แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - designbydx

Pages: 1 2 [3] 4 5 ... 7
41
Mt.Siguniang and Dagu Glacier, China(สี่ดรุณี กับ ต๋ากู่ปิงชวน)

20 ตุลาคม 61 เดินทางด้วยสายการบิน Air Asia จองข้ามปีโน้นนนน ไปลง ฉงชิ่ง(Chongqing) ไปถึงประมาณบ่ายๆ เวลาเร็วกว่าบ้านเรา 1 ชม. และต่อรถไฟความเร็วสูงไป เชิงตู(Chengdu) มณฑลเสฉวน นอนเลยเหนื่อย ฝนตกด้วยฟ้าปิด
21 ตุลาคม 61 เหมารถไปสี่ดรุณี(อุทยานซื่อกู่เหนียงซาน) ใช้เวลาประมาณ 4-5 ชม. ก็ถึงระยะทางประมาณ 200 กว่า กม.เอง แต่ทางมันโค้งเยอะ ถึงบ่ายๆ ก็เดินเที่ยวแถวๆที่พัก(Sun and Moon Guest house) เป็นที่พักนอกอุทยานอยู่ใน Siguniang  town
22 ตุลาคม 61 เที่ยวในอุทยาน  Mt.Siguniang เส้นที่รถถึงยอด
23 ตุลาคม 61 เที่ยวในอุทยาน  Mt.Siguniang เส้นที่รถถึงบางส่วน และเดินอีกเยอะๆ หรือขี่้ม้าต่อ
24 ตุลาคม 61 เหมารถไปเมือง Heishui ระยะทางประมาณ 300 กว่าโล ใช้เวลา 6-7 ชม. เพื่อไปเที่ยวธารน้ำแข็งต๋ากู๋ปิงชวน พักในเมืองก่อนขึ้นอุทยาน(ที่พักดีมากสะอาดแนะนำๆ)
25 ตุลาคม 61 เที่ยวในอุทยาน Dagu Glacier
26 ตุลาคม 61 นั่งรถประจำทางกลับ เฉิงตู และนั่งรถไฟความเร็วสูงไป ฉงชิ่งต่อ ถึงที่พักดึกเลย
27 ตุลาคม 61 เที่ยวในตัวเมือง
28 ตุลาคม 61 เดินทางกลับ

เพื่อนร่วมทริป 5 คน ค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดแล้วประมาณ 25,000 บาทต่อคน
กล้องที่ใช้ Fuji xt1 18-55mm and samyang 12 mm and Gopro and Canon 5dIII+40mm



42
หน้าจะไหม้ยังไงเดี๋ยวไปติดตาม การเดินป่าครั้งนี้ เป็นการขึ้นยอดภูลังกา ไปนอนที่จุดสูงสุด ซึ่งเป็นสำนักสงฆ์ร้าง และลงทางน้ำตกตาดวิมานทิพย์ ระยะทางทั้งสองวันประมาณ 10 กม.

วันที่ 1 เดินจากที่ทำการอุทยานภูลังการ(จ.นครพนม) ไปยังยอดภูลังกา ระยะประมาณ 7.51 กม. ชันบ้าง ลื่นๆๆ บ้าง 555
วันที่ 2 เดินลงทาน้ำตกตาดวิมานทิพย์ ระยะทางประมาณ 3 กม. แต่ชัน และลื่น

กล้องทีใช้ Panasonic fz1000 ตัวเดียว

ข้อแนะนำ
1.ที่นี่ร้อนมาก และก็ลื่นมากๆ ด้วย ส่วนที่ลื่นเป็นน้ำที่ไหลลาดบางๆ ตามก้อนหินก้อนใหญ่ๆ เราเดินบนนั้น มันเป็นตะไคร่ลื่นมาก วิธีแก้ คือให้นำถุงเท้ามาสวมรองเท้าอีกที หรือถอดรองเท้าเดิน หรือไปซื้อรองเท้าที่ ดีแคลลอนที่พื้นกันลื่น
2.ป้องกันร้อนเต็มที่ ทำไมมันร้อนนนน อย่างนี้ แนะนำให้เอาครีมกันแดด เสื้อแขนยาวกันยูวี หมวก
3.ด้านบนมีน้ำอาบ
4. นอนในกุฏิพระ หรือจะผูกเปลสะดวกนะ แต่ไม่แนะนำเต็นท์
5. ความสูงประมาณ 561 ม รทก(จุดสูงสุด) อากาศไม่หนาว




ขอบคุณภาพด้านล่างจากกล้องพี่ต๊ะ

43
เขาบอกว่าลิ้นมังกรแดง ถ่ายกับน้ำตกสวยเชียว(มีภาพเดียวที่เห็นติดตา) และก็ต้องช่วงเดือน สิงหา-กันยา นี่ล่ะ ก็ลองค้นหาข้อมูลดู อ้าวเดินง่ายๆ นี่นา ไปๆๆๆๆ รออะไรล่ะ ลุยยยย ไปไงละคนเดียว ก็ไปกับทัวร์ คนหลงป่า ทำอาหารให้กินอลังการมาก ประทับใจ มีโอกาสจะใช้บริการอีกแน่ๆ แต่ขอศึกษาเส้นทางแบบละเอียดก่อน  ;D ;D

กล้องที่ใช้ Fuji xt1 18-55 and samyang 12 mm and gopro



เส้นทางการเดิน


ภาพด้านล่างคือน้ำตกชั้นที่ 5 มุมมหาชน

44
ทริปนี้เลือกเพราะว่า เขาบอกว่าเดินง่าย ก็เลยลองไปดู ออกจาก กทม.ประมาณ 3 ทุ่ม ถึงด่านซ้ายก็เช้ามืด
ยอดภูเตาโปง ความสูงประมาณ 687 ม. รทก.

