Author Topic: Creating DSLR Video ถ่ายวีดีโออย่างมือโปร ด้วยกล้อง DSLR  (Read 22259 times)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Creating DSLR Video ถ่ายวีดีโออย่างมือโปร ด้วยกล้อง DSLR
เขียนโดย Richard Harrington
แปลโดย นารีรัตน์ พัทยากร
สรุปโดย Hikingthai.com

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
การเลือกกล้อง และอุปกรณ์
1. ให้ดูอุปกรณ์เดิมที่เรามีก่อนว่านำมาใช้กับกล้องที่เราจะซื้อหรือไม่ ถ้าไม่มีอะไรเลยข้ามไป

2. หยิบจัดถนัดมือ อันนี้เรื่องจริง ถ้ามันไม่เข้ามือชีวิตเปลี่ยนเลยนะ

3. หน้าจอหลังกล้องใหญ่ ละเอียด สว่าง พับปรับหมุนได้ เพราะตอนถ่ายหลังใช้จอหลังกล้องเป็นหลัก

4. ความละเอียดของเซนเซอร์ กล้อง DSLR เซนเซอร์ใหญ่อยู่แล้วเราต้องการแค่ความละเอียดที่มาตรฐานวงการทีวีไฮเดฟฟินิทชั่นแบบไวด์สกรีน
HD = 1366 x 768
Full HD = 1920 x 1080(2 MPixel)
Ultra HD (4K) = 3840 x 2160 ( 8 MPixel)
จะเห็นว่ากล้องปัจจุบันมีความละเอียดเกินที่ต้องการอยู่แล้ว

มาตรฐาน 4K หรือ Ultra High Definition คือมาตรฐานใหม่ของความละเอียดของ "จอภาพ" และ "คอนเทนต์" โดย K ย่อมาจาก Kilo ซึ่งเท่ากับ 1000 ดังนี้ 4K ก็หมายถึง 4000 นั่นเอง สำหรับความละเอียดหน้าจอสำหรับทีวี 4K แบบ Widescreen หมายถึงมีความละเอียด 3840 x 2160 พิกเซล ผลรวมออกมาก็ได้ประมาณ 8.29 ล้านพิกเซล ทั้งนี้ความละเอียดในแนวนอนเท่ากับ 3840 เพื่อให้ง่ายต่อการเรียกจึงมีการปัดเศษขึ้นให้เป็น 4000 จึงเป็นที่มาของคำว่า 4K นั่นเอง  ในทางกลับกันทีวี Full HD ซึ่งเป็นมาตรฐานในตอนนี้มีความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล ซึ่งผลรวมออกมาได้ประมาณ 2.07 ล้านพิกเซล จะเห็นได้ว่าความละเอียดหน้าจอของทีวี 4K มากกว่าทีวีแบบ Full HD ถึง 4 เท่า โดยเจ้าความละเอียด 4K นั้นกำลังจะเข้ามาเป็นมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งการถ่ายทำด้วยกล้องความละเอียด 4K และจอฉายแบบ 4K และตลอดจนสินค้าทีวีและโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนท์
ที่มา: https://www.value.co.th/th/service/articles/4k.htm

5. แบตสำรองควรมีอย่างน้อย 3 ก้อนถ้าถ่ายทั้งวัน แต่แบตแท้ก็แพงมาก ลองศึกษาดูว่ารุ่นที่เราซื้อเมื่อใช้แบตเทียบแล้วมีปัญหาอะไรบ้างไหม และก็ที่ชาร์ก็มีเพียงพอด้วยนะ ผมเคยมีที่ชาร์อันเดียว แต่ต้องชาร์หลายก้อน ต้องตั้งนาฬิกาปลุกเพื่อมาเปลียนแบตน่ะ ทรมานนะ

6. การเลือกเลนส์ ก็เหมือนเดิมดูตามการใช้งานน่ะครับ แต่เขาแนะนำว่าควรจะมี Fix Len ติดไว้ด้วยนะครับ เพราะว่ามันจะมี f กว้าง 1.4-2.8 ทำให้สะดวกในการถ่ายที่แสงน้อย เลนส์ซูม f มันไม่คงที่(f ไหล) แต่สำรับเริ่มต้นเขาแนะนำให้ใช้เลนส์ค่ายเดียวกับกล้องก่อนนะครับเพราะความเข้ากันได้กับกล้อง จะดีกว่าการใช้เลนส์ค่ายอื่น เขาว่างั้น

