1
โครงการ...ของลุงชาติ / Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Last post by designbydx on ธันวาคม 15, 2024, 02:18:29 pm »286.วัดพระธาตุพนม
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด : วรมหาวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ธาตุพนม
เขต/อำเภอ : ธาตุพนม
จังหวัด : นครพนม
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.8
พิกัด : 16.9426, 104.72382
วัดพระธาตุพนม เป็นวัดโบราณ โดยพญาสุมิตธรรมวงศา เจ้าเมืองมรุกขนครให้พลเทวอำมาตย์ สร้างกุฏิวิหารให้พระอรหันต์ 5 องค์ อยู่จำพรรษาบริเวณรอบองค์พระบรมธาตุ คือ
พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ พระจุลสุวรรณปราสาทเถระ อยู่ทางด้านทิศใต้
พระมหารัตนเถระ และพระจุลรัตนเถระ อยู่ทางตะวันตก
พระสังขวิชชเถระ อยู่ทางด้านทิศเหนือ
ต่อมาก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมและ พระธาตุหลายยุคหลายสมัย และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.2439
พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย พระนามว่า พระองค์แสนศาสตา
พระวิหารหลวง หรือวิหารหอพระแก้ว เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง เคลือบ ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน ประดับลายปูนปั้น อยู่คู่กับพระอุโบสถทางด้านหน้า องค์พระธาตุพนม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ปางมารวิชัย พระนามว่า พระพุทธมารวิชัยศาสดา
องค์พระธาตุพนมบรมเจดีย์เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพกราบไหว้ สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและ ชาวต่างประเทศมานานนับพันปีในแถบแม่น้ำโขง อันได้แก่ชาวไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เพราะเป็นที่บรรจุพระบรมสาริกธาตุส่วนที่เรียกว่า พระอุรังคธาตุ ของพระพุทธเจ้า พระธาตุพนม ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาแม่น้ำโขง อำเภอธาตุพนม จังหวัด
นครพนม สูงจากพื้นดิน 53 เมตร องค์ฉัตรทำด้วย ทองคำหนักประมาณ 16 กิโลกรัม ปลายยอดปลี เป็นบัวตูมเงินล้อมด้วยเพชร จํานวน ๒๐๐ เม็ด
***พระอุรังคธาตุ หมายถึง พระบรมธาตุส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า
องค์พระธาตุพนม ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์โดย ลำดับ
การบูรณะครั้งที่ 1 ในราวพุทธศักราช 500 โดยมีพญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ 5 องค์ เป็นประธาน ในการบูรณะ ครั้งนั้น ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกดีแล้วมาก่อต่อเติมจาก ยอดพระธาตุพนมองค์เดิมให้สูงขึ้นไปอีกประมาณ 28 เมตร (สันนิษฐานดูตามลักษณะก้อนอิฐหลังจาก องค์พระธาตุพนมหักพังลง) แล้วอัญเชิญ พระอุรังคธาตุออกจากอุโมงค์เดิม ซึ่งทำการบรรจุ ตั้งแต่สมัยพระมหากัสสปเถระ ขึ้นไปประดิษฐาน ไว้ใหม่ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สอง แล้วปิดประตู อย่างมิดชิด
และมีการบูรณะต่อมาเรื่อยๆ มากกว่า 6 ครั้ง
ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด : วรมหาวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ธาตุพนม
เขต/อำเภอ : ธาตุพนม
จังหวัด : นครพนม
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.8
พิกัด : 16.9426, 104.72382
วัดพระธาตุพนม เป็นวัดโบราณ โดยพญาสุมิตธรรมวงศา เจ้าเมืองมรุกขนครให้พลเทวอำมาตย์ สร้างกุฏิวิหารให้พระอรหันต์ 5 องค์ อยู่จำพรรษาบริเวณรอบองค์พระบรมธาตุ คือ
พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ พระจุลสุวรรณปราสาทเถระ อยู่ทางด้านทิศใต้
พระมหารัตนเถระ และพระจุลรัตนเถระ อยู่ทางตะวันตก
พระสังขวิชชเถระ อยู่ทางด้านทิศเหนือ
ต่อมาก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมและ พระธาตุหลายยุคหลายสมัย และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.2439
พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย พระนามว่า พระองค์แสนศาสตา
พระวิหารหลวง หรือวิหารหอพระแก้ว เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง เคลือบ ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน ประดับลายปูนปั้น อยู่คู่กับพระอุโบสถทางด้านหน้า องค์พระธาตุพนม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ปางมารวิชัย พระนามว่า พระพุทธมารวิชัยศาสดา
องค์พระธาตุพนมบรมเจดีย์เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพกราบไหว้ สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและ ชาวต่างประเทศมานานนับพันปีในแถบแม่น้ำโขง อันได้แก่ชาวไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เพราะเป็นที่บรรจุพระบรมสาริกธาตุส่วนที่เรียกว่า พระอุรังคธาตุ ของพระพุทธเจ้า พระธาตุพนม ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาแม่น้ำโขง อำเภอธาตุพนม จังหวัด
นครพนม สูงจากพื้นดิน 53 เมตร องค์ฉัตรทำด้วย ทองคำหนักประมาณ 16 กิโลกรัม ปลายยอดปลี เป็นบัวตูมเงินล้อมด้วยเพชร จํานวน ๒๐๐ เม็ด
***พระอุรังคธาตุ หมายถึง พระบรมธาตุส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า
องค์พระธาตุพนม ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์โดย ลำดับ
การบูรณะครั้งที่ 1 ในราวพุทธศักราช 500 โดยมีพญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ 5 องค์ เป็นประธาน ในการบูรณะ ครั้งนั้น ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกดีแล้วมาก่อต่อเติมจาก ยอดพระธาตุพนมองค์เดิมให้สูงขึ้นไปอีกประมาณ 28 เมตร (สันนิษฐานดูตามลักษณะก้อนอิฐหลังจาก องค์พระธาตุพนมหักพังลง) แล้วอัญเชิญ พระอุรังคธาตุออกจากอุโมงค์เดิม ซึ่งทำการบรรจุ ตั้งแต่สมัยพระมหากัสสปเถระ ขึ้นไปประดิษฐาน ไว้ใหม่ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สอง แล้วปิดประตู อย่างมิดชิด
และมีการบูรณะต่อมาเรื่อยๆ มากกว่า 6 ครั้ง
ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม