Hiking Thai

Hiking Thai => โครงการ...ของลุงชาติ => Topic started by: designbydx on มกราคม 01, 2018, 10:00:46 am

Title: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 01, 2018, 10:00:46 am
*** ก่อนอื่น จะบอกว่าพระที่ถ่ายเป็นพระประธานเท่านั้นนะครับ คือ พระที่อยู่ในอุโบสถ ไม่ใช่พระที่อยู่ในพระวิหาร หรือพระเจดีย์นะครับ
สาเหตุที่เลือก เพราะว่าเป็นพระองค์ประธานจริง แต่ละวัดจะมีเพียงองค์เดียว ส่วนใหญ่เราจะเห็นกันในอินเตอร์เนตเฉพาะพระที่อยุ่ในวิหาร หรือในพระเจดีย์ เนื่องจากจะเปิดตลอดให้เข้ากราบไหว้ แต่จริงๆ ไม่ใช่พระประธาน(ปกติเปิดเฉพาะทำวัตรเช้า และเย็น) และทำให้เข้าใจผิดว่าองค์ที่เราเห็นคือพระประธาน(คนส่วนใหญ่ถ่ายลงโซเชียล) ซึ่งผมเองก็เข้าใจผิดมาตลอดเช่นกัน


     พระอารามหลวง ซึ่งหมายถึงวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง หรือทรงรับไว้เป็นวัดของพระราชวงศ์ หรือเป็นวัดที่ทรงอุปถัมภ์นั้น แต่ละวัดอาจมีฐานะ หรือระดับชั้นแตกต่างกันออกไป การจัดลำดับชั้นของวัดหลวง เริ่มมีขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบแบ่งชั้นพระอารามหลวงออกเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี แต่ละชั้นยังแยกระดับออกไปอีกหลายระดับ โดยมีสร้อยต่อท้ายชื่อวัดตามฐานะดังนี้

๑.พระอารามหลวง ชั้นเอก ได้แก่ วัดที่มีความสำคัญ มีเจดียสถานบรรจุพระบรมอัฐิ หรือเป็นวัดที่มีเกียรติสูง มี ๓ ระดับ คือ

   ๑) ราชวรมหาวิหาร
   ๒) ราชวรวิหาร
   ๓) วรมหาวิหาร

๒.พระอารามหลวง ชั้นโท ได้แก่วัดที่มีเจดียสถานสำคัญ หรือวัดที่มีเกียรติ มี ๔ ระดับ คือ

   ๑) ราชวรมหาวิหาร
   ๒) ราชวรวิหาร
   ๓) วรมหาวิหาร
   ๔) วรวิหาร

๓.พระอารามหลวง ชั้นตรี ได้แก่วัดที่มีเกียรติ วัดประจำหัวเมือง หรือวัดที่มีความสำคัญชั้นรอง มี ๓ ระดับ คือ

   ๑) ราชวรวิหาร
   ๒) วรวิหาร
   ๓) สามัญ(วัดที่ไม่มีสร้อยนามต่อท้าย)

การจัดระดับของวัด แบ่งโดยพจารณาเรื่องต่างๆ ดังนี้

1 ราชวรวิหาร คือ วัดที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ หรือวัดที่โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์

2 วรวิหาร คือ วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว พระราชทานเป็นเกียรติยศแก่วัดเอง รวมทั้งวัดที่ผู้อื่นสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์แล้วทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมถ์

3 ราชวรมหาวิหาร คือ วัดชนิดราชวรวิหารที่เป็นพระอารามใหญ่โต

4 วรมหาวิหาร คือ วัดชนิดวรวิหารที่เป็นพระอารามใหญ่โต และมีศาสนสถานที่สำคัญ

5 สามัญ คือ วัดราษฏร์ที่สำคัญ และต่อมาโปรดให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง

ที่มา : ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่มที่ 25 จังหวัดชัยภูมิ กรมศิลปากร พิมพ์เผยแพร่ พ.ส. 2562


พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

นับตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีส่วนสำคัญในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาโดยตลอดทั้งโดยการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ดังปรากฏเห็นเป็นหลักฐานมากมายในปัจจุบัน หรือโดยการเสด็จออกผนวชของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ รวมไปถึงการใช้หลักธรรมเป็นแนวทางในการปกครองดูแลพสกนิกรให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขเสมอมา

พระราชกรณียกิจต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงปฏิบัติมีดังนี้

สมัยกรุงสุโขทัย

พ่อขุนราคำแหง ทรงอาราธนาพระมหาเถระสังฆราช พระเถระชาวลังกามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย
พระมหาธรรมราชาที่ 1(พญาลิไท) ทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วง

สมัยกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงพระผนวช เป็นเวลา 8 เดือน ทรงสร้างวัดจุฬามณี โปรดเกล้าฯ ให้แต่งหนังสือมหาชาติคำหลวงซึ่งนับเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปครองรอยพระพุทธบาทสระบุรี
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในรัชสมัยของพระองค์ เป็นช่วงที่มีชาติตะวันกเข้ามเผยแผ่คริสต์ศาสนาจำนวนมาก รวมถึงมีการเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ฯ เพื่อทูลขอให้ทรงเข้ารีต แต่พระองค์ทรงปฏิเสธว่า “การที่ผู้ใดจะนับถือศาสนาใดนั้น ย่อมแล้วแต่พระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์จะบันดาลให้เป็นไป ถ้าคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาที่ดีจริงแล้ว และเห็นว่าพระองค์สมควรที่จะเข้าเป็นคริสตศาสนิกแล้ว สักวันหนึ่งพระองค์จะถูกดลใจให้เข้ารีดจนได้” แสดงถึงพระราชศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมเศียรพระประธานวัดมงคลบพิตรที่ชำรุด รวมถึงทรงให้ความสำคัญกับการศึกษาทางพุทธศาสนาเป็นพิเศษ โดยทรงกำหนดให้ผู้ที่จะถวายตัวเข้ารับราชการต้องผ่านการบวชเรียนมาแล้วเท่านั้น ทรงส่งคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา คือ พระอุบาลีและพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก 12 รูป

สมัยกรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่และบูรณปฏิสังขรณ์วัดโบราณต่างๆ รวมถึงทรงรวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกจากหัวเมืองต่างๆ มาจัดทำเป็นฉบับหลวง (แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะแล้วเสร็จ)

กรุงรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และวัดสุทัศนเทพวราราม ทรงบูรณะวัดสระเกศ วัดพระเชตุพลฯ และวัดอื่นๆ โปรดเกล้าฯให้มีการสังคยานาพระไตรปิฎก เป็นครั้งที่ 2 ในประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระผนวชเป็นเวลา 1 พรรษา และทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการแก้ไขการศึกษาปริยัติธรรมใหม่

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ เช่น วัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา และทรงบูรณะวัดโบราณต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมถึงมีการเกิดนิกายธรรมยุตขึ้นเป็นครั้งแรก

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวชเป็นเวลา 27 พรรษา ก่อนจะขึ้นครองราชย์ ทรงสร้างวัดราชประดิษฐฯ วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดโสมนัสวิหาร และวัดปทุมวนาราม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดเทพศิรินทราวาส วัดราชพิธฯ และวัดเบญจมบพิตร ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุฯ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของประเทศ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนิพนธ์หนังสือที่เกี่ยวข้องกับคำสอนในพระพุทธศาสนา เช่น เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการชำระพระไตรปิฎกและจัดพิมพ์ขึ้นใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในรัชสมัยของพระองค์มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลดอุลยเดช ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ โดยทรงเสด็จออกผนวชขณะทรงครองราชย์ ด้วยมีพระราชประสงค์ให้เป็นไปตามโบราณราชประเพณี พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนา อันทำให้ประเทศไทยสงบร่มเย็นมาถึงปัจจุบัน

ที่มา : 80 พระอารามหลวงกรุงเทพมหานคร กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม




1.วัดสร้อยทอง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางซื่อ
เขต/อำเภอ   : บางซื่อ
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : 2394

วัดสร้อยทอง เดิมชื่อว่า "วัดซ่อนทอง" เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2394 แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดได้รับความเสียหายอย่างมาก กระทั่งเมื่อสงครามสงบลงแล้ว ประชาชนได้ช่วยกันบูรณะวัด และก่อสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มขึ้นด้วย แต่จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัด คือ หลวงพ่อเหลือ กลับไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด จึงได้รับความเลื่อมใสจากชาวบ้านเป็นอย่างมาก และมีผู้คนแวะไปสักการะขอพรหลวงพ่อเหลือ รวมทั้งทำบุญสังฆทานและปล่อยปลาที่วัดสร้อยทองกันเป็นประจำ แม้ว่าวัดสร้อยทองจะไม่ได้อยู่ในเส้นทางท่องเที่ยวก็ตาม

หลวงพ่อเหลือเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลือง ซึ่งเป็นโลหะที่เหลือจากการหล่อพระประธานภายในพระอุโบสถ เมื่อปี พ.ศ.2445 ภายในพระเกศของหลวงพ่อเหลือบรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ 5 พระองค์

Wat Soi Thong
Located on the bank of the Chow Phraya river in Bangsue district, Northern Bangkok, Wat Soi Thong  is an old temple built in 2394 B.E. in the reign of King Rama IV.

During the World War II, the temple was badly damaged by the bombing. While Luang Phor Luea, the important Buddha image has become highly revered by the local people since then. After the War, the temple was restored, and the Ubosot(Ordination Hall), and more buildings were built
ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
Post by: designbydx on มกราคม 01, 2018, 04:08:00 pm
2.วัดเขมาภิรตาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : สวนใหญ่
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : นนทบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง :สมัยอยุธยาหรือก่อนสมัยอยุธยา
พิกัด : 13.82167, 100.50328


วัดเขมาภิรตาราม มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ "วัดเขมา" ในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระอัครมเหสี และเป็นพระราชมารดาของรัชกาลที่ 4 ได้ทรงปฏิสังขรณ์หล่อพระประธาน พระพุทธรูปทุกองค์จนสำเร็จ เมื่อรัชกาลที่ 4 เสด็จขึ้นเสวยครองราชย์แล้ว จึงได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดเขมาเป็นการใหญ่ โปรดให้เพิ่มนามวัดเป็น "วัดเขมาภิรตาราม" ทรงสร้างพระมหาเจดีย์ ปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมเพิ่มเติมส่วนต่างๆ ภายในบริเวณวัดจนบริบูรณ์ มาถึงรัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิสังขรณ์อีก โปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระที่นั่งมูลมณเฑียร ในพระบรมมหาราชวังไปสร้างโรงเรียนของวัดนี้ และยังใช้เป็นโรงเรียนอยู่จนทุกวันนี้

ที่มา : พระอารามหลวงแห่งราชอาณาจักรสยาม ลำจุล ฮวบเจริญ
Title: Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
Post by: designbydx on มกราคม 05, 2018, 04:29:32 pm
3.วัดบัวขวัญ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ   
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางกระสอ
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : นนทบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ.2435
พิกัด : 13.86952, 100.53479

วัดบัวขวัญ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2435 จากคำบอกเล่า สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเพียงสำนักสงฆ์กลางท้องนา เมื่อมีพระสงฆ์จำพรรษาก็เริ่มพัฒนาเป็นวัด พระครูปรีชาเฉลิม หรือ หลวงปู่แฉ่งวัดเฉลิมพระเกียรติ เป็นผู้ริเริ่มสร้างโดยผู้มีจิตศรัทธาหลายคนร่วมบริจาคที่ดิน ต่อมาหลวงพ่อฉ่ำมาเป็นเจ้าอาวาสและได้มรณภาพ วัดก็ว่างเว้นจากพระสงฆ์ ชาวบ้านจึงได้นิมนต์พระอธิการพยุง จตฺตมโลจากวัดกำแพงมาเป็นเจ้าอาวาส และได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ ต่อมานายบัว ฉุนเฉียว ได้บริจาคที่ดินให้สร้างวัดเพิ่ม เรียกชื่อนามวัดว่า "วัดบัวขวัญ" เพื่อให้เป็นเกียรติแต่ผู้บริจาคที่ดิน เจ้าอาวาสองค์ต่อๆ มา ได้พัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2551

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
      
Title: Re: พระประธานเมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 06, 2018, 06:36:28 pm
4.วัดชลประทานรังสฤษฎ์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ   
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางตลาด
เขต/อำเภอ   : ปากเกร็ด
จังหวัด : นนทบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : 2503
พิกัด : 13.90072, 100.50731

***ทำวัตรเย็น 16.30 น.

กำเนิดวัดชลประทานรังสฤษดิ์

พ.ศ. 2503 ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทานขอย้ายและรวมวัด 2 วัด ในเขตกรมชลประทานปากเกร็ด คือ วัดเชิงท่า และวัดหน้าโบสถ์ มาสร้างวัดใหม่ในฝั่งตรงข้ามชื่อ "วัดชลประทานรังสฤษดิ์" เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2503
พ.ศ. 2555 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกวัดชลประทานรังสฤษดิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป

ลำดับเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์
1.พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) พ.ศ. 2503-2550
2.พระธรรมวิมลโมลี (รุ่นธีรปญฺโญ ป.ธ. ๙) พ.ศ. 2551-2556 พระมหาเจริญสุทธิญาณเมธี (รักษาการเจ้าอาวาส) 7 เมษายน 2556-17 พฤศจิกายน 2557
3.พระปัญญานันทมุนี (สง่าสุภโร) ตั้งแต่ 20 พฤศจิกายน 2557-ปัจจุบัน

เกียรติประวัติของวัดชลประทานรังสฤษดิ์
พ.ศ. 2528 เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการศาสนากระทรวงวัฒนธรรม
พ.ศ. 2547 เป็นวัดที่มีรูปแบบและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาและเผยแผ่ศาสนธรรมดีเด่นในโครงการนําร่องการจัดการศึกษาและเผยแผ่ศาสนธรรมของวัดของสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
พ.ศ. 2557 เป็นศูนย์เอกลักษณ์วัฒนธรรมชุมชนจังหวัดนนทบุรี
พ.ศ. 2561 เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรีแห่งที่ 14

ที่มา : เอกสารแจกฟรี สายสัมพันธ์กตัญญุตา 2565
Title: Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
Post by: designbydx on มกราคม 13, 2018, 09:15:00 pm
5.วัดบางไผ่

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ   
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางรักพัฒนา   
เขต/อำเภอ   : บางบัวทอง
จังหวัด : นนทบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยกรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 13.87923, 100.43242

วัดบางไผ่ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากลักษณะสิ่งก่อสร้างภายในวัด เช่น พระอุโบสถหลังเก่า พระวิหาร เป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเป็นวัดร้าง ภายหลังพระครูสอน ได้มาจำพรรษาและบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีตัดหวายลูกนิมิตพระอุโบสถ เมื่อจันทร์วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 และได้พระราชทานนามพระนามาภิไธย ม.ว.ก. ที่หน้าบันพระอุโบสถ หน้าบันศาลาราย 4 หลัง และหน้าบันหอพระไตรปิฏก 4 ด้าน

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
Post by: designbydx on มกราคม 21, 2018, 10:15:57 pm
6.วัดราชาธิวาสวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : วชิรพยาบาล 
เขต/อำเภอ   : ดุสิต
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : -

วัดราชาธิวาสฯ เดิมชื่อว่า "วัดสมอราย" คู่กับวัดสมอแครง(ปัจจุบัน คือวัดเทวราชกุญชร) สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยลพบุรี

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม และได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้โปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้อีกครั้ง และพระราชทานชื่อใหม่เป็น "วัดราชาธิวาส" ซึ่งมีความหมายว่า วัดอันเป็นที่ประทับของพระราชา เพราะเคยเป็นที่ประทับระหว่างทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จะอาราธนาไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

Wat Rachathiwas
Wat Rachathiwas is a second class royal monastery of 'Rajavaravihara' type. Built in Lopburi period, the temple was re-established from the former ''Wat Samor-rai'' by Krom Phraratchawang Bowon Maha Surasihanat in the reign of King Rama I.

Restoration had been continuously carried on through the reign of King Rama II-III. In the reign of King Rama IV the temple was renamed Wat Rachathiwas, which means 'the temple where the king resides.


ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery

Title: Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
Post by: designbydx on มกราคม 25, 2018, 07:40:08 pm
7.วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วชิรพยาบาล
เขต/อำเภอ   : ดุสิต
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : 1850

วัดเทวราชกุญชร เดิมชื่อว่า"วัดสมอแครง" คู่กับวัดสมอราย หรือวัดราชาธิวาสในปัจจุบัน และเช่นเดียวกันกับวัดราชาธิวาส สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงเป็นผู้ปฏิสังขรณ์วัดสมอแครงด้วย

วัดสมอแครงได้รับพระราชทานนามใหม่ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ว่า "วัดเทวราชกุญชร"

Wat Thewarat Kunchon
Originally called Wat Samor Khraeng, Wat Thewarat Kunchon was built the Ayutthaya period. It was adopted as a third class monastery and given its current name during the reign of King Rama IV.
ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 03, 2018, 12:22:11 pm
8.วัดไตรมิตรวิทยาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ตลาดน้อย
เขต/อำเภอ   : สัมพันธวงศ์
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

**ที่ประดิษฐานพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (พระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก) แต่ไม่ใช่พระประะธานในภาพข้างล่างนะครับ
เปิด 08.00 น.
ปิด 17.00 น.


วัดไตรมิตรวิทยารามเดิมชื่อว่า "วัดสามจีน" สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน สันนิษฐานว่ามีชาวจีน 3 คน ซึ่งเป็นเพื่อนกันได้ช่วยกันสร้างวัดนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นวิหารทาน จึงได้ชื่อว่า "วัดสามจีน" ซึ่งต่อมาเพื่อปี พ.ศ.2482 ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดและเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น วัดไตรมิตรวิทยาราม

Wat Traimit Wittayaram
Standing at the end of Chinatown's Yaowarat Road, Wat Trimit Wittayaram was formerly known as ''Wat Sam Chin.'' In 2482 B.E., it was renovated and changed the name to be known as ''Wat Traimit Wittayaram''

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
#hikingthai.com
Title: Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 03, 2018, 12:28:52 pm
9.วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : สัมพันธวงศ์
เขต/อำเภอ   : สัมพันธวงศ์
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยอยุธยา

ด้วยเหตุสถานที่ตั้งของวัดปทุมคงคาอยู่ด้านในสุดของถนน ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา อีกทั้งยังถูกบดบังด้วยอาคารพาณิชย์ต่างๆ จึงไม่ค่อยมีคนรู้จักวัดแห่งนี้มากนัก แต่ในอดีตวัดปทุมคงคาถูกใช้เป็นสถานที่ประหารชีวิต เจ้านายในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และในพระราชพิธีพระบรมศพสมัยก่อน เมื่อเก็บพระบรมอัฐิแล้วจะอัญเชิญพระอังคารลงเรือพระที่นั่งเข้ากระบวนแห่ลอยไปลอยพระอังคารที่หน้าวัดปทุมคงคา

นอกจากนี้ภายในวัดยังมีแท่นหินประหารกบฏ หรือ แท่นหินสำเร็จโทษ ซึ่งเป็นที่สำหรับสำเร็จโทษเจ้านายหลายพระองค์ อาทิ กรมหลวงรักษ์รณเรศ พระราชโอรสองค์ที่ 33 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ถูกทุบด้วยท่อนจันทน์บนหินนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

วัดปทุมคงคาเป็นวัดโบราณสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดสำเพ็ง" ตามชื่อท้องที่ที่ตั้ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 วัดปทุมคงคามีสภาพทรุดโทรมมากจึงโปรดฯ ให้สมเด็จพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามแล้วพระราชทานนามว่า "วัดปทุมคงคา"

Wat Pathum Khongkha
Located in the Bangkok Chinatown, the temple previously called''Wat Sampheng'' after the name of its location, Sampheng. It is an ancient temple dating back to the Ayutthaya period, and renovated during the reign of King Rama I by Krom Phraratchawang Bowon Maha Surasithanat. After renovation, the temple was upgrade to be a second class royal monastery of the ''Rajavaravihara'' type, and had its named changed  to Wat Pathumkhongkha. The canal in front of the temple is regarded ad a holy place where the ash of cremated members of the royal family were scattered here during the reign of Kin Rama I-III.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 04, 2018, 07:12:01 pm
10.วัดดุสิดารามวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : อรุณอมรินทร์
เขต/อำเภอ   : บางกอกน้อย
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยอยุธยา

วัดสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนาวัดขึ้นใหม่ และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์อย่างตลอดต่อเนื่องมา จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งในสมัยนี้ได้มีการรวมอีก 2 วัด คือ วัดภุมรินราชปักษีและวัดน้อยทองอยู่ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกัน เข้ากับวัดดุสิดารามด้วย

Wat Dusidaram
Wat Dusidaram was an ancient temple dating back to the Ayutthaya period. Somdej Phra Chao Bormawongther Kromluang Srisunthornthep, a daughter of King Rama I, had the temple reestablished.

Further renovations were carried out continuously until the reign of King Rama IV. Especially in ther reign of King Rama VI, there were other 2 temples, Wat Phumarin Ratchapaksi and Wat Noi-U, merged into Wat Dusidaram.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 10, 2018, 10:39:02 pm
11.วัดโสมนัสราชวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : วัดโสมนัส
เขต/อำเภอ   : ป้อมปราบศัตรูพ่าย
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สร้างวัดขึ้นเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี คู่กับวัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่งเป็นวัดส่วนพระองค์ โดยทั้งสองวัดนี้ตั้งอยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษมและมีการวางผังวัดที่คล้ายคลึงกัน คือ มีคูน้ำล้อมรอบวัด ซึ่งมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งเป็นเขตชาวพุทธาวาส และสังฆาวาส โดยใยเขตพุทธาวาสมี พระเจดีย์ เป็นประธานตั้งอยู่กึ่งกลางของเขตพุทธาวาสล้อมรอบด้วย พระระเบียง หรือ พระวิหารคต และที่ด้านหน้าของพระเจดีย์จะเป็นที่ตั้งของพระวิหารหลวง และด้านนอกของกำแพงเขตพุทธาวาสมี หอระฆัง และหอกลอง สร้างเป็นหอกลม หลังคาแบบจีน

Wat Sommanat
Wat Sommanat is a second class royal monastery of 'Rajavaravihara' type King Rama IV ordered its construction to commemorate his queen.
ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 10, 2018, 10:43:30 pm
12.วัดปรินายกวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บ้านพานถม
เขต/อำเภอ   : พระนคร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : 2352

วัดปรินายก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยพเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) เมื่อครั้งยังเป็นพระหรหมสุรินทร์ ตั้งชื่อว่า "วัดพรหมสุรินทร์" และได้สร้างเสนาสนะเพิ่มขึ้น ถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง โปรดให้หล่อพระพุทธรูปพระประธานในพระอุโบสถ และโปรดให้สร้างจนเสร็จบริบูรณ์ พระราชทานนามว่า "วัดปรินายก" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิง สิงหเสนี)

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


Wat Parinayok
Wat Parinayok is a third class royal monastery. It was formerly named ''Wat Phromsurin'' after the named of the founder-Phra Phromsurin(Sing Singhaseni), Director General of the Police Department, in the reign of King Rama II.

Later, in the reign of King Rama III, Phra Phromsurin was elevated to the title of Chao Phraya Bodindecha, one of the important Ministers. Then he supervised the grand renovation of  the temple. King Rama III accepted it as a royal temple, and named it in commemoration of its founder as ''Wat Parinayok'' which is derived from the word ''Parinayok Rattana'' meaning a beloved General of the King (Chao Phraya Bodindecha) a beloved General of King Rama III.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
#hikingthai.com
Title: Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 11, 2018, 09:17:17 pm
13.วัดมหรรณพาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : เสาชิงช้า
เขต/อำเภอ   : พระนคร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยรัชกาลที่ 3

ถัดจากวัดราชนัดดาไปทางทิศตะวันตกอีกประมาณ 900 ม. จะเป็นที่ตั้งของวัดมหรรณพาราม เป็นอีกวัดที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เช่นเดียวกับวัดราชนัดดาราม และวัดเทพธิดาราม โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นอุดมรัตนราษี(พระองค์เจ้าอรรณพ) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชทานเงินสมทบในการก่อสร้างด้วย

การก่อสร้างมาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงมีพระราชศัทธาพระราชทานทรัพย์ในการสร้างวัดนี้จนแล้วเสร็จด้วย และพระราชทานว่า "วัดมหรรณพาราม"

Wat Mahan Nopparam
About 900 meter from Wat Ratchanaddaram to the west, locates Wat Mahannoparam which was also built in the reign of King Rama III. It was built by Prince Annop, a son of King Rama III, but could not be finished until the reign of King Rama IV.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 13, 2018, 09:37:00 pm
14.วัดสามพระยา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดสามพระยา
เขต/อำเภอ   : พระนคร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยกรุงศรีอยุธยา

วัดสามพระยา สร้างสมัยรัชกาลที่ 1 โดยหลวงวิสุทธิโยธามาตย์(ตรุษ) ขุนนางเชื้อสายมอญและญาติ ได้อุทิศที่ดินพร้อมบ้านเรือนของขุนพรหม(สารท) ผู้เป็นน้องชายซึ่งเป็นนายช่างร่วมควบคุมการก่อสร้างพระมณฑปพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ตามพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 1 และได้เสียชีวิตลง ถวายเป็นวัดขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ขุนพรหม(สารท) แล้วตั้งนามว่า "วัดบางขุนพรหม"

สมัยรัชกาลที่ 3 วัดบางขุนพรหมชำรุดทรุดโทรม พระยาราชสุภาวดี(ขุนทอง) พระยาราชนิกุล(ทองคำ) และพระยาเทพวรชุน(ทองห่อ) ซึ่งเป็นบุตรของนางพวา น้องสาวคนสุดท้องของหลวงวิสุทธิโยธามาตย์(ตรุษ) และขุนพรหม(สารท) ได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์วัด สำเร็จแล้วน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามว่า "วัดสามพระยา" ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.2366

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Wat Sam Phraya
Wat Sam Phraya is a third class royal monastery. Originally named Wat Bang Khun Phrom, it was built in Rattanakosin period by Luang Wisutthiyamat(Trut) who donated the land and house owned by hin younger brother, Khun Phrom(Sart) who was died two years before.

Leter, Phraya Ratsuphawadi(Khunthong), Phraya Ratchanku(Thongkham) and Phraya Thep Worachun(Thong Lor), nephews of Khun Phrom donated a sum to renovate the temple, and then presented it to King Rama III. The temple was upgrade to a royal temp;e and had it name changed to ''Wat Samphaya''
Title: Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 13, 2018, 09:39:39 pm
15.วัดอินทรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางขุนพรหม
เขต/อำเภอ   : พระนคร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยกรุงศรีอยุธยา

วัดอินทรวิหาร เป็นวัดโบราณสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า "วัดบางขุนพรหมนอก" ตามชื่อตำบล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานที่ดินให้เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของครอบครัวชาวเวียงจันทน์

ต่อมาเจ้าอินทร์ น้าชายของเจ้าน้อยเขียวค่อม พระสนมเอกในรัชกาลที่ 1 ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่เรียกว่า "วัดอินทาราม" เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าอินทร์ และได้นิมนต์พระอรัญญิก พระสงฆ์ชาวเวียงจันทร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนาธุระ มีความสนิทสนมคุ้นเคยกับพระบวรวิริยเถร(อยู่) เจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม และเคยเป็นอาจารย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)  วัดระฆังโฆสิตาราม ขึ้นปกครองวัด โดยมีหลักฐานเกี่ยวกับ ชาวเวียงจันทน์ปรากฏอยู่ในวัดอินทรวิหาร ได้แก่ หนังสือคัมภีร์พระธรรม ซึ่งจารด้วยอักษรลาว

สมัยรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆังโฆสิตารามได้เป็นผู้เริ่มสร้างพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ขึ้น 1 องค์ สำเร็จบริบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนนามวัดว่า "วัดอินทรวิหาร" เนื่องจากนามเดิมไปพ้องกับวัดอินทาราม(วัดบางยี่เรือใต้) ฝั่งธนบุรี ประชาชนนิยมเรียกว่า วัดอินทร์บ้าง วัดหลวงพ่อโตบ้าง หรือวัดอินทร์บางขุนพรหมบ้าง

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


Title: Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 14, 2018, 05:20:40 pm
16.วัดดอนเมือง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ดอนเมือง
เขต/อำเภอ   : ดอนเมือง
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : 2438

วัดดอนเมือง ผู้นำในการสร้างวัดนี้ก็เป็นพระภิกษุชาวรามัญ สร้างขึ้นภายหลังการสร้างวัดหลักสี่ประมาณ 17 ปี คือ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

Wat Donmuang
Like Wat Laksi, Wat Donmuang was built by a Mon monk, but it was built 17 years later, in 2438 B.E. in the reign of King Rama XI.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 14, 2018, 05:23:24 pm
17.วัดเสมียนนารี

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ลาดยาว
เขต/อำเภอ   : จตุจักร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : 2400

วัดเสมียนนารีเดิมชื่อว่า "วัดแคราย" สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2400 โดยสุภาพสตรีในวังที่มีตำแหน่งเป็นเสมียนพระคลังข้างที่ ชื่อว่า "เสมียนขำ" ซึ่งต่อมาตำแหน่งนี้ได้สืบทอดมายังธิดาของท่าน คือ คุณท้าวภัณฑสารนุรักษ์(เพิ่ม รัตนทัศนีย์) ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งเป็นเสมียนพระคลังข้างที่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยทั้งสองได้ทำนุบำรุงวัดนี้มาโดยตลอดจนสิ้นอายุไข
เมื่อปี พ.ศ. 2522 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดแคราย เป็น"วัดเสมียนนารี" เพื่อเป็นเกียตริแก่ผู้สร้างวัด

Wat Samien Naree
Formerly called Wat Khae Rai, the temple was a civil temples built by Samian Kham who was clerk in the royal treasury in the reign of King Rama V.
In 2522 B.C. the temples was renamed ''Wat Samien Naree'' the name Wat Samien Naree(Literally means 'female clerk') was derived from position of the temple founder. And later, in 2555, the temple is upgraded to a third class royal monastery.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 16, 2018, 04:54:14 pm
18.วัดโมลีโลกยาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดอรุณ
เขต/อำเภอ   : บางกอกใหญ่
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยอยุธยา พระอารามหลวงประจำพระบรมมหาราชวังพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

**โบสถ์เปิดตลอด

วัดมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดท้ายตลาด" ในสมัยกรุงธนบุรีวัดนี้ได้ถูกรวบรวมเข้าไปในเขตพระราชฐานวัง จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระภิกษุจำพรรษา

ต่อมาเมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้วจึงโปรดฯ ให้นิมนต์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน) และพระภิกษุมาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้

วัดท้ายตลาดได้รับการปฏิสังขรณ์อย่างตลอดต่อเนื่องตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 2 วัดท้ายตลาดคงจะเป็นวัดที่มีความสำคัญทางด้านการศึกษามากถึงขนาดพระองค์ส่งพระโอรสไปทรงศึกษาที่วัดนี้

วัดท้ายตลาดได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดโมลีโลกสุธาราม" ในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่ภายหลังได้กลายเป็น "วัดโมลีโลกยาราม" และเมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ถึงแก่มรณภาพพระองค์โปรดฯ ให้หล่อรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน) ประดิษฐานไว้ที่วัดด้วย

Wat Molle Lokayaram
Wat Molle Lokayaram is and old temple dating from Ayutthaya period. It was incorporated into the palace boundary during the Thonburi period. The temple was renovated continuously from the reign of King Rama II-V. In the reign of King Rama II, the temple might have been so important education institute that the King had his son to study at the temple.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 16, 2018, 04:57:42 pm
19.วัดประยุรวงศาวาส

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดกัลยาณ์
เขต/อำเภอ   : ธนบุรี
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยรัตนโกสินทร์ โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์
พิกัด : 13.73677, 100.49569

**ปิดปรับปรุง แล้วเสร็จ กค.61

วัดประยุรวงศาวาส สร้างสมัยรัชกาลที่ 3 โดย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุวงศ์ ได้อุทิศสวนกาแฟสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2371 ใช้เวลาสร้าง 8 ปี ถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า วัดประยุรวงศาวาส แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดรั้วเหล็ก" เพราะว่ามีรั้วเหล็กขนาดใหญ่แข็งแรง หล่อเป็นหอก ดาบ ขวาน ล้อมวัดดูน่าเกรงขาม ดูเป็นของแปลกสำหรับคนไทย ปัจจุบันรั้วเหล็กเหลือเพียงบริเวณด้านหน้าพระอุโบสถกับวิหารเท่านั้น เป็นวัดแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ทรงลังกา หรือ สีหลเจดีย์ พระวิหารภายในวัดประดิษฐาน พระพุทธนาคน้อย หรือ หลวงพ่อนาค ซึ่งเรียกกันในหมู่ชาวจีนว่า ลักน้อย แปลว่า กลีบบัว 6 ชั้น เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณคู่กับพระศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม ที่ได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย

Wat Prayurawongsawat
The place of the temple was originally the site of a coffee plantation belonging to Somdet Chao Phraya Maha Prayurawong. In 1828, he donated the site for the building of this temple. King Rama III gave the temple its current name but the local people preferred calling it Wat Rualek because of its big fence surrounding the temple made from iron in form of lances, swords and axes. Only a part of fence remains. This is the first temple of Rattanakosin period where the Chedi(Pagoda) was built in the Lanka style. IN side the Wiharn is a Buddha image in subduing Mara Posture called Luang Phor Nark. We believe it was one of a pair with Phra Sri Sakkayamuni, the principal Cuddha image of Wat Suthat Thepwararam.

ที่มา ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 16, 2018, 05:01:54 pm
20.วัดกัลยาณมิตร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : วรมหาวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดกัลยาณ์
เขต/อำเภอ   : ธนบุรี
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : 2368

**เปิดเฉพาะทำวัตรเช้า 08.30 น. และวัตรเย็น 16.00 น.

วัดกัลยาณมิตร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2368 ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเจ้าพระยานิกรบดินทร์(โต กัลยาณมิตร) ได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเดิมเรียกว่า "หมู่บ้านกุฎีจีน" สร้างถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า "วัดกัลยาณมิตร"

รัชกาลที่ 3 โปรดให้สร้างพระวิหารหลวง พร้อมกับเสด็จพระราชดำเนินก่อฤกษ์พระโต เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2380 พระราชทานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง

รัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศในพระบรมราชมาตามหัยยิกา กรมพระศรีสุดารักษ์ และพระบรมราชมาตามหัยยิกาธิบดี พระภัสดาในกรมพระศรีสุดารักษ์ ผู้ซึ่งเคยประทัย ณ วัดกัลยาณมิตรมาก่อน และพระราชทานนามพระพุทธรูปประดิษฐาน ในพระวิหารหลวง เดิมเรียกพระโตว่า "พระพุทธไตรรัตนายก"

รัชกาลที่ 5 โปรดให้กรมโยธาธิการจัดการซ่อมแซมหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ และเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นปราจิณกิติบดี ทรงเป็นมรรคนายกวัดนี้ได้ดูแลซ่อมแซมมาตลอด ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงในปี พ.ศ. 2368

ที่มา พระอารามหลวง เล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Wat Kanlayanamit
Enshrined in the Vihara(Assembly Hall) of Wat Kanlayanamit, Phra Trai Rattananayok of Luang Pho Toh, the 175-year old Buddha image, is highly revered by both local and Chinese people.

King Rama III ordered the construction of the image with intention to imitate the same pattern as that of Ayuttaya, that was to have a Huge Buddha image enshrined on bank of the Chao Phraya river outside the city wall.

The image was also imitated from the Principle Buddha image in the Vihara of Wat Phanan Choeng, Ayutthaya, but smaller in size.

Wat Kanlayanamit was built in 2368 B.E.(1835 A.D.) during the reign of King Rama III. Chao Phaya Nikorn Bodkin(Toh Kanlayanamit) donated his house and land to bulit the temple, and presented it to be designated as a royal temple. King Rama III named it Wat Kanlayanamit(means'good friend') to honor the founder who was considered to be a good friend to him.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 16, 2018, 05:07:38 pm
21.วัดพิชยญาติการามวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : **
แขวง/ตำบล   : สมเด็จเจ้าพระยา
เขต/อำเภอ   : คลองสาน
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : 2372 - 2375

**เปิดตลอด

วัดพิชยญาติการาม หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า "วัดพิชัยญาติ" จะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดอนงคาราม เดิมเป็นวัดร้าง จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ(ทัด บุนนาค) ได้สถาปนาขึ้นใหม่ทั้งวัด แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนาให้วัดว่า "วัดพระยาญาติการาม"

ด้วยเหตุที่ในสมัยนั้นมีการค้าขายกับจีน ประกอบกับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงนิยมศิลปะแบบจีน พระอุโบสถของวัดนี้จึงมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบจีน เช่นเดียวกับทุกวัดที่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยนี้ โดยวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่นำมาจากประเทศจีนด้วย

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงปฏิสังขรณ์วัดนี้อีก และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น"วัดพิชยญาติการาม" ซึ่งใช้มาจนกระทั่งปัจจุบัน

Wat Phitchaya Yatikaram
Wat Phitchaya Yatikaram, or generally called Wat Phichaiyat, is a second class royal monastery of the Worawihan type. There is no record of when the temple was originally built, but it is assumed to be around Ayutthaya period.

The temple was abandoned for along time. Until the reign of King Rama III, It was wholly restored by Somdet Chao Phraya Borom Mahapichaiyat(That Bunnag), a high ranking official in the king's court. And after the restoration it was upgraded to be royal monastery.


ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 17, 2018, 08:19:48 pm
22.วัดเครือวัลย์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : วัดอรุณ
เขต/อำเภอ   : บางกอกใหญ่
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

***ทำวัตรเช้า 08.30 วัตรเย็น 17.00 น.



วัดสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยเจ้าพระยาอภัยภูธร(น้อย บุณยรัตพันธุ์) ผู้เป็นบิดาของเจ้าจอมเครือวัลย์ และเจ้าจอมเครือวัลย์ แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง โดยได้รับพระราชทานนามว่า "วัดเครือวัลย์"

Wat Khruewan
Wat Khruewan is a third class royal monastery of 'Varavihara' type. It was built in the reign of King Rama III by Chao Chom Khruewan, a Royal consort of the King, and her father, Chao Phraya Aphai Phuthon(Noi Boonyarattaphan). The temple was later dedicated to be a royal monastery, and was named ''Wat Khruewan'' Inside the temple, the Ubosot(Ordination Hall) and Vihara(Assembly Hall) which have the same architecture style, locate in pararell line facing Khong Mon(canal). Between the Ubosot and the Vihara stand the 3 Lankan style Chedis(Pagodas).

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 17, 2018, 08:22:13 pm
23.วัดอรุณราชวราราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด   : ราชวรมหาวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดอรุณ
เขต/อำเภอ   : บางกอกใหญ่
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : พระอารามหลวงประจำพระบรมมหาราชวังพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ประจำทั้งสองอาณาจักร กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างสมัยอยุธยา เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2

***เปิดเข้าตลอด ทำวัตรเย็น 18.30 น.

วัดอรุณราชวรารามเดิมชื่อว่า "วัดมะกอก" สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงล่องเรือลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อหาที่ตั้งพระนครแห่งใหม่ มาถึงหน้าวัดแห่งนี้เป็นเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น "วัดแจ้ง" และเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีและสร้างพระราชวังแล้ว วัดแจ้งจึงกลายเป็นวัดในเขตพระราชฐาน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ และได้สร้างพระนครขึ้นใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา จึงได้รื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก วัดแจ้งจึงกลายเป็นวัดที่อยู่นอกพระราชวัง และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงปฏิสังขรณ์วัดและพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอรุณราชธาราม" ซึ่งต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็น "วัดอรุณราชวราราม" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และใช้ชื่อนี้มาจวบถึงปัจจุบัน

Wat Arun Rachawararam
Konwn by its shoter name of Wat Arun, the temple is one of the six royal temple of the highest class of 'Rajavaramahavihara'. The temple is also thought of as King Rama II's monastery.

The temple was constructed during the Ayutthaya period. King Taksin founded the temple when he sailed along Chao Phraya river to look up the place for establishing the capital, and sailed by at dawn, later it became known as the Temple of the Dawn. It also became one of the city's most famous landmarks.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 22, 2018, 06:01:41 pm
24.วัดนรนาถสุนทริการาม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : วัดสามพระยา
เขต/อำเภอ   : พระนคร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ถึงก่อน พ.ศ. 2394

**เปิดเข้าตลอด ทำวัตรเย็น 17.00 น.

วัดนรนาถสุนทริการาม เดิมชื่อว่า "วัดเทพยพลี" บางคนเรียกว่า "วัดฉิมพลี" สันนิฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยสมเด็จพระเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมและคลองนี้ได้ตัดผ่านพื้นที่วัดเทพยพลีด้วย

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระยาโชฏีกราชเศรษฐี(เสถียน โชติกเสถียร) และคุณหญิงสุ่น ภรรยา ได้มีจิตศรัทธาสละทรัพย์เพื่อปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ โดยได้สร้างพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด ครั้งปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ทรงรับไว้ และได้พระราชทานนามให้วัดใหม่ว่า "วัดนรนาถสุนทริการาม" และได้ใช้ชื่อนี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมากระทั่งปัจจุบัน

Wat Noranat Soontharikaram
Originally called Wat Thepayaplee or Wat Chimplee, it was assumed that the temple was built in the reign of King Rama II. In the reign of King Rama V, Phraya Choduekratchasetthi(Thian Chotiksathian) and his wife donated money to restore the temple. After the restoration, the temple was upgraded to be a royal monastery, and given a new name ''Wat Noranat Sootharikaram.''

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 01, 2018, 05:18:47 pm
25.วัดชิโนรสาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บ้านช่างหล่อ
เขต/อำเภอ   : บางกอกน้อย
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยรัชกาลที่ 3

เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 โดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ด้วยพระประสงค์ใช้เป็นที่ประทำสำราญพระอิริยาบถในบางโอกาส แต่วัดยังไม่เสร็จสมบูรณ์

จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ของเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมทั้งพระอารามและสร้างเพิ่มเติมอีก โปรดให้ช่างปั้นและเขียนรูปนาคไว้ทั่วไป และปั้นรูปพระมหามงกุฏลงรักปิดทองไว้เหนือเรือนแก้วหลังพระประธานในพระอุโบสถด้วย

ภายในพระอุโบสถ มีจิตรกรรมฝาผนังที่มีลักษณะพิเศษคือ ใช้สีดำเป็นสีพื้น แบ่งภาพเป็นช่วงๆ ด้านหน้าพระประธานเป็นภาพแผนที่วัด คลอง แม่น้ำ และพระบรมมหาราชวัง นอกนั้นเขียนเป็นภาพวัดต่างๆ เสาทางพื้นสีแดง เขียนลายกรวย เชิงล่างบนเสากลางเป็นลายกนก เป็นรูปนาคทั้งสิ้น

ที่มา : ป้ายในวัด

Wat Chinorasaram
Wat Chinorasaram is located on the bank of the Mon Canal. The princely monk, Somdej Phra Maha Somanachao Krom Phra Poramanuchit Chinoros ordered the construction of the temple in approximately 2379 B.E.(1836 A.D.)

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
#hikingthai.com
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 01, 2018, 05:21:26 pm
26.วัดนาคกลาง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดอรุณ
เขต/อำเภอ   : บางกอกใหญ่
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

แม้จะเป็นวัดที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก แต่วัดนาคกลางก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบูรณปฏิสังขรณ์วัดและการเสด็จพระราชดำเนินมาถวายผ้าพระกฐินที่วัด ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 สืบมากระทั่งปัจจุบัน

วัดนาคกลางเป็นวัดโบราณที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี

Wat Nak Klang
Wat Nak Klang is a third class royal monastery. The temple was built in the Ayutthaya period, and granted a royal monaster since Thonburi period. It has been renovated continuously since the reign of King Rama I until present.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 01, 2018, 05:27:23 pm
27.วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : บางขุนพรหม
เขต/อำเภอ   : พระนคร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : รัชกาลที่ 4


*** เปิดวันพระใหญ่เวลา 12.00 น. หรือไปบอกให้เขาเปิดก็ได้

วัดมกุฏกษัตริยารามเป็นวัดที่สร้างขึ้นคู่กับวัดโสมนัสวิหาร โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สร้างวัดโสมนัสฯ ขึ้นก่อนที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม เพื่อุทิศพระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระบรมราชเทวี และสร้างวัดมกุฏกษัตริยารามถัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ไม่ไกลนัก เป็นวัดส่วนพระองค์คู่กับวัดโสมนัสฯ

Wat Makut Kasatriyaram
King Ram IV(King Mongkut) ordered the construction of the outer city moat to the east of the Cho Phraya river, this was named ''Khlong Padung Krungkaswm.'' He also ordered the construction of temples along the Khlong bank to reflect the style of the Ayutthaya period. Wat Makut was built along with Wat Sommanatviharn which had been built to commemorate King Rama IV'queen.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
#hikingthai.com
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 01, 2018, 05:30:43 pm
28.วัดราชผาติการาม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : วชิรพยาบาล
เขต/อำเภอ   : ดุสิต
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***ทำวัตรเย็น 16.00 น.

วัดราชผาติการาม เดิมชื่อว่า "วัดส้มเกลี้ยง" ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้าง และถูกชาวญวนอพยพรื้อเอาอิฐไปก่อสร้างบ้านเรื่องของตอนเอง ทำให้ไม่เหลือสภาพความเป็นวัด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จึงโปรดฯ ให้สร้างวัดขึ้นใหม่ เป็นการผาติกรรมแทนวัดส้มเกลี้ยง และพระราชทานนามว่า "วัดราชผาติการาม" ซึ่งหมายถึงวัดที่พระราชาทรงผาติกรรม แลกเปลี่ยนทดแทนหรือทำให้เจริญขึ้น

แต่การก่อสร้างวัดยังไม่แล้วเสร็จก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างต่อจนเสร็จ

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการตัดถนนราชวิถีทำให้เนื้อที่ของวัดหายไปส่วนหนึ่ง และต้องย้ายกุฏิที่ตั้งอยู่บริเวณที่ถูกตัดไปเป็นถนนไปสร้างไว้ทางด้านเหนือ แล้วจึงสร้างกำแพงล้อมรอบวัดเพื่อกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน

การบูรณะปฏิสังขรณ์วัดราชผาติการาม ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดมาทุกสมัยกระทั่งปัจจุบัน

Wat Ratchaphatikaram
Wat Ratchaphatikaram is presumed to have been built in the Ayutthaya period but was abandoned. The temple was later restored in the reign of King Rama III and completed in the reign of King Rama IV.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 01, 2018, 05:32:21 pm
29.วัดสังเวชวิศยาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดสามพระยา
เขต/อำเภอ   : พระนคร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

วัดสังเวชวิศยาราม เป็นวัดโบราณ เดิมเรียกว่า "วัดสามจีน" ตามตำนานเล่าว่าชาวจีน 3 คน ร่วมกันสร้างวัด ต่อมาได้เรียกชื่อตามตำบลที่ตั้งว่า "วัดบางลำพู" มีปริศนาลายแทงขุมทรัพย์ว่า ตำบลวัดสามจีน มีหินสามก้อน ที่นอนสามอัน มีต้นโศกเอนที่เจ้าเณรนั่งฉัน

ในสมัยรัชกาลที่ 1 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดบางลำพูพระราชทานแก่นักชี ยายพระองค์เจ้าขัตติยา ต่อมารัชกาลที่ 3 โปรดให้บูรณะวัดใหม่ ได้ย้ายพระอุโบสถไปสร้างในสถานที่ปัจจุบัน

สมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้นายสุด ปลัดกรมช่างหล่อ บูรณะพระประธานในพระอุโบสถแล้วพระราชทานนามว่า "วัดสังเวชวิศยาราม"

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Wat Sangwet Witsayaram
Wat Sangwet Witsayaram is a third class royal monastery. Originally named Wat Bang Lamphu, it was an old temple built before Rattanakosin period. In the reign of King Rama I, Krom Pharatchawang Bowon Mha Surasihanat had built and renovated many buildings in the temple. Further renovation of the Vihara, the Ubosot and the boundary wall around the Ubosot were carried on in the reign of King Rama III.

In the reign of King Rama IV, the Principle Buddha image in the Ubosot was renovated, and the temple was renamed to ''Wat Sangwet Witsayaram''
ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 01, 2018, 05:34:01 pm
30.วัดอมรินทราราม วรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ศิริราช
เขต/อำเภอ   : บางกอกน้อย   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***เปิดเฉพาะ วันพระใหญ่ 14.00 น.

