Author Topic: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย  (Read 163775 times)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #100 on: กันยายน 20, 2018, 09:19:22 pm »
101.วัดไพชยนต์พลเสพย์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางพึ่ง
เขต/อำเภอ   : พระประแดง
จังหวัด : สมุทรปราการ
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ.2365
พิกัด : 13.6672, 100.52703

***ทำวัตรเช้า 08.00 น.วัตรเย็น 16.00 น.

วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร สร้างเมื่อราว พ.ศ. 2365 ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่น ศักดิพลเสพย์ ผู้ซึ่งเป็นแม่กองสร้างเมืองเขื่อนขันธ์ที่ยังคั่งค้างอยู่ พร้อมสร้างป้อมเพชรหึง และขุดคลองปากลัดหลังนครเขื่อนขันธ์ และพระองค์ทรงรับเป็นพระอุปการะมาโดยตลอด เมื่อพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวร ในรัชกาลที่ 3 วัดนี้จึงมีความสำคัญมากขึ้นและยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เป็นวัดที่มีพระอุโบสถและพระวิหาร ที่งดงามมาก สิ่งที่สำคัญภายในวัด เช่น พระประธานปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองประดิษฐานอยู่บนบุษบก พระพุทธรูปหล่อปางยืนถวายแนตรที่ซุ้มหน้าพระวิหาร พระประธานใหญ่ภายในพระวิหารปางมารวิชัย

ที่มา : ป้ายในวัด

« Last Edit: กรกฎาคม 01, 2022, 04:00:52 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
102.วัดชินวราราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางขะแยง
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : ปทุมธานี
พ.ศ. ที่สร้าง : -
พิกัด : 13.96675, 100.5303

***เปิดตลอด

เดิมชื่อวัดมะขามใต้ สร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 2 เป็นวัดรามัญนิกาย (วัดมอญ) ต่อมาได้รวมวัดร้างนิกายเดียวกันอีกสองวัดคือ วัดใน และวัดคลองควาย ทำให้วัดมะขามใต้มีขนาดใหญ่มากวัดหนึ่ง

พ.ศ. 2455 พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้เสด็จไปตรวจวัดในอำเภอเมืองจังหวัดปทุมธานี เสด็จถึงวัดมะขามใต้ทรงเห็นทำเลดี แต่มีอุโบสถซึ่งเริ่มก่อผนังไว้บ้างแล้วยังไม่มีใครช่วยปฏิสังขรณ์ต่อให้สำเร็จจึงทรงรับที่จะปฏิสังขรณ์ต่อไปเพื่ออุทิศกุศลถวายหม่อมมารดา ดังที่ตั้งพระทัยไว้นานแล้ว เมื่อปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้วได้จัดฉลองใน พ.ศ.2456 ต่อจากนั้นได้ทรงสร้างเสริมซ่อมแซมเพิ่มเติมตลอดมาเป็นลำดับ

พ.ศ. 2476 วัดเจตวงศ์ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมากทางคณะสงฆ์จึงให้มารวมด้วยอีกวัดหนึ่งวัดมะขามใต้ได้รับพระราชทานโปรดให้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงพร้อมกับให้เปลี่ยนนามวัดเป็น "วัดชินวราราม" ใน พ.ศ. 2481 เพื่อเป็นพระอนุสรณ์แด่กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ผู้ทรงมีอุปการคุณแก่วัดเป็นอย่างยิ่งทำให้วัดได้เจริญรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน

« Last Edit: มิถุนายน 28, 2022, 06:29:54 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
103.วัดทองนพคุณ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : คลองสาน
เขต/อำเภอ   : คลองสาน
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***ทำวัตรเช้า 08.00 เย็น 17.00 น.

วัดทองนพคุณ เดิมชื่อว่า "วัดทองล่าง" ตั้งอยู่ถัดจากวัดทองธรรมชาติหรือวัดทองบน ซึ่งเป็นวัดที่สร้างคู่กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 วัดทองล่างได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์โดยพระยาโชฏึกราชเศรษฐี(ทองจีน ไกรฤกษ์)

ปัจจุบันวัดทองนพคุณเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ มีที่ดินตั้งวัดประมาณ 20 ไร่ เศษ มีสิ่งที่น่าสนใจภายในวัดคือ ภาพจิตกรรม ภายในพระอุโบสถ

Wat Thong Noppakhun
Located net to Wat Thong Thammachat(Wat Thong Bon), Wat Thong Nopphakhun was also an ancient temple of the Ayutthaya period. It was originally named Wat Thong Lang, and built togerther with Wat Thong Bon.

