แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - designbydx

Pages: [1] 2 3 ... 399
1
281.วัดมหาสมณาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด : ราชวรวิหาร
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : คลองกระแซง
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เพชรบุรี   
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2386 รัชกาลที่ 3
พิกัด  : 13.10991, 99.93849

***ทำวัตรเช้า 08.00 น.

วัดมหาสมณารามหรือวัดเขา เป็นวัดสร้างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 3 ประมาณ พ.ศ. 2386 ตั้งอยู่บนเขาสมน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างพระนครคีรีขึ้นบนยอดเขาสมน ซึ่งโปรดให้ เปลี่ยนชื่อเป็นเขามหาสวรรค์ พร้อมกับทรงปฏิสังขรณ์วัดเขาเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า "วัดเขาสมณาราม"(เลียนเสียงเดิมคือวัดเขาสมน) โปรดให้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาใน พ.ศ. 2403 ต่อมาโปรดให้เปลี่ยนชื่อ วัดเป็น "วัดมหาสมณาราม"

วัดมหาสมณารามได้เจริญรุ่งเรืองด้วยพระบรมราชูปถัมภ์ ของรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลต่อๆ มา ตลอดจนศรัทธาของ ประชาชนซึ่งมีมาไม่ขาดสาย

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย, สมบัติ จำปาเงิน


2
280.วัดราชบุรณะ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ท่ามะพลา
เขต/อำเภอ : หลังสวน
จังหวัด : ชุมพร
พ.ศ.ที่สร้าง :
พิกัด : 9.93906, 99.04048

วัดราษฎร์บูรณาราม เดิมชื่อว่า "วัดเขาห่อ" เพราะมีภูเขาล้อมรอบ สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2296 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปีพุทธศักราช 2365 พร้อมทั้งได้พระราชทานพระประธานในพระอุโบสถ พระนามว่า "พระพุทธสิงห์"และทรงพระราชทานนามวัดว่า "วัดราชบูรณาราม"

ต่อมาโนสมัยเจ้าคุณภัทรธรรมธาดา เจ้าคณะจังหวัดชุมพร ได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อจาก วัดราชบูรณาราม เป็น "วัดราษฎร์บูรณาราม" ตั้งแต่นั้นมา ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พุทธศักราช 2551

สิ่งสำคัญในพระอาราม

พระอุโบสถ เป็นอาคารไม้ ลักษณะทรงโรง หลังคามุงกระเบื้อง

พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูป ปูนปั้นปางมารวิชัย (ปัจจุบันเปลี่ยนแล้ว)

พระเจดีย์รัตนตรัย ลักษณะก่ออิฐถือปูน ทรงระฆังคว่ำ ย่อมุมไม้สิบสอง ภายในประดิษฐาน พระพุทธสิหิงค์จำลอง

พระเจดีย์พ่อท่านในกุฎี ลักษณะก่ออิฐ ถือปูน ย่อมุมไม้สิบหก ฐานมีข้าง 4 เศียร บูรณะในสมัยรัชกาลที่

ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก

หอระฆัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงจตุรมุย หลังคามุงกระเบื้อง

ที่มา : พระอารามหลวง เล่ม 2, กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม



3
279.วัดขันเงิน

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : วังตะกอ
เขต/อำเภอ : หลังสวน
จังหวัด : ชุมพร
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ. 2369
พิกัด : 9.95763, 99.07601

วัดขันเงินไม่มีหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับการสร้างวัดประมาณ ว่าสร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต้นรัชกาลที่ 3 ราว พ.ศ. 2369 สิ่งที่ เป็นหลักฐานเดิมมีอุโบสถหลังเก่าและพระประธานที่ประชาชนเรียกว่า หลวงพ่ออินทร์หรือพ่อหลวงอินทร์ ต่อมาเมื่อมีการสร้างอุโบสถหลังใหม่ ที่เรียกว่า โบสถ์น้อย ก็ได้อัญเชิญท่านเข้าประดิษฐานเมื่อ พ.ศ. 2514

เขตวัดทางด้านทิศเหนือติดกับแม่น้ำหลังสวนมาก เวลาล่วง มาที่ดินได้ถูกน้ำเซาะตลิ่งพังเสียหายไปประมาณ 10 ไร่ (ของเดิมมี 43 ไร่เศษ) แต่ได้งอกเพิ่มเติมประมาณ 5 ไร่ มีผู้ซื้อที่ดินบริจาคให้วัดอีก 6 ไร่เศษ ฐานะของวัดเจริญขึ้นเป็นลำดับ

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย, สมบัติ จำปาเงิน


4
277.วัดชุมพรรังสรรค์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : นาทุ่ง
เขต/อำเภอ : เมืองชุมพร
จังหวัด : ชุมพร
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2363
พิกัด : 10.50024, 99.17123

***ปรับปรุง คาดว่าแล้วเสร็จ ปี เม.ย. 2569

วัดชุมพรรังสรรค์ เดิมชื่อว่า “วัดราชคฤห์ดาวคะนอง” สร้างมา ประมาณ 160 ปี เมื่อ พ.ศ.2363 ผู้สร้างวัดนี้ คือ พระยาเพชรกำแพง สงคราม (ซุ้ย) ซึ่งเป็นผู้มีถิ่นฐานบ้านเกิดอยู่บ้านท่าตะเภาเหนือ และเป็นการสร้างเพื่อเทิดทูนองค์พระมหากษัตริย์ คือ รัชกาลที่ 3 และเป็น สัญลักษณ์ในการชนะศึกสงคราม คือเมื่อตีทัพพม่าแตกถอยหนีไปแล้ว ก็ถอยทัพกลับเมืองชุมพรมาถึงบริเวณวัดพอดีรุ่งอรุณของวันใหม่ ต่อมา เมื่อสร้างวัดแล้ว จึงให้ชื่อวัดว่า “วัดราชคฤห์ดาวคะนอง”

ต่อมาปี พ.ศ. 2500 คณะกรรมการสงฆ์จังหวัดชุมพรได้ประชุมขอเปลี่ยนชื่อ วัดเป็น “วัดชุมพรรังสรรค์” ให้สอดคล้องกับ “วัดสุบรรณนิมิต” ซึ่ง เป็นวัดประจำอำเภอเมืองชุมพร และหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2484 แล้ว วัดชุมพรรังสรรค์ จึงได้เริ่มการพัฒนาเจริญขึ้นมาเป็น ลำดับ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อประมาณ พ.ศ. 2380 และ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2525

พระอุโบสถ สร้างประมาณ พ.ศ. 2450 และได้ปฏิสังขรณ์ใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2492 สมัยอดีตเจ้าอาวาส รูปที่ 2 ครั้นเจ้าอาวาสรูปที่ 2 ถึง แก่มรณภาพแล้ว อดีตเจ้าอาวาสรูป ที่ 3 ก็ได้ดำเนินการก่อสร้างต่อมา จนสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2500 ขนาด กว้าง 12.50 เมตร ยาว 28 เมตร ลักษณะทั่วไป เป็นโบสถ์ขนาดใหญ่ทรงไทยใช้อิฐโบราณแผ่นใหญ่ เป็น วัสดุในการก่อสร้าง เสาสี่เหลี่ยมและผนังก่ออิฐถือปูนแบบโบราณ หลังคา หล่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กมุงด้วยกระเบื้องดินเผาสีน้ำตาลและเขียว มีช่อฟ้าในระกาทำด้วยไม้สักลงรักปิดทอง บานประตูทำด้วยไม้สักมี 4 ช่อง และบานประตูแต่ละบานมีรูปแกะสลักเป็นลวดลายกนก มีรูป ยักษ์เฝ้าประตูเรียกกันว่ายักษ์ทวารบาลขี่คชสีห์ข้างละบาน ส่วนหน้าต่างทำด้วยไม้สักมีทั้งหมด 12 ช่อง หน้าต่างทุกบานเขียนเป็นลวดลายรดน้ำ ทำด้วยทองธรรมชาติมีรูปเทพบุตรยืนถือพระขรรค์บ้าง เป็นรูปเทวดา เหน็บพระขรรค์ยืนประนมมือบ้าง ภายใต้รูปเทวดาเขียนเป็นภาพประกอบ คำบรรยายภาษิตไทยโบราณ 1 ภาษิต ทุกช่อง อาทิเช่น รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา เป็นต้น

พระวิหาร สร้างเสร็จประมาณ พ.ศ. 2450 มีขนาดกว้าง 9*9 เมตร ลักษณะทั่วไปเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบจีนโครงสร้างหลังคาไม้ มุงด้วยกระเบื้องรางดินเผา ปัจจุบันใช้เป็นตึกห้องสมุด

