Hiking Thai
Hiking Thai => โครงการ...ของลุงชาติ => Topic started by: designbydx on กรกฎาคม 02, 2021, 09:18:21 am
-
หลังจากได้อ่านหนังสือ วัดร้างในบางกอก ของ ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร และ สุจิตต์ วงษ์เทศ แล้วก็มานั่งคิดเออออ สิ่งนี้น่าจะเหมาะกับเรา ไม้...ใกล้(วัด)ฝั่ง ;D ;D ;D ที่สำคัญช่วงนี้ก็มีโควิดระบาด ก็หาอะไรทำให้ กทม.นี่แล้วกัน อ่านไปมาก็น่าสนใจมีเรื่องราว ทำให้สนุกเวลาที่ออกตามหา เพราะวัดร้างจะแทรกตัวอยู่ในชุมชนบ้าง โรงเรียน หรือแม้แต่แทรกอยู่ในวัดกันเอง ก็มี
การถ่ายก็ทยอยอัพไป เพราะการเข้าถึงช่วงนี้จะลำบากเพราะห้ามกันเสียส่วนใหญ่เพราะโควิดเป็นเหตุ แต่ก็ไปดูที่ถ่ายมาแล้ว ไปกันเล๊ยยยย 8) 8) 8)
เริ่มต้นจากที่นี่ก่อนละกัน ใกล้บ้าน
1.วัดสวนสวรรค์ ซอยจรัญ 44
อุโบสถวัดสวนสวรรค์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงสูงหลังคาไม่ซ้อนชั้น ซึ่งอาจเป็นรูปแบบของอาคารที่สร้างขึ้นในราวสมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์
ภายในมีพระประทาน "หลวงพ่อดำ" ตามลักษณะที่มีการลงรักสีดำ ซึ่งน่าจะเคยปิดทองมาก่อนด้วย และจะเห็นผนังอุโบสถเจาะช่องเว้ารูปกลีบบัวคล้ายแบบที่พบในสถาปัตยกรรมอยุธยาตอนปลายถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์
ที่มา : วัดร้างในบางกอก, ประภัสสร์ ชูวิเชียร
มอไซด์สะดวกที่สุด
ตำแหน่ง https://www.google.co.th/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%8C/@13.7724894,100.4923291,17z/data=!3m1!4b1!4m5!3m4!1s0x30e2997ac293c90d:0x4f67832141d839b2!8m2!3d13.7725016!4d100.4944917
-
ผสมกลืนเข้าไปกับชุมชน
-
ได้รับการดูแลจากกรมศิลปากร
-
องค์พระประธาน "หลวงพ่อดำ" ปางมารวิชัย
-
เจดีย์ ย่อมุม
-
ทาเข้ามีป้ายบอกอยู่นะ หาง่าย เดินเอาสะดวกดี ได้ชมบรรยากาศรอบๆ ไปด้วย ช่วยบิวอารมณ์ได้ดี ;D ;D
ในป้ายได้บอกประวัติไว้ดังนี้
ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแถบบางยี่ขัน ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสะพานพระราม 8 เหนือขึ้นไปเล็กน้อยคือวัคคฤหบดี หากลองเดินลัดเลาะเข้าไปยังตรอกหลังวัดและเลียบลำคลองเล็กๆ ไปทางทิศตะวันตกจะพบป้ายเล็กๆ ว่า "ซอยสวนสวรรค์" อันเป็นที่ตั้งของวัดร้างที่ยังมีร่องรอยของงานก่อสร้างถาวรวัตถุที่สมบูรณ์แห่งหนึ่ง