7. Memory Card เลือกที่มีความเร็วสูง หากความเร็วไม่สัมพันธ์กับกล้องจะเกิดการสะดุด เรียกว่า Dropping Frames เลือกที่มีบอกไว้ว่าเร็วอย่างน้อย 133x หรือแบบ 300x แต่เร็วกว่านี้ก็จะดีมาก การ์ดประเภท CF ให้ดูที่เขียนว่า UDMA (Ultra Direct Memory Access) ถ้าประเภท SDHC ให้มองหาคำว่า Class10 หรือ สูงกว่านั้น

8. เวลาถ่ายควรมีขาตั้งกล้องจะ 3 ขา หรือขาเดี่ยวก็ได้ และหัวกล้องควรเป็นแบบแพน และเป็นแบบ Fluid Head จะลื่นไหลเหมือนปลาไหลเลยนะ  ;D ;D

ฟอร์แมตของการถ่ายวีดีโอของกล้อง DSLR
1. H.264 เป็นฟอร์แมตที่ใช้กันมากที่สุด ซึ่ง Canon Nikon ก็ใช้ฟอร์แมตนี้
2. AVCHD (Advance Video Coding High Definition) เป็นฟอร์แมตที่ Sony and Panasonic สร้างขึ้นมา
3. Motion JPEG หรือ Photo JPEG เป็นฟอร์แมตที่มีมาก่อน 2 ข้อแรก อยู่ในกล้อง Nikon รุ่นแรกๆ


ความยาวในการถ่าย
จะเห็นว่ากล้องบางรุ่นให้ถ่ายต่อเนื่องแบบจำกัดเวลา เพราะว่ารูปแบบการเก็บข้อมูลของ Memory Card นั่นเอง ถ้าอยู่ในรูปแบบ FAT32 ก็จะเขียนไฟล์ใหญ่ได้ไม่เกิน 4GB จึงต้องมีการหยุดถ่ายเริ่มบันทึกใหม่นั่นเอง ตอนถ่ายเราก็ต้องวางแผนให้ดี ต้องหยุดช่วงไหน จะได้ไม่เกินเวลาที่บันทึกได้

การตั้งค่ากล้อง
1.ขนาดเฟรม จากที่พูดไว้แล้วข้างต้นสำหรับ Wide Screen High Definition สัดส่วนจะเป็น 16:9 (เหมาะกับถ่ายออกโทรทัศน์)
HD = 1366 x 768
Full HD = 1920 x 1080 เขาจะเรียกว่า 1080p นิยมอันนี้ ก่อนหน้านี้จะมี 1280x720 เรียกว่า 720p(ไม่นิยมแล้ว)
Ultra HD (4K) = 3840 x 2160 กำลังมาแทนที่ในปัจจุบัน
แต่มันก็มีงานอื่นๆ ที่ใช้กันนะครับ ดังตารางอยู่ข้างล่าง  อันนี้เฉพาะงาน 4K นะครับ
 ที่มา: https://www.value.co.th/th/service/articles/4k.htm

2. เฟรมเรท(fps= frame per sec) เขาบอกว่ามนุษย์เราจะเห็นภาพเคลื่อนไหวที่ 8 เฟรมต่อวินาที แต่จะให้ลื่นไหลต้องไม่ต่ำกว่า 24 เฟรมต่อวินาที

60 fps เรทมาตรฐานสำหรับ HD 720p ใช้ในสหัรัฐส่งสัญญาณภาพแบบ NTSC(National Television System Committee)
50 fps เรทมาตรฐานสำหรับ HD 720p ใช้แถบยุโรป และประเทศที่ส่งสัญญาณแบบ PAL(Phase Alternating Line)
30 fps จริงๆ คือ 29.97 นะครับ เห็นได้บ่อยใน สหรัฐส่งสัญญาณภาพแบบ NTSC
25 fps ใช้แถบยุโรป และประเทศที่ส่งสัญญาณแบบ PAL
24 fps เฟรมเรททีใกล้เคียงกับภาพยนตร์

