Author Topic: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย  (Read 99802 times)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
62.วัดโพธินิมิตรสถิตมหาสีมาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางยี่เรือ
เขต/อำเภอ   : ธนบุรี
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :

เป็นวัดขนาดเล็กมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่เศษ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระวันรัต(แดง สีลวฑฒโน) วัดสุทัศนเทพวราราม ได้อุทิศที่ดินอันเป็นมรดกสร้างวัดขึ้นแล้วถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานนามให้วัดว่า "วัดโพธิ์นิมิตร" และได้ประกอบพิธีผูกมหาสีมา ซึ่งนับเป็นวัดแรกและวัดเดียวของคณะสงฆ์มหานิกายที่มีเขตกำหนดสังฆกรรมเป็นมหาสีมา

Wat Phonimit Sathitmahasimaram

Wat Phonimit is a third class royal monastery. It was built in the reign of King Rama V on the land owned by parents of Somdet Phra Wannarat, the abbot of Wat Suthat Thepwararam. King Rama V named it Wat Phonimit, and granted the Maha Sima or the great consecrated boundary.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
« Last Edit: มีนาคม 02, 2022, 06:33:02 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
63.วัดหงส์รัตนาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดอรุณ
เขต/อำเภอ   : บางกอกใหญ่
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยอยุธยา พระอารามหลวงประจำพระบรมมหาราชวังพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

*** วัดท่องเที่ยวเปิดตลอด

วัดมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดเจ้าสัวหง" ตามชื่อของเศรษฐีชาวจีนผู้สร้างวัดนี้ ในสมัยกรุงธนบุรี วัดหงส์รัตนาราม ถือเป็นศูนย์กลางการศึกษาทางศาสนา และตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานด้วย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงรับวัดนี้ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และโปรดฯ ให้บูรณะวัดครั้งใหญ่ โดยมีการขยายอาณาเขตวัดออกไปให้กว้างขึ้น สร้างเสนาสนะต่างๆ เพิ่มเติมทั้งพระอาราม และพระราชทานนามให้วัดว่า "วัดหงส์อาวาสวิหาร"

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้อีก และเปลี่ยนชื่ออีกหลายครั้งกล่าวคือ เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดหงส์อาวาสบวรวิหาร" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 และเป็น "วัดหงส์อาวาสวรวิหาร" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระราชทานนามให้วัดว่า "วัดหงส์รัตนาราม" จึงได้ใช้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบัน

Wat Hong Rattanaram
Built in the Ayutthaya period, Wat Hong Rattanaram was originally called ''Wat Chao Sua Hong'' after the name of a Chinese millionaire, its founder.

During the Thonburi period, the temple was the center for religious education under the patronage of King Taksin the Great.

The King restored the whole temple as well as built many important structures such as the Ubosot(Ordination Hall) and the Vihara(Assembly Hall), etc.

Further renovations of the temple were done during the Rattanakosin period as several times as the changes of its name. Its present name was given since the  reign of King Rama IV.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
« Last Edit: มีนาคม 04, 2022, 07:20:21 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
64.วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร (วัดพลับ)

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดอรุณ
เขต/อำเภอ   : บางกอกใหญ่
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยอยุธยา

วัดราชสิทธาราม เดิมชื่อว่า "วัดพลับ" พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้สร้างวัดใหม่ขึ้นในที่ติดกับวัดพลับเดิม และรวมสองวัดเข้าด้วยกัน แล้วเรียกว่าวัดพลับเช่นเดิม

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงสร้าง พระตำหนักจันทร์พระราชทานให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ประทับเมื่อครั้งทรงผนวชอยู่ ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 3 ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ มีการสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ ฯลฯ และทรงปฏิสังขรณ์ตำหนักจันทร์ และพระราชทานนามให้วัดใหม่ว่า "วัดราชสิทธาราม"

Wat Ratchasittharam
Wat Ratchasittharam is a second class royal monastery founded by King Rama I. He built the new royal temple in the area adjacent to an ancient temple of Ayutthaya period, named Wat Phlab, and then merged the two temple.

The King also invited Phra Archa Suk, a famous meditation instructor, from Wat Tha Hoy, in Ayutthaya province, to reside in the new temple.

Phra Archan Suk was later granted the title of Buddhist supreme patriarch.

This temple was where Kings Rama II, III and IV studied Buddhist practices and meditation. Moreover, King Rama III and King Rama IV used to reside in the temple during their monkhood. Tamnak Chan, the building where they resided, is still well reserved untio today.
In the reign of King Rama III, the temple was wholly restored, and there were construction of more buildings such as the Ubosot(Ordination Hall), the Vihara(Assembly Hall), and Sala Karnparien(Teaching-learning Hall), etc.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)


« Last Edit: มีนาคม 02, 2022, 09:54:47 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
65.วัดศรีสุดาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางขุนนนท์
เขต/อำเภอ   : บางกอกน้อย
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :

วัดศรีสุดารามวรวิหาร เป็นวัดโบราณสร้างมานานก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อว่า วัดชีปะขาว ในสมัยรัชกาลที่ 1 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นพระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงสถาปนาวัดขึ้นมาใหม่ ต่อมารัชกาลที่ 4 โปรดให้ปฏิสังขรณ์และสร้างพระอุโบสถใหม่แทนหลังเก่า และพระราชทานนามว่า วัดศรีสุดาราม วัดนี้เคยเป็นสถานที่ศึกษาของ สุนทรภู่ กวีเอกของโลกเมื่อสมัยเยาว์วัย ภายในวัดมีศาลาการเปรียญ ที่สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาซึ่งมีสภาพสมบูรณ์มาก มีรูปหล่อพระพุฒาจารย์โต และวังมัจฉาอยู่บริเวณหน้าวัดซึ่งเป็นเขตอภัยทานมีปลาสวายนับพันตัว

Wat Srisudaram
Loacted on the bank of the Bangkok Noi canal, Wat Sri Sudaram is an old temple dating back to the Ayutthaya period, and the place where the tamous Thai poet Sunthon Phu studied while he was a boy.

Sunthorn Phu is Thailand's the most famous poet who lived through the reign of King Rama I- King Rama IV. He was bestowed the title Phra Sunthorn Voharn and appointed Poet Laureate.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
#hikingthai.com

« Last Edit: มีนาคม 08, 2022, 10:51:57 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
66.วัดบวรมงคลราชวรวิหาร วัดลิงขบ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : บางยี่ขัน
เขต/อำเภอ   : บางพลัด
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : 2300

วัดบวรมงคลเดิมเป็นวัดสำหรับพระสงฆ์ชาวมอญ แต่เมื่อปี พ.ศ.2462 ได้เปลี่ยนเป็นวัดธรรมยุต และมีพระสงฆ์ไทยจำพรรษา วัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2300 โดยชาวมอญที่อพยพมาจากเมืองหงสาวดีหลังจากพม่าตีแตก เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มหาเสนานุรักษ์ ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ และพระราชทานนามว่า "วัดบวรมงคล"

Wat Bowon Mongkol
Wat Bowon Mongkol  was built in 2300 B.E.(1757 A.D.) by Mon people who fled the war against Burmese. Later in the reign of King Rama I, the temple was restored by Krom Phraratchawangbowon Mahasenanurak.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
#hikingthai.com

« Last Edit: มีนาคม 08, 2022, 08:08:55 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
67.วัดคฤหบดี

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางยี่ขัน
เขต/อำเภอ   : บางพลัด
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :

***เปิดตลอด

แต่เดิมวัดนี้เป็นบริเวณบ้านพระราชทานของพระสุนทรโวหาร(สุนทรภู่) ในรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ พระราชทานบ้านให้พระยาราชมนตรีบริรักษ์(ภู่) พระยาราชมนตรีบริรักษ์ได้ย้ายบ้านข้ามฟากมาปลูกขึ้นใหม่บริเวณประตูท่าพระ แล้วอุทิศที่ดินสร้างเป็นวัดน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวงได้รับพระราชทานนามว่า "วัดคฤหบดี" ในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปทองคำโบราณปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน พระนามว่าหลวงพ่อแซกดำ ซึ่งรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นพระประธานในพระอุโบสถตั้งแต่เริ่มสร้างวัด เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 1700-1800 ได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2369 บริเวณหน้าวัดมีเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม 12 ทรงระฆังกลม และที่สำคัญที่สุดคือพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งอยู่ริมน้ำ นับว่าเป็นวัดใหญ่ที่แผนผังอันสวยงาม โดยเฉพาะเมื่อมองจากหน้าวัดเข้าไปจากแม่น้ำเจ้าพระยา

