แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - designbydx

Pages: [1] 2 3 ... 400
1
สภาพภายใน พระพุทธรูปส่วนใหญ่ถูกลงรักปิดทองแต่ยังเหลือเค้าว่าเป็นพระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ 20-21

2
จะมีพระพุทธรูปอัดแน่นในห้อง ป้ายเป็นหลักฐานชัดเจนว่าเดิมเป็นวัดพิกุลใน

3
ในหนังสือสภาพแวดล้อมยังบ้านๆ อยู่ แต่ปัจจบันมีถนน มีทางด่วน ทางรถไฟ

4
10 วัดพิกุลใน

วัดพิกุลใน ปัจจุบันไม่มีปรากฏในทำเนียบวัดใดๆ แล้ว หลักฐานสำคัญ คือ หลวงพ่อใหญ่ แทรกตัวผสมกับบ้านเรือนทั่วไป สังเกตุยากหน่อย


ตำแหน่ง https://www.google.com/maps/place/Luang+Por+to+Shrine/@13.7906484,100.4720313,17z/data=!3m1!4b1!4m6!3m5!1s0x30e29a2f702ddfad:0xa7eb2a796910c7!8m2!3d13.7906484!4d100.4746116!16s%2Fg%2F1hdzp3xpc?entry=ttu

5
แต่เข้ามาในวัดก็ร่มรื่นเย็นดีจริงๆ เหมาะที่จะมาทำบุญครับ

6
มีพระประธานองค์ใหญ่

7
หลักฐาน คือ โบสถ์มีใบเสมาเก่าอยู่

8
ถวายอาหารเช้า เวลาประมาณ 08.30 น. ห้ามถ่ายภาพ ที่ติดพระสงฆ์

9
ศาลานี้คาดว่าน่าจะให้สำหรับปฏิบัติธรรม

10
อ่านในหนังสือเห็นว่าคาดว่าสร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ก็ถูกทิ้งร้าง สร้างใหม่ สลับกันไป ปัจจุบัน "วัดใหม่เชิงเลน" ถูกเปลียนชื่อให้เรียกเป็น "วัดป่าเชิงเลน" (ค้นในกูเกิ้ล จะต้องค้นคำว่า วัดรังษีรัตนวารี(วัดป่าเชิงเลน)) ของสำนักสายวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยพื้นที่ที่ร่มรื่น เงียบ ห่างไกลความเจริญตั้งอยู่ในพื้นที่เกือบกลางชุมชนเมือง "บางกอก" ของกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี

ส่วนตัวคิดว่า เปลี่ยนไปเยอะเหมือนกันนะ

11
ปัจจุบัน (ถ่ายตอน 2567)ที่ดินถูกทมหมดแล้ว สะพานก็ไม่จำเป็น คงไม่ใช่ทางสาธารณะจึงถูกปิดไป

12
เดิมเป็นที่ลุ่ม จึงมีทางเดินแบบสะพานไม้ ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี 2564

13
แต่ถ้ามาดูอีกด้านจะเห็นทั้งสองชื่อเลย

14
เดินไปเรื่อยๆ จะเจอวัด แต่มีป้ายว่า วัดรังษีรัตนวารี ไหนว่าเป็นวัดป่าเชิงเลนไง

15
ปัจจุบันปี 2567 ได้เปลี่ยนไปแล้ว

16
ระหว่างทางไปวัด ปี 2564

17
ทางเข้าปี 2567

18
9. วัดป่าเชิงเลน

ไปมาแล้วรอบนึงตอน พ.ค. 2564 แต่ยังไม่ให้เข้าเพราะมีโควิดระบาด ผ่านมาอีก 3 ปี ก็ลองไปอีกรอบ เปลี่ยนไปเยอะเลยสภาพแวดล้อม ทางเข้าจะเป็นทางเล็กๆ เป็นสะพานปูนทอดยาวไปหาวัด อีกทางมีทางเข้าเป็นสะพานไม้ แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้ว ดูเหมือนที่ดินรอบๆ ได้ถูกถม จากเดิมเป็นที่ลุ่ม

