Recent Posts

Pages: [1] 2 3 ... 10
1
293.วัดเซกาเจติยาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บ้านเซกา
เขต/อำเภอ : เซกา
จังหวัด : บึงกาฬ   
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด  : 17.91742, 103.93662

วัดเซกาเจติยาราม ตั้งอยู่ที่ ตำบลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เป็นพระอารามหลวงแห่งใหม่ล่าสุด คือเพิ่งจะได้รับการยกฐานะเป็นพระอาราม หลวงชั้นตรีชนิดสามัญ เมื่อกลางปี พ.ศ.
2555 นี้เอง

ภายในวัดเซกาเจติยารามมี ปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระเจ้าเมืองมูล เซกา และ พระธาตุพุทธเจดีย์ศรีเซกา (พระธาตุกตัญญู) ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุ นอกจากนี้ยังมี โบสถ์มหา
ราชา และ ศาลามหาราชินี

โบสถ์มหาราชา หรือพระอุโบสถ ใหม่ของวัดเซกาเจติยาราม สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2539 ถวายเป็นพระราชกุศล แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพล อดุลยเดช และได้ขอพระราชทานตรา สัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี มาประดิษฐานหน้าบันอุโบสถ ด้วย ศาลามหาราชินี เป็นศาลาโรงธรรม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2547 ถวายเป็น พระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และได้ขอตราพระราชทานตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ขึ้นประดิษฐานที่หน้าบันศาลาโรงธรรมด้วย

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ จิตรดอน
2
292.วัดศรีมงคลใต้

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : มุกดาหาร
เขต/อำเภอ : เมืองมุกดาหาร
จังหวัด : มุกดาหาร
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด  : 16.54371, 104.73117


วัดศรีมงคลใต้ เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อว่า วัดศรีมงคล เป็นวัดประจำเมืองมุกดาหาร ชาวบ้าน มักเรียกว่า วัดเหนือ เพราะตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองมุกดาหาร ต่อมาได้ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการรา วัดศรีมงคลเหนือ และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ปีพุทธศักราช 2340๐ คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ได้แผ่ขยายไปยังหัวเมืองต่าง ๆ พร้อมทั้งได้สร้างวัดขึ้นบริเวณปากห้วยมุกด้านทิศเหนือของเมืองมุกดาหาร และตั้งชื่อว่าวัดศรีมงคลเหนือ ดังนั้น วัดศรีมงคลเหนือจึงได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น วัดศรีมงคลใต้ เพราะความเหมาะสมและเป็นสิริมงคลของคณะสงฆ์ทั้งสองฝ่าย

การสร้างวัดมีประวัติเล่ากันว่า ภายหลังกรุงศรีอยุธยาได้เสียเมืองให้แก่พม่า ปีพุทธศักราช 2310 อาณาจักรล้านช้างก็เสื่อมลง ผู้คนอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านโพนสิน บริเวณพระธาตุอิงฮัง ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ต่อมาท้าวกินรี บุตรของเจ้าจันทรสุริยวงษ์ได้ปกครองสืบมา ได้สร้างเมืองมุกดาหาร และได้สร้างบ้านเมือง บริเวณปากห้วยมุกฝั่งขวาลำน้ำโยง ขณะที่ก่อสร้างเมืองได้พบพระพุทธรูป 2 องค์ อยู่ได้ต้นโพธิ์ใหญ่ ใกล้ต้นตาล 7 ยอด ต่อมาได้สร้างอาคารเสนาสนะสงฆ์จึงมีสภาพเป็นวัดที่สมบูรณ์

วัดศรีมงคลได้ เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป คือ พระเจ้าองค์หลวง และเป็นสถานที ประกอบพิธีดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาของเจ้าเมือง และเหล่าทหารในสมัยโบราณ ได้รับยกฐานะเป็น พระอารามหลวงเป็นกรณีพิเศษ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 เมื่อปีพุทธศักราช 2543


ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
3
291.วัดกลาง จังหวัดกาฬสินธุ์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : กาฬสินธุ์
เขต/อำเภอ : เมืองกาฬสินธุ์
จังหวัด : กาฬสินธุ์
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด  : 16.43499, 103.50248

วัดกลาง สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2378 แต่ไม่ปรากฏหลักฐานผู้สร้าง ในสมัยพระครู กาฬสินธวาจารย์ทิสังฆปาโมกข์ (ยิ้ม) และ พระครูกาฬสินธวาจารย์ (สิ่ง) เป็นเจ้าอาวาสได้บูรณปฏิสังขรณ์ เสนาสนะมาโดยลำดับ จนถึงสมัยพระเทพวิสุทาจารย์ (สุขโณ) ได้พัฒนาทั้งด้านวัตถุ การศึกษา และการ ปฏิบัติธรรมรุดหน้ามาโดยตลอด มีเสนาสนะสิ่งปลูกสร้างถาวรมาตรฐานและถูกต้องตามแบบศิลปะของไทย เป็นวัดตัวอย่างของบรรดาวัดทั้งหลายที่มีในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2521

