Author Topic: The History of Japanese Art: Life and Faith  (Read 44159 times)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #20 on: มกราคม 24, 2018, 07:16:47 am »
จิตกรรมภาพพระพุทธเจ้าปรินิพพาน

สมัยเฮอัน พุทธศตวรรษที่ 17-18
ผ้าไหมเขียนสี

ภาพพระพุทธเจ้าปางปรินิพานใช้ในงานพิธีกรรมรำลึกถึงการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า(วันวิสาขบูชา) ประกอบด้วยภาพแม่น้ำกกุธานธีเป็นพื้นหลัง ภาพพระพุทธเจ้าประทับนอนตะแคงขวาบนฐานรัตนะระหว่างต้นสาละ 2 ต้น ล้อมรอบด้วยพระโพธิสัตว์พระอัครสาวก 10 องค์ อสูร เทวดา นาค สัตว์ แมลง และสรรพสัตว์ทั้งหลายที่มารวมกันแสดงความอาลัย ด้านบนของภาพปรากฏพระนางสิริมหามายา พระพุทธเจ้ามารดาเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดังส์ ภาพนี้ถูกเขียนขึ้นในสมัยเฮอัน มีลักษณะพิเศา คือรูปบุคคลมีขนาดใหญ่ใช้่เทคนิคการปิดแผ่นทองคำและเงินขนาดเล็กประกอบลวดลายถือเป็นเอกลักษณ์ ของภาพเนื่องในพุทธศาสนาสมัยเฮอัน

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #21 on: มกราคม 24, 2018, 07:20:14 am »
พระบฏภาพพระอมิตาภะเสด็จลงมารับดวงวิญญาณ

สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-20
ผ้าไหมปัก

พระอมิตาภะประทับเหนือเมฆ มีภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระโพธิสัตว์มหาสถามปราบต์ ประทับอยู่เบื้องล่าง ด้านซ้ายและขวา เชื่อว่าหมายถึงการเสด็จลงมาจากสวรรค์เพื่อรับดวงวิญญาณด้านข้างของภาพมีอักษรจีน มีความหมายถึง แสงสว่างแห่งพระอมิตาภะ และการสวดชื่อของพระองค์จะทำให้ไปถึงสวรรค์ ชั้นสุขาวดี

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #22 on: มกราคม 24, 2018, 07:23:58 am »
พระสูตรอนันตนีรเดชะในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร(วัดคุโนจิ)

สมัยเฮอัน พุทธศตวรรษที่ 17-18
กระดาษสีเชียนด้วยหมึกดำ

เป็นพระสูตรในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร ซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ตกทอดมาจากวัด "คุโนจิ" จึงเรียกว่า "คัมภีร์คุโนจิ" ใช้วิธีเขียนหมึกดำบนกระดาษสี มีการโรยผงแร่ ประดับด้วยทองคำเปลวหินที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #23 on: มกราคม 24, 2018, 07:27:10 am »
กล่องบรรจุคัมภีร์

สมัยเออัน พุทธศตวรรษที่ 17-18
ไม้ลงรัก โรยผงทอง(มากิเอะ)

เป็นกล่องที่ใช้เก็บคัมภีร์สำคัญ ตัวกล่องเป็นไม้ทารักสีดำ ด้านบนและด้านข้างของฝากล่อง ตกแต่งด้วยลวดลายรูปดอกบัว และนกสีทองโดยใช้เทคนิคการโรงทองที่เรียกว่า "มากิเอะ" เป็นผลงานชิ้นเยี่ยมที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางศิลปะสมัยเฮอันตอนปลาย
« Last Edit: มกราคม 24, 2018, 07:31:24 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #24 on: มกราคม 24, 2018, 07:39:47 am »
เดรื่องแต่งกายขุนนางในราชสำนัก