กล้องใช้ Panasonic fz1000 ตัวเดียว


45
อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย จังหวัดแพร่ บอกตามตรงไม่คุ้นชื่อเลย น้ำตกปางป่ากล้วยจุดหมายปลายทางเรา จะอยู่รอยต่อระหว่างจังหวัดแพร่ กับจังหวัดลำปาง รอบนี้คนไปน้อยเราก็เลยไปรถทัวร์ ไปลงลำปาง แล้วมีพี่ใจดีมารับ-ส่ง เราไปที่อุทยาน ทริปนี้จะ ชิว ไหม ลองมาดูกันครับ

ใช้กล้อง Panasonic fz1000 กับ Gopro

จะบอกว่าไม่มีแรงจะออกมาถ่าย


46
ยอดพ่อตามังเคร หรือ ยอดเขานมสาว อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร
เราไปเดือน พฤษภาคม 61
ใช้กล้อง Panasonic fz1000 ซูมยันดวงจันทร์

ขอบคุณแบบในเครือ
ขอบคุณภาพที่เพื่อนถ่ายให้

เขาบอกว่ามีความสวยงามของ 4 ทะเล คือ

1.ทะเลดาว ฟ้าปิดตัลหลอดดดดด จะเห็นไหมนั่น
2.ทะเลหมอก ตอนเย็นไม่เจอ เจอตอนเข้า
3.ทะเลอันดามัน เห็นเกาะพยาม เกาะช้าง เกาะสอง(พม่า) เกาะค้างคาว เกาะซาเดทจี(พม่า)
4 ทะเลป่าความคิดเห็นส่วนตัวไม่น่าจะนำมาเป็นคำว่าทะเลป่านะ มาเที่ยวเขาก็ต้องมีป่าสิ

ภาพด้านล่างคือจุดตั้งแค้ม สามารถผูกเปลกับกางเต้นได้ ด้านหลังยอดเหลมๆ คือยอดพ่อตาโชงโดง



47
“แผ่นดินไทยในอดีต”

ชมสุดยอดโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยม ทุกยุคสมัยของประเทศไทย ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ (เวลาทำการ ๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์-อังคาร)

จุดประสงค์ คือ ต้องการให้ผู้สนใจ ได้เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของมรดกศิลปวัฒนธรรมเพื่ออนุรักษ์ให้คงสืบไป

***ถ่ายมาแค่บางส่วนนะครับ

48
ทริปนี้รถถึงเดินนิดหน่อย
อุทยานแห่งชาติแม่ปิง จ.ลำพูน จะมีต้นไม้แบบโปร่ง ดูแห่งแล้งๆ อาจเป็นเพราว่าเราไปช่วงเดือน กุมภาพันธ์ มั๊ง อากาศไม่หนาวมาก ทริปนี้เราจะไป

1. วัดพระพุทธบาทผาหนาม หมู่ที่ 6 อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

2. ไปน้ำตกก้อหลวง เดิน 500 ม. อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 22 กิโลเมตรเป็นน้ำตกหินปูน

3. ไปผาแดงหลวง อุทยานแห่งชาติแม่ปิง ตั้งอยู่ใน อ.ลี้ จ.ลำพูน เดินประมาณ 1.5 กม. ทางชันนิดหน่อย


เอ้าเริ่ม หลับก่อนนะขึ้นรถแระ  ;D ;D
เล่นเอาสมองคลอนไปเลย ทางเหวี่ยง ลืมตาขึ้นมาทำไมมึนๆ หว่า เดินโซซัดโซเซขึ้นบันได

49
The History of Japanese Art: Life and Faith

นิทรรศการ วิถีแห่งศรัทธาจากศิลปทัศน์ญี่ปุ่น นิทรรศการนี้
จัดแสดงสมบัติของชาติและสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศญี่ปุ่น

วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560 – วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 (ปิดทุกวันจันทร์ และ อังคาร)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

*** เป็นภาพบางส่วนเท่านั้นนะครับ

ภาพด้านล่าง คือ

พระพุทธรูปปางประสูติ

สำริด
สมัยอาซึกะ พุทธศตรรษที่ 12-13

ประติมากรรมรูปพระพุทธเจ้าในลักษณะทารก แสดงพุทธประวัติตอนประสูติ พระหัตถ์ขวาชี้ขึ้นเบื้องบน พระหัตถ์ซ้ายทอดลงแนบพระวรกาย ประทับบนดอกบัว พระพุทธรูปปางประสูติพบไม่มากนัก ปรากฏครั้งแรกในสมัยอาซึกะ ซึ่งเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเข้ามาประดิษฐานในญี่ปุ่น

