การเผยแผ่พุทธศาสนา( คัดลอกมากจาก National Geographic ฉบับ สิงหาคม 2557)
พุทธศาสนาถือกำเนิดขึ้นเมื่อกว่า 2,600 ปีก่อน ณ ชมพูทวีป ดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมประเทศอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถาน และเนปาล ด้วยหลักคิดและวิถีปฏิบัติที่แตกต่างจากความเชื่อดั้งเดิมอย่างสิ้นเชิง พุทธศาสนาจึงแพร่หลายในหมู่ชนทุกชั้นวรรณะอย่างรวดเร็ว กระทั่งราวพุทธศตวรรษที่ 3 ตรงกับสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ถือเป็นช่วงที่พุทธศาสนาเจริงรุ่งเรืองถึงขีดสุด ไม่เพียงมีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สามเท่านั้น แต่ยังมีการส่งสมณฑูตไปเผยแผ่พุทธศาสนาพร้อมกันถึง 9 สายครอบคลุมทั้งดินแดนทางบก และทางทะเล ทางเหนือได้แก่ แคว้นแคชเมียร์ คันธาระ และเนปาล ทางตะวันออก ได้แก่ ดินแดนสุวรรณภูมิ(ประกอบด้วย ไทย พม่า และกัมพูชาในปัจจุบัน) ทางใต้ได้แก่ ศรีลังกา และดินแดนแถบลุ่มน้ำโคธาวารี ทางตะวันตกได้แก่ รัฐมหาราษฏระและเมืองใหญ่น้อยแถบทะเลอาหรับ ปิดท้ายด้วยดินแดนแถบเอชียกลาง ได้แก่ อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อิหร่าน และเตอร์กิสถาน ในระยะหลัง พุทธศาสนายังแผ่ไปสู่ดินแดนโลกใหม่และตะวันตก ปัจจุบัน พุทธศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับ5 ของโลกด้วยจำนวนศาสนิกชนไม่ต่ำกว่า 600 ล้านคน
ธรรมจักรเคลื่อนโลก
80 ปีก่อนพุทธศักราช เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ ณ ลุมพินีวันระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ
51 ปีก่อนพุทธศักราช เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช(มหาภิเนษกรมณ์) ขณะมีชนมายุ 29 พรรษา
40 ปีก่อนพุทธศักราช เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้อนุตตรสมัมมามัมโพธิญาณ
หลังตรัสรู้ได้ 9 เดือน พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 โกณฑัญญะทูลขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรก ทำให้วันนั้นมี "พระรัตนตรัย" ครบสามองค์
พรรษาแรกหลังตรัสรู้ พระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธถวายสวนเวฬุวันนอกกรุงราชคฤห์ให้เป็นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา
1 ปีก่อนพุทธศักราช หลังปฏิบัติพุทธกิจเป็นเวลา 45 พรรษา พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานที่สาลโวทยาน กรุงกุสินาราในคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
พ.ศ. 1 สังคายนาครั้งที่ 1 ณ กรุงราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์
พ.ศ. 100 สังคายานาครั้งที่ 2 ณ กรุงเวลาลี พระเจ้ากาลาโศกราชเป็นองค์อุปถัมภ์พุทธศาสนาแบ่งออกเป็นเถรวาทและอาจาริยวาทซึ่งต่อมาเรียกว่า "มหายาน"
พ.ศ. 218 เข้าสู่ยุคทองของพุทธศาสนาในชมพูทวิป พระเจ้าอโศกมหาราชทรงให้การอุปถัมภ์
พ.ศ. 234 สังคายนาครั้งที่ 3 ณ เมืองบาฎลีบุตร พระเจ้าอโศกมหาราชทรางเป็นองค์อุปถัมภ์จากนั้นมีการส่งสมณฑูตไปเผยแผ่พุทธศาสนายังดินแดนต่างๆ รวม 9 สาย
พ.ศ. 236 พุทธศาสนาตั้งมั่นในลังกามีการทำสังคายนาครั้งที่ 4 ณ เมืองอนุราธปุระ