วัดอมรินทราราม เดิมชื่อว่า "วัดบางหว้าน้อย" สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดฯ ให้สถาปนาวัดบางหว้าน้อยขึ้นเป็นพระอารามหลวงคู่กับวัดบางหว้าใหญ่(วัดระฆังโฆสิตาราม) ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 วัดอมรินทรารามได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม และมีการบูรณะอย่างต่อเนื่องโดยเจ้าอาวาสของวัดในแต่ละยุค โดยได้ทุนทรัพย์จากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค และเนื่องจากกรมศิลปากรยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนวัดนี้เป็นโบราณสถานของชาติ การบูรณะอาคารต่างๆ ภายในวัด จึงสามารถทำได้โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร ครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2555 วัดได้ทำการบูรณะพระมณฑปพระพุทธบาทจำลอง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 1,706,000 บาท  จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 04, 2018, 06:39:32 pm
31.วัดชนะสงคราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรมหาวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ชนะสงคราม
เขต/อำเภอ   : พระนคร   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :สมัยอยุธยา

***ทำวัตรเช้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น.

Pat Hemasuk (facebook)
19 August at 01:04 ·
ขึ้นวันที่ 19 แล้ว ผมขอเอาฤกษ์เอาชัยด้วยภาพพระประธานวัดชนะสงคราม ที่ทุกคนจะเข้ากราบขอพรจากท่านถ้ามีเรื่องยุ่งยากใจให้ชนะอุปสรรคทั้งปวง แต่มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าในองค์ของท่านบรรจุเอาไว้ด้วยอะไร คนบางลำพูตั้งแต่เกิดและเคยบวชวัดนี้อย่างผมจะเล่าให้ฟังครับว่าทำไมถึง "ชนะสงคราม" และ ทำไมคนมีปัญหาหนักในชีวิตจะต้องไปกราบขอพรจากท่าน


พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฎฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดาอนาวรญาณ พระประธานวัดชนะสงคราม คนบางลำพูรุ่นเก่าๆ จะเรียกท่านว่า "หลวงพ่อปู่"


กรมพระราชวังบวร มหาสุรสิงหนาท ได้ทรงสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย 16องค์รอบพระประธานจากแบบอย่างของ วัดชุมพลนิกายาราม ตามคติโบราณในการมีชัยชนะเหนือศัตรู และได้ทรงเปลี่ยนชื่อวัดจาก วัดตองปุ ที่เรียกกันมาตั้งแต่สมัยกรุงอยุธยาเป็น วัดชนะสงคราม


หลวงพ่อปู่นั้น เมื่อครั้งแต่เดิมเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น แล้วบุด้วยดีบุกลงรักปิดทองขนาดองค์ไม่ใหญ่นัก แต่เมื่อครั้งที่กรมพระราชวังบวร มหาสุรสิงหนาท ทรงชนะสงครามเก้าทัพแล้วกลับพระนคร ทรงถอดถวายฉลองพระองค์ลงยันต์ที่ทรงใช้ออกศึกสวมคลุมองค์พระประธาน และโปรดให้แม่ทัพนายกองทำเช่นนั้นเหมือนกันทุกคน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แล้วทรงให้ช่างปั้นฉาบปูนทับเสื้อยันต์ของพระองค์และเหล่าแม่ทัพนายกองทั้งหมดลงรักปิดทองจนเห็นองค์พระขนาดใหญ่เหมือนองค์ปัจจุบัน


นั่นหมายถึงทรงทราบแล้วว่าหลังศึกใหญ่ครั้งนี้ ไทยได้รับชัยชนะเด็ดขาดกับพม่า จะไม่มีทัพพม่ากล้ายกทัพเข้ามาอีกแล้วตลอดไป จึงทรงถวายฉลองพระองค์ลงยันต์ที่ใช้ออกศึกแก่หลวงพ่อปู่ โดยจะไม่ทรงกลับมาใช้สวมออกศึกอีกแล้ว


เรื่องนี้มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าพระประธานวัดชนะนั้น ภายในองค์ของหลวงพ่อปู่นั้นคือเสื้อพุทธคุณลงยันต์หลายสิบผืนที่ใช้ออกสงครามเก้าทัพจนได้รับชัยชนะในศึกใหญ่ครั้งนั้น


ประวัติจากหนังสืออีกเล่ม

วัดชนะสงครามเป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่เป็นวัดที่มีมาก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อว่า "วัดกลางนา" เนื่องจากบริเวณที่ตั้งวัดโดยรอบเป็นทุ่งนา ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงใช้บริเวณรอบวัดให้เป็นที่อยู่ของพระภิกษุและชาวรามัญ โดยสถาปนาวัดกลางนาเป็นวัดฝ่ายรามัญและตั้งชื่อใหม่ว่า "วัดตองปุ" เพื่อเป็นการตอบแทนคุณและเป็นเกียรติแก่ทหารรามัญที่ช่วยรบกับพม่า

ต่อมาเมื่อไม่มีสงครามกับพม่าแล้วสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทฯ ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณืวัดตองปุใหม่ แล้วน้อมเกล้าถวายเป็นพระอารามหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดชนะสงคราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทฯ ทรงมีชัยชนะในการทำสงครามกับพม่าถึง 3 ครั้ง

King Rama I ordered the construction of this temple to commemorate the Raman people's assiatance in the ear against the Burmese. Its former name was Wat Klang Na and it was renamed Wat Thong Pu. The King Rama I's Crown Prince renovated Wat Thong Pu, designating it a royal temple. It was renamed Wat Chana Songkhram to commemorate the three victoried over the Burmese.
ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 04, 2018, 06:52:09 pm
32.วัดบวรนิเวศวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : บวรนิเวศ
เขต/อำเภอ   : พระนคร   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :สร้างสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

***ทำวัตรเช้า 08.00 น. วัตรเย็น 20.00 น.

วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อแรกสร้างเรียกกันว่า "วัดใหม่" หรือ "วัดบน" สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ระหว่างปี พ.ศ.2367-2375 ต่อมาในปี พ.ศ. 2379 วัดบวรนิเวศวิหารว่างเจ้าอาวาส พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จึงทรงอาราธนาเจ้าฟ้ามงกุฏฯ(พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในเวลาต่อมา) ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุประทับอยู่ที่วัดราชาธิวาส ให้เสด็จมาครองวัดนี้ และพระราชทานชื่อวัดใหม่ว่า "วัดบวรนิเวศวิหาร"

Wat Bovornives Vihara
Wat Bovornives Vihara is a first class royal monastery ''Rajavaravihara'', which was built in 2372 B.E. by H.R.H. Prince Maha Sakdiphollasep, a son of King Rama III. Its former name was Wat Mai or Wat Bon. It is one of the most important temples in Bangkok, which once its abbot was King Rama IV. Besides, King Rama IV, King Rama VII, as well as His Majesty King Buhmibol Adulyadej resided here during their monkshood.

Inside the temple. it contains the shrine-hall of Phra Buddha Jinasiha, a very beautiful Buddha image which was cast in about 1890 B.E.

There are also many sacred Buddha's statues here, for example, Phra Phiri Pinat(subduing enemies) and Phra Nirantarai.

Wat Bovoranives Bihara is thought of as King Rama VI's monastery.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 04, 2018, 07:01:49 pm
33.วัดตรีทศเทพ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : บ้านพานถม
เขต/อำเภอ   : พระนคร   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :-

วัดตรีทศเทพสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่อนวิษณุนาถนิภาธร(ต้นราชสกุลประดิษฐ์ ณ อยุธยา) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงมีพระประสงค์ที่จะสร้างวัดไว้ที่ริมคลองบางลำพูฝั่งเหนือใกล้วังของพระองค์ แต่หลังจากทรงกำหนดพื้นที่ที่จะสร้างวัดเสร็จ ยังไม่ทันที่จะดำเนินการสร้างก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน พระบาทสมเ็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงมีพระบรมราชโองการให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส(ต้นราชสกุลนพวงศ์ ณ อยุธยา) ซึ่งเป็นพระเชษฐาร่วมพระมารดาเดียวกันทรงสร้างต่อ มีการขุดคลองเขตวัดทั้ง 4 ด้าน ทำรากฐานพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ และกำแพง แต่การก่อสร้างวัดยังไม่ทันเสร็จสมบูรณ์ก็สิ้นพระชนม์ไปอีกพระองค์หนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงทรงสร้างต่อจนเสร็จ และพระราชทานนามว่า "วัดตรีทศเทพ" ซึ่งมีความหมายว่า "วัดที่เทพสามองค์สร้าง" โดยหมายถึงพระองค์ และพระราชโอรสทั้งสองที่ได้ร่วมกันสร้างวัดนี้ขึ้น

Wat Tri Totsathep
Wat Tri Totsathep was built in the reign of King Rama IV. Prince Witsanunart Nipha Thon(Prince Supradit), who was one of King Ram IV'snons, planned to build this temple near his palace. However, he passed away before starting the construction of the temple. Thus, King Rama IV ordered Prince Mahesuan Siwawilat(Prince Nopphawong) to continue the construction. But Mahesuan Siwawilat also passed away before the construction was completed. Then, King Rama IV continued the construction, and was able complete it, and named the temple ''Wat Tri Totsathep''

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 11, 2018, 03:09:30 pm
34.วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด   : ราชวรมหาวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : พระบรมมหาราชวัง
เขต/อำเภอ   : พระนคร   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :สร้างสมัยอยุธยา

*** เปิดตลอด

เดิมชื่อว่า "วัดสลัก" ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 และเปลี่ยนชื่อใหม่หลายครั้งเป็น "วัดนิพพานนาราม" "วัดพระศรีสรรเพชดาราม" และ"วัดมหาธาตุ" และต่อมาในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์"

Wat Mahathat Yawaratrangsarit
Wat Mahathat Yawaratrangsarit is a first class royal monastery 'Rajavaramahavihara', it was built during the Ayutthaya Period. King Rama IV ordered the renovation of the temple. Its former name was Wat Salak, and during restoration in the reigns of King Rama I - King Rama V, It has been renamed many times.
ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 17, 2018, 10:20:42 am
35.วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด   : ราชวรมหาวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : พระบรมมหาราชวัง
เขต/อำเภอ   : พระนคร   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :สร้างสมัยอยุธยา เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1

*** เปิด07.30 น. ห้ามใช้ขาตั้งกล้อง สัก 08.00 น. นักท่องเที่ยวกลุ่มแรกจะมา

วัดเชตุพนฯ เดิมชื่อว่า "วัดโพธาราม" เป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์และสถาปนาเป็นพระอารามหลวงโดยพระราชทานนามวัดว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็น "วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
Wat Phrachetuphon Wimon Mankalaram(Wat Pho)

Known by its shorter name of Wat Pho, or among the foreign tourists as Temple of the Reclining Buddha, Wat Pho Wimon Mankalaram is one of six royal temples of the highest class of "Rajavaramahavihara". The temple is thought of as King Rama I's monastery.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 17, 2018, 10:23:30 am
36.วัดสุวรรณาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ศิริราช
เขต/อำเภอ   : บางกอกน้อย   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :สมัยอยุธยา

*** เปิด07.30 น.

วัดสุวรรณาราม เดิมชื่อว่า "วัดทอง" เป็นวัดที่ร้างปลายกรุงศรีอยุธยา และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 และสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

วัดสุวรรณารามเคยเป็นที่ตั้งพระเมรุหลวง ซึ่งเป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพ เชื้อพระวงศ์และข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

Wat Suwannaram
Initially called Wat Thong, Wat Suwannaram is an ancient temple dating back to the Ayutthaya period. It was restored in the reign of King Rama I, and was renamed Wat Suwannaram. Furtherrestoration was done in the reign of King Rama III.

The temple was formerly the site of Royal Cremation Ground for members of the Royal family and high-ranking officers, and was served for this purpose until the reign of King Rama V.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 17, 2018, 06:50:36 pm
37.วัดธาตุทอง พระอารามหลวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : พระโขนงเหนือ
เขต/อำเภอ   : วัฒนา      
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : 2481

*** ทำวัตรเย็น 16.00 น.

วัดธาตุทองเกิดจากการรวมตัวของ 2 วัด คือ วัดหน้าพระธาตุ และวัดทองล่างโดยวัดหน้าพระธาตุเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร และเหตุที่ได้ชื่อว่าวัดหน้าพระธาตุ เพราะภายในวัดมีพระเจดีย์ใหญ่อยู่องค์หนึ่ง ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนวัดทองล่างตั้งอยู่ปากคลองพระโขนงใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเป็นที่ดินของนายทอง ซึ่งได้บริจาคเพื่อสร้างเป็นวัดขึ้น โดยมีสมภารชื่อทองเช่นกัน ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่าวัดทอง และด้วยเหตุที่มีวัดทองอีกแห่งที่ตั้งอยู่ตอนบนของแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดทองล่าง คู่กับวัดทองบนที่ตั้งอยู่ตอนบนของแม่น้ำ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 รัฐบาลต้องการที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อสร้างท่าเรือกรุงเทพทำให้วัดหน้าพระธาตุ และวัดทองล่างซึ่งอยู่ในบริเวณนั้นถูกเวนคืนทั้ง 2 วัด ซึ่งรัฐบาลได้ชดใช้เงินให้เพื่อไปหาที่ดินสร้างวัดใหม่ทดแทน ซึ่งทั้ง 2 วัด ก็ได้รวมเป็นวัดเดียวกัน และย้ายมาอยู่สถานที่ที่วัดธาตุทองที่ตั้งในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ.2481 โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารในขณะนั้น เป็นองค์อุปถัมภ์ และทรงนำชื่อของวัดทั้ง 2 แห่งนี้มารวมกัน และประทานนามใหม่ว่า "วัดธาตุทอง"

Wat That Thong
Due to the plan to build Bangkok Port on the bank of Chao Phraya River in Khlong Toei area, the government at that time had to take over tha land from the two ancient temples, Wat Na Phra Thai and Wat Thong Lang, which located on that area.

To abide by traditions, the government had to build a new temple to replace the two temples that were demolished. The new temple was built on a land of 54 Rai along Sukhumit Road. When it was completed Somdat Krommaluang Wachirayannawong, the supreme patriarch, named the temple by combining the original names of the two temples as ''Wat That Thong''

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
#hikingthai.com
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 19, 2018, 09:12:55 pm
38.วัด​ราชนัดดารามวรวิหาร​

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บวรนิเวศ
เขต/อำเภอ   : พระนคร      
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :-

*** ทำวัตรเช้า 08.30 เย็น 16.00 น.

เป็นอีกวัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดฯให้สร้างขึ้นเช่นเดียวกับวัดเทพธิดาราม โดยสร้างพระราชทานเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี(ต่อมาทรงเป็นสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4)

วัดราชนัดดาราม เป็นวัดที่มีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนวัดได คือ มีโลหะปราสาทแทนที่จะมีพระเจดีย์เหมือนวัดทั่วไป โดยโลหะปราสาทแห่งนี้เป็นโลหะปราสาทองค์ที่ 3 ของโลก และเป็นองค์เดียวของประเทศไทย ซึ่งโลหะปราสาทองค์แรก และองค์ที่สองมีเพียงตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นที่เมืองสาวัตถี ประเทศอินเดีย และที่เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้จักและเพื่อเป็นเกรียรติแก่พระนครด้วย

Wat Ratchanaddaram
Wat Ratchanaddaram was built in the reign of King Rama III to honor his niece, Princess Somanat Wattanawadi(later become the queen to King Rama IV). It is a third class royal monastery 'Worawiharn'.

Although there are many beautiful structures in the temple, it is best known for the Loha Prasat(Metal Castle) which is one of the most unique temple structures that can be found only in this temple. It is the third Loha Prasat in existence in the world, came after the earlier ones in India and Sri Lanka. Inter modern days, it is the only one of its kind left in the world.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 19, 2018, 09:15:40 pm
39.วัดเทพธิดารามวรวิหาร​

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : สำราญราษฎร์
เขต/อำเภอ   : พระนคร      
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :-

*** พระอุโบสถเปิด 09.00-17.00 น ปิดวันเสาร์

ด้วยเหตุที่สถานที่ตั้งของวัดเทพธิดารามไม่โดดเด่น ซ้ำยังเหมือนกับตั้งหลบอยู่ด้านหลังของวัดราชนัดา จึงถูกบดบังด้วยโลหะปราสาทสวยงามสะดุดตา ยิ่งทำให้วัดเทพธิดารามไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก หรือมีนักท่องเที่ยวแวะมาน้อยมาก
แต่จากบทประพันธ์เรื่อง "รำพันพิลาป" ที่สุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์แต่งขึ้น ซึ่งมีบทพรรณนาถึงลักษณะโดยทั่วไปของวัดเทพธิดาราม ตลอดจนปูชนียสถานและปูชนียวัตถุภายในวัดแห่งนี้ไว้ด้วย ได้ช่วยทำให้มีผู้คนรู้จักวัดแห่งนี้บ้าง

Wat Thepthidaram
Wat Thephidaram was built in the reign of King Rama III to honor his dauther, HR.H. Princess Kromma Kuen Apsonsudathep. It has a Thai structure with a distinct Chinese decor, which is the Characteristic of temples built during the reign of King Rama III. The gables of the buildings are embedded with Chinese porcelain pieces, and in the temple compounds are decorated with Chinese statues.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 19, 2018, 09:17:46 pm
40.วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร​

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรมหาวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บ้านบาตร
เขต/อำเภอ   : ป้อมปราบศัตรูพ่าย   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :สมัยอยุธยา

*** ทำวัตรเย็น 17.00 น.

วัดสระเกศ เดิมชื่อว่า"วัดสะแก" เป็นวัดสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบวัด แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดสระเกศ" แปลว่าชำระพระเกศา เพราะเคยประทับทำพิธีกระยาสนานหรือ ทำความสะอาดพระเกศาที่นี่เมื่อคราวเสด็จกลับจากกัมพูชาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี

ต่อมาสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 โปรดฯให้บูรณะวัดครั้งใหญ่ และโปรดฯให้สร้างบรมบรรพต หรือพระเจดีย์ภูเขาทองขึ้น โดยเริ่มแรกทรงกำหนดให้เป็นพระเจดีย์ฐานย่อมุมไม้สิบสอง แต่สร้างยังไม่ทันเสร็จ คงทิ้งค้างไว้

กระทั่งมาสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้ซ่อมสร้างพระเจดีย์ภูเขาทองที่สร้างทิ้งค้างไว้ โดยทรงเปลี่ยนแบบจากเดิมมาเป็นภูเขาและก่อพระเจดีย์ทรงลังกาไว้บนยอด แต่การก่อสร้างก็ไม่สำเร็จ มาแล้วเสร็จในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และทรงประกอบพระราชพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่บูชาไว้ในพระบรมมหาราชวังไปประดิษฐานในพระเจดีย์ภูเขาทองด้วย รวมทั้งกำหนดให้จัดงานฉลองพระเจดีย์ภูเขาทอง ระหว่างวันขึ้น 8-15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี ซึ่งได้จัดเป็นประจำกระทั่งปัจจุบัน

Wat Saket
The Golden Mount, the golden Chedi(Pagoda) on a man-made hill in Wat Saket, is one of the significant landmark which has made the temple become well known not only among Thai but also foreign tourists.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มีนาคม 21, 2018, 07:19:35 pm
41.วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม​

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : วัดราชบพิธ
เขต/อำเภอ   : พระนคร   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :พ.ศ. 2412
พิกัด : 13.7491, 100.49734

*** ทำวัตรเย็น 17.30 น.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล5 โปรดฯ ให้สร้างวัดราชบพิธฯ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2412 โดยเริ่มจากการสร้างพระเจดีย์ ขึ้นก่อน เพื่อเป็นสิ่งก่อสร้างประธานของวัดตามคติโบราณ แล้วจึงสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร และพระระเบียง ล้อมรอบ ซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานไพทีปูด้วยหินอ่อนยกพื้นสูง ล้อมรอบด้วย กำแพงแก้ว ซึ่งเป็นกำแพงล้อมรอบวัด สูงประมาณ 1 เมตร ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบลายเบจรงค์ มีซุ้มเสมา โปร่งอยู่เหนือกำแพง และมีเสาศิลาจำหลักยอดเป็นรูปเสมาธรรมจักรติดเนื่องกับตัวกำแพงเรียกว่า "มหาสีมา" ซึ่งวัดที่มีมหาสีมาในลักษณะนี้มีเพียง 3 วัดเท่านั้น อีก 2 วัดคือวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม และ วัดบรมนิวาส
ลัษณะพิเศษของวัดที่มีมหาสีมา คือ การทำสังฆกรรมไม่จำกัดเฉพาะในพระอุโบสถเท่านั้น แต่สามารถทำได้ทุกแห่งที่อยู่ภายในขอบเขตของมหาสีมา

Wat Ratchabophit Sathit Mahasimaram

Wat Ratchabophit is a first class royal monastery ''Rajavaravihara'' it is thought of as King Rama V's and King Rama VII's monastery.

The temple was built by King Rama V in 2412 B.E., following the royal tradition that each monarch constructed a temple to mark his rein. It is one of the only 3 temples with Maha Sima boundary. Apart from Wat Ratchabophit, the other 2 temples with Maha Sima boundary are Wat Ratchapradit Sathit Mahasimaram and Wat Baromniwas. Special characteristic of the temple with Maha Sima is that the religious activities are not limited to perform only in the Ubosot, but can be performed anywhere within the Maha Sima boundary.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มีนาคม 21, 2018, 07:22:04 pm
42.วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม​

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : พระบรมมหาราชวัง
เขต/อำเภอ   : พระนคร   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :พ.ศ. 2407 สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4
พิกัด : 13.74964, 100.49551

*** ทำวัตรเย็น 17.30 น.

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างวัดราชประดิษฐ์ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อทรงอุทิศถวายแด่พระสงฆ์ธรรมยุต แล้วพระราชทานนามว่า "วัดราชประดิษฐสถิตธรรมยุติการราม" และเปลี่ยนมาเป็น"วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม"

วัตถุประสงค์ของการสร้างวัด เพราะเหตุผลสองประการ คือ ประการที่ 1 เพื่อให้ต้องตามประเพณีโบราณว่าในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์ ซึ่งทั้งกรุงสุโขทัย เมืองพิษณุโลก และกรุงศรีอยุธยา ล้วนมีครบทั้ง 3 วัด มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีเพียง 2 วัด คือ วัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ ยังขาดแต่วัดราชประดิษฐ์ จึงโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อให้ครบตามประเพณีโบราน ประการที่ 2 เพื่อประโยชน์ในพระองค์ พระบรมวงศาสนุวงศ์ และข้าราชการที่จะได้ทำบุญกับวัดฝ่ายธรรมยุตที่ตั้งอยู่ใกล้กับพระบรมมหาราชวัง ไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงวัดบวรนิเวศน์ฯ ซึ่งเป็นวัดธรรมยุตเพียงวัดเดียวในขณะนั้น ที่อยู่ในบริเวณนั้น

Wat Ratcha Pradit Sathit Mahasimaram
King Rama IV ordered the construction of Wat Ratcha Pradit to honour Thammayuth monks. The temple is thought of as King Rama IV's monastery.

There in no Ubosot(Ordination Hall) in this temple, howerever, monks perform ordination in the Vihara(Assembly Hall) which is made of marble. The front doors and windows of the Vihara are decorated with Maha Pichai Monkut(King Rama IV's name) inside the Vihara, there are mural paintions of 12 month ceremonies and the King's photo of telescoping of solar eclipse at Prachaub Kitikhan province. There is a round Chedi(Pagoda) made of marble next to the Vihara.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มีนาคม 30, 2018, 07:58:38 pm
43.วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : เถรวาท มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : จักรวรรดิ
เขต/อำเภอ   : สัมพันธวงศ์   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :กรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 13.74158, 100.50186

*** ทำวัตรเย็น 17.30 น.

วัดบพิตรพิมุข เดิมเรียกว่า วัดตีนเลน หรือ วัดเชิงเลน ในสมัยรัชกาลที่ 1 สมเด็จพระเจ้าหลานยาเธอเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศน์ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม เมื่อสำเร็จแล้วได้มีงานฉลองในปี พ.ศ. 2328 ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า วัดบพิตรพิมุข เพื่อเป็นเกียรติแก่กรมพระราชวังหลังผู้ทรงปฏิสังขรณ์
รัชกาลที่ 3 โปรดให้ปฏิสังขรณ์ โดยรื้ออาคารเก่าที่สร้างด้วยไม้ออก แล้วสร้างใหม่ด้วยอิฐและปูนทั้งหมด
รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิสังขรณ์และโปรดให้สร้างพลับพลาด้วยไม้สักไว้หลังวัดริมคลองโอ่งอ่าง มีลายสลักพระราชสัญจกร ตราอาร์มอยู่ที่จั่วด้านข้าง เป็นรูปพระราชลัญจกรพระมหาพิชัยมงกุฏ บนพานมีราชสีห์กับคชสีห์ถวายพุ่มกระหนาบอยู่สองข้าง
สมัยรัชกาลที่ 6-7 พระกวีวงศ์(กระแจะ) เป็นเจ้าอาวาสได้บูรณะปฏิสังขรณ์เก๋งจีนที่ชำรุด และสร้างกุฏิตึก 2 ชั้น
ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มีนาคม 30, 2018, 08:03:18 pm
44.วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : วรมหาวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : จักรวรรดิ
เขต/อำเภอ   : สัมพันธวงศ์   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :-
พิกัด : 13.74236, 100.50385

*** ทำวัตรเย็น 17.30 น.

วัดจักรวรรดิราชาวาส สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมเป็นวัดราฏฎร์ มีชื่อว่า "วัดนางปลื้ม" ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดสามปลื้ม" คาดว่าเพราะตั้งอยู่ใกล้สามเพ็ง จึงถูกเรียกเพื้ยนไปเป็นสามปลื้มด้วย

 รัชกาลที่ 1 เจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ได้เริ่มก่อสร้างวัดขึ้นใหม่ทั้งหมด พร้อมกับขุดคูให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้ามาถึงสระที่ขุดไว้สำหรับเก็บน้ำเพื่อเอาไว้ใช้ จากนั้นได้อาราธนาพระสงฆ์จากวัดต่างๆ มาจำพรรษาที่วัด และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2368 ใช้เวลาในการสร้าง 5 ปี ในเวลาต่อมาท่านได้ค้นหา พระบาง ที่ถูกนำไปซุกซ่อนจนพบ และได้นำมาถวายรัชกาลที่ 1 ซึ่งพระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐานไว้ในพระวิหารที่สร้างขึ้นใหม่ แต่ต่อมาเมื่อ รัชกาลที่ 1 ได้เสร็จพระราชทานผ้าพระกฐินที่วัด ทรงทักท้วงว่าพระวิหารสูงกว่าพระอุโบสถหลังเดิม เจ้าพระยาบดินทร์เดชา จึงสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น และอุทิศพระอุโบสถหลังเดิมให้เป็นพระวิหารต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ได้พระราชทาน พระบาง คืนกลับไปประดิษฐานที่ หลวงพระบาง ในประเทศลาว และทรงโปรดเกล้าฯ อัญเชิญ พระนาก จากหอพระในพระบรมมหาราชวังมาประดิษฐานไว้ในพระวิหารแทน

ที่มา : ป้ายในวัด

Originally called ''Wat Sam Pluem'' , Wat Chakkawat Rachathiwas was an ancient temple dated back to Ayutthaya period.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มีนาคม 31, 2018, 10:01:02 am
45.วัดราชบุรณราชวรวิหาร (วัดเลียบ)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วังบูรพาภิรมย์
เขต/อำเภอ   : พระนคร   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :-
พิกัด : 13.74266, 100.49918

*** ทำว้ัตรเช้า 08.00 น. ทำวัตรเย็น 16.00 น.

วัดราชบุรณะเป็นวัด 1 ใน 3 วัดสำคัญที่จะต้องมีประจำในราชธานี ตามประเพณีโบราณที่มีมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์

วัดราชบุรณะเดิมชื่อว่า "วัดเลียบ" เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยตั้งชื่อวัดตามนามของผู้สร้าง คือ นายเลี้ยบ พ่อค้าชาวจีน ต่อมาวัดเลียบกลายเป็นวัดร้าง มาได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 และได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดราชบูรณราชวรวิหาร"

วัดราชบุรณะ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์อย่างตลอดต่อเนื่อง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 3 4 5 และ 7 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยเหตุที่วัดราชบูรณะตั้งอยู่ใกล้กับสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า จึงถูกทิ้งระเบิดทางอากาศอย่างหนัก ทำให้พระอุโบสถ พระวิหารและเสนาสนะต่างๆ ได้รับความเสียหายมาก จนต้องยุบเลิกวัดไป

แต่หลังจากสงครามโลกสงบลง ก็ได้มีการขอตั้งวัดนี้ขึ้นใหม่ และทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดให้กลับมามีสภาพเป็นวัดอีกครั้งหนึ่ง ได้มีการก่อสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงยกช่อฟ้าพระอุโบสถและเททองหล่อพระประธาน เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2503 ส่วนพระปรางค์ซึ่งไม่ได้รับความเสียหายจากสงครามในครั้งนั้น แต่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ก็ได้รับการบูรณะด้วยในปี พ.ศ. 2505

Wat Ratchaburana
Wat Rachabura is located at the foot of the Rama O Memorial Bridge on the Bangkok side. Built in The late Ayutthaya period by a Chinese merchant, it is otherwise known as Wat Liap.

In the reign of King Rama I, the temple was restored, and renamed "Wat Ratchaburana" Then it became one of the 3 principal temples of the capital which include Wat Ratchaburana, Wat Ratchapradit and Wat Mahathat, it had been regularly restored since the reign of King Rama I through to the reign of King Rama IV.

During World War II, the temple principal buildings, especially Ubosot (Ordination Hall), were badly damaged by bombing. After the war, new Ubosot was built, while Phra Prang(pagoda), the onlly survival from the war, was restored.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มีนาคม 31, 2018, 10:03:12 am
46.วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด   : ราชวรมหาวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดราชบพิธ
เขต/อำเภอ   : พระนคร   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :พ.ศ. 2350 สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พิกัด : 13.75111, 100.50107

วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2530 โดยสร้างขึ้นที่กลางพระนครเสมือนเขาพระสุเมรุ ตามความเชื่อเรื่องศูนย์กลางจักรวาล

การสร้างวัดเริ่มขึ้นโดยการสร้างพระวิหารหลวงขึ้นก่อน เพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่ทรงสร้างค้างไว้เพียงฐานพระวิหารก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดฯ ให้สร้างต่อโดยทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เองด้วย แต่การก่อสร้างยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นรัชกาลไปอีก การก่อสร้างวัดได้มาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยโปรดฯ ให้สร้างพระอุโบสถ พระเจดีย์ ศาลาการเปรียญ กุฏิ ตลอดจนเสนาสนะอื่นๆ และพระราชทานนามว่า "วัดสุทัศน์เทพวราราม"

Wat Suthat Thep Wararam
Wat Suthat is one of the six royal temples of the highest class of 'Rajavaramahavihara'. The temple is thought of as King Rama VIII's monastery. It is notable for its mother-of-pearl door panels and the image of Phra Sri Sakayamuni.
Phra si Sakayamuni was enshrined in Phra Wiharn Lunag when King Rama I ordered that the Buddha image tranferred from Wat Maha That, Sukhothai province. Phra Wiharn Luang is a replica of Phra Wiharn Phra Mongkolbophit in Aytrrhaya. The King Rama II.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 01, 2018, 06:29:47 pm
47.วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร(จอมทอง)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางค้อ
เขต/อำเภอ   : จอมทอง   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : วัดประจำรัชกาลที่ 3
พิกัด : 13.70287, 100.4643

*** วัดท่องเที่ยวเปิดตลอด

วัดราชโอรสาราม มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดจอมทอง" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์(พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ในสมัยต่อมา) ทรงเป็นแม่ทัพไปสกัดกั้นกองทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ ระหว่างทางพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงแวะประทับแรมที่วัดจอมทอง และทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม ทรงอธิษฐานขอให้ได้ชัยชนะและสามารถเสด็จกลับพระนครโดยสวัสดิภาพ

เมื่อเสด็จกลับมาถึงพระนคร จึงได้โปรดฯ ให้สถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดราชโอรสาราม" หมายถึง วัดที่พระราชโอรสทรงสถาปนา

Wat Tatcha Orasaram
The temple was founded in the Ayutthaya period. In the reign of King Rama II, with a remour of the Burmese invasion, the King therefore sent an army led by his son, Prince Chesasa Bodin, the future King Rama III, to the frontier at Kanchanaburi to defend against the Burmese army. On the way the Prince stopped at the temple and officiated over religious ceremony, a Brahmin ceremony that blesses worries who are going to the war.

After victory on war. The Prince ordered the entire temple to be restored. Because of his favourite in Chinese style art. The harmony of Thai and Chinese style can be seen in both the Ubosot(Ordination Hall) and the Vihara(Assembly Hall) of the Reclining Buddha. It was the first temple built without the typical Thai decoration on the roof of the Ubosot and Vihara.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 01, 2018, 06:31:42 pm
48.วัดนางนองวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางค้อ
เขต/อำเภอ   : จอมทอง   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 13.70386, 100.46659

วัดนางนอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดหนัง อีกฝั่งหนึ่งของคลองสนามชัย เป็นวัดที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นเดียวกับวัดหนัง และวัดราชโอรสาราม ที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ด้วย โดยสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ภายในวัดนางนองทั้ง พระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ และศาลาหน้าวัด เป็นต้น ล้วนมีลักษณะศิลปะแบบไทยประยุกต์ผสมผสานกับศิลปกรรมแบบจีน เช่นเดียวกับสิ่งปลูกสร้างภายในวัดราชโอรสาราม มีเพียงวัดหนังเพียงวัดเดียวที่ไม่ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบจีน

Wat Nang Nong
Located on the eastern bank of Sanam Chai Canal, Wat Nang Nong was also built in Ayutthaya period as Wat Nang and Wat Racha Orosaram, and was restored in the reign of King Rama III.

Like Wat Racha Orosaram, Wat Nang Nong was also decorated with a combination of Thai and Chinese style which was King Rama III's favorite artistic style. Only Wat Nang that was not influent by the artistic style.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 02, 2018, 07:13:24 pm
49.วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : ปทุมวัน   
เขต/อำเภอ   : ปทุมวัน   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ.2400
พิกัด : 13.74592, 100.53674

**วัดท่องเที่ยวเปิดตลอด

วัดปทุมวนารามเดิมชื่อว่า "วัดสระปทุม" สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี โดยสร้างคู่กับพระราชอุทยานสระปทุม ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับพักผ่อนพระราชอิริยาบถนอกพระนคร

Wat Phathumwanaram
Formerly called'' Wat Sra Pathum'', the temple was built by King Rama IV commemorate Queen Thepsirinthra. It was built in the same compound as the Sra Pathum Palace which was King Ram IV's summer palace. Today Wat Pathumwanaram is a third class royal monastery.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 02, 2018, 07:15:43 pm
50.วัดหัวลำโพง พระอารามหลวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : สี่พระยา
เขต/อำเภอ   : บางรัก   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 13.73164, 100.52944

**วัดท่องเที่ยวเปิดตลอด

วัดหัวลำโพงเดิมชื่อว่า "วัดวัวลำพอง" ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างและนามผู้สร้าง แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยหลังจากกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าทำลายเผาบ้านเมืองและวัดวาอาราม ทำให้ประชาชนพากันอพยพลงมาทางใต้และมาตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านทุ่งวัวลำพอง ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณวัดหัวลำโพง ต่อมาได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นมาชื่อว่า "วัดวัวลำพอง" ตามชื่อหมู่บ้าน

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้สร้างทางรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และให้สร้างสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ขึ้นที่บริเวณนอกเมืองใกล้กับคูเมืองชั้นนอก คือ คลองผดุงกรุงเกษม และพระราชทานนามว่า "สถานีรถไฟหัวลำโพง" ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากวัดวัวลำพองประมาณ 2 กม. และเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินที่วัดนี้ จะได้พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดหัวลำโพง"

Wat Hua Lamphong
Located not far from Bangkok's Railway Station. Wat Hua Lampong is in the main business areas like Silom, Surwong and Siam Square where is easily access by the sky train, and the underground train. Besides, there is and underground train station in front of the temple that makes it a lively place all day.

Built in early Rattanakosin period, the temple was formerly called ''Wat Wua Lamphong'' It was later changed to the present name by King Rama V after the construction of Hua Lamphong or Bangkok Railway Station.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 06, 2018, 12:45:46 pm
51.วัดหนัง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางค้อ
เขต/อำเภอ   : จอมทอง
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 13.70506, 100.46509

**ทำวัตรเช้า 08.30 น.วัตรเย็น 16.30 น.

วัดหนัง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ร้างมานานร่วม 200 ปีเศษ ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีของรัชกาลที่ 3 ได้ทรงสถาปนาใหม่ทั้งวัด ยกเว้นพระประธานในอุโบสถ พระพุทธศิลาในวิหาร และองค์ระฆัง มีการฉลองวัดในปี พ.ศ. 2380 ต่อมารัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้ง เนื่องจากระยะนั้นวัดทรุดโทรมมาก พระอุโบสถสร้างแบบก่ออิฐถือปูน มีเฉลียงรอบ หลังคาซ้อนสามชั้น ภายในเขียนลายดอกไม้ร่วงที่ผนังตอนบน พระประธานเป็นพระปางมารวิชัย ฝีมือช่างสุโขทัย นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐาน หลวงปู่เฒ่า ที่ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธา

Wat Nang Rachaworaviharn
Wat Nang is an ancient monastery that had been built during the Ayutthaya period. It was abandoned for almost two centuries, in Bangkok period, Somdet Phrasrisulalai, King Rama III's mother(1824-1851) renovated the entire temple with the exception of a few objects such as the principal Buddha image in the ordination hall, The Buddha image in Wihara and the Bell. The temple was celebrated in 1837, during the reign of King Rama V(1868-1910), restoration works were carried out again in order to improve its state of preservation, the ordination hall(Ubosot), constructed with bricks and lime cement, has three tired-roofs, inside the building, there are paintings on the upper wall of falling flowers. The principal Buddha image was made in the style of Sukhothai art in the Subsuing Mara(Satan) Pose, in addition, the image of the late most revered monk, Luang Pu Thao is also kept here.

ที่มา ป้ายในวัด

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 06, 2018, 12:47:27 pm
52.วัดคูหาสวรรค์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : คูหาสวรรค์
เขต/อำเภอ   : ภาษีเจริญ
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 13.73239, 100.46185

**ทำวัตรเช้า 08.00 น.วัตรเย็น 16.00 น.
พระพุทธเทวปฏิมากร ซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามมาช้านาน เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดคูหาสวรรค์ และถูกอัญเชิญไปวัดพระเชตุพนฯ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ซึ่งพระองค์โปรดฯ ให้สร้างพระประธานองค์ใหมขึ้นแทน พระนามว่า "พระพุทธเทวะ" และบูรณะพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญและเสนาสนะต่างๆ และพระราชทานนามให้วัดว่า "วัดคูหาสวรรค์"

Wat Khuha Sawan
Phra Phutta Thewa Patimakon, the principle Buddha image that enshrines in the Ubosot of Wat Phra Chetuphon of Wat Pho today, used to enshrine in Wat Khuha Sawan. King Rama I ordered the relocation of the Buddha image to Wat Pho during his reign, and built another Buddha image for replacement.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 06, 2018, 12:48:46 pm
53.วัดอัปสรสวรรค์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ปากคลองภาษีเจริญ
เขต/อำเภอ   : ภาษีเจริญ
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 13.72, 100.46983

**เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

หอพระไตรปิฎก ตั้งอยู่กลางสระน้ำภายในวัดอัปสรสวรรค์เป็นโบราณสถานที่ทรงคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ และเป็นต้นแบบของหอเขียนที่พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดด้วย

ปัจจุบันหอพระไตรปิฎกมีสภาพทรุดโทรมอย่างมาก ดังนั้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 กรมศิลปากรจึงได้จัดสรรงบเงินอุดหนุนให้แก่วัดจำนวน 10,500 บาท เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์หอพระไตรปิฎกหลังนี้โดยด่วน ซึ่งทางวัดเองและหน่วยงานเอกชนได้ร่วมสมทบทุนด้วย

วัดอัปสรสวรรค์ เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยเจ้าจอมน้อย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์บูรณะเพิ่มเติม และพระราชทานนามว่า "วัดอัปสรสวรรค์" เพื่อเป็นที่ระลึกแด่เจ้าจอมน้อย

Wat Apsorn Sawan
The most interested building in Wat Apsorn Sawan is the encient wooden Tripataka Hall which locates in the pond in the temple compound.

Wat Apsorn Sawan is a third royal monastery of 'Varavihara' type. It was an ancient temple dating back to the Ayutthaya period.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 06, 2018, 12:49:47 pm
54.วัดปากน้ำ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ปากคลองภาษีเจริญ
เขต/อำเภอ   : ภาษีเจริญ
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 13.72212, 100.47069

**เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

วัดสร้างสมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด และทรงรับเป็นพระอารามหลวง ต่อมารัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองติดอยู่กับวัด และในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างประตูคลองด่านภาษีเจริญ ประชาชนจึงเรียกวัดนี้ว่า "วัดปากน้ำภาษีเจริญ" มาจนถึงปัจจุบัน

ภายในวัดมีหอไตรสร้างโดยช่างสมัย สมเด็จพระนาราณ์มหาราช เป็นศิลปะวัตถุที่ทำด้วยไม้ ซึ่งมีอายุคงทนน่ามหัศจรรย์มาก ฝีมือการสลักไม้รูปกระจัง ซุ้มประตู หน้าต่างและหน้าบัน ก็งดงามเช่นกัน วัดนี้มีโรงครัวเป็นของวัดเอง พระภิกษุสามเณร จึงไม่ต้องออกบิณฑบาต ทั้งนี้เพราะบารมีของ พระมงคลเทพมุนี หรือที่รู้จักกันในนามของ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่ได้ตั้งโรงครัวขึ้น และยังไม่ตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานที่เรียกว่า "วิชาธรรมกาย" ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

Wat Paknam
The temple was built in Ayutthaya period. It was first restored and renovated by King Rama III and became one of the royal temples in his patronage. King Rama IV had ordered the construction of a canal adjacent to the temple and King Rama V had ordered building of the Khong Dan Phasicharoen Watergate. The temple since then has been known as Wat Paknam Phasicharoen.

In the temple, there is Hor Trai(The hall keeping scriptures of Lord Buddha teachings) built since King Nari the Great from Ayutthaya period decorated with fascinating wooden works and art objects. The temple has its own kitchen to cook meals for the monks and receive offerings from layman. Thus monks of this monastery do not need to make the usual daily alms receiving. The kitchen was set up by a much revered monk named Phra Mongkhon Thepmuni, better known as Luang Phor Wat Paknam who also set up a meditation school widely known as Dhammagaya.

ที่มา ป้ายในวัด

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 07, 2018, 06:59:46 pm
55.วัดนิมมานรดี

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางหว้า
เขต/อำเภอ   : ภาษีเจริญ
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 13.70763, 100.42703

**เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

วัดนิมมานรดีเดิมชื่อว่า "วัดบางแค" สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ขุนตาลวโนชากร(นิ่ม) และภรรยาชื่อดี ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ทั้งหมด วัดบางแคจึงได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น "วัดนิมมานรดี" เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด โดยใช้ชื่อของขุนตาลวโนชากร(นิ่ม) เป็นชื่อต้น และชื่อภรรยาต่อท้าย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ประดิษฐานที่หน้าบัน พระอุโบสถหลังใหม่ และหน้าบัน ศาลาการเปรียญ และเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงตัดลูกนิมิต เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2514

ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงยกฉัตร พระเจดีย์ และทรงเททองหล่อ พระสีวลี พร้อมกับได้พระราชทานนามาภิไธย ส.ธ.ประดิษฐานที่ผ้าทิพย์พระสีวลี

Wat Nimman Noradee
Originally called Wat Bang Khae, the temple was built in the reign of King Rama I, Later, in the reign of King Rama V, the temple was wholly restored by Khun Tanwanochakon(Nim) and Mrs. Dee, his wife. It was then renamed Wat Nimman Noradee to honor the founders.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 07, 2018, 07:01:29 pm
57.วัดนางชีโชติการาม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ปากคลองภาษีเจริญ
เขต/อำเภอ   : ภาษีเจริญ
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 13.7166, 100.46828

**ทำวัตรเย็น 16.00 น.

วัดนางชี เป็นวัดที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้าง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระยาราชานุชิต(จ๋อง) ได้บูรณะใหม่ทั้งพระอาราม แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดนางชีโชติการาม"

Wat Nang Chi
Wat Nang Chi is an ancient temple dating back to the Ayutthaya period. It was restored in the reign of King Rama III, therefore, Chinese artistic style which was King Rama III's favorite style, was applied to most of the buildings in the temple.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 08, 2018, 10:33:43 am
58.วัดจันทารามวรวิหาร (วัดกลาง ตลาดพลู)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางยี่เรือ
เขต/อำเภอ   : ธนบุรี
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : กรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 13.72237, 100.48109

วัดจันทาราม สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระยาสุรเสนา(ขุนเณร) ได้มาบูรณะวัดขึ้นใหม่และได้รับพระราชทานนามว่า "วัดจันทาราม"

ต่อมาภายหลังได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง โดยเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร ปัจจุบันมีเนื้อที่ 16 ไร่ 3 งาน 32 ตารางวา

Wat Chantharam
Originally named Wat Bang Yi Ruea Klang or Wat Klang, Wat Chatharam was built in the Ayutthaya period, and was renovated by Phraya Surasena(Khun Nen) in the reign of King Rama III.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 08, 2018, 10:35:04 am
59.วัดราชคฤห์วรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางยี่เรือ
เขต/อำเภอ   : ธนบุรี
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 13.72156, 100.47893

วัดราชคฤห์ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยทหารมอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทย และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณแขวงบางยี่เรือ

ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดฯ ให้พระยาพิชัยดาบหักบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้นใหม่ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ทหารพม่าที่ท่านสังหารเมื่อคราวสงครามกู้เอกราช เพราะพระยาพิชัยฯ เคยนำทหารมาซุ่มยิงเรือพม่าที่ตรงบริเวณนี้ ซึ่งได้กลายเป็นที่มาของชื่อ "บางยี่เรือ" ด้วย โดยสันนิษฐานว่าแต่เดิมน่าจะเรียกบริเวณนี้ว่า "บึงยิงเรือ" ตามตำนานเรื่องราวที่เกิดขึ้น และในเวลาต่อมาจึงได้เพี้ยนมาเป็นบางยี่เรือ

พระยาพิชัยฯ ได้สร้าง พระอุโบสถ ซึ่งปัจจุบันมีสถานะเป็น พระวิหารใหญ่ ที่ตั้งอยู่ทางด้านหน้าวัด พระปรางค์ พระเจดีย์ และพระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้อีกครั้ง แล้วยกฐานะให้เป็นพระอารามหลวง และพระราชทานนามให้วัดว่า "วัดราชคฤห์"

เจ้าพระบาพระคลัง(หน) ได้สร้างเขามอ ซึ่งเป็นภูเขาจำลองขึ้น เพื่อประดิษฐาน พระมณฑปพระพุทธบาทจำลอง บนยอดเขา

Wat Ratcha Khrue
Wat Ratcha Khrue is an ancient temple dating from the late Ayutthaya period. It was sometimes called Wat Mon not only because it was built by a Mon soldier, but there were also Mon monks residing in the temple.

In Thonburi period, King Taksin the Great ordered the restoration of the temple. The Ubosot (Ordination Hall) which was converted to the main Vihara(Assembly Hall), Prang(Pagoda), Chedis(Pagodas) and a Buddha image were built.

Further renovation of the temple was carried out in the reign of King Rama I. Then it was granted a third class royal monastery of 'Varavihara' type, and given its present name.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 12, 2018, 07:12:39 pm
60.วัดอินทารามวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางยี่เรือ
เขต/อำเภอ   : ธนบุรี
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 13.7232, 100.48344

*** เปิด ส อ วันหยุด 08.00-17.00 น. ทำวัตรเช้า 08.00 น.วัตรเย็น 17.00 น.


วัดอินทารามเป็นวัดที่สำคัญมากในสมัยกรุงธนบุรี เพราะเป็นวัดที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จฯ มาประกอบพระราชกุศลและปฏิบัติธรรมอยู่เป็นประจำ โดยยังปรากฏพระแท่นบรรทม ที่พระองค์ทรงประทับแรมทรงธรรม และทรงกรรมฐาน อยู่ภายในพระวิหารน้อย หรือ พระวิหารสมเด็จพระเจ้าตากสิน และมีโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค์หลายอย่าง อีกทั้งเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตวัดนี้ยังเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมศพ ถวายพระเพลิง และบรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ไว้ที่นี่ พระเจดีย์กู้ชาติ ซึ่งตั้งอยู่หน้า พระอุโบสถหลังเก่า คู่กับ พระเจดีย์เหลื่ยมย่อมุมปล้องไฉน

วัดอินทารามเป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดบางยี่เรือนอก" คู่กับวัดราชคฤห์ซึ่งเรียกว่า "วัดบางยี่เรือใน" สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดฯให้ ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอารามและสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ในปัจจุบันวัดอินทารามเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่

Wat Inthraram
Originally called Wat Bang Yi Ruea Nok, Wat Intharam was built during the Ayutthaya period. It was restored entirely by King Taksin the Great, who afterwards granted it the status of a royal temple. It was his favorite temple where he came to meditate and observe religious precepts.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 12, 2018, 07:13:49 pm
61.วัดเวฬุราชิณ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางยี่เรือ
เขต/อำเภอ   : ธนบุรี
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 13.72589, 100.48603

***ทำวัตรเช้า 08.00 น.วัตรเย็น 17.00 น.

วัดเวฬุราชิณ สร้างขึ้นโดยเจ้าพระยาพลเทพ(เอี่ยม ต้นตระกูลชูโต) ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และมาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยเมื่อแรกสร้างวัดได้ตั้งชื่อตามสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งวัด ซึ่งเป็นคุ้งน้ำใหญ่ในคลองบางกอกใหญ่ว่า"วัดใหม่ท้องคุ้ง"

เมื่อสร้างเสร็จเจ้าพระยาพลเทพ จึงได้ถวายเป็นพระอารามหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานนามให้วัดว่า "วัดเวฬุราชิณ" ซึ่งแปลว่า วัดที่สร้างจากภาษีไม้ไผ่ของพระราชา ตามปฐมเหตุของการสร้างวัด คือ เจ้าพระยาพลเทพ ซึ่งเป็นเจ้าภาษีรับสัมปทานจากหลวงในการเก็บภาษีไม้ไผ่ ได้นำเงินภาษีจากราษฏรที่ค้าชำระมาใช้สร้างวัด

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระยาพิศาลศุภผล(ชื่น พิศาลบุตร) และขุนตาลวโนชากร(นิ่ม แสนวัด) ได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เท่ากับเป็นการสร้างวัดใหม่ทั้งหมด

Wat Wayrurachin
Wat Wayrurachin was built by Chao Praya Phollathep in the Rattanakosin period during the reign of King Rama III, and was completed in the reign of King Rama IV. It was formerly called Wat Mai Thongkhung, due to its location at the bend of a watercourse, and when granted royal temple status, it was renamed Wat Wayrurachin.

The temple's name means 'the temple that built by the money collected from taxes on bamboo' since the construction cost came from taxes levied on bamboo forests to which Chao Phraya Phollathep had been granted the sole authority for collecting.

In the reign of King Rama V, the temple was wholly renovated and modified some of its structures.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 12, 2018, 07:14:46 pm
62.วัดโพธินิมิตรสถิตมหาสีมาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางยี่เรือ
เขต/อำเภอ   : ธนบุรี
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :

เป็นวัดขนาดเล็กมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่เศษ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระวันรัต(แดง สีลวฑฒโน) วัดสุทัศนเทพวราราม ได้อุทิศที่ดินอันเป็นมรดกสร้างวัดขึ้นแล้วถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานนามให้วัดว่า "วัดโพธิ์นิมิตร" และได้ประกอบพิธีผูกมหาสีมา ซึ่งนับเป็นวัดแรกและวัดเดียวของคณะสงฆ์มหานิกายที่มีเขตกำหนดสังฆกรรมเป็นมหาสีมา

Wat Phonimit Sathitmahasimaram
Wat Phonimit is a third class royal monastery. It was built in the reign of King Rama V on the land owned by parents of Somdet Phra Wannarat, the abbot of Wat Suthat Thepwararam. King Rama V named it Wat Phonimit, and granted the Maha Sima or the great consecrated boundary.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 14, 2018, 11:18:14 am
63.วัดหงส์รัตนาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดอรุณ
เขต/อำเภอ   : บางกอกใหญ่
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยอยุธยา พระอารามหลวงประจำพระบรมมหาราชวังพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

*** วัดท่องเที่ยวเปิดตลอด

วัดมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดเจ้าสัวหง" ตามชื่อของเศรษฐีชาวจีนผู้สร้างวัดนี้ ในสมัยกรุงธนบุรี วัดหงส์รัตนาราม ถือเป็นศูนย์กลางการศึกษาทางศาสนา และตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานด้วย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงรับวัดนี้ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และโปรดฯ ให้บูรณะวัดครั้งใหญ่ โดยมีการขยายอาณาเขตวัดออกไปให้กว้างขึ้น สร้างเสนาสนะต่างๆ เพิ่มเติมทั้งพระอาราม และพระราชทานนามให้วัดว่า "วัดหงส์อาวาสวิหาร"

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้อีก และเปลี่ยนชื่ออีกหลายครั้งกล่าวคือ เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดหงส์อาวาสบวรวิหาร" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 และเป็น "วัดหงส์อาวาสวรวิหาร" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระราชทานนามให้วัดว่า "วัดหงส์รัตนาราม" จึงได้ใช้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบัน

Wat Hong Rattanaram
Built in the Ayutthaya period, Wat Hong Rattanaram was originally called ''Wat Chao Sua Hong'' after the name of a Chinese millionaire, its founder.

During the Thonburi period, the temple was the center for religious education under the patronage of King Taksin the Great.

The King restored the whole temple as well as built many important structures such as the Ubosot(Ordination Hall) and the Vihara(Assembly Hall), etc.

Further renovations of the temple were done during the Rattanakosin period as several times as the changes of its name. Its present name was given since the  reign of King Rama IV.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 14, 2018, 11:19:40 am
64.วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร (วัดพลับ)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดอรุณ
เขต/อำเภอ   : บางกอกใหญ่
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยอยุธยา

วัดราชสิทธาราม เดิมชื่อว่า "วัดพลับ" พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้สร้างวัดใหม่ขึ้นในที่ติดกับวัดพลับเดิม และรวมสองวัดเข้าด้วยกัน แล้วเรียกว่าวัดพลับเช่นเดิม

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงสร้าง พระตำหนักจันทร์พระราชทานให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ประทับเมื่อครั้งทรงผนวชอยู่ ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 3 ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ มีการสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ ฯลฯ และทรงปฏิสังขรณ์ตำหนักจันทร์ และพระราชทานนามให้วัดใหม่ว่า "วัดราชสิทธาราม"

Wat Ratchasittharam
Wat Ratchasittharam is a second class royal monastery founded by King Rama I. He built the new royal temple in the area adjacent to an ancient temple of Ayutthaya period, named Wat Phlab, and then merged the two temple.

The King also invited Phra Archa Suk, a famous meditation instructor, from Wat Tha Hoy, in Ayutthaya province, to reside in the new temple.

Phra Archan Suk was later granted the title of Buddhist supreme patriarch.

This temple was where Kings Rama II, III and IV studied Buddhist practices and meditation. Moreover, King Rama III and King Rama IV used to reside in the temple during their monkhood. Tamnak Chan, the building where they resided, is still well reserved untio today.
In the reign of King Rama III, the temple was wholly restored, and there were construction of more buildings such as the Ubosot(Ordination Hall), the Vihara(Assembly Hall), and Sala Karnparien(Teaching-learning Hall), etc.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 15, 2018, 09:53:32 am
65.วัดศรีสุดาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางขุนนนท์
เขต/อำเภอ   : บางกอกน้อย
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :

วัดศรีสุดารามวรวิหาร เป็นวัดโบราณสร้างมานานก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อว่า วัดชีปะขาว ในสมัยรัชกาลที่ 1 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นพระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงสถาปนาวัดขึ้นมาใหม่ ต่อมารัชกาลที่ 4 โปรดให้ปฏิสังขรณ์และสร้างพระอุโบสถใหม่แทนหลังเก่า และพระราชทานนามว่า วัดศรีสุดาราม วัดนี้เคยเป็นสถานที่ศึกษาของ สุนทรภู่ กวีเอกของโลกเมื่อสมัยเยาว์วัย ภายในวัดมีศาลาการเปรียญ ที่สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาซึ่งมีสภาพสมบูรณ์มาก มีรูปหล่อพระพุฒาจารย์โต และวังมัจฉาอยู่บริเวณหน้าวัดซึ่งเป็นเขตอภัยทานมีปลาสวายนับพันตัว

Wat Srisudaram
Loacted on the bank of the Bangkok Noi canal, Wat Sri Sudaram is an old temple dating back to the Ayutthaya period, and the place where the tamous Thai poet Sunthon Phu studied while he was a boy.

Sunthorn Phu is Thailand's the most famous poet who lived through the reign of King Rama I- King Rama IV. He was bestowed the title Phra Sunthorn Voharn and appointed Poet Laureate.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
#hikingthai.com

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2018, 11:11:50 am
66.วัดบวรมงคลราชวรวิหาร วัดลิงขบ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : บางยี่ขัน
เขต/อำเภอ   : บางพลัด
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : 2300

วัดบวรมงคลเดิมเป็นวัดสำหรับพระสงฆ์ชาวมอญ แต่เมื่อปี พ.ศ.2462 ได้เปลี่ยนเป็นวัดธรรมยุต และมีพระสงฆ์ไทยจำพรรษา วัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2300 โดยชาวมอญที่อพยพมาจากเมืองหงสาวดีหลังจากพม่าตีแตก เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มหาเสนานุรักษ์ ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ และพระราชทานนามว่า "วัดบวรมงคล"

Wat Bowon Mongkol
Wat Bowon Mongkol  was built in 2300 B.E.(1757 A.D.) by Mon people who fled the war against Burmese. Later in the reign of King Rama I, the temple was restored by Krom Phraratchawangbowon Mahasenanurak.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
#hikingthai.com

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2018, 11:13:00 am
67.วัดคฤหบดี

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางยี่ขัน
เขต/อำเภอ   : บางพลัด
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :

***เปิดตลอด

แต่เดิมวัดนี้เป็นบริเวณบ้านพระราชทานของพระสุนทรโวหาร(สุนทรภู่) ในรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ พระราชทานบ้านให้พระยาราชมนตรีบริรักษ์(ภู่) พระยาราชมนตรีบริรักษ์ได้ย้ายบ้านข้ามฟากมาปลูกขึ้นใหม่บริเวณประตูท่าพระ แล้วอุทิศที่ดินสร้างเป็นวัดน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวงได้รับพระราชทานนามว่า "วัดคฤหบดี" ในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปทองคำโบราณปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน พระนามว่าหลวงพ่อแซกดำ ซึ่งรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นพระประธานในพระอุโบสถตั้งแต่เริ่มสร้างวัด เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 1700-1800 ได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2369 บริเวณหน้าวัดมีเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม 12 ทรงระฆังกลม และที่สำคัญที่สุดคือพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งอยู่ริมน้ำ นับว่าเป็นวัดใหญ่ที่แผนผังอันสวยงาม โดยเฉพาะเมื่อมองจากหน้าวัดเข้าไปจากแม่น้ำเจ้าพระยา

Wat Kharueha Bodi
In 1824, King Rama III gave this land to Phraya Rajamontri Borirak(Phu) together with the wooden house in which the poet laureate Sunthorn Phu used to live. The house was moved to Tha Chang landing on the Bangkok side and the land was used to build Wat Kharueha Bodi in dedication to the King. The latter in turn presented Luang Phor Saekkham, an ancient golden Buddha image, to be installed in the Ordination Hall(Ubosot) of the monastery. The image represents the posture of the Lord Buddha subduing Mara(Evil). It was cast approximately in 1157-1257 and was brought from Vientiane in 1826. In front of the monastery, there is a bell-shape Chedi(pagoda) with a base of 12 indented corners. Most important of all is the waterfront pagoda. Phra Borom That Chedi, containing the Lord Buddha's relics. This extensive monastery, built according to a beautiful layout plan, presents a distinctive prospect when seen from the river.

ที่มา ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2018, 11:14:08 am
68.วัดอาวุธวิกสิตาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : บางพลัด
เขต/อำเภอ   : บางพลัด
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :

***เปิดตลอด

สถานที่ตั้งเคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของพระสงฆ์ และชาวบ้านที่อพยพหนีภัยสงครามมาจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อครั้งกรุงแตก ด้วยเหตุนี้สถานที่ตรงนี้จึงถูกเรียกว่า "บางพลัด" และเมื่อมีการสร้างวัดขึ้นจะได้ตั้งชื่อตามสถานที่เป็น "วัดปากคลองบางพลัด" หรือ "วัดบางพลัดนอก" เพราะตั้งอยู่ตรงปากคลองบางพลัด

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 วัดบางพลัดนอกก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยพันเอกพระยาอาวุธภัณฑ์เผด็จ(ท้วม) และได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่และศาลาการเปรียญด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอาวุธสิตาราม"

Wat Awuthwikasitaram
Wat Awuthwikasitaram is a third class royal monastery. It was built in Rattanakosin period, and renovated in the reign of King Rama V by Phraya Awuthphan Phadet(Tuam). The King then renamed the temple Wat Awuthwikasitaram. Every important structure in the temple has more than on building 2 Ubosots(Ordination Hall), 2 Bell Towers, 3 Sala Karnparien(Teaching-Learning Hall), and 3 Chedis(Pagodas).

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2018, 05:53:33 pm
69.วัดชัยพฤกษมาลา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด   : ราชวรวิหาร   
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ตลิ่งชัน   
เขต/อำเภอ   : ตลิ่งชัน   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : กรุงศีรอยุธยา

***เปิดตลอด

พระประธาน วัดชัยพฤกษมาลา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด   : ราชวรวิหาร   
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ตลิ่งชัน   
เขต/อำเภอ   : ตลิ่งชัน   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : กรุงศีรอยุธยา

เดิมชื่อ วัดชัยพฤกษ เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งกรุงธนบุรีตั้งขึ้นใหม่ได้มีการรื้อเอาอิฐไปก่อกำแพงเมือง ทำให้กลายเป็นวัดร้างไประยะหนึ่ง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2325 รัชกาลที่ 1 ได้โปรดให้รัชกาลที่ 2 ซึ่งขณะนั้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ สร้างวัดชัยพฤกษขึ้นใหม่เนื่องจากเหตุการณ์บ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย ทำให้การสร้างวัดยังไม่สำเร็จสมบูรณ์ ครั้นเมื่อ พ.ศ.2394 รัชกาลที่ 4 ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ให้ปฏิสังขรณ์วัดจนเสร็จ และพระราชทานนามว่า "วัดชัยพฤกษมาลา" ในพระอุโบสถหลังเก่า มีพระประธานปางมารวิชัย ส่วนพระประธานในพระอุโบสถหลังใหม่ นามว่า พระพุทธชัยมงคล มีพระเจดีย์สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 และหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ ได้ทรงทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อ พ.ศ.2478 เสร็จแล้วได้อัญเชิญพระบรมอัฐิของรัชกาลที่ 3 และอัฐิของเจ้านายอีกหลายพระองค์มาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ด้วย

Wat Chaiyapruekmala
This temple was built during the Ayutthaya period. On founding the new city Thonburi in 1797, some brick structures of the temple were disassembled and the bricks removed for use in the construction of the new city wall, during the reign of King Rama I(1782-1809), the crown prince attempted to rebuild this abandoned temple, gut the construction was not completed because of the war. The work was not undertaken again untiol 1851 when King Rama IV(1851-1868) donated some money to complete the restoration. He named it Wat Chaiyapruekmala. In the ole orination Hall(Ubosot), the principal Buddha image in the subduing Mara(Satan) posture is housed, and was named Phra Phuttha Chaimongkhon. A Chedi, built in the reign of King Rama IV, was restored by M.C. Pherm Ladawan in 1935 and was used to house the royal relics of King Rama III(1824-1851) and other royal members.

ที่มา ป้ายในวัด
#royalthaimonastery
#hikingthai.com
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 17, 2018, 05:11:36 pm
70.วัดรัชฎาธิษฐาน

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : ราชวรวิหาร   
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : คลองชักพระ   
เขต/อำเภอ   : ตลิ่งชัน   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :

***ทำว้ตรเช้า 08.30 น.

เดิมชื่อ วัดเงิน ตามนามผู้สร้างคือ เจ้าขรัวเงิน พระภัสดาของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ต่อมาวัดทรุดโทรมมาก กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงบูรณะใหม่ทั้งอาคาร และทรงสถาปนาเป็นพระอารามหลวง ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้บูรณะวัด และพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดรัชฎาธิษฐาน" เป็นวัดเก่าแก่ที่มีถาวรวัตถุล้ำค่าที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์รวมถึงพระแท่นศิลา ที่ประทับในการโปรยทานของรัชการที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จพระพาสต้น

พระอุโบสถลักษณะเป็นศิลปะแบบจีน ไม่มีช่อฟ้าใบระกา พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยโลหะ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1

Wat Ratchadathitharn
This temple was formerly called Wat Ngoen after the sounder, sho was husband to the princess sister of King Rama I(1782-1809). King Rama I's queen restored the entire temple when it began to deteriorate, and made it a royal temple, King Rama IV ordered it restored again and changed its name to Wat Ratchada Thitharn. It is considered as one of the most valuable heritage buildings during the Bangkok period. The temple possesses a stone seat on which King Rama IV(1851-1868) and King Rama V(1868-1910) sat while donation gifts to the public. The ordination hall(Ubosot) was built in the Chinese style of art, without roof finials as in traditional Thai architecture. The principal Buddha image which was made of bronze during the reign of King Rama I represents the subduing Mara(Satan) posture.

ที่มา ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 19, 2018, 06:18:21 pm
71.วัดพระศรีมหาธาตุ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก      
ชนิด   : วรมหาวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : อนุสาวรีย์   
เขต/อำเภอ   : บางเขน
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ. 2483

***ทำว้ตรเช้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น.

วัดพระศรีมหาธาตุ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2483 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้สร้างวัดขึ้นบริเวณใกล้กับอนุเสาวรีย์หลักสี่ เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตย และให้ชื่อว่า "วัดประชาธิปไตย"

ในระหว่างการสร้างวัด รัฐบาลไทยได้ส่งคณะทูตไปที่ประเทศอินเดีย เพื่อขอพระบรมสารีริกธาตุ กิ่งพระศรีมหาโพธิ์จำนวน 5 กิ่ง จากต้นเดิมที่พระสัมมามัมพุทธเจ้าเคยประทับ และดินจากสังเวชนียสถาน คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา ซึ่งทางรัฐบาลอินเดียก็ได้มอบให้ตามความประสงค์ โดยพระบรมสารีริกธาตุที่อินเดียมอบให้นั้น เป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบที่มหาสถูปธรรมราชิกะ

รัฐบาลไทยได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ กิ่งพระศรีมหาโพิธิ์และดินดังกล่าว มาประดิษฐานที่วัดซึ่งกำลังสร้างอยู่ขณะนั้น และเปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า "วัดพระศรีมหาธาตุ" เพื่อความเป็นศิริมงคล เพราะมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ภายในวัด

Wat Phara Sri Mha That
Known by its shorter name of Wa Phra Sri Maha That, this is temple was built on orders from the former Premier Field Marshall Por Pibul Songkhram, it is next to the Democratic Memorial. Its former name was ''Wat Phch Thiptai''(literally means democracy.)

The four sacred sites of the life of the Lord Buddha are represented at the temple. The Thai government of the time brought Cuddha relics to be enshrined at the temple. The Bodhi tree was also brought from India to grow here.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 19, 2018, 06:30:40 pm
71.วัดหลักสี่

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ตลาดบางเขน   
เขต/อำเภอ   : หลักสี่
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ. 2421

***ทำว้ตรเช้า 08.00 น. วัตรเย็น 16.00 น.

สร้างขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ. 2421 โดยชาวรามัญ ซึ่งอพยพมาจากเมืองหงสาวดี (พะโค๊ะ) ได้นิมนต์
 อาจารย์เริ่ม พระธุดงค์ชาวมอญ ซึ่งมาปักกลดบริเวณที่ตั้งวัด ให้อยู่จำพรรษา และเป็นเจ้าอาวาส ครั่้งแรกตั้งชื่อวัดว่า วัดหลวงพ่อเริ่ม ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น วัดหลักสี่ เป็นวัดที่เคยได้รับการคัดเลือกจากกรมการศาสนา ให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่นในเขตกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ.2534 ภายในวัดมีองค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ฝาผนังเจดีย์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนโดย นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรเอก และมีวิหารหลวงปู่ขาว ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปปั้น หลวงปู่ขาว พระเกจิอาจารย์ชื่อดังชาวมอญ เจ้าอาวาสรูปที่ 2 ผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป เป็นผู้สร้างความเจิรญให้กับวัด และเป็นพระเถระยุคเก่าที่กล่าวขานกันว่า มีมนต์คาถาขลัง รัชกาลที่ 5 เคยทรงประทับเพื่อนมัสการ เมื่อครั้งเสด็จทางชลมารคมาเปิดคลองเปรมประชากร

ที่มา : ป้ายในวัด

Wat Laksi
Built by the Mon people who immigrated from Hongsawadi(Pegu in present-day Myanmar) under the leadership of a Mon monk named Archarn Roem, the temple was originally called Wat Luang Pho Roem.
In the reign of King Rama V, there was construction of the railway and its station on the east of the temple. It was then renamed Wat Laksi after the name of the railway station 'Lak Si'.
During the World War II, Wat Laksi was badly damaged by bombing Restoration of the temple was carried out after the war.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 20, 2018, 08:07:29 pm
72.วัดเทพศิรินทราวาส

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : วัดเทพศิรินทร์
เขต/อำเภอ   : ป้อมปราบศัตรูพ่าย
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ. 2419

***ทำว้ตรเช้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้สร้างวัดเทพศิรินทราวาส ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2419 เพื่ออุทิศถวายสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี เมื่อสร้างเสนาสนะเสร็จได้พระราชทานนามว่า "วัดเทพศิรินทราวาส" ตามพระนามสมเด็จพระบรมราชชนนี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดฯให้สร้างสุสานหลวงหรือฌาปนสถานหลวงขึ้นในวัดด้วย โดยสุสานหลวงนี้ใช้เป็นที่พระราชทานเพลิงพระศพของเจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์ที่ไม่ได้สร้างพระเมรุขึ้นที่สนามหลวง ตลอดจนเป็นฌาปนสถานของทุกชั้นบรรดาศักดิ์ด้วย

Wat Thepsirin Thrawat
King Rama V ordered the construction of this temple to commemorate the Queen Mother, Thepsirintra, in 2419 B.E., and named it ''Wat Thepsirin Thrawas'' after his mother's name.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 21, 2018, 07:19:20 pm
73.วัดอนงคารามวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : สมเด็จเจ้าพระยา
เขต/อำเภอ   : เขตคลองสาน
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

***ทำวัตรเย็น 16.00 น.

วัดอนงคารามสร้างขึ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยท่านผู้หญิงน้อย ภรรยาสมเด็จเจ้าพระยาบรมพิชัยญาติ(ทัด บุนนาค)เป็นผู้สร้างขึ้นในสวนกาแฟของตน เพื่อให้เป็นวัดคู่กับวัดพิชยญาติการามของสามี ด้วยเหตุนี้วัดนี้จึงได้ชื่อว่า "วัดน้อยขำแถม" ซึ่งคำว่า "น้อย" เป็นนามของผู้สร้าง ส่วนคำว่า "ขำ" เป็นนามเดิมของท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ มาโกษาธิบดี(ขำ บุนนาค) ผู้ปฏิสังขรณ์วัดนี้

เมื่อวัดสร้างเสร็จจึงได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เป็นพระอารามหลวง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอนงคาราม"

Wat Anongkharam
Formerly be a small temple without any fame, Wat Anongkharam is located on the other side of Chao Phraya River in Thonburi which is quite out of the tourism routes. But later when the Princess Mother Memorial Park was built around the area behind the temple, it has become well known by then.

The princess Mother Memorial Park was established in 1993 B.E. and opened on 1997 B.E. The park consists of a number of gardens, and a reproduction of the royal mother's childhood home as well as two exhibition halls dedicated to memorabilia of the princess and the royal family, and a pavilion with a statue of the princess.

Wat Anonkaram was built in the reign of King Rama III. It was originally named Wat Noi Kham Thaem after Than Phuying Noi, wife of Somdet Chao Phraya Borommaha Phichaiyat(That Bunnag), who founder the temple, and Chao Phraya Thipakonwong(Kham Bunnag) who restored the temple. It was later renamed to its present name by King Rama IV.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 21, 2018, 07:21:02 pm
74.วัดพระยาทำ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บ้านช่างหล่อ
เขต/อำเภอ   : บางกอกน้อย
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***ทำวัตรเย็น 17.00 น.

วัดพระยาทำ เดิมชื่อว่า "วัดนาค" สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดฯ ให้เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์(กุน) สมุหนายก บูรณปฏิสังขรณ์วัด แล้วยกฐานะเป็นพระอารามหลวงและพระราชทานนามว่า "ว้ดพระยาทำ" เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บูรณะวัด

ภายในพระอุโบสถ มีธรรมาสน์สลักด้วยไม้ ซึ่งนับเป็นธรรมาสน์สมัยกรุงศรีอยุธยาชิ้นที่ 2 ของกรุงรัตนโกสินทร์ที่งดงามมาก

Wat Phraya Tham
Formerly called Wat Nak, Wat Praya Tham was built in late Ayutthaya period, and was restored by Chao Phraya Rattanathibet(Kun) in the reign of King Rama II. Further renovation and more construction were carried out in the reign of King Rama III.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 21, 2018, 07:22:19 pm
75.วัดทองธรรมชาติ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : สมเด็จเจ้าพระยา
เขต/อำเภอ   : คลองสาน
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***ทำวัตรเย็น 17.00 น.

เดิมเป็นวัดราษฏร์ชื่อ "วัดทองบน" สันนิฐานว่าเป็นวัดโบราณสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 1 กรมหลวงนรินทรเทวี(เจ้าครอกวัดโพธิ์) ซึ่งเป็นพระขนิษฐาในรัชกาลที่ 1 ร่วมกับกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ พระภัสดา ทรงมีพระศรัทธาบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดทองบน ขึ้นใหม่ ต่อมารัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ กรมสมเด็จพระเดชาดิศร เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์ มีการบูรณะและขยายวัดใหม่ขึ้นทั้งวัด และทรงรับ วัดทองบน เป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า วัดทองธรรมชาติราชปฏิสังขรณ์ และในปี พ.ศ.2458 สมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการปฏิสังขรณ์เฉพาะพระอุโบสถใหม่ทั้งหลัง แต่รูปทรงคงเดิม พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานนามว่า พระพุทธชินชาติ มาศธรรมคุณ

ที่มา ป้ายในวัด

Wat Tong Thammachat
Located not far from Wat Anongkharam to the east, Wat Tong Thammachat is also a royal monaster. It was an ancient temple dating back to the Autthaya period, and originally named Wat Tong Bon. The temple was restored in the reign of King Rama I, and later was restored again in the reign of King Rama III.

King Rama III then granted it the status of a third class royal monastery.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 26, 2018, 08:18:31 pm
76.วัดมหาพฤฒาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : มหาพฤฒาราม
เขต/อำเภอ   : บางรัก
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***วัดท่องเที่ยว

วัดมหาพฤฒาราม เป็นวัดสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชื่อเดิมว่า "วัดท่าเกวียน" เพราะเคยเป็นที่พักแรมของกองเกวียนที่เดินทางเข้ามาค้าขายที่กรุงเทพฯ ในสมัยกรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 วัดท่าเกวียนก็ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดตะเคียน" เพราะมีต้นตะเคียนขึ้นอยู่ภายในบริเวณวัด

ต่อมาในปี พ.ศ. 2397 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สถาปนาวัดขึ้นใหม่ และพระราชทานสมณศักดิ์ให้แก่เจ้าอาวาสของวัดในขณะนั้นเป็น "พระมหาพฤฒาจารย์" และเมื่อการก่อสร้างวัดแล้วเสร็จ จึงโปรดฯ ให้สถาปนาเป็นพระอารามหลวงและพระราชทานนามว่า "วัดมหาพฤฒาราม"

Wat Mahapuektharam
Built in early Rattanakosin period, Wat Mhapruektharam was upgraded to be third class royal monastery in the reign of King Rama IV. In the temple compounds, there are the Ubosot standing between the Vihara and the Reclining Buddha Vihara. To ther right of the Ubosot, there are 4 Prangs.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on พฤษภาคม 30, 2018, 08:31:25 pm
77.วัดเศวตฉัตรวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางลำภูล่าง
เขต/อำเภอ   : คลองสาน
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยอยุธยา

***ไปวันวิสาขบูชา

วัดเศวตฉัตร สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่าวัด บางลำภูล่าง เดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ต่อมาแผ่นดินริมแม่น้ำที่หน้าวัดเกิดการทับถมของตะกอนและงอกออกมา ทำให้พระอุโบสถหลังเก่าอยู่ห่างจากฝั่งแม่น้ำออกไปประมาณ 500 เมตร

วัดเศวตฉัตรได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นสุรินทรรักษ์หรือพระองค์เจ้าฉัตร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ซึ่งได้ย้ายเขตพุทธาวาสไปสร้างที่ริมแม่น้ำ โดยสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ และพระปรางค์ ขึ้นใหม่ จึงได้ชื่อใหมว่า "วัดเศวตฉัตร" ตามชื่อผู้สถาปนาวัด

เมื่อมีการตัดถนนเจริญนครผ่ากลางวัดในเวลาต่อมา วัดจึงได้ถูกแบ่งเป็น 2 ฝั่งดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะพระอุโบสถหลังเก่าอยู่อีกฝั่งถนน ขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของวัดอยู่ฝั่งที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา

Wat Sawettachat
Built in the Ayutthaya period, today Wat Sawettachat is a third class monastery of Woravihan type. Originally the temple was located on the bank of the Cho Phraya river, but the land in front of the temple was formed by soil deposit, causing the temple to retreat from the bank of the river.

In the reign of King Rama III, Phra Ong Chao Chat, a son of King Rama I, restored the temple. The religious boundary was moved to the river bank. Only the old Ubosot was left on the old place.

The main structure, the Ubosot(Ordination Hall), the Vihara(Assembly Hall), Sala Karnparien(Teaching-learning Hall), and Prang(Pagoda) were built on the river bank.

King Rama IV renamed the temple Wat Sawettachat to honor Phra Ong Chao Chat, the founder.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on พฤษภาคม 30, 2018, 08:46:34 pm
78.วัดกาญจนสิงหาสน์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : คลองชักพระ
เขต/อำเภอ   : ตลิ่งชัน
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยอยุธยา

***ไปวันวิสาขบูชา

เดิมชื่อ "วัดทอง" เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี ในสมัยรัชกาลที่ 1ได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง จนถึงรัชกาลที่ 3  ได้ทรงปฏิสังขรณ์เพิ่มเติม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2397 รัชกาลที่ 4 โปรดพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดกาญจนสิงหาสน์" ใบเสมาเป็นแบบนั่งแท่น ไม่มีกระหนกยื่นออกสองข้าง ถือว่าเป็นใบเสมาต้นตำหรับในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งมีความสวยงามมาก พระอุโบสถเป็นรูปทรงชนิดโบสถ์มอญ ไม่มีช่อฟ้าใบระกา พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในลานพระอุโบสถมีปรางค์ใหญ่ตั้งอยู่มุมกำแพงแก้ว 4 มุม และมีเจดีย์รายด้านละ 2 องค์ ปรางค์ 4 องค์ ซึ่งคติการก่อสร้างแบบนี้คล้ายกับพระวิหารใหญ่ของ "วัดเงิน"

Wat Kanchanasinghat
Originally called Wat Thong, the ancient monastery of Ayutthaya period had been restored and bestowed as the third class royal temple by Somdet Phra Rup Sirisophak Mahanak Naree during the reign of King Rama I. After being renovated once again during the Reign of King Rama III, the temple was renamed as Wat Kanchanasinghat by King Rama IV. The temple's Sema(Battlement) shown the beauty of typical style fo Ayutthaya period. Ubosot(Ordination Hall) built in Mon style is the house of principal Buddha image in subduing Mara(Demon) posture, surrounder by 4 big prang(Stupa) in each corner.

ที่มา ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on พฤษภาคม 30, 2018, 09:03:59 pm
79.วัดสังข์กระจาย

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดท่าพระ
เขต/อำเภอ   : บางกอกใหญ่   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :

***ไปวันวิสาขบูชา

เมื่อครั้งบูรณะวัดแห่งนี้ได้ขุดพบ พระกัจจายน์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริด และสังข์ตัวหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 จึงถือนิมิตเหตุอันนี้พระราชทานนามให้วัดว่า "วัดสังข์กระจาย"

วัดสังข์กระจายได้รับการบูรณะอีกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยในการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งหลังนี้ เป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม มีการสร้างกุฏิใหม่ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง และศาลาท่าน้ำ 5 ศาลา

Wat Sang Krachai
During the entire temple restoration in the reign of King Rama I, Phra Krachai, a bronze Buddha image, and a sang(conch) were found in the area preparing for building the Ubosot(Ordination Hall). The King, therefore, gave the temple name ''Wat Sang Krachai''.

Further renovations of the temple were carried out in the reign of King Rama II and III. Especially in the reign of King Rama III, there were constructions of more buildings, Kutis(monks's resident), Sala Karnparien(Teaching-Learning Hall) Bell tower, and Sala.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
#hikingthai.com

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on พฤษภาคม 31, 2018, 07:50:19 pm
80.วัดนวลนรดิศ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ปากคลองภาษีเจริญ
เขต/อำเภอ   : ภาษีเจริญ   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :

วัดนวลนรดิศ เดิมชื่อว่า "วัดมะกอกใน" เป็นวัดคู่กับวัดมะกอกนอก หรือ วัดอรุณราชวรารามในปัจจุบัน สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ท่านผู้หญิงนวล ภรรยาเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์(ดิศ บุนนาค) บุตรท่านผู้หญิงนวล ได้ช่วยกันปฏิสังขรณ์ แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง

พระบาทสมเด็นพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานนามว่า "วัดนวลนรดิศ" เพื่อระลึกถึงท่านผู้หญิงนวล และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์(ดิศ บุนนาค) ผู้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด

Wat Nual Noradit
Wat Nual Noradit was an ancient temple dating back to the Ayutthaya period. It was renovated during the reign of King Rama II and III by Thanphuying Nual and her son, Somdet Chao Phraya Maha Prayurawong(Dit Bunnag)

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)


***ไปวันวิสาขบูชา
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on พฤษภาคม 31, 2018, 07:57:07 pm
81.วัดภคินีนาถ วรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางยี่ขัน
เขต/อำเภอ   : บางพลัด
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : กรุงศรีอยุธยา

***ไปวันวิสาขบูชา

เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดบางจาก" เพราะตั้งอยู่ปากคลองบางจาก แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดนอก ได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่โดย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าหญิงประไพวดี กรมหลวงเทพวดี พระธิดาในรัชกาลที่ 1 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์เพิ่มเติม และได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า วัดภคินีนาถ เป็นวัดที่มีการวางผังพระอุโบสถสวยงาม คือมีระเบียงคตล้อมพระอุโบสถ ภายในมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แบบสุโขทัย มีภาพเขียนที่ฝาผนังระหว่างช่องหน้าต่างเขียนเป็นรูปเครื่องบูชาของจีน เช่น แจกันดอกไม้แก้ว แว่นแก้ว เครื่องลายคราม อ่างแก้วใส่ปลา เครื่องถ้วยชา ถาดผลไม้ โดยมีภาษาจีนกำกับอยู่ในแต่ละภาพ เหนือหน้าต่างทุกช่องประดับด้วยกรอบภาพเขียนสีบนพื้นกระจก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณกรรมจีน และมีอยู่ด้วยกันสองภาพที่เขียนตัวละครเป็นฝรั่ง

Wat Phakhininat
The third class royal temple was an ancient temple of Ayutthaya period. Its former name was Wat Bang Chak because it was located on the mouth of Bang Chak canal but the people preferred to call it Wat Nok. The monastery had a new establishment by King Rama I's daughter. King Rama III later had the temple princess Praphawadi Krommalung Thepwadi, King renovated in addition and renamed it to Wat Phakhininat. The temple has avery beautifull layout of Ubosot(The main chapel), inside which the Sukhothai style principal Buddha image of Subduing Mara(Demon) posture is enshrined. The mural paintings of Ubosot are the pictures of Chinese altars, like flower vases, fruit trays, and tea cups.

ที่มา ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มิถุนายน 15, 2018, 07:33:49 am
82.วัดราชสิงขร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดพระยาไกร
เขต/อำเภอ   : บางคอแหลม
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (2275-2301)

***ต้องไปเฉพาะวันพระใหญ่

วัดราชสิงขร สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ(พ.ศ.2275-2301) ในสมัยรัชกาลที่ 1 สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดให้ช่างหลวงวังหน้าสร้างพระอุโบสถ มีหลักฐานที่ปรากฏคือ ใบเสมาหินชนวนที่ฝังไว้กับผนังด้านนอกพระอุโบสถ ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับ วัดชนะสงคราม และวัดมหาธาตุ อันเป็นพระอารามหลวงที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงเป็นผู้ปฏิสังขรณ์

ลักษณะของการใช้ใบเสมานั้นฝังติดกับผนังพระอุโบสถทั้ง 8 ทิศ เป็นพุทธศิลปะที่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงโปรดปรานเป็นการเฉพาะ นอกจากนั้นปรากฏหลักฐาน พระวิหารสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดให้สร้างไปพร้อมๆ กันกับการสร้างพระอุโบสถเพื่อประดิษฐานหลวงพ่อแดง

ที่มา พระอารามหลวง เล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Wat Ratcha Singkhon
The temple is belived to be built by the end of the Ayutthaya period in the reign of King Boromkot(2275-2301 B.E.) Later in early Rattanakosin or Bangkok period, Somdet Krom Phra Ratchawangbowon Maha Surasinghanat, the Crown Prince in the reign of King Rama I, restored the temple as well as bulilt an Ubosot.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มิถุนายน 15, 2018, 08:31:00 pm
83.วัดชัยชนะสงคราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : สัมพันธวงศ์
เขต/อำเภอ   : สัมพันธวงศ์
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 13.74426, 100.50562

***ทำวัตรเย็น 16.00 น.
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มิถุนายน 15, 2018, 08:40:02 pm
84.วัดโปรดเกศเชษฐาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ทรงคนอง
เขต/อำเภอ   : พระประแดง
จังหวัด : สมุทรปราการ
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ.2365 รัชกาลที่ 2
พิกัด : 13.66739, 100.52827

***ทำวัตรเย็น 16.00 น.

วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2365 ในรัชกาลที่ 2 ผู้สร้างคือเพชรพิไชย (เกตุ) ต้นสกุล เกตุทัต ท่านเป็นบุตรพระยาเพชรพิไชย (หง) ต้นสกุล หงสกุล

สมัยนั้นพระยาเพชรพิไชย (เกตุ) เป็นพระพี่เลี้ยงของกรมหมื่นศักดิ์พลเสพย์ ท่านกรมหมื่นศักดิ์ฯ ได้เป็นนายงานสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ และสร้างวัดไพชยนต์พลเสพย์ด้วย พระยาเพชรพิไชย ได้ขออนุญาตสร้างวัดขึ้นใกล้ ๆ กัน ชาวบ้านเรียกว่าวัด "ปากคลอง" เพราะเดิมนั้นมีศาลาอยู่หลังหนึ่งติดกับปากคลองทองเมือง (ด้านเหนือของวัด) ไม่มีพระสงฆ์ มีแต่พระพุทธรูปเท่านั้นชาวบ้านเรียกกันว่าวัดปากคลอง เมื่อสร้างวัดโปรดเกศเชษฐารามขึ้นมา ก็คงนิยมเรียกกันว่าวัดปากคลองอยู่ตามเดิม

ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระยาเพชรพิไชยได้มาปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดทรุดโทรมในวัด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชทรัพย์สมทบ เช่น สร้างกุฏิ หอสวดมนต์ หอฉัน ล้วนเป็นแบบฝากระดานไม้สักมุงด้วยกระเบื้องไทยทั้งสิ้น ในยุคของพระครูวินยานุบูรณาจารย์เป็นเจ้าอาวาส ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยพระยาเพชรพิไชย (หนู) บุตรพระยาเพชรพิไชย (เกตุ) มาอุปการะช่วยสร้างเพิ่มเติมเ จ้าอาวาสผู้ครองวัดองค์ต่อ ๆ มาได้ดำเนินการก่อสร้างปฏิสังขรณ์กันทุกสมัยได้พัฒนาวัดเจริญขึ้นเป็นลำดับจนตราบเท่าทุกวันนี้

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มิถุนายน 15, 2018, 08:50:32 pm
85.วัดทรงธรรม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ตลาดพระประแดง
เขต/อำเภอ   : พระประแดง
จังหวัด : สมุทรปราการ
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยรัชกาลที่ 2
พิกัด : 13.66199, 100.5356

***ทำวัตรเย็น 16.00 น.

วัดทรงธรรมเป็นวัดรามัญมา แต่เดิมรัชกาลที่ 2 โปรดให้สร้างขึ้นโดยกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแล้วพระราชทานนามว่า "วัดทรงธรรม" เพื่อให้ชาวรามัญที่อพยพมาได้ใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศลทางศาสนาทั้งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวรามัญเหล่านั้นด้วย

เมื่อปีพุทธศักราช 2361 โปรดให้ย้ายวัดทรงธรรมเข้ามาอยู่ในกำแพงป้อม เนื่องจากสร้างป้อมรุ่นใหม่คือป้อมเพชรหึงห์ ได้สร้างกุฏิเป็น 3 คณะคือ บริเวณวิหาร 1 คณะข้างพระอุโบสถ 2 คณะและศาลาการเปรียญ 1 หลังต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงทอดผ้าพระกฐินทรงเห็นว่าวัดชำรุดทรุดโทรมมาก จึงรับสั่งให้พระยาดำรงราชาพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองในขณะนั้นเป็นหัวหน้าทำการปฏิสังขรณ์ โดยรื้อกุฏิทั้ง 3 คณะมาสร้างรวมกันเป็นหมู่เดียวเป็นแบบก่ออิฐถือปูน และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้สร้างวัดทรงธรรมขึ้นมาชาวรามัญจึงได้ยกย่องพระองค์ท่านว่าทรงเป็นผู้มีคุณธรรมสูงซึ่งภาษาชาวรามัญเรียกว่า "เมินโท่" แปลว่า "ผู้ทรงธรรม"

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มิถุนายน 16, 2018, 09:12:46 pm
86.วัดอาษาสงคราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : ตลาดพระประแดง
เขต/อำเภอ   : พระประแดง
จังหวัด : สมุทรปราการ
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 13.66256, 100.53095

***ทำวัตรเย็น 17.30 น.

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on สิงหาคม 21, 2018, 08:31:44 pm
87.วัดดาวดึงษาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางยี่ขัน
เขต/อำเภอ   : บางพลัด
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***วันพระใหญ่ทำ 16.00 น. หรือติดต่อประชาสัมพันธ์ให้วัดเปิดให้ได้

เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ คุณแว่น ซึ่งเป็นท่านผู้หญิงในพระราชวังรัชกาลที่ 1 เป็นผู้สร้างวัดชาวบ้านเรียกว่า วัดขรัวอิน เพราะมีเจ้าอาวาสชื่อ อิน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดดาวดังษาสวรรค์ ต่อมาในสมัยรัชการที่ 3 พระมหาเทพ(ปาน) ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งหนึ่ง แล้วน้อมเกล้าถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า วัดดาวดึงษาราม พระอุโบสถสร้างในสมัย ขรัวอิน เป็นเจ้าอาวาส ภายในมีภาพเขียนเรื่อง พระมโหสถ เป็นฝีมือของ หลวงเสนีย์บริรักษ์ หรือ คงแป๊ะ จิตรกรเอกเชื้อสายจีนในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งนิยมเขียนภาพผู้คนแต่งกายแบบจีน และเรื่อง พระมโหสถ ดังปรากฎในหลายแหน่ง เช่นที่ วัดสุวรรณาราม และวัดบางยี่ขัน เป็นต้น

Wat Daowaduengsaram
The third classed royal temple that was founder by Khun Waen, a lady in the royal court of King Rama I, had and original name of Wat Khrua-in due to the abbot's name was In. King Rama II had the monastery renamed to Wat Daowaduengsa Sawan. Later, Phra Maha Thep(Pan) restored the temple once again and presented it to King Rama III's patronage. Then the temple's name was changed to Wat Daowasuengsaram. Its Ubosot(The ordination Hall) has been built since Khrua-in was the abbot, where inside there is the mural paintings of Mahosot story which was the works of Luang Seni Borirak or Kong Pae, the major Thai-Chinese artists during the reign of King Rama III.

ที่มา ป้ายในวัด

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on สิงหาคม 23, 2018, 05:52:02 pm
88.วัดบรมนิวาส

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : รองเมือง
เขต/อำเภอ   : ปทุมวัน
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***วันพระใหญ่ทำ 13.00 น. หรือติดต่อประชาสัมพันธ์ให้วัดเปิดให้ได้

วัดบรมนิวาส เป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้น ณ ริมคลองมหานาคนอกเกาะรัตนโกสินทร์

เมื่อครั้งที่ยังทรงผนวชเป็นพระวชิรญาณภิกขุในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดนี้มีนามเดิมว่า "วัดบรมสุข" ปรากฎในจารึก ดวงชะตาฤกษ์สร้างวัดบรมนิวาสบนแผ่นทองแดงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ฐานพระทศพลญาณพระพุทธปฏิมาประธานประจำวัดบรมนิวาสบันทึกไว้ว่า

"ดวงชะตาฤกษ์สร้างวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร สุริยคตินิยม 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 ร.ศ. 53ฯ ตรงกับ จันทรคตินิยม ณ วัน 188 ปีมะเมีย ฉศก อธิกมาส เวลา 45 บาท 2 29 4 12 บาท ที่ 2(4โมงเช้า 30 นาฬิกา ลักขณาสถิตย์ ราศีกันย์ ธาตุดิน)" (ไม่เข้าใจเหมือนกัน อันนี้)

Wat Boromniwas
Wat boromniwas is a royal monastery founded in the reign of King Nang Klao(King Rama III) at the behest of Phra Vajirayan Bhikkhu, who later reigned as King Mongkut(King Rama IV) of the Chakri Dynasty. Originally clled Borm Sukha, the temple was build alongside the Mahanak Canal outside the city walls. An ancient inscription found on a rectangle copper sheet at the base of Phra Dasabalanana, the Principal Buddha image, states that '' an auspicious time for building Boromniwas Rajaworavihara Temple in line with the Thai solar calendar in on 13 July B.E. 2377(1834), in Rattanakosin Era 53 or the first day of the eighth lunar month of the year of the Horse, at 04.30 a.m.''
ที่มา ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on สิงหาคม 26, 2018, 09:28:59 am
89.วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก   
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ดุสิต
เขต/อำเภอ   : ดุสิต
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : ไม่ปรากฏ

***วัดท่องเที่ยว ถ่ายตอนเปิด 05.30 น.

เดิมเป็นวัดเก่าเล็กๆ ชื่อว่า วัดแหลม เพราะตั้งอยู่ปลายแหลมของที่สวนติดกับทุ่งนา และยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดไทรทอง เนื่องจากมีต้นไทยทองปรากฏอยู่ได้เห็น เมื่อปี พ.ศ.2370 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 ได้ทรงตั้งกองทัพรับขบถเจ้าอนุวงศ์ที่วัดนี้ หลังจากเสร็จจากการปราบขบถแล้ว ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัด พร้อมกับสร้่างพระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ 5 องค์ เรียงรายอยู่หน้าวัดด้วย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดเบญจมบพิตร หมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2442 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสร้าง สวนดุสิต และ พระราชวังดุสิต กินเนื้อที่ของวัดทำให้วัดมีพื้นที่น้อยลง ประกอบกับวัดกำลังมีสภาพทรุดโทรม พระองค์จึงทรงสถาปนาวัดขึ้นใหม่ พร้อมกับทรงเปลี่ยนนามวัดเป็น วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม หมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่ใกล้สวนดุสิตอันเป็นพระราชฐาน พระอุโบสถทั้งหลังสร้างด้วยหินอ่อนสั่งมาจากประเทศอิตาลี มีพระประธานเป็นพระพุทธชินราชจำลองจากองค์จริงที่ พิษณุโลก

Wat Benchamabophit
Commonly known among foreigners as the marble Temple, Wat Benchamabophit is one of Bangkok's most beautiful temples and a major tourist attraction. It is also thought of as King Rama V's monastery.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on สิงหาคม 26, 2018, 09:36:39 am
90.วัดระฆังโฆสิตาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ศิริราช
เขต/อำเภอ   : บางกอกน้อย
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยกรุงศรีอยุธยา

***วัดท่องเที่ยว ถ่ายตอนเปิด 07.30 น. ทำวัตรเข้า 08.00 น.


เดิมเป็นวัดราษฎร์ ชื่อ วัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดโบราณสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมา พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง และโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระไตรปิฎกจากนครศรีธรรมราชมาสังคายนา ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการขุดพบระฆังโบราณที่วัดนี้ เป็นระฆังที่เสียงดี รัชกาลที่ 1 ทรงขอไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงสร้างระฆังพระราชทาน 5 ลูก เก็บไว้แทน จึงเรียกกันว่า วัดระฆัง ตั้งแต่นั้นมา ได้รับการปฎิสังขรณ์ครั้งใหญ่ทั่วพระอาราม โดย สมเด็จกรมพระยาเทพสดาวดี ซึ่งเป็นพระพี่นางองค์ใหญ่ของรัชกาลที่ 1 วัดนี้เคยเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระสังฆราชสี ซึ่งเป็นปฐมต้นบรมสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) ในบริเวณวัดมีหอพระไตรปิฎกเก่าแก่ เดิมเป็นเรือนเก่าของรัชกาลที่ 1 เมื่อครั้งเป็น พระราชวรินทร์

ที่มา ป้ายในวัด

Wat Rakhang Kositaram
Known by its shorter name of Wat Rakhang, the former name of this temple was Wat Bang Wah Yai. It was built during the Ayutthaya period along with Wat Bang Wah Noi(Wat Amarinthraram in present day).

King Taksin the Great ordered the renovation of the temple and transformed it into a royal temple.

The major reexamination of Tripataka during the reign of King Taksin was held here and kept it in the Tripataka Hall.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on สิงหาคม 26, 2018, 05:45:55 pm
91.วัดบุรณศิริมาตยาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : ศาลเจ้าพ่อเสือ
เขต/อำเภอ   : พระนคร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***วันพระใหญ่ 12.30 น.

สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระเจ้าราชวงศ์เธอพระองค์เจ้าอสุนีกรมหมื่นเทพ(ต้นราชสกุล "อสุนี") แต่การก่อสร้างยังไม่สำเร็จบริบูรณ์พระองค์สิ้นพระชนม์เสียก่อน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยามหาอำมาตยธิบดี(เจ้าพระยา สุธรรมมนตรี ต้นสกุล"บุรณศิริ") ดำเนินการสร้างต่อจนเสร็จ มีเนื้อที่ รวมทั้งหมด 8 ไร่ 1 งาน 64 ตารางวา

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามว่า "วัดศิริอำมาตยาราม" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดบุรณศิริมาตยาราม"

กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดบุรณศิริมาตยารามเป็นโบรานสถานเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2520

Wat Buranasiri Mattayaram
Located some 300 meter to the west of Wat Mhannoparam, Wat Burnasiri was also built in the reign of King Rama III. It was built by Chao Phraya Sutham Montri and was named by King Rama III ''Wat Siri Ammattayaram.'' It was later underwent several name changes until become its present name ''Wat Vuranasiri Mattayaram.''

Wat Buranasiri is a third class royal monastery. In the temple compound, there are the Ubosot(Ordination Hall), Chedi(Pagoda) Sala Karnparien(Teaching-learning Hall) and Bell Tower.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on สิงหาคม 26, 2018, 05:48:21 pm
92.วัดบุปผาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : วัดกัลยาณ์
เขต/อำเภอ   : ธนบุรี
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***วันพระใหญ่ 15.30 น.

เดิมชื่อ วัดดอกไม้ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในเวลาต่อมาได้กลายเป็นวัดร้าง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ท่านผู้หญิงจันทร์ ภริยาของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ได้เป็นผู้ปฏิสังขรณ์ และรัชกาลที่ 4 ขณะทรงผนวชได้ทรงแต่งตั้งพระธรรมยุติกนิกายไปครองวัด ต่อมาได้พระราชทาน แปลงนามวัดเป็น วัดบุปผาราม พระวิหารเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน คือมีภาพเขียน ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บานหน้าต่างเป็นภาพโต๊ะเครื่องบูชาอย่างจีน หน้าบันของวิหารเป็น ดวงตราสุริยมณฑล รูปประอาทิตย์ทรงราชรถเทียมราชสีห์ ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ 5

Wat Buppharam
Originally known Wat DoK Mai, the third class royal temple of Worawiharn, founder in Ayutthaya period used to be a deserted monastery. Later Than Phuying Chan, wife of Somdet Chaophraya Borommaha Prayunrawong, had renovated the temple. King Rama IV, while he was a monk had appointed a monk from Thammayuttika Nikai sect to govern the temple and cogerred the name Wat buppharam to the temple. Wiharn(The sermon hall) is a mixture of Thai and Chinese architectural style, decorated with painting of Loard Buddha coming down from the heaven. The windows are painted with the pictures of Chinese altars. At the gable of Wiharn, there is a circular seal of Suriya Monthon which was the private seal of Somdet Chaophraya Borommaha Sri Suriyawong, a nobleman in the reign of King Rama V.

ที่มา ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on สิงหาคม 28, 2018, 06:05:52 pm
93.วัดเทพลีลา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : หัวหมาก
เขต/อำเภอ   : บางกะปิ
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : 2376

***ทำวัตรเย็น 16.00 น.

วัดเทพลีลา สร้างขึ้นโดยพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) โดยเมื่อปี พ.ศ. 2376 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา เป็นแม่ทัพไปปราบญวนและเขมร เมื่อเดินทัพมาจากกรุงเทพฯ ได้แวะพักอยู่ที่บริเวณริมคลองแสนแสบ ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดเทพลีลาในปัจจุบัน ทหารได้ลงอาบน้ำในคลอง และมีทหารนายหนึ่งพบพระพุทธรูปปางลีลา ศิลปะสุโขทัย สูง 1.20 เมตร จึงได้นำไปมอบให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา ซึ่งก็ได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นไปประดิษฐานไว้ที่ใต้ต้นไม้ริมฝั่งคลองแสนแสบเนื่องจากต้องเคลื่อนทัพต่อไป
หลังจากเสร็จศึกสงคราม เจ้าพระยาบดินทรเดชา จึงกลับมาสร้างวัดที่บริเวณคลองแสนแสบที่พบพระพุทธรูปนั้น ซึ่งเมื่อสร้างวัดเสร็จ ก็ได้อันเชิญพระพุทธรูปดังกล่าว ไปเป็นพระประธานในพระอุโบสถ จึงกลายเป็นที่มาของชื่อวัดว่า "วัดเทพลีลา"

Wat Thep Leela
In 2376 B.E., King Rama III ordered Chao Phra Bodindecha(Sing Singhaseni) to lead the army to defend against the Vietnamese and Khmers. He stopped the troop on the bank of Saen Saep canal where a soldier found a 1.2 meters tall Sukhothai-style Buddha image, in a walking posture.
After returning from the victorious campaigns against the Vietnamese and Khmers, he built a temple on the Bank of Saen Saep canal to enshrine the Buddha image, and named the temple ''Wat Thep Leela'' after the posture of the Buddha image.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กันยายน 04, 2018, 07:59:40 pm
94.วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : -
แขวง/ตำบล   : บางศรีเมือง
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : นนทบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่3) พ.ศ. 2390

***เปิดทุกวัน 09.00-15.00 น. ส อ ปิด 18.00 น.

วัดเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2390 โดยมีพระราชดำริว่าบริเวณป้อม ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตลาดขวัญ เมืองนนทบุรี ซึ่งเป็นนิวาสสถานเดิมของพระอัยกา พระอัยกี และเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีพันปีหลวง จึงโปรดให้พระยาพระคลัง(ดิส บุนนาค) ตำแหน่งสมุหกลาโหม เป็นแม่กองสร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้น ให้สร้างกำแพงทั้ง 4 มุม มีป้อมปราการ เช่นเดียวกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง กว้าง 80 ซม. ยาว 159 ม. สูง 2.7 ม. แต่การสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างจนแล้วเสร็จ

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงมหาดไทย

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กันยายน 05, 2018, 07:53:16 pm
95.วัดยาง พระอารามหลวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : สวนหลวง
เขต/อำเภอ   : สวนหลวง
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***ทำว้ตรเย็น 17.00 น.