50
*** ก่อนอื่น จะบอกว่าพระที่ถ่ายเป็นพระประธานเท่านั้นนะครับ คือ พระที่อยู่ในอุโบสถ ไม่ใช่พระที่อยู่ในพระวิหาร หรือพระเจดีย์นะครับ
สาเหตุที่เลือก เพราะว่าเป็นพระองค์ประธานจริง แต่ละวัดจะมีเพียงองค์เดียว ส่วนใหญ่เราจะเห็นกันในอินเตอร์เนตเฉพาะพระที่อยุ่ในวิหาร หรือในพระเจดีย์ เนื่องจากจะเปิดตลอดให้เข้ากราบไหว้ แต่จริงๆ ไม่ใช่พระประธาน(ปกติเปิดเฉพาะทำวัตรเช้า และเย็น) และทำให้เข้าใจผิดว่าองค์ที่เราเห็นคือพระประธาน(คนส่วนใหญ่ถ่ายลงโซเชียล) ซึ่งผมเองก็เข้าใจผิดมาตลอดเช่นกัน


     พระอารามหลวง ซึ่งหมายถึงวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง หรือทรงรับไว้เป็นวัดของพระราชวงศ์ หรือเป็นวัดที่ทรงอุปถัมภ์นั้น แต่ละวัดอาจมีฐานะ หรือระดับชั้นแตกต่างกันออกไป การจัดลำดับชั้นของวัดหลวง เริ่มมีขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบแบ่งชั้นพระอารามหลวงออกเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี แต่ละชั้นยังแยกระดับออกไปอีกหลายระดับ โดยมีสร้อยต่อท้ายชื่อวัดตามฐานะดังนี้

๑.พระอารามหลวง ชั้นเอก ได้แก่ วัดที่มีความสำคัญ มีเจดียสถานบรรจุพระบรมอัฐิ หรือเป็นวัดที่มีเกียรติสูง มี ๓ ระดับ คือ

   ๑) ราชวรมหาวิหาร
   ๒) ราชวรวิหาร
   ๓) วรมหาวิหาร

๒.พระอารามหลวง ชั้นโท ได้แก่วัดที่มีเจดียสถานสำคัญ หรือวัดที่มีเกียรติ มี ๔ ระดับ คือ

   ๑) ราชวรมหาวิหาร
   ๒) ราชวรวิหาร
   ๓) วรมหาวิหาร
   ๔) วรวิหาร

๓.พระอารามหลวง ชั้นตรี ได้แก่วัดที่มีเกียรติ วัดประจำหัวเมือง หรือวัดที่มีความสำคัญชั้นรอง มี ๓ ระดับ คือ

   ๑) ราชวรวิหาร
   ๒) วรวิหาร
   ๓) สามัญ(วัดที่ไม่มีสร้อยนามต่อท้าย)

การจัดระดับของวัด แบ่งโดยพจารณาเรื่องต่างๆ ดังนี้

1 ราชวรวิหาร คือ วัดที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ หรือวัดที่โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์

2 วรวิหาร คือ วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว พระราชทานเป็นเกียรติยศแก่วัดเอง รวมทั้งวัดที่ผู้อื่นสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์แล้วทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมถ์

3 ราชวรมหาวิหาร คือ วัดชนิดราชวรวิหารที่เป็นพระอารามใหญ่โต

4 วรมหาวิหาร คือ วัดชนิดวรวิหารที่เป็นพระอารามใหญ่โต และมีศาสนสถานที่สำคัญ

5 สามัญ คือ วัดราษฏร์ที่สำคัญ และต่อมาโปรดให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง

ที่มา : ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่มที่ 25 จังหวัดชัยภูมิ กรมศิลปากร พิมพ์เผยแพร่ พ.ส. 2562


พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

นับตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีส่วนสำคัญในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาโดยตลอดทั้งโดยการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ดังปรากฏเห็นเป็นหลักฐานมากมายในปัจจุบัน หรือโดยการเสด็จออกผนวชของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ รวมไปถึงการใช้หลักธรรมเป็นแนวทางในการปกครองดูแลพสกนิกรให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขเสมอมา

พระราชกรณียกิจต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงปฏิบัติมีดังนี้

สมัยกรุงสุโขทัย

พ่อขุนราคำแหง ทรงอาราธนาพระมหาเถระสังฆราช พระเถระชาวลังกามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย
พระมหาธรรมราชาที่ 1(พญาลิไท) ทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วง

สมัยกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงพระผนวช เป็นเวลา 8 เดือน ทรงสร้างวัดจุฬามณี โปรดเกล้าฯ ให้แต่งหนังสือมหาชาติคำหลวงซึ่งนับเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปครองรอยพระพุทธบาทสระบุรี
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในรัชสมัยของพระองค์ เป็นช่วงที่มีชาติตะวันกเข้ามเผยแผ่คริสต์ศาสนาจำนวนมาก รวมถึงมีการเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ฯ เพื่อทูลขอให้ทรงเข้ารีต แต่พระองค์ทรงปฏิเสธว่า “การที่ผู้ใดจะนับถือศาสนาใดนั้น ย่อมแล้วแต่พระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์จะบันดาลให้เป็นไป ถ้าคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาที่ดีจริงแล้ว และเห็นว่าพระองค์สมควรที่จะเข้าเป็นคริสตศาสนิกแล้ว สักวันหนึ่งพระองค์จะถูกดลใจให้เข้ารีดจนได้” แสดงถึงพระราชศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมเศียรพระประธานวัดมงคลบพิตรที่ชำรุด รวมถึงทรงให้ความสำคัญกับการศึกษาทางพุทธศาสนาเป็นพิเศษ โดยทรงกำหนดให้ผู้ที่จะถวายตัวเข้ารับราชการต้องผ่านการบวชเรียนมาแล้วเท่านั้น ทรงส่งคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา คือ พระอุบาลีและพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก 12 รูป

สมัยกรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่และบูรณปฏิสังขรณ์วัดโบราณต่างๆ รวมถึงทรงรวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกจากหัวเมืองต่างๆ มาจัดทำเป็นฉบับหลวง (แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะแล้วเสร็จ)

กรุงรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และวัดสุทัศนเทพวราราม ทรงบูรณะวัดสระเกศ วัดพระเชตุพลฯ และวัดอื่นๆ โปรดเกล้าฯให้มีการสังคยานาพระไตรปิฎก เป็นครั้งที่ 2 ในประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระผนวชเป็นเวลา 1 พรรษา และทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการแก้ไขการศึกษาปริยัติธรรมใหม่

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ เช่น วัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา และทรงบูรณะวัดโบราณต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมถึงมีการเกิดนิกายธรรมยุตขึ้นเป็นครั้งแรก

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวชเป็นเวลา 27 พรรษา ก่อนจะขึ้นครองราชย์ ทรงสร้างวัดราชประดิษฐฯ วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดโสมนัสวิหาร และวัดปทุมวนาราม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดเทพศิรินทราวาส วัดราชพิธฯ และวัดเบญจมบพิตร ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุฯ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของประเทศ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนิพนธ์หนังสือที่เกี่ยวข้องกับคำสอนในพระพุทธศาสนา เช่น เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการชำระพระไตรปิฎกและจัดพิมพ์ขึ้นใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในรัชสมัยของพระองค์มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลดอุลยเดช ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ โดยทรงเสด็จออกผนวชขณะทรงครองราชย์ ด้วยมีพระราชประสงค์ให้เป็นไปตามโบราณราชประเพณี พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนา อันทำให้ประเทศไทยสงบร่มเย็นมาถึงปัจจุบัน

ที่มา : 80 พระอารามหลวงกรุงเทพมหานคร กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม




1.วัดสร้อยทอง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางซื่อ
เขต/อำเภอ   : บางซื่อ
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ที่สร้าง : 2394

วัดสร้อยทอง เดิมชื่อว่า "วัดซ่อนทอง" เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2394 แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดได้รับความเสียหายอย่างมาก กระทั่งเมื่อสงครามสงบลงแล้ว ประชาชนได้ช่วยกันบูรณะวัด และก่อสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มขึ้นด้วย แต่จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัด คือ หลวงพ่อเหลือ กลับไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด จึงได้รับความเลื่อมใสจากชาวบ้านเป็นอย่างมาก และมีผู้คนแวะไปสักการะขอพรหลวงพ่อเหลือ รวมทั้งทำบุญสังฆทานและปล่อยปลาที่วัดสร้อยทองกันเป็นประจำ แม้ว่าวัดสร้อยทองจะไม่ได้อยู่ในเส้นทางท่องเที่ยวก็ตาม

หลวงพ่อเหลือเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลือง ซึ่งเป็นโลหะที่เหลือจากการหล่อพระประธานภายในพระอุโบสถ เมื่อปี พ.ศ.2445 ภายในพระเกศของหลวงพ่อเหลือบรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ 5 พระองค์

Wat Soi Thong
Located on the bank of the Chow Phraya river in Bangsue district, Northern Bangkok, Wat Soi Thong  is an old temple built in 2394 B.E. in the reign of King Rama IV.

During the World War II, the temple was badly damaged by the bombing. While Luang Phor Luea, the important Buddha image has become highly revered by the local people since then. After the War, the temple was restored, and the Ubosot(Ordination Hall), and more buildings were built
ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

51
เขาหาว่าผมเป็นคนเนปาล...อีกแล้ว  ??? ??? ??? ที่สำคัญเหมือนลูกหาบอ่ะ ลดเกรดอย่างแรงงง

โปรแกรมคร่าว

วันที่ 1  Bangkok-Kathmandu เที่ยว 10 โมงกว่า ถึงเนปาลประมาณ บ่ายๆ (เวลาช้ากว่าประเทศไทยประมาณ 1 ชม. 20 นาที) พัก Kathmandu การบินไทยมีเสริฟอาหารด้วยนะ อย่ากินไปเยอะ อร่อยๆๆ
วันที่ 2  Kathmandu - Pokara โดยรถโดยสารประจำทางออกประมาณ 8 โมง ถึงบ่ายๆ พัก Pokara(ไม่แนะนำ ทางไม่ดี นานเกิ๊น)
วันที่ 3 ปล่อยตัวจุดเริ่มต้นที่หมู่บ้าน Nayapul (1010m รทก.)เดินไปยัง Tikhedunga(1570m รทก.) ใช้เวลาประมาณ 6 ชม. เป็นถนนทางรถวิ่ง จะให้เดินทำไมไม่เข้าใจ  ??? ???
วันที่ 4 Tikhedunga(1570m รทก.)  - Ghorepani (2860m รทก.) เป็นบันไดหินเดินง่าย แต่ขึ้นๆๆๆ ไม่รู้จะถึงตอนไหน เหนื่อยฉิบ  >:(
วันที่ 5 Ghorepani (2860m รทก.) -Poon Hill (3210m รทก.)-Tadapani. (2660m รทก.) เดินขึ้นๆ ลงๆ
วันที่ 6 Tadapani. (2660m รทก.) - Syauli Bazar เดินลงๆๆ แต่ไกลมาก 10 กม.ได้
วันที่ 7 Syauli Bazar -  Nayapul (1010m รทก.)- ขึ้นรถกลับ Pokara พักคืนนึง
วันที่ 8 Pokara - Kathmandu  บินภายใน ประมาณ 30 นาที ถึง ขึ้นเร็วลงเร็วมาก
วันที่ 9 Kathmandu - Bangkok

