Author Topic: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย  (Read 77167 times)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
*** ก่อนอื่น จะบอกว่าพระที่ถ่ายเป็นพระประธานเท่านั้นนะครับ คือ พระที่อยู่ในอุโบสถ ไม่ใช่พระที่อยู่ในพระวิหาร หรือพระเจดีย์นะครับ
สาเหตุที่เลือก เพราะว่าเป็นพระองค์ประธานจริง แต่ละวัดจะมีเพียงองค์เดียว ส่วนใหญ่เราจะเห็นกันในอินเตอร์เนตเฉพาะพระที่อยุ่ในวิหาร หรือในพระเจดีย์ เนื่องจากจะเปิดตลอดให้เข้ากราบไหว้ แต่จริงๆ ไม่ใช่พระประธาน(ปกติเปิดเฉพาะทำวัตรเช้า และเย็น) และทำให้เข้าใจผิดว่าองค์ที่เราเห็นคือพระประธาน(คนส่วนใหญ่ถ่ายลงโซเชียล) ซึ่งผมเองก็เข้าใจผิดมาตลอดเช่นกัน


     พระอารามหลวง ซึ่งหมายถึงวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง หรือทรงรับไว้เป็นวัดของพระราชวงศ์ หรือเป็นวัดที่ทรงอุปถัมภ์นั้น แต่ละวัดอาจมีฐานะ หรือระดับชั้นแตกต่างกันออกไป การจัดลำดับชั้นของวัดหลวง เริ่มมีขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบแบ่งชั้นพระอารามหลวงออกเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี แต่ละชั้นยังแยกระดับออกไปอีกหลายระดับ โดยมีสร้อยต่อท้ายชื่อวัดตามฐานะดังนี้

๑.พระอารามหลวง ชั้นเอก ได้แก่ วัดที่มีความสำคัญ มีเจดียสถานบรรจุพระบรมอัฐิ หรือเป็นวัดที่มีเกียรติสูง มี ๓ ระดับ คือ

   ๑) ราชวรมหาวิหาร
   ๒) ราชวรวิหาร
   ๓) วรมหาวิหาร

๒.พระอารามหลวง ชั้นโท ได้แก่วัดที่มีเจดียสถานสำคัญ หรือวัดที่มีเกียรติ มี ๔ ระดับ คือ

   ๑) ราชวรมหาวิหาร
   ๒) ราชวรวิหาร
   ๓) วรมหาวิหาร
   ๔) วรวิหาร

๓.พระอารามหลวง ชั้นตรี ได้แก่วัดที่มีเกียรติ วัดประจำหัวเมือง หรือวัดที่มีความสำคัญชั้นรอง มี ๓ ระดับ คือ

   ๑) ราชวรวิหาร
   ๒) วรวิหาร
   ๓) สามัญ(วัดที่ไม่มีสร้อยนามต่อท้าย)

การจัดระดับของวัด แบ่งโดยพจารณาเรื่องต่างๆ ดังนี้

1 ราชวรวิหาร คือ วัดที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ หรือวัดที่โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์

2 วรวิหาร คือ วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว พระราชทานเป็นเกียรติยศแก่วัดเอง รวมทั้งวัดที่ผู้อื่นสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์แล้วทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมถ์

3 ราชวรมหาวิหาร คือ วัดชนิดราชวรวิหารที่เป็นพระอารามใหญ่โต

4 วรมหาวิหาร คือ วัดชนิดวรวิหารที่เป็นพระอารามใหญ่โต และมีศาสนสถานที่สำคัญ

5 สามัญ คือ วัดราษฏร์ที่สำคัญ และต่อมาโปรดให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง

ที่มา : ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่มที่ 25 จังหวัดชัยภูมิ กรมศิลปากร พิมพ์เผยแพร่ พ.ส. 2562


พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

นับตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีส่วนสำคัญในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาโดยตลอดทั้งโดยการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ดังปรากฏเห็นเป็นหลักฐานมากมายในปัจจุบัน หรือโดยการเสด็จออกผนวชของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ รวมไปถึงการใช้หลักธรรมเป็นแนวทางในการปกครองดูแลพสกนิกรให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขเสมอมา

พระราชกรณียกิจต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงปฏิบัติมีดังนี้

สมัยกรุงสุโขทัย

พ่อขุนราคำแหง ทรงอาราธนาพระมหาเถระสังฆราช พระเถระชาวลังกามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย
พระมหาธรรมราชาที่ 1(พญาลิไท) ทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วง

สมัยกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงพระผนวช เป็นเวลา 8 เดือน ทรงสร้างวัดจุฬามณี โปรดเกล้าฯ ให้แต่งหนังสือมหาชาติคำหลวงซึ่งนับเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปครองรอยพระพุทธบาทสระบุรี
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในรัชสมัยของพระองค์ เป็นช่วงที่มีชาติตะวันกเข้ามเผยแผ่คริสต์ศาสนาจำนวนมาก รวมถึงมีการเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ฯ เพื่อทูลขอให้ทรงเข้ารีต แต่พระองค์ทรงปฏิเสธว่า “การที่ผู้ใดจะนับถือศาสนาใดนั้น ย่อมแล้วแต่พระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์จะบันดาลให้เป็นไป ถ้าคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาที่ดีจริงแล้ว และเห็นว่าพระองค์สมควรที่จะเข้าเป็นคริสตศาสนิกแล้ว สักวันหนึ่งพระองค์จะถูกดลใจให้เข้ารีดจนได้” แสดงถึงพระราชศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมเศียรพระประธานวัดมงคลบพิตรที่ชำรุด รวมถึงทรงให้ความสำคัญกับการศึกษาทางพุทธศาสนาเป็นพิเศษ โดยทรงกำหนดให้ผู้ที่จะถวายตัวเข้ารับราชการต้องผ่านการบวชเรียนมาแล้วเท่านั้น ทรงส่งคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา คือ พระอุบาลีและพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก 12 รูป

สมัยกรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่และบูรณปฏิสังขรณ์วัดโบราณต่างๆ รวมถึงทรงรวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกจากหัวเมืองต่างๆ มาจัดทำเป็นฉบับหลวง (แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะแล้วเสร็จ)

กรุงรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และวัดสุทัศนเทพวราราม ทรงบูรณะวัดสระเกศ วัดพระเชตุพลฯ และวัดอื่นๆ โปรดเกล้าฯให้มีการสังคยานาพระไตรปิฎก เป็นครั้งที่ 2 ในประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระผนวชเป็นเวลา 1 พรรษา และทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการแก้ไขการศึกษาปริยัติธรรมใหม่

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ เช่น วัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา และทรงบูรณะวัดโบราณต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมถึงมีการเกิดนิกายธรรมยุตขึ้นเป็นครั้งแรก

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวชเป็นเวลา 27 พรรษา ก่อนจะขึ้นครองราชย์ ทรงสร้างวัดราชประดิษฐฯ วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดโสมนัสวิหาร และวัดปทุมวนาราม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดเทพศิรินทราวาส วัดราชพิธฯ และวัดเบญจมบพิตร ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุฯ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของประเทศ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนิพนธ์หนังสือที่เกี่ยวข้องกับคำสอนในพระพุทธศาสนา เช่น เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการชำระพระไตรปิฎกและจัดพิมพ์ขึ้นใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในรัชสมัยของพระองค์มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลดอุลยเดช ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ โดยทรงเสด็จออกผนวชขณะทรงครองราชย์ ด้วยมีพระราชประสงค์ให้เป็นไปตามโบราณราชประเพณี พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนา อันทำให้ประเทศไทยสงบร่มเย็นมาถึงปัจจุบัน

ที่มา : 80 พระอารามหลวงกรุงเทพมหานคร กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม




1.วัดสร้อยทอง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางซื่อ
เขต/อำเภอ   : บางซื่อ
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : 2394

วัดสร้อยทอง เดิมชื่อว่า "วัดซ่อนทอง" เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2394 แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดได้รับความเสียหายอย่างมาก กระทั่งเมื่อสงครามสงบลงแล้ว ประชาชนได้ช่วยกันบูรณะวัด และก่อสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มขึ้นด้วย แต่จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัด คือ หลวงพ่อเหลือ กลับไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด จึงได้รับความเลื่อมใสจากชาวบ้านเป็นอย่างมาก และมีผู้คนแวะไปสักการะขอพรหลวงพ่อเหลือ รวมทั้งทำบุญสังฆทานและปล่อยปลาที่วัดสร้อยทองกันเป็นประจำ แม้ว่าวัดสร้อยทองจะไม่ได้อยู่ในเส้นทางท่องเที่ยวก็ตาม

หลวงพ่อเหลือเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลือง ซึ่งเป็นโลหะที่เหลือจากการหล่อพระประธานภายในพระอุโบสถ เมื่อปี พ.ศ.2445 ภายในพระเกศของหลวงพ่อเหลือบรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ 5 พระองค์

Wat Soi Thong
Located on the bank of the Chow Phraya river in Bangsue district, Northern Bangkok, Wat Soi Thong  is an old temple built in 2394 B.E. in the reign of King Rama IV.

