3.5 พระไวโรจนะพุทธเจ้า
ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 14-15(1,100-1,200 ปีมาแล้ว)
สำริดสูงพร้อมฐาน 32 ซม.
พบที่อำเภอโกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
พระไวโรจนะพุทธเจ้าประทับนั่งบนฐานบัวโดยมีสัตว์คล้ายสิงห์รองรับอยู่ พระหัตถ์อยู่ในท่าหมุนธรรมจักรสองข้างของพระพุทธองค์มีรูปสตรียืนถือดอกบัว ซึ่งเป็ฯนางคู่บารมีของพระองค์
คำว่า ไวโรจนะ เป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า ผู้ให้แสงสว่างทรงเป็นพระพุทธเจ้าหนึ่งในห้าพระองค์ของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแบบวัชรยานตันตระ ซึ่งใความนิยมสร้างรูปพระพุทธเจ้าประจำทิศทั้งสี่ โดยเชื่อว่า พระพุทธเจ้าไวโรจนะประจำอยู่ทิศทั้งสี่ โดยเชื่อว่า พระพุทธเจ้าไวโรจนะประจำอยู่ทิศเบื้องบนและสถิตอยู่กลางสถูป มีสัญลักษณ์ประจำพระองค์ คือ ธรรมจักรสีขาว ด้วยเหตุนี้พระหัตถ์ของพระพุทธเจ้าไวโรจนะจึงอยู่ในท่าหมุนธรรมจักร ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของคติการสร้างพระพุทธเจ้าไวโรจนะ คือ พระพุทธเจ้าไวโรจนะที่ศาสนสถานโบโรบูดูร์ ประเทศอินโดนีเซีย สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 14(1,200 ปีมาแล้ว) เป็นพระไวโรจนะพุทธเจ้า ที่ปรดิษฐานในสถูป บนลานชั้นบนของศาสนสถานดังกล่าว
กาค้นพบรูปพระไวโรจนะพุทธเจ้าในกลุ่ม ประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สะท้อนถึงการยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแบบวัชรยานตันตระจากอินเดียในอดีต