กล้องที่ใช้
Fuji xt1, 18-55 mm 12 mm and 8 mm fisheye
Panasonic fz1000 ซูมไกลยันดวงจันทร์

แนะนำ
1.ในตัวเมือง Kathmandu  ฝุ่นเยอะมากเอาแมสไปด้วยอันนึง และตอนเดินวันแรก กับสุดท้ายเดินบนถนนฝุ่นก็มีตอนรถวิ่งผ่าน
2. ไม่ต้องซื้อซิมหรอก ใช้ไวไฟ จากโรงแรม หรือที่พักเอาก็พอ
3. ถุงนอนไม่ต้องเช่าหรอก เอาไลน์เนอร์ ไปก็พอ
4. ใครกินยากเอาอาหารไทยไปเยอะๆ
5. ควรมีถุงแบ่งของให้ลูกหาบ แนะนำอย่าเอาเป้ให้ เพราะเขาจะเอาเป้ๆ ไปผูกรวมกันแล้วแบกอันเดียว ถ้าเป้เราเป็นเป้หลักอาจขาดได้
6. เลนส์คิดเหมาะสุด ถ้าใช้วาย กว้างไปอ่ะ และซูมไปด้วยนะยอดเขามันไกล
7.ถุงมือใส่ตอนเดินเอาไปด้วยเผื่อได้จับโน้นนี่มือจะได้ไม่เจ็บ
8. ออยทาปากเอาไม่อยู่ ออยเอาไว้ทาตัวก็พอกับหน้า แวะซื้อ Lip Blam ติดไปด้วยสักหลอดเวริ์คมากๆ ทาปาก
9. ตามโปรแกรมทัวร์ ค่าน้ำ เครื่องดิ่ม ไม่รวมในโปรแกรม ต้องซื้อเอง
10. น้ำร้อนมีให้อาบ บางที่ก็ไม่ร้อนแต่ก็อาบได้
11. อยากเห็นยอดเอวเรสต์ ขาไปนั่งฝั่งขวา ขากลับนั่งฝั่งซ้ายนะ
12. เสื้อกันหนาวส่วนใหญ่เป็นยี่ห้อ NorthFace แต่ก็ปลอมล่ะ
13. เขานิยมบริการโอนเงินข้ามประเทศด้วย westernUnion
14. แนะนำอย่านั่งรถประจำทาง Kathmandu-Pokara ไม่มีไรน่าสนใจนั่งเครื่องบินโลดดด
15. เดื่อนที่ถ่ายรูปสวยฟ้าใน พฤศจิกาย-ธันวาคม นะครับ
16. ที่นี่นิยมใช้สีน้ำเงิน อยากถ่ายภาพให้เด่นต้องเลือกเสื้อผ้าสีตรงข้ามน้ำเงินมานะ เช่นสี ส้ม แดง เหลือง
17. ขอวีซ่าจากเมืองไทยไปเลยนะ สะดวกกว่าไปขอที่โน่น
18. เตรียมรูปไป 3 ใบขนาด 2 นิ้ว (2 ใบสำหรับขออนุญาต อีกใบสำหรับไว้ซื้อซิมการ์ด)


ใช้บริการของ

Dipendra Bhatta
Nepal Horizon Treks&Expedition Pvt, Ltd.
P.O Box 19127, Thamel, Kathmandu, Nepal
Tel 00977014411769
www.horizontreks.com
email info@horizontreks.com
bhatta.dip@gmail.com
facebook https://www.facebook.com/dipendra.bhatta.94
เขามีโรงแรมใน Kathmandu ด้วย อยู่ใจกลาง Thamel แหล่งช๊อปปิ้งเลยสะดวกมากกก

ค่าใช้จ่าย รวมตั๋วเครื่องบิน
30000-35000 บาท


map download เส้นทางเดินทั้งหมดในพื้นที่ มีหลายยอดเลยนะ

http://hikingthai.com/Download/annapurna_map_nepal/annapurna_conversation_area.jpg


ภาพด้านล่างถ่ายคืนที่ 3 หมู่บ้่าน Tadapani

52
โดนจนได้ เห็นว่าราคาน่าสนใจก็เลยสั่ง ตอนได้รับของครั้งแรก ดูดีนะเนี่ย

53
ตาดเซพระ ตาดเซป่องไหล ตาดยังไม่ไตั้งชื่อ ประเทศลาว(เมืองสนามชัย แขวงอัตตะปือ)

ไปกับเพื่อน 10 คน ขับรถจากเมืองไทยไป ค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 บาทต่อคน

กล้อง Fuji xt1+18-55, 12 mm samyang, Pansonic FZ100, Filter Lee

โปรแกรมย่อๆ
วันที่ 1 เย็นเดินทางออกจาก กทม-ช่องเม็กเช้า
วันที่ 2 ทำเรื่องเข้าด่านข้ามประเทศ(ค่าผ่านด่านคนละ 100 บาท) เดินทางต่อไปเมืองปากเซ-ปากซอง เที่ยวตาดเซพระ ตาดเซป่องไหล นอนที่ตาดเซป่องไหล
วันที่ 3 เดินทางไปยังน้ำตกที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ(ปัจจุบันตั้งแล้ว ชื่อตาดเผ่าสัมพันธ์ ตาดสัมพันธ์ ตาดหนองเทือม) คนนำทางบอกว่าเป็นนักท่องเที่ยวคณะแรกที่มาพัก  :o :o
วันที่ 4 เดินทางกลับ