During the World War II, the temple was badly damaged by the bombing. While Luang Phor Luea, the important Buddha image has become highly revered by the local people since then. After the War, the temple was restored, and the Ubosot(Ordination Hall), and more buildings were built
ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
« Last Edit: ธันวาคม 03, 2022, 09:56:58 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
« Reply #1 on: มกราคม 01, 2018, 04:08:00 pm »
2.วัดเขมาภิรตาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : สวนใหญ่
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : นนทบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง :สมัยอยุธยาหรือก่อนสมัยอยุธยา
พิกัด : 13.82167, 100.50328


วัดเขมาภิรตาราม มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ "วัดเขมา" ในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระอัครมเหสี และเป็นพระราชมารดาของรัชกาลที่ 4 ได้ทรงปฏิสังขรณ์หล่อพระประธาน พระพุทธรูปทุกองค์จนสำเร็จ เมื่อรัชกาลที่ 4 เสด็จขึ้นเสวยครองราชย์แล้ว จึงได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดเขมาเป็นการใหญ่ โปรดให้เพิ่มนามวัดเป็น "วัดเขมาภิรตาราม" ทรงสร้างพระมหาเจดีย์ ปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมเพิ่มเติมส่วนต่างๆ ภายในบริเวณวัดจนบริบูรณ์ มาถึงรัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิสังขรณ์อีก โปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระที่นั่งมูลมณเฑียร ในพระบรมมหาราชวังไปสร้างโรงเรียนของวัดนี้ และยังใช้เป็นโรงเรียนอยู่จนทุกวันนี้

ที่มา : พระอารามหลวงแห่งราชอาณาจักรสยาม ลำจุล ฮวบเจริญ
« Last Edit: มิถุนายน 24, 2022, 04:45:26 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
« Reply #2 on: มกราคม 05, 2018, 04:29:32 pm »
3.วัดบัวขวัญ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ   
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางกระสอ
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : นนทบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ.2435
พิกัด : 13.86952, 100.53479

วัดบัวขวัญ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2435 จากคำบอกเล่า สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเพียงสำนักสงฆ์กลางท้องนา เมื่อมีพระสงฆ์จำพรรษาก็เริ่มพัฒนาเป็นวัด พระครูปรีชาเฉลิม หรือ หลวงปู่แฉ่งวัดเฉลิมพระเกียรติ เป็นผู้ริเริ่มสร้างโดยผู้มีจิตศรัทธาหลายคนร่วมบริจาคที่ดิน ต่อมาหลวงพ่อฉ่ำมาเป็นเจ้าอาวาสและได้มรณภาพ วัดก็ว่างเว้นจากพระสงฆ์ ชาวบ้านจึงได้นิมนต์พระอธิการพยุง จตฺตมโลจากวัดกำแพงมาเป็นเจ้าอาวาส และได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ ต่อมานายบัว ฉุนเฉียว ได้บริจาคที่ดินให้สร้างวัดเพิ่ม เรียกชื่อนามวัดว่า "วัดบัวขวัญ" เพื่อให้เป็นเกียรติแต่ผู้บริจาคที่ดิน เจ้าอาวาสองค์ต่อๆ มา ได้พัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2551

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
      
« Last Edit: มิถุนายน 26, 2022, 06:36:19 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธานเมืองไทย
« Reply #3 on: มกราคม 06, 2018, 06:36:28 pm »
4.วัดชลประทานรังสฤษฎ์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ   
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางตลาด
เขต/อำเภอ   : ปากเกร็ด
จังหวัด : นนทบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : 2503
พิกัด : 13.90072, 100.50731

***ทำวัตรเย็น 16.30 น.

กำเนิดวัดชลประทานรังสฤษดิ์

พ.ศ. 2503 ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทานขอย้ายและรวมวัด 2 วัด ในเขตกรมชลประทานปากเกร็ด คือ วัดเชิงท่า และวัดหน้าโบสถ์ มาสร้างวัดใหม่ในฝั่งตรงข้ามชื่อ "วัดชลประทานรังสฤษดิ์" เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2503
พ.ศ. 2555 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกวัดชลประทานรังสฤษดิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป

ลำดับเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์
1.พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) พ.ศ. 2503-2550
2.พระธรรมวิมลโมลี (รุ่นธีรปญฺโญ ป.ธ. ๙) พ.ศ. 2551-2556 พระมหาเจริญสุทธิญาณเมธี (รักษาการเจ้าอาวาส) 7 เมษายน 2556-17 พฤศจิกายน 2557
3.พระปัญญานันทมุนี (สง่าสุภโร) ตั้งแต่ 20 พฤศจิกายน 2557-ปัจจุบัน

เกียรติประวัติของวัดชลประทานรังสฤษดิ์
พ.ศ. 2528 เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการศาสนากระทรวงวัฒนธรรม
พ.ศ. 2547 เป็นวัดที่มีรูปแบบและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาและเผยแผ่ศาสนธรรมดีเด่นในโครงการนําร่องการจัดการศึกษาและเผยแผ่ศาสนธรรมของวัดของสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
พ.ศ. 2557 เป็นศูนย์เอกลักษณ์วัฒนธรรมชุมชนจังหวัดนนทบุรี
พ.ศ. 2561 เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรีแห่งที่ 14

ที่มา : เอกสารแจกฟรี สายสัมพันธ์กตัญญุตา 2565
« Last Edit: กรกฎาคม 02, 2022, 07:07:42 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
« Reply #4 on: มกราคม 13, 2018, 09:15:00 pm »
5.วัดบางไผ่