หมู่พระเจดีย์ 11 องค์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกภายในวัดมี พระเจดีย์องค์ใหญ่อยู่ตรงกลาง มีพระเจดีย์องค์เล็กๆ 10 องค์ เรียงราย รอบพระเจดีย์องค์ใหญ่ สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2450 ลักษณะโครงสร้าง แบบลังกาวงศ์เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อนได้อัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุมาจากประเทศลังกา บรรจุไว้ในพระเจดีย์และได้จัด งานฉลองเป็นการใหญ่เมื่อปี ร.ศ. 122

วัดนี้มีเนื้อที่ตั้งวัดทั้งสิ้น 15 ไร่ 1 งาน 92 ตารางวา

ที่มา : พระอารามหลวงแห่งราชอณาจักรสยาม, ลำจุล ฮวบเจริญ

5
275.วัดสุวรรณคีรีวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เขานิเวศน์
เขต/อำเภอ : เมืองระนอง
จังหวัด : ระนอง
พ.ศ.ที่สร้าง :
พิกัด : 9.97941, 98.63773

วัดสุวรรณคีรีวิหารเในจังหวัดระนอง เดิมเป็นวัดราษฎร์สร้างในเดือนเมษายน พ.ศ. 2433 (ร.ศ. 109) ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ ประพาสหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก ทรงเห็นวัดสุวรรณคีรีทาราม (ชื่อเดิม ของวัด) ประสบภัยธรรมชาติและกลายเป็นวัดร้าง จึงโปรดให้พระยารัตน เศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนองจัดสร้างวัดนี้ขึ้นมาแทน พร้อมกับได้พระ ราชทานนามว่า วัดสุวรรณคีรีวิหาร แต่ประชาชนนิยมเรียกว่า วัดหน้าเมือง ตามลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งวัด

วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2437 ด้านการศึกษาเปิดสอนพระปริยัติธรรมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2480 มีหอสมุดสำหรับประชาชนขนาดใหญ่ เป็นที่ตั้งหน่วยอบรมของ จิตตภาวันและหน่วย อ.ป.ต. อีกด้วย

วัดได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงใน พ.ศ.2543 ฉลองใหญ่กันใน พ.ศ.2544

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย, สมบัติ จำปาเงิน


6
274.วัดพระบรมธาตุไชยา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก      
ชนิด : ราชวรวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เวียง
เขต/อำเภอ : ไชยา
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
พ.ศ.ที่สร้าง :
พิกัด : 9.38458, 99.18425

จากโบราณวัตถุโบราณสถานที่ยังปรากฏอยู่ ทราบได้ว่า วัดนี้มี มานานแล้วหลายยุคหลายสมัย คือ เกิดขึ้นแล้วร้างไป แล้วกลับฟื้นฟูขึ้น มาใหม่ สามารถแยกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ดังนี้

สมัยทวาราวดี ดูจากพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่เท่าคน ระหว่าง พ.ศ.1000-1200

สมัยศรีวิชัย ดูจากองค์พระเจดีย์พระมหาธาตุแบบสมัยศรีวิชัย หรือแบบอินโดชวานีสในทางโบราณคดี ระหว่าง พ.ศ. 1200-1500

สมัยสุโขทัย ดูจากใบพัทธเสมาคู่แฝดปรากฏอยู่รอบ ๆ เขตพระ อุโบสถเดิมของวัด

สมัยกรุงศรีอยุธยา ดูจากพระพุทธรูปศิลาทรายแดง ซึ่งมีอยู่มาก มาย ขนาดโตกว่าธรรมดา

สมัยธนบุรี ดูจากศิลาจารึกในวัดอื่นที่ใกล้ๆ กัน แสดงถึงการ ทะนุบำรุงรักษาพระพุทธศาสนาในถิ่นนี้ทั่วๆ ไป

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เข้าใจว่าถูกพวกพม่าข้าศึกทำลายไปใน รัชกาลที่ 1 ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ได้ทำการฟื้นฟูและบูรณะขึ้นใหม่ และ บูรณะตกแต่งของเดิมให้คงสภาพที่ดีขึ้นและสร้างถาวรวัตถุขึ้นมาใหม่ แทนที่ชำรุดทรุดโทรมจนไม่สามารถบูรณะขึ้นใหม่ไต้ โดยพระชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ เจ้าคณะเมืองไชยาระหว่าง พ.ศ. 2435-2444 และการบูรณะได้สืบเนื่องมาเรื่อยๆ จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ และได้รับ พระบรมราชานุญาตให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 และเลื่อนฐานะเป็นพระอาราม หลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหารตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

พระอุโบสถ สร้างเสร็จ พ.ศ. 2501 รูปทรงไทย เป็นคอนกรีด เสริมเหล็ก สร้างตรงแนวบริเวณพระอุโบสถเดิม เสมาคู่ที่เรียงรายรอบ พระอุโบสถเป็นของสมัยสุโขทัย ภายใน พระอุโบสถมีพระประธานเป็น พระพุทธรูปศิลาทราย ปางมารวิชัยสมัยอยุธยา พระอุโบสถหลังนี้หันหน้า ไปทางทิศตะวันตกต่างจากพระอุโบสถอื่นที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเพราะว่าเมื่อกราบพระประธานแล้วก็ จะได้กราบพระบรมสารีริกธาตุ ที่บรรจุ ในพระบรมธาตุไชยาด้านหลังไปด้วย พร้อมๆ กัน

พระวิหารหลวง ตั้งอยู่ทางทิศ ตะวันออกขององค์พระบรมธาตุ สร้างยื่นล้ำเข้าไปในเขตพระวิหารคด ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยพระชยาภิวัฒน์ พ.ศ. 2444 ภายหลังชำรุด ได้สร้างขึ้นใหม่ในที่เดิม เมื่อ พ.ศ. 2502 รูปทรงไทย คอนกรีตเสริม เหล็ก คงไว้แต่พระพุทธรูปและฝาผนังหลังพระพุทธรูปเท่านั้น

พระเจดีย์พระบรมธาตุไชยา เป็นพุทธเจดีย์สมัยศรีวิชัย สร้างตามลัทธิ มหายาน ประมาณ พ.ศ. 1300 เป็นพระ เจดีย์ที่ก่อสร้างด้วยอิฐ ลงรักปิดทองทั้งองค์ ตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารหลวง ล้อมรอบด้วยวิหารคดทั้ง 4 ด้าน ฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรมุข ส่วนยอดแบ่ง เป็น 3 ชั้น ลดหลั่นกันขึ้นไป ยอดเจดีย์ เป็นองค์ระฆังลักษณะรูป 8 เหลี่ยม ตั้งอยู่บนรูปดอกบัวขนาดใหญ่ ลงรักปิดทองลวดลายสวยงามยิ่ง นับว่าเป็น ปูชนียวัตถุอันสำคัญยิ่งของวัดนี้และเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป นอกจากนี้ก็ยังมี ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ต่าง ๆ เป็นต้น ที่ดินที่ตั้งวัดมีจำนวนทั้งสิ้น 42 ไร่ 1 งาน

ที่มา : พระอารามหลวงแห่งราชอณาจักรสยาม, ลำจุล ฮวบเจริญ


7
273.วัดธรรมบูชา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ตลาด
เขต/อำเภอ : เมืองสุราษฎร์ธานี
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
พ.ศ.ที่สร้าง :
พิกัด : 9.14352, 99.32715

วัดธรรมบูชา แต่เดิมเป็นป่าดอนสำหรับฝังศพและเผาศพ ชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกว่าป่าช้าตอนเรียบ เพราะเมื่อประมาณ 50 ปีเศษ ก่อนสร้างวัด ณ ที่นั้นเป็นที่ฝังศพของนักโทษประหารและเป็นที่รกชัฏมากเงียบสงัดวังเวงปราศจากผู้คน ต่อมาทิดปลื้มชาวบ้านแถบนั้นได้สร้าง ศาลาหลังคามุงจาก สำหรับพระภิกษุมาสวดพระอภิธรรมขึ้นสองหลัง จนมีพระภิกษุรูปหนึ่งไม่ปรากฏนามมาพักอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ชาวบ้านเลยนิมนต์ให้อยู่ประจำ และสร้างขึ้นเป็นวัดชื่อ “วัดดอนเรียบ” พร้อมกับ สร้างกุฏิหลังเล็กๆ ให้ท่านอาศัย ต่อมาเมื่อท่านได้ลาสิกขามีพระธุดงค์ จากวัดอื่นเข้ามาอาศัยอยู่ในปริวาสกรรม คือ หลวงพ่อปลอด เป็นเจ้า อาวาสรูปแรกของวัดนี้ จนกระทั่งมรณภาพ เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว สภาพวัดคล้ายวัดร้างอยู่ระยะหนึ่ง

เมื่อ พ.ศ.2448 มีพระภิกษุรูปหนึ่งมีนามว่า กรับ ญาณวีโร (ท่าน จางวางกรับ ปาลิต) พร้อมด้วยพระอีก 2 รูป เดินทางจากสงขลาไป กรุงเทพฯ เมื่อท่านทั้ง 3 รูป เดินทางมาถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี เห็นสภาพของวัตตอนเรียบก็รู้สึกพอใจในสถานที่ของวัด ท่านทั้ง 3 เป็น นักวิปัสสนาธุระ ครั้นถึงวันเข้าพรรษาท่านทั้ง 3 ก็มาจำพรรษาที่วัดตอนเรียบนี้ ชาวบ้านแถบนั้นประมาณ 40-50 คน ได้ช่วยถางป่าน้อยใหญ่ เพื่อจะสร้างบริเวณนั้นให้เป็นวัด เมื่อสร้างวัดพอเป็นหลักฐานจึงได้ขอตั้งวัด และขอเปลี่ยนชื่อวัดต่อเสนาบดีมหาดไทย ซึ่งในสมัยนั้น กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ยังเป็นกรมหลวงดำรงตำแหน่งนี้ ขณะนั้นกำลังเสด็จตรวจราชการทางมณฑลภาคใต้ จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดตอนเรียบ ให้ใหม่เป็นวัดธรรมยุติการาม พระกรับได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ อยู่ 4 ปี ร่วมกับเจ้าจอมพิณศรี สุพรรณศรี (พิณ ณ นคร) ในรัชกาลที่ 5 นางศรีสุพรรณดิส (จิ๋ว ณ นคร) นางชำนาญ พินิจคงคา (สิน แซ่หลี) คุณนายเกตุ นายฮก-นางตรึก สุวรรณกูล นายแดงนุ้ย นางแตงและ ทายกทายิกาอีกหลายท่าน

ในปี พ.ศ.2452 พระมหาวันเปรียญ 8 ประโยค ได้เดินธุดงค์ มาพักที่วัด พระกรับจึงได้มอบภาระทั้งหมดให้พระมหาวัน และท่านก็ เดินทางกลับเมืองนครศรีธรรมราช แล้วเดินทางเข้ากรุงเทพฯ และอยู่ ในกรุงเทพฯ จนลาสิกขา เมื่อพระมหาวันมาอยู่จำพรรษาตั้งแต่ พ.ศ.2552 ถึง พ.ศ.2454 และลาสิกขา ออกพรรษาในปีนั้นท่านก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ

ต่อมา พ.ศ. 2454 พระครูโยคาธิการวินิต (ทอง) ได้มาอยู่และ เป็นเจ้าอาวาส ในปี พ.ศ. 2457 เจ้าอาวาส ได้จัดทำแผนผังของวัดรายงานต่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงรับรายงานและทรงเห็นชื่อว่าวัดธรรมยุติการาม ก็ไม่ทรงพอพระทัย โดยดำริว่าชื่อวัดนี้เป็นการเฉพาะหมู่เฉพาะคณะหนึ่งเท่านั้น ไม่เหมาะแก่สาธารณะ จึงมีลายพระหัตถ์ถึงกรมพระยาดำรงฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ว่าวัดธรรมบูชา และได้ใช้ชื่อว่าวัดธรรมบูชาตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2490 พระครูโยคาธิการวินิตก็มรณภาพ

ในปี พ.ศ.2490 ท่านเจ้าคุณพระธรรมวิโรจนเถร (พลับ) สมัยนั้นยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูสาสนภาณพินิจ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และได้ปรับปรุงพัฒนาวัดตามลำดับมา จนได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาต ให้ยกฐานะวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวง ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส รูปแรกของพระอารามหลวง และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดฝ่าย ธรรมยุตรูปแรกด้วย จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2498 ท่านก็มรณภาพ

ต่อมา พ.ศ. 2499 พระเทพสารสุธี (แสง ชุตินฺธโร ป.ธ. 5) ในสมัยนั้นยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระโชติธรรมวราภรณ์ ได้ดำรงตำแหน่งพระอารามหลวงแหน่งราชอากราจักรสาม

เจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ธรรมยุต) จนถึงปัจจุบัน ท่านได้ปรับปรุงและสร้างเสนาสนะในวัดตลอดมา

พระอุโบสถ สร้างเสร็จเมื่อประมาณ พ.ศ. 2450 สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงประยุกต์ มุงด้วยกระเบื้องปูน สร้างในสมัยพระกรับ ญาณวีโร เป็นเจ้าอาวาสและถูกวาตภัยครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2505 ชำรุดทรุดโทรมมากยากแก่การจะบูรณะให้คงสภาพเดิมได้ จึงได้จัดการก่อสร้างพระอุโบสถ หลังใหม่ขึ้นโดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพฯ เสด็จทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2519 ขณะนี้การ ก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ

ศาลาการเปรียญ
เป็นศาลาทรงไทยสร้างด้วยไม้ เสาคอนกรีต ยกพื้นสูงสร้างเมื่อ พ.ศ. 2496 และได้ขยายตัดแปลงให้กว้างขวางกว่า เดิม เพื่อสะดวกในการที่ประชาชนจะมาประชุมฟังธรรมและประกอบพิธี อื่นๆ ใน พ.ศ. 2499

หอระฆัง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2470 โดยนางนึก วัดนี้มีเนื้อที่ตั้งวัดทั้งสิ้น 19 ไร่ 1 งาน 4.5 ตารางวา

ที่มา : พระอารามหลวงแห่งอณาจักรสยาม, ลำจุล ฮวบเจิรญ



8
272.วัดพัฒนาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ตลาด
เขต/อำเภอ : เมืองสุราษฎร์ธานี
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
พ.ศ.ที่สร้าง : 9.14878, 99.32908


9
271.วัดไตรธรรมาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ตลาด
เขต/อำเภอ : เมืองสุราษฎร์ธานี
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
พ.ศ.ที่สร้าง :  -
พิกัด : 9.13999, 99.3235

วัดนี้สร้างมานานไม่ต่ำกว่า 100 ปีเศษ ผู้สร้างวัดนี้คืออุบาสิกา 3 คน ชื่อนางเหลือ ถาวรสุข นางเภา และนางฉิม ทั้งสามเป็นหม้าย จึง ได้ชื่อว่า “วัดสามแม่หม้าย” ต่อมาพระปลัดสิทธิ์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสได้ เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดตรีศรัทธาวาส" แล้วกลับไปใช้ชื่อเก่า จนกระทั่งเดือน มีนาคม พ.ศ.2484 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ “วัดไตรธรรมาราม” ซึ่งยัง คงมีสัญลักษณ์เต็มคือ

ตรี และ ไตร = สาม


พระอุโบสถ หลังเก่าชำรุด มาก จึงสร้างขึ้นใหม่ตามแบบของ กรมศิลปากร (แบบ ก) กว้าง 12 เมตร ยาว 34 เมตร ส่วนพระประธานในพระอุโบสถสร้างมานาน ตั้งแต่สร้างวัด เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่หน้าพระอุโบสถหลังใหม่ มีพระพุทธรูปปูนปั้นองค์หนึ่ง หน้าตักกว้าง 3 วา 2 ศอก สูง 4 วา 1 ศอก 8 นิ้ว ภายในองค์พระบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานอยู่ที่ โคนต้นโพธิ์ ซึ่งนำเมล็ดพันธุ์มาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย ปลูกไว้ที่ หน้าพระอุโบสถ พระพุทธรูปองค์นี้มีนามว่า “พระโพธิพุทธคยานุสรณ์" สร้างเสร็จมีพิธีฉลองเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2507

ศาลาการเปรียญ มีขนาดกว้าง 16 เมตร ยาว 20 เมตร สร้าง เสร็จเมื่อปี พ.ศ.2516

วัดไตรธรรมาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในเนื้อที กว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2505

ได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2508 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรมราชานุญาตให้ ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2521

ที่ดินที่ตั้งวัดมีจำนวนทั้งสิ้น สิ้น 11 ไร่ 2 งาน

ที่มา : พระอารามหลวงแหน่งอณาจักรสยาม, ลำจุล ฮวบเจริญ

10
270.วัดสัตตนารถปริวัตร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด : วรวิหาร   
นิกาย : ธรรมยุติ
แขวง/ตำบล : หน้าเมือง
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : ราชบุรี   
พ.ศ.ที่สร้าง :  -
พิกัด : 13.53924, 99.82725

วัดสัตตนารถปริวัตร ได้สร้างขึ้นในสมัยเจ้าพระยาราชบุรี (กลั่น วงศาโรจน์) เป็นเจ้าเมืองราชบุรี ในสมัยระหว่างรัชกาลที่ 3-4 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่เชิงเขาสัตตนารถ ทิศตะวันออก เต็มชื่อว่า “วัดเขาสัตตนารถ"

ครั้นถึงรัชกาลที่ 5 ทางรัฐบาลได้ดำเนินการสร้างพระราชวังขึ้นที่เขาสัตตนารถ(เขาวัง) ซึ่งมีวัดเขาสัตตนารถตั้งอยู่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มีพระราชประสงค์จะให้มีการไถ่ถอนที่วัด คือ ทำผาติกรรมเพื่อให้พ้นจากที่ธรณีสงฆ์ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จึงได้ทำผาติกรรมวัดเขาสัตตนารถแล้วดำเนินการสร้างวัดทดแทนขึ้น ณ ที่แห่งใหม่

การสร้างวัดขึ้นมาใหม่นี้ได้ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2414 สถานที่สร้างวัดเป็นที่ตั้งวัดโพธิ์งามหรือวัดกลางบ้าน ซึ่งเป็นวัดร้างอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ไม่มีพระภิกษุอยู่อาศัย ชำรุดทรุดโทรมมาก

ครั้นสมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ได้สร้างวัดขึ้นใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ขนานนามว่า “วัดสัตตนารถปริวัตร” แปลว่า “วัดที่ เปลี่ยนไป หรือย้ายไปจากเขาสัตตนารถ” แล้วได้สถาปนาให้เป็น พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้นิมนต์พระเถระจากวัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร มาเป็นเจ้าอาวาส พร้อมด้วยพระภิกษุติตตามอีก 5 รูป

วัดสัตตนารถปริวัตร ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ วันที่ 7 มีนาคม 2418 กำหนดเขตกว้าง 8 วา ยาว 12 วา และได้รับ พระราชทานใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2552

ที่ดินที่ตั้งวัดมี 9 ไร่ 3 งาน 1 ตารางวา

ที่มา : พระอารามหลวงแห่งอณาจักรสยาม, ลำจุล ฮวบเจริญ



11
269.วัดมหาธาตุวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : วรวิหาร   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : คลองกระแซง
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เพชรบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง :  พ.ศ.2275-2301
พิกัด : 13.54756, 99.81404

***ปรับปรุง ไปมาเมื่อ ม.ค.66

วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญ ทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะและโบราณคดี ภายในพระวิหาร หลวงของวัด ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุ ด้านหลังพระวิหารหลวง คือพระปรางค์ 5 ยอด อยู่ภายในวิหารคต ทางด้านทิศใต้ของพระวิหารหลวง คือ พระวิหารน้อย และวัดมหาธาตุวรวิหารยังได้สร้าง พิพิธภัณฑ์ของวัดเป็นที่รวมศิลปะความเป็นมาต่างๆของวัดไว้ให้ผู้สนใจได้เข้าชม

พระวิหารหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.2275-2301) ภายใน พระวิหารหลวงมีพระพุทธรูปที่สำคัญ คือพระพุทธรูปประธานทรงราชาภรณ์ นอกจากนี้ยังมีหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์วัดมหาธาตุ เป็นพุทธรูปปรางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 8 นิ้ว หัตถ์ซ้ายถือพัด ประดับด้วยลายปูนปั้น รูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค มี พญาวานรแบกครุฑอยู่อีกขั้นหนึ่งพื้นหลังเป็นลายกนก ก้านขดออกช่อลายหางโดเป็นรูปครุฑ นาค ยักษ์ ฯลฯ

พระวิหารน้อย เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ฐานอ่อนโค้งทรงสำเภา ตั้งอยู่ระหว่างพระวิหารหลวงกับอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หลวงพ่ออู่ทอง ศิลปะแบบอู่ทอง ปางมารวิชัย ที่ฐานมีลายปูนปั้นประดับกระจกสวยสด งดงาม เช่น รูปม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีแบกฐานเป็นต้น ที่หน้าบันประดับด้วยลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม เช่นเดียวกับพระอุโบสถ และพระวิหารหลวง

