Author Topic: The History of Japanese Art: Life and Faith  (Read 41250 times)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
The History of Japanese Art: Life and Faith
« on: มกราคม 23, 2018, 07:46:09 pm »
The History of Japanese Art: Life and Faith

นิทรรศการ วิถีแห่งศรัทธาจากศิลปทัศน์ญี่ปุ่น นิทรรศการนี้
จัดแสดงสมบัติของชาติและสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศญี่ปุ่น

วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560 – วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 (ปิดทุกวันจันทร์ และ อังคาร)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

*** เป็นภาพบางส่วนเท่านั้นนะครับ

ภาพด้านล่าง คือ

พระพุทธรูปปางประสูติ

สำริด
สมัยอาซึกะ พุทธศตรรษที่ 12-13

ประติมากรรมรูปพระพุทธเจ้าในลักษณะทารก แสดงพุทธประวัติตอนประสูติ พระหัตถ์ขวาชี้ขึ้นเบื้องบน พระหัตถ์ซ้ายทอดลงแนบพระวรกาย ประทับบนดอกบัว พระพุทธรูปปางประสูติพบไม่มากนัก ปรากฏครั้งแรกในสมัยอาซึกะ ซึ่งเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเข้ามาประดิษฐานในญี่ปุ่น
« Last Edit: กุมภาพันธ์ 05, 2018, 10:23:53 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #1 on: มกราคม 23, 2018, 08:06:25 pm »
ปฐมบทศิลปะญีปุ่น

การศึกษาแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ ทำให้ทราบว่า ก่อนพระพุทธศาสนาเผยแผ่มายังดินแดนญี่ปุ่น มีผู้คน 3 กลุ่มที่มีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตเป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ประกอบด้วยวัฒนธรรม โจมน ยาโยอิ และโคฟุน วัฒนธรรมแห่งบรรพชนเหล่านี้เป็นปฐมบทหรือรากเหง้าของสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ผู้คนในวัฒนธรรมโจมนดำรงชีพด้วยการเก็บของป่า ล่าสัตว์ เป็นสังคมที่ต้องการพึ่งพาธรรมชาติ จึงมีความเชื่อ ในเรื่องอำนาจ และความศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ ภาชนะดินเผาทรงเปลวไฟ และตุ๊กตาดินเผาโดกู รูปร่างอ้วนท้วนแสมบูรณ์ แสดงถึงศิลปกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรม สะท้อนถึงพัฒนาการทางศิลปะ ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมของคนยุนั้นได้เป็นอย่างดี

ต่อมาในวัฒนธรรมยาโยอิ มีการติดต่อกับผู้คนภายนอก จากจีนและคาบสมุทรเกาหลีทำให้รู้จักเพาะปลูกพืชโดยเฉพาะข้าว ซึ่งต่อมากลายเป็นอาหารหลัก เครื่องใช้ประเภทภาชนะดินเผามีรูปทรงหลากหลายยิ่งขึ้น รวมทั้งรู้จักหล่อโลหะโดยเฉพาะสำริด เป็นเครืองมือเกษตกรรม และอาวุธ ซึ่งนอกจากใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว ยังเป็นเครื่องบ่งบอกสถานะทางสังคม หรือใช้ในพิธีกรรมความเชื่อด้วย

การพัฒนาของสังคมเกษตรกรรมข้างต้นนำไปสู่การรวมตัวกันของชุมชนต่างๆ กลายเป็นสังคมเมืองที่มีผู้นำหรือผู้ปกครอง อันเป็นจุดกำเนิดของวัฒนธรรมโคฟุนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น คือ การสร้างสุสานขนาดใหญ่ ภายในสุสานนอกจากบรรจุศพแล้ว ยังพบเครื่องประดับ อาวุธ ชุดเกราะ อุปกรณ์ขึ่ม้า คันฉ่อง ของมีค่าทำด้วยอัญมณีและครื่องประกอบพิธีกรรมซึ่งล้วนแสดงถึงอำนาจและบานมีของผู้ปกครองหรือกษัตริย์

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #2 on: มกราคม 23, 2018, 08:11:52 pm »
ภาชนะดินเผาทรงเปลวไฟ