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ   
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางรักพัฒนา   
เขต/อำเภอ   : บางบัวทอง
จังหวัด : นนทบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยกรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 13.87923, 100.43242

วัดบางไผ่ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากลักษณะสิ่งก่อสร้างภายในวัด เช่น พระอุโบสถหลังเก่า พระวิหาร เป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเป็นวัดร้าง ภายหลังพระครูสอน ได้มาจำพรรษาและบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีตัดหวายลูกนิมิตพระอุโบสถ เมื่อจันทร์วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 และได้พระราชทานนามพระนามาภิไธย ม.ว.ก. ที่หน้าบันพระอุโบสถ หน้าบันศาลาราย 4 หลัง และหน้าบันหอพระไตรปิฏก 4 ด้าน

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: มิถุนายน 27, 2022, 05:36:10 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
« Reply #5 on: มกราคม 21, 2018, 10:15:57 pm »
6.วัดราชาธิวาสวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : วชิรพยาบาล 
เขต/อำเภอ   : ดุสิต
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : -

วัดราชาธิวาสฯ เดิมชื่อว่า "วัดสมอราย" คู่กับวัดสมอแครง(ปัจจุบัน คือวัดเทวราชกุญชร) สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยลพบุรี

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม และได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้โปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้อีกครั้ง และพระราชทานชื่อใหม่เป็น "วัดราชาธิวาส" ซึ่งมีความหมายว่า วัดอันเป็นที่ประทับของพระราชา เพราะเคยเป็นที่ประทับระหว่างทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จะอาราธนาไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

Wat Rachathiwas
Wat Rachathiwas is a second class royal monastery of 'Rajavaravihara' type. Built in Lopburi period, the temple was re-established from the former ''Wat Samor-rai'' by Krom Phraratchawang Bowon Maha Surasihanat in the reign of King Rama I.

Restoration had been continuously carried on through the reign of King Rama II-III. In the reign of King Rama IV the temple was renamed Wat Rachathiwas, which means 'the temple where the king resides.


ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery

« Last Edit: ธันวาคม 03, 2022, 09:59:01 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
« Reply #6 on: มกราคม 25, 2018, 07:40:08 pm »
7.วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วชิรพยาบาล
เขต/อำเภอ   : ดุสิต
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : 1850

วัดเทวราชกุญชร เดิมชื่อว่า"วัดสมอแครง" คู่กับวัดสมอราย หรือวัดราชาธิวาสในปัจจุบัน และเช่นเดียวกันกับวัดราชาธิวาส สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงเป็นผู้ปฏิสังขรณ์วัดสมอแครงด้วย

วัดสมอแครงได้รับพระราชทานนามใหม่ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ว่า "วัดเทวราชกุญชร"

Wat Thewarat Kunchon

Originally called Wat Samor Khraeng, Wat Thewarat Kunchon was built the Ayutthaya period. It was adopted as a third class monastery and given its current name during the reign of King Rama IV.
ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

« Last Edit: ธันวาคม 03, 2022, 09:59:50 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
« Reply #7 on: กุมภาพันธ์ 03, 2018, 12:22:11 pm »
8.วัดไตรมิตรวิทยาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ตลาดน้อย
เขต/อำเภอ   : สัมพันธวงศ์
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

**ที่ประดิษฐานพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (พระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก) แต่ไม่ใช่พระประะธานในภาพข้างล่างนะครับ
เปิด 08.00 น.
ปิด 17.00 น.


วัดไตรมิตรวิทยารามเดิมชื่อว่า "วัดสามจีน" สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน สันนิษฐานว่ามีชาวจีน 3 คน ซึ่งเป็นเพื่อนกันได้ช่วยกันสร้างวัดนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นวิหารทาน จึงได้ชื่อว่า "วัดสามจีน" ซึ่งต่อมาเพื่อปี พ.ศ.2482 ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดและเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น วัดไตรมิตรวิทยาราม

Wat Traimit Wittayaram
Standing at the end of Chinatown's Yaowarat Road, Wat Trimit Wittayaram was formerly known as ''Wat Sam Chin.'' In 2482 B.E., it was renovated and changed the name to be known as ''Wat Traimit Wittayaram''

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
#hikingthai.com
« Last Edit: ธันวาคม 03, 2022, 10:00:48 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
« Reply #8 on: กุมภาพันธ์ 03, 2018, 12:28:52 pm »
9.วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : สัมพันธวงศ์
เขต/อำเภอ   : สัมพันธวงศ์
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยอยุธยา

ด้วยเหตุสถานที่ตั้งของวัดปทุมคงคาอยู่ด้านในสุดของถนน ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา อีกทั้งยังถูกบดบังด้วยอาคารพาณิชย์ต่างๆ จึงไม่ค่อยมีคนรู้จักวัดแห่งนี้มากนัก แต่ในอดีตวัดปทุมคงคาถูกใช้เป็นสถานที่ประหารชีวิต เจ้านายในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และในพระราชพิธีพระบรมศพสมัยก่อน เมื่อเก็บพระบรมอัฐิแล้วจะอัญเชิญพระอังคารลงเรือพระที่นั่งเข้ากระบวนแห่ลอยไปลอยพระอังคารที่หน้าวัดปทุมคงคา

นอกจากนี้ภายในวัดยังมีแท่นหินประหารกบฏ หรือ แท่นหินสำเร็จโทษ ซึ่งเป็นที่สำหรับสำเร็จโทษเจ้านายหลายพระองค์ อาทิ กรมหลวงรักษ์รณเรศ พระราชโอรสองค์ที่ 33 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ถูกทุบด้วยท่อนจันทน์บนหินนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

วัดปทุมคงคาเป็นวัดโบราณสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดสำเพ็ง" ตามชื่อท้องที่ที่ตั้ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 วัดปทุมคงคามีสภาพทรุดโทรมมากจึงโปรดฯ ให้สมเด็จพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามแล้วพระราชทานนามว่า "วัดปทุมคงคา"

Wat Pathum Khongkha
Located in the Bangkok Chinatown, the temple previously called''Wat Sampheng'' after the name of its location, Sampheng. It is an ancient temple dating back to the Ayutthaya period, and renovated during the reign of King Rama I by Krom Phraratchawang Bowon Maha Surasithanat. After renovation, the temple was upgrade to be a second class royal monastery of the ''Rajavaravihara'' type, and had its named changed  to Wat Pathumkhongkha. The canal in front of the temple is regarded ad a holy place where the ash of cremated members of the royal family were scattered here during the reign of Kin Rama I-III.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

« Last Edit: ธันวาคม 03, 2022, 10:01:47 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
« Reply #9 on: กุมภาพันธ์ 04, 2018, 07:12:01 pm »
10.วัดดุสิดารามวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : อรุณอมรินทร์
เขต/อำเภอ   : บางกอกน้อย
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยอยุธยา

วัดสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนาวัดขึ้นใหม่ และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์อย่างตลอดต่อเนื่องมา จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งในสมัยนี้ได้มีการรวมอีก 2 วัด คือ วัดภุมรินราชปักษีและวัดน้อยทองอยู่ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกัน เข้ากับวัดดุสิดารามด้วย

Wat Dusidaram
Wat Dusidaram was an ancient temple dating back to the Ayutthaya period. Somdej Phra Chao Bormawongther Kromluang Srisunthornthep, a daughter of King Rama I, had the temple reestablished.

Further renovations were carried out continuously until the reign of King Rama IV. Especially in ther reign of King Rama VI, there were other 2 temples, Wat Phumarin Ratchapaksi and Wat Noi-U, merged into Wat Dusidaram.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
« Last Edit: ธันวาคม 03, 2022, 10:02:54 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
« Reply #10 on: กุมภาพันธ์ 10, 2018, 10:39:02 pm »
11.วัดโสมนัสราชวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : วัดโสมนัส
เขต/อำเภอ   : ป้อมปราบศัตรูพ่าย
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สร้างวัดขึ้นเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี คู่กับวัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่งเป็นวัดส่วนพระองค์ โดยทั้งสองวัดนี้ตั้งอยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษมและมีการวางผังวัดที่คล้ายคลึงกัน คือ มีคูน้ำล้อมรอบวัด ซึ่งมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งเป็นเขตชาวพุทธาวาส และสังฆาวาส โดยใยเขตพุทธาวาสมี พระเจดีย์ เป็นประธานตั้งอยู่กึ่งกลางของเขตพุทธาวาสล้อมรอบด้วย พระระเบียง หรือ พระวิหารคต และที่ด้านหน้าของพระเจดีย์จะเป็นที่ตั้งของพระวิหารหลวง และด้านนอกของกำแพงเขตพุทธาวาสมี หอระฆัง และหอกลอง สร้างเป็นหอกลม หลังคาแบบจีน

Wat Sommanat
Wat Sommanat is a second class royal monastery of 'Rajavaravihara' type King Rama IV ordered its construction to commemorate his queen.
ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
« Last Edit: ธันวาคม 03, 2022, 10:03:46 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
« Reply #11 on: กุมภาพันธ์ 10, 2018, 10:43:30 pm »
12.วัดปรินายกวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บ้านพานถม
เขต/อำเภอ   : พระนคร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : 2352

วัดปรินายก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยพเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) เมื่อครั้งยังเป็นพระหรหมสุรินทร์ ตั้งชื่อว่า "วัดพรหมสุรินทร์" และได้สร้างเสนาสนะเพิ่มขึ้น ถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง โปรดให้หล่อพระพุทธรูปพระประธานในพระอุโบสถ และโปรดให้สร้างจนเสร็จบริบูรณ์ พระราชทานนามว่า "วัดปรินายก" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิง สิงหเสนี)

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


Wat Parinayok
Wat Parinayok is a third class royal monastery. It was formerly named ''Wat Phromsurin'' after the named of the founder-Phra Phromsurin(Sing Singhaseni), Director General of the Police Department, in the reign of King Rama II.

