Author Topic: The History of Japanese Art: Life and Faith  (Read 60712 times)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #40 on: มกราคม 24, 2018, 10:05:59 pm »
อีกแบบ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #41 on: มกราคม 24, 2018, 10:06:15 pm »
อีกแบบ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #42 on: มกราคม 25, 2018, 07:58:20 am »
ดาบญี่ปุ่น

ดาบเหล็กญี่ปุ่นสร้างครั้งแรกในพุทธศตวรรษที่ 10 สมัยบโคฟุน เป็นดาบตรงซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากจีนและคาบสมุทรเกาหลีญี่ปุ่นเริ่มสร้างดาบที่มีความโค้งงอนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-19 เป็นช่วงที่ดาบญี่ปุ่นมีความเจริญมากที่สุด และสร้างอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ แสดงลักษณะเฉพาะของแต่ละภูมิภาค มีช่างดาบที่สำคัญ เช่น อาวาตากุจิ โยชิมิซึ ที่เกียวโต มาซามุเนะ ที่คามากุระ ในแคว้นซากะมิ(จังหวัดคานากาวะ ในปัจจุบัน) อิจิมงจิ โยชิฟุซะ ที่ฟุกุโอกะ ในแคว้นบิเซน(จังหวัด โอกายามะในปัจจุบัน) มิซึคาดะ จากโอซาฟุเนะ เป็นต้น

ช่วงปลายสมัยมุโระมาจิ คนญี่ปุ่นพกดาบใหญ่ไว้ที่เข็มขัด แทนทะจิ โดยห้อยประดับจากเอวหันใบดาบลงด้านล่าง ดาบในสมัย เอโดะเรียกว่า "ชินโต" (ดาบใหม่) ดาบในสมัยก่อนหน้านี้เรียกว่า "โคโต" ช่างดาบมักอาศัยอยู่ที่เกียวโต โซาก้า และเมืองต่างๆ ที่มีปราสาทประจำเมืองโดยตีดาบที่มีรูปแบบใหม่มีความแอ่นโค้งน้อย และมีลายบนใบดาบ ส่วนประกอบของดาบนอกจากด้ามดาบ และฝักดาบแล้วยังมี กำบัง เครื่องประดับด้ามจับ ประดับด้วยทองคำเงิน และทองแดงมีความละเอียด และส่งอิทธพลให้เครื่องประดับโลหะชนิดอื่นๆ ด้วย
« Last Edit: มกราคม 25, 2018, 10:37:18 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #43 on: มกราคม 25, 2018, 08:01:30 am »
ดาบพร้อมฝัก

สมัยเฮอัน พุทธศตวรรษที่ 17-18
ฝักดาบ เทคนิคโรยผงทอง "นาชิจิ" ประดับมุกและกะไหล่ทอง

ดาบชนิดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแต่งกายเต็มยศของชนชั้นสูงเมื่อต้องเข้าร่วมพิธีต่างๆ ในราชสำนัก ผุ้ที่ได้รับพระราชทานอนุญาตเท่านั้นที่จะสามารถพกดาบได้ เดิมเป็นดาบที่ใช้ในพิธีกรรม นำเข้าจากราชวงศ์พังของจีน ในสมัยอาซึกะและนาระ มีการทำสืบทอดกันต่อมาโดยรักษารูปแบบเดิมไว้ และเลียนแบบลวดลายของราชวงศ์ถังด้วย

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #44 on: มกราคม 25, 2018, 08:01:54 am »
ดาบ "ทะจิ"

สมัยเฮอัน พุทธศตวรรษที่ 17-18
เหล็ก

เอกลักษณ์ของดาบญี่ปุ่นคือ มีใบดาบที่เรียวและโค้งงอน มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ช่วงกลาง ของสมัยเฮอัน "ยุกิฮิระ" เป็นช่างตีดาบของแคว้น "บุงโกะ"(ส่วนหนึ่งของจังหวัดโออิตะในปัจจุบัน) ในช่วงต้นของสมัยคามากุระ ดาบนี้มีใบดาบที่เรียวบาง โค้งงอนตั้งแต่ดาบจับเนื้อโลหะดูอ่อนและเหนียว อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของช่างดาบในแถบคิวชู ปรากฏจารึกด้านหนึ่งของวส่วนที่สวมด้ามจับ ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของดาบที่ตีโดยช่าง "ยุกิฮิระ"
« Last Edit: มกราคม 25, 2018, 08:05:19 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #45 on: มกราคม 25, 2018, 08:09:17 am »
ดาบ "คาตะนะ"

