Author Topic: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย  (Read 171036 times)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #280 on: เมษายน 20, 2024, 07:35:19 am »
281.วัดมหาสมณาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด : ราชวรวิหาร
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : คลองกระแซง
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เพชรบุรี   
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2386 รัชกาลที่ 3
พิกัด  : 13.10991, 99.93849

***ทำวัตรเช้า 08.00 น.

วัดมหาสมณารามหรือวัดเขา เป็นวัดสร้างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 3 ประมาณ พ.ศ. 2386 ตั้งอยู่บนเขาสมน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างพระนครคีรีขึ้นบนยอดเขาสมน ซึ่งโปรดให้ เปลี่ยนชื่อเป็นเขามหาสวรรค์ พร้อมกับทรงปฏิสังขรณ์วัดเขาเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า "วัดเขาสมณาราม"(เลียนเสียงเดิมคือวัดเขาสมน) โปรดให้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาใน พ.ศ. 2403 ต่อมาโปรดให้เปลี่ยนชื่อ วัดเป็น "วัดมหาสมณาราม"

วัดมหาสมณารามได้เจริญรุ่งเรืองด้วยพระบรมราชูปถัมภ์ ของรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลต่อๆ มา ตลอดจนศรัทธาของ ประชาชนซึ่งมีมาไม่ขาดสาย

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย, สมบัติ จำปาเงิน

« Last Edit: เมษายน 20, 2024, 02:07:23 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #281 on: พฤษภาคม 01, 2024, 04:29:35 am »
282.วัดแจ้ง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เมืองนครศรีธรรมราช
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : นครศรีธรรมราช
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ. 1823
พิกัด  : 8.45136, 99.96123

วัดแจ้งเป็นวัดโบราณสร้างมานานตามประวัติว่าสร้างในสมัยกรุงสุโขทัยราว พ.ศ. 1823 รัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยมีมหาเถระอนุรุทธจากเมืองยศโสทร (ยโสธรในปัจจุบัน) มาดำเนินการก่อสร้าง ทำให้วัดเจริญขึ้นเป็นลำดับ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 1 ราว พ.ศ. 2330 วัดแจ้งได้ทรุดโทรมลงเพราะขาดการบำรุงรักษาเท่าที่ควร ได้มีคุณชีซึ่งเป็น พี่สาวของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์ หรือ พัด) พร้อมกับท่าน ผู้หญิงผู้เป็นมารดาของท่านเจ้าพระยานคร (ศรีธรรมราช) ได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ คุณชีมุ่งทำทางวัดแจ้ง ส่วนท่านผู้หญิงตอนหลังเน้นทำวัดประดู่พัฒนาราม วัดทั้งสองนี้ชาวนครศรีธรรมราชถือเป็นวัดแม่ลูกกัน (แม่สร้าง วัดประดู่ฯ ลูกสร้างวัดแจ้ง) นับเป็นวัดสำหรับเจ้าผู้ครองเมืองนคร ตั้งแต่ บัดนั้นจนมาถึงตระกูล ณ นคร สืบต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้

วัดนี้นอกจากเป็นวัดที่เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ต้นสกุล ณ นคร ได้สร้างและทะนุบำรุงตลอดมาแล้ว เมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชเสด็จมาปราบก๊กเจ้านคร ได้ทรงประกอบพิธีปลุกเสกเพื่อความ ศักดิ์สิทธิ์ที่พระอุโบสถวัดนี้ จึงมีเก๋งเก็บบรมอัฐิพระเจ้าตากสินและอัฐิ ของเจ้านครญาติวงศ์และมิตรสนิทของท่าน นับเป็นวัดประวัติศาสตร์ที่ ได้รับการบูรณะพัฒนาจากสกุล ณ นครและประชาชนอย่างดีตลอดมา วัดแจ้งได้รับยกฐานะสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ใน พ.ศ.2529

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย, สมบัติ จำปาเงิน

« Last Edit: พฤษภาคม 01, 2024, 04:37:53 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #282 on: กรกฎาคม 14, 2024, 03:57:28 pm »
283.วัดสระแก้ว

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : สระแก้ว
เขต/อำเภอ : เมืองสระแก้ว
จังหวัด : สระแก้ว
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2466
พิกัด  : 13.81924, 102.06681

วัดสระแก้วเดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดหรอง วัดศาลานอก หรือวัดหนองกอไฟ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2453 ปลายรัชกาลที่ 5 ต่อมาปี พ.ศ.2466 หลวงพ่อพรหมา จนฺทสโร ร่วมกับท่านขุนประกอบวิชาการ ปลัดกิ่งอำเภอสระแก้ว และชาวบ้าน ย้ายมาสร้างวัดในที่แห่งนี้ไหม่ โดยมี พระครูรัตนสราธิคุณ หรือหลวงพ่อทอง เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกเมื่อ พ.ศ. 2491 วิหารหลวงพ่อทอง เป็นวิหารทรงไทย ที่ประดิษฐานพระรูปหล่อของหลวงพ่อทอง หรือพระครูรัตนสราธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดสระแก้วที่ชาวสระแก้วให้ความเคารพ นับถือ หลวงพ่อทองมีคุณูปการทั้งในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและใช้วิชาแพทย์แผนโบราณรักษาโรคให้ชาวบ้าน

วัดสระแก้วเดิมเป็นวัดราษฎร์ พ.ศ.2543 เลื่อนเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีแห่งแรกของจังหวัดสระแก้ว เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ที่มา : ป้ายในวัด


Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #283 on: กรกฎาคม 14, 2024, 04:03:47 pm »
284.วัดบางกระเบา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บางกระเบา
เขต/อำเภอ : บ้านสร้าง
จังหวัด : ปราจีนบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2380
พิกัด  : 13.96849, 101.20543

