Author Topic: 10 สถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาในเอเซีย  (Read 11302 times)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
การเผยแผ่พุทธศาสนา( คัดลอกมากจาก National Geographic ฉบับ สิงหาคม 2557)

พุทธศาสนาถือกำเนิดขึ้นเมื่อกว่า 2,600 ปีก่อน ณ ชมพูทวีป ดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมประเทศอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถาน และเนปาล ด้วยหลักคิดและวิถีปฏิบัติที่แตกต่างจากความเชื่อดั้งเดิมอย่างสิ้นเชิง พุทธศาสนาจึงแพร่หลายในหมู่ชนทุกชั้นวรรณะอย่างรวดเร็ว กระทั่งราวพุทธศตวรรษที่ 3 ตรงกับสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ถือเป็นช่วงที่พุทธศาสนาเจริงรุ่งเรืองถึงขีดสุด ไม่เพียงมีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สามเท่านั้น แต่ยังมีการส่งสมณฑูตไปเผยแผ่พุทธศาสนาพร้อมกันถึง 9 สายครอบคลุมทั้งดินแดนทางบก และทางทะเล ทางเหนือได้แก่ แคว้นแคชเมียร์ คันธาระ และเนปาล ทางตะวันออก ได้แก่ ดินแดนสุวรรณภูมิ(ประกอบด้วย ไทย พม่า และกัมพูชาในปัจจุบัน) ทางใต้ได้แก่ ศรีลังกา และดินแดนแถบลุ่มน้ำโคธาวารี ทางตะวันตกได้แก่ รัฐมหาราษฏระและเมืองใหญ่น้อยแถบทะเลอาหรับ ปิดท้ายด้วยดินแดนแถบเอชียกลาง ได้แก่ อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อิหร่าน และเตอร์กิสถาน ในระยะหลัง พุทธศาสนายังแผ่ไปสู่ดินแดนโลกใหม่และตะวันตก ปัจจุบัน พุทธศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับ5 ของโลกด้วยจำนวนศาสนิกชนไม่ต่ำกว่า 600 ล้านคน