"วัดสวนสวรรค์" มีปรากฏชื่อในแผนที่กรุงเทพฯ ฉบับพิมฑ์ พ.ศ. 2461 จนถึง พ.ศ.2474 หมายถึงช่วงนั้นยังเป็นวัดที่ยังมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ แสดงว่าวัดสวนสวรรค์เพิ่งจะร้างมาราว 100 กว่าปี ส่วนประวัติการสร้างเมื่อใด ใครสร้างขึ้นมานั้นยังไม่พบเอกสารที่กล่าวถึงเลย ดังนี้จึงต้องอาศัยสิ่งที่พบภายในวัดเป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดอายุสมัย
ภายในอุโบสถประดิษฐาน "หลวงพ่อดำ" เป็นพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย เค้าโครงดูเป็นพระพุทธรูปเก่าสมัยอยุธยาตอนปลายถึงต้นรัตนโกสินทร์ ที่เคยปิดทองแต่หลุดลอกออกไปจนเหลือแต่รักสีดำ มีพระสาวกสององค์ยืนถวายอัญชลี
อายุสมัยของวัดสวนสวรรค์จากการพิจารณารูปแบบศิลปะ สันนิฐานได้คร่าวๆ ว่าวัดสวนสวรรค์ น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายแล้วจึงมาปฏิสังขรณ์กันในสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง อายุคงอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 23-28 แต่น่าเสียดายที่ไม่พบเอกสารใดๆ อันอาจสืบค้นถึงชื่อหรือสมณศักดิ์ของภิกษุที่ครองวัดนี้มาก่อนการทิ้งร้างได้
-
2. พระอุโบสถ หลวงพ่อแดง วัดนาค บางขุนเทียน
หลวงพ่อแดง ซ่อนตัวอยู่ในชุมชน วัดนาค-สี่บาท ต้องเดินเข้าไปในชุมชน หากใครไปไปจอดรถที่วัดกก ซึ่งอยู่ตรงข้ามแล้วค่อยเดินมาจะสะดวกกว่า ปัจจุบันได้มีการบูรณะแล้ว ด้วยทุนของชาวบ้าน ประตูจะปิดล็อค สามารถเข้าชมได้โดยขอกุญแจจากร้านค้าที่อยู่ติดกับอุโบสถ
หลวงพ่อแดง เป็นพระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยาขนาดใหญ่ กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 หลังพระประธานจะมีเสมาหินทรายแดงตั้งอยู่
ทำไมชื่อ สี่บาท อ่านเจอว่า จ้างขุดคลองตรงนั้น 4 บาท
การเข้าถึง เดินๆๆๆ มอไซด์ก็ไปไม่ได้
ที่มา : วัดร้างในบางกอก, ประภัสสร์ ชูวิเชียร
ตำแหน่ง https://www.google.co.th/maps/place/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%96+%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87+%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84/@13.6724467,100.4476146,19.31z/data=!4m8!1m2!2m1!1z4Lin4Lix4LiU4LiZ4Liy4LiEIOC4muC4suC4h-C4guC4uOC4meC5gOC4l-C4teC4ouC4mQ!3m4!1s0x0:0x450d266955bc2b3f!8m2!3d13.672932!4d100.4480927?fbclid=IwAR3P6TiWKYws7LGIXgdzBcwJpM5l62iEsyjdtv7MFa7QPRYIjiszN_Chnu4
-
ทางเข้าติดริมคลอง ชุมชนวัดนาค-สี่บาท เดินเข้าไปเลย
-
ไม่ไกลมากจะเจอแล้ววัด ได้รับการบูรณะด้วยทุนของชนชนเอง ประตูจะถูกล็อค ไปขอกุญแจที่ร้านค้า ที่อยู่ด้านข้างได้ครับ เป็นชุมชนเดิม แต่ทำไมพูดภาษาอีสานกัน ชักสงสัย ??? ???
-
วันนี้ต้องนั่งรอกุญแจเพราะ พ่อค้าไปซื้อของเข้าร้าน และก็ร้อนมากวันนั้น นอนรอเลย สักพักก็มาเปิดให้ พี่เขาใจดี
-
พี่เล่าว่าหลังคารั่ว ก็ได้ออกเงินกันบูรณะไว้ ไม่งั้นคงไม่ได้อยู่ถึงทุกวันนี้
-
ใบเสมา ที่มีมาตั้งแต่ตอนแรก
-
มาดูหน้าเต็มๆ แดงแจ๊ดไหม
-
3.วัดร้างบางบอน (วิหารหลวงพ่อขาว) ถนนเอกชัย
มาถึงแล้วพระพุทธรูปสีขาว "หลวงพ่อขาว" ปัจจุบันเป็นที่สักการะของคนทั่วไป ไม่ได้เป็นวัดนะ หนังสือบอกว่า จริงๆ แล้วเศียรพระถูกตัดไป และได้ทำขึ้นมาใหม่ คนดูแลตั้งแต่ปี 2516 บอกว่าก็เจอเศียรแบบนี้ตั้งแต่มาดูแล(ไม่รู้ถูกตัดไปเมื่อไร) ปัจจุบันก็ตั้งอยู่ในพื้นที่ส่วนตัวนะคิดว่า
ที่มา : วัดร้างในบางกอก, ประภัสสร์ ชูวิเชียร
ตำแหน่ง https://www.google.co.th/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%99+-+%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7/@13.6845484,100.442278,17z/data=!4m9!1m2!2m1!1z4Lin4Li04Lir4Liy4Lij4Lir4Lil4Lin4LiH4Lie4LmI4Lit4LiC4Liy4LinIOC5gOC4reC4geC4iuC4seC4og!3m5!1s0x0:0x8da4403cdfd5f159!8m2!3d13.6846483!4d100.4446118!15sCkDguKfguLTguKvguLLguKPguKvguKXguKfguIfguJ7guYjguK3guILguLLguKcg4LmA4Lit4LiB4LiK4Lix4LiikgEPYnVkZGhpc3RfdGVtcGxl
-
มาดูโฟกัสที่เศียร น่าจะจริงทำขึ้นใหม่ บริเวณก็มีแค่ตรงนี้ล่ะครับ รอบๆ ก็เป็นตึก
-
จัดประเด็นอะไรได้ไหม "ทำไมมีหลวงพ่อขาว หลวงพ่อแดง" ผมว่าต้องมีสีอื่นอีกแน่ๆ และแล้วก็อ่านมาเจอ "หลวงพ่อดำ" ประดิษฐานอยู่ที่วัดสิงห์ (วัดอยู่ตรงข้ามกับวิหารหลวงพ่อขาว ปัจจุบันปิดทองไปแล้วก็เลยไม่เป็นสีดำ) สรุป สามองค์นี้เชื่อว่าเป็นพี่น้องกันจ้า โดยดูจากศิลปะเหมือนกัน ยุคเดียวกัน มีพระพักต์เหลี่ยมแบบพระพุทธรูปสมัยสมัยอยุธยาราวพุทธศตวรรษที่ 20-21
ที่มา : วัดร้างในบางกอก, ประภัสสร์ ชูวิเชียร
ตำแหน่ง https://www.google.co.th/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C/@13.6821925,100.4424604,17z/data=!4m8!1m2!2m1!1z4Lin4Li04Lir4Liy4Lij4Lir4Lil4Lin4LiH4Lie4LmI4Lit4LiC4Liy4LinIOC5gOC4reC4geC4iuC4seC4og!3m4!1s0x0:0x6b19d6766290bb27!8m2!3d13.682357!4d100.4479692
-
4.วัดสุวรรณคีรี ไม่ใช่ วัดสุวรรณคีรี(ขี้เหล็ก) นะครับ คนละวัดกัน
วัดสุวรรณคีรี เป็นวัดร้างอยู่ในโรงเรียนสุธรรมศึกษา ต้องเดินเข้าด้านในโรงเรียนถึงจะเจอนะครับ ชุมชุนจะเรียกว่า "วัดกุฏ" โรงเรียนดูแลรักษาอย่างดีสะอาดมาก สวยงาม จะเห็นว่าวัดผสมอักษรจีน คาดว่าผู้บูรณะมีเชื้อสายจีน ศิลปะช่วงอยุธยามาตั้งแต่ราวรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 23 เป็นต้นมา
ที่มา : วัดร้างในบางกอก, ประภัสสร์ ชูวิเชียร
ตำแหน่ง : https://www.google.co.th/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B5+%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D/@13.7314352,100.4621054,20.17z/data=!4m12!1m6!3m5!1s0x30e29835f7be6b53:0x3f33e5621bea00dc!2z4LmC4Lij4LiH4LmA4Lij4Li14Lii4LiZ4Liq4Li44LiY4Lij4Lij4Lih4Lio4Li24LiB4Lip4Liy!8m2!3d13.7314939!4d100.4621524!3m4!1s0x30e2997115cb8177:0xabe0fd081c0d9e38!8m2!3d13.7314986!4d100.4616667?fbclid=IwAR1MPRm7NqEBUdPq98IKp-LBn9yEGrYJzoeCejD6VirIvobjKK7siSln11Y
-
สะอาดมาก มีลักษณะผสมกับศิลปจีน
-
พระพุทธรูปปางสมาธิ มีเค้าสมัยอยุธยา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 ลงมา
-
เจดีย์ขนาดเล็ก มีจารึกอักษรจีน เขาบอกว่าน่าจะเป็นที่บรรจุอัฐิของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถานที่แห่งนี้
-
5.วัดใหม่วิเชียร อยู่ในชุมชนวัดใหม่วิเชียร ถนนอิสรภาพ
วัดใหม่วิเชียร เขาบอกว่าสร้างสมัยรัชกาลที่ 2 โดยมี "พระยาวิเชียร" เป็นผู้สร้างไว้ เป็นโบสถ์หลังเล็กๆ กว้างประมาณ 2.5 ม.ได้ มีพระพุทธไสยาสน์ อยู่ด้านใน ศิลปะรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ 2-3 ที่เรียกกันว่าแบบ "หน้าหุ่น"และยังมีความเชื่อว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน เคยทรงมาประทับหลบภัยสมัยอยุธยาด้วย
ทางเข้าแคบมอไซด์ไปได้ รถยนต์ไม่ได้ จะเข้าต้องไปขอกุญแจที่ร้านค้า ตรงทางเข้าวัด
ที่มา : วัดร้างในบางกอก, ประภัสสร์ ชูวิเชียร
ตำแหน่ง https://www.google.co.th/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3/@13.7365529,100.4798839,19.17z/data=!4m13!1m7!3m6!1s0x30e299ab48d3534f:0xb6eac81cb43fa0ef!2z4LiK4Li44Lih4LiK4LiZ4Lin4Lix4LiU4LmD4Lir4Lih4LmI4Lin4Li04LmA4LiK4Li14Lii4LijIOC5geC4guC4p-C4hyDguKfguLHguJTguJfguYjguLLguJ7guKPguLAg4LmA4LiC4LiV4Lia4Liy4LiH4LiB4Lit4LiB4LmD4Lir4LiN4LmIIOC4geC4o-C4uOC4h-C5gOC4l-C4nuC4oeC4q-C4suC4meC4hOC4oyAxMDYwMA!3b1!8m2!3d13.7377582!4d100.4801718!3m4!1s0x30e299ab32d1b77b:0xc06fd5fea83dc7f6!8m2!3d13.7368093!4d100.4809968?fbclid=IwAR3iO3D1TFP7cR_kvVw38h7A1NayeKLM9DfQF-da2Wd30geA7J9bKnwu97Y
-
เป็นอาคารเล็กๆ พื้นที่ถ่ายรูปน้อยมาก
-
จากการสอบถามจะมีจัดพิธีสำคัญทางศาสนาอยู่ครับ
-
ลองถ่ายพาโนรามา
-
ภาพอาคารด้านนอก
-
6.วัดสักน้อย นนทบุรี