Wat Kharueha Bodi
In 1824, King Rama III gave this land to Phraya Rajamontri Borirak(Phu) together with the wooden house in which the poet laureate Sunthorn Phu used to live. The house was moved to Tha Chang landing on the Bangkok side and the land was used to build Wat Kharueha Bodi in dedication to the King. The latter in turn presented Luang Phor Saekkham, an ancient golden Buddha image, to be installed in the Ordination Hall(Ubosot) of the monastery. The image represents the posture of the Lord Buddha subduing Mara(Evil). It was cast approximately in 1157-1257 and was brought from Vientiane in 1826. In front of the monastery, there is a bell-shape Chedi(pagoda) with a base of 12 indented corners. Most important of all is the waterfront pagoda. Phra Borom That Chedi, containing the Lord Buddha's relics. This extensive monastery, built according to a beautiful layout plan, presents a distinctive prospect when seen from the river.

ที่มา ป้ายในวัด
« Last Edit: มีนาคม 09, 2022, 04:38:06 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
68.วัดอาวุธวิกสิตาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : บางพลัด
เขต/อำเภอ   : บางพลัด
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :

***เปิดตลอด

สถานที่ตั้งเคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของพระสงฆ์ และชาวบ้านที่อพยพหนีภัยสงครามมาจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อครั้งกรุงแตก ด้วยเหตุนี้สถานที่ตรงนี้จึงถูกเรียกว่า "บางพลัด" และเมื่อมีการสร้างวัดขึ้นจะได้ตั้งชื่อตามสถานที่เป็น "วัดปากคลองบางพลัด" หรือ "วัดบางพลัดนอก" เพราะตั้งอยู่ตรงปากคลองบางพลัด

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 วัดบางพลัดนอกก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยพันเอกพระยาอาวุธภัณฑ์เผด็จ(ท้วม) และได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่และศาลาการเปรียญด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอาวุธสิตาราม"

Wat Awuthwikasitaram
Wat Awuthwikasitaram is a third class royal monastery. It was built in Rattanakosin period, and renovated in the reign of King Rama V by Phraya Awuthphan Phadet(Tuam). The King then renamed the temple Wat Awuthwikasitaram. Every important structure in the temple has more than on building 2 Ubosots(Ordination Hall), 2 Bell Towers, 3 Sala Karnparien(Teaching-Learning Hall), and 3 Chedis(Pagodas).

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

« Last Edit: มีนาคม 10, 2022, 06:36:15 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
69.วัดชัยพฤกษมาลา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด   : ราชวรวิหาร   
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ตลิ่งชัน   
เขต/อำเภอ   : ตลิ่งชัน   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : กรุงศีรอยุธยา

***เปิดตลอด

พระประธาน วัดชัยพฤกษมาลา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด   : ราชวรวิหาร   
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ตลิ่งชัน   
เขต/อำเภอ   : ตลิ่งชัน   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : กรุงศีรอยุธยา

เดิมชื่อ วัดชัยพฤกษ เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งกรุงธนบุรีตั้งขึ้นใหม่ได้มีการรื้อเอาอิฐไปก่อกำแพงเมือง ทำให้กลายเป็นวัดร้างไประยะหนึ่ง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2325 รัชกาลที่ 1 ได้โปรดให้รัชกาลที่ 2 ซึ่งขณะนั้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ สร้างวัดชัยพฤกษขึ้นใหม่เนื่องจากเหตุการณ์บ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย ทำให้การสร้างวัดยังไม่สำเร็จสมบูรณ์ ครั้นเมื่อ พ.ศ.2394 รัชกาลที่ 4 ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ให้ปฏิสังขรณ์วัดจนเสร็จ และพระราชทานนามว่า "วัดชัยพฤกษมาลา" ในพระอุโบสถหลังเก่า มีพระประธานปางมารวิชัย ส่วนพระประธานในพระอุโบสถหลังใหม่ นามว่า พระพุทธชัยมงคล มีพระเจดีย์สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 และหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ ได้ทรงทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อ พ.ศ.2478 เสร็จแล้วได้อัญเชิญพระบรมอัฐิของรัชกาลที่ 3 และอัฐิของเจ้านายอีกหลายพระองค์มาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ด้วย

