2. ทวารวดี(พุทธศตวรรษที่ 11-16 ประมาณ 1,000-1,500 ปีมาแล้ว)
ทวารดี ตามรูปศัพท์แปลว่า ประกอบด้วยประตู เป็นชื่อเรียกอนาจักร เมือง หรือรัฐ วัฒนธรรม และศิลปะโบรานกำเนิดขึ้นในประเทศไทยราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 หรือประมาณ 1,000-1,500 ปีมาแล้ว นักวิชาการสัญนิษฐานว่า ทวารวดี หมายถึง อณาจักร โถโลโปตี้ ในจดหมายเหตุของพระภิกษุชาวจีนสมัยราชวงศ์ถังซื่อ เหี้ยนจัง ซึ่งเดินผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยระบุว่ามีอนณาจักรโลโปตี้อยู่ระหว่างศรีเกษตร(เมียนมาร์) และอศานปุระ(กัมพูชา) ต่อมามีการค้นพบเหรียญเงินระบุข้อความ ศรีทวารวดี ศวรปุณย แปลว่า บุญของพระราชาแห่งทวารวดี ที่นครปฯมและเมืองโบราณอีกหลายแห่งในภาคกลาง วัฒนธรรมทวาระวดีได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียวไม่ว่าจะเป็นศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาและตัวอักษร รวมทั้งระเบียบแบบแผนทางสังคมเข้ามาใช้และปรับให้ผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองดั้งเดิม ซึ่งต่อมาได้พัฒาเป็นลักษณะเฉพาะของตอนเอง เห็นได้จาศิลปกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ได้แรงบันดาลใจจากพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธรูป ศาสนาพุทธที่หยั่งลึกลงในแผ่นดินไทยสมัยทวารวดี ถือเป็นรากเหง้าของพื้นฐานวัฒนธรรมที่พัฒนาขึ้นเป็นสยามประเทศ หรือชาติไทยในเวลาต่อมา
2.1 ธรรมจักร และกวางหมอบ
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12(1,400 ปีมาแล้ว)
หินสูง 105 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 89 ซม.
พบที่วัดเสน่หา อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม
ธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางพุทธศาสนา หมายถึงการ ประกาศพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการหมุนกงล้อแห่งธรรมให้เคลื่อนไป ในวัฒนธรรมทวารวดีนิยมสร้างธรรมจักรคู่กับรูปกวางหมอบ เป็นสัญลักษณ์แทนการแสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสปตนมฤคทายวันเมืองพรานสี ประเทศอินเดีย ธรรมจักรชิ้นนี้มีจารึกอักษรอินเดียโบราณสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ภาษาบาลี กล่าวเปรียบเทียบว่า จักร คือ พระธรรม ของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงถึงอริยสัจ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุท้ย นิโรธ มรรค โดยหมุนวนครบ 3 รอบเป็นสัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ มีอาการ 12 อย่าง
การค้นพบธรรมจักรและกวางหมอบนี้ เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาแผ่เข้ามา ณ นครปฐม ในดินแดนประเทศไทยเมื่อพันกว่าปีมาแล้ว