โครงกระดูกวัว
ขุดพบจาก การดำเนินงานโบราณคดี โดยสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา บริเวณภายในเมืองโบราณบ้านคูเมือง พ.ศ.2560
สมัย ทวารวดี(1,400-1,000 ปีมาแล้ว)
ลักษณะที่พบ วัวหันหันศรีษะไปทางทิศตะวันออก ตะแคงหน้ามาทางทิศใต้ ระดับความลึก 80 ซม. จากผิวดิน
หลักฐานพบร่วม เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินสมัยทวารวดีปะปนในชั้นดินเดียวกับโครงกระดูกวัวซึ่งเป็นเศษภาชนะดินเผาที่มักพบจากชั้นวัฒนธรรมสมัยทวารวดีทั่วไป ได้แก่ เศษภาชนะดินเผา ประเภทหม้อมีสัน เศษภาชนะดินเผาผิวเรียบ หรือ ตกแต่งผิวด้วยลายเชือกทาบ ทาน้ำดิน ฯลฯ และลูกปัดแก้ว 1 ลูก แต่หลักฐานที่ร่วมชั้นดินเดียวกับโครงกระดูกวัวนี้จะพบในปริมาณที่น้อยหากเปรียบเทียบกับชั้นวัฒนธรรมสมัยทวารวดี ที่ปรากฏในระดับที่ลึกกว่าระดับโครงกระดูกวัว