วัดยางเป็นเก่าแก่ที่สร้างมานาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างหรือ นามผู้สร้าง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยต้นรัตนโกสินทร์ และมีอายุไม่ต่ำกว่า 200 ปี และมีเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาว่า มีพระพุทธรูปลอยน้ำมาหยุดที่บริเวณหน้าวัด เป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลัก ปางมารวิชัย ชาวบ้านซึ่งอยู่บริเวณรอบๆ วัดในครั้งนั้น ซึ่งเป็นชาวลาวที่อพยพมาตั้งบ้านเรื่อยอยู่ จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวขึ้นมาไว้ที่วัด โดยเรียกพระพุทธรูปองค์นั้นว่า "หลวงพ่อโต" และเรียกชื่อวัดว่า "วัดยั้ง" เพราะมีพระพุทธรูปลอยมาหยุดที่ท่าน้ำของวัด ซึ่งคำว่าหยุดในภาษาลาวใช้คำว่า ยั้ง
ต่อมาเมื่อมีชาวไทยมาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณนั้นมากขึ้น ชื่อวัดว่า "วัดยั้ง" จึงได้เพี้ยนไปเป็น "วัดยาง" ดังที่เรียกกันในปัจจุบัน

Wat Yang
With an unkown date of construction and founder, Wat Yang is assumed to be an ancient temple dating back to early Rattanakosin or Bangkok period which is more than 200 years ago.
Like Wat Soi Thong and Wat That Thong, Wat Yang is just upgraded to be a third class royal monastery in 2555 B.E.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กันยายน 05, 2018, 07:54:48 pm
96.วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : ห้วยขวาง
เขต/อำเภอ   : ห้วยขวาง
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : 2534

***ทำว้ตรเย็น 16.00 น.

รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริให้พัฒนาบึงพระราม 9เป็นแหล่งบำบัดน้ำเสียจากคลองใกล้เคียง เมื่อการพัฒนาบึงพระราม 9 ดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2531 ว่าควรสร้างวัดใกล้ๆ กับบึงพระราม 9 โดยมีพระราชประสงค์ในการสร้างวัดแห่งนี้ว่า ให้เป็นวัดเรียบง่าย ประหยัด เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจ และศรัทธาเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ ทั้งทางศาสนา สังคม และจริยธรรมแก่เยาวชน และประชาชนในชุมชน กรมการศาสนาจึงได้อนุมัติให้สร้างวัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ส. 2534 บนที่ดินซึ่ง นางสาวจวงจันทร์ สิงหเสนี น้อมเกล้าฯ ถวาย

พระอุโบสถออกแบบโดยนาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น(อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) เน้นความเรียบง่ายและประหยัดตามพระราชประสงค์ของ รัชกาลที่ 9 เครื่องบนทำอย่างไทย ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เป็นปูนปั้นสีขาว หน้าบันเป็นปูนปั้นลายดอกพุดตานปิดทองเฉพาะที่ตราพระราชลัญจกร การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2537 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม พ.ส. 2537 รัชกาลที่9 ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษกเป็นพระอารามหลวงเป็นกรณีพิเศษ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542

Wat Phraram 9 Kanchanaphisek
The reason for construction of Wat Phraram 9 Kanchanaphisek is unusual, further to the project to resolve the water putrid by the lagoon aeration, Rama 9 pond, His Majesty King Bhumibol Adulyadej ordered to improve the community around the lake, and construct the temple as its center.

Started construction in 2534 B.E., Wat Phraram 9 Kanchanapisek is a small temple with a simple design as the King's intention. Every building is in ac combination of ancient and modern style.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กันยายน 07, 2018, 07:21:18 pm
97.วัดบางนาใน

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางนา
เขต/อำเภอ   : บางนา
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : 2433

***ทำว้ตรเช้า 08.00 น. วัตรเย็น 16.30 น.

วัดบางนาในสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2433 แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง เดิมชื่อว่า "วัดสว่างอารมณ์" และไม่ได้จัดเป็นวัดในกรุงเทพมหานคร เพราะพื้นที่ตั้งวัดขึ้นอยู่กับจังหวัดนครเขื่อนขันธ์ หรือจังหวัดสมุทรปราการในปัจจุบัน
ต่อมาปี พ.ศ. 2445 ทางราชการได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริหารส่วนท้องถิ่นใหม่ วัดสว่างอารมณ์จึงได้มาขึ้นกับอำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร และได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดบางนาใน" ตามชื่อพื้นที่เพราะตั้งอยู่ริมคลองบางนา โดยมีอีกวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ปากคลองบางนา ซึ่งเดิมชื่อว่า "วัดปากคลองบางนา" แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดบางนานอก" จึงเรียกวัดสว่างอารมณ์ว่า "วัดบางนาใน" เพื่อไม่ให้ชื่อซ้ำกัน

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
#hikingthai.com


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กันยายน 07, 2018, 07:22:52 pm
98.วัดบางพลีใหญ่ใน

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางพลีใหญ่
เขต/อำเภอ   : บางพลี
จังหวัด : สมุทรปราการ
พ.ศ. ที่สร้าง : สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พิกัด : 13.60491, 100.71122

***เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กันยายน 08, 2018, 05:48:49 pm
99.วัดบุณยประดิษฐ์ พระอารามหลวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางไผ่
เขต/อำเภอ   : บางแค
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***ทำว้ตรเย็น 16.30 น. เช้า 08.00 น.

วัดบุญยประดิษฐ์เป็นวัดที่เพิ่งจะสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2482 โดยมีผู้จิตศรัทธา คือ นายบุญ และนางน่วม โพธินิต ยกที่ดินให้เป็นที่สร้างวัด วัดนี้จึงได้ชื่อว่า "วัดใหม่บุญน่วม" มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ หลวงพ่อปาน พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างวัด รูปเหมือนพระมงคลเทพมุนี(สด จันทสโร) และรูปเหมือน หลวงพ่อสิน ติสโส

Wat Booya Pradit
Wat Booya Pradit  was built in 2482 B.E.(1939 A.D.), and just upgraded to be a third class royal monastery in 2547 B.E.(2004 A.D.) All buildings are of present day architecture. Those buildings are Ubosot(Ordination Hall), Vihara (Assembly Hall), Prang(Pagoda), Sala Karnparien(Teaching-Learning Hall), and Bell Tower.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กันยายน 13, 2018, 07:27:32 pm
100.วัดยานนาวา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ยานนาวา
เขต/อำเภอ   : สาทร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

วัดยานนาวา เป็นวัดที่สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง เดิมชื่อว่า "วัดคอกควาย" เพราะมีชาวมอญที่อพยพมาจากเมืองทวายมาตั้งถิ่นฐาน จะนำกระบือที่เลี้ยงไว้มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน หมู่บ้านบริเวณนั้นจึงได้ชื่อเรียกต่อกันมาว่า "บ้านคอกควาย" และเมื่อสร้างวัดขึ้นมาในหมู่บ้าน จึงได้ชื่อว่า "วัดคอกควาย" ตามชื่อหมู่บ้านไปด้วย

กระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ และสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่แทนพระอุโบสถหลังเก่าที่ชำรุด แล้วจึงทรงเปลี่ยนชื่อให้วัดใหม่ว่า "วัดคอกกระบือ"

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณืวัดนี้อีกครั้ง รวมทั้งมีการก่อสร้างสำเภอพระเจดีย์และอาคารต่างๆ เพิ่มเติม และเมื่อสร้างสำเภาเจดีย์เสร็จ จึงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดญาณนาวาราม" ซึ่งแปลว่า "ญาณอันเป็นพาหนะดุจดั่งสำเภาข้ามโอฆะสงสาร" โดยต่อม่ได้เลือนมาเป็น "วัดยานนาวา" ดังที่เรียกในปัจจุบัน

Wat Yannawa
Wat Yannawa was established in Ayutthaya period, and originally called ''Wat Khok Kwai'' after the name of village where the temple was located.

its first restoration was carried out in the reign of King Rama I, and there were further restoration and more construction of the temple in the reign of King Rama III. And after the restoration and construction, King Rama III renamed the temple to ''Wat Yannawa''

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กันยายน 20, 2018, 09:19:22 pm
101.วัดไพชยนต์พลเสพย์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางพึ่ง
เขต/อำเภอ   : พระประแดง
จังหวัด : สมุทรปราการ
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ.2365
พิกัด : 13.6672, 100.52703

***ทำวัตรเช้า 08.00 น.วัตรเย็น 16.00 น.

วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร สร้างเมื่อราว พ.ศ. 2365 ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่น ศักดิพลเสพย์ ผู้ซึ่งเป็นแม่กองสร้างเมืองเขื่อนขันธ์ที่ยังคั่งค้างอยู่ พร้อมสร้างป้อมเพชรหึง และขุดคลองปากลัดหลังนครเขื่อนขันธ์ และพระองค์ทรงรับเป็นพระอุปการะมาโดยตลอด เมื่อพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวร ในรัชกาลที่ 3 วัดนี้จึงมีความสำคัญมากขึ้นและยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เป็นวัดที่มีพระอุโบสถและพระวิหาร ที่งดงามมาก สิ่งที่สำคัญภายในวัด เช่น พระประธานปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองประดิษฐานอยู่บนบุษบก พระพุทธรูปหล่อปางยืนถวายแนตรที่ซุ้มหน้าพระวิหาร พระประธานใหญ่ภายในพระวิหารปางมารวิชัย

ที่มา : ป้ายในวัด

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กันยายน 29, 2018, 06:48:34 pm
102.วัดชินวราราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางขะแยง
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : ปทุมธานี
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 13.96675, 100.5303

***เปิดตลอด

เดิมชื่อวัดมะขามใต้ สร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 2 เป็นวัดรามัญนิกาย (วัดมอญ) ต่อมาได้รวมวัดร้างนิกายเดียวกันอีกสองวัดคือ วัดใน และวัดคลองควาย ทำให้วัดมะขามใต้มีขนาดใหญ่มากวัดหนึ่ง

พ.ศ. 2455 พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้เสด็จไปตรวจวัดในอำเภอเมืองจังหวัดปทุมธานี เสด็จถึงวัดมะขามใต้ทรงเห็นทำเลดี แต่มีอุโบสถซึ่งเริ่มก่อผนังไว้บ้างแล้วยังไม่มีใครช่วยปฏิสังขรณ์ต่อให้สำเร็จจึงทรงรับที่จะปฏิสังขรณ์ต่อไปเพื่ออุทิศกุศลถวายหม่อมมารดา ดังที่ตั้งพระทัยไว้นานแล้ว เมื่อปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้วได้จัดฉลองใน พ.ศ.2456 ต่อจากนั้นได้ทรงสร้างเสริมซ่อมแซมเพิ่มเติมตลอดมาเป็นลำดับ

พ.ศ. 2476 วัดเจตวงศ์ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมากทางคณะสงฆ์จึงให้มารวมด้วยอีกวัดหนึ่งวัดมะขามใต้ได้รับพระราชทานโปรดให้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงพร้อมกับให้เปลี่ยนนามวัดเป็น "วัดชินวราราม" ใน พ.ศ. 2481 เพื่อเป็นพระอนุสรณ์แด่กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ผู้ทรงมีอุปการคุณแก่วัดเป็นอย่างยิ่งทำให้วัดได้เจริญรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on ธันวาคม 31, 2018, 09:11:31 pm
103.วัดทองนพคุณ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : คลองสาน
เขต/อำเภอ   : คลองสาน
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***ทำวัตรเช้า 08.00 เย็น 17.00 น.

วัดทองนพคุณ เดิมชื่อว่า "วัดทองล่าง" ตั้งอยู่ถัดจากวัดทองธรรมชาติหรือวัดทองบน ซึ่งเป็นวัดที่สร้างคู่กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 วัดทองล่างได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์โดยพระยาโชฏึกราชเศรษฐี(ทองจีน ไกรฤกษ์)

ปัจจุบันวัดทองนพคุณเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ มีที่ดินตั้งวัดประมาณ 20 ไร่ เศษ มีสิ่งที่น่าสนใจภายในวัดคือ ภาพจิตกรรม ภายในพระอุโบสถ

Wat Thong Noppakhun
Located net to Wat Thong Thammachat(Wat Thong Bon), Wat Thong Nopphakhun was also an ancient temple of the Ayutthaya period. It was originally named Wat Thong Lang, and built togerther with Wat Thong Bon.

The temple was restored by Phraya Chodokratchasetthi(Thongchin Krairoek), and upgraded to be a royal monastery in the reign of King Rama III.

The most interested feature of the temple is the mural painting inside the Ubosot(Ordination Hall) depicting Jataka, the Ten Lives of the Buddha Episodes.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มกราคม 01, 2019, 06:51:01 pm
104.วัดวชิรธรรมสาธิต วรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางจาก
เขต/อำเภอ   : พระโขนง
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***เปิดตลอด

วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร เดิมชาวบ้านเรียก "วัดทุ่งสาธิต" เป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางจิตใจของชาวพระโขนงมานานเล่าต่อมาว่า สร้างโดยนายวันดี คหบดีชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทร์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์รับวัดทุ่งสาธิต ไว้ในพระอุปถัมภ์จัดตั้งเป็นพระอารามหลวงได้พระราชทานนามว่า "วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร" วัดแห่งนี้มีพระอุโบสถที่สวยงามและพระเจดีย์จุฬามณีศรีล้านนา ซึ่งได้จำลองมาจากพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ภายในพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 25 องค์ พระอรหันต์สาวกธาตุ 289 องค์ และพุทธรูปทองคำอีก 2 องค์

Wat WachiraTham Sathit
Wat WachiraTham Sathit used to be called ''Wat Tung Satit''. The temple is the center for the people who live in ther Pra Kanong area for along time. It was told that a Laotian Baron, Wandi who moved from moved from Vientiane, built the the temple on September 9, 1965, King Bhumibol Adulyadej was kind to let prince Vajiralongkorn accept the temple under Patongnage. The temple level was raised to be a royal temple and named ''Wat Vachira Dhammasathit'' This temple has a beautiful Ubosot(Main Chapel) and Chulamansrilanana Stupa, a duplicate of the Hariphunchaistupa in Lamphun province in the stupa there are 25 units of lord Buddha relics, 289 units of Buddhist saint relics and two gold Buddha images.

ที่มา ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 10, 2019, 08:29:25 am
105.วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก      
ชนิด   : ราชวรมหาวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : พระปฐมเจดีย์
เขต/อำเภอ   : เมือง   
จังหวัด : นครปฐม   
พ.ศ. ที่สร้าง : สร้างยุคทวารวดี
พิกัด : 13.81972, 100.06005

***เปิดตลอด

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 10, 2019, 08:31:44 am
106.วัดพระประโทณเจดีย์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : พระประโทน
เขต/อำเภอ   : เมืองนครปฐม
จังหวัด : นครปฐม   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***วัตรเย็น 17.00 น.
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 10, 2019, 08:33:55 am
107.วัดพระงาม พระอารามหลวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : พระปฐมเจดีย์
เขต/อำเภอ   : เมืองนครปฐม
จังหวัด : นครปฐม   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***วัตรเย็น 17.00 น.
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 10, 2019, 08:35:26 am
108.วัดไร่ขิงพระอารามหลวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ไร่ขิง
เขต/อำเภอ   : สามพราน
จังหวัด : นครปฐม   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***เปิดตลอด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 10, 2019, 08:37:36 am
109.วัดเสนหาพระอารามหลวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : พระปฐมเจดีย์
เขต/อำเภอ   : เมืองนครปฐม
จังหวัด : นครปฐม   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***น่าจะเปิดเฉพาะทำวัตร
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 02, 2019, 08:51:36 pm
110.วัดพระสิงห์ (จังหวัดเชียงใหม่)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก      
ชนิด   : วรมหาวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : พระสิงห์
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยพระเจ้าคำฟู
พิกัด : 18.78852, 98.98199

***เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

วัดพระสิงห์ เป็นวัดโบราณอยู่ใกล้กับประตูสวนดอก เป็นประตูกำแพงเมืองชั้นในด้านทิศตะวันตก แต่เดิมเป็นวัดป่าอยู่ด้านทิศตะวันตกของ ลีเชียง แปลว่า ตลาดประจำเมือง ชาวบ้านเรียกว่า "วัดลีเชียง" สร้างขึ้นสมัยพระเจ้าคำฟูครองเมืองเชียงใหม่

ปี พ.ศ.1877 พระเจ้าคำฟูได้ย้ายจากเมืองเชียงใหม่ไปครองเมืองเชียงแสนเป็นเวลาประมาณ 10 ปีเศษ ก็สวรรคต พระเจ้าผายูราชโอรส กษัตริย์แห่งล้านนา อันดับที่ 7 ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ระหว่างปี พ.ศ.1887-1910 ได้อัญเชิญพระอัฐิและพระอังคารของพระราชบิดามายังเมืองเชียงใหม่โปรดให้ก่อพระสถูปบรรจุไว้ที่วัดลีเชียง และสร้างพระวิหารขึ้นแล้วโปรดให้นิมนต์พระมหาอุภัยจุลเถระจากนครหริภุญไชยมาเป็นเจ้าอาวาสวัดลีเชียงเมื่อปี พ.ศ. 1888 พร้อมกับได้จัดให้มีมหกรรมฉลองสมโภชขนานนามว่า "วัดลีเชียงพระ"

ปี พ.ศ. 1943 เจ้ามหาพรหม ได้อาศัยเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่ ได้กลับมายังเมืองเชียงใหม่พร้อมกับอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาถวายพระเจ้าแสนเมือง พระเจ้าแสนเมืองมาจึงโปรดให้นำไปประดิษฐานไว้ ณ พระวิหารวัดลีเชียงพระ ตั้งแต่นั้นมาประชาชนนิยมเรียกว่า วัดพระสิงห์

วัดพระสิงห์เป็นศูนย์กลางการชุมนุมประกอบพิธีและงานสำคัญต่างๆ ของชาวเมืองเชียงใหม่สืบต่อกันมาโดยตลอด จนปี พ.ศ. 2319 เมืองเชียงใหม่ตกเป็นเมืองร้าง เป็นเหตุให้วัดพระสิงห์กลายเป็นวัดร้าง ปี พ.ศ. 2339 พระยากาวิละในราชวงศ์ทิพย์ช้าง ได้เป็นเจ้าผู้ครองนครและฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดพระสิงห์ได้เจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง มีการเขียนภาพจิตกรรมฝาผนังพระวิหารลายคำ ในรัชสมัยของเจ้าหลวงช้างเผือก(ธรรมลังกา) ปี พ.ศ.2461 วัดประสิงห์กับมาเป็นวัดร้างอีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.2467 เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่อันดับที่ 9 ในราชวงศ์ทิพย์ช้าง กับเจ้าดารารัศมีพระราชชายาในรัชกาลที่ 5 ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างถาวรวัตถุ อาคารเสนาสนะ ได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ.2483

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 02, 2019, 08:53:02 pm
111.วัดเจดีย์หลวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : พระสิงห์
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่   
พ.ศ. ที่สร้าง :พ.ศ. 1913-1954
พิกัด : 18.78696, 98.98658

***เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

วัดเจดีย์หลวง เป็นวัดที่มี พระเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์เม็งราย(พ.ศ. 1913-1954) ลักษณะพระเจดีย์เป็นทรงปราสาท ศิลปะแบบอินเดียผสมลังกา ฐานสี่เหลี่ยมก่อด้วยศิลาแลง ขนาดกว้างด้านละ 54 เมตร สูง 98 เมตร ปัจจุบันส่วนบนปรักหักพังเหลือความสูงประมาณ 40 เมตร มีบันไดนาคเลื้อยลงมา ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหารนอกจานี้ยังมี "เสาอินทขิล" หรือหลักเมืองเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ภายใน "พระวิหารอินทขิล" ซึ่งเป็นอาคารแบบจัตุรมุขคล้ายมณฑป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระวิหารหลวง

ในแต่ละปีจะมีการจัดงานฉลองสมโภชเสาอินทขิลเป็นเวลา 7 วัน ด้วยการบูชาด้วยข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน น้ำอบน้ำหอม การละเล่นพื้นเมืองศิลปะพื้นบ้านต่างๆ ที่เรียกว่าประเพณีบูชาเสาอินทขิล

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 02, 2019, 08:54:30 pm
112.วัดศรีโสดา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : สุเทพ
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่   
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ.2476
พิกัด : 18.81432, 98.94566

***เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

วัดศรีโสดา สร้างเมื่อปี พ.ศ.2476 โดยพระครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา หรือครูบาศิลธรรม ได้รับจารึกเป็นประวัติศาสตร์คู่นครเชียงใหม่ เพราะเป็นจุดลงจอบแรกการขุดถนนขึ้นดอยสุเทพ โดยมีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ลงจอบแรกเป็นปฐมฤกษ์ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2477 เป็นจุดเริ่มต้น เส้นทางบุญ สำหรับสัญจรไปนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นผ่านป่าเขาที่สูงชัน ทุรกันดาร หุบเหวลึก ระยะทาง 11 กิโลเมตร ใช้เวลาสร้าง 5 เดือน 22 วัน สำเร็จด้วยพลังศรัทธาประชาชน นับเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ๋ของครูบาศรีวิชัย ที่ชาวล้านนาและนักท่องเที่ยวทั่วโลก หากได้มาเยือนเมืองเชียงใหม่ ต่างก็แวะสักการบูชาอนุสาวรีย์ท่านครูบาศรีวิชัย เพื่อเป็นสิริมงคล

ความสำคัญและความผูกพันกับการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2477 เริ่มจากหลวงศรีประกาศ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และผู้แทนราษฏรจังหวัดเชียงใหม่ในขณะนั้น คิดจะนำไฟฟ้าขึ้นไปติดตั้งบนดอยสุเทพ แต่ไม่มีงบประมาณจึงได้ขอพึ่งบุญบารมีครูบาศรีวิชัย ท่านเห็นด้วย แต่ขออธิษฐานดูก่อนว่าเป็นไปได้หรือไม่ ท่านอธิษฐานถึง 2 ครั้ง ปรากฏว่าเป็นไปได้ยาก แต่การสร้างถนนขึ้นไปจะเสร็จเร็วกว่า จึงตกลงสร้างถนน ณ จุดเริ่มต้นบริเวณเชิงดอยสุเทพ ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดศรีโสดาในปัจจุบัน

ระหว่างการสร้างถนน ท่านครูบาศรีวิชัยได้สร้างวัดขึ้นควบคู่กันไป 4 วัด โดยตั้งชื่อให้มีความหมายเกี่ยวโยงถึงคุณภาพที่ผู้ปฏิบัติธรรมพึงบรรลุได้ คือ มรรค ผล นิพพาน เทียบพระอริยบุคคลในพระพทธศาสนา 4 ชั้น วัดแรกที่สร้างคือ วัดโสดาบัน วัดสกทาคามี วัดอนาคามี และวัดอรหันต์ สร้างบนยอดดอย ต่อมาวัดโสดาบัน เปลี่ยนชื่อเป็น วัดศรีโสดา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเปลี่ยนสมัยใด น่าจะอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2484-2509 สมัยครูบาเสาร์ นารโท เป็นเจ้าอาวาส สาเหตุที่เติมคำว่า ศรี สันนิษฐานว่ามาจากชื่อครูบาศรีวิชัย เพื่อเป็นอนุสรณ์ยกย่องเชิดชู รำลึกคุณูปการ ที่ท่านสร้างวัดศรีโสดาขึ้นมา ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2551

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 02, 2019, 08:55:32 pm
113.วัดสวนดอก

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : สุเทพ
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่   
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ.1914
พิกัด : 18.78823, 98.96776

***เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

วัดสวนดอกพระอารามหลวง(วัดบุปผาราม)  พระเมืองแก้ว หรือ พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช กษัตริย์เชียงใหม่ ในราชวงศ์มังราย องค์ที่ 10 ได้รับสั่งให้ช่างเชียงแสนที่มีฝีมือปราณีตที่สุดมาทำการหล่อองค์พระปฏิมากรตามพระราชประสงค์ ในปี พ.ศ.2047 โปรดให้เริ่มดำเนินการหล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่ มีพระประสงค์เพื่อไปเป็นพระประธานวัดพระสิงห์ แต่เมื่อหล่อองค์พระเสร็จแล้ว มีขนาดใหญ่มากไม่สามารถที่จะเคลื่อนย้ายไปได้ พระองค์จึงโปรดให้สร้างพระอุโบสถขึ้น เป็นที่ประดิษฐานองค์พระที่วัดเก้าตื้อ คนทั้งหลายจึงนิยมเรียก "พระเจ้าเก้าตื้อ" ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

เนื่องจากคนทั่งไปนิยมเรียกขานพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ว่า "พระเจ้าเก้าตื้อ" (คำว่า เก้าตื้อ แปลว่า ตั้งโกฏิ หรือหลักโกฏิ) และเรียกชื่อวัดตามพระนามขององค์พระว่า "วัดเก้าตื้อ" จึงทำให้กลายเป็น 2 วัดในเวลาต่อมา โดยวัดเก้าตื้อมีกำแพงรอบอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดบุปฝารามสวนดอก ปัจจุบันได้มีการรวมวัดทั้งสองเข้าด้วยกัน

ที่มา : ป้ายในวัด

วัดสวนดอกเดิมเป็นสวนดอกไม้ของพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์เม็งราย ซึ่งได้อุทิศที่ดินนี้สร้างวัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1914 และได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากสุโขทัยมาประดิษฐานที่ พระเจดีย์ประธาน ภายในวัด เมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาถึงวัด ได้เกิดปาฏิหารย์แยกเป็นสองส่วน จึงได้นำพระบรมสารีริกธาตุอีกส่วนไปบรรจุไว้ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นเสมือนวัดพี่น้อง

ต่อมาวัดสวนดอกกลายเป็นวัดร้าง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2450 เจ้าดารารัศมีได้ย้ายเอาเจดีย์บรรจุอัฐิของตระกูล ณ เชียงใหม่มาไว้ที่นี่ วัดสวนดอกจึงกลายเป็นที่เก็บอัฐิของราชวงศ์เชียงใหม่สืบมา

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 02, 2019, 08:56:38 pm
114.วัดเจ็ดยอด(จังหวัดเชียงใหม่)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ช้างเผือก
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยพรเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์เม็งราย
พิกัด : 18.80907, 98.97219

***เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

วัดเจ็ดยอดเป็นวัดที่สำคัญมากวัดหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เพราะใช้เป็นสถานที่ทำการสังคยนาพระไตรปิฏกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และเป็นครั้งที่ 8 ของโลก เมื่อปี พ.ศ.2020 โดยใช้เวลาประชุมสังคยนานาน 1 ปี

วัดเจ็ดยอดสร้างขึ้นในสมัยพรเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์เม็งราย และได้ปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ และจำลองสถานที่สำคัญ 7 แห่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับเสวยวิมุติสุข หลังตรัสรู้ ได้แก่ โพธิบัลลังก์(เจดีย์เจ็ดยอด) อมินิสเจดีย์ รตนฆรเจดีย์ เป็นต้น เนื่องจากวัดมีเจดีย์ที่มียอด 7 องค์ คนทั่วไปจึงนิยมเรียกว่า "วัดเจ็ดยอด"

วัดเจ็ดยอดได้กลายเป็นวัดร้างเจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้มาฟื้นฟูบ้านเมืองและบูรณะวัดทั่วเชียงใหม่รวมทั้งวัดเจ็ดยอดด้วย

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2  กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่อเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 14, 2019, 06:51:34 pm
115.วัดมหาธาตุวรวิหาร(จังหวัด ราชบุรี)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : หน้าเมือง
เขต/อำเภอ   : เมืองราชบุรี
จังหวัด : ราชบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***ทำวัตรเข้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น.
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 14, 2019, 06:52:19 pm
116.วัดศรีสุริยวงศาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : หน้าเมือง
เขต/อำเภอ   : เมืองราชบุรี
จังหวัด : ราชบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***ทำวัตรเข้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น. ตอนไปเปิดตลอด

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 14, 2019, 06:54:31 pm
117.วัดเขาวัง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : หน้าเมือง
เขต/อำเภอ   : เมืองราชบุรี
จังหวัด : ราชบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***ทำวัตรเข้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น.
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 14, 2019, 06:56:37 pm
118.วัดหนองหอย

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : เขาแร้ง
เขต/อำเภอ   : เมืองราชบุรี
จังหวัด : ราชบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***ทำวัตรเข้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น.


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 14, 2019, 06:58:08 pm
119.วัดบัวงาม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บัวงาม
เขต/อำเภอ   : ดำเนินสะดวก
จังหวัด : ราชบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***เปิดตลอด แต่ประตูปิดไว้กันหมาเข้า
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 14, 2019, 07:00:36 pm
120.วัดอัมพวันเจติยาราม   

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท      
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : อัมพวา
เขต/อำเภอ   : อัมพวา
จังหวัด : สมุทรสงคราม
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***เปิดตลอด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 14, 2019, 07:02:12 pm
121.วัดเพชรสมุทรวรวิหาร(วัดบ้านแหลม)   

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : แม่กลอง
เขต/อำเภอ   : เมืองสมุทรสงคราม
จังหวัด : สมุทรสงคราม
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***เปิดตลอด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 14, 2019, 07:03:27 pm
122.วัดเจริญสุขาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางนกแขวก
เขต/อำเภอ   : บางคนที
จังหวัด : สมุทรสงคราม
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***เปิดตลอด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 14, 2019, 07:04:54 pm
123.วัดเกตการาม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : โรงหีบ
เขต/อำเภอ   : บางคนที
จังหวัด : สมุทรสงคราม
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***เปิดตลอด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 14, 2019, 07:06:04 pm
124.วัดประดู่

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดประดู่
เขต/อำเภอ   : อัมพวา
จังหวัด : สมุทรสงคราม
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***เปิดตลอด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 14, 2019, 07:07:39 pm
125.วัดสุทธิวาตวราราม(วัดช่องลม)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ท่าฉลอม
เขต/อำเภอ   : เมืองสมุทรสาคร
จังหวัด : สมุทรสาคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***เปิดตลอด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 14, 2019, 07:09:01 pm
126.วัดเจษฎาราม   

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : มหาชัย
เขต/อำเภอ   : เมืองสมุทรสาคร
จังหวัด : สมุทรสาคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***เปิดตลอด ฝังลูกนิมิตปี 2563 ตรุษจีน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 14, 2019, 07:13:41 pm
127.วัดป้อมวิเชียรโชติการาม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : มหาชัย
เขต/อำเภอ   : เมืองสมุทรสาคร
จังหวัด : สมุทรสาคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***ภายในยังไม่แล้วเสร็จ โบสถ์สร้างใหม่ทับโบสถ์เดิมทำเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นโบสถ์เดิม ชั้น 2 เป็นโบสถ์ใหม่ แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จดี และยังไม่มีการฝังลูกนิมิต
ดังนั้นจึงทำพิธีชั้นที่ 1 ไปก่อน ส่วนภาพที่ลงจะเป็นพระประธานองค์ใหม่
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 11, 2019, 05:18:41 pm
128.วัดนิเวศธรรมประวัติ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด : ราชวรวิหาร
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : บ้านเลน
เขต/อำเภอ : บางปะอิน
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. ที่สร้าง : สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2419
พิกัด : 14.23145, 100.57614

ชาวบ้านนิยมเรียกวัดนี้ว่า "วัดใหม่" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. 2419 แล้วเสร็จบริบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2421 พระราชทานนามว่า "วัดนิเวศธรรมประวัติ" ทรงมีพระราชศรัทธาสร้างพระอารามนี้ เพื่อพระราชอุทิศให้เป็นจาตุรทิศสังฆกาวาส เป็นที่บำเพ็ญพระราชกุศลใกล้พระราชวัง (บางปะอิน) เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ

ในการสร้างวัดนี้ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ จ้างเหมาชาวตะวันตกมาออกแบบสร้างให้มีลักษณะพิเศษ อย่างศิลปะทางตะวันตกทั้งสิ้น ตามพระราชพระราชประสงค์ว่า เพื่อจะทรงบูชาพระพุทธศาสนาด้วยของ (สิ่งก่อสร้าง) แปลกประหลาด และเพื่อให้อาณาประชาราษฎร์ชมเล่นเป็นของแปลกที่ไม่เคยมีในพระอารามอื่นๆ และจะให้เป็นของมั่นคงถาวรด้วย

วัดนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมากตลอดรัชกาลที่ 5 ต่อมาใน พ.ศ. 2471 สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าโปรดให้สร้างเขื่อนคอนกรีตขึ้นใหม่ แทนเเขื่อนเก่าที่ชำรุด การบูรณปฏิสังขรณ์และก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้น พ.ศ. 2493 เป็นต้นว่าจัดสร้างศาลาท่าน้ำ สร้างรั้วคอนกรีต ถมดิน เสริมถนน ทำบันไดคอนกรีตขึ้นกุฏิ ต่อไฟฟ้าเข้าวัดสร้างยานพาหนะข้ามฟาก (กระเช้าสวรรค์) และปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุถาวรวัตถุต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 20, 2019, 08:13:43 am
129.วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร(จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด : ราชวรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : หอรัตนไชย
เขต/อำเภอ : พระนครศรีอยุธยา
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. ที่สร้าง : สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) พระราชบิดาในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

**เปิดตลอด

วัดสุวรรณดารารามเดิมชื่อ "วัดทอง" ตามนามของท่านผู้สร้างวัด คือ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) พระราชบิดาในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประมาณว่าสร้างในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (โกษฐ์) สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนเสียกรุงใน พ.ศ. 2310 พระอารามของเดิมถูกไฟเผา และรื้อทำลายไปหมด

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 โปรดให้จัดการปฏิสังขรณ์วัดทองทั้งพระอาราม เท่ากับการสร้างใหม่ และพระราชทานนามว่า "วัดสุวรรณดาราราม" โปรดให้มีพระสงฆ์มาจำพรรษาตั้งแต่ พ.ศ. 2328 เป็นต้นมา

ในรัชกาลต่อมาได้มีการสร้างปูชนียสถานเพิ่มเติม เช่น ศาลาการเปรียญสร้างในรัชกาลที่ 2-3 พระวิหารสร้างในรัชกาลที่ 4 เป็นต้น และได้มีการปฏิสังขรณ์เป็นลำดับมาจนปัจจุบัน

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 20, 2019, 08:15:04 am
130.วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด : ราชวรวิหาร
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : หัวรอ
เขต/อำเภอ : พระนครศรีอยุธยา
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยกรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 14.36368, 100.57316

**เปิดตลอด

วัดเสนาสนารามเป็นวัดโบราณ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ "วัดเสื่อ" ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระราชหัตถเลขาว่า ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขณะดำรงตำแหน่งเป็นพระมหาอุปราช โปรดให้สร้างวังขึ้นเป็นที่ประทับในกรุงศรีอยุธยา คือ วังจันทรเกษม อาณาเขตทางทิศใต้ของวังจันทรเกษมติดกับวัดเสื่อ ต่อมาในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ขยายอาณาเขต โดยรวมเอาวัดเสื่อมาอยู่ในเขตวังจันทรเกษม จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปีพุทธศักราช 2310 วัดเสื่อจึงได้ร้างไป

เมื่อปีพุทธศักราช 2406 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชทรัพย์ 300 ชั่ง และโปรดให้พระยาราชสงคราม (ทัด หงสกุล) เป็นแม่กองอำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์ พร้อมทั้งสร้างพระอุโบสถพระวิหาร 2 หลัง พระเจดีย์ และกุฏิสงฆ์พระราชทานนามว่า "วัดเสนาสนาราม"

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 20, 2019, 08:16:09 am
131.วัดชุมพลนิกายาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด : ราชวรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บ้านเลน
เขต/อำเภอ : พระนครศรีอยุธยา
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. ที่สร้าง : กรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 14.23697, 100.58126

**เปิดตลอด

วัดชุมพลนิกายารามเป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยพระเจ้าปราสาททองได้สถาปนาวัดนี้ขึ้นเมื่อปีวอก จัตวาศก ศักราช 994 (พ.ศ. 2073) สาเหตุที่ทรงสร้างวัดนี้เนื่องจาก บางปะอินเป็นบ้านเกิดของพระองค์ ดังปรากฏในตำนานพระที่นั่งเกาะบางปะอินว่า เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชา ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินในกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 1 ในจุลศักราช 908 ปีมะโรงอัฐศก มีพระราชโอรสสองพระองค์ พระองค์ใหญ่ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร พระองค์น้อยทรงพระนามว่าสมเด็จพระเอกาทศรฐอิศวนบรมนาถ

ครั้งหนึ่งเมื่อพระองค์ทรงเสด็จกลับจากการประพาสภาคใต้ของไทย เกิดพายุพัดหนักมืดมัวเรือพระที่นั่งล่มลงตรงเกาะบางปะอิน สมเด็จพระเอกาทศรฐ ทรงว่ายน้ำมาที่เกาะนี้ และพบบ้านแห่งหนึ่ง จึงได้เสด็จไปทรงขอผิงไฟที่บ้านแห่งนั้น และได้ทอดพระเนตรเห็นหญิงสาวที่มีรูปโฉมงดงามต้องพระทัยจึงเสด็จอยู่กับหญิงนั้นคืนหนึ่งแล้วจึงเสด็จกลับต่อมาหญิงนั้นตั้งครรภ์คลอดบุตรเป็นชาย ครั้งโตขึ้นก็ได้เข้ารับราชการเป็นพระมหาอำมาตย์

ในอดีตตามพงศาวดารเรียกเกาะบางปะอินนี้ว่า "เกาะบางนาอิน" เป็นพระราชนิเวศน์ปราการประกอบพฤกษาชาติร่มรื่น เป็นที่สำราญพระราชหฤทัยประพาสของราชตระกูลสุริยวงศ์อนงค์นารีทั้งปวง และได้โปรดให้สร้างพระอารามเคียงพระราชนิเวศน์ มีพระเจดีย์ วิหาร และพระราชทานนาม "วัดชุมพลนิกายาราม" สาเหตุที่ที่พระราชทานนามวัดว่าชุมพลนิกายารามนั้น พิจารณาตามชื่อแล้วเห็นว่าวัดแห่งนี้เป็นที่ประชุมไพร่พลข้าหลวงซึ่งเป็นกำลังในพระองค์ท่านนั่นเอง

ภายในวัดชุมพลนิกายารามมีเจดีย์สององค์ยืนตระหง่านเคียงคู่อยู่หลังพระอุโบสถ มีพระวิหารขนาดกะทัดรัดสององค์อยู่ระหว่างเจดีย์รอบ ๆ บริเวณมีต้นยางพาราสูงใหญ่เรียงรายอยู่หลายคนเหมือนกันเหล่าราชวัลลภที่กำลังถวายอารักขาอย่างเคร่งครัด และเคร่งขรึมน่าเกรงอย่างไรก็ตามสถานที่นี้คือ “ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ปราสาททอง” ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นพระอารามหลวงยาวนานถึงสามทศวรรษครึ่ง

ที่มา : ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 20, 2019, 08:17:15 am
132.วัดกษัตราธิราช

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : ราชวรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บ้านป้อม
เขต/อำเภอ : พระนครศรีอยุธยา
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยกรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 14.35138, 100.54431

**เปิดตลอด

วัดนี้มีมา แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดกระษัตรา" หรือ "วัดกระษัตราราม" ตามหนังสือคำให้การของชาวกรุงเก่าเรียกชื่อว่า "วัดกุสิทาราม" เป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยา

เหตุที่ได้ชื่อว่าวัดกษัตรา สันนิษฐานว่าคงจะเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งครั้งกรุงศรีอยุธยาทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์คราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งหลังเมื่อ พ.ศ. 2310 วัดได้ถูกทำลายกลายเป็นวัดร้างอยู่หลายปี

ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ระหว่าง พ.ศ. 2328-2349 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ (ทองอิน) สมเด็จพระเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงปฏิสังขรณ์ เพื่อให้มีพระอยู่จำพรรษา

หลังจากกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ทิวงคตแล้ว สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (เกศ) ได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอารามสืบต่อมาอีกในรัชกาลที่ 2 ก่อน พ.ศ. 2361 นับเป็นวัดที่ได้รับการปฏิสังขรณ์อย่างสำคัญจากเจ้านายชั้นสูงมาโดยตลอด ส่วนนามวัดกษัตราธิราชที่ใช้ในปัจจุบันได้เปลี่ยนนามในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พ.ศ. 2431 ครั้งเสด็จพระราชดำเนินวัดนี้ได้กล่าวถึงนามวัดนี้ว่าวัดกษัตราธิราชไว้

วัดกษัตราธิราชได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงใน พ.ศ. 2520

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 20, 2019, 08:18:07 am
133.วัดพรหมนิวาสวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : ราชวรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ท่าวาสุกรี
เขต/อำเภอ : พระนครศรีอยุธยา
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยกรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 14.35948, 100.54857

**เปิดตลอด

วัดพรหมนิวาสเดิมชื่อ "วัดขุนยวน" เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติเล่าว่าผู้สร้างวัดมียศเป็นขุนได้เป็นแม่ทัพไปรบศึกที่เมืองโยนก (นครเชียงใหม่) มีชัยชนะกลับมาจึงได้สร้างวัดขึ้น (ยวนคือโยนก)

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 3 ได้มีผู้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงบูรณะเพิ่มเติมเนื่องจากเคยประทับเมื่อครั้งทรงผนวชอยู่ ต่อมาบรรดาปูชนียวัตถุส่วนมากได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา การปฏิสังขรณ์ให้คืนสู่สภาพเดิมทำได้ยาก เพราะสิ่งปลูกสร้างล้วนไปด้วยศิลปกรรม ค่าซ่อมแซมสูงมาก ทางวัดได้เริ่มแบบค่อย ๆ ทำไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 8 ราว พ.ศ. 2485 พร้อมได้ขอพระราชทานเปลี่ยนนามวัดใหม่ว่า "วัดพรหมนิวาส" โชคดีที่ทางวัดมีคณะกรรมการวัดที่เข้มแข็งได้ช่วยกันประคับประคองให้วัดเจริญรุ่งเรืองต่อมาจนปัจจุบัน

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 20, 2019, 08:19:12 am
134.วัดวรนายกรังสรรค์เจติยบรรพตาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บางปะหัน
เขต/อำเภอ : บางปะหัน
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. ที่สร้าง : กรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 14.435, 100.55384

**ต้องขอให้เจ้าอาวาสเปิดให้ หรือไปวันสำคัญทางศาสนา

วัดวรนายกรังสรรค์เจติยบรรพตาราม เป็นวัดโบราณมีมา แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมชื่อว่า "วัดเขาดิน" สร้างในสมัยพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2163-2171)

ชื่อเดิมของวัดเรียกง่ายว่า "วัดปากน้ำประสพ" หรือ "วัดปากน้ำโพสพ" เพราะวัดตั้งอยู่ที่ปากน้ำประสพหรือปากน้ำ โพสพซึ่งเป็นที่อยู่ของพระอาจารย์พรหม ผู้เป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและท่านอื่น ๆ เช่น เจ้าฟ้าอภัยทศ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ทั้งโกษาเหล็กและโกษาปาน) ฯลฯ ตามหนังสือคำให้การของชาวกรุงเก่าและคำให้การของขุนหลวงหาวัดว่า พระอาจารย์พรหมชำนาญทางเวทมนตร์คาถา เป็นโหรพยากรณ์ได้แม่นยำ มีปฏิภาณโวหารดี เป็นที่เคารพนับถือของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพิเศษ

วัดเขาดินนี้ บรรพบุรุษอันเป็นต้นสกุลสิงหเสนี และบุณยรัตพันธุ์เป็นผู้สร้าง ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาได้ยกบ้าน (นิวาสสถานพระมหาราชครู) ให้เป็นวัด โดยเหตุที่เป็นเนินดินสูงมากผิดกว่าที่อื่นจึงให้ชื่อว่า "วัดเขาดิน"

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 3 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพไปปราบศัตรูฝ่ายเหนือ (ญวนเขมร) ได้แวะพักแรม ณ วัดนี้ เมื่อเสร็จราชการศึก จึงได้มาปฏิสังขรณ์วัดเป็นที่ระลึก

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) เป็นแม่ทัพไปปราบศัตรูฝ่ายเหนืออีก และได้แวะพักแรมที่วัดนี้ ครั้นเสร็จศึกแล้วก็ได้มาทำการปฏิสังขรณ์เช่นเดียวกัน

การท่านเจ้าพระยาทั้งสองได้แวะมาพักแรมก็เพื่อ นมัสการพระพุทธปฏิมากรและกราบไหว้วิญญาณของบรรพบุรุษผู้สร้างวัด เพื่อความเป็นสิริมงคล เมื่อเสร็จศึกจึงได้มาทำการปฏิสังขรณ์

การปฏิสังขรณ์ครั้งหลังทำอย่างใหญ่โตมาก เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลด้วยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระเจดีย์ พร้อมกับโปรดให้เปลี่ยนนามวัดใหม่ว่า "วัดนายกรังสรรค์เจดียบรรพตาราม" ใน พ.ศ. 2517 และโปรดให้ยกเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

หมายเหตุ

พระอาจารย์พรหมมีประวัติพิสดารว่าเป็นพระเถระผู้เฒ่า มีหูทั้งสองยาวถึงบ่า มีอายุพรรษายืนนานมาก มีอานุภาพเหาะเหินเดินอากาศและหายตัวได้

นามสกุลบุณยรัตพันธุ์ เขียนตามแบบเดิม (พอรับได้) ที่ถูกต้องคือบุณยรัตพันธุ์ แต่ที่รับไม่ได้คือเขียนเป็นบุญยรัตพันธ์ หรือบุญรัตนพันธ์ซึ่งออกจะผิดพลาดเอามาก ๆ ที่เดียว

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 20, 2019, 08:20:15 am
135.วัดวิเวกวายุพัด

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : คลองจิก
เขต/อำเภอ : บางปะอิน
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ.2400
พิกัด : 14.22216, 100.59799

**เปิดตลอด

วัดวิเวกวายุพัด สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2400 โดยประชาชนในหมู่บ้าน เดิมเป็นสำนักสงฆ์มีกุฏิ 2 หลังตั้งอยู่บนแหลมคุ้งเรียกว่า "วัดช่องลม" ต่อมาน้ำไหลเซาะตลิ่งพังใกล้เสากุฏิ ในปีพุทธศักราช 2435 นายเอี่ยม ราษฎรในหมู่บ้านจิก ขอให้คณะสงฆ์และประชาชนย้ายวัดไปตั้งในที่นาของตน ซึ่งอยู่ฝั่งเหนือ ได้สร้างพระอุโบสถศาลาการเปรียญ และกุฏิเพิ่ม 3 หลังโดยมี พระสุวรรณวิมลศีล (หนู) เจ้าอาวาสวัดสุวรรณดารารามเป็นผู้อำนวยการสร้าง และพระภิกษุเมฆวัดกำแพงเป็นหัวหน้า

ปีพุทธศักราช 2440 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสทางชลมารค ทรงพระราชทานนามว่า "วัดวิเวกวายุพัด" รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จมาพระราชทานผ้าพระกฐิน

ปีพุทธศักราช 2469 รัชกาลที่ 7 เสด็จมาพระราชทานผ้าพระกฐินต้น ต่อมามีการบูรณปฏิสังขรณ์อาคารเสนาสนะต่าง ๆ เรื่อยมาและได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปีพุทธศักราช 2440

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 20, 2019, 08:21:44 am
136.วัดหน้าพระเมรุราชิการาม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ท่าวาสุกรี
เขต/อำเภอ : บางปะอิน
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ. 2046
พิกัด : 14.36249, 100.55899

**เปิดตลอด

วัดหน้าพระเมรุราชิการาม หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดหน้าพระเมรุ"นี้  พระองค์อินทร์ในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2046 พร้อมกับได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาในปีเดียวกัน และประทานนามว่า "วัดหน้าพระเมรุราชิการาม" มีพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยทรงเครื่องพระมหากษัตราธิราชสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกรุงแตก วัดนี้เสียหายน้อยที่สุดเพราะพม่าใช้บริเวณวัดเป็นฐานตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามาในตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา

ที่มา :  พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 20, 2019, 08:23:03 am
137.วัดบรมวงศ์อิศรวราราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : -
แขวง/ตำบล : สวนพริก
เขต/อำเภอ : พระนครศรีอยุธยา
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยกรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 14.3824, 100.56729

**เปิดตลอด

วัดบรมวงศ์อิศรวรารามเป็นวัดโบราณสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดทะเลหญ้าหรือวัดทำเลหญ้า" เพราะตั้งอยู่กลางทุ่งหญ้า ต่อมาเป็นวัดร้าง

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาปราบปรปักษ์ ได้บูรณปฏิสังขรณ์และถวายเป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 และมีนามใหม่ว่า "วัดบรมวงศ์อิศรวราราม" ต่อมาอาคารเสนาสนะได้ชำรุดทรุดโทรมในปีพุทธศักราช 2503 พระพจนโกศลเจ้าอาวาส ได้บูรณปฏิสังขรณ์โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากตระกูลมาลากุล

ที่มา : พระอารามเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 20, 2019, 08:23:54 am
138.วัดศาลาปูนวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : -
แขวง/ตำบล : ท่าวาสุกรี
เขต/อำเภอ : พระนครศรีอยุธยา
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยกรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 14.36123, 100.54918

**เปิดตลอด

วัดนี้เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็กสมัยกรุงศรีอยุธยาแตก ผู้คนพากันอพยพหนีภัย วัดจึงร้างไปจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ได้มีผู้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่

เมื่อ พ.ศ. 2359 ในรัชกาลที่ 2 เรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดโลกยสุทธาวาส" พระอารามหลวง

เมื่อ พ.ศ. 2389 ในรัชกาลที่ 3 เรียกว่า "วัดโลกยสุทธาวาสวรวิหาร" โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งพระอารามครั้นในรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394 (เริ่มรัชกาล) ได้เรียกวัดนี้ใหม่ว่า "วัดโลกยสุธามหาวรวิหาร"(ท หายไป) ต่อมาในรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2522 เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดโลกยสุธาศาลาปูน" พร้อมกับทรงบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างกุฏิขึ้นอีก

พอเริ่มรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2453 ก็เรียกว่า "วัดโลกยสุธาศาลาปูน" จนครั้งสุดท้ายในรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2459 เรียกว่า "วัดศาลาปูน" มาจนปัจจุบันนี้

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 20, 2019, 08:24:44 am
139.วัดพนัญเชิงวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : -
แขวง/ตำบล : คลองสวนพลู
เขต/อำเภอ : พระนครศรีอยุธยา
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. ที่สร้าง : ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 14.34417, 100.57886

**เปิดตลอด

วัดนี้เป็นวัดโบราณสร้างมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา ในพระราชพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งทรงสร้างขึ้นในที่ซึ่งพระราชทานเพลิงพระนางสร้อยดอกหมากพระอัครมเหสี ได้สถาปนาขึ้นเช่นพระอารามให้นามว่า "วัดเจ้าพระนางเชิง" เมื่อจุลศักราช 406 ปีมะโรง ฉศก (พ.ศ. 1787) ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา 112 ปี

ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้ว เรียกวัดนี้ว่า "วัดพแนงเชิง" บ้าง "วัดพระเจ้าพแนงเชิง" บ้าง แต่โดยมากเรียกย่อว่า "วัดพแนงเชิง" ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4 ได้มีพระราชกฤษฎีกาไว้ว่า "วัดพนัญเชิง"

วัดนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์จากกษัตริย์ราชวงศ์จักรีต่อ ๆ มาทุกพระองค์ใน พ.ศ. 2399 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ได้เสด็จมาปิดทองพระพุทธเจ้าพนัญเชิง (หลวงพ่อพระพนัญเชิง) ที่วัดนี้และทรงถวายพระนามว่าพระพุทธไตรรัตนนายก และเสด็จมาติดพระเนตรถมปัดอีกครั้ง ในครั้งนั้นได้โปรดให้พระยาโชฎีกราชเศรษฐี ตั้งเครื่องสังเวยตามแบบธรรมเนียมจีน เพราะวัดนี้มีชาวจีนชื่นชมและศรัทธามากเป็นพิเศษ ในสมัยต่อมาเจ้าอาวาสของแต่ละยุคได้ร่วมมือกับชาวไทยและชาวจีนสร้างความเจริญให้แก่วัดตลอดมาจนปัจจุบัน

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 26, 2019, 07:34:25 am
140.วัดอุดมธานี

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บ้านใหญ่
เขต/อำเภอ : เมืองนครนายก
จังหวัด : นครนายก
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 14.20978, 101.2253

**เปิดตลอด มีโบสถ์แก้วตา เก่าอายุ 251 ปี

วัดอุดมธานีเดิมชื่อว่า "วัดแก้วตา" กล่าวกันว่าแม่แก้วตา ชาวเวียงจันทร์เป็นผู้สร้าง ได้อพยพมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ต่อมาแม่สาวหนู เชื้อสายชาวเวียงจันทร์มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ยกบ้านและที่ดินที่เป็นที่อยู่อาศัยซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับวัดแก้วตาให้สร้างวัด ให้ชื่อว่า  "วัดอุดม" จนถึงสมัยสมเด็จพระญาณนายก(ปลื้ม จนโทภาโส) เป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัด ได้สร้างความเจริญให้กับวัดอุดม