แนะนำ
1.กล้องระยะนอมอลพอดี รู้สึกพอดี แต่วายเอาไว้ถ่ายดาว
2. ตาดเซพระ ตาดเซป่องไหล ร้อนมาก ไม่รู้ทำไม
3. ผมนอนเปล
4. สนใจติดต่อ Mr Inthaphaphone Milavong Tel 8562022440587, Police Paksong Champasak Laos, บริการดีครับแนะนำ เขาจัดแจงที่ลาวให้ครับ

ภาพด้านล่าง ตาดเซพระ
ขอบคุณ ภาพจากพี่วุฒิ ภาพจากเนกน้อย สตอรี




ไปหน้าฝนน้ำจะเยอะ ไปเดือนสิงหาคม 2561


54
จุดเริ่มต้นอยู่ตรงไหน

มันเริ่มจากพี่ตูน มีโครงการก้าวคนละก้าว เริ่มที่ใต้สุดไปเหนือสุด เฮ้ยย น่าสนใจ เราต้องไปให้กำลังใจ อีกทั้งวันเริ่มต้นวิ่งที่เบตง ตรงกับวันเกิดพอดี 1 พ.ย. 2560 ตรงกับวันพุธ เริ่มวางแผน

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม เดินทางด้วยรถไฟ เที่ยว 15.30 น. เส้นทาง กทม.-ยะลา (หากบินต้องไปลง หาดใหญ่ แล้วนั่งรถตู้ หาดใหญ่-เบตง ใช้เวลาประมาณ 4 ชม.) นอนไปดีกว่านานชั่งมัน

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม ถึงยะลา บ่าย 2  >:( >:( นั่งรถแทกซียะลา-เบตง สรุปถึงเบตง ประมาณ 4 โมงเย็น เข้าที่พัก Poto Hostel(แนะนำๆ สำหรับแบคแพค) และหามอไซด์เช่า(วันละ 300 บาท เติมน้ำมันเอง)

วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน ไปหาพี่ตูนตอนตีสี่ครึ่ง เอาเงินช่วยทำบุญ ส่งกำลังใจ และเที่ยวในตัวเมือง ไปตามเรื่องตามราว เที่ยงๆ เดินทางไปหาทัวร์ที่จัดขึ้นยอดฑูนุงซิลิปัต อยู่ห่างจากเบตง 28 กม. ซึ้อทัวร์ไป 600 บาท 2 วัน 1 คืน

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน ไปน้ำตกเฉลิมพระเกียรติ และกลับเบตง เที่ยวในเมืองอีกที

วันที่ศุกร์ที่ 3 เที่ยวตามโปรโมชั่นที่พักจัดให้(เขาจะมีโปรให้เรื่อยๆ นะหากไปพักถามด้วยมีโปรพาเที่ยวไหม) ทะเลหมอกอัยเยอเวง อุโมงค์ปิยะมิตร น้ำพุร้อน ฯลฯ เดินทางมายะลา เที่ยวในมือง

วันเสาร์ที่ 4 เดินทางกลับ


ภาพด้านล่างขอบคุณ ป๋า คนดังเมืองเบตงด้วยนะครับถ่ายภาพให้

ทริปนี้ไปคนเดียว
กล้อง XT1 samyang 12 mm, fuji 18-55 mm, fuji 55-250 mm and gopro
ส่วนใหญ่ถ่ายด้วย 12 mm

ถ้าไปหลายคน แนะนำให้เช่ารถยนต์นะครับ วันละ 800 บาท วีออส


55
น้องมาชวน เอ๊าไปก็ไป ปกติแล้วเป็นคนกลัวน้ำมาก ตื่นเต้นตลอด ยิ่งตื่นเต้นเข้าไปใหญ่เมื่อรู้ว่าเป็นแก่งที่มีความรุนแรงระดับต้นๆ ของประเทศไทย แถมวันไปมีพายุเข้าพอดีด้วย เอ่ออออ บอกตามตรงลุ้นให้ไม่ได้ล่อง แต่ไม่สำเร็จ

ใช้กล้องโกโปร 2 ตัว
กล้องฟูจิ+ 8 มม. fisheye

ต้องขอขอบคุณ น้องเอนก ศรีอุบล ใจดีให้ภาพมาใช้ กับคอยช่วยเหลือเป็นอย่างดี
ขอบคุณพี่วุฒิ ยัดเยียดภาพมาให้ใช้
ขอบคุณเพื่อนๆ ที่อยู่ในภาพ ขออนุญาตเอามาประกอบเรื่องราว

ไปไป ได้เวลาลุยยย แล้ว


56
ภูสอยดาว จ.อุตรดิตถ์(ครั้งที่ 2)
ครั้งแรกไป 2 วัน 1 คืน ผมว่านอนสองคืนกำลังพอดีนะ
ลิงค์ที่ไปครั้งแรก http://hikingthai.com/webboard/index.php?topic=2457.0