การเลือกใช้ก็ขึ้นกับประเภทงานที่ใช้นะครับ อย่างเช่น ต้องการทำ Slow or Super Slow motion ก็ต้องใช้เฟรมเรทที่สูงๆ จะได้เนียนๆ ปัจจุบันเห็นของ Sony ทำได้ถึง 1000 fps แต่ว่าขนาดเฟรมอาจจะไม่ใช่แบบ Full HD น่าจะเล็กกว่านี้นะครับ ลองค้นดู และการถ่ายควรจะเลือก fps ให้เหมือนกันตลอดนะครับเพราะว่าตอนตัดต่อจะได้มีความเข้ากันได้

3. White Balance เขาแนะนำอย่าใช้ Auto ให้ปรับให้ได้เลยตั้งแต่แรก กรณี Auto มันจะไวต่อแสง เมื่อมีคนเดินผ่าน มีเมฆ ก็จะทำให้สภาพสี แสงในวีดีโอเปลี่ยนไป อันนี้เห็นด้วย ถ้าจะให้ชัวร์ ก็ใช้การภาพอ้างอิงเหมือนถ่ายภาพนะครับ

4. โหมดการถ่าย แนะนำให้ใช้ Manual

5. Picture Styles หรือ Controls  เขาบอกว่าให้ตั้งเป็น Standard เพราะว่าพอเอาไปตัดต่อแล้วจะยืดหยุ่นมากกว่าการถ่ายผ่าน Picture Styles มา สรุปคือแบบ Standard ลดทอนคุณภาพน้อยสุดนั่นเอง

« Last Edit: เมษายน 09, 2016, 10:44:17 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
การเปิดรับแสงและการโฟกัส

1.ก็เหมือนกันกับถ่ายภาพครับ การถ่ายจะเลือกถ่ายแบบกลางๆ ไว้ก่อน แล้วจะมาปรับในขั้นตอนการตัดต่ออีกที ความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้ ให้คูณ 2 กับเฟรมเรท ที่เราถ่าย เช่น ถ่ายที่ 24 fps ความเร็วขัตเตอร์ไม่ควรต่ำกว่า 1/48 เพื่อหลีกเลี่ยง Motion Blur ครับ

2.การโฟกัส ก็แนะนำให้ใช้แบบแมนนวล นะครับ มันยาก ก็ต้องฝึกๆๆ นะครับ วิธีนึงที่ใช้กันเพื่อไม่ให้หลุดโฟกัสคือ ใช้ Loupe คือเครื่องช่วยขายจอหลังกล้องให้เห็นฃัดและใหญ่ขึ้นเขาแนะนำ Zacuto Z-Finder: www.zacuto.com, Hoodman Cinema Kit Pro:www.hoodmanusa.com, LCDVF: www.kinotehnik.com, Cavision MHE3Q-P:www.cavision.com หรืออีกอย่างก็คือต่อจอแยกออกมาอีก เสียตังอีกแระพอๆๆๆ

3. Iso ที่ใฃ้ หากต้องการดันสูง แนะนำให้ทดลองถ่ายและปรับ iso ไปเรื่อยๆ จนเรารับไม่ได้ที่ค่าไหน แต่ละกล้องก็จะปรับได้สูงไม่เท่ากัน ต้องทดสอบอย่างเดียว

การจัดองค์ประกอบ

1.หลักการเดียวกับการถ่ายภาพ Master Shot, Wide Shot, Medium Shot, Close-up รูปแบบมุมกล้องเขาแนะนำไว้งี้ ระดับสายตาใช้กับงานสารคดี ข่าว หรือรายงานเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เพราะว่าเป็นรูปแบบที่คนเราเห็นเป็นปกติอยุ่ ก็คือเหมือนจริงมากที่สุดนะครับ มุมสูงหรือเหนือศรีษะ มุมกล้องเหมือนก้มลงไปมอง มุมต่ำช่วยเพิ่มความสำคัญให้กับตัวแบบมากขึ้น มุมเฉียง เรียกว่า Dutch Angle ปกติวางเฉียง 25-45 องศา สื่อถึงความเครียดๆ หน่อยๆ จะเห็นในมิวสิค แต่ในสารคดีจะไม่เห็นเลย

