Author Topic: เขาแผงม้า จ.ปราจีนบุรี 500-800 ม. รทก. (2 วัน 1 คืน)  (Read 19528 times)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
เขาแผงม้า ชื่อเรียกของภูเขาลูกนึง รูปร่างคล้ายสันแผงคอม้า มีเนื้อที 8 ตร.กม. ส่วนหนึ่งของผืนป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่ ป่ามรดกโลกทางธรรมชาติของไทย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในพื้นที่ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สภาพภูมิประเทศเป็นสันเขาทอดตัว สลับซับซ้อน ลาดชัน 25-45 องศา มีความสูงอยู่ระหว่าง 500-800 ม. รทก. เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำมูล

เขาแผงม้า อดีตป่าผืนเดียวกับ "ดงพญาไฟ" ที่อุดมสมบูรณืไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ พรรณพืช สมุนไพรชุกชุมไปดวยสัตว์ป่าขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ที่สำคัญ เช่น ช้าง กระทิง เสือ กวาง หมูป่า นกป่านานาชนิด และแหล่งต้นน้ำลำธาร ด้วยนโยบายการพัฒนาประเทศอย่างเร่งรีบ 40 กว่าปีด้วยการส่งเสริมการสัมปทานป่าไม้ การตัดถนน และการส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ส่งผลให้ป่าถูกบุกเบิก ถือครองที่ดิน เปลี่ยนสภาพป่าสู่พื้นที่เกษตรกรรม ป่าเขาแผงม้า กลับกลายมาเป็น "ภูเขาหัวโล้น" เกิดไฟป่าทุกปี ในฤดูแล้งครอบคลุมด้วยทุ่งหญ้าในช่วงฤดูฝนสลับกันทุกปี ขาดความสมดุลทางธรรมชาติ แหล่งต้นน้ำลำธารกลับแห้งสนิท


« Last Edit: กันยายน 27, 2016, 12:22:30 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
ปี พ.ศ. 2537 มีโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 โดยมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมถ์ ประสานงานกับสำนักงานป่าไม้เขตนครราชสีมา และได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในเรื่องงบประมาณ เดิมที่มีเป้าหมายการฟื้นฟูป่า 11,250 ไร่ แต่ด้วยพื้นที่มีการถือครองจากชาวบ้าน นายทุนท้องถิ่น ทำให้สามารถลงมือปฏิบัติการฟื้นฟูป่าจริงได้เพียง 5,000 ไร่ จากนั้นจึงเร่งเครื่องกระบวนการฟื้นฟูป่า พร้อมกับสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูป่า

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
14 ปีด้วยความมุ่งมั่นปลูกต้นไม้ยึดหลัก "คนละต้นก็เป็นป่า" และบำุรุงดูแลรักษา ป้องกันไฟป่าอย่างเข้มงวด ทำให้ป่า 5,000 ไร่ ฟื้นสภาพสมบูรณ์ทางธรรมชาติกลับคืนมาอีกครั้ง จากภูเขาหัวโล้น ถึงวันนี้สายน้ำไหลริน เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำ ปราจีนบุรี และแม่น้ำมูล มีปริมาณน้ำคุณภาพเพิ่มมากขึ้น สัตว์ป่าเข้ามาอาศัย เช่น หมีควาย เก้ง กวาง เสือปลา ชะมด หมาใน เลียงผา และกระทิงป่า นอกจากการปลูกต้นไม้ในผืนดินแล้ว ยังปลูกต้นไม้ในใจคน ด้วยการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องทรัพยากร การจัดสถานที่ในการรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์อีกด้วย เกิดอาสาสมัคร "กลุ่มอนุรักษ์เขาแผงม้า" ทำหน้าที่ลาดตระเวร ป้องกันการบุกรุกครอบครองที่ดิน การลักลอบตัดไม้ ล่าสัตว์ สืบสานกิจกรรมอนุรักษ์มากมาย อาทิ ปลูกป่า เดินป่าศึกษาธรรมชาติ ดูนก ดูกระทิง เติมโป่งเกลือ สร้างฝายชะลอน้ำให้กับสัตว์ป่า