ขุนนางในราชสำนักของสมัยเฮอันจะสวมใส่เครื่องแต่งกายที่เรียกว่า "คาริคินุ" เมื่อยามว่างเช่น เดินทาง หรือล่าสัตว์ ช่วงแขนและลำตัวจะถูกเย็บติดกันเฉพาะหัวไหล่อย่างเดียว สามารถผูกและมัดชายแขนเสื้อที่กว้างให้กระชับ เพื่อที่จะสามารถขยับร่างกายได้อย่างอิสระ เมื่อทำการสวมใส่ชุด"คาริคินุ" จะใส่ชุดที่มีชื่อว่า "โคะโซะเดะ" ไว้ด้านในและสวมเสื้อคลุมชั้นใน"ฮิโตะเอะ" ที่มีความยาวสั้นลงมาถึงระดับเอว และสวม "อาโกะแมะ" ทับซึ่งเป็นเสื้อที่มีผ้าซ้อนกันสองชั้น มีความยาวถึงเอว ด้านล่างสวม "ซาซินุกิ" และสามารถผูมัดชายผ้าได้เพื่อทำให้เดินได้อย่างอิสระ ชุด "คาริคินุ" แบ่งเป็น 2 แบบคือ แบบที่ใส่ในฤดูร้อน และแบบที่ใส่ในฤดูใบไม้ผลิ ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว จากการที่ไม่ีกฏเกณฑ์ของชุดนี้จึงมีการทอลวดลายที่งดงานและเชื่อกที่ใช้ในการมัดขายแขนย้อมสีสลับกันระหว่างสีม่วง สีเขียว สีขาวและสีอื่นๆ อย่างงดงาม

ชุด"ชาชินุกิ" มีการปักลายนูนสีม่วงอ่อนแบบประเพณี โดยใช้ด้านแนวขวางสีขาว ซึ่งเป็นชุด "ซาชินุกิ" ของวัยรุ่น ผู้ชายระดับขุนนางจะสวมชุดเช่นี้พร้อมกับสวมหมวกที่เรียกว่า "เอะโบะชิ" ในยามที่ออกไปท่องเที่ยว

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #25 on: มกราคม 24, 2018, 08:48:09 pm »
นฤมิตศิลป์แห่งราชาสำนัก

ตั้งแต่สมัยเฮอันจนถึงสมัยเอโดะ(ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24) แม้ว่าญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การปกครองระบบจักรพรรดิ แต่ยังมกีการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างสองชนชั้น คือ ขุนนาง และนักรบ เกิดขึ้นอยู่เสมอ

สมัยเฮอัน ขุนนางตระกุล "ฟูจิวาระ" มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับพระจักรพรรดิ จึุงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินช่วยบริหารบ้านเมือง ต่อมาในสมัยคามากุระ นักรบตระกูล "ไทระ" และ "มินาโมโตะ" ได้ทำการยึดอำนาจไว้ จากนั้นจึงเกิดการแย่งชิงอำนาจในราชสำนักญี่ปุ่นระหว่าชนชั้นขุนนาง และนักรบเรื่อยมา

ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยเฮอัน ตระกูลขุนนางผู้มีอำนาจในราชสำนักญี่ปุ่น ได้หันมาสนใจศึกษา ฟื้นฟู พัฒนา และสร้างสรรค์งานศิลป์สาขาต่างๆ ทั้งจิตรกรรม และปติมากรรม ประณีตศิลป์ และวรรณกรรม บนพื้นฐานของวัฒนธรรมพื้นเมืองดั้งเดิมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น โดยสะท้อนความรู้สึก ความสุนทรีย์ ที่สอดคล้องกับ ธรรมชาติ ภูมิอากาศ และบริบททางสังคมของญี่ปุ่น "วัฒนธรรมในราชสำนักชนชั้นขุนนาง" นี้ได้รับการสืบทอดมายาวนานและเป็นรากฐานหนึ่งในวัฒนธรรมญี่ปุ่น

นอกจากนี้ปลายสมัยเฮอัน ถึงสมัยคามากุระเกิด "วัฒนธรรมในราชสำนักชนชั้นนักรบ" ซึ่งแสดงถึงความเข้มแข็ง หนักแน่น และความสุนทรีย์ของตระกูลนักรบนั้น เห็นได้จากโบราณวัตถุประเภทอาวุธ และชุดเกราะ ที่สืบทอดต่อมาในสมัยเอโดะ

แม้ว่ารูปแบบศิลปะที่นฤมิต หรือสร้างสรรค์โดยราชสำนักทั้งสองตระกูลจะมีความหลากหลาย ในที่สุดก็หลอมรวมเป็นวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะของญี่ปุ่นในเวลาต่อมา

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #26 on: มกราคม 24, 2018, 08:56:40 pm »
ชุดเกราะ "นัมบัง"

