน ช้างจำนวนมากมาย ขนดิน หิน กรวด ทราย มาถมไว้ในวังเวียง แล้วใช้ผ้าขาวหุ้ม มองเห็นแต่ไกลเหมือนองค์พระเจดีย์ก่อนรุ่งอรุณขึ้นเล็กน้อยและยกช่อฉัตร ลั่นฆ้องชัยเป็นสัญญานชัยชนะ ฝ่ายพม่าคงสร้างเสร็จแก่พระเจดีย์ไม่ทันยกฉัตรขึ้น จึงเป็นฝ่ายยอมแพ้ และยกทัพกลับ บัดนั้นเจ้านครน่าน ทรงเห็นว่า เพื่อเป็นอนุสรณ์ในชัยชนะ จึงทรงให้สร้างเจดีย์องค์จริงขึ้นและสร้างวัดขึ้น ณ บริเวณที่สร้างเจดีย์เทียม กับโปรดให้สร้างรูปช้างโผล่หัวครึ่งตัวรอบฐานพระเจดีย์ขั้นที่ 2 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า ข้างมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการค้ำจุนพระเจดีย์

วัดพระธาตุช้างค้ำ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด จากเจ้าผู้ครองเมืองต่อ ๆ มาเจ้าอาวาสทุกยุค และจากฝ่ายปกครองบ้านเมือง พร้อมด้วยทายกทายิกา ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ปีพุทธศักราช 2501

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: พฤศจิกายน 30, 2022, 09:18:49 am by designbydx »