วัดสักน้อยในปัจจุบันเป็นวัดร้าง อยู่ในอาณาเขตบ้านพักอาศัยของชาวบ้านที่เช่าที่ดินจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมานานหลายสิบปี (กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ) บ้านเลขที่ 20 ม.9 บ้านสักน้อย ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี พื้นที่โดยรอบโบราณสถานเป็นสวนและบ้านเรือนของเจ้าของสวน ตั้งอยู่ริมคลองวัดสักน้อย ที่เป็นสาขาของคลองอ้อมนนท์ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม
ที่มา และต้องการอ่านประวัติละเอียด https://www.sac.or.th/databases/archaeology/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2-%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5
ตำแหน่ง https://www.google.com/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/@13.8116199,100.4683338,17z/data=!3m1!4b1!4m5!3m4!1s0x30e29a442ab1dc2d:0x27f7c4a6a74a2efd!8m2!3d13.8116215!4d100.4705232
-
ตอนไปถึง คิดว่าเป็นพื้นที่ของชาวบ้าน แต่พอไปอ่านประวัติพบว่าเป็นพื้นที่ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แต่ก็ยังคงมีการกราบไหว้อยู่
-
ด้านในก็มีสภาพเก่ามาก พระประธานทำไหมหน้าคล้ายๆ หลวงพ่อขาว ศิลปคล้ายๆ กัน
-
ภาพรวมด้านในครับ
-
7.วัดเพลง นนทบุรี ไม่ใช่วัดเพลงโบสถ์สีชมพูนะครับ
วัดเพลงร้างนั้นเดิมมีชื่อว่า วัดทองเพลงหรือวัดเพรง สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2200 ถึงปี 2233 ประมาณสมัยสมเด็จพระณารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ด้านในมีหลวงพ่อโต ตอนไปเห็นมีพระด้วย 2 องค์ ตกลงวัดร้างหรือเปล่าหว่า ประวัติหาอ่านไม่ค่อยเจอ แนะนำมอไซด์ไปสะดวกสุด ทางเป็นแบบสะพานคนกรีตเล็กๆ
ที่มา และประวัติ https://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=53&t=700280
ประวัติอีกเว็บ https://www.sac.or.th/databases/archaeology/archaeology/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87-%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87
ตำแหน่ง https://www.google.com/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87+(%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87)/@13.8120262,100.4673574,17z/data=!4m12!1m6!3m5!1s0x30e29a442ab1dc2d:0x27f7c4a6a74a2efd!2z4Lin4Lix4LiU4Liq4Lix4LiB4LiZ4LmJ4Lit4Lii!8m2!3d13.8116215!4d100.4705232!3m4!1s0x0:0x1c4f411ea4eecf29!8m2!3d13.8145931!4d100.4672656
-
ด้านนอกดูเก่าโทรมมาก แต่พื้นที่สะอาดนะ
-
ประตูทางด้านหลัง
-