สมัยอะซึจิโมโมะยามะถึงสมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 21-23
เหล็ก ขนจามรี หนัง

ช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ญี่ปุ่นเริ่มมีการคัดเย็บชุดเกราะที่เรียกว่า "นัมบัง" ขึ้นในชุดประกอบด้วย ส่วนป้องกันลำตัว ศรีษะ ต้นแขน หน้ากาก แขน เข่าและหน้าแข้ง ส่วนป้องกันลำตัวสร้างเลียนแบบชุดเกราะที่นำเข้ามายังญี่ปุ่น ส่วนหน้าอกนุนเป็นสัน บริเวณกลางเสื้อเกราะ มีการประดับอย่างสวยงาม ข้างหลังประดับเป็นรูปภูเขาฟูจิ ส่วนยอดของภูเขาประดับด้วยสีเงินแสดงถึงหิมะ ส่วนหมวกเกราะมีการติดหูกระต่างที่เป็นเอกลักษณ์ ส่วนที่ป้องกันคอประดับลายมังกรและเมฆด้วยเทคนนิคการโรยทอง "มากิเอะ"

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #27 on: มกราคม 24, 2018, 08:57:10 pm »
หูกระต่าย น่ารัก ลดความดุร้าย

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #28 on: มกราคม 24, 2018, 08:58:21 pm »
อักษรหมายถึงอะไรไม่ได้บอกไว้

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #29 on: มกราคม 24, 2018, 09:06:23 pm »
"จิมบะโอริ" ขนสีดำประดับอักษร เลขห้า

สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 24-25
ขนจามรี ทองเหลืองกะไหล่เงิน

ชุด"จิมบะโอริ" ทอด้วยด้ายฝ้ายเส้นหนาและเย็บติดต้วขนจามรีเป็นพวงเล็กๆ จำนวนมาก อีกทั้งใช้ยางรักยึดโคนของแต่ละช่อเพื่อไม่ให้ขนจามรีหลุดร่วง ส่วนปกคอและส่วนผืนผ้าด้านในใช้ผ้าขนสัตว์สีเทาปนเขียวน้ำตาลนำเข้าเรียกว่า "ราชะ"(Raxa) แถบปกด้านหน้าเย็บติดลายฆ้อนเป็นซี่วงล้ออันเป็นลายเฉพาะของญี่ปุ่น ด้านหลังเย็บประดับด้วยอักษร เลขห้า ด้วยโลหะ การใช้วัสดุที่หายากและรูปร่างที่ต่างกันไปของแต่ละบุคคลจึงเป็นเอกลักษณ์ของชุด "จิมบะโอริ" ชุดนี้เล่าสืบกันมาว่าเป็นชุดของคนทำหน้าที่ เป็นฑูตระหว่างรัฐบาลเจ้าเมือง

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #30 on: มกราคม 24, 2018, 09:15:14 pm »
หน้ากากโนะ "มัมบิ"

สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 22-24
ไม้ ระบายสี

หน้ากากนี้เป็นหนัากากหญิงสาวที่มีแก้มป่อง สร้างขึ้นสำหรับบทหญิงสูงศักดิ์ที่มีเสน่ห์ในเรื่อง "โมมิจิการิ" ตามเนื้อเรื่องหญิงสาวจะชวนนักรบไปงานเลี้ยงและแสดงการร่ายรำอย่างสวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจท่ามกลางแสงจันทร์ เมื่อนักรบผุ้นั้นเผลอหลับไปก็จะแปลงกายเป็นยักษ์ แต่หน้ากากหญิงสาวนี้ก็ยังใช้กับบทหญิงสาวทั่วไปในบทบาทที่แสดงถึงความรักอีกด้วย

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #31 on: มกราคม 24, 2018, 09:19:48 pm »
หน้ากากโนะ "ฮันเนีย"

สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 22-24
ไม้ ระบายสี

"ฮันเนีย" เป็นยักษ์ผู้หญิงที่แสดงถึงแรงแค้นของผู้หญิงที่มีต่อผู้ชาย ซึ่งไม่ยอมรับรักของตน หรือ ความหึงหวงต่อผู้ช่ายเจ้าชู้ มีเขา 2 เขา แววตาเป็นประกายสีทอง ผมยุ่งเหยิง ริมฝีปากฉีกกว้าง คิ้วขมวด แสดงให้เห็นถึงความแค้นอย่างรุนแรงที่อยู่ในใจ อีกทั้งแสดงถึงความโดดเดี่ยวและเศร้าโศกของสตรีสูงศักดิ์ เขาและฟันทาด้วยสีทองตาใช้วัสดุทองแดงชุบทอง