สมัยโมโมะยามะ พุทธศตวรรษที่ 22
ศิลปิน ฮังเก
เหล็ก

"โนะตะ เซนซิโร ฮังเก" เป็นช่างฝีมืองของโชกุน โทกุกาวะ อิเอะยาสุ ผู้สถาปนารัฐบาลเอโดะ เดิมเป็นข่างปืนและเปลี่ยนมาเป็นช่างตีดาบแทน แม้ว่าผลงานจะดูเรียบง่ายแต่ก็ยังดูแข็งแกร่ง ดาบเล่มนี้มีใบดาบที่กว้าง ปลายดาบมีขนาดใหญ่กว่าปกติ มีรูปทรบค่อนข้างตรง ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของดาบแบบใหม่ในสัยโมโมะยามะ พื้นดาบปรากฏลวดลายคล้ายลายไม้ขนาดใหญ่เกิดจากการพับและตีดาบซ้ำกันหลายรอบ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #46 on: มกราคม 25, 2018, 07:08:03 pm »
กระเป๋าถือ "ฮาโกะเซโกะ"

สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 24-25


กระเป๋า "ฮาโกะเซโกะ" คือกระเป๋าใส่กระดาษของหญิงสาวชนขั้สสูง ภายในซ่อนกระเป๋าใบเล็กสำหรับใส่ปิ่นปักผม หรือกระจก เมื่อเสียบเก็บลงไปบริเวณหน้าอกเพียงครึ่งเดียวจึงปรากฏให้เห็นปิ่นปักผม ที่มีการประดับตุ้งติ้งไหวไปมา ผิวด้านนอกของกระเป๋า ใช้วัสดุนำเข้าจากต่างประเทศที่หายากเช่น ผ้าทอขนสัตว์ หรือผ้ากำมะหยี่ หุ้มทับบนกระดาษแข็งที่รองเป็นพื้น ปักลายสามมิติเป็นลายดอกไม้ 4 ฤดู ลายมงคล ลายสิ่งของต่างๆ ของญี่ปุ่น เป็นต้น เรียกว่า "โอชิโอะไซคุ" มีที่ยึดกระเป๋าเป็นแถบอยู่จุดกึ่งกลาง และมีการติดถุงหอมเล็กๆ ห้อยลงมา เพื่อไม่ให้กระเป๋าตกเมื่อเสียบไว้ที่คาดเอว "โอบิ"

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #47 on: มกราคม 25, 2018, 07:09:07 pm »
อีกใบ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #48 on: มกราคม 25, 2018, 07:10:32 pm »
ผ้าปักลายต่างๆ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #49 on: มกราคม 25, 2018, 07:11:21 pm »
ผ้าปักลายต่างๆ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #50 on: มกราคม 25, 2018, 07:11:44 pm »
ผ้าปักลายต่างๆ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #51 on: กุมภาพันธ์ 05, 2018, 04:40:16 pm »
จิตรกรรมภาพ "มุซาชิโนะ" บนฉาก

สมัยเอะโดะ พุทธศตวรรษที่ 22-23
ภาพอกฮากิ ดอกคิกุ ดอกเบญจมาศป่า และหญ้าคา บนฉากขนาดใหญ่ 1 ชุดที่ประกอบด้วย 6 แผ่นพับ วาดพระจันทร์สีเงินซ่อนอยู่ด้านหลัง ุท่งหญ้าคาที่มีพื้นหลังเป็นเมฆสีทอง ภาเภูเขาฟูจิ ขนาดใหญ่ถูกปกคุลมด้วยเมฆ เป็นการออกแบบภาพตามโลกในจินตนาการจากบทกวีในสมัยเอโดะ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #52 on: กุมภาพันธ์ 05, 2018, 04:43:16 pm »
จิตกรรมภาพดอกไม้ และนกบนพัด

ภาพเขียนบนพัดรูปนก "ฮาทุโทโอ" เกาะอยู่บนกิ่งกุหลาบเมื่อเปิดพัดจากด้านหนึ่งจะเริ่มเห็นดอกกุหลาบที่บานสะพรั่งจากนั้นจะปรากฏภาพนก เมื่อเปิดจนหมดทำให้เห็นถึงโครงสร้างภาพที่สมส่วนกับรูปทรงโค้งของกระดาษ ศิลปินผู้เชียนภาพนี้คือ "ยามาโมะโตะ ไบอิซึ" เป็นจิตกรในสมัยปลายเอเโดะ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #53 on: กุมภาพันธ์ 05, 2018, 04:45:55 pm »
จิตกรรมภาพนกยูง