มาซูมดูใกล้ๆ ครับ
-
8.วัดภุมรินทร์ราชปักษี
วัดภุมรินราชปักษี อยู่ตรงข้ามกับวัดดุสิดาราม(วัดหลวง) สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาร่วมสมัยกันกับวัดดุสิดาราม และวัดน้อยทองอยู่ที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน เมื่อครั้งสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสสมเด็จพระสังฆราชในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาตรวจพระอารามวัดดุสิดารามทรงรับสั่งให้รวมวัดภุมรินราชปักษี และวัดน้อยทองอยู่เข้ากับวัดดุสิดาราม
พิกัด : 13.76344, 100.48776
ผมไปมาช่วงสงกรานต์คาดว่าจะเปิดให้เข้าชมทุกปีนะครับ ปัจจุบันกรมศิลปากร ได้เข้ามาดูแลบูรณะ วัดเริ่มมีการปรับปรุงดูดีขึ้นเยอะเลย ภาพด้านล่างคือผนังอุโบสถ
-
ตามหนังสือบอกว่า วิหารคืออาคารด้านซ้ายมือ อุโบสถคือขวามือ (หันหน้าเข้า) เรามาดูภายในอุโบสถก่อน คิดว่าน่าจะนำพระพุทธรูปมาประดิษฐานใหม่
-
ภาพนี้เป็นพระประธานในวิหาร สลักจากหินทรายขนาดใหญ่(ปางมารวิชัย)ลงรักปิดทองอาจมีอายุเก่าถึงสมัยอยุธยาตอนต้น(วัดร้างในบางกอก ของ ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร และ สุจิตต์ วงษ์เทศ)
-
ด้านนอกจะมี "หลวงพ่อดำ" พระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ประดิษฐานที่ผนังด้านหลังของวิหาร ยังมีร่องรอยของภาพเขียนสีรูปซุ้มเรือนแก้วประกอบเหลืออยู่บางส่วน
-
ภายในพระวิหารจะมีภาพเขียนสมัยอยุธยา
-
ภาพยังชัดอยู่เลย
-
ภายในศาลาขนาดเล็ก ประดิษฐาน "หลวงพ่อเขา"
-
หอไตร(จำลอง) ขนาดเล็กของวัด ซึ่งหอไตรเดิมได้ถูกเคลื่อนย้ายไปยังวัดดุสิดารามแล้ว ด้านล่างมีเต่า
-
หน้าบันอุโบสถปูนปั้นประดับกระจก เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ใต้ลงมาคือรูปนกยูงรำแพนหาง
-
9. วัดป่าเชิงเลน
ไปมาแล้วรอบนึงตอน พ.ค. 2564 แต่ยังไม่ให้เข้าเพราะมีโควิดระบาด ผ่านมาอีก 3 ปี ก็ลองไปอีกรอบ เปลี่ยนไปเยอะเลยสภาพแวดล้อม ทางเข้าจะเป็นทางเล็กๆ เป็นสะพานปูนทอดยาวไปหาวัด อีกทางมีทางเข้าเป็นสะพานไม้ แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้ว ดูเหมือนที่ดินรอบๆ ได้ถูกถม จากเดิมเป็นที่ลุ่ม
ตำแหน่ง https://www.google.com/maps/place/Wat+Pa+Choeng+Len+Entrance/@13.7678988,100.4519482,17.27z/data=!4m6!3m5!1s0x30e299e95e10c4d5:0xb0f4211bf551d497!8m2!3d13.767963!4d100.4540354!16s%2Fg%2F1tq8f_k4?entry=ttu
-
ทางเข้าปี 2567
-
ระหว่างทางไปวัด ปี 2564
-
ปัจจุบันปี 2567 ได้เปลี่ยนไปแล้ว
-
เดินไปเรื่อยๆ จะเจอวัด แต่มีป้ายว่า วัดรังษีรัตนวารี ไหนว่าเป็นวัดป่าเชิงเลนไง
