*** ก่อนอื่น จะบอกว่าพระที่ถ่ายเป็นพระประธานเท่านั้นนะครับ คือ พระที่อยู่ในอุโบสถ ไม่ใช่พระที่อยู่ในพระวิหาร หรือพระเจดีย์นะครับ
สาเหตุที่เลือก เพราะว่าเป็นพระองค์ประธานจริง แต่ละวัดจะมีเพียงองค์เดียว ส่วนใหญ่เราจะเห็นกันในอินเตอร์เนตเฉพาะพระที่อยุ่ในวิหาร หรือในพระเจดีย์ เนื่องจากจะเปิดตลอดให้เข้ากราบไหว้ แต่จริงๆ ไม่ใช่พระประธาน(ปกติเปิดเฉพาะทำวัตรเช้า และเย็น) และทำให้เข้าใจผิดว่าองค์ที่เราเห็นคือพระประธาน(คนส่วนใหญ่ถ่ายลงโซเชียล) ซึ่งผมเองก็เข้าใจผิดมาตลอดเช่นกัน
พระอารามหลวง ซึ่งหมายถึงวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง หรือทรงรับไว้เป็นวัดของพระราชวงศ์ หรือเป็นวัดที่ทรงอุปถัมภ์นั้น แต่ละวัดอาจมีฐานะ หรือระดับชั้นแตกต่างกันออกไป การจัดลำดับชั้นของวัดหลวง เริ่มมีขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบแบ่งชั้นพระอารามหลวงออกเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี แต่ละชั้นยังแยกระดับออกไปอีกหลายระดับ โดยมีสร้อยต่อท้ายชื่อวัดตามฐานะดังนี้
๑.พระอารามหลวง ชั้นเอก ได้แก่ วัดที่มีความสำคัญ มีเจดียสถานบรรจุพระบรมอัฐิ หรือเป็นวัดที่มีเกียรติสูง มี ๓ ระดับ คือ
๑) ราชวรมหาวิหาร
๒) ราชวรวิหาร
๓) วรมหาวิหาร
๒.พระอารามหลวง ชั้นโท ได้แก่วัดที่มีเจดียสถานสำคัญ หรือวัดที่มีเกียรติ มี ๔ ระดับ คือ
๑) ราชวรมหาวิหาร
๒) ราชวรวิหาร
๓) วรมหาวิหาร
๔) วรวิหาร
๓.พระอารามหลวง ชั้นตรี ได้แก่วัดที่มีเกียรติ วัดประจำหัวเมือง หรือวัดที่มีความสำคัญชั้นรอง มี ๓ ระดับ คือ
๑) ราชวรวิหาร
๒) วรวิหาร
๓) สามัญ(วัดที่ไม่มีสร้อยนามต่อท้าย)
การจัดระดับของวัด แบ่งโดยพจารณาเรื่องต่างๆ ดังนี้
1 ราชวรวิหาร คือ วัดที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ หรือวัดที่โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์
2 วรวิหาร คือ วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว พระราชทานเป็นเกียรติยศแก่วัดเอง รวมทั้งวัดที่ผู้อื่นสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์แล้วทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมถ์
3 ราชวรมหาวิหาร คือ วัดชนิดราชวรวิหารที่เป็นพระอารามใหญ่โต
4 วรมหาวิหาร คือ วัดชนิดวรวิหารที่เป็นพระอารามใหญ่โต และมีศาสนสถานที่สำคัญ
5 สามัญ คือ วัดราษฏร์ที่สำคัญ และต่อมาโปรดให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง
ที่มา : ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่มที่ 25 จังหวัดชัยภูมิ กรมศิลปากร พิมพ์เผยแพร่ พ.ส. 2562
พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา
นับตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีส่วนสำคัญในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาโดยตลอดทั้งโดยการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ดังปรากฏเห็นเป็นหลักฐานมากมายในปัจจุบัน หรือโดยการเสด็จออกผนวชของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ รวมไปถึงการใช้หลักธรรมเป็นแนวทางในการปกครองดูแลพสกนิกรให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขเสมอมา
พระราชกรณียกิจต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงปฏิบัติมีดังนี้
สมัยกรุงสุโขทัย
พ่อขุนราคำแหง ทรงอาราธนาพระมหาเถระสังฆราช พระเถระชาวลังกามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย
พระมหาธรรมราชาที่ 1(พญาลิไท) ทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วง
สมัยกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงพระผนวช เป็นเวลา 8 เดือน ทรงสร้างวัดจุฬามณี โปรดเกล้าฯ ให้แต่งหนังสือมหาชาติคำหลวงซึ่งนับเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปครองรอยพระพุทธบาทสระบุรี
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในรัชสมัยของพระองค์ เป็นช่วงที่มีชาติตะวันกเข้ามเผยแผ่คริสต์ศาสนาจำนวนมาก รวมถึงมีการเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ฯ เพื่อทูลขอให้ทรงเข้ารีต แต่พระองค์ทรงปฏิเสธว่า การที่ผู้ใดจะนับถือศาสนาใดนั้น ย่อมแล้วแต่พระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์จะบันดาลให้เป็นไป ถ้าคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาที่ดีจริงแล้ว และเห็นว่าพระองค์สมควรที่จะเข้าเป็นคริสตศาสนิกแล้ว สักวันหนึ่งพระองค์จะถูกดลใจให้เข้ารีดจนได้ แสดงถึงพระราชศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมเศียรพระประธานวัดมงคลบพิตรที่ชำรุด รวมถึงทรงให้ความสำคัญกับการศึกษาทางพุทธศาสนาเป็นพิเศษ โดยทรงกำหนดให้ผู้ที่จะถวายตัวเข้ารับราชการต้องผ่านการบวชเรียนมาแล้วเท่านั้น ทรงส่งคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา คือ พระอุบาลีและพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก 12 รูป
สมัยกรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่และบูรณปฏิสังขรณ์วัดโบราณต่างๆ รวมถึงทรงรวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกจากหัวเมืองต่างๆ มาจัดทำเป็นฉบับหลวง (แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะแล้วเสร็จ)
กรุงรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และวัดสุทัศนเทพวราราม ทรงบูรณะวัดสระเกศ วัดพระเชตุพลฯ และวัดอื่นๆ โปรดเกล้าฯให้มีการสังคยานาพระไตรปิฎก เป็นครั้งที่ 2 ในประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระผนวชเป็นเวลา 1 พรรษา และทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการแก้ไขการศึกษาปริยัติธรรมใหม่
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ เช่น วัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา และทรงบูรณะวัดโบราณต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมถึงมีการเกิดนิกายธรรมยุตขึ้นเป็นครั้งแรก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวชเป็นเวลา 27 พรรษา ก่อนจะขึ้นครองราชย์ ทรงสร้างวัดราชประดิษฐฯ วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดโสมนัสวิหาร และวัดปทุมวนาราม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดเทพศิรินทราวาส วัดราชพิธฯ และวัดเบญจมบพิตร ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุฯ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของประเทศ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนิพนธ์หนังสือที่เกี่ยวข้องกับคำสอนในพระพุทธศาสนา เช่น เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการชำระพระไตรปิฎกและจัดพิมพ์ขึ้นใหม่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในรัชสมัยของพระองค์มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลดอุลยเดช ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ โดยทรงเสด็จออกผนวชขณะทรงครองราชย์ ด้วยมีพระราชประสงค์ให้เป็นไปตามโบราณราชประเพณี พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนา อันทำให้ประเทศไทยสงบร่มเย็นมาถึงปัจจุบัน
ที่มา : 80 พระอารามหลวงกรุงเทพมหานคร กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
1.วัดสร้อยทอง
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บางซื่อ
เขต/อำเภอ : บางซื่อ
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : 2394
วัดสร้อยทอง เดิมชื่อว่า "วัดซ่อนทอง" เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2394 แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดได้รับความเสียหายอย่างมาก กระทั่งเมื่อสงครามสงบลงแล้ว ประชาชนได้ช่วยกันบูรณะวัด และก่อสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มขึ้นด้วย แต่จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัด คือ หลวงพ่อเหลือ กลับไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด จึงได้รับความเลื่อมใสจากชาวบ้านเป็นอย่างมาก และมีผู้คนแวะไปสักการะขอพรหลวงพ่อเหลือ รวมทั้งทำบุญสังฆทานและปล่อยปลาที่วัดสร้อยทองกันเป็นประจำ แม้ว่าวัดสร้อยทองจะไม่ได้อยู่ในเส้นทางท่องเที่ยวก็ตาม
หลวงพ่อเหลือเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลือง ซึ่งเป็นโลหะที่เหลือจากการหล่อพระประธานภายในพระอุโบสถ เมื่อปี พ.ศ.2445 ภายในพระเกศของหลวงพ่อเหลือบรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ 5 พระองค์
Wat Soi Thong
Located on the bank of the Chow Phraya river in Bangsue district, Northern Bangkok, Wat Soi Thong is an old temple built in 2394 B.E. in the reign of King Rama IV.
During the World War II, the temple was badly damaged by the bombing. While Luang Phor Luea, the important Buddha image has become highly revered by the local people since then. After the War, the temple was restored, and the Ubosot(Ordination Hall), and more buildings were built
ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)