พระปรางค์ 5 ยอด วัดมหาธาตุวรวิหาร มีพระปรางค์ 5 ยอด เป็นสัญลักษณ์สูงตระหง่านในเขตพุทธาวาส สามารถ มองเห็นได้แต่ไกลทั้ง 4 ทิศ วัดจากฐานถึงยอดนภศูลได้ 55 เมตร รอบฐานยาว 120 เมตร มีอายุราว 1,000 กว่าปี ภายในบรรจุ พระบรมสารีรักธาตุมาแต่อดีตกาล มีระเบียงคตรอบพระปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสในระเบียงคตมีพระพุทธรูปจำนวน 193 องค์ ประดิษฐานบนระเบียง พร้อมทั้งมีตัวแบกที่ฐานพระ ส่วนมากตั้งอยู่ใต้องค์พระพุทธรูปทางเครื่องไว้หลากหลาย สวยงาม พระพุทธรูปส่วนใหญ่เป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย และสกุลช่างเมืองเพชร พุทธลักษณะงดงามมาก

พิพิธภัณฑ์ ศาลา น.ส.อำพร บุญประคอง เป็นศาลาที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดมหาธาตุวรวิหาร เพชรบุรี ภายในรวบรวมเครื่องลายคราม พระพุทธรูป แผ่นภาพพระบาทและสิ่งของมีค่าที่หายาก ตั้งแสดงไว้ และเปิดให้ ผู้สนใจเข้าชม

ที่มา : ป้ายในวัด

12
เขาจะมีใบประกาศให้ด้วย

13
14/4/66 ตื่นตีห้า เตรียมตัวบินกลับ กาฐมาณฑุ เที่ยว 07.30 น. แต่โชคร้ายโดนยกเลิกเที่ยวบินประมาณ 12.00 น. เนื่องจากการสื่อสารขัดข้อง เลยต้องนั่งแทกซีกลับมาแทน แทนที่จะใช้เวลาบินแค่ 20 นาทีกลายเป็น 7 ชม. ประกอบกับตรงกับขึ้นปีใหม่เนปาลด้วย หารถยากไปอี๊ก ความทรมานระยะทาง 200 กม. จำได้นานเลย ถนนแย่มากๆ แนะนำบินดีกว่านะครับ เผื่อวันด้วย ไว้เจอทริปถัดไปครับ

15/4/66 เที่ยวในเมือง แล้วรอบินกลับไทย

14
เราก็สงสัยว่าทางเดินทำไมมันมีการทำบันไดอย่างดี และก็ยาว และก็มีจนถึงปลายทาง ทำไมขยันสร้างจัง
ได้ความว่า มันก็คือเส้นทางระหว่างหมู่บ้านนั่นเอง ชาวบ้านก็จะนำหินบริเวณนั้นๆ มาตัดทำเป็นบันได (ก็คงเหมือนเส้นทางหมู่บ้าน อบต. ไทยประมาณนั้น) โดย งบประมาณได้รับการสนับสนุนจากรัฐ


แต่ทีสงสัยอีกอย่าง T house หรือที่พักระหว่างทาง ทำไมมีรูปแบบเหมือนกัน สร้างกันอย่างไร แล้วที่ที่อยู่ไม่ใช่ที่ของอุทยาน หรือของรัฐบาลเหรอ
ได้ความว่า เป็นที่ของชาวบ้านนั่นล่ะ ใครจะสร้างต้องขออนุญาตก่อน และต้องเสียภาษี ส่วนการก่อสร้างจะลำเลียงวัสดุด้วย ฮ. หรือไม่ก็ลา หรือไม่ก็คน

ชอบบันได หรือทางปกติล่ะเธอ ;D ;D ;D

15
ระหว่างทางสวยดีนะ

16
13/4/66 จาก Low Camp (2970) เริ่มเดิน 07.30 น. ไปถึง Siding(1700) ประมาณ 11.00 น. ใช้เวลาประมาณ 3.5 ชม. แล้วนั่งรถเข้า Pokhara อีก 2 ชม.

17
สบายใจล่ะ กลับบ้านได้ มีภาพไปอวดแล้ว เราตัดสินใจไปนอนที่ Low Camp (2970) จะได้เดินไม่ไกลมากขากลับ(คิดถูก)

18
หลายคนที่ผมสังเกตุเขาก็ไม่ใส่ Crampons นะ ก็เดินได้ ผมนี่งง ไปเลย

19
ซูมไปใกล้ๆ เธอก็ก้อนหินธรรมดาเอง เพียงแค่อยู่สูงๆ

20
ไม่ต้องกล้วอดครับ บนยอดนี้มีร้านขายของด้วย 5555 ตกใจล่ะเซ่

Pages: [1] 2 3 ... 399