วัดบางกระเบา สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2380 เดิมชื่อว่า วัดน้อยนางหงส์ เพราะนายน้อย นางหงส์ เป็นผู้สร้าง ต่อมาประชาชนเห็นว่าบริเวณที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง มีต้นกระเบา ขึ้นอยู่หนาแน่น เป็นต้นไม้ยืนต้น มีผลรับประทานได้ อีกทั้งเมล็ดยังเป็นยารักษาโรคได้ จึงตั้งชื่อวัดว่า วัดบางกระเบา

ในอดีตวัดบางกระเบา เป็นที่พักของทหารไทยก่อนออกสงครามอินโดจีน และรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จ ประพาสทางแม่น้ำบางปะกงและทรงแวะพักที่วัด พร้อมได้ถวายเรือมาดให้กับวัด เพื่อใช้ในกิจการของสงฆ์ ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2543

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #284 on: กรกฎาคม 14, 2024, 04:08:50 pm »
285.วัดแก้วพิจิตร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : หน้าเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองปราจีนบุรี
จังหวัด : ปราจีนบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2422
พิกัด  : 14.05415, 101.38571

วัดแก้วพิจิตร สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2422 สมัยรัชกาลที่ 5 โดยนางแก้ว ประสังสิต ร่วมกับ ผู้มีจิตศรัทธา ชาวบ้านบางบริบูรณ์ บ้านปากคลองกระแจะ และบ้านคลองวัวแห่งเมืองปราจีนบุรี ศรัทธา ในการที่จะสืบต่อพระพุทธศาสนา ได้สร้างวัดแก้วพิจิตร เพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทาง พระพุทธศาสนา

ตลอดระยะเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของวัดแก้วพิจิตร พุทธศาสนิกชนได้ร่วมกันทำการบูรณะและ พัฒนาวัดแก้วพิจิตรตลอดมา และครั้งที่สำคัญโดยการนำของท่านเจ้าพระยาภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ได้ทำนุบำรุงวัด ฝางเสนาสนะถาวรและปูชนียวัตถุ และถาวรวัตถุที่เจ้าพระยาอภัยภูเบศรอำนวยการก่อสร้างทั้งที่เป็นของใหม่ และที่แทนหลังเติมที่ทรุดโทรม ได้แก่ โรงเรียนพระธรรม บาลี และหนังสือไทยอภัยพิทยาคาร อุโบสถ และหอไตร

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: กรกฎาคม 14, 2024, 04:14:42 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #285 on: ธันวาคม 15, 2024, 02:18:29 pm »
286.วัดพระธาตุพนม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิด : วรมหาวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ธาตุพนม
เขต/อำเภอ : ธาตุพนม
จังหวัด : นครพนม
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.8
พิกัด  : 16.9426, 104.72382

วัดพระธาตุพนม เป็นวัดโบราณ โดยพญาสุมิตธรรมวงศา เจ้าเมืองมรุกขนครให้พลเทวอำมาตย์ สร้างกุฏิวิหารให้พระอรหันต์ 5 องค์ อยู่จำพรรษาบริเวณรอบองค์พระบรมธาตุ คือ

พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ พระจุลสุวรรณปราสาทเถระ อยู่ทางด้านทิศใต้
พระมหารัตนเถระ และพระจุลรัตนเถระ อยู่ทางตะวันตก
พระสังขวิชชเถระ อยู่ทางด้านทิศเหนือ

ต่อมาก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมและ พระธาตุหลายยุคหลายสมัย และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.2439

พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย พระนามว่า พระองค์แสนศาสตา

พระวิหารหลวง หรือวิหารหอพระแก้ว เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง เคลือบ ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน ประดับลายปูนปั้น อยู่คู่กับพระอุโบสถทางด้านหน้า องค์พระธาตุพนม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ปางมารวิชัย พระนามว่า พระพุทธมารวิชัยศาสดา

องค์พระธาตุพนมบรมเจดีย์เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพกราบไหว้ สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและ ชาวต่างประเทศมานานนับพันปีในแถบแม่น้ำโขง อันได้แก่ชาวไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เพราะเป็นที่บรรจุพระบรมสาริกธาตุส่วนที่เรียกว่า “พระอุรังคธาตุ” ของพระพุทธเจ้า พระธาตุพนม ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาแม่น้ำโขง อำเภอธาตุพนม จังหวัด
นครพนม สูงจากพื้นดิน 53 เมตร องค์ฉัตรทำด้วย ทองคำหนักประมาณ 16 กิโลกรัม ปลายยอดปลี เป็นบัวตูมเงินล้อมด้วยเพชร จํานวน ๒๐๐ เม็ด

***
พระอุรังคธาตุ หมายถึง พระบรมธาตุส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า

องค์พระธาตุพนม ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์โดย ลำดับ
การบูรณะครั้งที่ 1 ในราวพุทธศักราช 500 โดยมีพญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ 5 องค์ เป็นประธาน ในการบูรณะ ครั้งนั้น ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกดีแล้วมาก่อต่อเติมจาก ยอดพระธาตุพนมองค์เดิมให้สูงขึ้นไปอีกประมาณ 28 เมตร (สันนิษฐานดูตามลักษณะก้อนอิฐหลังจาก องค์พระธาตุพนมหักพังลง) แล้วอัญเชิญ พระอุรังคธาตุออกจากอุโมงค์เดิม ซึ่งทำการบรรจุ ตั้งแต่สมัยพระมหากัสสปเถระ ขึ้นไปประดิษฐาน ไว้ใหม่ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สอง แล้วปิดประตู อย่างมิดชิด

และมีการบูรณะต่อมาเรื่อยๆ มากกว่า 6 ครั้ง

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม