269.วัดมหาธาตุวรวิหาร
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : คลองกระแซง
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เพชรบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2275-2301
พิกัด : 13.54756, 99.81404
***ปรับปรุง ไปมาเมื่อ ม.ค.66
วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญ ทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะและโบราณคดี ภายในพระวิหาร หลวงของวัด ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุ ด้านหลังพระวิหารหลวง คือพระปรางค์ 5 ยอด อยู่ภายในวิหารคต ทางด้านทิศใต้ของพระวิหารหลวง คือ พระวิหารน้อย และวัดมหาธาตุวรวิหารยังได้สร้าง พิพิธภัณฑ์ของวัดเป็นที่รวมศิลปะความเป็นมาต่างๆของวัดไว้ให้ผู้สนใจได้เข้าชม
พระวิหารหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.2275-2301) ภายใน พระวิหารหลวงมีพระพุทธรูปที่สำคัญ คือพระพุทธรูปประธานทรงราชาภรณ์ นอกจากนี้ยังมีหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์วัดมหาธาตุ เป็นพุทธรูปปรางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 8 นิ้ว หัตถ์ซ้ายถือพัด ประดับด้วยลายปูนปั้น รูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค มี พญาวานรแบกครุฑอยู่อีกขั้นหนึ่งพื้นหลังเป็นลายกนก ก้านขดออกช่อลายหางโดเป็นรูปครุฑ นาค ยักษ์ ฯลฯ
พระวิหารน้อย เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ฐานอ่อนโค้งทรงสำเภา ตั้งอยู่ระหว่างพระวิหารหลวงกับอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หลวงพ่ออู่ทอง ศิลปะแบบอู่ทอง ปางมารวิชัย ที่ฐานมีลายปูนปั้นประดับกระจกสวยสด งดงาม เช่น รูปม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีแบกฐานเป็นต้น ที่หน้าบันประดับด้วยลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม เช่นเดียวกับพระอุโบสถ และพระวิหารหลวง
พระปรางค์ 5 ยอด วัดมหาธาตุวรวิหาร มีพระปรางค์ 5 ยอด เป็นสัญลักษณ์สูงตระหง่านในเขตพุทธาวาส สามารถ มองเห็นได้แต่ไกลทั้ง 4 ทิศ วัดจากฐานถึงยอดนภศูลได้ 55 เมตร รอบฐานยาว 120 เมตร มีอายุราว 1,000 กว่าปี ภายในบรรจุ พระบรมสารีรักธาตุมาแต่อดีตกาล มีระเบียงคตรอบพระปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสในระเบียงคตมีพระพุทธรูปจำนวน 193 องค์ ประดิษฐานบนระเบียง พร้อมทั้งมีตัวแบกที่ฐานพระ ส่วนมากตั้งอยู่ใต้องค์พระพุทธรูปทางเครื่องไว้หลากหลาย สวยงาม พระพุทธรูปส่วนใหญ่เป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย และสกุลช่างเมืองเพชร พุทธลักษณะงดงามมาก
พิพิธภัณฑ์ ศาลา น.ส.อำพร บุญประคอง เป็นศาลาที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดมหาธาตุวรวิหาร เพชรบุรี ภายในรวบรวมเครื่องลายคราม พระพุทธรูป แผ่นภาพพระบาทและสิ่งของมีค่าที่หายาก ตั้งแสดงไว้ และเปิดให้ ผู้สนใจเข้าชม
ที่มา : ป้ายในวัด