ธรรมจักรเคลื่อนโลก

80 ปีก่อนพุทธศักราช เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ ณ ลุมพินีวันระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ
51 ปีก่อนพุทธศักราช เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช(มหาภิเนษกรมณ์) ขณะมีชนมายุ 29 พรรษา
40 ปีก่อนพุทธศักราช เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้อนุตตรสมัมมามัมโพธิญาณ
หลังตรัสรู้ได้ 9 เดือน พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 โกณฑัญญะทูลขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรก ทำให้วันนั้นมี "พระรัตนตรัย" ครบสามองค์
พรรษาแรกหลังตรัสรู้ พระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธถวายสวนเวฬุวันนอกกรุงราชคฤห์ให้เป็นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา
1 ปีก่อนพุทธศักราช หลังปฏิบัติพุทธกิจเป็นเวลา 45 พรรษา พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานที่สาลโวทยาน กรุงกุสินาราในคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
พ.ศ. 1 สังคายนาครั้งที่ 1 ณ กรุงราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์
พ.ศ. 100 สังคายานาครั้งที่ 2 ณ กรุงเวลาลี พระเจ้ากาลาโศกราชเป็นองค์อุปถัมภ์พุทธศาสนาแบ่งออกเป็นเถรวาทและอาจาริยวาทซึ่งต่อมาเรียกว่า "มหายาน"
พ.ศ. 218 เข้าสู่ยุคทองของพุทธศาสนาในชมพูทวิป พระเจ้าอโศกมหาราชทรงให้การอุปถัมภ์
พ.ศ. 234 สังคายนาครั้งที่ 3 ณ เมืองบาฎลีบุตร พระเจ้าอโศกมหาราชทรางเป็นองค์อุปถัมภ์จากนั้นมีการส่งสมณฑูตไปเผยแผ่พุทธศาสนายังดินแดนต่างๆ รวม 9 สาย
พ.ศ. 236 พุทธศาสนาตั้งมั่นในลังกามีการทำสังคายนาครั้งที่ 4 ณ เมืองอนุราธปุระ
พ.ศ. 383 พญามิลินทร์หรือมีนานเดอร์กษัตริย์กรีกทรงเป็นพุทธมามกะ พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในแถบโยนกและคันธาระ เกิดการสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 608 ศาสนาพุทธแผ่เข้าสู่จีนพระเจ้าหมิงตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นทรงส่งคณะฑูตไปสืบพระศาสนาที่อินเดีย และโปรดให้สร้างวัดหม่าซื่อ หรือ "วัดม้าขาว" ขึ้นเป็นวัดแห่งแรก
พ.ศ. 750 พุทธศาสนาในหุบเขาบามีอานรุ่งเรือง มีการสร้างพุทธสถานและพระพุทธรูปขนาดใหญ่
พ.ศ. 945 หลวงจีนฟาเหียนเดินทางมาศึกษาธรรมะที่ชมพูทวิปพร้อมอัญเชิญพระไตรปิฎกกลับสู่ประเทศจีน
พ.ศ. 965 ศาสนาพุทธในชมพูทวีปเริ่มเสื่อมลง
พ.ศ. 1095 ศาสนาพุทธเผยแผ่เข้าสูญี่ปุ่น จักรพรรดิญี่ปุ่นทรงสร้างวัดแห่งแรกเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปและพระคัมภีร์
พ.ศ. 1160 พุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ทิเบตจากจีน และเนปาล และพัฒนาต่อมาจนกลายเป็นพุทธศาสนาวัชรยาน
พ.ศ. 1162 พุทธศาสนาในอินเดียกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง มหาวิทยาลัยนาลันทาเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาในชมพูทวีป
พ.ศ. 1172 พระถังซัมจั๋ง ภิกษุจีนเดินทางไปศึกษาธรรมะที่มหาวิทยาลัยนาลันทาเป็นเวลากว่า 16 ปี และอัญเชิญพระไตรปิฎกกลับสู่จีน
พ.ศ. 1300 พุทธศาสนานิกายมหายานเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักรศรีวิชัย และเผยแผ่มายังภาคใต้ของไทย
พ.ศ. 1321 กษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งอาณาจักรศรีวิชัยสร้าง "บุโรพุทโธ" ขึ้นที่เกาะชวา
พ.ศ. 1535 อาณาจักรมุสลิม 3 เชื้อสายได้แก่ อิหร่าน เติร์ก และมองโกล แย่งชิงอำนาจและแผ่อิทธิพลครองงำชมพูทวีป
พ.ศ. 1587 พระเจ้าอนิรุทธแห่งเมืองพุกามทรงรวบรวมอาณาจักรพม่าให้เป็นปึกแผ่น พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด
พ.ศ. 1749 พุทธศาสนาแทบสูญสิ้นไปจากชมพูทวีบหลังกองทัพมุสลิมเติร์กเข้ายึดครองอินเดีย
พ.ศ. 1800 พุทธศาสนาเถรวาทเจริญรุ่งเรืองขึ้นในอาณาจักรสุโขทัย
พ.ศ. 2293 กษัตริย์ลังกาส่งคณะฑูตมายังกรุงศรีอยุธยา เพื่อทูลขอพระสงฆ์ไทยไปอุปสมบทให้กุลบุตรชาวลังกา เกิดเป็นคณะสงฆ์ "นิกายอุบาลีวงศ์" หรือ "สยามวงศ์"
พ.ศ. 2406 อังกฤษเริ่มสำรวจทางโบราณคดีและฟื้นฟูการศึกษาพุทธศาสนาในอินเดีย
พ.ศ. 2431 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระไตรปิฏกบาลีด้วยอักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2499 ดร.อัมเพทการ์ นำชนชั้นจัณฑาล เลิกนับถือศาสนาฮินดู และปฏิฐาณตนเป็นพุทธามามกะ ในปีเดียวกันนี้อินเดียจัด "พุทธชยันตี" เพื่อฉลองพุทธศาสนาครบ 2,500 ปี
พ.ศ. 2500 ไทยฉลองพุทธชยันตีด้วยการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยครบชุดแรก
พ.ศ. 2502 องค์ทะไลลามะเสด็จลี้ภัยไปยังประเทศอินเดียหลังจีนบุกยึดครองทิเบตพุทธศาสนาวัชยานเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในโลกตะวันตก
พ.ศ. 2531 ไทยจัดทำพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ฉบับแรกของโลก
พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก
พ.ศ. 2553 อินเดีย ศรีลังกา และพม่าจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้
พ.ศ. 2555 ไทยจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้