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #32 on: มกราคม 24, 2018, 09:24:38 pm »
หน้ากากโนะ "โอโทบิเดะ"

สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 22-24
ไม้ ระบายสี

หน้ากากนี้เป็นหน้ากากที่ใช้ในการเล่นละครโนะ ในบทของเทพเจ้าชื่อ "ชะโอโกนเกน" แสดงหน้าตาที่ดุร้าย มีผิวกายและฟันเป็นสีทองตาที่เบิกกว้างปิดด้วยแผ่นทองแดงชุบทอง อ้าปากกว้างเห็นลิ้น ประติดมากรรมของเทพองค์นี้ยังปรากฏตามวัดต่างๆ มีหน้าที่ช่วยคุ้มครองมนุษย์

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #33 on: มกราคม 24, 2018, 09:29:49 pm »
อานม้า

สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-19
ไม้ลงรักประดับมุก

อานม้าที่ชาวญี่ปุ่นใช้กันโดยทั่วไปแผงด้านหน้าและหลังทำจากไม้โอ๊คเป็นทรงโค้งสูงด้านหน้าทั้งสองข้างเซาะไม้เป็นร่องสำหรับมือจับ ที่นั่งทำจากไม้เกาลัด "ชาวะกริ" ลงรักประดับมุกเป็นลายดอกซากุระที่บานสะพรั่ง โดยใช้เปลือกหอยมุกมาตัดเป็นชิ้นต่างขนาดเพื่อสร้างเป็นลวดลาย ลายต้นซากุระเป็นลวดลายที่นิยมในญี่ปุ่นมายาวนาน อานม้าชิ้นนี้มีความงดงามมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวแทนของอานม้าประดับมุกในสมัยคามากุระ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #34 on: มกราคม 24, 2018, 09:32:17 pm »
การแบ่งยุคสมัย ทางประวัติศาสตร์ และศิลปะของญี่ปุ่น

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #35 on: มกราคม 24, 2018, 09:37:18 pm »
พลวัตวัฒนธรรมเอโดะ

วัฒนธรรมแรกเริ่มของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากจีน ต่อมามีการผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิม จนเป็นลักษณะหรือแบบเฉพาะของญี่ปุ่น เช่น ช่วงต้นสมัยมุโรมาจิ ปรากฏรูปแบบเฉพาะในสังคมของชนชั้นสูงภายในวัง วัด หรือศาลเจ้า กระทั้งพุทธศักราช2146 โชกุนตระกูลโทกุกาวะได้รับการแต่งตั้งจากพระจักรพรรดิให้เป็นรัฐบาล มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองเอโดะ(กรุงโตเกียวในปัจจุบัน) มั่นคงยาวนานกว่า 200 ปี

สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 22-24 มีชาวต่างชาติโดยเฉพาะขาวยุโรปเดินทางเข้ามาญี่ปุ่นเพื่อค้าขายและเผยแผ่พระคริสต์ศาสนา รัฐบาลโทกุกาวะอนุญาตให้ชาวดัตช์หรือฮอลันดาแวะพักที่เกาะเดชิมะ เมืองนางาซากิได้เท่านั้น แม้ญี่ปุ่นมีนโยบายปิดประเทศ แต่เครื่องถ้วยลายครามและเครื่องถ้วยเขียนลายสี กลับเป็นที่นิยมในยุโรปทำให้กิจการผลิตเครื่องถ้วยภายในประเทศญี่ปุ่นพัฒนาอย่างรวดเร็ว

ผู้เป็นพลังขับเคลื่อนให้วัฒนธรรมเอโดะ มีความหลากหลายยิ่งขึ้น คือชาวเมืองซึ่งเป็นสามัญชนที่มีฐานะทางสังคมเศรษฐิกจมั่งคงและมั่งคั่ง หลักฐานสำคัญได้แก่จิตรกรรมหรือภาพเขียนโดยจิตรกรมีชื่อเสียงสกุลช่างต่างๆ ที่เหลืออยู่เป็นจำนวนมาก บางรายยังคงสือบทอดเทคนิคการวาดมาจนทุกวันนี้ เช่น สกุลช่าง "คาโน" วาดภาพ "มุซาซิโนะ" บนฉากโดยได้รับแรงบันดาลใจจากทิวทัศน์ที่สวยงามประทับใจ สกุลช่าง "ริมปะ" ก่อตั้งโดยจิตรกรนามว่า "ทาวารายะโซตาซึ" สืบทอดต่อมาโดย "โอกาตะโคริน" และ "ซากาอิ โฮอิซึ"

นอกจากนี้ยังมีภาพิมพ์อุกิโยเอะ จากแม่พิมพ์ไม้เป็นภาพหลากสีสันเรียกว่า "นิซิกิเอะ" ถ่ายทอดชีวิตความเป็นอยู่ของสามัญชน เช่น นักแสดงคาบูกิ หญิ่งสาวในสถานบันเทิง การแต่งกายของหญิงสาวขาวเมืองเอโดะ ด้วยชุด"โคโซะเดะ" เสียบหวีและปิ่นประดับผม และตุ๊กตาฮินะ ล้วนแสดงถึงวัฒนธรรมตามวิถีชีวิตจริง
« Last Edit: มกราคม 24, 2018, 09:57:34 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #36 on: มกราคม 24, 2018, 09:39:45 pm »
ตุ๊กตา "ฮินะ"

ศักราช "เคียวโฮ"
สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 23-25
ไม้ทาสีขาว ผ้าไหมหลากสี

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #37 on: มกราคม 24, 2018, 09:40:06 pm »
ผู้ชาย

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #38 on: มกราคม 24, 2018, 09:44:54 pm »
โถหกเหลี่ยมลายเขียนสี

สมัยเอโดะ ต้นพุทธศตวรรษที่ 23
เนื้อกระเบื้อง เขียนลายบนเคลือบ

โถหกเหลี่ยมลายเขียนสี เป็นศิลปะ "คากิเอะมง" จากเตาอิมาริ แคว้นฮิเซน ซึ่งส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา เป็นงานที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในราชสำนักและชนชั้นสูงในยุโรปมีเนื้อละเอียด ออกแบบลวดลายได้งดงาม โถใบนี้ตัวโถเขียนภาพนกศักดิ์สิทธิ์ และใบไม้ที่กำลังเปลี่ยนสี ต้นบ๊วย และภาพนกศักดิ์สิทธิ์กับต้นสน ส่วนบนและฝาเขียนลายพันธู์พฤกษาและดอกไม้ มีสีสันสดใสบนพื้นที่ขาวน้ำนม
« Last Edit: มกราคม 24, 2018, 09:58:00 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #39 on: มกราคม 24, 2018, 10:05:28 pm »
ปิ่นปักผม

สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 24-25

ปิ่นปักผมในสมัยโบราณมีบทบาทเป็นเครื่องรางเพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย เมื่อเข้าสู่สมัยเอโดะได้พัฒนาเป็นเครื่องประดับ ส่วนปลายของปิ่นปักผมมีลักษณะเป็นช้อน ซึ่งโบราณนั้นใช้เป็นที่แคะหู ช่วงศักราช "เก็นโรกุ" ปิ่นปักผมนิยมประดับทองคำและเงินเป็นรูปต่างๆ

เมื่อถึงช่วงกลางสมัยเอโดะ มีการประดับปิ่นปักผมด้วยตุ้งติ้ง เวลาเคลื่อนไหวทำให้ตุ้งติ้งสั่นไหวและเกิดเสียงทำให้รู้สึกเพลินเพลินในสัยเอโดะตอนปลาย ปิ่นปักผมทำจากทองคำ และเงิน นิยมประดับรูปลายมงคล และลายพันธุ์พฤกษา 4 ฤดู ห้องตุ้งติ้งหลายเส้น นอกจากนี้นิยมประดับรูปขนาดเล็ก เช่น ผีเสื้อ ดอกสากุระ หรือนก การประดับรูปลายมงคล และสัตว์ตัวเล็กๆ หรือของใช้น่ารัก แสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวและความนิยมในความงามของผู้หญิ่งสมัยนั้น