สมัยโจมนตอนกลาง อายุราว 4500 ปีมาแล้ว
พบที่แหล่งโบราณคดีโดจิตเตะ ชุนันมาจิ จังหวัดนึกะตะ ซึนันโซ

ภาชนะดินเผาตกแต่งด้วยลวดลายที่ให้ความรู้สึกคล้ายเปลวไฟ พบเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำชินาโนกาวา จังหวัดนีกาตะ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีหิมะตกหนักและมีอากาศรุนแรงจึงสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นภายใต้ความเชื่อว่าเปลวไฟให้ความอบอุ่นทำให้ผ่านฤดุหนาวได้อย่างปลอดภัย

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #3 on: มกราคม 23, 2018, 08:17:22 pm »
ตุ๊กตาดินเผ่า "โดกู"

สมัยโจมนตอนปลายหรือสมัยหินใหม่ของญี่ปุ่น 1000-2500 ปีมาแล้ว
พบที่ บิชุดะ อาซาเอะ ทาจิริคาบุกุริ เมืองโอซากิ จึงหวัดมิยากิ

ประติมากรรมรูปบุคคลมีดวงตาโต ลักษณะคล้ายดวงตาแมลง สวมชุดที่ตกแต่งเป็นลวดลายต่างๆ แขนและขามีลักษณะคล้ายเต้านมมือเท้าเล็ก สันนิษฐานว่าแสดงถึงความเชื่อเรื่องการคลอดบุตร และความอุดมสมบูรณ์ ถือเป็นโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #4 on: มกราคม 23, 2018, 08:21:24 pm »
ระฆังสำริด "โดตะกุ"

สมัยยาโยอิตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 6-9
พบที่อาชะโออิวะยามะ โคชิโนฮาระ เมืองยาซึ จึงหวัดซิกะ

สมัยยาโยอิตอนปลาย สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากระฆังสำริด ของจีนและเกาหลี เป็นระฆังทรงสูง ด้านบนและข้างของระฆังทำขอบเป็นเส้นโค้ง ภาพบุคคลกำลังตำข้าวหรือภาพยุ้งฉางที่ปรากฏบนระฆังสันนิษฐานว่าใช้ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการเพาะปลูก

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #5 on: มกราคม 23, 2018, 08:25:38 pm »
ตุ๊กตาดินเผา "ฮานิวะ"

สมัยโคฟุน ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12
พบที่ชิโมฟุเรโช เมืองอิเชชะกิ จังหวัดกุมมะ

ตุ๊กตา "ฮานิวะ" หมายถึง ตุ๊กตาที่ใช้ในพิธีกรรมฝังศพ ถูกจัดวางเรียงรอบสุสานของผุ้มีอำนาจ ตุ๊กตาแต่ละตัวมีลักษณะแตกต่างกัน ตามหน้าที่หรืออาชีพ ตุ๊กตาที่เห็นทำรูปผู้ชายผูกผมข้างใบหู สวมต่างหู บ่าซ้ายแบกจอบ สันนิฐานว่า หมายถึง หัวหน้าเกษตรกร หรืออาจเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสุสาน

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #6 on: มกราคม 23, 2018, 08:29:09 pm »
คันฉ่องสำริด

สมัยโคฟุนตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ 10

คันฉ่องสำริด ทรงกลม ได้รับอิทธิพลจากคันฉ่องจีน ตรงกลางทำเป็นกลุ่มกลมตกแต่งด้วยลายรูปสัตว์ที่มีหัวเดียวแต่มีสองลำตัว สันนิษฐานว่าได้รับแรงบันดาลใจจากมังกร และจระเข้ของจีน ความละเอียดของลวดลายและเทคนิคการหล่อ อันประณีตแสดงความชำนาญของช่างชาวญี่ปุ่น

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #7 on: มกราคม 23, 2018, 08:32:27 pm »
ภาชนะดินเผา

สมัยโคฟุน พุทธศตวรรษที่ 11-12
พบที่ซึจิกาตานิ อุชิมาโดโซ เมืองเซะโตอุจิ จังหวัดโอกายามะ

ภาชนะดินเผ่ามีปากบาน ฐานสูง ปลายฐานผายอก ตกแต่งฐานโดยเจาะเป็นช่อง ตัวภาชนะทรงกลม ตกแต่งส่วนบ่าด้วยตุ๊กตาขนาดเล็กกำลังต่อสู้กัน ซึ่งอาจหมายถึงการเล่นซูโม่ ด้านหนึ่งรูปหมูป่ากำลังถูกสุนัขวิ่งไล่ และอีกด้านหนึ่งเป็นรูปคนกำลังขี่ม้า สันนิษฐานว่าใช้ในพิธีกรรมฝังศพ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #8 on: มกราคม 23, 2018, 08:53:33 pm »
พุทธศิลป์วิวัฒน์

ในรัชสมัยพระจักรพรรดิคินเมแห่งญี่ปุ่น ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 11 กษัตริย์แห่งอาณาจักรแพกเจบนคาบสมุทรเกาหลี ได้พระราชทานพระพุทธรูปสำริด พระบฏ และคัมภีร์พระพุทธศาสนาให้ประเทศญี่ปุ่นนับเป็นการหยั่งรากพระพุทธศาสนาบนแผ่นดินญี่ปุ่นคร้งแรก ต่อมา พระพุทธศาสนาได้รับการรับถืออย่างรวดเร็ว ในหมู่ชนชั้นปกครองโดยเฉพาะตระกูล "โซกะ" ผู้มีอำนาจทางการเมือง ทำให้เกิดการสร้างวัด และพระพุทธรูปขึ้นเป็นจำนวนมาก สมัยนาระ ประชาชนเชื่อกันว่า พระพุทธศาสนาเหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มครองประเทศพระจักรพรรดิ จึงโปรดฯ ให้สร้างรูปรพะมหาไวโรจนะพุทธเจ้าขนาดใหญ่ขึ้นที่วัดโทไดจิ กลางเมืองนาระ

สมัยเฮอัน พระพุทธศาสนานิกายเท็นได และนิกายชินกง หรือวัชรยานจากจีน เป็นที่เคารพเลื่อมใสในหมู่ขุนนางและชนชั้นสูง เกิดการสร้างสรรค์ศิลปกรรมเนื่องในพระศาสนา หรือ "พุทธศิป์" ชิ้นเยี่ยมเป็นจำนวนมาก ระยะแรกยังคงได้รับอิทธิพลจากศิปะจีน ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 16 พระพุทธปฏิมามีความอ่อนโยน นุ่มนวลตามแบบญี่ปุ่นมากขึ้น และยิ่งเพิ่มความวิจิตรด้วยการทาสีสันสดใส รวมทั้งมีการลงรักหรือกะไหล่ด้วยทองคำ และเงินในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 นับเป็นยุคทองของพุทธศิลป์

สมัยคามากุระ พระพุทธศาสนานิการเชนจากจีนได้รับความนิยมยกย่องในหมู่ชนชั้นนักรบ ผุ้มีบทบาททางการเมือง การปกครองของญี่ปุ่น รวมทั้งประชาชนทั่วไป พุทธศิลป์ได้รับอิทธิพลจากศิปะจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง อย่างชัดเจน คือ เน้นความเป็นธรรมชาติ และความเรียบง่าย ที่เรียกว่าแบบสัจนิยม

ตั้งแต่สมัยคามากุระเป็นต้นมา พระพุทธศาสนาได้แตกสาขาออกไปหลายลัทธิ หลากนิกาย แม้ไม่ปรากฏ พุทธศิลป์ที่โดดเด่นเหมือนในสมัยเฮอัน แต่ความศรัทธาในงานพุทธศิลป์ยังคงสืบทอดกันมา

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #9 on: มกราคม 23, 2018, 08:58:18 pm »
พระอมิตาภะ และพระโพธิสัตว์

สมัยคามากุระ พุทธศักราช 1797
สำรัดกะไหล่ทอง

พระอมิตาภาะ เป็นพระธยานิพุทธจ้า ประจำทิศตะวันตก กำเนิดจากพระิาทิพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าสูงสุดความเชื่อของพุทธศาสนา นิกายมหายาน นิยมสร้างพร้อมรูปปพระโพิธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระมหาสถามปราบปต์ รวม 3 องค์ เรียกว่า "พระอมิตาภะไตรอัด"

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #10 on: มกราคม 23, 2018, 09:05:56 pm »
พระไภษัชยคุรุ

สมัยเฮอัน พุทธศตวรรษที่ 14-15
ไม้ลงรักปิดทอง

พระไภษัชยคุรุ เป็นพระพุทธเจ้าทางการแพทย์ มักปรากฏภาชนะ บรรจุยารักษาโรคอยู่บนพระหัตถ์ ซ้ายเป็นสัญลักษณ์ พระพุทธรูปองค์นี้มีพระวรกายอวบอ้วน พระพักต์ก้มต่ำ จีวรเป็นริ้วตามธรรมชาติประทับบนฐานบัว แสดงถึงศิลปะที่อ่อนช้อยสวยงาม ด้วยเทคนิคการใช้ยางรักผสมกับผงไม้ปั้นทับนแกนไม้เพื่อสร้างรายละเอียด

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #11 on: มกราคม 23, 2018, 09:09:48 pm »
พระโพธิสัตว์

สมัยอาซึกะ พุทธศตวรรษที่ 12-13
สำริดกะไหล่ทอง
พบที่นาจิซัน นาจิกาซึอูระโซ จังหวัดวากายามะ

พระโพธิสัตว์ประทับห้อยพระบาทบนฐานบัว ยกพระบาทขวาขึ้นวางบนพระเพลาซ้าย ในลักษณะนั่งไขว่ห้าง พระหัตถ์ขวายกขึ้นแนบพระปราง(แก้ม) แสดงอารมณ์แห่งการครุ่นคิด อาจหมายถึงเพื่อการหลุดพ้น พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระบาทที่ยกขึ้น ถือเป็นงานศิปะชิ้นเยี่ยมที่แสดงออกถึงภวังค์แห่งธรรม

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #12 on: มกราคม 23, 2018, 09:22:53 pm »
พระโพธิสัตว์จินดามณีจักร

สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-19
ไม้ทาสี ประดับเส้นทองคำเปลว

เป็นภาคหนึ่งของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ประจำยุคปัจจุบัน ตามความเชื่อของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน แกะสลักจากไม้ทาสีดำ ตกแต่งด้วยแผ่นทอง ฝังหินมีค่าที่พระเนตร พระโพธิสัตว์ประทับขันพระชานุขวามี 6 กร พระกรซ้ายบนถือกงล้อที่กำลังหมุน หรือจินดามณีจักรเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อการอธิฐานขอพร หรือสิ่งต่างๆ ที่ประสงค์ โดยอิทธิฤทธิ์ของจินดามณีจักรที่อยุ่ในพระหัตถ์

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #13 on: มกราคม 23, 2018, 09:32:49 pm »
พระมหาไวโรจนะ

สมัยเฮอัน พุทธศตวรรษที่ 16-18
ไม้ลงรักปิดทอง

พระมหาไวโรจนะเป็นพระอยานิพุทธเจ้า หนึ่งในห้าพรองค์ที่ครองอยู่ในทิศต่างๆ ของโลก กำเนิดจากพระอาทิพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าสูงสุดของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามากมายประหนึ่งเม็ดทรายในมหาสมุทร พระมหาไวโรจนะ แกะสลักด้วยไม้ลงรักปิดทอง พระพักต์แสดงถึงอารมณ์แห่งความสงบ ลึกซึุง พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นระดับอุระแสดงปางที่เรียกว่า "วัรมุทรา" ตามนิกายวัชรยาน ถือเป็นงานแกะสลักชิ้นเยี่ยมของประติมากรญี่ปุ่นในอดีต

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #14 on: มกราคม 23, 2018, 09:47:34 pm »
วัชระ

สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-19
สำริดกะไหล่ทอง

เป็นเครื่องประกอบพิธีกรรมสำคัญในศาสนาพุทธมหายาน นิกายวัชรยานทำด้วยสำริดกะไหล่ทอง ปลายทั้ง 2 ข้างแหลมงุ้ม มี 5 แฉก ด้ามจับตรงกลางเป็นลายลูกแก้วเรียกว่า "ตายักษ์" ประกอบกับลายกลีบบัวเป็นลักษณะของศิลปะสมัยคามากุระ วัชระมีความหมายถึง พระปัญญาอันแรงกล้าของพระพุทธเจ้า มีหน้าที่ปกป้องผู้บำเพ็ญบารมีจากสิ่งชั่วร้าย และมีพลังทำลายกิเลสที่เกิดจากใจ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #15 on: มกราคม 23, 2018, 09:50:52 pm »
กระดิ่งพิธีกรรม

สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-19
สำริดกะไหล่ทอง

กระดิ่งมีด้ามจับเป็นรูปวัชระ 5 แฉก เรียกว่า "วัชระฆัณฏา" ใช้ในเวลาเริ่มและจบพิธีกรรม เชื่อว่าเสียงสั่นของกระดิ่งทำให้สถานที่ประกอบพิธีกรรมบริสุทธิ์ และยังเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าและเทพดจ้า ใช้ในการทำพิธีร่วมกับวัชระ ซึ่งวัชระนี้มีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าปกติ สีของโลหะ และสีทองของวัสระนี้เป็นเอกลักษณะที่พบในสมัยคามากุระ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #16 on: มกราคม 23, 2018, 09:53:43 pm »
วัชระคู่

สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-19
สำริดกะไหล่ทอง

เป็นเครื่องประกอบพิธีกรรม ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "คะซึมะ" ประกอบด้วยวัชระสามแฉก 2 อัน แฉกกลางเป็นแท่งตรงแฉกด้านข้างมีปลายแหลมงุ้มเข้าหาแฉกกลาง วางทับเป็นรูปกากบาท กึ่งกลางเป็นลายลูกแก้ว ล้อมด้วยลายดอกบัวบานแปดกลีบ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #17 on: มกราคม 23, 2018, 09:57:58 pm »
จักร

สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-19
สำริดกะไหล่ทอง

จักรเป็นเครื่องประกอบพิธีกรรม เป็นหนึ่งใน 7 รัตนะของพระจักรพรรดิราช ความเชื่อในพระพุทธศาสนา จักรเป็นสัญลักษณ์ ของการทำลายกิเลสตามคำสอนพระพุทธิจ้า จักรรูปแปดเหลี่ยมประดับด้วยดอกบ้ว  8 กลีบ เป็นลักษณะเฉพาะของสมัยคามากุระ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #18 on: มกราคม 23, 2018, 10:01:56 pm »
เครืองประดับภายในวิหาร "เคมัง"

สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-20
สำริด

"เคมัง" ใช้สำหรับแขวนตกแต่งขื่อวิหาร หรือที่สถิตของเทพเจ้ามีห่วงสำหรับแขวน ทำเป็นรูปพวงมาลัยร้อยเป็นรูปพัด ตรงกลางมีประภามณฑล ที่มีรัศมีเป็นเปลวเพลิง มีดอกบัวรองรับกึ่งกลางมีตัวอักษรอินเดียโบราณ "เทวนาครี" หมายถึงมนต์แห่งพระมหาไวโรจะ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
« Reply #19 on: มกราคม 24, 2018, 07:11:25 am »
รูปเคารพในพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้า ชาวญี่ปุ่นนิยมเรียกพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ว่า "เนียวไร" พระพุทธเจ้าที่ขาวญ๊่ปุ่นนับถือมากได้แก่ พระศากยมุนี พระอมิตาภะ พระมหาวไวโรจนะ และพระไภษัชยคุรุ

พระโพธิสัตว์ ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า โพสัตสึ(Bosatsu) ได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์เมไตรยะ พระโพธิสัตว์มัญชูศรี พระโพธิสัตว์สมันตภัทร และพระโพธิสัตว์กษิติครรภ

เทพธรรมบาล ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า เมียวโอ(Myoo) เป็นเทพในนิกายมหายานตันตระ ซึ่งรับอิทธิพลมาจากเทพในศาสนาฮินดู ช่วยเหลือทุกคนแม้กระทั่งผู้ที่ไม่เชื่อในธรรมะ สีหน้าแสดงความดุร้าย

เทพหรือเทวดา ชาวพุทธในประเทศญี่ปุ่นเรียกเทวดาว่า เตน(Ten) โดยผนวกเอาเทพส่วนหนึ่งในศาสนาฮินดูเข้ามาเป็นเทพหรือเทวดาในศานาพุทธ