สิ่งที่จะแนะนำ
1.อย่าใส่กางเกงขาสั้นเดินนะ บนยอดแมลงกัดแล้วคันๆ เยอะมาก
2.เตรียมเสืิ้อแขนยาวพอกันหนาวได้ใส่เป้ไว้บนยอดจะหนาว กับเสื้อฝน เพราะกว่าลูกหาบจะเอาของมาให้เราก็รอนานนะ แล้วมันจะหนาว และฝนก็ตกๆ หยุดๆ
3.เลือกผูกเปลก็ได้นะ แต่มีน้อย กางเต๊น ต้องระวังเรื่องน้ำซึมเข้าเต้น ควรมีกราวชีทไปด้วย
4.เอาโฟมที่รองนอนที่เป็นเสื่อน่ะไปด้วย รองนอนแล้วอุ่นสบาย
5.ค่าลูกหาบ กก.ละ 35 บาท
6.เลนส์กล้องผมว่า 18-55 กำลังถ่ายวิวสวยกว่า ถ้าใช้วายกว้างเกินไป มันมีพื้นที่ให้ถอยได้เยอะไม่ต้องกล้ว แต่ถ้าจะถ่ายน้ำตกก็ต้องเอาวายไปด้วยนะ 18-55 จะแน่นไป
7.ข้างบนลมแรงจะมาโครก็ลำบากนะ แต่ใครที่ชอบมีมุมให้ถ่ายเยอะเลยนะ
8. มีเต๊นให้เช่า คืนละ 500-700 บาทนะ แล้วแต่ออฟชั่น ถุงนอน แผ่นรองนอน เตาแก๊ส เตาถ่าน ถังน้ำ ไรงี้
9. ถ้าอยากถ่ายตอนไม่ค่อยมีหมอกให้ถ่ายตอนเช้าก่อน 10 โมง เพราะแดดยังไม่เผาน้ำค้างให้ละเหย
10. ดอกหงอนนาคจะบานประมาณ 10.00 น.เป็นต้นไป
11. อาหารหากไม่อยากทำเอง ก็สั่งร้านข้างล่างให้มาส่งได้(เขาจะฝากลูกหาบมาให้ แต่ไม่ทราบราคานะ)


57


กล้องที่ใช้
Fuji xt1 + samyang 12 mm
gopro hero4

ลมแรงมาก หาทางรับมือดีๆ นะครับ

58
อึดอย่างไรเมื่อออกซิเจน...แทบเป็นศูนย์

คัดลอกมาจาก นิตยสาร Update ฉบับที่ 310 สิงหาคม 2556
แปลและเรียบเรียงจากOut of thin air, NewScientist, 15 June, 2013


60 ปีหลังที่ เอ็ดมัน ฮิลลารี และ เทนซิง นอร์เกย์ ได้เป็นบุคคลคู่แรกที่ไปเหยียบยอดเขาเอเวอเรสต์ จุดสูงสุดยอดของโลกแห่งนั้นก็พลัน
กลายเป็นสถานที่แห่งความพลุกพล่านวุ่นวาย โดยเฉพาะในช่วงที่มีสภาพอากาศดีๆ ตั้งแต่กลางเดือนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ไหล่เขา
ส่วนบนจะคลาคล่ำไปด้วยนักปีนเขาหลายร้อยคน ด้วยความที่ทุกอย่างก้าวหาดูได้จากการเป็นวีดีทิศน์ผ่านโปรแกรมสื่อแลกเปลี่ยนออนไลด์
Youtube จึงอาจมีคนหลงคิดไปว่า มันคงไม่หลงเหลืออะไรให้ค้นหาอีกต่อไปแล้วบนหลังคาโลกแห่งนั้น แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิด

คณะทำงานจากศูนย์การแพทย์สำหรับพื้นที่สูง ห้วงอวกาศและสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย(Center for Altitude Space and Extreme Environment
Medicine หรือ CASE) ประจำมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ใช้เวลาหลายสัปดาห์ปักหลักอยู่บนยอดเขาเอเวอเรสต์เพื่อศึกษานักเดินป่า
นักไต่เขา และชาวเขาเผ่าเชอร์ปาหลายร้อยคน สิ่งที่พวกเขาค้นพบจากการทำงานในครั้งนั้นรวมถึงการค้นพบในครั้งอื่นๆ ของคณะทำงาน
อื่นมีผลเปลี่ยนแปลงความเข้าใจของเราในเรื่องการปรับตัวของร่ายกายเมื่ออยู่ในพื้นที่สูงได้ในระดับรากฐานเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องเผชิญกับ
ระดับออกซิเจนต่ำๆ ในที่ดังกล่าว

59
Hello Iran จำนวนผู้เดินทาง 5 คน

10 เม.ย. 60 เดินทางด้วยสายการบิน Mahan Air จาก สุวรรณภูมิ-Tehran บินตอน 4 ทุ่ม ใช้เวลา 7.40 ชม.(เวลาช้ากว่ากัน 3 ชม. 30 นาที)

11 เม.ย. 60 ถึง Tehran ทำวีซ่า กับประกัน(ทำที่สนามบิน) เดินทางไปที่พักที่ได้จองไว้แล้ว (Persian Hostel)
                  - Golestan Palace พระราชวังสวนกุหลาย
                  - Tehran Bazaar ตลาด
                  - National Jewels Museum (ไม่ได้เที่ยวเพราะปิด เนื่องจากเป็นวัน Father day)
                  - Tabiat Bridge(ไม่ได้ไป)
                  - Milad Tower ดูมุมสูงเมือง Tehran