ตำแหน่ง https://www.google.com/maps/place/Wat+Pa+Choeng+Len+Entrance/@13.7678988,100.4519482,17.27z/data=!4m6!3m5!1s0x30e299e95e10c4d5:0xb0f4211bf551d497!8m2!3d13.767963!4d100.4540354!16s%2Fg%2F1tq8f_k4?entry=ttu


19
282.วัดแจ้ง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : เมืองนครศรีธรรมราช
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : นครศรีธรรมราช
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ. 1823
พิกัด  : 8.45136, 99.96123

วัดแจ้งเป็นวัดโบราณสร้างมานานตามประวัติว่าสร้างในสมัยกรุงสุโขทัยราว พ.ศ. 1823 รัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยมีมหาเถระอนุรุทธจากเมืองยศโสทร (ยโสธรในปัจจุบัน) มาดำเนินการก่อสร้าง ทำให้วัดเจริญขึ้นเป็นลำดับ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 1 ราว พ.ศ. 2330 วัดแจ้งได้ทรุดโทรมลงเพราะขาดการบำรุงรักษาเท่าที่ควร ได้มีคุณชีซึ่งเป็น พี่สาวของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์ หรือ พัด) พร้อมกับท่าน ผู้หญิงผู้เป็นมารดาของท่านเจ้าพระยานคร (ศรีธรรมราช) ได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ คุณชีมุ่งทำทางวัดแจ้ง ส่วนท่านผู้หญิงตอนหลังเน้นทำวัดประดู่พัฒนาราม วัดทั้งสองนี้ชาวนครศรีธรรมราชถือเป็นวัดแม่ลูกกัน (แม่สร้าง วัดประดู่ฯ ลูกสร้างวัดแจ้ง) นับเป็นวัดสำหรับเจ้าผู้ครองเมืองนคร ตั้งแต่ บัดนั้นจนมาถึงตระกูล ณ นคร สืบต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้

วัดนี้นอกจากเป็นวัดที่เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ต้นสกุล ณ นคร ได้สร้างและทะนุบำรุงตลอดมาแล้ว เมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชเสด็จมาปราบก๊กเจ้านคร ได้ทรงประกอบพิธีปลุกเสกเพื่อความ ศักดิ์สิทธิ์ที่พระอุโบสถวัดนี้ จึงมีเก๋งเก็บบรมอัฐิพระเจ้าตากสินและอัฐิ ของเจ้านครญาติวงศ์และมิตรสนิทของท่าน นับเป็นวัดประวัติศาสตร์ที่ ได้รับการบูรณะพัฒนาจากสกุล ณ นครและประชาชนอย่างดีตลอดมา วัดแจ้งได้รับยกฐานะสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ใน พ.ศ.2529

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย, สมบัติ จำปาเงิน


20
281.วัดมหาสมณาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด : ราชวรวิหาร
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : คลองกระแซง
เขต/อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เพชรบุรี   
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2386 รัชกาลที่ 3
พิกัด  : 13.10991, 99.93849

***ทำวัตรเช้า 08.00 น.

วัดมหาสมณารามหรือวัดเขา เป็นวัดสร้างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 3 ประมาณ พ.ศ. 2386 ตั้งอยู่บนเขาสมน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างพระนครคีรีขึ้นบนยอดเขาสมน ซึ่งโปรดให้ เปลี่ยนชื่อเป็นเขามหาสวรรค์ พร้อมกับทรงปฏิสังขรณ์วัดเขาเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า "วัดเขาสมณาราม"(เลียนเสียงเดิมคือวัดเขาสมน) โปรดให้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาใน พ.ศ. 2403 ต่อมาโปรดให้เปลี่ยนชื่อ วัดเป็น "วัดมหาสมณาราม"

วัดมหาสมณารามได้เจริญรุ่งเรืองด้วยพระบรมราชูปถัมภ์ ของรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลต่อๆ มา ตลอดจนศรัทธาของ ประชาชนซึ่งมีมาไม่ขาดสาย

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย, สมบัติ จำปาเงิน


Pages: [1] 2 3 ... 400