The temple was restored by Phraya Chodokratchasetthi(Thongchin Krairoek), and upgraded to be a royal monastery in the reign of King Rama III.

The most interested feature of the temple is the mural painting inside the Ubosot(Ordination Hall) depicting Jataka, the Ten Lives of the Buddha Episodes.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
« Last Edit: กุมภาพันธ์ 24, 2022, 04:41:47 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
104.วัดวชิรธรรมสาธิต วรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางจาก
เขต/อำเภอ   : พระโขนง
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***เปิดตลอด

วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร เดิมชาวบ้านเรียก "วัดทุ่งสาธิต" เป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางจิตใจของชาวพระโขนงมานานเล่าต่อมาว่า สร้างโดยนายวันดี คหบดีชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทร์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์รับวัดทุ่งสาธิต ไว้ในพระอุปถัมภ์จัดตั้งเป็นพระอารามหลวงได้พระราชทานนามว่า "วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร" วัดแห่งนี้มีพระอุโบสถที่สวยงามและพระเจดีย์จุฬามณีศรีล้านนา ซึ่งได้จำลองมาจากพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ภายในพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 25 องค์ พระอรหันต์สาวกธาตุ 289 องค์ และพุทธรูปทองคำอีก 2 องค์

Wat WachiraTham Sathit
Wat WachiraTham Sathit used to be called ''Wat Tung Satit''. The temple is the center for the people who live in ther Pra Kanong area for along time. It was told that a Laotian Baron, Wandi who moved from moved from Vientiane, built the the temple on September 9, 1965, King Bhumibol Adulyadej was kind to let prince Vajiralongkorn accept the temple under Patongnage. The temple level was raised to be a royal temple and named ''Wat Vachira Dhammasathit'' This temple has a beautiful Ubosot(Main Chapel) and Chulamansrilanana Stupa, a duplicate of the Hariphunchaistupa in Lamphun province in the stupa there are 25 units of lord Buddha relics, 289 units of Buddhist saint relics and two gold Buddha images.

ที่มา ป้ายในวัด
« Last Edit: กุมภาพันธ์ 18, 2022, 09:28:31 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #104 on: กุมภาพันธ์ 10, 2019, 08:29:25 am »
105.วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก      
ชนิด   : ราชวรมหาวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : พระปฐมเจดีย์
เขต/อำเภอ   : เมือง   
จังหวัด : นครปฐม   
พ.ศ. ที่สร้าง : สร้างยุคทวารวดี
พิกัด : 13.81972, 100.06005

***เปิดตลอด

« Last Edit: เมษายน 17, 2022, 07:44:14 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
« Reply #105 on: กุมภาพันธ์ 10, 2019, 08:31:44 am »
106.วัดพระประโทณเจดีย์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : พระประโทน
เขต/อำเภอ   : เมืองนครปฐม
จังหวัด : นครปฐม   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***วัตรเย็น 17.00 น.

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
« Reply #106 on: กุมภาพันธ์ 10, 2019, 08:33:55 am »
107.วัดพระงาม พระอารามหลวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : พระปฐมเจดีย์
เขต/อำเภอ   : เมืองนครปฐม
จังหวัด : นครปฐม   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***วัตรเย็น 17.00 น.

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
« Reply #107 on: กุมภาพันธ์ 10, 2019, 08:35:26 am »
108.วัดไร่ขิงพระอารามหลวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ไร่ขิง
เขต/อำเภอ   : สามพราน
จังหวัด : นครปฐม   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***เปิดตลอด

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
« Reply #108 on: กุมภาพันธ์ 10, 2019, 08:37:36 am »
109.วัดเสนหาพระอารามหลวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : พระปฐมเจดีย์
เขต/อำเภอ   : เมืองนครปฐม
จังหวัด : นครปฐม   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***น่าจะเปิดเฉพาะทำวัตร
« Last Edit: เมษายน 02, 2019, 08:49:11 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #109 on: เมษายน 02, 2019, 08:51:36 pm »
110.วัดพระสิงห์ (จังหวัดเชียงใหม่)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก      
ชนิด   : วรมหาวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : พระสิงห์
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยพระเจ้าคำฟู
พิกัด : 18.78852, 98.98199

***เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

วัดพระสิงห์ เป็นวัดโบราณอยู่ใกล้กับประตูสวนดอก เป็นประตูกำแพงเมืองชั้นในด้านทิศตะวันตก แต่เดิมเป็นวัดป่าอยู่ด้านทิศตะวันตกของ ลีเชียง แปลว่า ตลาดประจำเมือง ชาวบ้านเรียกว่า "วัดลีเชียง" สร้างขึ้นสมัยพระเจ้าคำฟูครองเมืองเชียงใหม่