ในปี พ.ศ. 2460 พุทธศาสนิกชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดแก้วตา และวัดอุดม ได้พิจารณาถึงความเหมาะสมให้รวมวัด เป็นวัดเดียวกันชื่อว่า "วัดอุดมรัตนาวาส" ได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ในช่วงที่อยู่ระหว่างการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ได้เสด็จเมืองนครนายกและได้เสด็จไปเยี่ยมวัดอุดมรัตนาวาสได้พระราชทานชื่อวัดให้ใหม่ว่า "วัดอุดมธานี" ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเป็นกรณีพิเศษ เนื่องโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 26, 2019, 07:35:38 am
141.วัดพราหมณี หลวงพ่อปากแดง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : สาริกา   
เขต/อำเภอ : เมืองนครนายก
จังหวัด : นครนายก
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยรัชกาลที่ 5
พิกัด : 14.23528, 101.24591

**เปิดตลอด เป็นไปได้ไปวันธรรมดาคนน้อย

วัดพราหมณีมีพระประธานศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นที่เคารพนับถือกันอย่างกว้างขวางคือ "หลวงพ่อปากแดง" เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ สร้างด้วยโลหะสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 49 นิ้ว สูง 1 เมตร เป็นศิลปะล้านช้าง จีวรเป็นลายดอกพิกุล พระโอษฐ์มีสีแดง ชาวบ้านจึงเรียกว่า "หลวงพ่อปากแดง"

วัดสร้างตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งมีอายุ 100 กว่าปีแล้ว แต่เพิ่งได้รับการยกฐานะให้เป็นพระอารามหลวงเมื่อกลางปี พ.ศ.2555 นอกจากนี้วัดพราหมณียังมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้แวะพักที่วัดพราหมณี และมีทหารล้มตายโดยมีการค้นพบกระดูกของทหารญี่ปุ่นใกล้กับวัดพราหมณี จึงได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานไว้เป็นที่ระลึกถึงทหารญี่ปุ่นที่วัดนี้ รวมทั้งสร้างรูปปูนปั้นสัตว์มากมายทั้งช้าง โค กระบือ กระทิง เก้ง กวาง

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 26, 2019, 07:37:27 am
142.วัดเขียนเขต

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บึงยี่โถ
เขต/อำเภอ : ธัญบุรี
จังหวัด : ปทุมธานี
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ.2439
พิกัด : 13.99843, 100.67669

**ต้องไปบอกหลวงน้าอำนาจมาเปิดให้ เปิดเฉพาะวันสำคัญ

ประวัติความเป็นมาวัดเขียนเขตเป็นวัดโบราณสร้างเมื่อพุทธศักราช 2439 โดยหม่อมเขียน ในพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์เป็นผู้ถวายที่ดินให้สร้างวัด และมีหลวงพ่อดำเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก หม่อมเขียนพร้อมด้วยเครือญาติและประชาชนในท้องถิ่นช่วยกันก่อสร้างและบำรุงวัดเพื่อเป็นศาสนสมบัติพระพุทธศาสนา

วัดเขียนเขตเดิมชื่อว่า "วัดสาลีเขตตาราม" ตามความหมายคือ อารามอันเป็นเนื้อนาบุญแห่งข้าว เนื่องจากวัดตั้งอยู่ในทุ่งหลวงรังสิตซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวกล้า และพืชพันธุ์ธัญญาหาร จึงได้นามวัดว่าลาลีเขตตาราม เพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่

เมื่อราวปีพุทธศักราช 2460 สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์จังหวัดธัญบุรีและพักแรมที่วัดสาลีเขตตาราม พันตรีหม่อมราชวงศ์สุวพรรณสนิทวงศ์และพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ได้ทูลขอพระราชทานเปลี่ยนนามวัดสาลีเขตตารามให้เหมาะสมกับชื่อผู้สร้างวัดคือ หม่อมเขียนซึ่งเป็นมารดาและสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงรับทราบแล้วพิจารณาเห็นว่าหม่อมเขียนเป็นผู้สร้างวัดโดยบริจาคที่ดินทรัพย์ส่วนตัวให้กับวัดและยังเป็นผู้มีวิริยะอุตสาหะศรัทธาเลื่อมใสพระพุทธศาสนาพระองค์จึงทรงเปลี่ยนนามวัดสาลีเขตตารามให้มีนามของผู้สร้างคือหม่อมเขียนติดอยู่เพื่อเป็นเกียรติประวัติสิริมงคลแก่วงศ์สกุลสนิทวงศ์ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดว่า "วัดเขียนเขต"

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 26, 2019, 07:38:57 am
143.วัดจันทร์กระพ้อ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : บางเตย
เขต/อำเภอ : สามโคก
จังหวัด : ปทุมธานี
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 14.07353, 100.52297

**ทำวัตรเช้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น.

วัดจันทร์กระพ้อ สร้างโดยชาวมอญในสมัยรัชกาลที่ 2 ชื่อว่า "วัดโกว๊ะ" ซึ่งแปลว่า "จันทน์กะพ้อ" ซึ่งชาวมอญ ถือว่าเป็นไม้มงคลเหมือนต้นราชพฤกษ์ ภายในวัดมีหอวัฒนธรรมซึ่งเก็บรวบรวมศิลปวัตถุมอญ และยังมีโครงการอนุรักษ์พันธุ์ปลาหน้าวัด นอกจากนี้ยังเป็นวัดที่ประกอบพิธีสำคัญของชาวปทุมธานี เช่น พิธีออกฮ้อยปะจุ๊ แข่งธงตะขาบ งานตักบาตรพระร้อย เป็นต้น

ที่มา : ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤศจิกายน 04, 2019, 09:42:50 pm
144.วัดตูม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : วัดตูม
เขต/อำเภอ : พระนครศรีอยุธยา
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 14.38846, 100.5364

**เปิดเฉพาะวันสำคัญ

ประวัติความเป็นมาวัดตูมเป็นวัดโบราณสร้างมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา ใช้เป็นที่สำหรับลงเครื่องพิชัยสงคราม เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาในปีพุทธศักราช 2310 กลายเป็นวัดร้าง

สมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีผู้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นอีกแล้วยกเป็นวัดมีพระสงฆ์

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง และได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะและสิ่งปลูกสร้างเรื่อยมาตามลำดับ

วัดตูมเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ทางทหาร กล่าวคือเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานธงไชยเฉลิมพล แก่ทหารเจ้าพนักงานจะอัญเชิญธงพระกระบี่ธุช ไปประดิษฐานไว้ข้างพระราชพิธีธงพระกระบี่ธุช ซึ่งเป็นธงประจำตำแหน่งจอมทัพ เป็นที่รวมแห่งธงไชยเฉลิมพล

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

กระบี่ธุช ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวมต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา

ที่มา : sanook.com
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤศจิกายน 04, 2019, 09:47:03 pm
145.วัดพระนอนจักรสีห์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : จักรสีห์
เขต/อำเภอ : เมืองสิงห์บุรี   
จังหวัด : สิงห์บุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 14.85111, 100.38838

**เปิดตลอด

วัดนี้เป็นวัดโบราณไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใครสร้าง และสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่ามีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะชื่อวัดตั้งตามนามของพระนอนประจำอยู่ในวัด และตามชื่อตำบลที่ตั้งอยู่

ตามประวัติว่าพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (บรมโกษฐ์) ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2275-2301 ทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. 2299 เสร็จแล้วโปรดให้ทำการสมโภชฉลองวัดเป็นการใหญ่ใน พ.ศ. 2301 ก่อนสวรรคตเล็กน้อย

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2421 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อพระนอนจักรสีห์) โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุต่าง ๆ ของวัด และยังโปรดให้วัดสุทัศนเทพวรารามคอยดูแลอุปการะ พร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ทรงเป็นที่ปรึกษา

การปฏิสังขรณ์สำเร็จบริบูรณ์ พ.ศ. 2428 ครั้นถึง พ.ศ. 2445 รัชกาลที่ 5 โปรดให้ปฏิสังขรณ์พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง พ.ศ. 2459 รัชกาลที่ 6 เสด็จมาทรงนมัสการพระพุทธไสยาสน์ และทรงปฏิสังขรณ์วัดด้วย การดำเนินงานบูรณะปฏิสังขรณ์ได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง วัดจึงได้เจริญมั่นคงสืบมา

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย, สมบัติ จำปาเงิน


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤศจิกายน 04, 2019, 09:57:19 pm
146.วัดพิกุลทอง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : พิกุลทอง
เขต/อำเภอ : ท่าช้าง
จังหวัด : สิงห์บุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 14.78251, 100.40207

**ไปช่วงทอดกฐิน


วัดพิกุลทองสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2434 โดยมีขุนสิทธิ์ สถิตบุตร พร้อมพี่น้องญาติมิตรช่วยกันดำเนินการก่อสร้าง ให้ชื่อวัดในตอนแรกว่า "วัดใหม่พิกุลทอง" แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า "วัดใหม่" เพราะว่าเป็นวัดสร้างใหม่ในบริเวณนั้น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 เปลี่ยนเป็นชื่อวัด "พิกุลทอง" ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก พ.ศ. 2440 และครั้งหลัง พ.ศ.2515 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงในปี พ.ศ. 2536

วัดพิกุลทองได้จัดให้มีการศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้มแข็ง เปิดสอนทั้งแผนกธรรม และแผนกบาลี เป็นสำนักเรียนประจำ เป็นสนามอบรมบาลีก่อนสอนสอบของคณะสงฆ์ภาค 3 ได้จัดอบรมปฏิบัติธรรมแก่ภิกษุสามเณรนักเรียนนักศึกษา และพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ให้ความอนุเคราะห์และอุปถัมภ์โรงเรียนต่าง ๆ ด้านกิจกรรมนอกสถานที่พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกให้กับหน่วยราชการที่ขอความช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมทุกประเภท

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย, สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤศจิกายน 04, 2019, 10:02:50 pm
147.วัดไชโยวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด :
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ไชโย   
เขต/อำเภอ : ไชโย   
จังหวัด : อ่างทอง
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 14.71739, 100.43707

**ไปช่วงทอดกฐิน


วัดไชโยเป็นวัดเก่าแก่ ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าผู้ใดสร้าง ชาวบ้านได้เรียกวัดนี้ว่า "วัดไชโย" หรือ "วัดเกศไชโย" มานานแล้ว ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา สุดตอนเหนือของจังหวัด ติดต่อกับตำบลพระราม อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เขตวัดเป็นรูปเหลี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านมีเสาศิลาขนาดใหญ่ปักไว้เป็นหลักเขต เนื่องด้วยเนื้อที่ของวัดถูกน้ำเซาะพังไปมาก มาภายหลังมีผู้ศรัทธาบริจาคที่ดินเพิ่มทำให้เขตของวัดกว้างขวางออกไป

วัดไชโยเริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายเมื่อครั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรังสี) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามได้มาสร้างพระพุทธรูปใหญ่ไว้ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ

ต่อมาในรัชกาลที่ 5 โปรดให้เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด) สมุหนายกเป็นแม่กองมาปฏิสังขรณ์ ทั่วทั้งพระอารามใน พ.ศ. 2430 รวมทั้งสร้างพระพุทธรูปใหญ่แทนองค์เดิมที่พังลงคราวปฏิสังขรณ์ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นฝีพระหัตถ์ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ นายช่างใหญ่ประจำราชสำนักสมัยนั้น

การปฏิสังขรณ์เสร็จใน พ.ศ. 2437 ฉลองใหญ่ในปี พ.ศ. 2438 ความจริงทางวัดได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2430 หลังจากรัชกาลที่ 5 แล้ว วัดได้รับพระมหากรุณาด้านปฏิสังขรณ์มาทุกรัชกาล

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 01, 2020, 07:24:02 am
148.วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดพิเศษ
ชนิด : ราชวรมหาวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ขุนโขลน
เขต/อำเภอ : พระพุทธบาท
จังหวัด : สระบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยอยุธยา พ.ศ. 2167
พิกัด : 14.71837, 100.78859

"วัดพระพุทธบาท " สร้างในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรมพระมหากษัตริย์องค์ที่ 22 แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2167 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นไว้สืบเนื่องมาจากที่พระองค์ได้ทอดพระเนตรรอยพระพุทธบาท ซึ่งพบที่เขาสุวรรณบรรพต ทรงพิจารณาว่า สมบูรณ์ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฏกกว่าด้วย บุณโณวาทสูตร จึงทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสยิ่ง โปรดเกล้าฯ ให้ช่างก่อเรือนคฤหหลังน้อย ครอบรอยพระพุทธบาทไว้ชั่วคราวก่อน หลังจากได้เสด็จกลับกรุงศรีอยุธยาราชธานีจึงได้เริ่มงานสถาปนาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมณฑปครองรอยพระพุทธบาท ให้ยกสถานที่รอยพระพุทธบาทเป็นมหาเจดีย์สถานให้สร้างอารามสำหรับพระภิกษุสามเณร เพื่อดูแลรักษามหาเจดีย์ และบำเพ็ญสมณธรรม ตลอดจรพระราชทานวิสุงคามสีมานับจากพระมณฑป ออกไปด้านละ 1 โยชน์(16 กม.) ให้เป็นเขตวัดพระพุทธบาท

ที่มา : ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 01, 2020, 07:26:13 am
149.วัดเขาแก้ววรวิหาร
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ต้นตาล
เขต/อำเภอ : เสาไห้
จังหวัด : สระบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ.2171
พิกัด : 14.55758, 100.88352

**เปิดตลอด

วัดเขาแก้ววรวิหาร อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

“ตำนานเจดีย์ 5 ยอด” วัดเขาแก้วเดิมเป็นวัดโบราณวัดหนึ่งตั้งอยู่บนเขา ริมแม่น้ำป่าสัก ในเขตท้องที่ตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เป็นวัดราษฏร์สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม ประมาณปี พ.ศ. 2171 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จนมัสการพระพุทธบาท และจะเสด็จนมัสการพระพุทธฉาย ได้ทรงแวะพักไพร่พลขบวนราบ ณ พลับพลาท่าหิน ลานหน้าวัดเขาแก้ว พระองค์ได้เสด็จขึ้นทอดพระเนตรวัดเขาแก้ว ทรงเลื่อมใสในภูมิฐานของวัด ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาเล็กๆ แวดล้อมด้วยธรรมชาติที่งดงามเป็นที่สงบ เหมาะสำหรับบำเพ็ญสมณะธรรม

พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาที่จะบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์(โต กัลยาณมิตร) เป็นแม่กองควบคุมการก่อสร้างเจ้าพระยานิกรบดินทร์ได้จัดพวกนายกองโค พากันไปรับไม้เครื่องบน และสิ่งก่อสร้างจากกรุงเทพฯ มาบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ปรับปรุงขยายให้ใหญ่กว่าเดิมก่อกำแพงรอบพระอุโบสถขึ้นมาใหม่ สร้างกุฏิไว้ด้านทิศเหนือของเจดีย์ และบูรณะองค์พระเจดีย์ของเดิม เมื่อเสร็จแล้วมีพระกระแสรับสั่งให้สถาปนาวัดเขาแก้วขึ้นเป็นพระอารามหลวงราชทานนามว่า “วัดคีรีรัตนาราม” เมื่อ พ.ศ.2546 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิโนรส องค์สังฆประมุขเสด็จออกตรวจการคณะสงฆ์จังหวัดสระบุรี เสด็จทอดพระเนตรวัดเขาแก้ว ทรงเห็นป้ายที่ติดไว้ท่าหินลาดหน้าวัดว่า “วัดคีรีรัตนาราม” รับสั่งว่าเป็นคำมคธ((มะ-คด) ทรงให้เรียกเป็นคำไทยว่า “วัดเขาแก้ว” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ที่มา : ป้ายในวัด


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 01, 2020, 08:03:05 am
150.วัดสมุหประดิษฐาราม
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด :สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : สวนดอกไม้
เขต/อำเภอ : เสาไห้
จังหวัด : สระบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 14.55447, 100.85807

**เปิดตลอด

“ ... ใครถูกทํานายว่าจะมีเหตุร้ายกับตัวให้จัดกระทงเสียหัว แห่ถวายผีบ้านผีเรือน ... ”

ความเชื่อหนึ่งที่ปรากฏอยู่เป็นรูปประเพณีหรือพิธีกรรม “ประเพณีกระทงเสียหัว" ในพระอุโบสถ วัดสมุหประดิษฐารามพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ วัดนี้สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายเจ้า พระยานิกรบดินทร์มหินทรมหากัลยาณมิตร (โต, ต้นตระกูลกัลยาณมิตร) ได้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่ออุทิศให้มารดาเมื่อสร้างวัดเสร็จแล้ว จึงได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง แต่จะเป็นในรัชกาลไหนไม่แน่ชัด เพราะปรากฏว่าท่านเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต) ได้เป็นที่สมุหนายกอยู่ถึง 2 รัชกาล คาบเกี่ยวกันคือตอนปลายรัชกาลที่ 3 และต้นรัชกาลที่ 4 สันนิษฐานว่าคงจะได้ถวายในรัชกาลที่ 4 (ที่ครั้งนั้นยังไม่มีวัด) ในขณะครั้งหนึ่งกระบวนเสด็จมาติดเกยที่หน้าวัดสมุหประดิษฐาราม ที่คอยราษฎร และข้าราชการช่วยโกยร่องน้ำ เพื่อช่วยเรืออยู่นั้นเจ้าพระยานิกรบดินทร์มหินทรมหากัลยาณมิตร (โต, ต้นตระกูลกัลยาณมิตร) สมุหนายกผู้ตามเสด็จฯ ได้เดินขึ้นฝั่งเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ได้พบวัดไผ่จ้อก้อ จึงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะบูรณะ และสร้างวัดไผ่จ้อก้อขึ้นใหม่

เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงย้ายวัดไผ่จ้อก้อมาสร้าง ณ ที่ “วัดสมุหประดิษฐาราม" โดยพระราชทานนามตามตำแหน่งของเจ้าพระยานิกรบดินทร์ และสถาปนาเป็นพระอารามหลวง สําหรับพระประธานในพระอุโบสถได้รับการถวายนามจากสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกว่า “พระพุทธรัชกัลยาณมิตรประดิษฐาราม” เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553 มีความสง่างามและไม่เหมือนพระปางมารวิชัยที่ไหนตรงที่สังฆาฏิบริเวณหัวไหล่ซ้าย และด้านหลังทำเป็นรอยจีบพับ เหมือนสไบแปลกตา หาดูได้ยาก จากการสันนิษฐานว่ากันว่าเป็นพระที่อัญเชิญมาจากเมืองเก่าสุโขทัย

ที่มา : ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 01, 2020, 08:05:42 am
151.วัดพระบรมธาตุ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ชัยนาท
เขต/อำเภอ : เมือง   
จังหวัด : ชัยนาท
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยอยุธยาตอนต้น
พิกัด : 15.15947, 100.15247

**เปิดตลอด ประตูปิดไว้ กันหมาเข้า

เดิมชื่อ "วัดพระธาตุ" หรือ "วัดหัวเมือง" สร้างมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ อยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์เป็นสำคัญ

ครั้นถึงสมัยสุโขทัยในรัชกาลพระเจ้าลิไท ได้ทรงจัดการทะนุบำรุง และสมโภชพระบรมธาตุ จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลพระมหาจักรพรรดิเกิดศึกพม่า วัดได้ถูกทอดทิ้งทรุดโทรมมากจนใน พ.ศ. 2260 สมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (ครองราชย์ พ.ศ. 2251-2275) โปรดให้ปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ ได้พระราชทานวิสุงคามสีมาหลังสุดเมื่อ พ.ศ. 2410 จากนั้นก็ได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติม ทั้งใหม่และเก่าเป็นลำดับฐานะเป็นวัดเก่าแก่มากจนรัชกาลปัจจุบัน (ที่ 9) ได้พระราชทานนามวัดนี้ใหม่ว่า "วัดพระบรมธาตุวรวิหาร" ใน พ.ศ. 2499 อันเป็นที่ยินดีแก่ชาวชัยนาทและพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย, สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 01, 2020, 08:07:08 am
152.วัดธรรมามูล
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ธรรมามูล
เขต/อำเภอ : เมือง   
จังหวัด : ชัยนาท
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 15.24856, 100.08368

**เปิดตลอด

วัดธรรมามูลเป็นวัดเก่าแก่ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างวัด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา หรือกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สังเกตจากพระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานผ้าพระกฐินมาทอดที่วัดนี้ ได้ทรงอุปการะปฏิสังขรณ์บางส่วนทำให้ได้รับการจัดอันดับทำเนียบเข้าเป็นพระอารามหลวง

ต่อมาหลวงปลัดโต คหบดีชาวบ้านตำบลท่าซุง (อำเภอน้ำซึม จังหวัดอุทัยธานี) มาปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พร้อมกับพระไชยผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาทสมัยนั้น ได้ปฏิสังขรณ์พระวิหารและศาลาการเปรียญ จนกระทั่งปัจจุบันทางวัดได้บูรณะปูชนียวัตถุและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ได้งามสง่าเป็นหน้าตาชื่อเสียงของวัดสืบไป

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย, สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มกราคม 01, 2020, 08:08:54 am
153.วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : รั้วใหญ่
เขต/อำเภอ : เมือง   
จังหวัด : สุพรรณบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : -

**วัตรเช้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น.
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 01, 2020, 08:10:34 am
154.วัดกวิศราราม
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : ราชวรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ท่าหิน
เขต/อำเภอ : เมือง   
จังหวัด : ลพบุรี   
พ.ศ. ที่สร้าง :สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

**ไปตอนปีใหม่

วัดกวิศราราม วัดนี้เดิมชื่อ "วัดขวิด" สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) เมื่อ พ.ศ. 2208 อยู่ท้ายพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ หลังจากสมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคต วัดนี้ได้ถูกทิ้งให้ว่างลงเป็นเวลานานจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 4 โปรดให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม พร้อมพระราชทานนามว่า "วัดกวิศราราม" เมื่อ พ.ศ. 2405 ต่อมารัชกาลที่ 5 ทรงปฏิสังขรณ์

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เคยเสด็จมาประทับแรมที่วัดนี้ พอพระทัยมาก ได้มีกรรมการวัดบางคนคิดจะให้เป็นวัดธรรมยุต แต่ปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยและคัดค้านสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ตัดสินพระทัยโปรดให้เป็นวัดมหานิกายตามมติส่วนใหญ่ไปตามเดิม

ที่มา : พระอารามหลวงของประเทศไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 01, 2020, 08:11:55 am
155.วัดสิริจันทรนิมิตร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : เขาพระงาม
เขต/อำเภอ : เมือง   
จังหวัด : ลพบุรี   
พ.ศ. ที่สร้าง :ไม่ปรากฏหลักฐาน

**ไปตอนปีใหม่

วัดนี้เดิมชื่อ "วัดเขาบ่องาม"หรือ "วัดเขาบัวงาม" เป็นวัดเก่าแก่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าใครสร้าง แต่มีซากพระอุโบสถเก่า เศียรพระพุทธรูปศิลา และซากสถูปขนาดใหญ่ แสดงว่าเคยเป็นวัดที่รุ่งเรืองมาก่อน แต่ภายหลังเกิดเหตุการณ์บ้านเมืองผันแปรไปทำให้กลายสภาพเป็นวัดร้าง

ต่อมาพระอุบาลีคุณูปมาจารย์(สิริจนฺโท จันทร์) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสกรุงเทพฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างพระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล (หลวงพ่อใหญ่) ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2455 พร้อมปฏิสังขรณ์วัดแล้วตั้งชื่อว่า "วัดเขาพระงาม" มีพระสงฆ์ประจำตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาปี

พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินในงานผูกพัทธสีมา และได้พระราชทานนามวัดว่า "สิริจันทรนิมิตร" ตามนามของท่านผู้ปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญ และได้พระราชทานวิสุงคามสีมาในปีเดียวกัน

วัดสิริจันทรนิมิตรเจริญรุ่งเรืองเป็นลำดับ ทางราชการได้เห็นความสำคัญได้ดำเนินการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงได้สำเร็จใน พ.ศ. 2499

พ.ศ. 2503 สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ กับพระนางสุวัทนาในรัชกาลที่ 6 (พระราชมารดา) ได้ทรงสร้างพระพุทธเพชรรัตนสุวัทนามหามุนีชินสีห์วิสุทธิโสภาค ได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2503

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 01, 2020, 08:13:50 am
156.วัดเสาธงทอง
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ท่าหิน
เขต/อำเภอ : เมือง   
จังหวัด : ลพบุรี   
พ.ศ. ที่สร้าง : สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

**ทำวัตรเฉพาะวันพระ 16.00 น.

วัดเสาธงทองเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ (ตรีอันดับ 3) ตั้งอยู่ใน ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เดิมเป็นวัดโบราณไม่ทราบแน่ว่าใครสร้าง และสร้างแต่ครั้งไหน ได้แต่สันนิษฐานว่าคงสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะในบริเวณวัดมีตึกปิจู และตึกโครสาน ซึ่งสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

การปฏิสังขรณ์มาปรากฏหลักฐานในสมัยรัชกาลที่ 4 ดังจะเห็นได้จากที่หน้าบันมุขเล็กของพระวิหาร มีพระมหามงกุฎปูนปั้นเป็นเครื่องหมายของรัชกาลที่ 4 เป็นพยานอยู่

วัดนี้เดิมแยกเป็นสองวัด คือ วัดเสาธงทอง และวัดรวก วัดเสาธงทองมีแต่ พระวิหาร ไม่มีพระอุโบสถ ส่วนวัดรวกอยู่ด้านใต้เวลาทำสังฆกรรมต้องไปทําที่วัดรวกเพราะเนื้อที่ติดต่อเป็นผืนเดียวกันไม่มีอะไรกั้น

ปี พ.ศ. 2457 พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ได้เสนอให้รวมวัดทั้งสองเข้าด้วยกัน สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอนุมัติ และเรียกว่าวัดเสาธงทอง การบูรณปฏิสังขรณ์ได้กระทำเรื่อย ๆ มาจวบจนปัจจุบัน

ที่มา :  พระอารามหลวงของไทย, สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 01, 2020, 08:15:44 am
157.วัดมณีชลขันฑ์
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : พรหมมาสตร์
เขต/อำเภอ : เมือง   
จังหวัด : ลพบุรี   
พ.ศ. ที่สร้าง : สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ผู้ที่สร้างวัดนี้คือ พระยาอภัยรณฤทธิ์

**ทำวัตรเช้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น.

วัดนี้เดิมชื่อวัดเกาะแก้ว มีมาแต่โบราณไม่ทราบว่าใครสร้าง เพีย แต่สันนิษฐานว่า คงสร้างคราวเดียวกับการขุดคลองพรหมาสตร์ แล้วเอาดินถมตรงกลางเพื่อสร้างวัดให้ดูสง่างามเมื่อ พ.ศ. 2409

วัดนี้ปกครองแบบมหานิกายอย่างเข้มแข็งต่อมาทรุดโทรมลงพระยายมราช (เฉย ต้นสกุล ยมาภัย) ได้ปฏิสังขรณ์ทั้งพระอาราม และเปลี่ยนเป็นวัดธรรมยุตในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง และพระราชทานนามว่า "วัดมณีชลขันธ์" พร้อมได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใน พ.ศ. 2436

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มกราคม 01, 2020, 08:17:57 am
158.วัดโบสถ์
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล :อินทร์บุรี
เขต/อำเภอ : อินทร์บุรี
จังหวัด : สิงห์บุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 14.99408, 100.33386

**มาตอนปีใหม่


วัดโบสถ์เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมากลายเป็นวัดร้าง จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2416 จึงมีพระสงฆ์จากวัดประยุรวงศาวาส กรุงเทพมหานคร 3 รูป คือ พระอาจารย์คง พระอาจารย์แผน และพระอาจารย์ต่าย ได้จำพรรษาด้วยการถากถางปลูกเพิงพักชั่วคราว ต่อมามีชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างกุฏิ และศาลาถาวร ให้พำนักอาศัย พระอาจารย์คงปกครองวัดได้ 4 ปีก็ลาสิกขา ได้มีผู้ปกครองวัดต่อมา ขุนจ่าเมือง (นิล) เป็นผู้อุปการะวัดให้เจริญรุ่งเรืองระยะหนึ่ง

ต่อจากขุนจ่าเมืองก็มี พระศักดิ์บุรินทร์ เจ้าเมืองอินทร์ (อินทร์-บุรี) เป็นผู้ดูแลอุปการะ และเป็นหัวหน้าในการสร้างพระอุโบสถใหม่ด้วย เดิมวัดนี้เป็นวัดมหานิกาย ภายหลังเปลี่ยนเป็นวัดธรรมยุต ได้รับอุปการะจากวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวิชรญาณวโรรส (ครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่น) โปรดให้พระเถระชั้นผู้ใหญ่มาประจำวัดโบสถ์ใน พ.ศ. 2438 และโปรดให้พระวัดโบสถ์มาศึกษาเพิ่มเติมที่วัดบวรฯ รุ่นแรก 5 รูปเพื่อกลับไปช่วยกันสร้างความเจริญให้วัดเป็นลำดับไป

วัดโบสถ์เริ่มเจริญรุ่งเรืองและมีชื่อเสียงด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม และการสร้างเสนาสนะเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นที่พอพระทัยของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เป็นอย่างยิ่ง

วัดโบสถ์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2491 และโปรดให้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงใน พ.ศ. 2525

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย, สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 08, 2020, 06:03:17 pm
159.วัดกลาง (จังหวัดสมุทรปราการ)
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด : วรวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล :ปากน้ำ
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : สมุทรปราการ
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยกรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 13.59411, 100.59962

**ไปตอนวันมาฆบูชา

ประวัติความเป็นมาวัดกลางเดิมชื่อว่า "วัดตะโกทอง" เพราะมีการขุดพบแหวนทองคำใต้ต้นตะโก ต่อมาเรียกว่า "วัดกลาง" เพราะตั้งอยู่ท่ามกลางระหว่างวัดนอกคือวัดพิชัยสงคราม กับวัดในคือวัดใน เดิมสองวิหารเป็นวัดที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

วัดกลางตั้งเป็นวัดเมื่อประมาณพุทธศักราช 2299 ส่วนผู้สร้างนั้นเล่ากันว่ามีหญิงหม้าย 3 คน แต่ไม่ปรากฏนามและผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างวัดถวายแก่พระอาจารย์ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศีลจารวัตร ซึ่งลอยเรือมาจอดอยู่ที่นั้นหญิงหม้าย 3 คน จึงปรึกษาและลงความเห็นว่าสวนจากข้างคลองบางฆ้องทั้งสองฝั่งเป็นที่เหมาะสม เพราะตำบลย่านกลางไม่มีวัดชาวบ้านย่านกลางจะไปประกอบการกุศลก็ลำบาก ฉะนั้นที่สวนจากบริเวณแห่งนี้ควรจะเป็นที่สร้างวัดได้

การสร้างวัดอาศัยเงินทุนจากประชาชนร่วมกันบริจาคมีการทำบุญทำพิธีมอบตามพุทธศาสนาโดยมีพระอาจารย์เป็นประธานสงฆ์ในฐานะเป็นพระอธิการรักษาดูแลวัดต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งพระอาราม

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มีนาคม 17, 2020, 07:39:14 pm
160.วัดจองคำ(จังหวัดแม่ฮ่องสอน)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล :จองคำ
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : แม่ฮ่องสอน
พ.ศ. ที่สร้าง : 2370
พิกัด : 19.29799, 97.968

**ต้องบอกหลวงปู่มาเปิดให้ จำชื่อไม่ได้แล้ว

วัดจองคำได้ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2370 เป็นวัดแห่งแรกของจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยพระยาสิงหนาทราชาเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นชาวไทยใหญ่ และเจ้าแม่นางเมี๊ยและได้สร้างเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2527 เหตุที่เรียกชื่อวัดจองคำนั้น เพราะว่าที่เสาวัดเดิมประดับด้วยทองคำเปลวซึ่งแต่เดิมเป็นแผ่นเงิน

ระหว่าง พ.ศ. 2475-2479 ช่างสล่าโพโต่ง เตชะโกเมนต์ ได้สร้างวิหารแบบตรีมุขตามแบบศิลปไทยใหญ่ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นพระพุทธรูปพม่าที่มีขนาดใหญ่เทียบเท่ากับพระศรีศากยมุนีในวิหารหลวงวัดสุทัศน์เทพวราราม วัดที่ตั้งอยู่คู่กับวัดจองคำ คือวัดจองกลาง มีตุ๊กตาไม้แกะสลักแบบพม่าเป็นจำนวนมาก

พ.ศ 2517 ทางการได้ให้รวมวัดจองกลาง ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกันทางทิศเหนือให้เป็นอาคารเดียวกัน และในปี พ.ศ.2527 ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง

ที่มา : ป้ายในวัด, พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2020, 08:51:51 pm
161.วัดอโศการาม ***ไม่ใช่วัดหลวง
ลำดับชั้น : -   
ชนิด : -
นิกาย : -
แขวง/ตำบล :ท้ายบ้าน
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : สมุทรปราการ
พ.ศ. ที่สร้าง : 2498
**เปิดเฉพาะวันพระใหญ่ 08.00 น.

http://www.watasokaram.org/index.php/about-us/about-us-01
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on เมษายน 06, 2020, 06:07:53 pm
162.วัดสัมพันธวงศาราม
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล :สัมพันธวงศ์
เขต/อำเภอ : สัมพันธวงศ์
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : -
**เปิดตลอด(ปิดซ่อมเริ่ม เม.ย.61 แล้วเสร็จ 63)

วัดสัมพันธวงศาราม มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานผู้สร้าง ที่ตั้งของวัดเดิมมีคลองล้อมรอบวัด จึงเป็นที่มาของวัดชื่อว่า "วัดเกาะ"
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้สถาปนากรุงเทพฯ ขึ้นเป็นราชธานีแล้ว จึงโปรดฯ ให้สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี(สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ) บูรณปฏิสังขรณ์วัดเกาะขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม แล้วสถาปนาวัดนี้ขึ้นเป็นพระอารามหลวงและพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดเกาะแก้วลังการาม" โดยต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้เปลี่ยนนามวัดเป็น "วัดสัมพันธวงศาราม" เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ผู้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดในตอนแรก

Wat Samphanthawong Saram
Wat Samphanthawong Saram is located in the Bangkok Chinatown. It was anonymously built during Autthaya period. When King Rama I was enthroned and ordered the renovation of the temple which was named''Wat Kho Kaeo Lankarm.''
Since its area is small, the three-storey Ubosot(Ordination Hall) was built to use the 1st floor to be the school for monks and laymen as well as the temple museum, the 2nd floor to be the hall, and the 3rd floor to be the Vihara and Ubosot for performance. There are two Buddha images of Luang Pho Hin(enshrined below) and Luang PHo Malai(enshined above) which are enshrined here, however, there is no date of construction.
ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 03, 2020, 02:47:32 pm
163.วัดใหญ่อินทาราม
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล :บางปลาสร้อย
เขต/อำเภอ : เมืองชลบุรี
จังหวัด : ชลบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 13.36376, 100.98821

**ทำวัตรเช้า 07.30 น. วัตรเย็น 16.30 น.

วัดใหญ่อินทาราม สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดหลวง" หรือ "วัดอินทาราม" โดยสมเด็จพระนครินทราธิราช(พระนครอินทร์) พระราชนัดดา แห่งพระบรมราชาธิราชที่ 1(ขุนหลวงพงั่ว) พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ตามพงศาวดารปรากฏว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ ได้เสด็จมาพักไพร่พลเมื่อคราวเสด็จมาปราบปรามนายทองอยู่ นกเล็ก บริเวณหมู่บ้านใกล้เคียงกับวัดนี้ชาวบ้านเรียกว่า "วัดบ้านค่าย"

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2429 เป็นต้นมาวัดทรุดโทรม จึงได้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะสงฆ์ อาทิ กุฏิ ศาลาการเปรียญ พระวิหาร เป็นต้น ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2518

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 03, 2020, 02:49:20 pm
164.วัดเขาบางทราย
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล :บางทราย
เขต/อำเภอ : เมืองชลบุรี
จังหวัด : ชลบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : สร้างก่อนสมัยอยุธยา
พิกัด : 13.39279, 100.98855

**ทำวัตรเช้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น.

วัดเขาบางทราย สร้างก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากพบรอยพระพุทธบาทศิลปะก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา อยู่เชิงเขาพระพุทธบาทบางทราย หรือเขาพระพุทธบาทสามยอด ชาวบ้านเรียกว่า "วัดเขาพระพุทธบาทบางทราย" เพราะมีพระพุทธบาทอยู่บนเขา

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระภิกษุมาสร้างวัดใหม่ที่เชิงเขาบางทราย ภายหลังเป็นวัดร้างจนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 3 สมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์(ดิศ บุญนาค) ได้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ จากนั้นก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์ โดยเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ มหาโกษาธิบดี(ขำ บุญนาค)

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาวิชิตชลเขตร(ทด สมุทรานนท์) จางวางกำกับเมืองชลบุรี ได้สร้างอาคารเสนาสนะต่างๆ และปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุจนมั่นคง ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.2531

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 03, 2020, 02:54:47 pm
165.วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล :หน้าเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองฉะเชิงเทรา
จังหวัด : ฉะเชิงเทรา
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 13.68844, 101.07432
**เปิดตลอด แนะนำใครที่ชอบเงียบๆ

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ เดิมเรียกกันว่า "วัดหลักเมือง" หรือ "วัดหน้าเมือง" เพราะเป็นวัดสำคัญกลางเมือง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ(พระองค์เจ้าไกรสร) พระราชโอรสองค์ที่ 33 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต้นราชสกุลพึ่งบุญ เป็นแม่กองไปก่อสร้างกำแพงเมือง และป้อมปราการ โดยมีพระอนุชาร่วมพระโสทร พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอภัยทัต หรือ พระองค์เสือ เป็นผู้ช่วยผู้ควบคุมงาน

ในขณะที่ทรงงานก่อสร้างป้อมปราการอยู่นั้น พระองค์ได้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาพร้อมกัน ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้รับพระราชทานนามวัดในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามพระฐานันดรของเสด็จในกรมฯ ซึ่งเป็นอาของพระเจ้าแผ่นดินว่า "วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์" แปลว่าวัดที่อาของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มิถุนายน 28, 2020, 10:09:10 am
166.วัดปรมัยยิกาวาส
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : -
แขวง/ตำบล : เกาะเกร็ด
เขต/อำเภอ : ปากเกร็ด
จังหวัด : นนทบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง :  พ.ศ.2310-2325
พิกัด : 13.91264, 100.48995

**เปิดตลอด

วัดปรมัยยิกาวาส สร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ระหว่าง พ.ศ.2310-2325 โดยชาวรามัญที่อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เกาะเกร็ด เรียกกันว่า"วัดปากอ่าว" ปี พ.ศ. 2417 พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตน์ราชประยูร ได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพร้อมด้วยพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตน์ราชประยูร ถวายเครื่องสมณบริขารแด่พระสงฆ์และพระราชทานนามว่า "วัดปรมัยยิกาวาส" เพื่อเฉลิมพระเกียตริสมเด็จพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตน์ราชประยูร

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กรกฎาคม 12, 2020, 06:42:56 am
167.วัดญาณสังวราราม
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด : วรมหาวิหาร
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ห้วยใหญ่
เขต/อำเภอ : บางละมุง
จังหวัด : ชลบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง :  พ.ศ. 2519
พิกัด : 12.78975, 100.95995
**เปิดตลอด

วัดญาณสังวราราม สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2519 โดยนายแพทย์ขจร และคุณหญิงนิธิวดี อันตระการ พร้อมด้วยบุตรธิดา ทูลถวายที่ดินแด่สมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อสร้างวัดในพระพุทธศาสนา และได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 และตั้งชื่อวัดตามราชทินนามสมณศักดิ์ของสมเด็จพระญาณสังวร ชื่อว่า "วัดญาณสังวราราม"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานที่ดินรอบวัดเป็นจำนวน 3,700 ไร่ 2 งาน 47 ตารางวา วัดญาณสังวราราม สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ อยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก และได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระกรุณานานัปการจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทุกพระองค์ และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงอุปถัมภ์ในการก่อสร้างตลอดมาและทรงรับเป็นวัดในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นวัดในพระองค์ ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2531

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กรกฎาคม 12, 2020, 06:45:05 am
168.วัดโสธรวราราม
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : หน้าเมือง
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : ฉะเชิงเทรา
พ.ศ.ที่สร้าง : 2300
พิกัด : 13.67369, 101.0672

**เปิดตลอด

วัดโสธรวราราม สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2300 สมัยพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ "วัดหงษ์" เพราะมีเสาหงส์อยู่ในวัด เสาหงส์คือ เสาที่มียอดเป็นตัวหงส์ ต่อมาเกิดพายุพัดหงส์บนยอดตกลงมาเหลือแต่เสา ชาวบ้านจึงเอาธงขึ้นไปแขวนแทน จึงเรียกว่า "วัดเสาธง" ต่อมาพายุพัดเสาธงหัก จึงเรียกว่า "วัดเสาธงทอน"

เมื่อพระพุทธโสธรประดิษฐานที่นี้ จึงเรียกว่า "วัดศรีโสทร" ตามชื่อองค์พระ ในปี พ.ศ.2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสได้เปลี่ยนตัวสะกดคำว่าโสทร เป็น โสธร ซึ่งหมายถึงบริสุทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากว่าพระพุทธโสธรเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์และมีรูปทรงสวยงามได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2501

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

พระพุทธโสธรมีประวัติอันศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่องลือด้วยว่า พระพุทธโสธรลอยตามแม่น้ำบางปะกง และผุดขึ้นที่บริเวณหน้าเมืองฉะเชิงเทรา ชาวบ้านได้ประกอบพิธีอัญเชิญขึ้นฝั่งแล้วนำมาประดิษฐานไว้ที่อุโบสถวัดโสธร เรียกกันว่า "หลวงพ่อโสธร" พระพุทธรูปโสธรหล่อด้วยสำริด ปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ แต่สันนิษฐานว่าประมาณ พ.ศ. 2313 อันเป็นสมัยต้นกรุงธนบุรี พระสงฆ์ในวัดเกรงว่าจะมีผู้มาขโมยไปจึงให้ชาวล้านนาเอาปูนมาพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้ภายใน จนมีพุทธลักษณะดังที่ปรากฏในปัจจุบัน คือ เป็นพระพุทธปฏิมากร ปางสมาธิ ลงรักปิดทองพระวรกายแบบเทวรูป พระพักตร์แบบศิลปะล้านนา พระเกตุมาลาแบบปลี ข้อพระกรขวามีกำไลรัดตรึงทรงจีวรแนบเนื้อ มีความกว้างของพระเพลา 3 ศอก 5 นิ้ว สูง 1.93 เมตร ประทับอยู่เหนือรัตนบัลลังก์ 4 ชั้น ซึ่งปูลาดด้วยผ้าทิพย์ อันมีความหมายถึงการอยู่สูงสุดเป็นพุทธเหนืออริยบุคคล 4 คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ประดิษฐานบนแท่นฐานชุกชีรายล้อมด้วยพระพุทธรูปปางอื่นๆ 12 องค์

ด้วยอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ประชาชนทุกสารทิศจึงได้หลั่งไหลเดินทางมานมัสการอันอย่างเนืองแน่น โดยเฉพาะช่วงวันหยุดและช่วงเทศกาลแห่หลวงพ่อโสธรซึ่งจัดขึ้นทุกปี ปีละ 3 ครั้ง ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ช่วงกลางเดือนห้า และช่วงกลางเดือนสิบสอง ตรงกับวันลอยกระทง ซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปีของวัด

ที่มา : ป้ายในวัด

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กรกฎาคม 12, 2020, 06:47:31 am
169.วัดบางพระ
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บางพระ
เขต/อำเภอ : ศรีราชา
จังหวัด : ชลบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง : สมัยกรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 13.21152, 100.9362
**ไปวันอาสาฬหบูชา

วัดบางพระ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมารัชกาลที่ 4 เสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกของอ่าวสยามทางชลมารค ได้เสด็จวัดบางพระเพื่อสักการะ มีผู้กราบบังคมทูลว่าพระอุโบสถหลังนี้ ชำรุดทรุดโทรม พระองค์จึงโปรดให้พระยาทิพากรวงศ์มหาโกศาธิบดี(ขำ บุญนาค) เป็นแม่กองบูรณะพระอุโบสถ พร้อมกับสร้างพระเจดีย์ขึ้นหลังพระอุโบสถ ครั้งสร้างเสร็จแล้วได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง จนปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการบูรณะอีกครั้ง

ในสมัยพระครูฉิ่ง โอวาท และพระครูวรกันทราจารย์(บู๊ เจริญศรี) ได้สร้างกำแพงแก้วล้อมรอบพระอุโบสถ และเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาใหม่ ต่อมาธนาคารไทยพานิชย์ นำโดยนายอาภรณ์ กฤษณามระ ได้อุปถัมภ์สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น เนื่องจากวัดบางพระ อยู่ในที่ชุมชนของอำเภอบางพระ และกองทหารเรือบางพระ จึงได้ตั้งชื่อตามชื่อของอำเภอบางพระ โดยได้รับความอุปถัมภ์จากชาวบางพระ และบริเวณใกล้เคียง

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กรกฎาคม 12, 2020, 06:49:15 am
170.วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ท่าเทววงษ์
เขต/อำเภอ : เกาะสีชัง
จังหวัด : ชลบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด :  13.16733, 100.80728

**ไปขอเจ้าอาวาสเปิดให้

วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม เดิมชื่อว่า "วัดเกาะสีชัง" ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้เสด็จประพาสเกาะสีชังทรงมีพระราชดำริว่า วัดชำรุดทรุดโทรม จึงได้โปรดให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์(ขำ บุญนาค) ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์

ต่อมารัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริว่า สถานที่ตั้งวัดอยู่ใกล้กับเขตที่ประทับ ประกอบกับเกาะสีชัง เป็นสถานที่พักผ่อนของประชาชน ไม่เหมาะสมกับเป็นสถานที่ตั้งวัด จึงโปรดให้กำหนดเขตวัดและสร้างวัดขึ้นใหม่ที่ไหล่เขาด้านทิศใต้ เป็นการแลกเปลี่ยนกับ วัดเกาะสีชังเดิม และขยายเขตพระราชฐานให้กว้างขึ้น พระราชทานนามว่า "วัดอัษฎางค์นิมิตร" เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ และโปรดให้ประกาศพระบรมราชูทิศ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม" ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพ.ศ.2435

ที่มา :  พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กรกฎาคม 12, 2020, 06:50:48 am
171.วัดบูรพาพิทยาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เขาวัว   
เขต/อำเภอ : ท่าใหม่
จังหวัด : จันทบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง : 2359
พิกัด : 12.64229, 102.03764

**ไปวันอาสาฬหบูชา


วัดบูรพาพิทยาราม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2359 เดิมเรียกว่า "วัดใหม่หนองปรือ" เพราะสภาพท้องที่เป็นที่ลุ่ม มีหนองน้ำขนาดใหญ่ปกคลุมด้วยต้นปรือ โดยชาวบ้านและพระภิกษุช่วยกันก่อสร้าง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2370 ได้มีการก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ และปรับปรุงพัฒนาวัด และบริเวณวัดอย่างต่อเนื่องจนเจริงรุ่งเรืองตามลำดับ

ในสมัยพระพิศาลธรรมคุณ เป็นเจ้าอาวาส ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอท่าใหม่ ได้ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถขึ้นใหม่ แทนหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อ พ.ศ. 2522

โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี ปางมารวิชัย ประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ และพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปศักด์สิทธิ์ ที่เคารพนับถือเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีพระมณฑปกลางน้ำ ประดิษฐานรูปหล่อพระพิศาลธรรมคุณอดีตเจ้าอาวาสอีกด้วย

ที่มา :  พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กรกฎาคม 12, 2020, 06:51:55 am
172.วัดไผ่ล้อม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : จันทนิมิต   
เขต/อำเภอ : เมืองจันทบุรี   
จังหวัด : จันทบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง : 2320
พิกัด : 12.60573, 102.1192

**เปิดตลอด

วัดไผ่ล้อมสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2320 เดิมพื้นที่อุดมไปด้วยป่าไผ่จำนวนมาก จึงมีนามว่า "วัดไผ่ล้อม" ที่ตั้งวัดเป็นที่ลุ่ม จากหลักฐานทางภาพจิตกรรมฝาผนัง สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา วัดไผ่ล้อมเป็นศูนย์กลางการศึกษาของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรีในสมัยนั้น ราษฏรในสมัยก่อนได้ส่งบุตรหลานมาเล่าเรียนที่วัดนี้ และยังเป็นศูนย์รวมการศึกษาระเบียบพระธรรมวินัยของเจ้าอาวาสในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี และอำเภอใกล้เคียง ได้ยกระดับเป็นพระอารามหลวง เมื่อ พ.ศ. 2539

ภายในวัดมีพระพุทธไสยาสน์ ศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ภายใน พระวิหารพระพุทธไสยาสน์

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กรกฎาคม 12, 2020, 06:53:33 am
173.วัดชัยมงคล

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : หนองปรือ   
เขต/อำเภอ : บางละมุง
จังหวัด : ชลบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง : 2480
พิกัด : 12.92591, 100.87652

**ขอให้หลวงพี่เปิดให้

วัดชัยมงคล สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2480 แต่เพิ่งได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อกลางปี พ.ศ. 2555 วัดชัยมงคลเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อ "พุทธชัยมงคล" ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านเป็นอย่างมาก หลวงพ่อพุทธชัยมงคลเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้มาทางน้ำแล้วนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดนี้จนถึงปัจจุบัน

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน


#royalthaimonastery
#hikingthai
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กรกฎาคม 12, 2020, 06:55:18 am
174.วัดโยธานิมิต

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : วังกระแจะ   
เขต/อำเภอ : เมืองตราด
จังหวัด : ตราด
พ.ศ.ที่สร้าง : รัชกาลที่ 3
พิกัด : 12.24416, 102.5074

**ไปขอหลวงพี่เปิดให้



วัดโยธานิมิตเป็นวัดที่ทหารไทยทั้งกองทัพบก และกองทัพเรือได้พร้อมใจกันสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ในระหว่างพักรบกับญวน ซึ่งนักองค์ด้วง กษัตริย์เขมร ได้ขอให้กองทัพไทยไปช่วย โดยสู้รบกันนานถึง 15 ปี

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.2, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กรกฎาคม 12, 2020, 06:56:56 am
175.วัดคิรีวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ชำราก   
เขต/อำเภอ : เมืองตราด
จังหวัด : ตราด
พ.ศ.ที่สร้าง : 2430
พิกัด : 12.21263, 102.65604

**ไปขอหลวงพี่เปิดให้



วัดคีรีวิหารเป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 110 ปี แต่ได้รับการบูรณะจนดูใหม่ทั้งวัด และเพิ่งจะได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เมื่อกลางปี พ.ศ. 2555 นี้เอง

ศาสนสถานที่สำคัญภายในวัดประกอบด้วย อุโบสถ พระเจดีย์ เรือนรับรองสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี กุฏิธรรมสารอุทิศ และกุฏินิรมิตสามัคคี ศาลาการเปรียญ วิหารจีน ที่ประดิษฐานพระพุทธอุดมสมบูรณ์ พระอวโลกิเตศวร และพระสังกัจจายน์


Wat Khiri Wiharn
The temple features fine architecture with a blend of modern art. Principal buildings inside the temple's precincts include a large Phra Ubosot or ordination hall, Phra Chedi, reception pavilion for HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn, monk's residence, preaching hall, and Chinese pavilion enshrining Phra Phuttha Udon Sombun, Bodhisattva Avalokitesvara, and Phra Sangkatchi.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.2, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
#hikingthai.com

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กรกฎาคม 12, 2020, 06:59:45 am
176.วัดป่าประดู่