2.ใช้หลักการ กฎสามส่วน เส้นสำสายตา กฎ 180องศา แต่สิ่งที่สำคัญคือ การลำดับภาพ เล่าเรื่อง ควรมีการเขียนสิสต์ในการถ่ายวีดีโอ
**กฏ 180 องศา สรุปคือ เวลามีแบบที่สำคัญ วัตถุ หรือคน 2 คนขึ้นไป เวลาถ่ายให้คำนึงถึงกฏนี้ ก็คือ ให้เราแบ่งครึ่งฉากอันตรงไหนก็ได้ เวลาหมุนกล้องเป็นเส้นโค้งห้ามหมุนเกิน 180 องศา หรือ  อ่านที่ http://www.thaidfilm.com/read.php?tid=10932

การถ่ายในที่แสงน้อย
1. ไม่พ้นดัน Iso แต่ก็ดันไม่เท่าที่เราพอใจ ตามข้างต้นที่บอกว่าต้องทดสอบก่อนว่ายอมรับได้ที่เท่าไร มีวิธีการทดสอบดังนี้
   1.1วางกล้องไว้ในห้องมืดๆ หรือระเบียงที่มีแสงน้อย
   1.2ตั้งค่า iso100 บันทึกเสียง และก็ถ่ายโดยพูดค่า iso ลงไปในวีดีโอ
   1.3 บันทึกที่ iso ต่างๆ กันออกไป คลิปละ 10 วิ ก็พอ ก็ทดสอบไปหลายๆ ค่า
   1.4เปิดไฟล์ตรวจสอบดู โดยเปิดไฟล์ให้ขยาย 100% เราก็จะทราบแล้วว่า กล้องเรา เรายอมรับที่ iso เท่าไร

2.ใช้เสนส์ที่มีความไวแสงสูง f 2.8 ถ้าเราใช้แบบ f ไหลก็จะต้องปรับใหม่ถ้าเราเปลี่ยนระยะซูมน่ะ

3. ใช้ loupe ช่วยให้เห็นโฟกัสง่ายขึ้น ข้อดีของมันคือ ป้องกันแสงรบกวนจากภายนอก ทำให้ตัดสินใจเรื่องการเปิดรับแสงและคอนทราสต์ได้ดีขึ้น ช่วยให้กล้องนิ่งขึ้น บางตัวมีปรับโฟกัสสายตาให้ด้วย

4. ไม่ควรเปลี่ยนค่า f ระหว่างการถ่ายวีดีโอ แต่ควรเปลี่ยน iso แทนอันนี้เปลี่ยนขณะได้ถ่ายได้ เขาว่างี้นะ ส่วนความเร็วชัพเตอร์ทีเหมาะสม ดุว่าเราถ่ายที่เฟรมเรทเท่าไร แล้วคูณ 2 เข้าไป แต่ก็ไม่ได้บังคับนะ หากต้องการภาพที่แตกต่างไปก็ลองดู

5.การถ่ายช่วงพระอาทิตย์ขึ้น หรือ ตก ถ่ายพระอาทิตย์ขึ้นก็ยากหน่อยที่จะรู้ว่าขึ้นตำแหน่งไหน แก้ได้โดยใช้ App ส่วนพระอาทิตย์ตกง่าย ก็ตามดวงอาทิตย์ไปเห็นอยู่แล้ว จัดองค์ประกอบให้พร้อม ให้ดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลาง โฟกัสอินฟินิตี้ไว้ หรือไม่ก็ถ่าย TimeLapse เลย