« Last Edit: สิงหาคม 05, 2019, 02:22:46 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile

จากพุทธคยา ถึงโปตาลา

10 สถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาในเอเซีย คัดลอกมากจาก National Geographic ฉบับ สิงหาคม 2557

วัดวาอาราม พุทธสถาน สถูปเจดีย์ และพระพุทธรูป คือ หลักฐานสำคัญที่บอกเล่าถึงความรุ่งเรือง ของพุทธศาสนาในแต่ละดินแดน นอกจากความเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาในฐานะแหล่งจาริกแสวงบุญแล้ว ยังปฏิเสธไม่ได้ว่าแต่ละแห่งยังมีประวัติความเป็นมา ความสำคัญ และรูปแบบศิลปกรรมที่แตกต่างกันไปอย่างน่าสนใจ

1. โพธินาถ หรือพุทธนาถ
กรุงกาฐมาณฑุ เนปาล

หลักฐานฝ่ายทิเบตกล่าวอ้างว่า ชาวทิเบตน่าจะสร้างพระเจดีย์องค์นี้ขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 8 ตามคติความเชื่อที่ว่า เป็นการจำลองสวรรค์ชั้นอรูปธาตุอันเป็นที่สถิตของ "พระธยานิพุทธ" ทั้งห้า ไม่เพียงเท่านั้นส่วนของบัลลังก์ทั้งสี่ด้านยังมีการวาดภาพ "ดวงตาเห็นธรรมของพระพุทธเจ้า" มองออกไปทั้งสี่ทิศสื่อถึงความหมายในการดำรงชีวิตของมนุษย์ว่าสังคมใดที่ดำรงอยู่ด้วยปัญญา สันติสุขย่อมปรากฎในสังคมนั้น ด้วยความสูงถึง 36 เมตรและมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 32 เมตร จึงทำให้เจดีย์โพธินาถเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศเนปาล
« Last Edit: สิงหาคม 05, 2019, 02:22:59 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
2. มหาสถูปบุโรพุทโธ
เกาะชวา อินโดนีเซีย

แม้ปัจจุบัน อินโดนีเซียจะมีผู้นับถือศาสนาอสลามมากกว่าร้อยละ 97 แต่ในอดีต พุทธศาสนานิกายมหายานเคยรุ่งเรืองในดินแดนแถบนี้มาก่อน เมื่อครั้งเป็นส่วนหนึ่งของอณาจักรศรีวิชัย กษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์โปรดให้สร้าง"บุโรพุทโธ" ขึ้น ณ ที่ราบกลางเกาะชวา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 พุทธสถานขนาดใหญ่แห่งนี้สะท้อนคติความเชื่อทางจักรวาลวิทยาในพุทธศาสนา มหายานและศรัทธาอันยิ่งใหญ่ในพุทธศาสนา
« Last Edit: กรกฎาคม 31, 2019, 03:04:17 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
3. พุทธคยา
รัฐอุตตรประเทศ อินเดีย

หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า "โพธิคยา"(Bodh Gaya) เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมามสัมโพธิญาณ อันเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพุทธประวัติ ส่ิ่งก่อสร้างที่เห็นในปัจจุบันน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นต้นมา ได้แก่ วิหารมหาโพธิ์ อาคารทรงศิขระภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระแท่นวัชรอาสน์ หรือบัลลังก์ที่พระพุทธองค์ทรงประทับ และตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยาเป็นหนึ่งในสี่สังเวชนียสถานสำคัญในพุทธศาสนา นอกเหนือจากลุมพินี(ประสูติ) สารนถา(ปฐมเทศนา) และกุสินรา(ปรินิพพาน)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
4. พระพุทธรูปแห่งบามีอาน
อัฟกานิสถาน

พุทธศาสนาน่าจะเผยแผ่มายังดินแดนที่ได้ชื่อว่า "จุดนัดพบระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตก" ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ก่อนจะรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยพระเจ้ามิลินท์ และสืบต่อมาในสมัยพระเจ้ากนิษกมหาราช ทว่าพอถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 13 พุทธศาสนาก็แทบปลาสนาการหลังกองทัพอาหรับบุกเข้ายึดครอง พระพุทธรูปแห่งบามีอานมีทั้งหมด 3 องค์ สององค์แรงสูง 37 เมตร ส่วนองค์ที่สามสูง 55 เมตร ทั้งหมดมีความงามตามศิลปะคันธาระ และแม้จะได้ชื่อว่าเป็น "พระพุทธรูปยืนแกะสลักสูงใหญ่ที่สุดในโลก" แต่เมื่อกลุ่มตอลิบานอ้างว่า "รูปเคารพนี้ขัดต่อหลักศาสนา" จึงสั่งให้ระเบิดทำลายทิ้งทั้งหมดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 ปัจจุบันเหลือเพียงซุ้มจระนำว่างเปล่า
« Last Edit: สิงหาคม 01, 2019, 09:53:49 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
5. พระราชวังโปตาลา
นครลาซา ทิเบต

ชาวทิเบตเชื่อว่า องค์ทะไลลามะ คืออวตารบนโลกมนุษย์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผู้ประทับ ณ พระราชวังโปตาลาในแดนสุขาวดี จึงเป็นที่มาของพระราชวังชื่อเดียวกันในนครลาซา ซึ่งสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 พระราชวังแห่งนี้เป็นทั้งศูนย์กลางการปกครองและสถานที่จาริกแสวงบุญของชาวทิเบตทั้งปวง พระราชวังโปตาลาแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ พระราชวังชั้นนอก(วังขาว) เป็นส่วนของสังฆาวาสหรือเสนาสนะของพระสงฆ์ ประกอบด้วยสถูปทองคำบรรจุพระศพของทะไลลามะองค์ก่อนๆ พระวิหาร โบสถ์ และห้องเก็บพระไตรปิฎก หลังจีนบุกยึดครองทิเบต และองค์ทะไลลามะทรงลี้ภัยไปยังอินเดีย พระราชวังโปตาลากลายสภาพเป็นพิพิธภัณฑ์

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
6. พระมหาเจดีย์ชเวดากอง
นครย่างกุ้ง พม่า

ตามตำนานเล่าว่า เมื่อคร้้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ประทานพระเกศา 8 เส้นให้แก่พ่อค้าชาวมอญ ทั้งสองจึงอัญเชิญพระเกศาดังกล่าวกลับมายังพม่าและบรรจุไว้ในเจดีย์เพื่อความเป็นศิริมงคลสืบไป แรกเริ่มเจดีย์คงมีความสูงไม่มากนัก แต่ด้วยแรงศรัทธาในพุทธศาสนา กษัตริย์และชาวพม่าจึงร่วมกันบริจาคทรัพย์สินเงินทองเพื่อเสริมองค์เจดีย์ให้มีความสูงเพิ่มตามลำดับ ก่อนจะให้แผ่นทองคำแท้หุ้มองค์เจดีย์จนเหลืองอร่ามไปทั้งองค์ ว่ากันว่ากษัตริย์พม่าทุกพระองค์ต้องพระราชทานทองคำหุ้มเจดีย์ชเวดากองเท่ากับน้ำหนักของพระองค์เองด้วยเหตุนี้ เจดีย์ชเวดากองจึงประกอบด้วยทองคำหนักถึง 1,100 กก. ถือเป็นเจดีทองคำองค์ใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้งส่วนยอดของเจดีย์ยังประดับด้วยฉัตรทองคำและเพชรนิลจินดา

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
7. พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช
จังหวัดนครศรีธรรมราช ไทย

นักวิชาการสันนิษฐานว่า พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชน่าจะสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยศรีวิชัย ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 เพื่อบรรจุพระทันตธาตุที่อัญเชิญมาจากอินเดีย จากนั้นเมื่อพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์เผยแผ่เข้ามา จึงมีการสร้างเจดีย์ทรงลังกาขนาดใหญ่ "ครอบ" ทับอีกชั้นหนึ่ง แม้จะได้รับการบูรณะต่อมาอีกหลายครั้ง แต่ยังคงรูปแบบลังกาไว้ไม่แปรเปลี่ยน ด้วยความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในฐานะศูนย์กลางทางพุทธศาสนาในภาคใต้ และคาบสมุทรมลายู พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชจึงเป็นโบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองที่กำลังได้รับการผลักดันเข้าสู่การเป็นมรดกโลก
« Last Edit: เมษายน 16, 2022, 07:23:48 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
8. พระพุุทธรูปไดบุตสึ
เมืองคะมะกุระ ญี่ปุ่น

พุทธศาสนาน่าจะเผยแผ่มาถึงญี่ปุ่นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 12 โดยน่าจะเริ่มจากในราชสำนัก ก่อนเผยแพร่ไปสู่ประชาชนทั่วไป พุทธศาสนาในญี่ปุ่นไม่เพียงดำรงอยู่ควบคู่กับศาสนาพื้นเมืองอย่างชินโต แต่ยังปรับเปลี่ยนโดยสอดรับกับสภาพภูมิประเทศ ธรรมชาติ และวิถีชีวิตของผู้คนในประเทศเกาะแห่งนี้ พระพุทธรูปไดบุตสึ หรือพระอมิตาภพุทธเจ้าแห่งเมืองคะมะกุระสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 โดยได้แรงบันดาลใจจากไดบุตสึแห่งเมืองนะระ แรกเริ่มใช้ไม้เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างและมีความสูงถึง 24 เมตร ทว่าต่อมาได้รับความเสียหายอย่างหนักจากพายุใต้ฝุ่นจนไม่อาจปฏิสังขรณ์ให้ดีดังเดิมได้ จึงมีการขอรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาเพื่อสร้างไดบุตสึองค์ใหม่ขึ้น แม้จะยึดพุทธศิลป์แบบเดิมเป็นหลัย แต่ก็เปลี่ยนวัสดุเป็นสำริดทั้งหมดเพื่อความคงทน ไดบุตสึแห่งเมืองคะมะกุระองค์ปัจจุบันมีความสูงรวมฐาน 13.35 ม. และมีน้ำหนักถึง 122 ตัน

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
9. กัลวิหาร
เมืองโปลอนนารุวะ ศรีลังกา

พุทธศาสนาในศรีลังกามีอยายุย้อนไปได้ถึงเมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระมหินทเถระพร้อมคณะ เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ 3 พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราชที่ 1 โปรดให้สร้างกัลวิหารมีความหมายตามรูปศัพท์ว่า "วิหารหิน" สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นภูเขาหินแกรนิตเตี้ยๆ จุดเด่นสุดคือพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 4 องค์ที่สลักเสลาอย่างงดงามบนหินผา

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
10. พระพุทธรูปเล่อซาน
มณฑลเสฉวน จีน

หุบเขาเล่อซานตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแม่น้ำใหญ่สามสายไหลมาบรรจบกันจึงมักเกิดอุบัติเหตุทางน้ำขึ้นบ่อยครั้งชาวบ้านเชื่อกันว่าบริเวณนี้มีอาถรรพณ์ ควรสร้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแต่ผู้สัญจรไปมางานก่อสร้างพระพุทธรูปบริเวณหน้าผาหุบเขาเล่อซานเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 713 และใช้เวลายาวนานเกือบร้อยปีจึงแล้วเสร็จ องคืพระมีความสูงถึง 71 ม. นับเป็นพระพุทธรูปสลักจากหินองค์ใหญ่ที่สุดในโลอกและยังคงได้รับการดูแลรักษาอย่างดีจนถึงปัจจุบัน