ภาพนกยูงเกาะบนก้อนหินกำลังไซ้ขน ขนนกยูงวาดขึ้นโดยใช้น้ำหมึกสีดำ ทั้งที่ควรจะมีสีสันสดใส ขับให้เห็นโครงสร้างปีก ที่มีความซับซ้อน วาดโดยศิลปินชื่อ "โอกาโมโตะ โทโยฮิโกะ" เป็นจิตกรสมัยปลายเอะโดะ ได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นภาพที่สมจริงและเรียบง่าย ในขณะเดียวกันก็แสดงถึงความรู้สึกด้วย

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #54 on: กุมภาพันธ์ 05, 2018, 04:49:08 pm »
กังสดาล

กังสดาลใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทำเป็นรูปต่างๆ เช่น ผีเสื้อ ดอกบัว และอื่นๆ โดยทั่วไปกังสดาลของญี่ปุ่นจะมีมีรูปทรงโค้งคล้ายภูเขา ด้านซ้่ายและขวาสมมาตรกัน ส่วนบนทำหูเพื่อแขวน และทำดุมลายดอกบัวที่จุดศูนย์กลางเป็นจุดสำหรับตีระฆังด้านซ้ายและขวาประดับรูปนกยูง

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #55 on: กุมภาพันธ์ 05, 2018, 05:04:31 pm »
นิกายเซนกับพิธีชงชา


พิธีชงชาในญี่ปุ่น เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ชนชั้นสูง ขุนนาง และนักรบ รวมทั้งตามวัดต่างๆ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นิกายเชน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากพระสงฆ์ และพ่อค้าชาวจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง ตั้งแต่สมัยเฮอัน จนถึงสมัยคามากุระประมาณ 1000 ปีที่แล้ว

ในสมัยมุโรมาจิ โชกุนตระกูลอะชิคากะ นิยมนำเอางานศิลปกรรม และส่งของเครื่องใช้ที่นำเข้าจากจีน และเก็บสะสมไว้ มาประดับตกแต่งห้องและนำมาใช้ในพิธีชงชา เพื่อแสดงถึงอำนาจทางการเมืองของตนเอง เมื่อโชกุนเสื่อมอำนาจลง สามัญชนมีบทบาทยิ่งขึ้น ความนิยมในเรื่องสถานที่ที่ใช้ในพิธีชงชา และอุปกรณืที่ใช้ก็เปลี่ยนแปล่งไป ไม่ได้ให้ความสำคัญกับงานศิลปกรรมจีนอย่างเดียว แต่เริ่มเห็นคุณค่าของสิ่งของที่มีอยู่ และหาได้ในชีวิตประจำวัน เรียกว่า "ซึกิ" จนทำให้เกิด "วาบิซะ" คือการค้นพบสิ่งที่ต้องการหรือความพึงพอใจในชีวิต ผู้ริเริ่มแนวคิด วาบิซะ คือ พระภิกษุในสมัยมูโรนาจินามว่า "ชุโค"(พุทธศักราช 1966-2045) ซึ่งสอดคล้องกับหลับธรรมของเซน คือ การปฏิบัติสมาธิฝึกอบรมจิต เพื่อให้เข้าถึงแก่นแท้ของความรู้ที่เรียกว่า "ฌาน"

ลูกศิษย์ของภิกษุชุโคนามว่า "ทาเกะโนะ โจโอ" พ่อค้าผู้มั่งคั่งปลายสมัยมุโรมาจิ(พุทธศักราช 2045-2098) และเป็นนักประพันธ์บทกลอน "เรงกะ" ได้สร้างสรรค์พิธีชงชา ที่เปี่ยมไปด้วยบรรยากาศ และความงามตามแบบวัฒนธรรมประเพณีญี่ปุ่น โดยนำสิ่งของเครื่องใช้ของญี่ปุ่น และภาพจิตรกรรมเขียนด้วยพู่กันของพระสงฆ์นิกายเซนมาใช้ และประดับตกแต่งห้องชงชา

ต่อมาลูกศิษย์ของโจโอนามว่า "เซนโนะ ริคิว"(พุทธศักราช 2065-2134) ได้รับเกียรติให้เป็นครูสอนชงชาของ "โอะดะ โนบุนางะ" และโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ" ผู้ปกครองประเทศ "ริคิว" เป็นผู้สร้างสรรค์ศิลปการชงชาแบบ "วาบิซะ" ที่มีชื่อเสียงแบบฉบับเฉพาะคน