6.การถ่ายในร่มก็จะคล้ายกัน เราจะเพิ่มแสงด้วยเครื่องมืออื่นๆ เช่น โคมไฟจีน  Shop Light โคมไฟยึดสะท้อนแสง หลอด LED หลอดฟลูออเรสเซ็นต์ ก็จัดไฟตามหลักการทั่วไป มี
   6.1ไฟหลัก เป็นไฟทีสว่างที่สุด วางอยู่ด้านข้างของแบบในตำแหน่ง 15 และ 45 องศา
   6.2ไฟเสริม ไม่แรงเท่ากับไฟหลักนะครับ วางอยู่ตรงข้ากับไฟหลักทำหน้าที่เติมแสงให้ฉากหลังและลบเงาแข็งๆ จากไฟหลัก
   6.3ไฟหลังมีความแรงน้อยสุดทำหน้าที่เน้นขอบของตัวแบบเพื่อช่วยดึงให้โดดออกมาจากฉากหลัง
« Last Edit: เมษายน 16, 2016, 12:14:12 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
การบันทึกเสียง
1.มารู้จักกับเสียงก่อนมีแบบ Mono, Dual Mono(บันทึกเสียงแบบ Mono ซ้าย ขวา), Stereo(บันทึกเสียงแบบแยกแชลเนลซ้าย ขวาและแบบผสม) และ Multichannel กล้อง DSLR ส่วนใหญ่จะบันทึกแบบ Mono หรือ Stereo
 
2.Simle Rate คือ อัตราการสุ่มจับต่อวินาที ในการแปลงสัญญาณ Analog เป็น Digital จะมีตัวเลขเช่น 44.1 kHz ตัวเลขยิ่งสูงคุณภาพก็จะดีตามไปด้วย(kHz =Kilohertz เป็นหน่วยวัดความถี่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบเป็นจำนวนรอบต่อ  วินาที 1 กิโลเฮิรตซ์จะเท่ากับ 1,000 รอบต่อวินาที) กล้อง DSLR มักจะบันทึกที่ 48 kHz

3. Bit Depth ระดับความลึกเสียง คือความแตกต่างคลื่นเสียงสูงสุด กับต่ำสุด ยิ่งกว้างมากเสียงก็จะสมจริงมากปกติจะถูกบันทึกที่ 16 bit หรือ 24 bit

4. ไมโครโฟน เลือกใช้ให้ถูกกับงาน ซึ่งมีหลายแบบแบ่งตามการรับเสียง
   4.1 Omnidirectional รับเสียงได้ทุกทิศทาง
   4.2 Cardioid รับเสียงจากด้านหน้า เฃ่น ไมค์โอเปอเรเตอร์
   4.3 Hypercardioid รูปแบบการรับเสียงเหนือกว่า Cardioid มีรัศมีรับเสียบแคบกว่า ขจัดเสียงด้านข้างได้มากกว่า ส่วนมากเป็นไมค์พูด ร้องเพลง
   4.4 Shotgun มีขอบเขตรับเสียงแคบที่สุด รับเสียงจากระยะไกลได้ ไมค์ประเภทนี้จะติดอยู่เหนือกล้อง DSLR

5. การบันทึกเสียงของ DSLR นิยมบันทึกแบบ Dual คือ ระบบแรกสำหรับเสียง(ตัวบันทึกเสียงเราอาจจะใช้ smart phone เครืองบันทึกเสียงพกพา ก็ได้ และสำหรับภาพ(กล้อง) เขาจะมีการใช้ Slate คือจะช่วยในการซิงค์เสียงกับภาพในขึ้นตอนการตัดต่อทำได้ง่ายขึ้น หรือจะใช้มือตบให้เสียงดังก็ได้ เสียงบันทึกที่ดีควรอยุ่ระดับ -20dBFS ถึง -10dBFS
*** Slate คือ แผ่นที่เราจะเห็นก่อนถ่ายจะมีคนยืนถือไว้ แล้วก็พูดว่า Sence 1 take1 Action แล้วก็ตีให้เสียงดัง แล้วก็รีบวิ่งหนีออกไป  ;D
« Last Edit: มกราคม 26, 2017, 07:11:03 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
โปรแกรมตัดต่อ
1.Adobe Premiere Elements
2.Adobe Premiere Pro
3.iMovie
4.Final Cut
5. Avid Xpress Pro
6. Avid Media Composer
7.Windows Movie Maker
8.Vegas Movie Studio
9. Vegas Pro
10.Edius
11. Edius Neo

ปัจจุบัน youtube รองรับ 4k แล้วนะครับ
จบ...ขอบคุณครับที่มาอ่าน

ตัวอย่าง Loupe ภาพด้านล่างนะครับ
ที่มา http://store.zacuto.com/fs7-z-finder/