Wat Chaiyapruekmala
This temple was built during the Ayutthaya period. On founding the new city Thonburi in 1797, some brick structures of the temple were disassembled and the bricks removed for use in the construction of the new city wall, during the reign of King Rama I(1782-1809), the crown prince attempted to rebuild this abandoned temple, gut the construction was not completed because of the war. The work was not undertaken again untiol 1851 when King Rama IV(1851-1868) donated some money to complete the restoration. He named it Wat Chaiyapruekmala. In the ole orination Hall(Ubosot), the principal Buddha image in the subduing Mara(Satan) posture is housed, and was named Phra Phuttha Chaimongkhon. A Chedi, built in the reign of King Rama IV, was restored by M.C. Pherm Ladawan in 1935 and was used to house the royal relics of King Rama III(1824-1851) and other royal members.

ที่มา ป้ายในวัด
#royalthaimonastery
#hikingthai.com
« Last Edit: มีนาคม 10, 2022, 05:35:18 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
70.วัดรัชฎาธิษฐาน

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : ราชวรวิหาร   
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : คลองชักพระ   
เขต/อำเภอ   : ตลิ่งชัน   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :

***ทำว้ตรเช้า 08.30 น.

เดิมชื่อ วัดเงิน ตามนามผู้สร้างคือ เจ้าขรัวเงิน พระภัสดาของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ต่อมาวัดทรุดโทรมมาก กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงบูรณะใหม่ทั้งอาคาร และทรงสถาปนาเป็นพระอารามหลวง ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้บูรณะวัด และพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดรัชฎาธิษฐาน" เป็นวัดเก่าแก่ที่มีถาวรวัตถุล้ำค่าที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์รวมถึงพระแท่นศิลา ที่ประทับในการโปรยทานของรัชการที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จพระพาสต้น

พระอุโบสถลักษณะเป็นศิลปะแบบจีน ไม่มีช่อฟ้าใบระกา พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยโลหะ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1

Wat Ratchadathitharn
This temple was formerly called Wat Ngoen after the sounder, sho was husband to the princess sister of King Rama I(1782-1809). King Rama I's queen restored the entire temple when it began to deteriorate, and made it a royal temple, King Rama IV ordered it restored again and changed its name to Wat Ratchada Thitharn. It is considered as one of the most valuable heritage buildings during the Bangkok period. The temple possesses a stone seat on which King Rama IV(1851-1868) and King Rama V(1868-1910) sat while donation gifts to the public. The ordination hall(Ubosot) was built in the Chinese style of art, without roof finials as in traditional Thai architecture. The principal Buddha image which was made of bronze during the reign of King Rama I represents the subduing Mara(Satan) posture.

ที่มา ป้ายในวัด
« Last Edit: มีนาคม 11, 2022, 09:53:05 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
71.วัดพระศรีมหาธาตุ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นเอก      
ชนิด   : วรมหาวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : อนุสาวรีย์   
เขต/อำเภอ   : บางเขน
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ. 2483

***ทำว้ตรเช้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น.

วัดพระศรีมหาธาตุ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2483 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้สร้างวัดขึ้นบริเวณใกล้กับอนุเสาวรีย์หลักสี่ เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตย และให้ชื่อว่า "วัดประชาธิปไตย"