ปี พ.ศ.1877 พระเจ้าคำฟูได้ย้ายจากเมืองเชียงใหม่ไปครองเมืองเชียงแสนเป็นเวลาประมาณ 10 ปีเศษ ก็สวรรคต พระเจ้าผายูราชโอรส กษัตริย์แห่งล้านนา อันดับที่ 7 ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ระหว่างปี พ.ศ.1887-1910 ได้อัญเชิญพระอัฐิและพระอังคารของพระราชบิดามายังเมืองเชียงใหม่โปรดให้ก่อพระสถูปบรรจุไว้ที่วัดลีเชียง และสร้างพระวิหารขึ้นแล้วโปรดให้นิมนต์พระมหาอุภัยจุลเถระจากนครหริภุญไชยมาเป็นเจ้าอาวาสวัดลีเชียงเมื่อปี พ.ศ. 1888 พร้อมกับได้จัดให้มีมหกรรมฉลองสมโภชขนานนามว่า "วัดลีเชียงพระ"

ปี พ.ศ. 1943 เจ้ามหาพรหม ได้อาศัยเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่ ได้กลับมายังเมืองเชียงใหม่พร้อมกับอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาถวายพระเจ้าแสนเมือง พระเจ้าแสนเมืองมาจึงโปรดให้นำไปประดิษฐานไว้ ณ พระวิหารวัดลีเชียงพระ ตั้งแต่นั้นมาประชาชนนิยมเรียกว่า วัดพระสิงห์

วัดพระสิงห์เป็นศูนย์กลางการชุมนุมประกอบพิธีและงานสำคัญต่างๆ ของชาวเมืองเชียงใหม่สืบต่อกันมาโดยตลอด จนปี พ.ศ. 2319 เมืองเชียงใหม่ตกเป็นเมืองร้าง เป็นเหตุให้วัดพระสิงห์กลายเป็นวัดร้าง ปี พ.ศ. 2339 พระยากาวิละในราชวงศ์ทิพย์ช้าง ได้เป็นเจ้าผู้ครองนครและฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดพระสิงห์ได้เจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง มีการเขียนภาพจิตกรรมฝาผนังพระวิหารลายคำ ในรัชสมัยของเจ้าหลวงช้างเผือก(ธรรมลังกา) ปี พ.ศ.2461 วัดประสิงห์กับมาเป็นวัดร้างอีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.2467 เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่อันดับที่ 9 ในราชวงศ์ทิพย์ช้าง กับเจ้าดารารัศมีพระราชชายาในรัชกาลที่ 5 ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างถาวรวัตถุ อาคารเสนาสนะ ได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ.2483

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: พฤษภาคม 23, 2022, 07:16:08 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #110 on: เมษายน 02, 2019, 08:53:02 pm »
111.วัดเจดีย์หลวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : พระสิงห์
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่   
พ.ศ. ที่สร้าง :พ.ศ. 1913-1954
พิกัด : 18.78696, 98.98658

***เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

วัดเจดีย์หลวง เป็นวัดที่มี พระเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์เม็งราย(พ.ศ. 1913-1954) ลักษณะพระเจดีย์เป็นทรงปราสาท ศิลปะแบบอินเดียผสมลังกา ฐานสี่เหลี่ยมก่อด้วยศิลาแลง ขนาดกว้างด้านละ 54 เมตร สูง 98 เมตร ปัจจุบันส่วนบนปรักหักพังเหลือความสูงประมาณ 40 เมตร มีบันไดนาคเลื้อยลงมา ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหารนอกจานี้ยังมี "เสาอินทขิล" หรือหลักเมืองเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ภายใน "พระวิหารอินทขิล" ซึ่งเป็นอาคารแบบจัตุรมุขคล้ายมณฑป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระวิหารหลวง

ในแต่ละปีจะมีการจัดงานฉลองสมโภชเสาอินทขิลเป็นเวลา 7 วัน ด้วยการบูชาด้วยข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน น้ำอบน้ำหอม การละเล่นพื้นเมืองศิลปะพื้นบ้านต่างๆ ที่เรียกว่าประเพณีบูชาเสาอินทขิล

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน
« Last Edit: พฤษภาคม 18, 2022, 03:44:22 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #111 on: เมษายน 02, 2019, 08:54:30 pm »
112.วัดศรีโสดา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : สุเทพ
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่   
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ.2476
พิกัด : 18.81432, 98.94566

***เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

วัดศรีโสดา สร้างเมื่อปี พ.ศ.2476 โดยพระครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา หรือครูบาศิลธรรม ได้รับจารึกเป็นประวัติศาสตร์คู่นครเชียงใหม่ เพราะเป็นจุดลงจอบแรกการขุดถนนขึ้นดอยสุเทพ โดยมีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ลงจอบแรกเป็นปฐมฤกษ์ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2477 เป็นจุดเริ่มต้น เส้นทางบุญ สำหรับสัญจรไปนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นผ่านป่าเขาที่สูงชัน ทุรกันดาร หุบเหวลึก ระยะทาง 11 กิโลเมตร ใช้เวลาสร้าง 5 เดือน 22 วัน สำเร็จด้วยพลังศรัทธาประชาชน นับเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ๋ของครูบาศรีวิชัย ที่ชาวล้านนาและนักท่องเที่ยวทั่วโลก หากได้มาเยือนเมืองเชียงใหม่ ต่างก็แวะสักการบูชาอนุสาวรีย์ท่านครูบาศรีวิชัย เพื่อเป็นสิริมงคล

ความสำคัญและความผูกพันกับการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2477 เริ่มจากหลวงศรีประกาศ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และผู้แทนราษฏรจังหวัดเชียงใหม่ในขณะนั้น คิดจะนำไฟฟ้าขึ้นไปติดตั้งบนดอยสุเทพ แต่ไม่มีงบประมาณจึงได้ขอพึ่งบุญบารมีครูบาศรีวิชัย ท่านเห็นด้วย แต่ขออธิษฐานดูก่อนว่าเป็นไปได้หรือไม่ ท่านอธิษฐานถึง 2 ครั้ง ปรากฏว่าเป็นไปได้ยาก แต่การสร้างถนนขึ้นไปจะเสร็จเร็วกว่า จึงตกลงสร้างถนน ณ จุดเริ่มต้นบริเวณเชิงดอยสุเทพ ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดศรีโสดาในปัจจุบัน

ระหว่างการสร้างถนน ท่านครูบาศรีวิชัยได้สร้างวัดขึ้นควบคู่กันไป 4 วัด โดยตั้งชื่อให้มีความหมายเกี่ยวโยงถึงคุณภาพที่ผู้ปฏิบัติธรรมพึงบรรลุได้ คือ มรรค ผล นิพพาน เทียบพระอริยบุคคลในพระพทธศาสนา 4 ชั้น วัดแรกที่สร้างคือ วัดโสดาบัน วัดสกทาคามี วัดอนาคามี และวัดอรหันต์ สร้างบนยอดดอย ต่อมาวัดโสดาบัน เปลี่ยนชื่อเป็น วัดศรีโสดา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเปลี่ยนสมัยใด น่าจะอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2484-2509 สมัยครูบาเสาร์ นารโท เป็นเจ้าอาวาส สาเหตุที่เติมคำว่า ศรี สันนิษฐานว่ามาจากชื่อครูบาศรีวิชัย เพื่อเป็นอนุสรณ์ยกย่องเชิดชู รำลึกคุณูปการ ที่ท่านสร้างวัดศรีโสดาขึ้นมา ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2551

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: พฤษภาคม 23, 2022, 08:54:13 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
113.วัดสวนดอก

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : สุเทพ
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่   
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ.1914
พิกัด : 18.78823, 98.96776

***เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

วัดสวนดอกพระอารามหลวง(วัดบุปผาราม)  พระเมืองแก้ว หรือ พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช กษัตริย์เชียงใหม่ ในราชวงศ์มังราย องค์ที่ 10 ได้รับสั่งให้ช่างเชียงแสนที่มีฝีมือปราณีตที่สุดมาทำการหล่อองค์พระปฏิมากรตามพระราชประสงค์ ในปี พ.ศ.2047 โปรดให้เริ่มดำเนินการหล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่ มีพระประสงค์เพื่อไปเป็นพระประธานวัดพระสิงห์ แต่เมื่อหล่อองค์พระเสร็จแล้ว มีขนาดใหญ่มากไม่สามารถที่จะเคลื่อนย้ายไปได้ พระองค์จึงโปรดให้สร้างพระอุโบสถขึ้น เป็นที่ประดิษฐานองค์พระที่วัดเก้าตื้อ คนทั้งหลายจึงนิยมเรียก "พระเจ้าเก้าตื้อ" ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