-
แต่ถ้ามาดูอีกด้านจะเห็นทั้งสองชื่อเลย
-
เดิมเป็นที่ลุ่ม จึงมีทางเดินแบบสะพานไม้ ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี 2564
-
ปัจจุบัน (ถ่ายตอน 2567)ที่ดินถูกทมหมดแล้ว สะพานก็ไม่จำเป็น คงไม่ใช่ทางสาธารณะจึงถูกปิดไป
-
อ่านในหนังสือเห็นว่าคาดว่าสร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ก็ถูกทิ้งร้าง สร้างใหม่ สลับกันไป ปัจจุบัน "วัดใหม่เชิงเลน" ถูกเปลียนชื่อให้เรียกเป็น "วัดป่าเชิงเลน" (ค้นในกูเกิ้ล จะต้องค้นคำว่า วัดรังษีรัตนวารี(วัดป่าเชิงเลน)) ของสำนักสายวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยพื้นที่ที่ร่มรื่น เงียบ ห่างไกลความเจริญตั้งอยู่ในพื้นที่เกือบกลางชุมชนเมือง "บางกอก" ของกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี
ส่วนตัวคิดว่า เปลี่ยนไปเยอะเหมือนกันนะ
-
ศาลานี้คาดว่าน่าจะให้สำหรับปฏิบัติธรรม
-
ถวายอาหารเช้า เวลาประมาณ 08.30 น. ห้ามถ่ายภาพ ที่ติดพระสงฆ์
-
หลักฐาน คือ โบสถ์มีใบเสมาเก่าอยู่
-
มีพระประธานองค์ใหญ่
-
แต่เข้ามาในวัดก็ร่มรื่นเย็นดีจริงๆ เหมาะที่จะมาทำบุญครับ
-
10 วัดพิกุลใน
วัดพิกุลใน ปัจจุบันไม่มีปรากฏในทำเนียบวัดใดๆ แล้ว หลักฐานสำคัญ คือ หลวงพ่อใหญ่ แทรกตัวผสมกับบ้านเรือนทั่วไป สังเกตุยากหน่อย
ตำแหน่ง https://www.google.com/maps/place/Luang+Por+to+Shrine/@13.7906484,100.4720313,17z/data=!3m1!4b1!4m6!3m5!1s0x30e29a2f702ddfad:0xa7eb2a796910c7!8m2!3d13.7906484!4d100.4746116!16s%2Fg%2F1hdzp3xpc?entry=ttu
-
ในหนังสือสภาพแวดล้อมยังบ้านๆ อยู่ แต่ปัจจบันมีถนน มีทางด่วน ทางรถไฟ
-
จะมีพระพุทธรูปอัดแน่นในห้อง ป้ายเป็นหลักฐานชัดเจนว่าเดิมเป็นวัดพิกุลใน
-
สภาพภายใน พระพุทธรูปส่วนใหญ่ถูกลงรักปิดทองแต่ยังเหลือเค้าว่าเป็นพระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ 20-21
-
11 วัดรังษีสุทธาวาส
วัดรังษีสุทธาวาส (ฝากไว้กับวัดบวรนิเวศฯ)
ตามข้อมูลจากการค้นคว้าของทางวัดบวรนิเวศฯ ในปัจจุบัน ได้ให้ประวัติของวัดรังษีสุทธาวาสไว้ โดยเอกสารชั้นต้นที่ใกล้ชิดกับ ตัววัดมากที่สุดคือศิลาจารึกที่ติดกับผนังอุโบสถ ระบุข้อ ความว่า
"พระพุทธศักราชล่วง ๒๓๖๖ พระวษาปีมะแมนักสัตว เบญศก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ จ้าวฟ้ากรมขุนอิศราณุรักษ์ทรงพระราช ศรัทธา ถาปะนาจับล้างพระอารามนี้ ทรงพระอุสาหะกระทำพระองค์ เป็นนายช่าง บอกการงานให้แบบหย่าง ตรวจตราติเตียนด้วยพระองค์ เอง 5 ปีจนแล้วสำเรธิ์บริบูรณ์ จึงให้นามวัดวังศรีสุทธาวาษ..."