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ท่าประดู่
เขต/อำเภอ : เมืองระยอง
จังหวัด : ระยอง   
พ.ศ.ที่สร้าง : สร้างในสมัยอยุธยา
พิกัด : 12.68256, 101.27968

**ไปวันอาสาฬหบูชา

วัดป่าประดู่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมากลายเป็นวัดร้าง ในปี พ.ศ. 2372 พระอุปัชฌาย์เทียน ได้มาบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยเห็นว่าเป็นสถานที่เงียบเหมาะที่จะบำเพ็ญสมณธรรม ต่อมาได้พบซากพระอุโบสถปรักหักพัง และมีพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ประดิษฐานอยู่ภายใน และมีพระวิหาร พระพุทธรูปปางมารวิชัย 4 ทิศ มีพระพุทธรูปชำรุด ห่างจากอุโบสถไปทางทิศตะวันออก จึงสันนิษฐานว่าสถานที่แห่งนี้น่าจะเป็นที่ตั้งของวัดมาก่อน ชาวบ้านมีความเลื่อมใสศรัทธาในการปฏิบัติของพระอุปัชฌาย์เทียน จึงได้สร้างกุฏิและบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์และเรียกชื่อว่า "วัดป่าเลไลก์" ตามพระพุทธรูปที่พบ ต่อมาทางวัดได้เปลี่ยนชื่อวัดให้เป็นไปตามเกณฑ์สำหรับตรวจจดทะเบียนชื่อวัด เพื่อให้สอดคล้องกับหมู่บ้านหรือตำบลว่า "วัดป่าประดู่"
ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


กำลังตั้งกล้องถ่ายอยู่ ก็มีหญิงชราเดินเข้ามาหา พร้อมกับยื่นเงินให้ 100 บาท เราก็สงสัยว่าทำไม เราไม่ต้องการ เอาไปเหอะอยากให้ ยายถูกหวย งงไปนิดนึง แต่ก็รับเงินไว้ ขอบคุณยาย แต่เราก็เอาไปหยอดตู้ที่วัดเหมือนเดิม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กรกฎาคม 12, 2020, 07:00:55 am
177.วัดลุ่ม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ท่าประดู่
เขต/อำเภอ : เมืองระยอง
จังหวัด : ระยอง   
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 12.67943, 101.28271

**ไปวันอาสาฬหบูชา


วัดลุ่ม สร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงธนบุรี เดิมชื่อ "วัดมหาไชยชุมพล" ตามประวัติเล่าว่าพระเจ้ากรุงธนบุรี พาทหารและพลเรือน มาผูกช้างผูกม้าพักแรมที่บริเวณโคนต้นสะตือ บริเวณวัดลุ่มและวัดเนินติดต่อกัน ที่เรียกว่า วัดลุ่ม เพราะเดิมเป็นสถานที่ลุ่ม ฤดูฝนน้ำจะท่วมบริเวณทุกปี

ต่อมาสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ มาตรวจการคณะสงฆ์ เมื่อ พ.ศ.2463 ได้รวมวัดลุ่มกับวัดเนินเป็นวัดเดียวกัน เรียกว่า "วัดลุ่ม" ตั้งแต่นั้นมา
ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on ตุลาคม 26, 2020, 05:24:15 pm
178.วัดจองคำ(จังหวัดลำปาง)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บ้านหวด
เขต/อำเภอ : งาว
จังหวัด : ลำปาง
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ. 2446 (ปัจจุบันสร้างใหม่ทดแทนหลังเดิม)
พิกัด : 18.66786, 99.92523

**เปิดตลอด

วัดจองคำ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2446 โดยกลุ่มคณบดีชาวไทยใหญ่ที่ทำงานในบริษัทบอมเบย์ พลาซ่า เป็นบริษัทของชาวอังกฤษที่เข้ามารับสัมปทานทำป่าไม้เขตในอำเภองาว เมื่อคนเหล่านั้นห่างไกลจากถิ่นฐานเดิมมานาน จึงได้ร่วมมือกันสร้างวัดจองคำขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ทำบุญและยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ ครั้งแรกสถานที่ตั้งวัดนั้นอยู่บนเนินเขาเตี้ย (ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ตั้งวัดปัจจุบัน) เมื่อสร้างวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ตั้งชื่อว่า "วัดจองคำ" และได้อาราธนา ครูบานันโท มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

คำว่า "จองคำ" เป็นภาษาไทยใหญ่ มาจากคำสองคำคือ "จอง" แปลว่า วัด(วิหาร อาราม) และ "คำ" แปลว่า ทอง(สุวรรณ) เมื่อรวมกันเข้าแปลว่า "วัดทองคำ" (หรือวัดสุวรรณวิหาร) ซึ่งมีความหมายว่าวัดที่สง่างามรุ่งเรืองดุจทองคำ และผู้สร้างเป็นผู้มั่งคั่งร่ำรวย มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนาดุจทองคำแม้ผ่านกาลเวลาไป สีก็ไม่เศร้าหมอง ยังฉายรัศมีแวววาวดังเดิม

เนื่องจากบริเวณที่ตั้งเดิม เกิดการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ดังนั้นในปี พ.ศ.2448 คณะกรรมการและผู้มีศรัทธาจึงได้ประชุมตกลงย้ายวัดลงมาสร้างใหม่ ณ บริเวณสถานที่ตั้งสถานีอนามัยบ้านหวดในปัจจุบัน

ปี พ.ศ. 2472 พ่อเลี้ยงญาณะ พร้อมประชาชนผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันสร้างพระวิหารหลังใหญ่ ศิลปะแบบไทยใหญ่ มีมุขและปราสาท 5 หลัง ได้นิมนต์ครูบาพระเยยะธัมโม มาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 2

ปี พ.ศ. 2476 พ่อเลี้ยงพรหมมินทร์ พร้อมบุตรชาย (พ่อเลี้ยงงองไก่) ได้สร้างพุทธเจดีย์ขึ้นมีเจดีย์องค์ใหญ่อยู่ตรงกลางฐาน และเจดีย์องค์เล็ก 4 องค์ อยู่ตามทิศทั้ง 4 มุม ใช้เวลาในการก่อสร้าง 2 ปี

ต่อมาวัดจองคำไม่มีพระสงฆ์มาจำพรรษา เพียงแต่จาริกมาจำวัดอยู่ชั่วคราว เป็นเวลา 1-2 เดือนเท่านั้น จึงทำให้เสนาสนะภายในวัดทรุดโทรมลงมาก บริเวณวัดก็ได้กลายเป็นที่เลี้ยงสัตว์ของประชาชนในท้องถิ่นเรื่อยมา จนกระทั่งครูบาโอภาส โอภาใส (พระราชปริยัตโยดม) ได้รับนิมนต์มาจำพรรษาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2545 เป็นต้นมา จึงได้มีการบูรณะพัฒนาวัดขึ้นใหม่ และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ปี พ.ศ. 2549 เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on ตุลาคม 27, 2020, 07:08:18 pm
179.วัดพระธาตุหริภุญชัย

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด : วรมหาวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : ลำพูน
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.1440
พิกัด : 18.57718, 99.0082

**เปิดตลอด

วัดพระธาตุหริภุญชัย สร้างเมื่อปี พ.ศ.1440 โดยพระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์วงศ์รามัญผู้ครองนครลำพูน ได้สร้างมณฑปครอบโกศทองคำบรรจุพระบรมธาตุไว้ภายใน ซึ่งมีตำนานกล่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับตรงที่สร้างพระเจดีย์เสวยผลสมอเพื่อรักษาพระอุทร หลังจากเสวยแล้วได้ทรงทิ้งผลสมอไว้ตรงนั้น กาลต่อมาเมล็ดสมอได้งอกงาม เจริญเติบโต พระราชาธิบดีจึงได้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระเกศาของพระพุทธองค์ ณ สถานที่พระองค์ประทับนั่งเสวยผลสมอ จึงได้นามว่า "พระธาตุหริภุญชัย" (คำว่า หริ แปลว่า ผลสมอ และ ภุญชัย แปลว่า เสวย)

ตามตำนานกล่าวว่า สถานที่ตรงนี้ พระเจ้าอาทิตยราชสั่งให้ขุดหลุมเป็นที่สำหรับบังคล แต่เมื่อเสด็จไปบังคลครั้งใดก็ถูกกาบินโฉบพระเศียรมิได้เว้น ทรงประหลาดพระทัยจึงรับสั่งให้จับกาตัวนั้นขังร่วมกับเด็กทารกที่เริ่มหัดพูด จนล่วงไป 7 ปี เด็กนั้นรู้ภาษากา และพูดไต่ถามเหตุการณ์ จึงทราบว่าสถานที่นั้นเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากนั้นได้มีการสร้างเสริมทำนุบำรุงและปฏิสังขรณ์กันต่ออีกหลายสมัย ต่อมาในปี พ.ศ.1986 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์ครองนครเชียงใหม่ได้ทรงกระทำการปฏิสังขรณ์บูรณะเสริมองค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ การสร้างคราวนี้ได้สร้างโครงขึ้นใหม่เป็นรูปแบบลังกา ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ เพราะในสมัยพระเจ้าติโลกราชได้มีความสัมพันธ์กับลังกาอยู่มาก จากนั้นพระสุวรรณเจดีย์จึงได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 ตั้งอยู่ทางขวาของพระบรมธาตุสร้างโดยพระนางปทุมวดี อัครมเหสีของพระเจ้าอาทิตยราช ภายหลังเมื่อสร้างพระธาตุฯ เสร็จแล้วได้ 4 ปี

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on ตุลาคม 27, 2020, 07:10:32 pm
180.วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เวียงเหนือ
เขต/อำเภอ : เมืองลำปาง
จังหวัด : ลำปาง
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.1223
พิกัด : 18.3013, 99.50919

**เปิดตลอด

เป็นวัดเก่าแก่และสวยงามมีอายุนับพันปีเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1979 เป็นเวลานาน 32 ปี เหตุที่วัดได้ชื่อว่า "พระแก้วดอนเต้า"

มีตำนานกล่าวว่าพระมหาเถระแห่งวัดนี้ได้พบแก้วมรกตในแตงโม(ภาษาเหนือเรียกว่า หมากเต้า) และนำมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป แต่ต่อมาถูกอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระธาตุลำปางหลวง จนถึงปัจจุบัน

ปูชนียสถานที่สำคัญของวัดได้แก่ พระเจดีย์องค์ใหญ่ บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า มณฑปศิลปะพม่าลักษณะงดงาม ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่วิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่มีอายุเก่าพอๆ กับวัด นอกจากนี้ยังมีวิหารหลวง พิพิธภัณฑสถานแห่งล้านนา และวิหารพระเจ้าทองทิพย์

กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2475 ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศรวมวัดสุชาดาราม เข้ากับวัดพระแก้วดอนเต้ามีชื่อว่า วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2527 ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ.2530

ที่มา : ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on ตุลาคม 27, 2020, 07:11:28 pm
181.วัดพระเจดีย์ซาวหลัง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ต้นธงชัย
เขต/อำเภอ : เมืองลำปาง
จังหวัด : ลำปาง
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 18.32198, 99.515

**เปิดตลอด

เป็นวัดที่มีความสำคัญและเก่าแก่ของจังหวัดลำปาง คำว่า "ซาว" เป็นภาษาเหนือแปลว่า ยี่สิบ ส่วนคำว่า "หลัง" แปลว่า องค์ วัดนี้จึงแปลว่ามีเจดีย์ 20 องค์ องค์พระธาตุเจดีย์ซาวองค์ใหญ่เป็นศิลปะแบบล้านนาผสมกับศิลปะพม่า ข้ามหมู่พระเจดีย์มีวิหารหลังเล็กประดิษฐานพระพุทธรูปสำริด ปางสมาธิ ศิลปะเชียงแสน ชาวบ้านเรียกว่า พระพุทธรูปทันใจ ด้านหลังพระอุโบสถเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงโบราณวัตถุที่ชาวบ้านนำมาถวาย จากหลักฐานที่ได้พบ สันนิษฐานว่าวัดนี้ สร้างมานานกว่าพันปี

นอกจากนี้ชาวบ้านได้ขุดพบพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์หนัก 100 บาท 2 สลึง และมอบให้เป็นสมบัติของวัด มีชื่อว่า "พระยาแสนแซ่ทองคำ" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ 21 สามารถถอดออกเป็นชิ้นได้ 32 ชิ้นที่พระเศียรมีพระบรมธาตุติดอยู่ด้วย เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเคารพนับถือมา

ที่มา : ป้ายในวัด


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on ตุลาคม 27, 2020, 07:12:36 pm
182.วัดบุญวาทย์วิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : หัวเวียง
เขต/อำเภอ : เมืองลำปาง
จังหวัด : ลำปาง
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 18.29019, 99.50184

**ไปวันมีงานพอดี

วัดบุญวาทย์วิหาร เป็นวัดโบราณสร้างมาแล้วกว่า 400 ปี เดิมชื่อ "วัดกลางเวียง" เป็นวัดสำคัญประจำเมืองลำปาง เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ในสมัยการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในปี พ.ศ.2347 สมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าหลวงคำโสมเจ้าผู้ครองนครลำปาง ได้รื้อพระวิหารเก่าออกแล้วได้สร้างพระวิหารหลวงหลังหนึ่ง พระประธานองค์หนึ่ง เจดีย์องค์หนึ่ง กุฏิหลังหนึ่ง และหอไตรหลังหนึ่ง เมื่อสร้างเสร็จเปลี่ยนชื่อว่า "วัดกลางหลวงไชยสัณฐาน"

ครั้งกาลเวลาล่วงไป 108 ปี(พ.ศ.2455) เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางเห็นโบราณวัตถุต่างๆ ภายในอารามชำรุดทรุดโทรม จึงให้รื้อพระวิหารหลวง หอไตร กุฏิ และกำแพงวัดทั้งหมด แล้วให้หลวงประสานไมตรีราษฏร ไปดูแบบพระอารามหลวงในกรุงเทพมหานครเพื่อสร้างขึ้นใหม่ โดยได้สร้างพระวิหารหลังหนึ่ง เสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2457 และเสนอขอเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "วัดหลวงบุญวาทย์บำรุง"

ปี พ.ศ.2458 เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต พร้อมด้วยพระธรรมจินดานายก(ผาย) เจ้าอาวาสซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าคณะลำปาง ครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูภูริโสภณ และข้าราชการได้ทำการฉลองวัดเป็นการใหญ่ พร้อมกับผูกพัทธสีมาโดยรอบพระวิหารหลวง มีพระสงฆ์ร่วมทำสังฆกรรม จำนวน 120 รูป เปลี่ยนพระวิหารหลวงเป็นพระอุโบสถ ปรากฏตามความในแผ่นจารึกที่หน้าพระอุโบสถ ต่อมาพระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาส ได้นำความกราบบังคมทูลขอวัดหลวงบุญวาทย์บำรุงเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดยกฐานะพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2458 และพระราชทานนามว่า "วัดบุญวาทย์วิหาร"

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on ตุลาคม 27, 2020, 07:13:38 pm
183.วัดพระพุทธบาทตากผ้า

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : มะกอก
เขต/อำเภอ : ป่าซาง
จังหวัด : ลำพูน
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 18.45464, 98.92137

**ขอให้หลวงพี่เปิดให้

วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นวัดโบราณถือว่าเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะมีรอยพระพุทธบาทและผาลาดเป็นรอยตากผ้ารูปตารางคล้ายตาจีวร วัดนี้จึงได้ชื่อว่า "วัดพระพุทธบาทตากผ้า"

ในปี พ.ศ. 1200 พระนางจามเทวี ราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้(ลพบุรี) ได้เสด็จมาครองนครหริภุญชัย พระนางได้สร้างอุโมงค์ครอบรอยพระพุทธบาทไว้เพื่อเป็นพุทธบูชา เสร็จแล้วได้จัดให้มีการสมโภชเฉลิมฉลอง

ปี พ.ศ. 1824 เมืองหริภุญชัย สมัยของพระยายีบาได้เสียให้แก่พระเจ้าเม็งรายมหาราชกษัตริย์ในราชวงศ์เม็งราย ได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงสืบมาจนสิ้นราชวงศ์เม็งราย บ้างเมืองเกิดศึกสงครามต้องรกร้างว่างเปล่า พระพุทธบาทแห่งนี้ก็มีอันต้องทรุดโทรม
ลง

ปี พ.ศ. 2375 พระเถระหลายรูป มีพระครูบาป๋าบารมี วัดสะปุ๋งหลวง เป็นประธานได้นำทายกทายิกาสร้างพระวิหารหลังใหญ่ครอบพระอุโมงค์พระพุทธบาทอีกชั้นหนึ่ง เพื่อเป็นที่พักอาศัยสำหรับสาธุชนที่ขึ้นมาสักการบูชา

ปี พ.ศ.2472 คณะสงฆ์จังหวัดลำพูน มีพระครูพุทธวงศ์ธาดา เจ้าคณะอำเภอป่าซางวัดฉางข้าวน้อยเหนือเป็นประธาน ฝ่ายฆราวาสมีหลวงวิโรจน์รัฐกิจ(เปรื่อง โรจนกุล) นายอำเภอป่าซางเป็นประธาน พร้อมกับศรัทธาประชาชนได้พร้อมใจกันไปนิมนต์ครูบาศรีวิชัย นักบุญลือชื่อแห่งล้านนาไทยวัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มาเป็นประธานในการก่อสร้างวิหารจตุรมุข ครอบรอยพระพุทธบาท

เนื่องจากบริเวณที่เป็นวัดพระพุทธบาทตากผ้า มีทำเลที่เหมาะสมแก่การบำเพ็ญสมณธรรมอย่างยิ่ง ดังนั้น ในปี พ.ศ.2486 พระมงคลญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดลำพูน วัดพระยืนและพระครูพิศาลพุทธิธร เจ้าคณะอำเภอป่าซาง วัดป่าซางงาม เป็นพระธานฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายฆราวาสมีนายหอม พรหมสิงห์ นายอำเภอป่าซางเป็นประธาน พร้อมด้วยศรัทธาประชาชน ได้พร้อมใจกันไปนิมนต์ ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก(พระสุพรหมยานเถร) วัดป่าหนองเจดีย์ ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนมาเป็นประธานในการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่น พระอุโบสถ กำแพง ถังเก็บน้ำ โรงเรียนปริยัติธรรม ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ เป็นต้น และตั้งแต่บัดนั้นมา วัดพระพุทธบาทตากผ้าก็ได้มีพระสงฆ์อยู่ประจำมาโดยตลอด และเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ ได้รบยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.2521

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม




Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on พฤศจิกายน 24, 2020, 07:56:53 pm
184.วัดพระแท่นดงรัง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : พระแท่น
เขต/อำเภอ : ท่ามะกา
จังหวัด : กาญจนบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง : -

**เปิดตลอด

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on พฤศจิกายน 24, 2020, 07:58:23 pm
185.วัดไชยชุมพลชนะสงคราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บ้านใต้
เขต/อำเภอ : เมืองกาญจนบุรี
จังหวัด : กาญจนบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง : -

**ทำว้ตรเย็น 17.00 น.
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤศจิกายน 24, 2020, 07:59:56 pm
186.วัดเทวสังฆาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บ้านเหนือ
เขต/อำเภอ : เมืองกาญจนบุรี
จังหวัด : กาญจนบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 14.02722, 99.52656

**เปิดตลอด


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 12, 2020, 01:57:32 pm
187.วัดสุทธจินดา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองนครราชสีมา
จังหวัด : นครราชสีมา
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ. 2467
พิกัด : 14.97037, 102.09742

**ทำวัตรเย็น 17.00 น.

วัดสุทธจินดาสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2467 โดยการรวมวัด 2 วัดให้เป็นวัดเดียวกัน คือ วัดสมบูรณ์จิ๋ว และวัดบรมจินดา เนื่องจากทางราชการได้ย้ายศาลาว่าการมณฑลนครราชสีมา จากกลางเมืองอยู่ทางทิศเหนือของวัดพระนารายณ์มหาราช มาตั้งที่มุมกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยสร้างเป็นอาคาร 2 ชั้น ได้รื้อกำแพงเมืองทางทิศตะวันตก เพื่อให้มองเห็นศาลาว่าการและสนามภายในถนัดชัดแจ้ง และเป็นเหตุให้มองเห็นวัดบรมจินดาและวัดสมบูรณ์จิ๋ว ซึ่งเป็นวัดที่กำลังอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมไม่รับกันกับศาลาว่าการที่สร้างขึ้น ทางราชการคิดที่จะพัฒนาวัดขึ้นใหม่ให้มีสภาพที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ บรรดาข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน คหบดี และพ่อค้า มีพระยาเพ็ชรปาณี(ดั่น รักตประจิต) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา เห็นว่านครราชสีมาเป็นเมืองใหญ่เป็นเมืองเอกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมวัดสมบูรณ์จิ๋วกับวัดบรมจินดา ให้เป็นวัดเดียวกันและสร้างขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นที่สถิตของพระมหาเถระผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล ได้กราบทูลพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าสกลมหาสังฆปรินายก ขอประทานพระอนุมัติรวมวัดสร้างใหม่

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ประทานอนุมัติ และได้ประทานนามวัดว่า "วัดสุทธจินดา" และโปรดให้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.2478

ที่มา : พระอารามหลวงเล่มที่ 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 12, 2020, 01:58:57 pm
188.วัดวชิราลงกรณวราราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : หนองน้ำแดง
เขต/อำเภอ : ปากช่อง
จังหวัด : นครราชสีมา
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2506
พิกัด : 14.64556, 101.35388

**บอกหลวงพี่มาเปิดให้

วัดวชิราลงกรณวราราม สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2506 โดยนางทิพย์ นิยมเหตุ มีความประสงค์จะสร้างวัด เพื่อเป็นจุดรวมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร และเป็นสถานศึกษาทางโลก คือโรงเรียนกลางดง(หนองน้ำแดง) ถนนมิตรภาพ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้เป็นสถานศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมควบคู่กันไป จึงได้หารือกับพระธรรมปาโมกข์(ทิม อุฑาฒิโม) เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ในปี พ.ศ.2504 ได้เข้าไปวัดสุทธจินดา ปรึกษากับพระราชสุทธาจารย์(โชติ คุณสมปนโน) เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา(ธรรมยุต) ขอความอนุเคราะห์สนับสนุนแล้วเสร็จ พร้อมนี้ นางทิพย์ นิยมเหตุ ได้ขอร้องท่านเจ้าคุณ พระธรรมปาโมกข์(ทิม) นำความกราบทูลขอพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า เธอมีความประสงค์ที่จะสร้างวัด ถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นามวัดว่า "วัดวชิราลงกรณ" เป็นวัดในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฏราชกุมาร

วันที่ 18 กรกฏาคม พ.ศ. 2506 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ได้แต่งตั้งให้พระราชสุทธาจารย์ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก

วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกวัดวชิราลงกรณวราราม เป็นพระอารามหลวง เพื่อเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2515

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 12, 2020, 02:00:49 pm
189.วัดบึง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองนครราชสีมา
จังหวัด : นครราชสีมา
พ.ศ.ที่สร้าง : ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๒๒๐ ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 14.97388, 102.10027

**เปิดตลอด

วัดบึงสร้างเมื่อปี พ.ศ.2220 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่า เป็นวัดที่เจ้านาย หรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่สมัยนั้นสร้างขึ้น เพราะมีหลักฐานทางโบราณคดีทั้งทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ภายในวัดประกอบด้วย ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เช่น พระอุโบสถ ตู้พระธรรม และภาพจิตกรรม เป็นต้น ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ได้รับการอนุรักษ์ ปรับปรุงและปฏิสังขรณ์ให้คงสภาพเดิมตลอดมา โดยเหตุที่วัดนี้ตั้งอยู่กลางบึงจึงเรียกว่า "วัดบึง" ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ.2537

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 12, 2020, 02:01:46 pm
190.วัดพายัพ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองนครราชสีมา
จังหวัด : นครราชสีมา
พ.ศ.ที่สร้าง : สร้างสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พิกัด : 14.97858, 102.09892

**เปิดตลอด

วัดพายัพสร้างสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อครั้งทรงครองกรุงศรีอยุธยา ทรงเลือกสถานที่ในการสร้างเมืองนครราชสีมา ให้ช่างชาวฝรั่งเศสเขียนแปลนก่อสร้างเป็นรูปเหลี่ยม มีคูคลองน้ำล้อมรอบกั้นข้าศึก มีกำแพงประตู 4 มุมเมือง และได้ทรงสร้างวัดขึ้นมาภายในกำแพงเมือง จำนวน 6 วัด คือ วัดพระนารายณ์มหาราช วัดบูรพ์ วัดสระแก้ว วัดบึง วัดพายัพ และวัดอิสาน ในวัดพายัพมีวัตถุโบราณ คือ พระพุทธรูปหินทรายแกะสลัก ลงรักปิดทอง พระอุโบสถลักษณะทรงเรือสำเภาโต้คลื่น และใบเสมาพระอุโบสถหลังเก่า เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์กว่า 300 ปี

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 12, 2020, 02:02:29 pm
191.วัดสะแก

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองนครราชสีมา
จังหวัด : นครราชสีมา
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2230
พิกัด : 14.97687, 102.09652

**เปิดตลอด

วัดสะแก สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2230 สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดที่ได้รับการพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ อยู่นอกเขตกำแพงเมือง สาเหตุที่ชื่อวัดสะแก ยังไม่ทราบความเป็นมาที่แน่ชัดสันนิษฐานว่าคงจะเรียกกันมาตามสภาพภูมิประเทศที่ตั้งวัด แต่เดิมบริเวณแถวนี้เป็นที่ราบสูง มีป่าไม้นานาชนิดโดยเฉพาะต้นสะแก คงจะมีอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อทางราชการได้ย้ายตัวเมืองมาสร้างขึ้น ณ บริเวณนี้(ที่ตั้งปัจจุบัน) ทำให้มีความเจริญมากขึ้น สภาพสิ่งแวดล้อมเดิมได้เปลี่ยนแปลงไป คงเหลือไว้แต่ชื่อเสียงเท่านั้นที่ปรากฏเท่าทุกวันนี้

วัดสะแกอยู่นอกเขตกำแพงเมือง มีเจดีย์เก่าอยู่องค์หนึ่ง ในปี พ.ศ.2519 เจดีย์ได้พังมาเพราะชำรุดทรุดโทรม กรุพระแตกออกมา ปรากฏว่าเป็นพระเก่าสมัยอยุธยา หรืออาจนานไปถึงสมัยลพบุรีมีพระนาคปรก พระอู่ทอง พระมงคลวัดตะไกร พระขุนแผน พระดังกล่าวเป็นเนื้อชิน จึงได้สันนิษฐานว่าวัดนี้คงจะสร้างมาก่อนการสร้างเมืองนครราชสีมา หรือไล่เลี่ยกับการสร้างเมืองนครราชสีมา ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2529

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 12, 2020, 02:12:45 pm
192.วัดชูจิตธรรมาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : สนับทึบ
เขต/อำเภอ : วังน้อย
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 14.26443, 100.78256

**ไปขอสำนักงานวัดเปิดให้

วัดชูจิตธรรมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นายฉบับ คุณนายสงวน ชูจิตตารมย์ ได้มีจิตศรัทธาถวายที่ดินจำนวน 186 ไร่ ที่ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ต่อมาได้มีผู้บริจาคซื้อถวายเพิ่มเติมเป็น 736 ไร่) เพื่อตั้งเป็นสถานศึกษาของคณะสงฆ์ ตามพระดำริของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี) วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เริ่มแรกใช้ชื่อว่า สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย สาขาวังน้อย หรือรู้จักทั่วไปว่า วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย ในปี พ.ศ. 2519 ได้ขอตั้งเป็นวัดชื่อ "วัดชูจิตธรรมาราม" เพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์สกุลชูจิตารมย์ผู้ถวายที่ดินเพื่อการก่อตั้งครั้งแรก[1]

วัดชูจิตธรรมารามได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549[2] ทางวัดเริ่มเปิดรับพระสงฆ์และสามเณรเข้าศึกษามาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 ปัจจุบันเปิดสอนพระปริยัติธรรม แผนกนักธรรมบาลี แผนกสามัญ ในระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา ปัจจุบัน มีพระราชวัชราภรณ์ เป็นเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์และสามเณร จำนวน 250 รูป (พ.ศ. 2563) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัยและพุทธศาสนิกชนทั่วไป รวมทั้งด้านการรักษาพยาบาลจากมูลนิธิสิรินธร[3]

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1#:~:text=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99,%E0%B8%9E.%E0%B8%A8.%202563)%20%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 12, 2020, 04:56:19 pm
193.วัดทรงศิลา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองชัยภูมิ
จังหวัด : ชัยภูมิ
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2414
พิกัด : 15.80989, 102.03331

**ไปขอเจ้าอาวาสเปิดให้

วัดทรงศิลา เดิมเรียกว่า "วัดหินตั้ง" ตามชื่อหมู่บ้านสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2414 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้หลวงวิเศษภักดี(ที) พระบุตรพระยาภักดีชุมพล(แล) เป็นพระภักดีชุมพล(ที) ตำแหน่งเจ้าเมืองชัยภูมิ(ในระหว่างปี พ.ศ.2406-2418) โดยพระภักดีชุมพลได้พิจารณาเห็นว่า บ้านหินตั้ง(ที่ตั้งจังหวัดชัยภูมิในปัจจุบัน) มีทำเลกว้างขวางมีชัยภูมิที่ดี จึงได้ย้ายเมืองจากโนนปอปิด(บริเวณปรางค์กู่กับหนองบัว ซึ่งเป็นเมืองเก่า) มาตั้งเมืองใหม่ที่บ้านหินตั้ง และอยู่จนมาถึงทุกวันนี้ และภายหลังจากการย้ายเมืองมาเรียบร้อยแล้ว ได้ตั้งชื่อวัดขึ้นใหม่ว่า "วัดทรงศิลา"

ปี พ.ศ.2467 พระยาภูมิพิชัย(เฮง ศรีไชยยันต์) เจ้าเมืองชัยภูมิ และหลวงบรรจงวิชาเชิด(เชย สาคริชานนท์) ธรรมการจังหวัดพร้อมชาวบ้านได้รื้อพระอุโบสถหลังเก่าออกแล้วสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทน เมื่อสร้างอุโบสถเสร็จแล้วจึงสร้างหลวงพ่อโตเป็นพระประธานประจำอุโบสถ ซึ่งยังคงประดิษฐานมาตลอดจนถึงปัจจุบัน การสร้างอุโบสถดังกล่าวนี้คงสร้างในที่เดิมแต่ขยายตัวอาคารออกไปกว้างกว่าเดิม

เมื่อสร้างอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้วทางวัดพร้อมด้วยพ่อค้าประชาชน ข้าราชการได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขอให้ยกวัดทรงศิลาขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2525

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 12, 2020, 04:57:23 pm
194.วัดชัยสามหมอ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : หนองไผ่
เขต/อำเภอ : แก้งคร้อ
จังหวัด : ชัยภูมิ
พ.ศ.ที่สร้าง : 2525
พิกัด : 16.1122, 102.25862

**ไปขอสำนักงานวัดเปิดให้

วัดชัยสามหมอมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านอำเภอแก้งคร้อเข้าไปสักการะขอพรกันเป็นประจำคือ "พระชัยมงคง" ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในภายในพระอุโบสถ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525 เป็นอาคาร 2 ชั้น ทรงจัตุรมุขบานประตูและหน้าต่างเป็นไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับแก้วสวยงาม ภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนสีเป็นภาพประเพณีอีสาน ภาพการดำรงชีวิตของคนสมัยโบราณ และที่ชั้นล่างของพระอุโบสถมีพระพุทธรูปปางต่างๆ เป็นจำนวนนับร้อยองค์ วัดชัยสามหมอได้รับการยกฐานนะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2555

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on ธันวาคม 12, 2020, 05:18:34 pm
195.วัดธาตุ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองขอนแก่น
จังหวัด : ขอนแก่น
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2340 กรุงรัตนโกสินทร์
พิกัด : 16.41928, 102.83519

**เปิดตลอด

วัดธาตุ ชาวบ้านเรียกว่า "วัดธาตุเมืองเก่า" บ้าง "วัดธาตุนครเดิม" บ้าง สร้างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ.2340 โดยท้าวเมืองแพน ตำแหน่งเพี้ย หลานเจ้าแก้วมงคล อยู่บ้านซีโหล่น เมืองสุวรรณภูมิได้ชักชวนชาวบ้านประมาณ 300 คน  อพยพมาตั้งเมืองใหม่ที่บ้านบึงบอน ตั้งชื่อเมืองว่า เมืองขอนแก่นซึ่งต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยานครศรีบริรักษ์ บรมราชภักดี นับเป็นเจ้าเมืองขอนแก่นคนแรก และเนื่องจากชนชั้นปกครองเมืองต่างๆ ในภาคอีสานที่มีเชื้อสายนครเวียงจันทร์ เมื่อสร้างเมืองแล้วจะต้องสร้างวัดเป็นของคู่บ้านคู่เมืองถึง 4 วัด

ดังนั้น พระยานครศรีบริรักษ์ บรมราชภักดี จึงได้สร้างวัดตามประเพณีโบราณ คือ
1.วัดเหนือสำหรับเป็นสถานที่ชุมนุมทำบุญของเจ้าเมืองขอนแก่น(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดธาตุ")
2.วัดกลาง เป็นที่ชุมนุมทำบุญของข้าราชการ(ปัจจุบันยังคงเรียกว่า "วัดกลาง" เช่นเดิม)
3.วัดใต้เป็นวัดที่ชุมนุมทำบุญของประชาชนทั่วไป(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดหนองแวง")
4.วัดแขก หรือวัดท่าแขก สำหรับคนหรือพระต่างถิ่นจะมาพักอยู่อาศัยหรือทำบุญต่างๆ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น"วัดโพธิ์บ้านโนนทัน")

วัดธาตุเมื่อสร้างแล้วก็มีพระธาตุเจดีย์เป็นสัญลักษณ์อยู่ เนื่องจากมีเจดีย์หลายองค์ เมื่อเวลาล่วงไปนานเจดีย์แต่ละองค์ชำรุดพังทลายไปเกือบหมด จนไม่สามารถสังเกตได้ว่าองค์ไหนเป็นพระธาตุดั้งเดิม ดังนั้นในปี พ.ศ. 2513 ทางวัดจึงได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นครององค์เดิมไว้ทั้งหมด โดยสร้างให้ใหญ่และสูงกว่าองค์เดิมให้นามว่า เจดีย์พระธาตุนครเดิม วัดพระธาตุได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.2512 และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2523

ที่มา พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม, พระอารามหลวงของไทย สมบัติจำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on ธันวาคม 12, 2020, 05:19:44 pm
196.วัดหนองแวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองขอนแก่น
จังหวัด : ขอนแก่น
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2332
พิกัด : 16.4094, 102.83414

**ไปเจอตอนงานบวชพอดี

วัดหนองแวงสร้างเมื่อปี พ.ศ.2332 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 หลังจากทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงเทพมหานครเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2328 ล่วงมาอีก 4 ปีได้โปรดยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็นเมืองขอนแก่น และโปรดให้เลื่อนยศท้าวเพี้ยเมืองแพนหรือเรียกสั้นๆ ว่าท้าวเมืองแพน(เพี้ย = พญา หรือ พระยา) ผู้สร้างเมืองเป็นพระนครศรีบริรักษ์ บรมราชภักดีเป็นเจ้าเมืองขอนแก่น

ในคราวสร้างเมืองขึ้นนั้นพระนครศรีบริรักษ์ได้สร้างวัดประจำเมืองขึ้น 4 วัด(ดูเรื่องราววัดธาตุ) วัดหนองแวงเป็นวัดหนึ่งในจำนวนนั้น วัดหนองแวงได้รับการทะนุบำรุงตลอดมาจากท่านเจ้าเมืองต่อๆ มามิได้ทอดทิ้ง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2442 เป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมากเนื่องจากมีการพัฒนาทุกด้านจนได้รับยกยอ่งให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง และได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงใน พ.ศ.2527 นับว่าเป็นเกียรติยิ่งวัดหนึ่งในภาคอีสาน

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 12, 2020, 05:20:50 pm
197.วัดศรีจันทร์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองขอนแก่น
จังหวัด : ขอนแก่น
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2398 สมัยรัชกาลที่ 4
พิกัด : 16.43073, 102.83943

**ขอให้คนดูแลเปิดให้ ของหายเลยต้องปิด

วัดศรีจันทร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2398(สมัยรัชกาลที่ 4) ท่านญาคูหลักคำ(พระครูพิมพ์) เป็นผู้สร้างและเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ก่อนหน้านี้ท่านญาคูหลักคำจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีนวล เหตุที่มาสร้างวัดขึ้นใหม่เพราะเป็นสถานที่เงียบสงบ บริเวณเป็นเนินดินสมบูรณ์ ชาวบ้านเรียกว่าโคกป่าโจด เมื่อสร้างเสร็จแล้วใช้ชื่อว่า "วัดศรีจันทร์" ใกล้เคียงกับชื่อวัดศรีนวล ประชาชนนิยมเรียกชื่อวัดศรีจันทร์ ว่าวัดนอกเพราะตั้งอยู่คุ้มนอกบ้าน เรียกชื่อวัดศรีนวลว่าวัดใน เพราะตั้งอยู่ในคุ้มบ้าน

วัดศรีจันทร์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2468 ได้ทำพิธีผูกพัทธสีมา พ.ศ.2476 ต่อมาใน พ.ศ.2507 ได้รับยกย่องเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงในปี พ.ศ. 2521 เป็นวัดสำคัญของจังหวัด มีสำนักบริหารคณะสงฆ์ เจ้าคณะจังหวัดพำนักอยู่ที่วัดนี้ เป็นศูนย์อบรมพระพุทธศาสนาแก่เยาวชน และเป็นที่ตั้งสำนักงานยุวพุทธิกสมาคม

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on ธันวาคม 12, 2020, 05:22:00 pm
198.วัดป่าแสงอรุณ 

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : -
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองขอนแก่น
จังหวัด : ขอนแก่น
พ.ศ.ที่สร้าง : -

**เปิดตลอด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มกราคม 07, 2021, 05:58:24 am
199.วัดตานีนรสโมสร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : อาเนาะรู
เขต/อำเภอ : เมืองปัตตานี
จังหวัด : ปัตตานี
พ.ศ.ที่สร้าง : -

**เปิดตลอด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มกราคม 07, 2021, 06:03:27 am
200.วัดมุจลินทวาปีวิหาร หรือวัดตุยง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ตุยง
เขต/อำเภอ : หนองจิก
จังหวัด : ปัตตานี
พ.ศ.ที่สร้าง : -

**ขอเจ้าอาวาสเปิดให้
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 07, 2021, 06:08:00 am
201.วัดเมืองยะลา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : สะเตง
เขต/อำเภอ : เมืองยะลา
จังหวัด : ยะลา
พ.ศ.ที่สร้าง : -

**ขอเจ้าอาวาสเปิดให้

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มกราคม 07, 2021, 06:12:17 am
202.วัดพุทธภูมิ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : สะเตง
เขต/อำเภอ : เมืองยะลา
จังหวัด : ยะลา
พ.ศ.ที่สร้าง : -

**ขอเจ้าอาวาสเปิดให้
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
Post by: designbydx on มกราคม 07, 2021, 06:16:40 am
203.วัดพุทธาธิวาส

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เบตง
เขต/อำเภอ : เบตง
จังหวัด : ยะลา
พ.ศ.ที่สร้าง : -

**เปิดตลอด


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 18, 2021, 09:15:35 pm
204.วัดพระนารายณ์มหาราช

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองนครราชสีมา
จังหวัด : นครราชสีมา
พ.ศ.ที่สร้าง : สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.2199
พิกัด : 14.975, 102.10695

**เปิดตลอด

วัดพระนารายณ์มหาราช เดิมเรียกว่า "วัดกลาง" บ้าง "วัดกลางนคร" บ้าง สร้างพร้อมกับการสร้างเมืองนครราชสีมา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช วัดได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุและปูชนียวัตถุที่ทรุดโทรมตามกาลเวลาตามลำดับของเจ้าอาวาสผู้ปกครอง ต่อมาพระเริงรุกปัจจามิตร ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 3 ทำรายงานเสนอพระยากำธรพายัพทิศ ข้าหลวงฯ จังหวัด ขอพระราชทานยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ.2478 ในรัชกาลที่ 8 มีนามเต็มว่า "วัดกลางนครวิหาร" ต่อมารัชกาลที่ 9 โปรดพระราชทานนามว่า "วัดพระนารายณ์มหาราช" เป็นวัดที่ใบพัทธสีมาคู่ซ้อนบนเชิงฐาน

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 26, 2021, 05:26:04 pm
205.วัดอ่างทอง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บางแก้ว   
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : อ่างทอง
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 14.58965, 100.45607

**ไปวันมาฆบูชา

วัดอ่างทองเดิมเป็นวัดราษฎร์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มจากหมื่นแก้ว (รอด) บริจาคที่ดินสร้างวัด ตอนแรกชื่อ "วัดโพธิ์ทอง" เพราะที่ดินมีต้นโพธิ์ จากนั้นมีญาติและประชาชนช่วยกันสร้างต่อใกล้ ๆ กันบ้าง มีผู้สร้างวัดโพธิ์เงินขึ้น (ที่ดินมีต้นโพธิ์ขึ้นเช่นเดียวกัน)

เมื่อ พ.ศ. 2443 รัชกาลที่ 5 เสด็จทางชลมารถผ่านวัดโพธิ์ทอง และวัดโพธิ์เงิน ซึ่งเป็น 2 วัดติดต่อกันทรงเห็นว่าสมควรจะให้รวมเป็นวัดเดียวกัน และพระราชทานนามว่า "วัดอ่างทอง" ทุกฝ่ายต่างยินดีแล้วเรียกบริเวณหมู่กุฏิวัดโพธิ์ทองว่าคณะใต้และเรียกหมู่กุฏิวัดโพธิ์เงินว่าคณะเหนือ สภาพวัดอ่างทองเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นจนได้รับยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงใน พ.ศ.2481 จากนั้นได้มีการสร้างและปฏิสังขรณ์มาเป็นลำดับโดยได้รับความร่วมมือจากทางราชการและประชาชนอย่างดียิ่ง

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 26, 2021, 05:28:35 pm
206.วัดป่าโมกวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด : วรวิหาร   
นิกาย : -
แขวง/ตำบล : ป่าโมก
เขต/อำเภอ : ป่าโมก
จังหวัด : อ่างทอง
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 14.48272, 100.44849

**ไปวันมาฆบูชา
ปรับปรุง 29 ธ.ค. 63 - 29 ธ.ค. 64

วัดป่าโมกเป็นวัดเก่าแก่ มีมาแต่โบราณสันนิษฐานว่า สร้างครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ส่วนใครเป็นผู้สร้างนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด

วัดป่าโมกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "วัดท้ายตลาด" ในสมัยกรุงศรีอยุธยาลำน้ำเจ้าพระยาใกล้วัดได้เปลี่ยนทางไหล เซาะตลิ่งเข้ามาใกล้พระวิหารพระพุทธไสยาสน์อาจเป็นอันตราย เนื่องจากพระวิหารพังทลายพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (ครองราชย์ พ.ศ. 2251-2275) จึงโปรดให้มีการชะลอ (เคลื่อนย้าย) พระพุทธไสยาสน์ไปยังสถานที่ใหม่ ซึ่งน้ำเซาะไม่ถึง พร้อมทั้งให้รวมวัดชีปะขาวมาไว้เป็นวัดเดียวกัน แล้วขนานนามใหม่ว่า "วัดป่าโมก" เพราะภูมิประเทศมีป่าไม้โมกมากมายลือชื่อดังที่ทราบกัน ทั้งยังโปรดให้มีการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ทั้งพระอาราม พระราชทานวิสุงคามสีมาใน พ.ศ. 2271

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 4 และที่ 5 โปรดให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่และได้บูรณะต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 11, 2021, 07:09:38 pm
207.วัดกลาง (จังหวัดบุรีรัมย์)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองบุรีรัมย์
จังหวัด : บุรีรัมย์
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 14.99632, 103.11236

**โชคดีไปเจองานบวชพอดี

วัดกลาง เป็นวัดร้างโบราณ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) เสด็จผ่านขณะเดินทัพไปตีเมืองจำปาศักดิ์ จึงโปรดให้ยกวัดร้างเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ใช้ชื่อว่า "วัดแปะใหญ่" สมัยกรุงธนบุรี ตั้งเป็นวัดโดยสมบูรณ์เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2329 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดกลาง" ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.2533

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 11, 2021, 07:11:51 pm
208.วัดศาลาลอย

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองสุรินทร์
จังหวัด : สุรินทร์
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 14.88225, 103.49616

**ิเปิดตลอด

วัดศาลาลอย สร้างแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เล่ากันต่อๆ มา สร้างมานานไม่ต่ำกว่า 100 ปี ในสมัยที่พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไฟทสมันต์(สุ่น) เป็นเจ้าเมืองคนที่ 4 นางตามภรรยาของท่านได้พาบุตร บริวาร มาทำนา ทำไร่ที่บริเวณเวียลเวง ซึ่งแปลว่า ทุ่งยาว และท่านก็ได้อุปการะพระภิกษุสามเณร ของวัดศาลาลอยมาตลอด รวมทั้งมอบหมายให้บุตรหลานได้ช่วยดูแลทำนุบำรุงวัด ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2533

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 11, 2021, 07:15:47 pm
209.วัดบูรพาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองสุรินทร์
จังหวัด : สุรินทร์
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2400
พิกัด : 14.88436, 103.49334

**ิเปิดตลอด

วัดบูรพาราม สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2400 สมัยรัตนโกสินทร์ โดยพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง(เชียงปุม) เมื่อได้รับตำแหน่งจางวางเมืองปทายสมันต์ ได้ทำนุบำรุงบ้านเมืองส่งเสริมความเจริญทางด้านพระพุทธศาสนาให้เจริญควบคู่กับบ้านเมือง ได้สร้างกำแพงเมืองชั้นในและคูเมืองชั้นนอก ในกำแพงเมืองชั้นในได้สร้างวัดอยู่ใจกลางเมือง คือ วัดบูรณ์(วัดบูรพาราม) และวัดกลางสุรินทร์ ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2520

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 11, 2021, 07:18:43 pm
210.วัดมหาพุทธาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เมืองเหนือ
เขต/อำเภอ : เมืองศรีสะเกษ
จังหวัด : ศรีสะเกษ
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 15.1177, 104.32874

**ิเปิดตลอด

วัดมหาพุทธารามเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดศรีสะเกษมาช้านาน ภายในวัดมี พระวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อโต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองและเป็นที่เคารพสักการะของชาวศรีสะเกษ หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ปางมารวิชัย สูง 6.85 ม. หน้าตักกว้าง 3.50 ม. เดิมเป็นพระพุทธรูปศิลาจำหลัก สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยขอม มีอายุร่วมพันปี

วัดมหาพุทธาราม เป็นพระอารามหลวงแห่งล่าสุดของจังหวัดโดยเพิ่งจะได้รับการยกฐานะให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญเมื่อปี พ.ศ. 2555 นี้เอง

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รณยุทธ์ จิตรดอน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 11, 2021, 07:20:48 pm
210.วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เมืองใต้
เขต/อำเภอ : เมืองศรีสะเกษ
จังหวัด : ศรีสะเกษ
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ. 2310
พิกัด : 15.10792, 104.33316

**ิเปิดตลอด

วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา ในหมู่บ้านเจียงอี ไม่ปรากฏนามผู้สร้างครั้งนั้นพระยาช้างเผือกของเจ้าเอกทัศน์แตกโรงหนี เจ้าหน้าที่ติดตามจับได้ที่เชิงภูเขาดงรักษ์ และนำส่งลงมาถึงหมู่บ้านเจียงอี พระยาช้างล้มเจ็บป่วยลง ชาวบ้านซึ่งเป็นชาวส่วยจึงพูดว่า เจียงอี(เจียง แปลว่า ช้าง อี แปลว่าเจ็บหรือป่วย) เมื่อสร้างวัดก็เรียกชื่อไปตามหมู่บ้านของตน คือ "วัดเจียงอี" ในปัจจุบัน

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการสำรวจจดทะเบียนให้เป็นหลักฐานพบว่า วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม สร้างขึ้นประมาณวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2310 และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2513

ที่มา พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 11, 2021, 07:21:50 pm
211.วัดหลวงสุมังคลาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : เมืองใต้
เขต/อำเภอ : เมืองศรีสะเกษ
จังหวัด : ศรีสะเกษ
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2324 สมัยรัชกาลที่ 1
พิกัด : 15.11297, 104.33422

***เปิดตลอด

วัดหลวงสุมังคลาราม สร้างเมื่อปี พ.ศ.2324 สมัยรัชกาลที่ 1 เดิมอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขุขันธ์(ปัจจุบัน คือ เทศบาลเมืองศรีสะเกษ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ) โดยพระยาวิเศษภักดีศรีนครลำดวล(ชม) เจ้าเมืองคนที่ 2 ได้ชักชวนราษฏร ข้าราชการบริจาคทรัพย์สร้างวัดคู่เมืองศรีสะเกษ เพื่อเป็นอนุสรณ์และสิริมงคล นามว่า "วัดหลวงสุมังค์"

สมัยพระอาจารย์หลักคำโส โชติปาไล ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้ปลูกสร้างเสนาสนะและก่อสร้างพระอุโบสถเพื่อให้เป็นที่ประดิษฐาน "พระวิเศษมิ่งเมือง" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ทางราชการได้ใช้วัดศรีสุมังค์เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของเจ้าเมืองและข้าราชการ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดหลวงศรีสุมังคลาราม" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อว่า "วัดสุมังคลาราม" ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ.2524

ที่มา พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 11, 2021, 07:23:59 pm
212.วัดสุปัฏนาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองอุบลราชธานี
จังหวัด : อุบลราชธานี
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ. 2393 สร้างสมัยรัชกาลที่ 4
พิกัด : 15.22529, 104.85339

**ิเปิดตลอด

วัดสุปัฏนาราม สร้างสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมราชวงศ์(กุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานี เป็นประธานจัดหาสถานที่สร้างวัดเพื่อประกอบพิธี และศาสนพิธีสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี โดยเห็นว่าพื้นที่ระหว่างเมืองอุบลราชธานีกับบ้างบุ่งกาแซวเป็นสถานที่เหมาะบำเพ็ญศาสนกิจ อยู่ติดกับฝั่งลำน้ำมูล จึงนำความกราบบังคมทูล ทรงโปรดให้ถางพื้นที่และเริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2393 และสร้างเสร็จ พ.ศ.2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า "วัดสุปัฏนาราม" หมายถึง วัดที่มีสถานที่ตั้งเหมาะสมเป็นท่าเรือที่ดี เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้ว จึงไปอาราธนาพระอาจารย์ดี พนฺธุโล มาครองวัดสุปัฏนาราม และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน ทรัพย์ส่วนพระองค์ 10 ชั่ง(800บาท) ตั้งนิตยภัตแก่เจ้าอาวาสเดือนละ 8 บาท จัดให้มีคนทำงานประจำวัด 60 คน และเป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ต่อมาได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 11, 2021, 07:35:45 pm
213.วัดมหาวนาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองอุบลราชธานี
จังหวัด : อุบลราชธานี
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2348
พิกัด : 15.23501, 104.86327

**ิเปิดตลอด

วัดมหาวนาราม เดิมชื่อว่า "วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์" แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดป่าใหญ่" โดยพระปทุมวรราชสุริยวงศ์(ท้าวคำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรกได้ก่อสร้างเมืองอุบลราชธานีบริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูลแล้วก็ได้ก่อสร้างวัดขึ้น ที่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ตั้งชื่อว่า "วัดหลวง" เพื่อให้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลแก่ประชาชนทั่วไป (ถือว่าเป็นวัดแห่งแรกของเมืองอุบลฯ) และเห็นว่าวัดนี้ อยู่กลางใจเมืองไม่เหมาะแก่การปฏิบัติสมณธรรมวิปัสสนากรรมฐาน จึงได้แสวงหาสถานที่ใหม่ โดยพิจารณาเห็นว่าป่าดงอู่ผึ้ง ห่างจากวัดหลวงไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เส้น มีหนองน้ำ ชื่อว่า หนองสะพัง เป็นสถานที่เหมาะเป็นสำนักสงฆ์ จึงได้สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นชื่อว่า "วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์" เพื่อให้คู่กับวัดหลวงแต่ยังไม่แล้วเสร็จ พระปทุมวรราชสุริยวงศ์(ท้าวคำผง) ก็ได้ถึงแก่อนิจกรรม

ต่อมาเจ้าเมืองคนที่สอง คือ พระพรหมวรราชสุริยะวงศ์(ท้าวทิดพรหม) ได้มาก่อสร้างวิหาร อารามในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ เมื่อปี พ.ศ.2348 หลังจากนั้นอีก 2 ปี(พ.ศ.2350) ได้ยกฐานะเป็นวัดและให้ถือเป็นวัดประจำเจ้าเมืองคนที่สองด้วย ใช้ชื่อว่า "วัดป่าหลวงมณีโชติ) แต่ชาวบ้านเรียกว่า "วัดหนองตะพัง" หรือหนองสระพัง ตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียง(มีหลักฐานการสร้างวัดอยู่ที่ศิลาจารึก ซึ่งตั้งอยู่ข้างหลัง ด้านซ้ายของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปง ระบุปีที่สร้างวัดนี้ ตรงกับ พ.ศ.2350) โดยมี "พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา" เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และเป็นผู้สร้างพระพุทธรูปพระอินแปง หรือ พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดมหาวันหรือวัดป่าใหญ่" และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดมหาวนาราม" เมื่อปี พ.ศ.2484 ได้รับการยกฐานนะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2521

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on ธันวาคม 11, 2021, 07:36:57 pm
214.วัดศรีอุบลรัตนาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองอุบลราชธานี
จังหวัด : อุบลราชธานี
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2398
พิกัด : 15.22749, 104.85625

**ิเปิดตลอด

วัดศรีอุบลรัตนาราม เดิมชื่อ "วัดศรีทอง" เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุบลฯ คือ "พระแก้วบุษราคัม" เป็นพระพุทธรูปปฏิมากรปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน ซึ่งแกะสลักจากแก้วบุษราคัม(แก้วมณีสีเหลือง) มีพระอุโบสถที่สร้างตามแบบพระอุโบสถวัดเบจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ

วัดศรีอุบลรัตนารามสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2398 ตรงกับ ร.ศ.74 เป็นปีที่ 5 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรีโดยเป็นวัดธรรมยุต แห่งที่ 2 ของภาคอีสาน ต่อจากวัดสุปัฏนารามวรวิหาร

ที่มา : เอกสารแจกในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 27, 2022, 05:18:52 pm
215.วัดหิรัญรูจี

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : ***
แขวง/ตำบล : หิรัญรูจี
เขต/อำเภอ : ธนบุรี
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ.ที่สร้าง : -

**ิทำวัตรเย็น 16.00 น.

เดิมชื่อว่า "วัดน้อย" สร้างขึ้นสมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย โดยเจ้าขรัวเงิน พระชนกของสมเด็จพระศรีสุรเยนทรามาตย์พระชนนีในรัชกาลที่ 4

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 วัดน้อยได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ แล้วยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดหิรัญรูจี"

Wat Hiranruchi
Wat Hiranruchi is a third class royal monastery of Worawihan type. Originally named Wat Noi, it was built at the end of Thonburi period, by granfather of King Rama IV.