Later, in the reign of King Rama III, Phra Phromsurin was elevated to the title of Chao Phraya Bodindecha, one of the important Ministers. Then he supervised the grand renovation of  the temple. King Rama III accepted it as a royal temple, and named it in commemoration of its founder as ''Wat Parinayok'' which is derived from the word ''Parinayok Rattana'' meaning a beloved General of the King (Chao Phraya Bodindecha) a beloved General of King Rama III.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
#hikingthai.com
« Last Edit: ธันวาคม 03, 2022, 10:04:14 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
« Reply #12 on: กุมภาพันธ์ 11, 2018, 09:17:17 pm »
13.วัดมหรรณพาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : เสาชิงช้า
เขต/อำเภอ   : พระนคร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยรัชกาลที่ 3

ถัดจากวัดราชนัดดาไปทางทิศตะวันตกอีกประมาณ 900 ม. จะเป็นที่ตั้งของวัดมหรรณพาราม เป็นอีกวัดที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เช่นเดียวกับวัดราชนัดดาราม และวัดเทพธิดาราม โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นอุดมรัตนราษี(พระองค์เจ้าอรรณพ) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชทานเงินสมทบในการก่อสร้างด้วย

การก่อสร้างมาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงมีพระราชศัทธาพระราชทานทรัพย์ในการสร้างวัดนี้จนแล้วเสร็จด้วย และพระราชทานว่า "วัดมหรรณพาราม"

Wat Mahan Nopparam
About 900 meter from Wat Ratchanaddaram to the west, locates Wat Mahannoparam which was also built in the reign of King Rama III. It was built by Prince Annop, a son of King Rama III, but could not be finished until the reign of King Rama IV.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

« Last Edit: ธันวาคม 03, 2022, 10:04:57 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
« Reply #13 on: กุมภาพันธ์ 13, 2018, 09:37:00 pm »
14.วัดสามพระยา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดสามพระยา
เขต/อำเภอ   : พระนคร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยกรุงศรีอยุธยา

วัดสามพระยา สร้างสมัยรัชกาลที่ 1 โดยหลวงวิสุทธิโยธามาตย์(ตรุษ) ขุนนางเชื้อสายมอญและญาติ ได้อุทิศที่ดินพร้อมบ้านเรือนของขุนพรหม(สารท) ผู้เป็นน้องชายซึ่งเป็นนายช่างร่วมควบคุมการก่อสร้างพระมณฑปพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ตามพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 1 และได้เสียชีวิตลง ถวายเป็นวัดขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ขุนพรหม(สารท) แล้วตั้งนามว่า "วัดบางขุนพรหม"

สมัยรัชกาลที่ 3 วัดบางขุนพรหมชำรุดทรุดโทรม พระยาราชสุภาวดี(ขุนทอง) พระยาราชนิกุล(ทองคำ) และพระยาเทพวรชุน(ทองห่อ) ซึ่งเป็นบุตรของนางพวา น้องสาวคนสุดท้องของหลวงวิสุทธิโยธามาตย์(ตรุษ) และขุนพรหม(สารท) ได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์วัด สำเร็จแล้วน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามว่า "วัดสามพระยา" ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.2366

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Wat Sam Phraya
Wat Sam Phraya is a third class royal monastery. Originally named Wat Bang Khun Phrom, it was built in Rattanakosin period by Luang Wisutthiyamat(Trut) who donated the land and house owned by hin younger brother, Khun Phrom(Sart) who was died two years before.

Leter, Phraya Ratsuphawadi(Khunthong), Phraya Ratchanku(Thongkham) and Phraya Thep Worachun(Thong Lor), nephews of Khun Phrom donated a sum to renovate the temple, and then presented it to King Rama III. The temple was upgrade to a royal temp;e and had it name changed to ''Wat Samphaya''
« Last Edit: ธันวาคม 03, 2022, 10:06:05 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
« Reply #14 on: กุมภาพันธ์ 13, 2018, 09:39:39 pm »
15.วัดอินทรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางขุนพรหม
เขต/อำเภอ   : พระนคร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยกรุงศรีอยุธยา

วัดอินทรวิหาร เป็นวัดโบราณสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า "วัดบางขุนพรหมนอก" ตามชื่อตำบล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานที่ดินให้เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของครอบครัวชาวเวียงจันทน์

ต่อมาเจ้าอินทร์ น้าชายของเจ้าน้อยเขียวค่อม พระสนมเอกในรัชกาลที่ 1 ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่เรียกว่า "วัดอินทาราม" เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าอินทร์ และได้นิมนต์พระอรัญญิก พระสงฆ์ชาวเวียงจันทร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนาธุระ มีความสนิทสนมคุ้นเคยกับพระบวรวิริยเถร(อยู่) เจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม และเคยเป็นอาจารย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)  วัดระฆังโฆสิตาราม ขึ้นปกครองวัด โดยมีหลักฐานเกี่ยวกับ ชาวเวียงจันทน์ปรากฏอยู่ในวัดอินทรวิหาร ได้แก่ หนังสือคัมภีร์พระธรรม ซึ่งจารด้วยอักษรลาว

สมัยรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆังโฆสิตารามได้เป็นผู้เริ่มสร้างพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ขึ้น 1 องค์ สำเร็จบริบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนนามวัดว่า "วัดอินทรวิหาร" เนื่องจากนามเดิมไปพ้องกับวัดอินทาราม(วัดบางยี่เรือใต้) ฝั่งธนบุรี ประชาชนนิยมเรียกว่า วัดอินทร์บ้าง วัดหลวงพ่อโตบ้าง หรือวัดอินทร์บางขุนพรหมบ้าง

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


« Last Edit: ธันวาคม 03, 2022, 10:06:44 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
« Reply #15 on: กุมภาพันธ์ 14, 2018, 05:20:40 pm »
16.วัดดอนเมือง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ดอนเมือง
เขต/อำเภอ   : ดอนเมือง
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : 2438

วัดดอนเมือง ผู้นำในการสร้างวัดนี้ก็เป็นพระภิกษุชาวรามัญ สร้างขึ้นภายหลังการสร้างวัดหลักสี่ประมาณ 17 ปี คือ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

Wat Donmuang

Like Wat Laksi, Wat Donmuang was built by a Mon monk, but it was built 17 years later, in 2438 B.E. in the reign of King Rama XI.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
« Last Edit: ธันวาคม 03, 2022, 10:07:35 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธานเมืองไทย(ขาวดำ)
« Reply #16 on: กุมภาพันธ์ 14, 2018, 05:23:24 pm »
17.วัดเสมียนนารี

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ลาดยาว
เขต/อำเภอ   : จตุจักร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : 2400

วัดเสมียนนารีเดิมชื่อว่า "วัดแคราย" สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2400 โดยสุภาพสตรีในวังที่มีตำแหน่งเป็นเสมียนพระคลังข้างที่ ชื่อว่า "เสมียนขำ" ซึ่งต่อมาตำแหน่งนี้ได้สืบทอดมายังธิดาของท่าน คือ คุณท้าวภัณฑสารนุรักษ์(เพิ่ม รัตนทัศนีย์) ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งเป็นเสมียนพระคลังข้างที่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยทั้งสองได้ทำนุบำรุงวัดนี้มาโดยตลอดจนสิ้นอายุไข
เมื่อปี พ.ศ. 2522 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดแคราย เป็น"วัดเสมียนนารี" เพื่อเป็นเกียตริแก่ผู้สร้างวัด

Wat Samien Naree
Formerly called Wat Khae Rai, the temple was a civil temples built by Samian Kham who was clerk in the royal treasury in the reign of King Rama V.
In 2522 B.C. the temples was renamed ''Wat Samien Naree'' the name Wat Samien Naree(Literally means 'female clerk') was derived from position of the temple founder. And later, in 2555, the temple is upgraded to a third class royal monastery.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery

« Last Edit: ธันวาคม 03, 2022, 10:08:30 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
« Reply #17 on: กุมภาพันธ์ 16, 2018, 04:54:14 pm »
18.วัดโมลีโลกยาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดอรุณ
เขต/อำเภอ   : บางกอกใหญ่
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยอยุธยา พระอารามหลวงประจำพระบรมมหาราชวังพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

**โบสถ์เปิดตลอด

วัดมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดท้ายตลาด" ในสมัยกรุงธนบุรีวัดนี้ได้ถูกรวบรวมเข้าไปในเขตพระราชฐานวัง จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระภิกษุจำพรรษา

ต่อมาเมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้วจึงโปรดฯ ให้นิมนต์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน) และพระภิกษุมาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้

วัดท้ายตลาดได้รับการปฏิสังขรณ์อย่างตลอดต่อเนื่องตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 2 วัดท้ายตลาดคงจะเป็นวัดที่มีความสำคัญทางด้านการศึกษามากถึงขนาดพระองค์ส่งพระโอรสไปทรงศึกษาที่วัดนี้

วัดท้ายตลาดได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดโมลีโลกสุธาราม" ในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่ภายหลังได้กลายเป็น "วัดโมลีโลกยาราม" และเมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ถึงแก่มรณภาพพระองค์โปรดฯ ให้หล่อรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน) ประดิษฐานไว้ที่วัดด้วย

Wat Molle Lokayaram

Wat Molle Lokayaram is and old temple dating from Ayutthaya period. It was incorporated into the palace boundary during the Thonburi period. The temple was renovated continuously from the reign of King Rama II-V. In the reign of King Rama II, the temple might have been so important education institute that the King had his son to study at the temple.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
« Last Edit: ธันวาคม 03, 2022, 10:09:48 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
« Reply #18 on: กุมภาพันธ์ 16, 2018, 04:57:42 pm »
19.วัดประยุรวงศาวาส

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดกัลยาณ์
เขต/อำเภอ   : ธนบุรี
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยรัตนโกสินทร์ โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์
พิกัด : 13.73677, 100.49569

**ปิดปรับปรุง แล้วเสร็จ กค.61

วัดประยุรวงศาวาส สร้างสมัยรัชกาลที่ 3 โดย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุวงศ์ ได้อุทิศสวนกาแฟสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2371 ใช้เวลาสร้าง 8 ปี ถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า วัดประยุรวงศาวาส แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดรั้วเหล็ก" เพราะว่ามีรั้วเหล็กขนาดใหญ่แข็งแรง หล่อเป็นหอก ดาบ ขวาน ล้อมวัดดูน่าเกรงขาม ดูเป็นของแปลกสำหรับคนไทย ปัจจุบันรั้วเหล็กเหลือเพียงบริเวณด้านหน้าพระอุโบสถกับวิหารเท่านั้น เป็นวัดแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ทรงลังกา หรือ สีหลเจดีย์ พระวิหารภายในวัดประดิษฐาน พระพุทธนาคน้อย หรือ หลวงพ่อนาค ซึ่งเรียกกันในหมู่ชาวจีนว่า ลักน้อย แปลว่า กลีบบัว 6 ชั้น เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณคู่กับพระศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม ที่ได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย

Wat Prayurawongsawat
The place of the temple was originally the site of a coffee plantation belonging to Somdet Chao Phraya Maha Prayurawong. In 1828, he donated the site for the building of this temple. King Rama III gave the temple its current name but the local people preferred calling it Wat Rualek because of its big fence surrounding the temple made from iron in form of lances, swords and axes. Only a part of fence remains. This is the first temple of Rattanakosin period where the Chedi(Pagoda) was built in the Lanka style. IN side the Wiharn is a Buddha image in subduing Mara Posture called Luang Phor Nark. We believe it was one of a pair with Phra Sri Sakkayamuni, the principal Cuddha image of Wat Suthat Thepwararam.

ที่มา ป้ายในวัด
« Last Edit: มกราคม 21, 2023, 12:20:12 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
« Reply #19 on: กุมภาพันธ์ 16, 2018, 05:01:54 pm »
20.วัดกัลยาณมิตร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : วรมหาวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดกัลยาณ์
เขต/อำเภอ   : ธนบุรี
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : 2368

**เปิดเฉพาะทำวัตรเช้า 08.30 น. และวัตรเย็น 16.00 น.

วัดกัลยาณมิตร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2368 ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเจ้าพระยานิกรบดินทร์(โต กัลยาณมิตร) ได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเดิมเรียกว่า "หมู่บ้านกุฎีจีน" สร้างถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า "วัดกัลยาณมิตร"

รัชกาลที่ 3 โปรดให้สร้างพระวิหารหลวง พร้อมกับเสด็จพระราชดำเนินก่อฤกษ์พระโต เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2380 พระราชทานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง

รัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศในพระบรมราชมาตามหัยยิกา กรมพระศรีสุดารักษ์ และพระบรมราชมาตามหัยยิกาธิบดี พระภัสดาในกรมพระศรีสุดารักษ์ ผู้ซึ่งเคยประทัย ณ วัดกัลยาณมิตรมาก่อน และพระราชทานนามพระพุทธรูปประดิษฐาน ในพระวิหารหลวง เดิมเรียกพระโตว่า "พระพุทธไตรรัตนายก"

รัชกาลที่ 5 โปรดให้กรมโยธาธิการจัดการซ่อมแซมหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ และเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นปราจิณกิติบดี ทรงเป็นมรรคนายกวัดนี้ได้ดูแลซ่อมแซมมาตลอด ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงในปี พ.ศ. 2368

ที่มา พระอารามหลวง เล่ม 1 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Wat Kanlayanamit
Enshrined in the Vihara(Assembly Hall) of Wat Kanlayanamit, Phra Trai Rattananayok of Luang Pho Toh, the 175-year old Buddha image, is highly revered by both local and Chinese people.

King Rama III ordered the construction of the image with intention to imitate the same pattern as that of Ayuttaya, that was to have a Huge Buddha image enshrined on bank of the Chao Phraya river outside the city wall.

The image was also imitated from the Principle Buddha image in the Vihara of Wat Phanan Choeng, Ayutthaya, but smaller in size.

Wat Kanlayanamit was built in 2368 B.E.(1835 A.D.) during the reign of King Rama III. Chao Phaya Nikorn Bodkin(Toh Kanlayanamit) donated his house and land to bulit the temple, and presented it to be designated as a royal temple. King Rama III named it Wat Kanlayanamit(means'good friend') to honor the founder who was considered to be a good friend to him.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
« Last Edit: ธันวาคม 03, 2022, 07:42:52 pm by designbydx »