พ.ศ. 383 พญามิลินทร์หรือมีนานเดอร์กษัตริย์กรีกทรงเป็นพุทธมามกะ พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในแถบโยนกและคันธาระ เกิดการสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 608 ศาสนาพุทธแผ่เข้าสู่จีนพระเจ้าหมิงตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นทรงส่งคณะฑูตไปสืบพระศาสนาที่อินเดีย และโปรดให้สร้างวัดหม่าซื่อ หรือ "วัดม้าขาว" ขึ้นเป็นวัดแห่งแรก
พ.ศ. 750 พุทธศาสนาในหุบเขาบามีอานรุ่งเรือง มีการสร้างพุทธสถานและพระพุทธรูปขนาดใหญ่
พ.ศ. 945 หลวงจีนฟาเหียนเดินทางมาศึกษาธรรมะที่ชมพูทวิปพร้อมอัญเชิญพระไตรปิฎกกลับสู่ประเทศจีน
พ.ศ. 965 ศาสนาพุทธในชมพูทวีปเริ่มเสื่อมลง
พ.ศ. 1095 ศาสนาพุทธเผยแผ่เข้าสูญี่ปุ่น จักรพรรดิญี่ปุ่นทรงสร้างวัดแห่งแรกเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปและพระคัมภีร์
พ.ศ. 1160 พุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ทิเบตจากจีน และเนปาล และพัฒนาต่อมาจนกลายเป็นพุทธศาสนาวัชรยาน
พ.ศ. 1162 พุทธศาสนาในอินเดียกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง มหาวิทยาลัยนาลันทาเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาในชมพูทวีป
พ.ศ. 1172 พระถังซัมจั๋ง ภิกษุจีนเดินทางไปศึกษาธรรมะที่มหาวิทยาลัยนาลันทาเป็นเวลากว่า 16 ปี และอัญเชิญพระไตรปิฎกกลับสู่จีน
พ.ศ. 1300 พุทธศาสนานิกายมหายานเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักรศรีวิชัย และเผยแผ่มายังภาคใต้ของไทย
พ.ศ. 1321 กษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งอาณาจักรศรีวิชัยสร้าง "บุโรพุทโธ" ขึ้นที่เกาะชวา
พ.ศ. 1535 อาณาจักรมุสลิม 3 เชื้อสายได้แก่ อิหร่าน เติร์ก และมองโกล แย่งชิงอำนาจและแผ่อิทธิพลครองงำชมพูทวีป
พ.ศ. 1587 พระเจ้าอนิรุทธแห่งเมืองพุกามทรงรวบรวมอาณาจักรพม่าให้เป็นปึกแผ่น พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด
พ.ศ. 1749 พุทธศาสนาแทบสูญสิ้นไปจากชมพูทวีบหลังกองทัพมุสลิมเติร์กเข้ายึดครองอินเดีย
พ.ศ. 1800 พุทธศาสนาเถรวาทเจริญรุ่งเรืองขึ้นในอาณาจักรสุโขทัย
พ.ศ. 2293 กษัตริย์ลังกาส่งคณะฑูตมายังกรุงศรีอยุธยา เพื่อทูลขอพระสงฆ์ไทยไปอุปสมบทให้กุลบุตรชาวลังกา เกิดเป็นคณะสงฆ์ "นิกายอุบาลีวงศ์" หรือ "สยามวงศ์"
พ.ศ. 2406 อังกฤษเริ่มสำรวจทางโบราณคดีและฟื้นฟูการศึกษาพุทธศาสนาในอินเดีย
พ.ศ. 2431 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระไตรปิฏกบาลีด้วยอักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2499 ดร.อัมเพทการ์ นำชนชั้นจัณฑาล เลิกนับถือศาสนาฮินดู และปฏิฐาณตนเป็นพุทธามามกะ ในปีเดียวกันนี้อินเดียจัด "พุทธชยันตี" เพื่อฉลองพุทธศาสนาครบ 2,500 ปี
พ.ศ. 2500 ไทยฉลองพุทธชยันตีด้วยการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยครบชุดแรก
พ.ศ. 2502 องค์ทะไลลามะเสด็จลี้ภัยไปยังประเทศอินเดียหลังจีนบุกยึดครองทิเบตพุทธศาสนาวัชยานเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในโลกตะวันตก
พ.ศ. 2531 ไทยจัดทำพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ฉบับแรกของโลก
พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก
พ.ศ. 2553 อินเดีย ศรีลังกา และพม่าจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้
พ.ศ. 2555 ไทยจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้