The temple was renovated in the reign of King Rama IV, and was then upgraded to be a royal monastery. The King renamed it Wat Hirantuchi.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2022, 03:24:44 pm
215.วัดชลธาราสิงเห

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เจ๊ะเห
เขต/อำเภอ : ตากใบ
จังหวัด : นราธิวาส
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ. 2403 ปลายรัชกาลที่ 4
พิกัด : 6.2624, 102.0498

**ิขอให้เจ้าอาวาสเปิดให้ เป็นวัดท่องเที่ยว

วัดชลธาราสิงเห(วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย) สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 วัดแห่งนี้ สร้างขึ้นคู่กับชุมชนชาวพุทธในอำเภอตากใบ เดิมชื่อว่า "วัดท่าพรุ" บางคนเรียกว่า "วัดเจ๊ะเห" ในปี พ.ศ.2403 พระครูโอภาสพุทธคุณ(พุด) ได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ ต่อมาในสมัยที่มหาอำนาจจากยุโรปตะวันตกเข้ามาครองครองดินแดนต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัดชลธาราสิงเห ได้มีบทบาทเป็นหลักแสดงอาณาเขตของแผ่นดินสยามในปี พ.ศ. 2452 จนได้ชื่อว่า "วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย" ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงในปี พ.ศ. 2543

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

พระครูโอภาสพุทธคุณ ได้ขอที่ดินจากพระยารัฐกลันตัน เพื่อสร้างวัดนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2403 ปลายรัชกาลที่ 4 วัดนี้มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับดินแดนตากใบ ขณะแบ่งแยกดินแดนระหว่างประเทศสยามกับประเทศมลายู ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ฝ่ายไทยได้ยกเอาวัดนี้เป็นข้อต่อรองการแบ่งดินแดน พ.ศ. 2452 จนอังกฤษยินยอมให้ใช้แม่น้ำตากใบและแม่น้ำสุไงโกลก เป็นเส้นแบ่งเขตแดน วัดนี้จึงได้สมญานามหนึ่งว่า "วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย"  สำหรับวิหาร พระอุโบสถและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ภายในวัดสร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ในวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธประวัติ ที่สอดแทรกด้วยภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยนั้น

ที่มา : ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2022, 03:31:49 pm
216.วัดชัยมงคล

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บ่อยาง
เขต/อำเภอ : เมืองสงขลา
จังหวัด : สงขลา
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 7.19839, 100.59659

***ขอให้พระเปิดให้
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2022, 03:38:27 pm
217.วัดโพธิ์ปฐมาวาส

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บ่อยาง
เขต/อำเภอ : เมืองสงขลา
จังหวัด : สงขลา
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 7.19247, 100.59362

***ขอให้พระเปิดให้
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2022, 03:51:41 pm
218.วัดมัชฌิมาวาส

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : บ่อยาง
เขต/อำเภอ : เมืองสงขลา
จังหวัด : สงขลา
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 7.18721, 100.59911

***ขอให้พระเปิดให้

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2022, 03:57:46 pm
219.วัดโคกสมานคุณ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : หาดใหญ่
เขต/อำเภอ : หาดใหญ่
จังหวัด : สงขลา
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 7.00936, 100.46394

***ขอให้พระเปิดให้

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2022, 04:02:00 pm
220.วัดในวัง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : นาทวี
เขต/อำเภอ : นาทวี
จังหวัด : สงขลา
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 6.73935, 100.69384

***ขอให้พระเปิดให้

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2022, 04:08:00 pm
221.วัดคูหาสวรรค์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : คูหาสวรรค์
เขต/อำเภอ : เมืองพัทลุง
จังหวัด : พัทลุง   
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 7.62057, 100.08105

***ขอให้พระเปิดให้


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2022, 04:18:14 pm
222.วัดกะพังสุรินทร์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ทับเที่ยง
เขต/อำเภอ : เมืองตรัง
จังหวัด : ตรัง
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 7.57166, 99.62483

***ขอให้พระเปิดให้

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2022, 04:24:53 pm
223.วัดแก้วโกรวาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ปากน้ำ
เขต/อำเภอ : เมืองกระบี่   
จังหวัด : กระบี่
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 8.06219, 98.91345

***วัดท่องเที่ยวเปิดตลอด


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2022, 04:28:08 pm
224.วัดประชุมโยธี   

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ท้ายช้าง
เขต/อำเภอ : เมืองพังงา
จังหวัด : พังงา
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 8.46875, 98.5308

***ขอให้พระเปิดให้

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2022, 04:31:31 pm
225.วัดมงคลนิมิตร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ตลาดใหญ่
เขต/อำเภอ : เมืองภูเก็ต
จังหวัด : ภูเก็ต
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 7.88659, 98.38926

***ขอให้พระเปิดให้

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2022, 04:37:02 pm
226.วัดมะนาวหวาน

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ช้างกลาง
เขต/อำเภอ : ช้างกลาง
จังหวัด : นครศรีธรรมราช
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 8.34242, 99.61716

***ขอให้พระเปิดให้

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2022, 04:42:00 pm
227.วัดท่าโพธิ์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ท่าวัง
เขต/อำเภอ : เมืองนครศรีธรรมราช   
จังหวัด : นครศรีธรรมราช
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 8.44675, 99.96464

***ขอให้พระเปิดให้
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 16, 2022, 04:49:40 pm
228.วัดพระมหาธาตุ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด : วรมหาวิหาร   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองนครศรีธรรมราช   
จังหวัด : นครศรีธรรมราช
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.1098
พิกัด : 8.41126, 99.96613

***ขอให้พระเปิดให้

วัดพระมหาธาตุ จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชสร้างโดยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชในปี พ.ศ.1098 เพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นวัดที่กษัตริย์ทรงสร้างขึ้นในระยะใกล้เคียงกับการสร้างอาณาจักรศรีวิชัย เดิมไม่มีพระภิกษุจำพรรษา เพราะเป็นเขตพุทธาวาส การบำรุงรักษาโบราณสถานภายในวัดพระมหาธาตุ เจ้าผู้ครองนครร่วมกับพระเถระช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์เป็นครั้งคราว

สมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้นำทองแดงหล่อปิดทอง ยอดพระบรมธาตุและสร้างพระระเบียงโดยรอบ ทั้งหมด 165 ห้อง พระพุทธรูป 165 องค์ สร้างกำแพง 4 ด้าน สร้างวิหารสามจอม และพระรูปพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

สมัยธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณะวิหารทับเกษตร วิหารหลวง และศาลา กุฏิ ในพระอาราม ถมทรายเทปูน รอบพระบรมธาตุเจดีย์ ยกพื้นสูง เรียกกันว่า "ทางเดินพระเจ้าตากสิน"

สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2437-2441 โดยพระครูเทพมุนีศรีสุวรรณถูปฎมาภิบาล(ปาน) และต่อมาก็ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง

สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองนครศรีธรรมราช ทรงพระราชดำริว่าสมควรให้พระสงฆ์มาดูแลวัดพระบรมธาตุ จึงรับสั่งให้สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ได้นิมนต์พระครูวินัยธร(นุ่น) ให้มาปกครองวัด จึงมีพระภิกษุอยู่จำพรรษามาถึงทุกวันนี้ ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2458

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 05:16:14 pm
229.วัดพุทไธศวรรย์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : -
แขวง/ตำบล : สำเภาล่ม
เขต/อำเภอ : พระนครศรีอยุธยา   
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.1896
พิกัด : 14.33952, 100.55823

***เปิดตลอด

วัดพุทไธศวรรย์ อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับพระนครด้านใต้ สร้างขึ้นในบริเวณที่ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอู่ทองอพยพจากเมืองอู่ทองมาตั้งอยู่ก่อนที่จะสร้างกรุงศรีอยุธยาที่ตรงนี้เรียกว่า "เวียงเหล็ก" หรือ "เวียงเล็ก" ครั้งเมื่อสร้างกรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ.1896 สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงโปรดให้สร้างวัดพุทไธศวรรย์ขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกตรงที่ๆ พระองค์เสด็จมาตั้งมั่นอยู่ที่เดิม ในปัจจุบันยังเหลือซากโบราณสถานเหลืออยู่หลายอย่างเช่น ปรางค์องค์ใหญ่ พระอุโบสถ พระวิหาร และวิหารพระนอน และตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งสร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังมีปรากฏอยู่ที่วัดนี้อีกด้วย

ที่ผนังตำหนักสมเด็จฯ มีภาพเขียนเรื่องทศชาติชาดก กับเรื่องสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ไปนมัสการพระพุทธรูปที่ลังกาทวีป ภาพเหล่านี้ฝีมืองามมากแต่น่าเสียดายที่ลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว ที่มุขเด็จพระปรางค์องค์ใหญ่มีรูปพระเจ้าอู่ทอง รูปพระเจ้าอู่ทองนี้เดิมทำเป็นเทวรูปในรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ.2327 พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเทพพลภักดิ์ ซึ่งบัญชาการกรมพระคชบาลเสด็จออกไปซ่อมเพนียดที่นครศรีอยุธยาทรงพบเข้า จึงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดให้เชิญเทวรูปนั้น ลงมากรุงเทพฯ แล้วโปรดให้หล่อแปลงใหม่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหุ้มเงินทั้งองค์ และโปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ หอพระเทพบิดร ส่วนรูปที่เรียกกันว่า "พระเจ้าอู่ทอง" ในปัจจุบันเป็นของหล่อขึ้นใหม่แทนของเดิมที่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องยืนตรงมุขข้างปรางค์ไม่ได้ตั้งอยู่ ณ ที่เดิม วัดนี้ได้ปฏิสังขรณ์ยอดปรางค์ครั้งหนึ่งในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2441

ที่มา : ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 06:13:14 pm
230.วัดมณีสถิตย์กปิฏฐาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : อุทัยใหม่
เขต/อำเภอ : เมืองอุทัยธานี
จังหวัด : อุทัยธานี
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 15.38349, 100.02432

***ขอให้หลวงพี่เปิดให้

วัดมณีสถิตกปิฏฐารามสร้างเมื่อ พ.ศ. 2431 เดิมมีชื่อว่า "วัดมณีธุดงสงฆมูลกาวาส" สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสสกลมหาสังฆปริณายก ประทานนามว่า "วัดทุ่งแก้ว" เมื่อ พ.ศ. 2456

ต่อมาคณะสงฆ์ได้รวมวัดทุ่งแก้วกับวัดขวิด (วัดเก่าแก่สร้างมานานกว่า ๒๐๐ ปี อยู่ใจกลางตลาดริมแม่น้ำสะแกกรัง) เข้าเป็นวัดเดียวกัน สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุพระนคร และเป็นเจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์ ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดมณีสถิตกปิฏฐาราม" เมื่อ พ.ศ. 2481 เป็นต้นมา

สมเด็จพระวันรัตได้กล่าวถึงประวัติวัดไว้ว่า ที่ตั้งวัดเดิมเป็นป่าไผ่กับทุ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ทุ่งแก้ว" พระอาจารย์แย้ม วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) พระนครได้จาริกธุดงค์มาพัก ชาวบ้านสะแกกรังเคารพนับถือและปฏิบัติกัมมัฏฐานกันมากจึงช่วยกันสร้างศาลาไม้ให้ท่านพักปฏิบัติธรรม ท่านเห็นเป็นสถานที่เหมาะได้จัดสร้างวัดขึ้น โดยขุดสระเป็นรูปสี่เหลี่ยมเรียกว่าสระน้ำมนต์ และสร้างศาลาเล็ก ๆ 4 หลังบริเวณมุมสระน้ำนั้น ต่อมาได้มีการสร้างอาคารเสนาสนะขึ้นจนมั่นคงถาวร ได้สร้างพระเถระสำคัญมากมายหลายรูป จนถึงได้ดำรงตำแหน่งสูงคือเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เป็นวัดที่มีสำนักสอนหนังสือขอมหนังสือไทย ตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี เจริญรุ่งเรืองมากจนได้รับตราสนามหลวงพิเศษจากทางคณะสงฆ์ (สำนักสอบสนามหลวงสาขาจังหวัดแรกในภาคเหนือเมื่อ พ.ศ. 2457) ได้จัดการศึกษาอบรมพระอภิธรรมและวิปัสสนากัมมัฏฐานตลอดมา

เคยจัดตั้งโรงเรียนเชลยศักดิ์ (โรงเรียนราษฎร์) สอนหนังสือตามที่ราชการให้วัดช่วยจัด ต่อมาได้ตั้งเป็นโรงเรียนประชาบาล ปัจจุบันเป็นโรงเรียนเทศบาลวัดมณีสถิต

วัดมณีสถิตกปิฏฐารามได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงใน พ.ศ. 2436

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย, สมบัติ จำปาเงิน

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 07:29:22 pm
231.วัดนครสวรรค์   

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ปากน้ำโพ
เขต/อำเภอ : เมืองนครสวรรค์
จังหวัด : นครสวรรค์
พ.ศ.ที่สร้าง : สมัยกรุงศรีอยุธยารัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2(เจ้าสามพระยา) ราว พ.ศ. 1972
พิกัด : 15.70144, 100.13531

***เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

วัดนครสวรรค์ เป็นวัดโบราณ สมัยกรุงศรีอยุธยารัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2(เจ้าสามพระยา) ราว พ.ศ. 1972 เดิมเรียกว่า "วัดหัวเมือง" และมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "วัดโพธิลังการาม" เนื่องจากมีผู้นำต้นโพธิ์จากประเทศศรีลังกามาปลูกที่หน้าวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยา และมีเจดีย์ใหญ่อยู่ใกล้ต้นโพธิ์นั้น ปัจจุบันทั้งเจดีย์และต้นโพธิ์ไม่มีให้เห็นแล้ว ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสนาสนะสงฆ์ชำรุดทรุดโทรม ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง คณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งหลวงพ่อเคลือบซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองกระโดน อำเภอปากน้ำโพธิ์ มาเป็นเจ้าอาวาส ได้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ สร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดนครสวรรค์" และได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ.2528

ที่มา พระอารามหลวงเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 07:35:25 pm
232.วัดโพธาราม   

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ปากน้ำโพ
เขต/อำเภอ : เมืองนครสวรรค์
จังหวัด : นครสวรรค์
พ.ศ.ที่สร้าง : ไม่ปรากฏหลักฐาน
พิกัด : 15.70456, 100.14059

***เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

วัดโพธาราม สร้างสมัยรัตนโกสินทร์ อยู่ริมแม่น้ำปิง หมู่กุฏิสงฆ์อยู่ทางทิศตะวันออก บริเวณที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขปัจจุบัน ได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ.2420 วัดได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยลำดับ ต่อมาวัดโพธารามประสบอัคคีภัยพร้อมตลาดปากน้ำโพ เหลือแต่ที่ดิน พระครูธรรมบาลได้วางโครงการพัฒนาวัดขึ้นใหม่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสโปรดให้เข้าเฝ้า ทรงพอพระทัยโครงการและมอบให้ดำเนินการสร้างวัด

วัดโพธาราม ได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์มีภิกษุ สามเณรจำนวนมาก ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2506

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 07:40:46 pm
233.วัดวรนาถบรรพต   

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ปากน้ำโพ
เขต/อำเภอ : เมืองนครสวรรค์
จังหวัด : นครสวรรค์
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.1962
พิกัด : 15.71317, 100.13775

***เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

วัดวรนาถบรรพตสร้างเมื่อ พ.ศ.1962 สมัยสุโขทัยซึ่งมาขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาแล้ว(กษัตริย์องค์สุดท้ายของสุโขทัยคือ พญาไสยลือไทย ครองราชย์ พ.ศ.1919-1920 ต่อจากนั้นก็ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ได้ปกครองกันเองมาระยะหนึ่ง) ผู้สร้างวัดคือ พญาบาลเมือง สร้างอุทิศพญารามผู้น้องซึ่งได้สิ้นพระชนม์ระหว่างทำศึกกับหัวเมืองฝ่ายใต้ ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึก 2 หลัก ซึ่งกรมศิลปากรได้ไปจากเขากบใกล้รอยพระพุทธบาทจำลอง และได้จากเมืองนครชุมจังหวัดกำแพงเพชร เดิมชื่อวัดเขากบ หรือ วัดกบ เพราะตั้งอยู่ที่เชิงเขากบ หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวัดปากพระบาง

วัดนี้เคยกลายสภาพเป็นวัดร้างมาระยะหนึ่ง ถึง พ.ศ.2415 มีพระอธิการทองจากอุตรดิตถ์ มาดำเนินการบูรณะวัดขึ้นใหม่จนเจริญรุ่งเรืองได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "วัดวรนาถบรรพต" ในสมัยที่เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต(เฮง เขมจารี) อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุและเจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์สมัยนั้นได้มาแวะเยี่ยมวัดนี้

วัดวรนาถบรรพตได้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเมื่อ พ.ศ.2511 ได้เป็นวัดพัฒนาดีเด่นใน พ.ศ.2513 และได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ.2534

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 07:48:24 pm
234.วัดตากฟ้า

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ตากฟ้า
เขต/อำเภอ : ตากฟ้า
จังหวัด : นครสวรรค์
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 15.3485, 100.4975

***หลวงพี่เปิดให้

วัดตากฟ้า เดิมเรียกว่า "วัดตากนิยมธรรม" โดยนำเอาชื่อท้ายของพระครูนิยมธรรม ผู้ให้ความอุปถัมภ์วัดมาต่อท้าย วัดตากฟ้า ได้รับการประกาศตั้งให้เป็นวัด เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2510 และได้รับประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 84 ตอน 75 ลงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2510

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา โดยมีเขตวิมุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร รวมอุปจารของวัดคิดเป็นเนื้อที่ 800 ตารางวา ผูกพัทธสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2549

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


หลวงพ่อตากฟ้า แต่เดิมนั้นชื่อ "หลวงพ่อหิน" เป็นพระพุทธรูปโบราณปางมารวิชัย แกะสลักจากหินทรายทั้งก้อน เป็นศิลปะในสกุลช่างอยุธยาตอนกลาง ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 โดยประมาณ

แต่เดิมนั้นเชื่อว่าอยู่ที่เมืองเก่าเวสาลี ในอำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาได้ไปประดิษฐาน ณ วัดหินปักทุ่ง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ในระหว่างปี 2500-2505 ตลอดเวลา 4 ปี ที่อยู่เหตุการณ์ฝนตกมาก หมู่บ้านหินปักทุ่งเกิดน้ำท่วมติดต่อกันถึง 4 ปี เจ้าอาวาสวัดหินปักทุ่งในขณะนั้นสงสารชาวบ้านที่ทำนาไม่ได้ข้าว ขณะเดียวกันที่ตากฟ้านั้นฝนแล้ง ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารอะไรไม่ได้ ชาวตากฟ้าได้ยินข่าวว่ามีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทำให้ฝนตกได้ จึงได้จัดส่งตัวแทนนำโดยพระขุนทอง อริญชโย(เคืองสาร) ผู้ดูแลสำนักสงฆ์ตากฟ้าขณะนั้น พร้อมด้วยนายสิงห์ สมศรี, นายจัด กลิ่นบุญ, นายเชิญ ประทุมวัน และคณะร่วมเดินทางไปยังวัดหินปักทุ่ง เข้าพบท่านเจ้าอาวาสวัดหินปักทุ่ง แจ้งความประสงค์ให้ท่านทราบ ท่านก็เมตตามอบพระพุทธรูปองค์นี้ใช้กับชาวอำเภอตากฟ้า

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาหลวงพ่อตากฟ้าก็ได้มาประดิษฐานอยู่ ณ วัดตากฟ้า พ.ศ. 2504-2534 หลวงพ่อตากฟ้าจะตั้งประดิษฐานอยู่บริเวณหน้าอาคารกองอำนวยการเดิม ประชาชนที่เคารพศรัทธา ก็จะนำพวงมาลัย ดอกไม้ ธูปเทียน มากราบไหว้บูชาอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนากันอยู่เป็นประจำ

ระหว่างปี พ.ศ. 2535-2539 นายเฮง เฉลิมสุข และครอบครัว ได้สร้างวิหารถวายหลวงพ่อตากฟ้า 1 หลัง บริเวณระฆังใหญ่ เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยก็ได้นิมนต์ขึ้นไปประดิษฐานอยู่บนวิหารนั้น ให้เป็นที่กราบไหว้บูชา

พ.ศ. 2539 พระศรีสุทธิ(ริด ริตเวที ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดตากฟ้าได้ทำการบูรณะหลวงพ่อตากฟ้า ด้วยการพอกปูนหุ้มองค์เดิมพร้อมทั้งใส่พระเกตุมาลารัศมี ต่อมาได้ก่อสร้างพระมณฑปเฉลิมพระเกียรติ 50 ปี ทรงครองสิริราชสมบัติ จึงได้อาราธนาขึ้นประดิษฐาน และทำพิธีบวงสรวงเปลี่ยนชื่อเป็นหลวงพ่อตากฟ้า ให้เป็นอุดมมงคลสมกับเป็นพระของประชาชนชาวตากฟ้า ประชาชนได้สักการบูชาตลอดมา

พ.ศ. 2559 พระเทพปัญญาภรณ์(ริด ริตเวที ป.ธ.9)  เจ้าอาวาสวัดตากฟ้าพระอารามหลวง ได้สร้างพระมหาเจดีย์บูชาพระคุณพ่อ และได้อาราธนาหลวงพ่อตากฟ้าประดิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์บูชาพระคุณพ่อ ให้ประชาชนได้สักการบูชาได้สะดวกยิ่งขึ้น

ที่มา : ป้ายในวัด

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 07:50:23 pm
235.วัดพระบรมธาตุ(จังหวัดกำแพงเพชร)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : นครชุม
เขต/อำเภอ : เมืองกำแพงเพชร
จังหวัด : กำแพงเพชร
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 16.47888, 99.51015

***หลวงพี่เปิดให้

วัดพระบรมธาตุ สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ.1858 สมัยกรุงสุโขทัยตามประวัติกล่าวว่า พระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยโปรดให้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ปรากฏตามหลักศิลาจารึกหลักที่ 3 ต่อมาขาดผู้ดูแลรักษาได้กลายเป็นวัดร้างอยู่กลางป่าจนถึงสมัยพระยากำแพงเพชร(น้อย) เป็นผู้ว่าราชการเมือง ได้ค้นพบพระเจดีย์ จึงร่วมมือกับราษฎรทำการบูรณปฏิสังขรณ์ ภายหลังพระยากำแพงเพชร(อ่อง) ผู้ว่าราชการเมืองในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีเศรษฐีชาวกระเหรี่ยงนามว่า พระยาตะก่า ขออนุญาตทางราชการทำการบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ได้นำช่างมาจากพม่าทำการรื้อถอนพระเจดีย์ 3 พระองค์ แล้วทำการก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นองค์เดียว รูปทรงพม่าแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2419 ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ในพระเจดีย์เก่าองค์กลางซึ่งบรรจุในภาชนะสำเภาเงินมีพระธาตุอยู่ 9 องค์ มาบรรจุในพระเจดีย์ใหม่ และต่อมาในปี พ.ศ. 2449 หลานของพระยาตะก่า ได้นำยอดฉัตรจากเมืองย่างกุ้ง นำมาประกอบไว้บนยอดพระธาตุ ดังที่ปรากฎเท่าทุกวันนี้

วัดพระบรมธาตุได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2509

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 07:51:34 pm
236.วัดนาควัชรโสภณ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองกำแพงเพชร
จังหวัด : กำแพงเพชร
พ.ศ.ที่สร้าง : สมัยสุโขทัย
พิกัด : 16.49297, 99.52283

***เปิดตลอด

เดิมชาวบ้านเรียกว่า "วัดช้าง" เป็นวัดฝ่ายอรัญญิก(อยู่ป่า) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือนอกคูเมือง(กำแพงเพชร) สร้างในสมัยสุโขทัยตอนปลายระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-21 ตามลักษณะสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบสุโขทัย ครั้งหมดสมัยสุโขทัย วัดนี้ได้ถูกทอดทิ้งให้ร้างเป็นเวลาช้านาน คงเหลือร่องรอยที่เป็นกลุ่มโบราณสถานคือเจดีย์ วิหาร พระอุโบสถ กำแพงวัด มีคูน้ำล้อมรอบ สิ่งก่อสร้างดังกล่าวได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ

พ.ศ. 2511 พระครูนาควัชราธร ครั้งยังเป็นหลวงพ่อวิชัยปสนฺโน ได้จาริกมาปักกลดจำพรรษา มีประชาชนเลื่อมใสในการปฏิบัติธรรมและการเทศนาอบม ได้ร่วมใจกันบริจาคที่ดินร่วมจัดตั้งเป็นวัดขึ้น พ.ศ. 2512 ได้สร้างอุโบสถ พ.ศ.2513 สมเด็จพระสังฆราช(วัดมกุฏกษัตริยาราม) เสด็จมาเป็นพระธานยกช่อฟ้าอุโบสถ ประกาศนามวัดใหม่ว่า "วัดนาควัชรโสภณ"

ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2515 เป็นต้นมาได้มีการก่อสร้างเสนาสนะถาวรวัตถุมากมาย โดยได้รับความร่วมมือจากประชาชนและพระเถระชั้นผู้ใหญ่จากวัดปทุมวนาราม และวัดบวรนิเวศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ทรงอุปถัมภ์ทำให้วัดเจริญอย่างรวดเร็ว จนได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงในปี พ.ศ. 2537

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 07:52:30 pm
237.วัดคูยาง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองกำแพงเพชร
จังหวัด : กำแพงเพชร
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 16.47726, 99.52942


***หลวงพ่อเปิดให้

วัดคูยางเป็นอีกวัดที่เพิ่งจะได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อกลางปี พ.ศ. 2555 วัดคูยางเป็นวัดโบราณเก่าแก่ มีรากฐานอุโบสถและแท่นพระประธาน ซึ่งก่อด้วยศิลาแลง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชื่อวัดอะไร ใครเป็นผู้สร้าง และสร้างขึ้นในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 400 ปี ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้มีผู้ก่อสร้างวัดขึ้นใหม่บริเวณที่ตั้งเดิม มีเนื้อที่ประมาณ 28 ไร่เศษ

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมกาท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รณยุทธ์ จิตรดอน

วัดคูยาง เหตุที่เรียกว่าวัดคูยางเพราะ มีชาวยาง (กะเหรี่ยง) มาบูรณะวัดโบราณแห่งนี้ ชาวยางขุดคูน้ำล้อมรอบวัด จึงเรียกกันว่าวัดคูยาง เป็นพระอารามหลวง สภาพเดิมเป็นวัดเก่าแก่ ไม่ปรากฎหลักฐานอะไร แต่สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 400 ปี ภายในพระอุโบสถ มีพระพุทธรูปประทาน มีนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ว่า “พระพุทธวชิรปราการ”มีความหมายว่า พระพุทธรูปประจำเมืองกำแพงเพชร นอกจากนี้ยังมี หอไตร ซึ่งตั้งอยู่กลางน้ำ ยกใต้ถุนสูงเป็นภูมิปัญญาของชาวพื้นเมืองที่จะรักษาพระไตรปิฎกไว้ มีเนื้อหากล่าวถึงหอไตรนี้ในพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ที่มา : https://www.kppmu.go.th/travel/7#:~:text=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%20%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88,%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 08:48:46 pm
238.วัดมณีบรรพต

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ระแหง
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : ตาก
พ.ศ.ที่สร้าง : สร้างขึ้นสมัยอยุธยา
พิกัด : 16.87434, 99.1292

***หลวงพี่เปิดให้

วัดมณีบรรพต เดิมเรียกว่า "วัดเขาแก้ว" ตามลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งเป็นวัดภูเขาและมีหินแก้วสีขาวหรือหินเขี้ยวหนุมานเป็นจำนวนมาก สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นสมัยอยุธยาดังมีความปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธรูปที่วัดเขาแก้ว และได้ตรัสกับพระภิกษุที่วัดว่า พระองค์ได้เคยกระทำสัตยาธิษฐานเสี่ยงพระบารมีที่วัดนี้เข้าใจว่าวัดเขาแก้วคงเป็นวัดร้างในช่วงระยะเวลาหนึ่งจนเมื่อถึงปี พ.ศ.2395 หลวงพ่อเณรหรือชาวบ้านเรียกว่า ขรัวเณร หรือ ขรัวตาเณร เป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดและปกครองวัดเป็นรูปแรก โดยฆราวาสที่สร้างและบูรณะตั้งแต่ต้น คือ ท่านเผือก เศรษฐีเจ้าของตลาดในจังหวัดสุโขทัย ได้ทำการก่อสร้างพระอุโบสถและศาลาการเปรียญขึ้น ต่อมาพระวิสุทธิสมณาจารย์(ตุ่น)ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ตลอดมาเและได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2505

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 08:50:28 pm
239.วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ(จังหวัดสุโขทัย)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด : ราชวรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ศรีสัชนาลัย
เขต/อำเภอ : ศรีสัชนาลัย
จังหวัด : สุโขทัย
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 17.42954, 99.8122


***เปิดตลอด

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดโบราณ เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าข้าศึกโจมตี ได้ถูกข้าศึกเอาไฟเผาผลาญถึง 3 ครั้ง คือ ในปี พ.ศ. 2310, พ.ศ. 2313 และ พ.ศ. 2328 จึงกลายเป็นวัดร้างตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนถึงปี พ.ศ. 2497 จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างขึ้นใหม่โดยพระมุนินทรานุวัตต์ เป็นเจ้าอาวาส

วัดนี้เดิมมีหลายชื่อ เช่น วัดพระบรมธาตุ วัดมหาธาตุ และวัดพระพุทธปรางค์ แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดพระปรางค์" หรือ "วัดพระร่วง" และเมื่อปี พ.ศ. 2497 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ" ได้รับยกฐานนะเป็นพระอารามหลวง เมื่อ ปี พ.ศ. 2501

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 08:51:50 pm
240.วัดหนองโว้ง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เมืองบางยม
เขต/อำเภอ : สวรรคโลก
จังหวัด : สุโขทัย
พ.ศ.ที่สร้าง : สร้างสมัยสุโขทัย
พิกัด : 17.20000, 99.86495

***หลวงพี่เปิดให้

วัดหนองโว้ง สร้างสมัยสุโขทัยไม่ปรากฏหลักฐานนามผู้สร้าง ภายหลังเป็นสำนักสงฆ์หรือเป็นวัดป่าสำหรับเผาศพและฝังศพ เพราะบริเวณด้านเหนือวัดประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งศาลเมืองบางยม ปัจจุบันศาลเมืองบางยมได้ถูกแม่น้ำยมเซาะพังทลาย ตามประวัติเดิม สมัยโบราณด้านหน้าวัดหันเข้าหาแม่น้ำยม เพราะเส้นทางคมนาคม ชาวมอญซึ่งมีอาชีพขายเครื่องปั่นดินเผามาขายตามลำน้ำยมและได้จอดเรือพักอาศัยในบริเวณวัด นำโอ่งมาขายในวัดเป็นจำนวนมากจนกระทั่งชาวบ้านเรียกว่า "วัดหนองโอ่ง" ต่อมาภายหลังแม่น้ำยมได้เซาะตลิ่งพังเป็นรูปเว้าโค้ง ซึ่งภาษาพื้นบ้านเรียกความเว้าโค้งว่า "โว้ง" จึงพากันเรียกชื่อวัดว่า "วัดหนองโว้ง" วัดหนองโว้ง เป็นวัดที่เจ้าเมืองบางยมอุปถัมภ์ต่อกันมาโดยตลอด

ปี พ.ศ.2533 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โปรดพระราชทานนามว่า "วัดวาปีวงการาม" ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2536

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 08:52:51 pm
241.วัดสว่างอารมณ์(จังหวัดสุโขทัย)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เมืองสวรรคโลก
เขต/อำเภอ : สวรรคโลก
จังหวัด : สุโขทัย
พ.ศ.ที่สร้าง : สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเมื่อปี พ.ศ.2328
พิกัด : 17.31272, 99.82887


***เปิดตลอด

วัดสว่างอารมณ์ สร้างขึ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเมื่อปี พ.ศ.2328 พระยาวิชิตภักดีศรีสุรสงครามรามราชแสนยาธิบดีศรีสัชนาลัยอภัยพิริยะพาหะ(ชื่อเดิม "นาค") ต้นสกุลวิชิตนาค ผู้ครองเมืองสวรรคโลก เป็นผู้มีจิตศรัทธาสร้างขึ้น โดยมอบถวายที่ดินถึง 42 ไร่ให้เป็นที่ตั้งวัดและบริจาคจวนหรือเรือพักให้เป็นเสนาสนะสงฆ์ ชาวบ้านเรียกว่า "วัดจวน"

ต่อมาได้เปลี่ยนนามวัดว่า "วัดสว่างอารมณ์" เนื่องมาจากชื่อหมู่บ้านสว่างอารมณ์ ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร หมู่บ้านนี้เป็นที่เกิดและที่อยู่เดิมของพระยาวิชิตภักดี(นาค) ก่อนมารับราชการที่เมืองสวรรคโลก จึงได้นำชื่อหมู่บ้านเดิมมาตั้งชื่อวัด ต่อมาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์และก่อสร้างเพิ่มเติมจากเจ้าเมืองสวรรคโลกคนต่อๆ มา และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2501

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 08:53:53 pm
242.วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ศรีนคร
เขต/อำเภอ : ศรีนคร
จังหวัด : สุโขทัย
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 17.34823, 99.97989


***เปิดตลอดงับประตูไว้เฉยๆ หมามันจะเข้าไป

วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม เป็นพระอารามหลวงแห่งล่าสุดของจังหวัดสุโขทัย โดยเพิ่งจะได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อกลางปี พ.ศ. 2555 นี้เอง มีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางชุมชนของชาวอำเภอศรีนคร และเป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อหล้า" ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้าน และเป็นสิ่งคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอศรีนคร (หาประวัติไม่ได้เลยตอนนี้)

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 08:55:56 pm
243.วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ(จังหวัดพิษณุโลก)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก   
ชนิด : วรมหาวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมือง   
จังหวัด : พิษณุโลก   
พ.ศ.ที่สร้าง : สมัยกรุงสุโขทัย
พิกัด : 16.82378, 100.26206


***เปิดตลอด

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นวัดโบราณ มีหลักฐานพงศาวดารยืนยันว่าพระมหาธรรมราชาลิไท(พญาลิไทย) แห่งกรุงสุโขทัยสร้าง มีหลักฐานแสดงสถานที่ซึ่งได้หล่อพระพุทธรูปสำคัญ 3 องค์ คือ พระชินสีห์ พระศาสดา และพระพุทธชินราช นั่นคือพระวิหารน้อยในระหว่างต้นพระศรีมหาโพธิ์ทั้ง 3 ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์น้อย(พระพุทธรูปน้อย) นามว่าพระเหลือกับพระสาวกทั้งสอง

พระมหากษัตริย์ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ต่อมาตามหลักฐานคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรฐ(เอกาทศรถ) สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ(บรมโกษฐ์) แห่งกรุงศรีอยุธยาพร้อมด้วยเจ้าเมืองขุนนางข้าราชบริพารรวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระวิหารรวมทั้งเสนาสนะและอื่นๆ ทั่วไปตลอดรัชกาล ต่อจากนั้นเจ้าเมืองพิษณุโลก พระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการ ประชาชน ราษฏรทุกชั้นทุกวัยมีจิตศรัทธาทำการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระวิหารรวมทั้งเสนาสนะและอื่นๆ ทั่วไปตลอดรัชกาล ต่อจากนั้นทำการบูรณปฏิสังขรณ์ก่อสร้างสิ่งต่างๆ ด้วยดีตลอดมา

ในรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะของวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก เมื่อปี พ.ศ.2458 และเป็นพระอารามหลวงแห่งเดียวในพิษณุโลก เป็นวัดสำคัญที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์งดงามเป็นที่เคารพนับถือของพี่น้องชาวไทยทั่วประเทศ

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน

เพิ่มเติม

https://mgronline.com/travel/detail/9640000081083
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 08:58:18 pm
244.วัดท่าหลวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองพิจิตร   
จังหวัด : พิจิตร   
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ. 2388 สร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พิกัด : 16.44114, 100.35175


***เปิดตลอด

วัดท่าหลวง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2388 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นมีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน มีพระนามว่า "หลวงพ่อเพชร" หล่อด้วยทองคำสำริดพุทธลักษณะงดงามมาก หน้าตักกว้าง 1.4 เมตร สูง 1.60 เมตร เดิมเรียกว่า "วัดราษฎร์ประดิษฐาราม" ต่อมาเรียก "วัดราชดิษฐาราม" และปัจจุบัน "วัดท่าหลวง" ซึ่งเป็นหมู่บ้านเดิมที่วัดนี้ตั้งอยู่ เคยเป็นชื่อตำบลและอำเภอมาก่อนด้วย ภายหลังเมื่อปี พ.ศ. 2481 อำเภอท่าหลวงได้เปลี่ยนเป็นอำเภอเมืองพิจิตร ทางราชการเคยใช้สถานที่วัดนี้ในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเป็นประจำ  วัดท่าหลวงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงเมื่อ พ.ศ.2529

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 10, 2022, 09:00:27 pm
245.วัดมงคลทับคล้อ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ทับคล้อ
เขต/อำเภอ : ทับคล้อ
จังหวัด : พิจิตร   
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 16.16724, 100.5772


***หลวงพี่เปิดให้

วัดมงคลทับคล้อ ก่อสร้างเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เท่าที่ทราบมีว่านายแพงกับนายเม้งยกที่ดินให้สร้างวัดก่อน พ.ศ.2480 ต่อมาได้ประกาศเป็นวัดใน พ.ศ.2482 วัดเจริญขึ้นเพราะได้เจ้าอาวาสที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาวัดจากวัดสำคัญในพิจิตรและกรุงเทพฯ จากวัดเล็กๆ กลายเป็นวัดใหญ่ มีความสำคัญด้านการศึกษาพระศาสนาพระปริยัติธรรม(นักธรรมและบาลี) มาตั้งแต่ พ.ศ.2488 ในนามของวัดท่ามงคล จนถึง พ.ศ. 2491 จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดมงคลทับคล้อตั้งแต่นั้นมา

วัดมงคลทับคล้อเจริญรวดเร็วมากในระยะหลัง ทั้งด้านการก่อสร้างปูชนียวัตถุ ศาสนสถาน เสนาสนะ และการศึกษาด้านปริยัติธรรมเจ้าอาวาสเป็นพระครูชั้นพิเศษ พระราชาคณะชั้นสูง(ชั้นเทพ) ซึ่งนับว่าหาได้ยากสำหรับพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญเล็กๆ ในต่างจังหวัดเช่นนี้

ในด้านสาธารณะประโยชน์ได้ช่วยให้การศึกษาแก่เยาวชน มีการจัดอบรมภาคฤดูร้อนเป็นประจำทุกปี สนับสนุนในการสร้างโรงพยาบาลจัดตั้งทุนการศึกษาของนักเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษา มีกองทุนสงเคราะห์ประชาชนที่ประสบภัยต่างๆ ได้จัดกิจกรรมอันเป็นประโยชน์อำนวยความสะดวกแก่ส่วนราชการและเอกชนที่มาขอใช้สถานที่วัดจัดประชุม อบรม และสัมมนาต่างๆ เป็นต้น

วัดมงคลทับคล้อ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงในปี พ.ศ. 2539

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 17, 2022, 07:58:33 pm
246.วัดพระธาตุดอยสุเทพ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด : ราชวรวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : สุเทพ
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ. 1929
พิกัด : 18.80498, 98.92163

***ปิดเฉพาะวันพระใหญ่ ตอนตีห้า

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคล เพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้งพร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบแล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหินแล้วก่อพระเจดีย์ สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้ จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการ สวมรองเท้าในบริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น

ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯ ให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิมเป็น กว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งใช้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำราชโอรส ได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ

ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูน ได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้งสองข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร

ระหว่างทางขึ้นไปวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ แวะสักการะอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เพื่อเป็นศิริมงคล จากนั้นพักผ่อนหย่อนใจกับธรรมชาติอันสวยงามที่น้ำตกมณฑาธารซึ่งมีความสูงถึง 9 ชั้น แวะเยี่ยชมวัดผาลาดอนุสรณ์สถานแห่งการเสี่ยงทาย สถานที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ ตามตำนานสร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพ แวะถ่ายรูปและชมทัศนียภาพอันสวยงามของเมืองเชียงใหม่จากมุมสูง ที่จุดชมวิวสูงสุด ก่อนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ

ที่มา : ป้ายในวัด


พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะทรงไทย หลังคาลด 2 ชั้น มุงกระเบื้องหน้าบันลายปูนปั้น ลงรักปิดทอง ผนังภายในมีจิตกรรมเขียนภาพเล่าประวัติพระธาตุดอยสุเทพ พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเททองหล่อเมื่อวันเพ็ญมาฆบูชา 5 มีนาคม พ.ศ. 2501

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 17, 2022, 08:52:45 pm
247.วัดพระสิงห์(จังหวัดเชียงราย)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เวียง   
เขต/อำเภอ : เมืองเชียงราย
จังหวัด : เชียงราย   
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 19.91135, 99.83052

***เปิดตลอด

วัดพระสิงห์ เป็นพระอารามหลวงแต่โบราณกาล และเป็นศาสนสถานอันเป็นศูนย์รวมใจของชาวเชียงรายอย่างยาวนาน มูลเหตุที่ได้ชื่อว่าวัดพระสิงห์ นั้นเชื่อกันว่า น่าจะมากจากการที่ครั้งหนึ่ง วัดนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของใทยในปัจจุบัน คือ พระพุทธสิหิงค์ หรือที่เรียกกันในชื่อสามัญว่า "พระสิงห์"

พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านนาไทย พุทธศตวรรษที่ 21 มีพุทธลักษณะสง่างาม อย่างยากที่จะหาพระพุทธรูปในสมัยเดียวกันมาทัดเทียมได้ หน้าตักกว้าง 37 ซม. สูงทั้งฐาน 66 ซม. ชนิดสำริดปิดทอง ประดิษฐานอยู่บนบุษบกภายในกุฏิเจ้าอาวาส ชาวเชียงรายและประเทศใกล้เคียงในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ถือว่า พระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปที่ทรงความสำคัญ และทรงความศักดิ์สิทธิ์มีมหิทธานุภาพสามารถยังความสงบร่มเย็น และเป็นมิ่งขวัญของชาวประชามาทุกยุคทุกสมัย จนกล่าวกันว่า พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ คือ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเชียงราย และประเทศใกล้เคียง

ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุที่สำคัญของวัดได้แก่

พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธปฏิมาศิลปะล้านนาไทย พุทธศตวรรษที่ 21 ปางมารวิชัย ชนิดสำริดปิดทอง หน้าตักกว้าง 204 ซม. สูงทั้งฐาน 284 ซม. ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถมีพุทธลักษณะสง่างาม ประณีต

บานประตูหลวง ทำด้วยไม้แกะสลักจิตกรรมอย่างประณีตวิจิตรบรรจง เป็นปริศนาธรรมระดับปรมัตถ์ เป็นเรื่องราวของ ดิน น้ำ ลม ไฟ อันหมายถึง ธาตุทั้ง 4 ที่มีอยู่ในร่างกายคนเราทุกคน

พระเจดีย์ เป็นพุทธศิลป์แบบล้านนาไทย สร้างในสมัยเดียวกันกับพระอุโบสถ ได้รับการบูรณะปฏิสังขรหลายครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2492 ครั้งหนึ่งโดยท่านพระครูปสิกขาลังการ เจ้าอาวาสในขณะนั้น และอีกหลายครั้งในสมัยต่อมาโดยท่านเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

พระพุทธบาทจำลองบนแผ่นศิลาทราย มีขนาดกว้าง 60 ซม. ยาว 150 ซม. มีจารึกอักษรขอมโบราณว่า "กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพยากตา ธมฺมา"

หอระฆัง เป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัยแบบล้านนาไทยประยุกต์ มีระฆังเป็นแบบใบระกาหล่อด้วยทองเหลืองทั้งแท่ง ซึ่งหาดูได้ยากมากในปัจจุบัน ขนาดความสูง 25 นิ้ว ยาว 39 นิ้ว หนา 1 นิ้ว ขุดพบบริเวณวัดพระสิงห์เมื่อ พ.ศ. 2438 ปัจจุบันชั้นล่างใช้เป็นหอกลอง

ต้นพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา นำมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 19 กรกฏาคม พ.ศ. 2506 และปลูกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2506 ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นไม้มงคลเนื่องในพระพุทธศาสนา ในฐานที่เป็นต้นไม้ซึ่งพระโพธิสัตว์ลาดบัลลังก์ประทับในคืนก่อนตรัสรู้

ต้นสาละลังกา เป็นไม้มงคลเนื่องในพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ คือ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับสำเร็จสีหไสยาสน์เป็นครั้งสุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานสมเด็จพระพุทธชินวงศ์นำมาจากประเทศศรีลังกา และมาปลูกไว้ที่วัดพระสิงห์เมื่อ พ.ศ. 2512

ที่มา : ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 17, 2022, 08:53:39 pm
248.วัดเจ็ดยอด(จังหวัดเชียงราย)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เวียง   
เขต/อำเภอ : เมืองเชียงราย
จังหวัด : เชียงราย   
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 19.90362, 99.83097

***เปิดตลอด

วัดเจ็ดยอดเป็นวัดเก่าแก่ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จากซากวัดโบราณ ซึ่งไม่มีหลักฐานทั้งชื่อวัด และผู้สร้าง วันที่สร้าง แต่เชื่อกันว่าสร้างในสมัยอาณาจักรล้านนา เพราะในบริเวณใกล้เคียงมีวัดที่สร้างในสมัยพระเจ้าเม็งราย เช่น วัดพระแก้ว วัดพระสิงห์ เป็นต้น

การสร้างวัดและพระเจดีย์ในวัดเจ็ดยอดสร้างตามวัดเจ็ดยอดที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยพระธาตุเจ็ดยอด เป็นพระเจดีย์เจ็ดองค์อยู่บนฐานเดียว ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว พระเจดีย์องค์ใหญ่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยพระเจดีย์ขนาดเล็กอีก 6 องค์ พระเจดีย์ทั้งหมดเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ทาสีขาว ตั้งแต่ช่วงบัวปากระฆังขึ้นไปปิดทอง ส่วนยอดปักฉัตรทองฉลุลายที่ฐานพระเจดีย์องค์ใหญ่มีสิงห์ปูนปั้นเฝ้าอยู่ทั้งสองข้าง ด้านหน้าพระธาตุเจ็ดยอดเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ หรือ พระวิหารหลวง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ตกแต่งอย่างวิจิตรสวยงาม บานประตูเขียนสีลายเทพพนมยืนบนดอกบัว ภายในมี พระประธาน และพระพุทธรูปหน้าพระประธานอีก 6 องค์ พร้อมทั้งอัครสาวกซ้ายขวา

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน

สาเหตุที่เรียกว่า "วัดเจ็ดยอด" เป็นเพราะพระครูบาคันธะ คนฺธวโส ได้ออกแบบมาจากเชียงใหม่ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า บริเวณวัดเจ็ดยอดมีวัดร้างถึง 7 วัด พระครูบาคันธะ คนฺวโส ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง จึงเอามารวมกันเป็นวัดเจ็ดยอดวัดเดียว ซึ่งเดิมวัดสร้างเมื่อ วัน เดือน ปี ใดไม่ปรากฏหลักฐานเพราะไม่มีหลักฐานอ้างอิง ตามประวัติศาสตร์ พ่อขุนเม็งรายสร้างเมืองเชียงรายเมื่อปี พ.ศ. 1805 มีวัดดอยทอง วัดงำเมือง วัดพระแก้ว วัดพระสิงห์ ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากวัดเจ็ดยอดนัก ก็ล้วนแต่สร้างขึ้นเมื่อสมัยขุนเม็งรายครองเมืองเชียงราย สมัยนั้นวัดเจ็ดยอดคงเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองอีกวัดหนึ่ง ซึ่งหลักฐานยังปรากฏเป็น อุโบสถ พระเจดีย์เจ็ดยอด กำแพงวัด และอื่นๆ เป็นต้น เมื่อหยุดสมัยพ่อขุนเม็งราย บ้านเมืองทรุดโทรม พลเมืองได้กระจัดกระจาย อพยพไม่เป็นปึกแผ่น ทำให้วัดเจ็ดยอดขาดการทำนุบำรุง จนกลายเป็นวัดร้างไปด้วย ตามตำนาน แล้วคำว่าเจ็ดยอดคง หมายถึง หลักธรรมของพระพุทธเจ้า คือ อริยทรัพย์ 7 ทรัพย์ คือ คุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ

ที่มา : ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 17, 2022, 08:54:26 pm
249.วัดพระแก้ว

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เวียง   
เขต/อำเภอ : เมืองเชียงราย
จังหวัด : เชียงราย   
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 19.91175, 99.8277

***เปิดตลอด

วัดพระแก้ว เดิมชื่อว่า "ญรุกขวนาราม" ซึ่งแปลว่าวัดป่าญะ หรือป่าเยี้ยะ(ป่าไผ่ชนิดหนึ่งคล้ายไม้ไผ่สีสุก ไม่มีหนามนิยมมาใช้ทำหน้าไม้ และคันธนู) เป็นวัดสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยได้พบพระแก้วมรกต(ปัจจุบันประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสนดาราม พระบรมมหาราชวัง) หลังจากที่ฟ้าได้ผ่าองค์พระเจดีย์พังทลายลง ในปี พ.ศ.1977 มีพระพุทธรูปปูนปั้นอยู่ภายใน จึงนำมาประดิษฐานไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบางแห่งหลุดกะเทาะออกแลเห็นเนื้อแก้วสีเขียวภายใน จึงกะเทาะปูนออกทั้งองค์ พบพระพุทธรูปทำด้วยแก้วมรกต มีพุทธลักษณะงดงามมากเป็นที่เลื่องลือโจษขานกันไปทั่ว ความทราบถึงเจ้าเมือง จึงมีใบบอกไปยังพระเจ้าสามฝั่งแทนผู้ครองอาณาจักรล้านนา ซึ่งราชธานีที่เชียงใหม่ สั่งให้อัญเชิญไปยังเชียงใหม่ หลังจากนั้นมาพระแก้วมรกตได้ประดิษฐานยังสถานที่ต่างๆ อีกหลายแห่ง ได้แก่ ลำปาง เชียงใหม่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ ธนบุรี  จนในที่สุดประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯจนกระทั่งปัจจุบัน การค้นพบพระแก้วมรกตครั้งนั้นทำให้วัดป่าเยี้ยะได้รับขนานนามใหม่ว่า  "วัดพระแก้ว" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

อีกป้ายนึงบอกว่า
ตำนานรัตนพิมพ์วงศ์ กล่าวไว้ว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 300 เทวดาได้สร้างพระแก้วมรกต ถวายพระนาคเสนเถระที่เมืองปาฏลีบุตร(ปัจจุบันเรียก ปัตนะ) ประเทศอินเดีย ต่อมาได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองลังกา

ในสมัยพระเจ้าอโนรธามังฉ่อ(พระเจ้าอนุรุทธะ) แห่งเมืองพุกามได้ส่งพระสมณฑูตไปขอจากเจ้าเมืองลังกา ซึ่งถูกพวกทมิฬรุกราน จึงได้มอบพระแก้วมรกตพร้อมพระไตรปิฏกให้ แต่สำเภาที่บรรทุกได้พัดหลงไปเกยอยู่ที่อ่าวเมืองกัมพูชา พระแก้วมรกตจึงตกเป็นของกัมพูชา และต่อมาได้ถูกนำไปไว้ ที่เมืองอินทาปัฐ(นครวัด) กรุงศรีอยุธยา และกำแพงเพชร(ตามลำดับ)

เมื่อประมาณ พ.ศ. 1933 พระเจ้ามหาพรหม เจ้าเมืองเชียงรายได้ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาจากเมืองกำแพงเพชร และนำมาซ่อนไว้ที่เจดีย์วัดป่าเยี้ยะเมืองเชียงราย กระทั่ง พ.ศ. 1977 อัสนีบาต(ฟ้าผ่า) เจดีย์จึงได้ค้นพบพระแก้วมรกตต่อมาได้ถูกอัญเชิญไว้เมืองต่างๆ ดังนี้
เมืองเชียงราย พ.ศ.1934-1979
เมืองลำปาง พ.ศ. 1979-2011
เมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2011-2096
เมืองลาว พ.ศ. 2096-2321
กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2321-ปัจจุบัน

ที่มา : ป้ายในวัด



Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 17, 2022, 08:55:46 pm
250.วัดท่าตอน

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ท่าตอน
เขต/อำเภอ : แม่อาย
จังหวัด : เชียงใหม่
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 20.06052, 99.35977

***เปิดตลอด

วัดท่าตอน เดิมชื่อว่า "วัดจอมคีรีปิงขอด" หรือ "วัดจอมคีรีปิงขอกต่าตอนจัย" เป็นวัดร้างมีพระเจดีย์เก่าชำรุดอยู่หนึ่งองค์ ล้อมรอบด้วยป่าหนาทึบ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด เมื่อปี พ.ศ.2432 พระครูบาแก้ว กาวิชโย จากสำนักวัดแม่แหลงดอนชัย(วัดมงคลสถาน) ได้มาเป็นประธานในการบูรณะวัดร้าง และได้ยกเป็นวัดมีพระสงฆ์ โดยสร้างพระเจดีย์ครอบพระเจดีย์องค์เดิม และสร้างเสนาสนะ ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2534

พระเจดีย์แก้ว มี 3 ชั้น ฐานพระเจดีย์มีขนาดใหญ่ กว้าง 16 ม. ยาว 16 ม. สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2541 เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปโบราณ

พระประธานที่เห็นในภาพคือ พระประธานในอุโบสถหลังใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น แทนหลังเดิมที่สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2523


ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 17, 2022, 08:57:13 pm
251.วัดป่าดาราภิรมย์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ริมใต้
เขต/อำเภอ : แม่ริม
จังหวัด : เชียงใหม่
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2481
พิกัด : 18.91072, 98.94126

***เปิดเฉพาะวันพระใหญ่ และงานบวช


วัดป่าดาราภิรมย์สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2481 โดยชาวบ้านที่เลื่อมใสศรัทธาในหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้พร้อมใจกันสร้างเสนาสนะขึ้นที่บริเวณที่หลวงปู่มั่นจาริกธุดงค์มาพักที่ป่าช้าติดกับสวนเจ้าสบาย ตำหนักดาราภิรมย์ของพระชายาเจ้าดารารัศมี เมื่อปี พ.ศ. 2473 และตั้งชื่อว่าวัดป่าวิเวกจิตตาราม

กระทั่งปี พ.ศ.2484 เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่ ทายาทของเจ้าดารารัศมี ได้ถวายที่ดินอันเป็นที่ตั้งของตำหนักดารารัศมีและสวนเจ้าสบายให้แก่วัดจำนวน 6 ไร่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่เจ้าดารารัศมี ทางราชการและสาธุชนจึงพร้อมใจกันถวายนามให้แก่วัดใหม่ว่า "วัดป่าดาราภิรมย์" ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงปีมื่อปี พ.ศ. 2542



วัดป่าดาราภิรมย์ มีศิลปะแบบล้านนา โดยบริเวณใจกลางของวัดเป็นที่ตั้งของ "มณฑปพระจุฬามณีศรีบรมธาตุ" หรือ หอแก้ว ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระทันตธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งแต่เดิมหอแก้วนี้เป็นศาลาปฏิบัติธรรม และได้ทำการดัดแปลงเป็นมณฑป 4 ชั้น ศิลปล้านนามีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้างด้านละ 21 เมตร สูงจากฐานถึงยอดฉัตร 39 เมตร หลังค่าซ้อนกัน 4 ชั้น ยอดมณฑป เป็นรูปทรงปราสาทเจดีย์ปิดทองคำหุ้มจังโก

นอกจากหอแก้วยังมีสิ่งปลูกสร้างอื่นๆทีสำคัญอาทิ พระธาตุเจดีย์พระพุทธบาทสี่รอย และรอยพระพุทธบาทจำลองของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ พระวิหารหลวงและพระประธาน พระอุโบสถและพระประธาน พระหยก มณฑปพระเจ้าทันใจและพระพุทธรูปพระนามว่า "พระเจ้าทันใจ" หอกิตติคุณ พระวิหารราย ศาลาพัฒนานุสรณ์ ตำหนักสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และหอระฆัง เป็นต้น

พระวิหารหลวง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคาลด 3 ชั้น มุงกระเบื้องศิลปะล้านนา จำลองมาจากหอคำเจ้าหลวงเชียงใหม่ในสมัยโบราณ เป็นที่รวมศิลปะการแกะสลัก ปูนปั้นและลายคำแบบล้านนา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปพระนามว่า "พระพุทธมหาธรรมราชธิราชเจ้า" หรือ "พระเจ้าธรรมจักพรรดิ" พร้อมทั้งพระบรมสามรีริกธาตุ และล้อมรอบด้วยพระพุทธรูปพระพุทธเจ้า 28 พระองค์

พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคาลด 2 ชั้น มุงกระเบื้องศิลปะล้านนา ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน ซุ้มประตูและหน้าต่างประดับด้วยลายปูนปั้น ภายในมี พระประธาน ศิลปะสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิลงรักปิดทองพระนามว่า "พระสยัมภูโลกนาถ"

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน
         พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤษภาคม 17, 2022, 08:59:10 pm
252.วัดศรีโคมคำ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เวียง
เขต/อำเภอ : เมืองพะเยา
จังหวัด : พะเยา
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 19.17656, 99.88938

***ขอให้หลวงพี่เปิดให้

วัดศรีโคมคำ มีชื่อเดิมที่ชาวบ้านนิยมเรียกคือ "วัดพระเจ้าตนหลวง" เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน องค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทยมีชื่อว่า พระเจ้าองค์หลวงหรือพระเจ้าตนหลวง ที่มีพุทธลักษณะงดงามมาก ขนาดหน้าตัก 14 เมตร สูง 18 เมตร รวม 3 แผ่นดินคือ แผ่นดินพระยาเมืองยี่ พญาหัวเคียน และพระเมืองตู้ อายุร่วม 519 ปี วัดศรีโคมคำ มีประวัติเล่าสืบกันมาว่า เมื่อครั้งพุทธกาลพญานาคได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์และเกิดศรัทธาที่จะสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่จึงนำทองคำมาให้ตายาย ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมก๊วนพะเยา เพื่อสร้างพระพุทธรูปซึ่งใช้เวลาสร้างทั้งหมด 33 ปี ระหว่างปี พ.ศ.2034-2067

พระเจ้าองค์หลวง ไม่เป็นแค่เพียงพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ยังถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอาณาจักรล้านนาไทยด้วย ทุกปีในช่วงวันวิสาขบูชาจะมีการนมัสการเป็นประจำ เรียกว่า งานนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง

ที่มา : ป้ายในวัด


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มิถุนายน 05, 2022, 12:44:55 pm
253.วัดใหญ่สุวรรณาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : วรวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ท่าราบ
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เพชรบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 19.17656, 99.88938

***เปิดตลอด

วัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่มีพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ 5 ทรงไว้ว่า ภาพและลวดลายในพระอุโบสถเขียนมาก่อน 300 ปีขึ้นไป ต่อมาสมเด็จพระสังฆราชแตงโม ได้มาบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ ซึ่งเคยเป็นสถานศึกษาของท่าน ให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นแล้วตั้งชื่อว่า "วัดใหญ่สุวรรณาราม" โดยสันนิษฐานว่า คำว่าใหญ่ เพราะมีเนื้อที่มากถึง 20 ไร่เศษ ส่วนคำว่าสุวรรณ ได้จากพระนามของสมเด็จพระสังฆราชแตงโม ซึ่งเดิมท่านชื่อว่า "ทอง" หรือเป็นฉายาของท่านว่าสุวณฺณ


ในปีพุทธศักราช 2450 พระครูมหาวิหาราภิรักษ์ (พุก) ได้ทำการก่อสร้างวิหารโถง พระระเบียงรอบพระอุโบสถ และกำแพงรอบวัด นับว่าเป็นการปฏิสังขรณ์ใหญ่และได้ทำการปฏิสังขรณ์เรื่อยมาตามลำดับ

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าราบ อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดที่มีมาแต่สมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัดสันนิษฐานว่าได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ โดยพระสุวรรณมุนี ที่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชแตงโม ในเวลาต่อมา อุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูนไม่มีช่องหน้าต่าง ผนังด้านหน้า (ทิศตะวันออก) เจาะเป็นประตูสามช่องประตูช่องกลางมีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่สูงกว่าประตูทั้งสองข้าง ผนังด้านหลังเจาะเป็นประตูสองช่อง ช่องประตูเป็นแบบเรียบไม่มีการตกแต่งบานประตูเป็นแผ่นไม้สักหนา ด้านนอกทาสีแดง ด้านในมีภาพเขียนรูปทวารบาล เสาอิงที่ผนังด้านหน้ามีบัวหัวเสาและลายลัดเกล้ายกเว้นเสาอิงด้านหลังที่ไม่มีลายรัดเกล้าเครื่อง บนหลังคาเป็นหลังคาทรงจั่วสองชั้นไม่มีมุขมุงด้วยกระเบื้องกาบ พื้นหลังคามีด้านละสามตับประดับด้วยกระเบื้องเชิงชาย

สมเด็จ ฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์ถึงจิตรกรรมที่วัดใหญ่สุวรรณาราม ในจดหมายเหตุระยะทางไปมณฑลราชบุรี ร.ศ.121 มีความตอนหนึ่งว่า "วัดนี้เป็นวัดเก่าที่สุดที่ได้เห็นมา แต่ยังดีมาก มีภาพเขียนเหลือเห็นมาก แต่ของเก่าก็มีแต่โบสถ์ก่อหลังหนึ่งเครื่องประตูกับการเปรียญไม้เครื่องประดูหลังหนึ่ง อายุ 300 ฤา 400 ปี โบสถ์นั้นมีเสาลายปิดแบบลายต่างกัน พื้นเขียนเบญจรงค์ด้านหน้ามารผจญแต่ลบเสียมาก เห็นไปใครได้ ด้านข้างเป็นรูปภาพชุมนุมมีรูปอินทร์ พรหม เทวดา ยักษ์ นาค ครุฑ วิชาธร บานประตูกลางหน้าเทวดายินดีเต็มที่ได้เครื่องเก่าชัดเจน ประตูข้างหน้ารูปเสี้ยวกางไม่สู้ดี ประตูหลังข้าวรูปกินนร...." หน้าบันพระอุโบสถ ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นลายก้านขดคล้ายกับหน้าบันศาลาการเปรียญซึ่งเป็นลายแกะสลักไม้ ส่วนด้านหลังพระอุโบสถเป็นลายกนกเปลว ตรงกลางมีเทพอสูรสวยงามมาก มีลักษณะคล้ายกับหน้าบันอุโบสถวัดไผ่ล้อม (ร้าง) และวัดสระบัว

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสวัดใหญ่ ฯ เวลานั้นกำลังมีการต่อตีนหัวเสาและชื่อ พระองค์ได้ทอดพระเนตร ฝีมือการรักษาของเก่าว่าตัวไม้อันไหนควรเปลี่ยนหรืออันควรรักษาไว้ ทรงพอพระราชหฤทัยมาก ทรงรับสั่งให้เว้นหัวเสาต้นหนี่งด้านทิศเหนือซึ่งเป็นเสาต้นที่แปดไว้ไม่ให้ลงรักหรือทสีทับ เพื่อให้คนชั้นหลังได้ศึกษา ยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้ ปรากฏพระราชหัตถเลขาของพระองค์มีความตอนหนึ่งว่า "หลังพระอุโบสถตรงกับแนวเดียว มีการเปรียญยาว เสาแปดเหลี่ยม เขียนลายรดน้ำ ลายไม่ซ้ำกันทุกคู่ ฝากระดานประกบข้างนอกเขียนลายทอง ข้างในเขียนลายน้ำกาว บานประตูสลักซับซ้อน ซุ้มเป็นคูหางามเสียจริง"

ที่มา : ป้ายในวัด
#royalthaimonastery
#hikingthai
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤศจิกายน 17, 2022, 01:16:47 pm
254.วัดพระธาตุช่อแฮ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ช่อแฮ   
เขต/อำเภอ :เมืองแพร่
จังหวัด : แพร่
พ.ศ.ที่สร้าง : สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 1879-1881
พิกัด : 18.08719, 100.20318

***เปิดตลอด

วัดพระธาตุช่อแฮ สร้างสมัยสุโขทัย เมื่อปีพุทธศักราช 1879-1881 ในสมัยที่สมเด็จพระมหาธรรมราชา (ลิไท) ยังทรงเป็นพระมหาอุปราชปกครองเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) โปรดให้สร้างวัด เพื่อเป็นที่สร้างพระเจดีย์สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุได้พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุแก่ขุนลัวะอ้ายก้อม ให้นำบรรจุไว้ในฐานพระเจดีย์ ขุนลัวะ อ้ายก้อมสำรวจหาสถานที่ที่เหมาะสมมาถึงบริเวณดอยโกสิยธชัคคะ เห็นว่าทำเลดีจึงสร้างพระเจดีย์ขึ้น และนำผอบพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในสิงห์ทองคำ สร้างแท่นที่ตั้งผอบด้วยเงินและทองแล้วตั้งสิงห์ทองคำไว้โดยโบกปูนทับอีกชั้นหนึ่งหลังจากนั้นก็จัดงานบำเพ็ญกุศลเฉลิมฉลอง 7 วัน 7 คืน ต่อมาได้ชื่อว่า "พระธาตุช่อแฮ" (คำว่า แฮมาจากคำว่า “แพร” หมายถึงผ้าแพร ในสมัยกรุงธนบุรีพระยาศรีสุริยะวงศ์เจ้าเมืองนครแพร่ อุปถัมภ์บูรณะและพัฒนาวัดนี้มาโดยตลอด) ภายหลังเมืองแพร่ถูกรวมเข้ากับอาณาจักรล้านนาไทย กษัตริย์ล้านนาก็ได้ทะนุบำรุงพระธาตุช่อแฮตามลำดับจนกระทั่งราชวงศ์นี้หมดอำนาจ พระธาตุช่อแฮก็ทรุดโทรม จนถึงปีพุทธศักราช 2467 พระครูบาศรีวิชัย (หรือเจ้าวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน) ได้เป็นประธานบูรณปฏิสังขรณ์ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดแพร่ และมีพระมหาเมธังกร (พรหม พรหมเทโว) อดีตเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2549

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤศจิกายน 17, 2022, 01:22:04 pm
255.วัดคลองโพธิ์   

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บ้านเกาะ   
เขต/อำเภอ : เมืองอุตรดิตถ์
จังหวัด : อุตรดิตถ์
พ.ศ.ที่สร้าง : สร้างในปี พ.ศ. 2365
พิกัด : 17.61358, 100.09655

***เปิดตลอด

วัดคลองโพธิ์ เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อว่า "วัดป่าข่อย" อยู่ริมคลองโพ ทางด้านฝั่งตะวันออกติดต่อกับแม่น้ำน่าน

สมัยพระอุปัชฌาย์เรื่อง สิริสมฺปนฺโน เจ้าอาวาส วัดป่าข่อยได้ถูกน้ำจากแม่น้ำน่านเซาะตลิ่งเข้ามายังบริเวณวัด ใกล้ที่ตั้งเสนาสนะ จึงย้ายเสนาสนะมาทางทิศตะวันตก โดยข้ามคลองโพมาตั้งใหม่ทางฝั่งตะวันตก จึงมีชื่ออีกชื่อว่า "วัดใหม่"

ปีพุทธศักราช 2462 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจการคณะสงฆ์หนเหนือ ขณะที่เสด็จตรวจการจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้จอดเรือเทียบประทับแรมริมฝั่งแม่น้ำน่านหน้าวัดใหม่

เมื่อพระองค์ประทานโอวาทแก่คณะสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาที่มารอรับเสด็จแล้ว ทรงรับสั่งกับเจ้าอาวาสว่า วัดนี้ชื่ออะไร มีพระภิกษุสามเณรที่รูป และมีการศึกษาพระปริยัติหรือไม่ ท่านเจ้าอาวาสได้กราบทูลตามความเป็นจริง และพระองค์ได้ทรงถามคลองที่ผ่านหน้าวัดว่าชื่ออะไร ท่านเจ้าอาวาสจึงกราบทูลขอ คลองโพ พระองค์จึงรับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้นวัดนี้ก็ควรจะชื่อว่า "วัดคลองโพธิ์" ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2530

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤศจิกายน 17, 2022, 01:27:38 pm
256.วัดพระแท่นศิลาอาสน์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ทุ่งยั้ง
เขต/อำเภอ : ลับแล
จังหวัด : อุตรดิตถ์
พ.ศ.ที่สร้าง : สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2283
พิกัด : 17.59818, 100.0435

***ทำวัตรเย็น 17.00 น.

วัดพระแท่นศิลาอาสน์ เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อ "วัดมหาธาตุ" อยู่ติดกับวัดพระยืนพุทธบาทยุคล(อยู่บนเนินเขาลูกเดียวกันแต่คนละยอด) ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง และสร้างแต่เมื่อใด ในศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัยไม่ได้มีข้อความกล่าวถึงพระแท่นศิลาอาสน์

ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้เสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อปีพุทธศักราช 2283 แสดงว่าพระแท่นศิลาอาสน์ได้มีมาก่อน จนเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไป พระแท่นศิลาอาสน์เป็นพุทธเจดีย์เช่นเดียวกับพระแท่นดงรัง ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2549

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤศจิกายน 17, 2022, 01:33:26 pm
257.วัดพระบาทมิ่งเมือง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : วรวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเวียง
เขต/อำเภอ : เมืองแพร่
จังหวัด : แพร่
พ.ศ.ที่สร้าง :
พิกัด : 18.14353, 100.14054   

***เปิดตลอด

วัดพระบาทมิ่งเมือง เป็นวัดโบราณ เจ้าหลวงเมืองแพร่ เป็นผู้สร้าง ได้ทำนุบำรุงมาเป็นเวลาช้านาน ไม่ปรากฏหลักฐานในการสร้าง มีอายุประมาณ 600 ปี

เดิมมีอยู่ 2 วัด คือ วัดไชยอารามพระบาทกับวัดมิ่งเมือง อยู่ห่างกันเพียงตรอกคั่น ต่อมาเมื่อผู้ครองนครไม่มีแล้ว ราษฎรอพยพไปตั้งหลักแหล่งที่อื่น ในปีพุทธศักราช 2492 ทางคณะสงฆ์และทางบ้านเมืองให้รวมทั้ง 2 วัดเป็นวัดเดียวกัน โดยมีนามใหม่ "วัดพระบาทมิ่งเมือง" และได้รับยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2498

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤศจิกายน 17, 2022, 01:38:13 pm
258.วัดพระธาตุช้างค้ำ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : วรวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเวียง
เขต/อำเภอ : เมืองน่าน
จังหวัด : น่าน
พ.ศ.ที่สร้าง :
พิกัด : 18.77629, 100.77226      

***เปิดตลอด

วัดพระธาตุช้างค้ำ เป็นวัดโบราณ ตามพงศาวดารกล่าวว่า เจ้าผู้ครองนครน่าน ชื่อพญาภูเข่ง หรือภูเย็ง เป็นผู้สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 1949 เรียกชื่อว่า "วัดหลวง" หรือ "วัดหลวงกลางเมือง" หรือ "วัดหลวงกลางเวียง" ส่วนชื่อ "วัดช้างค้ำ" หรือ "วัดพระธาตุช้างค้ำ" มาเรียกในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ตรงกับรัชกาลที่ 1 เพราะว่าภายในวัดมีพุทธเจดีย์หรือพระธาตุหลวงก่อเป็นช้างครึ่งตัว โผล่หน้าออกมาเอาหลังหนุนองค์พระเจดีย์ไว้ทั้ง 4 ด้าน ๆ ละ 6 เชือก รวม 24 เชือก

มูลเหตุการสร้างวัดตามตำนานมีว่า ครั้งหนึ่งกองทัพพม่าซึ่งมีแสนยานุภาพช้างม้าพลมาจะยึดเอานครน่านเป็นเมืองออก เจ้านครน่านเห็นเหลือกำลังจะรับข้าศึกได้ จึงแต่งอุบายส่งทูตไปเจรจากับแม่ทัพพม่า โดยมีเงื่อนไขว่า ทั้งสองต่างเป็นชาวพุทธด้วยกัน หากจะรบกันก็จะเสียกำลังพลเป็นจำนวนมากให้สร้างเจดีย์แข่งกัน โดยเริ่มสร้างตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนรุ่งอรุณ ฝ่ายใดสร้างเสร็จและยกฉัตรเจดีย์ขึ้นได้ก่อน ก็ให้ลั่นฆ้องเป็นสัญญานฝ่ายชนะ ถ้านครน่านแพ้จะยอมเป็นเมืองออกของพม่า แต่ถ้าฝ่ายพม่าแพ้ต้องยกทัพกลับไป ฝ่ายแม่ทัพยอมรับเงื่อนไข ฝ่ายพม่าระดมกำลังพลปั้นอิฐสร้างพระเจดีย์ ฝ่ายนครน่านใช้ไม้ไผ่สานสังเวียนใหญ่น้อยลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ ให้มีลักษณะเหมือนพระเจดีย์ ระดมผู้คน ช้างจำนวนมากมาย ขนดิน หิน กรวด ทราย มาถมไว้ในวังเวียง แล้วใช้ผ้าขาวหุ้ม มองเห็นแต่ไกลเหมือนองค์พระเจดีย์ก่อนรุ่งอรุณขึ้นเล็กน้อยและยกช่อฉัตร ลั่นฆ้องชัยเป็นสัญญานชัยชนะ ฝ่ายพม่าคงสร้างเสร็จแก่พระเจดีย์ไม่ทันยกฉัตรขึ้น จึงเป็นฝ่ายยอมแพ้ และยกทัพกลับ บัดนั้นเจ้านครน่าน ทรงเห็นว่า เพื่อเป็นอนุสรณ์ในชัยชนะ จึงทรงให้สร้างเจดีย์องค์จริงขึ้นและสร้างวัดขึ้น ณ บริเวณที่สร้างเจดีย์เทียม กับโปรดให้สร้างรูปช้างโผล่หัวครึ่งตัวรอบฐานพระเจดีย์ขั้นที่ 2 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า ข้างมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการค้ำจุนพระเจดีย์

วัดพระธาตุช้างค้ำ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด จากเจ้าผู้ครองเมืองต่อ ๆ มาเจ้าอาวาสทุกยุค และจากฝ่ายปกครองบ้านเมือง พร้อมด้วยทายกทายิกา ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ปีพุทธศักราช 2501

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤศจิกายน 17, 2022, 01:43:00 pm
259.วัดพญาภู

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเวียง
เขต/อำเภอ : เมืองน่าน
จังหวัด : น่าน
พ.ศ.ที่สร้าง :    สร้างขึ้นปี พ.ศ. 1956
พิกัด : 18.77381, 100.77431      

***ขอให้เณรเปิดให้

วัดพญาภู เป็นวัดโบราณ สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 1956 ตามพงศาวดารเมืองน่านกล่าวไว้ว่าพระยาภูเข็ง (พญาภู) แห่งราชวงศ์ภูคา เจ้าผู้ครองเมืองน่าน ได้สร้าง "วัดพญาภู" ต่อมาเจ้าผู้ครองเมืองน่านทุกพระองค์ได้ให้ความอุปถัมภ์วัดพญาภูตลอดมา ปีพุทธศักราช 2400 พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดชเจ้าผู้ครองเมืองน่าน ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดพญาภู เช่น บูรณะพระเจดีย์ ลักษณะก่ออิฐถือปูน เป็นเจดีย์โบราณสถาน และมีพระพุทธรูปปฏิมากร ปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน เป็นพระประธานในวิหาร ก่ออิฐถือปูนปิดทองคำเปลว ซึ่งเป็นพระประธานที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปีพุทธศักราช 2531

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤศจิกายน 17, 2022, 01:53:28 pm
260.วัดพระธาตุแช่แห้ง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ม่วงตึ๊ด
เขต/อำเภอ : ภูเพียง
จังหวัด : น่าน
พ.ศ.ที่สร้าง : สร้างขึ้นระหว่างปีพ.ศ. 1896
พิกัด : 18.75828, 100.79167      

***เปิดตลอด

วัดพระธาตุแช่แห้ง เป็นวัดโบราณ สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 1896 โดยเจ้าพระยาการเมืองเจ้านครน่านสร้างพระเจดีย์บนดอยภูเพียงแช่แห้ง และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ 7 องค์ จากกรุงสุโขทัยมาประดิษฐานไว้ที่องค์พระธาตุ

ในปีพุทธศักราช 2019 เจ้าหลวงเท้าขาก่านได้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ และหล่อเต้าปูนสำริดลักษณะเกลี้ยงกลมขนาดใหญ่ และทรงนำพระบรมสารีริกธาตุลงบรรจุไว้ในเต้าปูนสำริดนั้น จากนั้นขุดฐานลึกลงไป 1 วา แล้วอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ พระพิมพ์เงินพิมพ์ทองคำลงประดิษฐานไว้ในหลุมนั้น และก่ออิฐถือปูนเป็นเจดีย์ครอบขึ้นสูงเหนือผิวดิน 1 วา ต่อมาได้ก่อเจดีย์ครอบสูง 6 วา อีกขั้น


พุทธศักราช 2028 พระเจ้าติโลกราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ โปรดให้ท้าวอ้ายยวมมาครองเมืองน่าน สร้างเจดีย์ครอบเจดีย์องค์เดิมให้สูงใหญ่กว่าเดิม คือ กว้าง 10 วา สูง 17 วา ใช้ระยะเวลา 4 ปี จึงแล้วเสร็จ และได้ทำการสมโภชพระเจดีย์ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2549

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on พฤศจิกายน 17, 2022, 01:57:21 pm
261.วัดบุญยืน

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : กลางเวียง
เขต/อำเภอ : เวียงสา
จังหวัด : น่าน
พ.ศ.ที่สร้าง :  พ.ศ. 2329
พิกัด : 18.57082, 100.75189      

***เปิดตลอด

วัดบุญยืน สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2329 ตามตำนานกล่าวว่า เป็นวัดที่สร้างคู่กับการสร้างเมืองเวียงป้อ ซึ่งเมืองเวียงป้อสร้างขึ้นโดยพระยาป้อ เรียกชื่อเมืองตามผู้สร้างเมือง แต่นิยมเรียกกันว่า "เวียงสา" หรือ "เมืองสา" เดิมพระยาป้อได้สร้างวัดเป็นเพียงสำนักสงฆ์เล็ก ๆ ให้นามว่า "วัดบุญนะ" บริเวณที่ตั้งเดิมนั้นอยู่ด้านทิศใต้ของวัดบุญยืนปัจจุบันนี้ ต่อมาเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ผู้ครองนครน่าน เสด็จประพาสเวียงป๋อ (เวียงสา) ทรงเห็นว่าวัดบุญนะคับแคบไม่อาจขยายให้กว้างขวางได้ ประกอบกับเจ้าอาวาสขณะนั้นคือ พระอธิการนาย (ครูบานาย) และราษฎรได้เห็นพ้องต้องกันด้วย เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญจึงได้สร้างวัดใหม่ห่างจากวัดเดิมประมาณ 3 เส้น ทางด้านทิศเหนือบนฝั่งขวาของลำน้ำน่าน เมื่อปีพุทธศักราช 2329 บริเวณที่ตั้งมีป่าไม้สักสมบูรณ์ จึงได้ใช้ไม้สักสร้างวิหาร กุฏิสงฆ์และศาสนวัตถุอื่น ๆ เป็นต้น และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดป่าสักงาม" ต่อมาโปรดให้หมื่นสรรพ ก่อสร้างพระวิหาร และสร้างพระพุทธรูปปางประทับยืนพระประธานในพระวิหาร หันพระพักตร์ไปทางด้านทิศเหนือ จึงเรียกชื่อวัดป่าสักงามว่า "วัดบุญยืน" ตามลักษณะพระพุทธรูป และโปรดให้เจ้าราชวงศ์เชียงของ เป็นผู้แกะสลักบานประตูใหญ่พระวิหารพระพุทธรูปไม้สัก พระพุทธรูปจำลอง เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ และศาสนวัตถุอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากพุทธศักราช 2345 ให้ก่อสร้างพระเจดีย์แบบลังกาติดกับพระวิหารทางด้านทิศใต้ และพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพุทธศักราช 2347 ครั้นต่อมาพระอธิการใน (ครูบาโน) เจ้าอาวาส ได้ขออนุญาตเจ้าหลวงสาผู้ปกครองเมืองเพื่อก่อสร้างพระวิหารขึ้นอีกหลังหนึ่ง อยู่ด้านทิศตะวันออกของพระวิหารหลังใหม่เสร็จในปีพุทธศักราช2360


ครั้นพุทธศักราช 2451 เมืองสาได้รับฐานะเป็นกิ่งอำเภอ และพุทธศักราช 2461 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอและเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็นอำเภอบุญยืน ตามพระนามพระประธานวัดบุญยืน ได้มีการบูรณะซ่อมแซมพระวิหาร โดยพ่อเลี้ยงวงศ์บ้านป่ากล้วย เป็นช่างซ่อมแซมบูรณะ ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช 2480 เกิดฝนตกหนัก เป็นเหตุให้พระเจดีย์ทรุดและพังลงมา มีคณะศรัทธา นำโดยเจ้าราชบุตร ณ น่าน ได้บริจาคทรัพย์บูรณะ มีช่างหมื่นจีนหลมเป็นช่างก่อสร้างและซ่อมแซมบูรณะ เสร็จเมื่อปีพุทธศักราช 2482 และปีนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภออีกครั้ง โดยเปลี่ยนเป็นอำเภอเวียงสาตามชื่อเดิมที่ก่อสร้าง ปีพุทธศักราช 2484 คณะศรัทธาโดยการนำของพระครูสาราธิคุณเจ้าอาวาสและเจ้าคณะอำเภอเวียงสา เห็นว่าตลิ่งลำน้ำสาบริเวณหน้าวัดได้พังทลายอันเกิดจากน้ำเซาะ จะเป็นอันตรายต่อพระวิหาร จึงร่วมกับชาวบ้านและหน่วยงานราชการอื่น ๆ ได้ขุดคลองเปลี่ยนกระแสน้ำเพื่อมิให้เซาะตลิ่ง และพระครูสาราธิคุณเห็นว่า พระวิหารคับแคบไม่เหมาะสมในการประกอบสังฆกรรมของพระสงฆ์ จึงขอพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งใหม่ โดยย้ายพัทธสีมาเดิมไปผูกเข้ากับพระวิหารให้กว้างขวางขึ้น พระวิหารหลังเดิมจึงกลายสภาพเป็นพระอุโบสถเพื่อประกอบสังฆกรรม ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2539

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 02, 2023, 02:12:35 pm
262.วัดช่องลม พระอารามหลวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : หน้าเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองราชบุรี
จังหวัด : ราชบุรี   
พ.ศ.ที่สร้าง :  พ.ศ. 2411
พิกัด : 13.54285, 99.81615   

***ขอให้หลวงพี่เปิดให้

ประวัติวัดตามคำบอกเล่าของผู้สูงอายุว่าวัดนี้สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่เดิมมีชื่อว่า วัดช้างล้ม เพราะทางทิศตะวันตกห่างจากวัดไปเป็นโรงช้างของทางราชการ ฝูงช้างได้ใช้บริเวณวัดเดินผ่านไปอาบน้ำกินน้ำที่แม่น้ำแม่กลองเป็นประจำ วันหนึ่งมีช้างเชือกหนึ่งเกิดพลาดไปติดหล่มล้มลงและเสียชีวิต ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่นี้ว่าช้างล้ม(ช้างตาย) ต่อมามีผู้ศรัทธาสร้างวัดขึ้นได้ตั้งชื่อวัดตามสถานที่ว่า "วัดช้างล้ม"

ปี พ.ศ. 2457 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสเสด็จเยี่ยมเมืองราชบุรี ได้เสด็จมาที่วัดทรงพิจารณาเห็นว่าชื่อวัดช้างล้มไม่เป็นมงคลนาม จึงทรงตั้งใหม่ว่า "วัดช่องลม" ซึ่งได้ใช้มาจนทุกวันนี้

ตามหลักฐานทะเบียนวัดของจังหวัดมีว่าวัดช่องลมตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2411 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2482 และประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. 2484

วัดช่องลมได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่ พ.ศ.2532 เป็นต้นมา

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 02, 2023, 02:13:36 pm
263.วัดสุรชายาราม (วัดหลุมดิน)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : ธรรมยุต   
แขวง/ตำบล : หลุมดิน
เขต/อำเภอ : เมืองราชบุรี
จังหวัด : ราชบุรี   
พ.ศ.ที่สร้าง :  -
พิกัด : 13.56279, 99.81678

***ขอให้หลวงพี่เปิดให้


วัดนี้เดิมชื่อ "วัดหลุมดิน" เป็นวัดโบราณเก่าแก่สร้างมานานครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือก่อนหน้านั้น ตั้งอยู่บนฝั่งขวาหรือฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลอง

ท่านผู้หญิงอิ่ม ภริยาเจ้าพระยาสุริยวงศ์ไวยวัฒน์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เห็นวัดหลุมดินอยู่ในสภาพวัดร้าง สิ่งก่อสร้างถาวรวัตถุรวมทั้งปูชนียวัตถุทรุดโทรมจนไม่อาจสร้างให้กลับสภาพเดิมได้ ท่านจึงสร้างอุโบสถใหม่ห่างจากของเดิม 30 วา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2427

นอกจากนี้ ท่านผู้หญิงอิ่มยังได้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิเพชรเป็นพระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธรูปยืนหน้าพระอุโบสถอีก 2 องค์ กุฏิ ศาลาการเปรียญ ศาลาท่าน้ำ หอระฆังก่ออิฐถือปูน และพระเจดีย์ 2 องค์ เมื่อขอพระราชทานนามวัดก็โปรดให้ชื่อวัดว่า "สุรชายาราม" (วัดของภริยาท่านเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์) พร้อมทั้งโปรดให้ยกฐานะสถาปนาวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวง ตั้งแต่ พ.ศ. 2427 เป็นต้นมา


ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 02, 2023, 02:26:49 pm
264.วัดคงคาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : คลองกระแซง
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เพชรบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง :  -
พิกัด : 13.10393, 99.94275

***ขอให้หลวงพี่เปิดให้

เดิมเป็นวัดเก่าแก่ไม่ทราบประวัติ แต่ต้องมีมาก่อน พ.ศ.2363 เพราะมีหลักฐานจากหนังสือประวัติของพระโพธิวงศาจารย์ (ผ่อง) ซึ่งเป็นชาวเมืองเพชรบุรีเกิดในสมัยรัชกาลที่ 2 เรียนอักขรสมัยอยู่ในสำนักพระอาจารย์มีแห่งวัดคงคาราม ใน พ.ศ. 2363 แล้วบวชเป็นสามเณร แสดงว่าวัดนี้มีมาก่อน พ.ศ. ดังกล่าว และเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองพอสมควรทีเดียว

ต่อมาในรัชกาลที่ 3 โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์แล้วสถาปนาเป็นพระอารามหลวง เนื่องจากวัดอยู่ใกล้น้ำจึงได้ถูกขนานนามว่าวัด "คงคาราม" ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังสุด พ.ศ. 2522 เป็นวัดของเจ้าคณะจังหวัด จัดสอบธรรมสนามหลวง มีสำนักปริยัติธรรมสำคัญและมีโรงเรือนตัวอย่างประจำจังหวัดเพชรบุรี (คงคาราม) ของกระทรวงศึกษาธิการด้วย


ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 02, 2023, 02:33:00 pm
265.วัดคลองวาฬ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : คลองวาฬ
เขต/อำเภอ : เมืองประจวบคีรีขันธ์
จังหวัด : ประจวบคีรีขันธ์
พ.ศ.ที่สร้าง :  -
พิกัด : 11.75018, 99.78942

***เปิดตลอด

วัดคลองวาฬสร้างเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาราว พ.ศ. 2300 เข้าใจว่าสร้างพร้อมกับเมืองคลองวาฬ (การสร้างเมืองสมัยก่อนนิยมสร้างวัดคู่กันไปด้วย)

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4 ราว พ.ศ. 2398 โปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองบางนางรมเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ และโปรดให้ยุบเมืองคลองวาฬเป็นตำบลคลองวาฬ ขึ้นกับเมืองประจวบคีรีขันธ์มาจนปัจจุบัน

วัดคลองวาฬเมื่อแรกสร้างคงเป็นวัดประจำเมืองคลองวาฬบริเวณที่ตั้งมีต้นโพธิ์ใหญ่เป็นหลักฐาน ต่อมาได้ย้ายสถานที่สร้างวัดหลายครั้ง เสนาสนะที่สร้างขึ้นเป็นอาคารไม้ เมื่อย้ายไปตั้ง ณ ที่แห่งใหม่ต้องรื้อทิ้งจนไม่เหลือหลักฐานสำหรับโบสถ์ของเดิม สร้างเป็นโบสถ์น้ำหรือโบสถ์กลางน้ำ (อุทกุกเขปสีมา) ของคลองวาฬ ต่อมาทางวัดได้จัดสร้างโบสถ์ขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2469 โบสถ์น้ำหมดความจำเป็นถูกปล่อยให้ทรุดโทรม หมดสภาพไปภายหลัง พ.ศ. 2480

วัดคลองวาฬได้รับพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงเมื่อ พ.ศ. 2528 เคยเป็นวัดของเจ้าคณะจังหวัดจัดให้มีการเผยแผ่ศีลธรรมแก่ประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้จัดพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นประจำเช่นการเวียนเทียนเทศนาปาฐกถาออกจารึกเผยแผ่ศีลธรรมตลอดจนให้ความร่วมมือสนับสนุนกิจการทางสังคมให้สิ่งอันเป็นสาธารณประโยชน์ด้วยที่เป็นลำดับมา

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 02, 2023, 02:39:08 pm
266.วัดเกาะหลัก

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ประจวบคีรีขันธ์
เขต/อำเภอ : เมืองประจวบคีรีขันธ์
จังหวัด : ประจวบคีรีขันธ์
พ.ศ.ที่สร้าง :  -
พิกัด : 11.79826, 99.7986

***ขอให้หลวงพี่เปิดให้

วัดนี้ตั้งชื่อตามตำบล เป็นวัดที่ชาวตำบลเกาะหลักสร้างขึ้นมีหลวงพ่อจ้อย ซึ่งเดินธุดงค์มาจากฝั่งตะวันออกเป็นผู้นำสร้างเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่เป็นวัดที่ตั้งมาพร้อมกับเมืองประจวบคีรีขันธ์ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญ เป็นที่ศรัทธาอุปถัมภ์จากประชาชนอย่างมากเคยใช้เป็นที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ เป็นศูนย์กลางของจังหวัดทางราชการได้ใช้เป็นที่ประชุมอบรมข้าราชการและประชาชน และเป็นที่พึ่ง
ทางใจของทหารเพราะอยู่ใกล้เขตทหาร

วัดเกาะหลักได้รับพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลปัจจุบัน ก่อน พ.ศ. 2525 เล็กน้อย

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 02, 2023, 02:43:34 pm
267.วัดธรรมิการาม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด : วรวิหาร   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ประจวบคีรีขันธ์
เขต/อำเภอ : เมืองประจวบคีรีขันธ์
จังหวัด : ประจวบคีรีขันธ์
พ.ศ.ที่สร้าง :  พ.ศ.2465
พิกัด : 11.81371, 99.79641

***ขอให้หลวงพี่เปิดให้

วัดนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2465 ผู้สร้างคือพระยาดำรงธรรมสาร (ใหญ่ วิเศษสิริ) และคุณหญิงดำรงธรรมสาร วัดเดิมตั้งอยู่หลังเขาช่องกระจก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศรีทรงพอพระทัย โปรดให้พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพินท์เพ็ญภาควางศิลาฤกษ์พระอุโบสถแทนพระองค์ พร้อมพระราชทานพระราชทรัพย์สร้างปูชนียวัตถุในวัดหลายรายการ

วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2466 สร้างวัดเสร็จมีงานฉลองผูกพัทธสีมา พ.ศ. 2482 ในปี พ.ศ. 2485 เกิดน้ำท่วมใหญ่วัดเสียหายมาก เกือบเป็นวัดร้าง จนถึง พ.ศ. 2493 มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ วัดได้เจริญขึ้นจนได้รับการยกฐานะสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงใน พ.ศ. 2503

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on มกราคม 02, 2023, 02:44:35 pm
268.วัดเขาโบสถ์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ      
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : กำเนิดนพคุณ
เขต/อำเภอ : บางสะพาน
จังหวัด : ประจวบคีรีขันธ์
พ.ศ.ที่สร้าง :  พ.ศ.2440
พิกัด : 11.2116, 99.51077

***ขอให้หลวงพี่เปิดให้

วัดเขาโบสถ์ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่อำเภอบางสะพานยังเป็นเมืองกำเนิดนพคุณ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ใดสร้าง แต่ด้วยความวิริยอุตสาหะและความสามารถของเจ้าอาวาสและศรัทธาของประชาชนได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วัดตลอดมา

วัดเขาโบสถ์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก พ.ศ.2447 ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2522 ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงใน พ.ศ. 2527

นอกจากจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลีแล้วยังจัดให้มีการเทศนาอบรมประชาชน จัดส่งพระธรรมทูตเข้าไปเยี่ยมเยียนตามหมู่บ้านต่าง ๆ พร้อมได้แสดงพระธรรมเทศนาหรือปาฐกถาธรรม จัดให้มีการศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จัดตั้งหน่วยพุทธมามกะผู้เยาว์ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ด้านสาธารณูปการได้สร้างสถานที่สาธารณะเป็นศาลาต่าง ๆ จัดตั้งห้องสมุดโรงเรียนและประชาชน จัดทุนสงเคราะห์นักเรียนระดับประถมและมัธยมตลอดจนช่วยสงเคราะห์ผู้ประสบภัยธรรมชาติ

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน

#royalthaimonastery
#hikingthai
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 04, 2024, 09:28:14 am
269.วัดมหาธาตุวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : วรวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : คลองกระแซง
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เพชรบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง :  พ.ศ.2275-2301
พิกัด : 13.54756, 99.81404

***ปรับปรุง ไปมาเมื่อ ม.ค.66

วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญ ทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะและโบราณคดี ภายในพระวิหาร หลวงของวัด ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุ ด้านหลังพระวิหารหลวง คือพระปรางค์ 5 ยอด อยู่ภายในวิหารคต ทางด้านทิศใต้ของพระวิหารหลวง คือ พระวิหารน้อย และวัดมหาธาตุวรวิหารยังได้สร้าง พิพิธภัณฑ์ของวัดเป็นที่รวมศิลปะความเป็นมาต่างๆของวัดไว้ให้ผู้สนใจได้เข้าชม

พระวิหารหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.2275-2301) ภายใน พระวิหารหลวงมีพระพุทธรูปที่สำคัญ คือพระพุทธรูปประธานทรงราชาภรณ์ นอกจากนี้ยังมีหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์วัดมหาธาตุ เป็นพุทธรูปปรางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 8 นิ้ว หัตถ์ซ้ายถือพัด ประดับด้วยลายปูนปั้น รูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค มี พญาวานรแบกครุฑอยู่อีกขั้นหนึ่งพื้นหลังเป็นลายกนก ก้านขดออกช่อลายหางโดเป็นรูปครุฑ นาค ยักษ์ ฯลฯ

พระวิหารน้อย เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ฐานอ่อนโค้งทรงสำเภา ตั้งอยู่ระหว่างพระวิหารหลวงกับอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หลวงพ่ออู่ทอง ศิลปะแบบอู่ทอง ปางมารวิชัย ที่ฐานมีลายปูนปั้นประดับกระจกสวยสด งดงาม เช่น รูปม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีแบกฐานเป็นต้น ที่หน้าบันประดับด้วยลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม เช่นเดียวกับพระอุโบสถ และพระวิหารหลวง

พระปรางค์ 5 ยอด วัดมหาธาตุวรวิหาร มีพระปรางค์ 5 ยอด เป็นสัญลักษณ์สูงตระหง่านในเขตพุทธาวาส สามารถ มองเห็นได้แต่ไกลทั้ง 4 ทิศ วัดจากฐานถึงยอดนภศูลได้ 55 เมตร รอบฐานยาว 120 เมตร มีอายุราว 1,000 กว่าปี ภายในบรรจุ พระบรมสารีรักธาตุมาแต่อดีตกาล มีระเบียงคตรอบพระปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสในระเบียงคตมีพระพุทธรูปจำนวน 193 องค์ ประดิษฐานบนระเบียง พร้อมทั้งมีตัวแบกที่ฐานพระ ส่วนมากตั้งอยู่ใต้องค์พระพุทธรูปทางเครื่องไว้หลากหลาย สวยงาม พระพุทธรูปส่วนใหญ่เป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย และสกุลช่างเมืองเพชร พุทธลักษณะงดงามมาก

พิพิธภัณฑ์ ศาลา น.ส.อำพร บุญประคอง เป็นศาลาที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดมหาธาตุวรวิหาร เพชรบุรี ภายในรวบรวมเครื่องลายคราม พระพุทธรูป แผ่นภาพพระบาทและสิ่งของมีค่าที่หายาก ตั้งแสดงไว้ และเปิดให้ ผู้สนใจเข้าชม

ที่มา : ป้ายในวัด
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 20, 2024, 07:17:07 am
270.วัดสัตตนารถปริวัตร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด : วรวิหาร   
นิกาย : ธรรมยุติ
แขวง/ตำบล : หน้าเมือง
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : ราชบุรี   
พ.ศ.ที่สร้าง :  -
พิกัด : 13.53924, 99.82725


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 20, 2024, 07:20:25 am
271.วัดไตรธรรมาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ตลาด
เขต/อำเภอ : เมืองสุราษฎร์ธานี
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
พ.ศ.ที่สร้าง :  -
พิกัด : 9.13999, 99.3235
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 20, 2024, 07:20:55 am
272.วัดพัฒนาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ตลาด
เขต/อำเภอ : เมืองสุราษฎร์ธานี
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
พ.ศ.ที่สร้าง : 9.14878, 99.32908

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 20, 2024, 07:23:30 am
273.วัดธรรมบูชา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ตลาด
เขต/อำเภอ : เมืองสุราษฎร์ธานี
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
พ.ศ.ที่สร้าง : 9.14352, 99.32715


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 20, 2024, 07:24:59 am
274.วัดพระบรมธาตุไชยา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก      
ชนิด : ราชวรวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เวียง
เขต/อำเภอ : ไชยา
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
พ.ศ.ที่สร้าง : 9.38458, 99.18425


Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 20, 2024, 07:28:04 am
275.วัดสุวรรณคีรีวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เขานิเวศน์
เขต/อำเภอ : เมืองระนอง
จังหวัด : ระนอง
พ.ศ.ที่สร้าง : 9.97941, 98.63773

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 20, 2024, 07:30:41 am
277.วัดชุมพรรังสรรค์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : นาทุ่ง
เขต/อำเภอ : เมืองชุมพร
จังหวัด : ชุมพร
พ.ศ.ที่สร้าง : 10.50024, 99.17123

***ปรับปรุง คาดว่าแล้วเสร็จ ปี เม.ย. 2569
Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 20, 2024, 07:31:52 am
279.วัดขันเงิน

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : วังตะกอ
เขต/อำเภอ : หลังสวน
จังหวัด : ชุมพร
พ.ศ.ที่สร้าง : 9.95763, 99.07601

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 20, 2024, 07:32:58 am
280.วัดราชบุรณะ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ท่ามะพลา
เขต/อำเภอ : หลังสวน
จังหวัด : ชุมพร
พ.ศ.ที่สร้าง : 9.93906, 99.04048

Title: Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
Post by: designbydx on เมษายน 20, 2024, 07:35:19 am
281.วัดมหาสมณาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด : ราชวรวิหาร
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : คลองกระแซง
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เพชรบุรี   
พ.ศ.ที่สร้าง : 13.10991, 99.93849