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดกลาง

ภายในวัดกลางมี พระเจ้าองค์ตำ หรือ พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือเป็นอย่างมากของชาวกาฬสินธุ์ โดยหากปีใดฝนแล้งชาวเมืองจะอัญเชิญพระพุทธรูปออกแห่ขอฝนเสมอ

พระเจ้าองค์ดำ เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 20 นิ้ว มี พุทธลักษณะงดงามมาก ประดิษฐานอยู่ในบุษบก ซึ่งอยู่ใน พระวิหารพระเจ้าองค์ดำ ตั้ง อยู่ทางทิศเหนือของ พระอุโบสถทรงไทย สร้างต่อเติมจากพระอุโบสถหลังเก่า หน้าบันตกแต่งลวดลายปูนปั้นอย่างวิจิตรงดงาม บานประตูและหน้าต่างเป็นไม้แกะสลัก ด้าน หน้าและด้านหลังพระอุโบสถมีทวารบาลปูนปั้น ภายในพระอุโบสถเป็นภาพจิตรกรรม ฝาผนังเรื่องพระเวสสันดร

นอกจากพระพุทธรูปองค์ตำแล้ว ยังมีปูชนียวัตถุที่สำคัญอีก คือ รอย พระพุทธบาทจำลอง ขนาดกว้าง 1 ศอก ยาว 4 ศอก ทำด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยละว้าปกครอง เดิมอยู่ริมฝั่งลำปาวใกล้แก่งสำโรง แต่ต่อมาตลิ่งลำปาวพังเข้ามาทุกปี ชาวเมืองเกรงจะถูกน้ำเซาะทำลาย จึงได้อัญเชิญมาไว้ที่วัดกลาง ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในศาลาการเปรียญ

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 , กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน

4
290.วัดพระธาตุเชิงชุม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ธาตุเชิงชุม
เขต/อำเภอ : เมืองสกลนคร
จังหวัด : สกลนคร
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด  : 17.16469, 104.15294


วัดพระธาตุเชิงชุม เป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวสกลนคร มีตำนาน พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับรอยพระพุทธบาทที่นี่ถึง 4 พระองึ์ อีกทั้งเป็นสถานที่รวมเรื่องราวต่างๆ ของคนในท้องถิ่น ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง วิถีชีวิต วัฒนธรรม และศาสนา จึงเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวในอดีตด้วย

วัดพระธาตุเชิงชุม ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากรูปแบบศิลปกรรมและ สถาปัตยกรรมที่พัฒนามาจากรูปแบบพระธาตุพนม และได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรล้านช้าง ทำให้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา กษัตริย์ล้านช้าง ขึ้นครอง ราชย์ระหว่างปี พ.ศ.2093-2115

ปัจจุบันวัดพระธาตุเชิงชุมเป็นพระอาราม หลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีเนื้อที่ 18 ไร่ 1 งาน 26 ตารางวา กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปีพ.ศ.2478

โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ พระเจดีย์พระธาตุเชิงชุม เป็นเจดีย์ ก่ออิฐถือปูนสูง 30 เมตร สร้างครอบเจดีย์องค์เดิมที่ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะล้านช้าง ตั้ง อยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ตัวเรือนธาตุเป็นทรงบัวเหลี่ยม มีรูปทรงสูงเพรียว ไม่มีลวดลาย ประดับ ส่วนยอดเป็นทรงตอกบัวเหลี่ยมปลายเรียว มีฉัตรประดับ

พระอุโบสถ สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลองและมีพระพุทธชินราชจำลอง เป็นพระประธานในพระอุโบสถ นอกจากนี้ยังมี สิมเก่า หรือพระอุโบสถหลังเดิม เป็นสิมแบบโถง โครงสร้างเป็นไม้ ประดิษฐานพระพุทธ รูปหลายองค์ทั้งพระไม้และปูนปั้น

หลวงพ่อพระองค์แสน พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัด สกลนคร ประดิษฐานอยู่ภายใน พระวิหาร เป็นพระพุทธรูปปูน ปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปกรรมแบบเชียงแสน

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ จิตรดอน

5
289.วัดแจ้งแสงอรุณ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ธาตุเชิงชุม
เขต/อำเภอ : เมืองสกลนคร
จังหวัด : สกลนคร
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด  : 17.16109, 104.14876   
ปรับปรุง คาดว่าเสร็จเมษา 2568

วัดแจ้งแสงอรุณ สร้างโดยพระอุปฮาด (โง่นคำ) ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองสกลนคร คนที่ 3 ได้กำหนดเอาที่ว่างขายเมืองเป็นที่สร้างวัด แต่ก่อนบริเวณนี้ติดกับทุ่งนา อากาศปลอดโปร่ง เป็นที่โล่งแจ้ง จึงได้นามว่า วัดแจ้ง (ท่านผู้นี้เป็นต้นตระกูสพรหมสาขา ณ สกลนคร)

ต่อมากุฏิและเสนาสนะทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์จากเจ้าอาวาสองค์ ต่อ ๆ มา ตามลำดับ

ในปีพุทธศักราช 2508 โดยการนำของพระปลัดสุรสีห์ กิตฺติโสภโณ ได้ปรับปรุงพื้นที่วัดและ เสนาสนะ โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชน มีการสร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม และปรับปรุงบริเวณวัด จึงทำให้มีโรงเรียนและมีการสอนนักธรรมบาลีขึ้น ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2545

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

6
288.วัดโพธิสมภรณ์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : หมากแข้ง
เขต/อำเภอ : เมืองอุดรธานี
จังหวัด : อุดรธานี
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด  : 17.41369, 102.77849


วัดโพธิสมภรณ์ เช่นเดียวกับหลวงพ่อนาคแห่ง วัดมัชฌิมาวาส ภายในวัดโพธิสมภรณ์ มีพระพุทธรูปศิลาแลง ซึ่งจัดเป็น 1 ใน 8 สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอุตรเช่น กัน เป็นที่เคารพนับถือเป็นอย่างมาก ของชาวเมืองอุตรและจังหวัดใกล้เคียง และมีผู้คนนิยมมาไหว้ขอพรเป็นประจำ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปาง ประทานพร สมัยลพบุรี มีอายุกว่า 1,300 ปี ประดิษฐานที่ซุ้มฝาผนังด้าน หลังพระอุโบสถ

นอกจากนี้ยังมี พระบรมธาตุ ธรรมเจดีย์ ภายในบรรจุ พระบรม สารีริกธาตุ และอัฐิธาตุหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระ อุโบสถประดิษฐาน พระประธาน พระนามว่า “พระพุทธรัศมี" พระพุทธ รูปสำริดปางมารวิชัย พระมณฑป ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง ทำด้วยศิลาแลง อายุกว่า 200 ปี

วัดโพธิสมภรณ์สร้างในสมัย รัชกาลที่ 5 ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีเนื้อที่ 39 ไร่ 1 งาน 47 ตารางวา

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ จิตรดอน
7
287.วัดมัชฌิมาวาส

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : หมากแข้ง
เขต/อำเภอ : เมืองอุดรธานี
จังหวัด : อุดรธานี
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด  : 17.41566, 102.79088

วัดมัชฌิมาวาส ชาวบ้านเรียกว่า วัดเก่า เป็นวัดร้าง คือมีเจดีย์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่เนินใกล้ลำห้วย หมากแข้ง และมีพระพุทธรูปหินขาวปางนาคปรก ประดิษฐานในพระวิหาร

สมัยรัชกาลที่ 5 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม โปรดให้สร้างวัดขึ้นที่วัดร้าง โนนหมากแข้ง มีนามว่า วัดมัชฌิมาวาส และได้อาราธนาท่านพระครูธรรมวินยานุยุตต์ (เฟื้อย) เป็น เจ้าอาวาส ต่อมาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ ข้าหลวงรองเป็นเทศาภิบาลมณฑลฝ่ายเหนือได้บูรณปฏิสังขรณ์มาตามลำดับ

พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้ ประดับลายปูนปั้น มีมุขด้านหน้าเป็นที่ ประฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก ซึ่งเป็น พระ รูปที่มีอยู่ก่อนสร้างวัด เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง และ สัญลักษณ์ของวัด

พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธ รูปปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง สร้างเมื่อปีพุทธ ศักราช 2486 พระนามว่า พระพุทธนรศรีมหามุนี

วิหารพระเทพวิสุทธาจารย์ เป็นอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ หน้าบันประดับลายปูนปั้น ภายในประดิษฐาน รูปเหมือนพระเทพวิสุทธาจารย์

พระเจดีย์ ลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2514 ภายในบรรจุอัฐิ พระเทพวิสุทธาจารย์ เจ้าอาวาดรูปที่ 3

ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก 2 ชั้น ลักษณะทรงไทย หลังคา มุงกระเบื้อง สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2519 ตั้งชื่อว่า ศาลาบุญสิงห์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร พระนามว่า พระพุทธาวศิษฐ์

หลวงพ่อนาค พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน เมือง มีอายุหลายร้อยปี เล่ากันว่า หลวงพ่อนาค เคยสร้างอิทธิปาฏิหาริย์อย่างน่าอัศจรรย์อยู่เนือง ๆ

ที่มา : พระอารมหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
8
ถึงจุดหมายปลายทางแล้ว ขอบคุณครับที่ติดตาม
9
ดอกต้นไผ่ที่เก็บน้ำค้างไว้
10
ยอดไม้ก็แตกออก เติบโตไปอีกหลายวัน
Pages: [1] 2 3 ... 10