12 เม.ย. 60 Tehran-Shiraz ฝากเป๋าไว้ก่อน เดินทางด้วยรถบัสข้ามเมืองตอนเย็น(19.00 น.)
                  - Tajrish Bazaar เป็นตลาดท้องถิ่นเล็กๆ
                  - Darband เป็นหมู่บ้านทีมีกระเช้าขึ้นภูเขาหิมะ แต่ไม่ได้ขึ้นนะ ฝนตกๆๆๆ
                  - Azadi Tower ตึกวายคว่ำ (ไม่ได้ไป เวลาไม่พอ)

13 เม.ย. 60 Shiraz พักที่ Niayesh Boutique Hoste(ที่พักนี้โอเคเลยนะ แนะนำ)
                  - เดินเที่ยวตลาด Vakil Bazaar ทีมีพรมขายเยอะๆ
                  - Karim Khan Fort ป้อม
                  - Narenjestan e Ghavam คฤหาสห์ของคหบดีตระกูลสูง
                  - Ali Ibn Hamza มัสยิด(ไม่ต้องไปหรอกนะอันนี้)
                  - Vakil Mosque ใหญ่มาก คุมเข้มการเข้า(แนะนำให้เข้า)

14 เม.ย. 60 เช็คเอ๊า เหมารถ(230 us)ไปเมือง Yard เที่ยวระหว่างทาง ไม่ต้องย้อนกลับเข้าเมือง
                   - Pink Mosque หรือ Nasir ol Molk Mosque มัสยิสสีชมพู
                   - Persepolis เมืองโบราณ
                   - ถึงเมือง Yard เข้าที่พัก Orient Hotel (ที่นี่ไม่โอเคน่ะ) ถึงเย็นมืดๆ
                   - Kabir Jameh Mosque ติดที่พัก

15 เม.ย. 60 - Amir Charhmaq Mosque
                   - ตอนบ่ายไปกับทัวร์ Maybod, Kharanaq, Chak Chak, Ice House, Caravan มาถึง โรงแรมประมาณ 2 ทุ่ม
                   - นอนอีกคืน

16 เม.ย. 60 เดินทางไปเมือง Esfahan ด้วยรถประจำทาง ขึ้นตอน 10.45 น.
                   - ถึง Esfahan ประมาณ 14.00 น.
                   - เข้าที่ัพัก Amir Kabir Hoste ที่นี่บริการดีนะ แต่อย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง
                   - Naqsh-e Jahan ซึ่งจะมีมัสยิดรอบๆ
                   - Ali Qapu Palace พระราชวัง
                   - Pol-e Khaju สะพานคาจูร์ข้ามลำน้ำ Zayade

17 เม.ย. 60 - เที่ยวต่อรอบๆ Naqsh-e Jahan
                   - Masjed-e Imam หรือ Masjed-e shah
                   - Masjed-e Sheikh Lotfollah เล็กกว่าอันบน
                   - ช๊อปปิ้งๆๆๆๆ
                   - Masjed-e Jameh มัสยิดวันศุกร์
                   -  Vank Caterdral
                   - Pol-e Si-o-Seh สะพาน 33 โค้ง (ฟ้าปิดเซ็ง)

18 เม.ย. 60 - พักอีกคืน ตืนเช้าเดินทางไปเมือง Kashan ด้วยรถประจำทาง ประมาณ 3 ชม.
                   - พักที่ Ehan Historic house ที่พักโอเค
                   - Abbasian Historical House
                   - Sultan Amir Ahmad Bathhouse
                   - Borujerdi Historical House
                   - Tabatabaei Historical House(จริงๆ มีหลายที่แต่เลือกเขาแค่นี้ คิดว่าสถาปัตย์คงเหมือนๆ กัน)

19 เม.ย. 60  พักอีกคืน
                   - Aqa Bozorg Mosque
                   - Fin garden
                   - Abyaneh
                   - Salt Lake
                   - Maranjab Desert ดูพระอาทิตย์ตก บางคนไปดูขึ้น
                   - พักกลางทะเลทราบเป็น Caravasaral (มีน้ำอุ่นอาบนะ แต่ที่นอนไม่สบายเท่าไรแมลงวันเยอะ)

20 เม.ย. 60  - เดินทางกลับ Tehran ด้วยรถประจำทาง มีเวลาเหลือเลยแวะไปเที่ยว
                   - Azade Tower
                   - ไปสนามบิน บินกลับ
 


อุปกรณ์ กล้อง Fuji xt1, samyang 8 mm and 12 mm, fuji 55-250
canon 5dMark III + 40 mm pancake
gopro


ค่าใช้จ่ายตลอด 10 วัน เฉลี่ยวันละ 2000 บาท ค่าเครื่อง 16,000 บาท
เบ็ดเสร็จ รวม 36,000 บาท ช็อป 4,000 บาท เป้ใส่ไม่หมด

Download โบว์ชัวร์ของประเทศอิหร่าน ลองไปอ่านดูลิงค์ด้านล่างนี้นะครับ

http://hikingthai.com/Download/Iran/GateofAllNations_Iran.pdf


60
ถ้ำน้ำลอดเซบั่งไฟหรือ ถ้ำน้ำลอดกองลอ อยู่ที่บ้านหนงปรีง เมืองบัวละพา แขวงคำม่วน เมื่องท่าแขก ภาคกลางของลาว



Pages: 1 2 [3] 4 5 ... 7