วิวัฒนาการเพื่อชีวิตบนที่สูง
ดูเหมือนที่กล่าวมานั้นจะให้ข้อคิดว่า การเพิ่มขึ้นของเฮโมโกลบิลนั้นเป็นเพียงผลข้างเคียงของภาวะขาดออกซิเจน มากกว่าที่จะเป็นวิธีการแก้ปัญหาจึงมีการรวบรวมหลักฐานเพิ่มขึ้นจากผุ้คนที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบสูงทิเบต เมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา การอพยพถิ่นฐานของชาวฮั่นจากจีนแผ่นดินใหญ่ขึ้นมาที่ราบสูงแห่งนี้ได้กลายมาเป็นแหล่งทดลองตามธรรมชาติ สำหรับการศึกษาในเนื่องความแตกต่างการปรับตัวระหว่างผู้คนบนพื้นที่ต่ำกับประชาชนที่ผ่านวิวัฒนาการมากว่าพันปีในการใช้ชีวิตอยู่บนพื้นที่สูง
ในทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 ลอร์นา มัวร์ กับเพื่อนร่วมงานที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด ทำการศึกษาการตั้งครรภ์และการคลอดลูกบนที่ราบสูงแห่งนั้น พวกเธอพบว่าสตรีชาวฮั่นก็เหมือนกับนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกที่ไปเยือนภูเขาเอเวอร์เลสคือ มีการผลิตเฮโมโกลบินเพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ อันเป็นเหตุให้พวกเธอมีความเสี่องต่อผลข้างเคียงที่เกิดจากภาวะเลือข้นเหนียว รวมไปถึงภาวะ เส้นโลหิตในสมองแตกและลิ่มเลือดอุดตัน ทั้งนี้ การเพิ่มขื้นของความดันโลหิตยังไปเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะชักในขณะตั้งครรภ์อีกด้วย
นั่นช่างขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับสรีรวิทยาของสตรีมีครรภ์ชาวทิเบตซึ่งไม่ได้มีค่าเฮโมโกลบินในเลือดเพิ่มขึ้น คือยังคงมีระดับใกล้เคียงกับผู้คนที่อาศัยอยู่ ณ ระดับน้ำทะเล ผลที่ได้ก็คือ สตรีชาวทิเบตมีอัตราการเกิดการตายขณะคลอด หรือการคลอดก่อกำหนดน้อยกว่าสตรีจีนชาวฮั่นที่อยู่บนพื้นที่สูงด้วยกัน ทั้งทารกแรกเกิดของสตรีทิเบตยังมี น้ำหนักตัวสูงกว่าอีกด้วย(American Journal of Human Biology, ฉบับที่ 13, หน้า 635)
ที่ลึกลับน่าฉงนก็คือ ชาวทิเบตทุกคนล้วนมีระดับออซิเจนในเลือดต่ำอย่างน่าประหลาดใจ แต่กระนั้นมันก็ยังมีพลังมากพอที่จะบำรุงเลี้ยงร่างกายมีเชื้อเพลิงพลังงานพอที่จะขับเคลื่อนชีวิตไปได้อย่างมีสุขภาพ ดังนั้น ดูตามรูปการณ์ก็น่าจะเป็นว่า ประชากรที่เผชิญหน้ากับภาวะขาดออกซิเจนเป็นปกติในชีวิตประจำวัน กระบวนการทางวิวัฒนาการจะเป็นตัวพาพวกเขาเดินอ้อมความเสี่ยงต่อภาวะเลือดหนืดข้นเป็นซุปไป โดยการหารวิธีอื่นมารับมือกับสภาวะขาดแคลนอากาศหายใจดังกล่าวแทน การค้นพบครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนความคิดเห็นโดยงานชิ้นหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ที่เสนอวิธีคัดเลือกยีนซึ่งทำหน้าที่ควบคุมปริมาณเฮโมโกลบินโดยตรงในชาวทิเบตออกมา ราสมุส เนลเชน ประจำมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เสีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ ร่วมกับคณะวิจัยจากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาแห่งประเทศจีนซึ่งตั้งอยู่ ณ กรุงปักกิ่ง ช่วยกันเปรียบเทียบรหัสพันธุกรรมดีเอ็นเอของชาวทิเบต 50 คน ซึ่งอาศัยอยู่ตามหมู่บ้านที่ระดับ 4,300 ม. และ 4,600 ม. เหนือน้ำทะเล กับชาวจีนฮั่น 40 คน ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงปักกิ่งที่ระดับ 43 ม. เหนือน้ำทะเล ความแตกต่างที่พบมากที่สุดอยู่ที่ดีเอ็นเอซึ่งอยู่ใกล้ๆกับยีนที่ชื่อ EPAS1 ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการผลิตเฮโมโกลบินโดยมีค่าความหลากหลายสูงถึงร้อยละ 87 ในชาวทิเบต ในขณะที่กลุ่มชาวจีนฮั่นมีความหลากหลายเพียงร้อยละ 9 เท่านั้นเอง การศึกษาในเวลาต่อมายังพบความแตกต่างในยีน EGLN1 ซึ่งเป็นตังสร้างรหัสให้โปรตีนชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญในการควบคุมระดับออกซิเจนในร่างกาย รวมถึงความแต่กต่างในยีน PRARA ซึ่งดูเหมือนว่าจะทำหน้าที่ควบคุมการผลิตเฮโมโกลบินเช่นกัน(Science, ฉบับที่ 329, หน้า 75)