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
ปี พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน พื้นที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ และกรมป่าไม้ แต่กลุ่มอนุรักษ์เขาแผงม้ายังช่วยในการจัดการดูแลทั้งการจัดการไฟป่า การสร้างฝายแม้ว รวมทั้งการจัดการเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยาการธรรมชาติ บริเวณพื้นที่เขาแผงม้า และขยายผลเชื่อมโยงการทำงานจากต้นน้ำ สู่ปลายน้ำเป็นการจัดการลุ่มน้ำมูล

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
โครงการจัดการถิ่นที่อยู่อาศัยเพื่อการอนุรักษ์ประชากรกระทิง แบบชุมชนมีส่วนร่วในป่าฟื้นฟูเขาแผงม้า

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ซึ่งมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย ฯ(ในขณะนั้น) ได้ดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ประมาณ 5,000 ไร่ ของเขาแผงม้า ปัจจุบันพื้นที่เขาแผงม้าอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงแทนที่(forest succession) ได้เข้าสู่ระยะที่ต้นปอหูช้างสยาม(Macaranga siamensis) เป็นไม้เด่นปกคุลมทั่วไปในพื้นที่ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้พืชอาหารของกระทิงที่เป็นไม้พืชล่างมีจำนวนลดลง

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
จากสถานการณ์ดังกล่าว การศึกษาและอนุรักษ์ "กระทิง" ในขั้นตอนต่อไป จึงต้องเริ่มปรับทิศทางสู่การจัดการพื้นที่มากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพของพื้นที่เขาแผงม้าให้สามารถมีพืชอาหารรองรับจำนวนประชากรกระทิงที่เพิ่มมากขึ้น โดยใช้หลักการทาง "นิเวศวิทยา" เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้การจัดการมีประสิทธิภาพสูงสุด และกระทบต่อกระบวนการฟื้นตัวของป่าน้อยที่สุด

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
กระบวนการจัดการพื้นที่อาหารโดยการเปิดพื้นที่ว่าง(forest gap opening) เป็นวิธีที่เหมาะสมกับระบบนิเวศป่าไม้เขตร้อน เพื่อให้พืชคลุมดินพื้นล่างซึ่งเป็นอาหารสำหรับกระทิง ได้มีโอกาสเติบโต โดยเลือกจัดการเฉพาะในส่วนของต้นปอหูช้างสยามเนื่องจาก เป็นไม้เบิกนำที่จะอยู่ในช่วงหนึ่ง ของกระบวนการฟื้นตัวของป่าเพียงเท่านั้น ประกอบกับเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ทำให้พื้นที่ช่องว่าง ต่อหนึ่งต้นที่ตัดออกนั้น จะมีพื้นที่ที่ใหญ่พอที่จะส่งผลต่อการเพิ่ม ของพืชอาหารกระทิง

แนวทางการจัดการดังกล่าวจะเป็นความร่วมมือทั้งในส่วนของวิชาการ จากลุ่มนิเวศวิทยา และการอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ความร่วมมือของกลุ่มอนุรักษ์เขาแผงม้า ซึ่งมีความชำนาญในพื้นที่ และเป็นกลุ่มหลักที่ร่วมฟื้นฟูป่าเขาแผงม้ามาตั้งแต่ต้น รวมถึงสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 นครราชสีมา ที่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลป้องกกันพื้นที่อยู่ในปัจจุบัน

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
กลุ่มอนุรักษ์เขาแผงม้า มีกิจกรรม
1. ฟื้นฟูดูแลป่า อนุรักษ์กระทิงเขาแผงม้า
2. สร้างการเรียนรู้ การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
3. "ร้านกล้วยป่า" ร้านค้าสาธิตชุมชน จำหน่างผลผลิตทางการเกษตร

อายุของกระทิง แบ่งตามลักษณะของสีเขา
« Last Edit: สิงหาคม 01, 2014, 12:33:23 am by designbydx »