"ฟุรุตะ โอริเบะ" ลูกศิษย์คนสำคัญของริคิว(พุทธศักราช 2087-2157) ได้สรรหาอุปกรณ์เครื่องใช้แบบใหม่ๆ โดยเฉพาะเครื่องถ้วยมาใช้ในพิธีชชา ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ชนชั้นนักรบสมัยอะซึจิโมโมะยามะ จนถึงสมัยเอโอะตอนต้น มีการสั่งผลิตเครื่องถ้ายหลากหลายรูปแบบจากจีน รวมทั้งมีการผลิตภายในประเทศญึ่ปุ่นปริมาณมากขึ้น

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #56 on: กุมภาพันธ์ 05, 2018, 05:11:04 pm »
ภาชนะบรรจุผงชา(มัตชะ)

ภาชนะชิ้นนี้ใช้สำหรับบรรจุมัตชะ(ใบชา) สร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ที่ชาซิมะ  ทรงกลมคล้ายแอปเปิ้ล ที่เรียกว่าทรง "บุนริง" ปากบานเล็กน้อยเคลือบด้วยน้ำเคลือบสีน้ำตาล น้ำเคลือบสีขาวขุ่นและน้ำเคลือบดำตามลำดับ ช่วงคอถึงใหล่มีสีดำสะท้อนแสงแวววาว จาการเคลือบด้วยเหล์กออกไซด์ คล้ายกับพระจันทร์เต็มดวงท่ามกลางความมืดมิด จึงถูกเรียกว่า "โมจิซึกิ" (แปลว่า พระจันทร์เต็มดวง) มีผ้าคลุมภาชนะชิ้นนี้ 3 ชิ้นหลงเหลือถึงปัจจุบัน

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #57 on: กุมภาพันธ์ 05, 2018, 05:12:01 pm »
ผ้าคลุมถ้วย

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #58 on: กุมภาพันธ์ 05, 2018, 05:13:14 pm »
หม้อน้ำ

พิธีชงชามีอุปกรณ์หลายชนิด หม้อน้ำถูกจัดวางตรงหน้าแขกที่เข้าร่วมตั้งแต่เริ่มทำพิธีกระทั่งจบพิธี หม้อน้ำชิ้นนี้หล่อจากเหล็ก มีรูปทรบที่กลมพองที่เรียกว่าทรง "ชินนาริ" หูจับเป็นรูปสิงห์ ตัวหม้อมีลายรูปไก่ 2 ตัว รวมทั้งภาพธารน้ำ ชายหาด และใบเมเปิ้ลกำลังร่วงหล่น หม้อน้ำของอาชิยะ ได้รับความนิยมในหมู่ชนชั้นสูง นักรบและนักบวชในเมืองเกียวโต จนได้รับการขนานนามว่า ถ้าหากเป็นหม้อน้ำต้องเป็นของ อาซิยะ
« Last Edit: กุมภาพันธ์ 05, 2018, 10:09:22 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #59 on: กุมภาพันธ์ 05, 2018, 10:14:47 pm »
ถ้วยชา "รากุ"

ถ้วยชา "รากุ" มีเอกลักษณ์เฉพาะคือ ไม่ใช้แป้นหมุนขึ้นรูป แต่ใช้มือขึ้นรูปอย่างอิสระ จากนั้นจึงนำเข้าเตา "อุจิคามะ" ซึ่งเป็นเตาเล็กๆ ภายในอาคาร ต้นกำเนิดของการผลิตเครื่องถ้วยเช่นนี้มาจากตระกูล "รากุ" ซึ่งเป็นช่างที่มีชื่อเสียงที่เกียวโต และยังคงสืบทอดตระกูลมาถึงปัจจุบัน ถ้วยชานี้สร้างขึ้นโดยโคนิว รุ่นที่ 3 ของตระกูลรากุ ตรงกลางถ้วยคอดเหมาะสำหรับจับ มีเนื้อค่อนข้างบาง ทน้ำเคลือบเหล็กออกไซด์สีดำหนา แสงแวววาวสีดำที่ปรากฏบนถ้วยชาใบนี้ เป็นลักษณะเฉพาะในถ้วยชาของโคนิว ซึ่งเมื่อมองจากมุมที่ต่างกัน จะเห็นเป็นสีน้ำเงิน