เจ้านายผู้สร้างวัดแห่งนี้ตามจารึกคือ สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (เกศ) (พ.ศ. ๒๓๑๖-๒๓๗๓) ทรงเป็น โอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ หรือทรงเป็นพระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ นั่นเอง สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล อิศรางกูร ณ อยุธยา"
นอกจากนี้ยังสามารถระบุได้ว่ามีพระเถระมาครองวัดนี้ตั้งแต่ แรกสร้าง คือ พระมหาอยู่ เป็นฝ่ายคันถธุระ และพระมหานาคเป็น ฝ่ายวิปัสสนาธุระ แล้วถวายคนเป็นข้าวัดจำนวน ๔ ครัวเรือนตาม ธรรมเนียมการกัลปนาวัดในสมัยโบราณ
ชื่อของเจ้าอาวาสจากการรวบรวมเอกสารต่างๆ ได้คร่าวๆ ดังนี้ คือ
๑. พระมหาอยู่ ครองวัด พ.ศ. ๒๓๖๖
๒. พระปัญญาวิษาเถร พ.ศ. ๒๓๘๖
๓. พระครูไพศาลศีลวัตร เลื่อน เป็นพระปัญญาพิศาลเถระ
พ.ศ. ๒๓๙๔
๔. พระธรรมกิติ พ.ศ. ๒๔๓๙
๕. พระปลัดจร พ.ศ. ๒๔๔๔
5. พระครูธีรานันทมุนี พ.ศ. ๒๔๔๙
๗. พระมหาฉ่า พ.ศ. ๒๔๕๘
ที่มา : วัดร้างในบางกอก ผศ.ดร.ประภัทสร์ ชูวิเชียร, สุจิตต์ วงษ์เทศ คำนำเสนอ
-
อุโบสถ เป็นแบบพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีลักษณะศิลปะจีนผสมอยุ่
-
วิหาร เป็นแบบประเพณี มีมุขโถงต่อออกมาด้านหน้าคล้ายอาคารโบสถ์-วิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 4
-
ลายสลักไม้บนบานหน้าต่างโบสถ แต่ละบานรูปไม่เหมือนกัน
-
พระพุทธรูปประธานภายในอุโบสถ พุทธศิลป์แบบรัตนโกสินทร์
-
พระประธานในวิหาร
-
เจดีย์ทรงเครื่องย่อมุมไม้สิบสองด้านหลังวิหาร รูปแบบสมัยรัตนโกสินทร์
-
12 วัดวงศมูลวิหาร
วัดวงศมูลวิหาร (อยู่ในกรมอู่ทหารเรือ กทม)
ความเป็นมาของวัด ว่าการก่อสร้างน่าจะเริ่มขึ้นระหว่างช่วงปลายรัชกาล ที่ 3 จนถึง พ.ศ.2400 สังเกตได้จากรูปแบบของอุโบสถแบบผสม ผสานในสมัยรัชกาลนั้น และหลังจากนั้นคงมาเสร็จสมบูรณ์ในช่วงต้น รัชกาลที่ 5 จนได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใน พ.ศ. 2418
วัดวงศมูลวิหารจึงเป็นวัดร้างเพียงไม่กี่แห่งที่พบประวัติการ ก่อสร้าง การปฏิสังขรณ์ การพระราชทานวิสุงคามสีมา สมณศักดิ์ ผู้ครองวัด การเปลี่ยนแปลงพื้นที่โดยรอบไปจนถึงประกาศยุบวัด ซึ่ง กระบวนการทั้งหมดกินเวลาตั้งแต่ช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367-2394) จนถึงรัชกาลที่ 6 (ยุบวัด พ.ศ. 2459) เป็นระยะราว 80 ปี ทั้งหมดนี้คงเพราะเป็นวัดที่สร้างขึ้นใจกลางชุมชนกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งแม้จะเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญ แต่สุดท้ายก็กลายสภาพเป็นวัดร้าง ด้วยการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้งาน
อย่างไรก็ดี วัดวงศมูลวิหารอาจถือเป็นวัดร้างที่มีความ เป็นมา และยังคงสภาพสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งในเขตกรุง เทพฯ ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักสำหรับข้อมูล ของวัดร้างทั่วไป
ที่มา : วัดร้างในบางกอก ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร สุติตต์ วงษ์เทศ คำนำเสนอ
-
ซุ้มพระทรงฝรั่งยอดแหลมคล้ายศิลปะแบบโกธิค น่าจะสร้างขึ้นเมื่อคราวปฏิสังขรณ์วัดวงศมูลวิหารจนแล้วเสร็จในสมัยรัชการที่ 5
-
พระประธาน ในอุโบสถวัดวงศมูลวิหาร พุทธลักษณะแบบศิลปะรัตนโกสินทร์