เนื่องจากคนทั่งไปนิยมเรียกขานพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ว่า "พระเจ้าเก้าตื้อ" (คำว่า เก้าตื้อ แปลว่า ตั้งโกฏิ หรือหลักโกฏิ) และเรียกชื่อวัดตามพระนามขององค์พระว่า "วัดเก้าตื้อ" จึงทำให้กลายเป็น 2 วัดในเวลาต่อมา โดยวัดเก้าตื้อมีกำแพงรอบอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดบุปฝารามสวนดอก ปัจจุบันได้มีการรวมวัดทั้งสองเข้าด้วยกัน

ที่มา : ป้ายในวัด

วัดสวนดอกเดิมเป็นสวนดอกไม้ของพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์เม็งราย ซึ่งได้อุทิศที่ดินนี้สร้างวัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1914 และได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากสุโขทัยมาประดิษฐานที่ พระเจดีย์ประธาน ภายในวัด เมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาถึงวัด ได้เกิดปาฏิหารย์แยกเป็นสองส่วน จึงได้นำพระบรมสารีริกธาตุอีกส่วนไปบรรจุไว้ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นเสมือนวัดพี่น้อง

ต่อมาวัดสวนดอกกลายเป็นวัดร้าง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2450 เจ้าดารารัศมีได้ย้ายเอาเจดีย์บรรจุอัฐิของตระกูล ณ เชียงใหม่มาไว้ที่นี่ วัดสวนดอกจึงกลายเป็นที่เก็บอัฐิของราชวงศ์เชียงใหม่สืบมา

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน
« Last Edit: พฤษภาคม 18, 2022, 03:24:11 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
114.วัดเจ็ดยอด(จังหวัดเชียงใหม่)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ช้างเผือก
เขต/อำเภอ   : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยพรเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์เม็งราย
พิกัด : 18.80907, 98.97219

***เปิดตลอดวัดท่องเที่ยว

วัดเจ็ดยอดเป็นวัดที่สำคัญมากวัดหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เพราะใช้เป็นสถานที่ทำการสังคยนาพระไตรปิฏกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และเป็นครั้งที่ 8 ของโลก เมื่อปี พ.ศ.2020 โดยใช้เวลาประชุมสังคยนานาน 1 ปี

วัดเจ็ดยอดสร้างขึ้นในสมัยพรเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์เม็งราย และได้ปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ และจำลองสถานที่สำคัญ 7 แห่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับเสวยวิมุติสุข หลังตรัสรู้ ได้แก่ โพธิบัลลังก์(เจดีย์เจ็ดยอด) อมินิสเจดีย์ รตนฆรเจดีย์ เป็นต้น เนื่องจากวัดมีเจดีย์ที่มียอด 7 องค์ คนทั่วไปจึงนิยมเรียกว่า "วัดเจ็ดยอด"

วัดเจ็ดยอดได้กลายเป็นวัดร้างเจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้มาฟื้นฟูบ้านเมืองและบูรณะวัดทั่วเชียงใหม่รวมทั้งวัดเจ็ดยอดด้วย

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2  กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่อเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน
« Last Edit: พฤษภาคม 22, 2022, 09:21:50 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
115.วัดมหาธาตุวรวิหาร(จังหวัด ราชบุรี)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : หน้าเมือง
เขต/อำเภอ   : เมืองราชบุรี
จังหวัด : ราชบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***ทำวัตรเข้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น.
« Last Edit: พฤศจิกายน 27, 2022, 06:12:27 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
116.วัดศรีสุริยวงศาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : หน้าเมือง
เขต/อำเภอ   : เมืองราชบุรี
จังหวัด : ราชบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***ทำวัตรเข้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น. ตอนไปเปิดตลอด

« Last Edit: เมษายน 14, 2019, 06:54:41 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
117.วัดเขาวัง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : หน้าเมือง
เขต/อำเภอ   : เมืองราชบุรี
จังหวัด : ราชบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***ทำวัตรเข้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น.

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
118.วัดหนองหอย

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : เขาแร้ง
เขต/อำเภอ   : เมืองราชบุรี
จังหวัด : ราชบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***ทำวัตรเข้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น.



Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
119.วัดบัวงาม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บัวงาม
เขต/อำเภอ   : ดำเนินสะดวก
จังหวัด : ราชบุรี
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***เปิดตลอด แต่ประตูปิดไว้กันหมาเข้า

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
120.วัดอัมพวันเจติยาราม   

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท      
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : อัมพวา
เขต/อำเภอ   : อัมพวา
จังหวัด : สมุทรสงคราม
พ.ศ. ที่สร้าง :-

***เปิดตลอด