ในระหว่างการสร้างวัด รัฐบาลไทยได้ส่งคณะทูตไปที่ประเทศอินเดีย เพื่อขอพระบรมสารีริกธาตุ กิ่งพระศรีมหาโพธิ์จำนวน 5 กิ่ง จากต้นเดิมที่พระสัมมามัมพุทธเจ้าเคยประทับ และดินจากสังเวชนียสถาน คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา ซึ่งทางรัฐบาลอินเดียก็ได้มอบให้ตามความประสงค์ โดยพระบรมสารีริกธาตุที่อินเดียมอบให้นั้น เป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบที่มหาสถูปธรรมราชิกะ

รัฐบาลไทยได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ กิ่งพระศรีมหาโพิธิ์และดินดังกล่าว มาประดิษฐานที่วัดซึ่งกำลังสร้างอยู่ขณะนั้น และเปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า "วัดพระศรีมหาธาตุ" เพื่อความเป็นศิริมงคล เพราะมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ภายในวัด

Wat Phara Sri Mha That
Known by its shorter name of Wa Phra Sri Maha That, this is temple was built on orders from the former Premier Field Marshall Por Pibul Songkhram, it is next to the Democratic Memorial. Its former name was ''Wat Phch Thiptai''(literally means democracy.)

The four sacred sites of the life of the Lord Buddha are represented at the temple. The Thai government of the time brought Cuddha relics to be enshrined at the temple. The Bodhi tree was also brought from India to grow here.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

« Last Edit: กุมภาพันธ์ 16, 2022, 10:03:44 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
71.วัดหลักสี่

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี      
ชนิด   : สามัญ
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ตลาดบางเขน   
เขต/อำเภอ   : หลักสี่
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ. 2421

***ทำว้ตรเช้า 08.00 น. วัตรเย็น 16.00 น.

สร้างขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ. 2421 โดยชาวรามัญ ซึ่งอพยพมาจากเมืองหงสาวดี (พะโค๊ะ) ได้นิมนต์
 อาจารย์เริ่ม พระธุดงค์ชาวมอญ ซึ่งมาปักกลดบริเวณที่ตั้งวัด ให้อยู่จำพรรษา และเป็นเจ้าอาวาส ครั่้งแรกตั้งชื่อวัดว่า วัดหลวงพ่อเริ่ม ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น วัดหลักสี่ เป็นวัดที่เคยได้รับการคัดเลือกจากกรมการศาสนา ให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่นในเขตกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ.2534 ภายในวัดมีองค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ฝาผนังเจดีย์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนโดย นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรเอก และมีวิหารหลวงปู่ขาว ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปปั้น หลวงปู่ขาว พระเกจิอาจารย์ชื่อดังชาวมอญ เจ้าอาวาสรูปที่ 2 ผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป เป็นผู้สร้างความเจิรญให้กับวัด และเป็นพระเถระยุคเก่าที่กล่าวขานกันว่า มีมนต์คาถาขลัง รัชกาลที่ 5 เคยทรงประทับเพื่อนมัสการ เมื่อครั้งเสด็จทางชลมารคมาเปิดคลองเปรมประชากร

ที่มา : ป้ายในวัด

Wat Laksi
Built by the Mon people who immigrated from Hongsawadi(Pegu in present-day Myanmar) under the leadership of a Mon monk named Archarn Roem, the temple was originally called Wat Luang Pho Roem.
In the reign of King Rama V, there was construction of the railway and its station on the east of the temple. It was then renamed Wat Laksi after the name of the railway station 'Lak Si'.
During the World War II, Wat Laksi was badly damaged by bombing Restoration of the temple was carried out after the war.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
« Last Edit: กุมภาพันธ์ 14, 2022, 09:49:10 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
72.วัดเทพศิรินทราวาส

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด   : ราชวรวิหาร
นิกาย   : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล   : วัดเทพศิรินทร์
เขต/อำเภอ   : ป้อมปราบศัตรูพ่าย
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : พ.ศ. 2419

***ทำว้ตรเช้า 08.00 น. วัตรเย็น 17.00 น.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้สร้างวัดเทพศิรินทราวาส ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2419 เพื่ออุทิศถวายสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี เมื่อสร้างเสนาสนะเสร็จได้พระราชทานนามว่า "วัดเทพศิรินทราวาส" ตามพระนามสมเด็จพระบรมราชชนนี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดฯให้สร้างสุสานหลวงหรือฌาปนสถานหลวงขึ้นในวัดด้วย โดยสุสานหลวงนี้ใช้เป็นที่พระราชทานเพลิงพระศพของเจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์ที่ไม่ได้สร้างพระเมรุขึ้นที่สนามหลวง ตลอดจนเป็นฌาปนสถานของทุกชั้นบรรดาศักดิ์ด้วย

Wat Thepsirin Thrawat
King Rama V ordered the construction of this temple to commemorate the Queen Mother, Thepsirintra, in 2419 B.E., and named it ''Wat Thepsirin Thrawas'' after his mother's name.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

« Last Edit: กุมภาพันธ์ 10, 2022, 05:46:17 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
73.วัดอนงคารามวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นโท   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : สมเด็จเจ้าพระยา
เขต/อำเภอ   : เขตคลองสาน
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

***ทำวัตรเย็น 16.00 น.

วัดอนงคารามสร้างขึ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยท่านผู้หญิงน้อย ภรรยาสมเด็จเจ้าพระยาบรมพิชัยญาติ(ทัด บุนนาค)เป็นผู้สร้างขึ้นในสวนกาแฟของตน เพื่อให้เป็นวัดคู่กับวัดพิชยญาติการามของสามี ด้วยเหตุนี้วัดนี้จึงได้ชื่อว่า "วัดน้อยขำแถม" ซึ่งคำว่า "น้อย" เป็นนามของผู้สร้าง ส่วนคำว่า "ขำ" เป็นนามเดิมของท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ มาโกษาธิบดี(ขำ บุนนาค) ผู้ปฏิสังขรณ์วัดนี้

เมื่อวัดสร้างเสร็จจึงได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เป็นพระอารามหลวง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอนงคาราม"

Wat Anongkharam
Formerly be a small temple without any fame, Wat Anongkharam is located on the other side of Chao Phraya River in Thonburi which is quite out of the tourism routes. But later when the Princess Mother Memorial Park was built around the area behind the temple, it has become well known by then.

The princess Mother Memorial Park was established in 1993 B.E. and opened on 1997 B.E. The park consists of a number of gardens, and a reproduction of the royal mother's childhood home as well as two exhibition halls dedicated to memorabilia of the princess and the royal family, and a pavilion with a statue of the princess.

Wat Anonkaram was built in the reign of King Rama III. It was originally named Wat Noi Kham Thaem after Than Phuying Noi, wife of Somdet Chao Phraya Borommaha Phichaiyat(That Bunnag), who founder the temple, and Chao Phraya Thipakonwong(Kham Bunnag) who restored the temple. It was later renamed to its present name by King Rama IV.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

« Last Edit: กุมภาพันธ์ 23, 2022, 04:47:11 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
74.วัดพระยาทำ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บ้านช่างหล่อ
เขต/อำเภอ   : บางกอกน้อย
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***ทำวัตรเย็น 17.00 น.

วัดพระยาทำ เดิมชื่อว่า "วัดนาค" สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดฯ ให้เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์(กุน) สมุหนายก บูรณปฏิสังขรณ์วัด แล้วยกฐานะเป็นพระอารามหลวงและพระราชทานนามว่า "ว้ดพระยาทำ" เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บูรณะวัด

ภายในพระอุโบสถ มีธรรมาสน์สลักด้วยไม้ ซึ่งนับเป็นธรรมาสน์สมัยกรุงศรีอยุธยาชิ้นที่ 2 ของกรุงรัตนโกสินทร์ที่งดงามมาก

Wat Phraya Tham
Formerly called Wat Nak, Wat Praya Tham was built in late Ayutthaya period, and was restored by Chao Phraya Rattanathibet(Kun) in the reign of King Rama II. Further renovation and more construction were carried out in the reign of King Rama III.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

« Last Edit: มีนาคม 08, 2022, 06:17:40 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
75.วัดทองธรรมชาติ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : สมเด็จเจ้าพระยา
เขต/อำเภอ   : คลองสาน
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***ทำวัตรเย็น 17.00 น.

เดิมเป็นวัดราษฏร์ชื่อ "วัดทองบน" สันนิฐานว่าเป็นวัดโบราณสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 1 กรมหลวงนรินทรเทวี(เจ้าครอกวัดโพธิ์) ซึ่งเป็นพระขนิษฐาในรัชกาลที่ 1 ร่วมกับกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ พระภัสดา ทรงมีพระศรัทธาบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดทองบน ขึ้นใหม่ ต่อมารัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ กรมสมเด็จพระเดชาดิศร เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์ มีการบูรณะและขยายวัดใหม่ขึ้นทั้งวัด และทรงรับ วัดทองบน เป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า วัดทองธรรมชาติราชปฏิสังขรณ์ และในปี พ.ศ.2458 สมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการปฏิสังขรณ์เฉพาะพระอุโบสถใหม่ทั้งหลัง แต่รูปทรงคงเดิม พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานนามว่า พระพุทธชินชาติ มาศธรรมคุณ

ที่มา ป้ายในวัด

Wat Tong Thammachat
Located not far from Wat Anongkharam to the east, Wat Tong Thammachat is also a royal monaster. It was an ancient temple dating back to the Autthaya period, and originally named Wat Tong Bon. The temple was restored in the reign of King Rama I, and later was restored again in the reign of King Rama III.

King Rama III then granted it the status of a third class royal monastery.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
« Last Edit: กุมภาพันธ์ 24, 2022, 06:57:58 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
76.วัดมหาพฤฒาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : มหาพฤฒาราม
เขต/อำเภอ   : บางรัก
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : -

***วัดท่องเที่ยว

วัดมหาพฤฒาราม เป็นวัดสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชื่อเดิมว่า "วัดท่าเกวียน" เพราะเคยเป็นที่พักแรมของกองเกวียนที่เดินทางเข้ามาค้าขายที่กรุงเทพฯ ในสมัยกรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 วัดท่าเกวียนก็ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดตะเคียน" เพราะมีต้นตะเคียนขึ้นอยู่ภายในบริเวณวัด

ต่อมาในปี พ.ศ. 2397 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สถาปนาวัดขึ้นใหม่ และพระราชทานสมณศักดิ์ให้แก่เจ้าอาวาสของวัดในขณะนั้นเป็น "พระมหาพฤฒาจารย์" และเมื่อการก่อสร้างวัดแล้วเสร็จ จึงโปรดฯ ให้สถาปนาเป็นพระอารามหลวงและพระราชทานนามว่า "วัดมหาพฤฒาราม"

Wat Mahapuektharam
Built in early Rattanakosin period, Wat Mhapruektharam was upgraded to be third class royal monastery in the reign of King Rama IV. In the temple compounds, there are the Ubosot standing between the Vihara and the Reclining Buddha Vihara. To ther right of the Ubosot, there are 4 Prangs.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
« Last Edit: กุมภาพันธ์ 20, 2022, 01:59:20 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
77.วัดเศวตฉัตรวรวิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : บางลำภูล่าง
เขต/อำเภอ   : คลองสาน
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยอยุธยา

***ไปวันวิสาขบูชา

วัดเศวตฉัตร สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่าวัด บางลำภูล่าง เดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ต่อมาแผ่นดินริมแม่น้ำที่หน้าวัดเกิดการทับถมของตะกอนและงอกออกมา ทำให้พระอุโบสถหลังเก่าอยู่ห่างจากฝั่งแม่น้ำออกไปประมาณ 500 เมตร

วัดเศวตฉัตรได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นสุรินทรรักษ์หรือพระองค์เจ้าฉัตร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ซึ่งได้ย้ายเขตพุทธาวาสไปสร้างที่ริมแม่น้ำ โดยสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ และพระปรางค์ ขึ้นใหม่ จึงได้ชื่อใหมว่า "วัดเศวตฉัตร" ตามชื่อผู้สถาปนาวัด

เมื่อมีการตัดถนนเจริญนครผ่ากลางวัดในเวลาต่อมา วัดจึงได้ถูกแบ่งเป็น 2 ฝั่งดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะพระอุโบสถหลังเก่าอยู่อีกฝั่งถนน ขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของวัดอยู่ฝั่งที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา

Wat Sawettachat
Built in the Ayutthaya period, today Wat Sawettachat is a third class monastery of Woravihan type. Originally the temple was located on the bank of the Cho Phraya river, but the land in front of the temple was formed by soil deposit, causing the temple to retreat from the bank of the river.

In the reign of King Rama III, Phra Ong Chao Chat, a son of King Rama I, restored the temple. The religious boundary was moved to the river bank. Only the old Ubosot was left on the old place.

The main structure, the Ubosot(Ordination Hall), the Vihara(Assembly Hall), Sala Karnparien(Teaching-learning Hall), and Prang(Pagoda) were built on the river bank.

King Rama IV renamed the temple Wat Sawettachat to honor Phra Ong Chao Chat, the founder.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)

« Last Edit: กุมภาพันธ์ 25, 2022, 03:05:28 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
78.วัดกาญจนสิงหาสน์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : คลองชักพระ
เขต/อำเภอ   : ตลิ่งชัน
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง : สมัยอยุธยา

***ไปวันวิสาขบูชา

เดิมชื่อ "วัดทอง" เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี ในสมัยรัชกาลที่ 1ได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง จนถึงรัชกาลที่ 3  ได้ทรงปฏิสังขรณ์เพิ่มเติม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2397 รัชกาลที่ 4 โปรดพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดกาญจนสิงหาสน์" ใบเสมาเป็นแบบนั่งแท่น ไม่มีกระหนกยื่นออกสองข้าง ถือว่าเป็นใบเสมาต้นตำหรับในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งมีความสวยงามมาก พระอุโบสถเป็นรูปทรงชนิดโบสถ์มอญ ไม่มีช่อฟ้าใบระกา พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในลานพระอุโบสถมีปรางค์ใหญ่ตั้งอยู่มุมกำแพงแก้ว 4 มุม และมีเจดีย์รายด้านละ 2 องค์ ปรางค์ 4 องค์ ซึ่งคติการก่อสร้างแบบนี้คล้ายกับพระวิหารใหญ่ของ "วัดเงิน"

Wat Kanchanasinghat
Originally called Wat Thong, the ancient monastery of Ayutthaya period had been restored and bestowed as the third class royal temple by Somdet Phra Rup Sirisophak Mahanak Naree during the reign of King Rama I. After being renovated once again during the Reign of King Rama III, the temple was renamed as Wat Kanchanasinghat by King Rama IV. The temple's Sema(Battlement) shown the beauty of typical style fo Ayutthaya period. Ubosot(Ordination Hall) built in Mon style is the house of principal Buddha image in subduing Mara(Demon) posture, surrounder by 4 big prang(Stupa) in each corner.

ที่มา ป้ายในวัด
« Last Edit: มีนาคม 11, 2022, 10:53:06 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
79.วัดสังข์กระจาย

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : วัดท่าพระ
เขต/อำเภอ   : บางกอกใหญ่   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :

***ไปวันวิสาขบูชา

เมื่อครั้งบูรณะวัดแห่งนี้ได้ขุดพบ พระกัจจายน์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริด และสังข์ตัวหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 จึงถือนิมิตเหตุอันนี้พระราชทานนามให้วัดว่า "วัดสังข์กระจาย"

วัดสังข์กระจายได้รับการบูรณะอีกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยในการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งหลังนี้ เป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม มีการสร้างกุฏิใหม่ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง และศาลาท่าน้ำ 5 ศาลา

Wat Sang Krachai
During the entire temple restoration in the reign of King Rama I, Phra Krachai, a bronze Buddha image, and a sang(conch) were found in the area preparing for building the Ubosot(Ordination Hall). The King, therefore, gave the temple name ''Wat Sang Krachai''.

Further renovations of the temple were carried out in the reign of King Rama II and III. Especially in the reign of King Rama III, there were constructions of more buildings, Kutis(monks's resident), Sala Karnparien(Teaching-Learning Hall) Bell tower, and Sala.

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)
#royalthaimonastery
#hikingthai.com

« Last Edit: มีนาคม 05, 2022, 11:47:11 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
80.วัดนวลนรดิศ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี   
ชนิด   : วรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
แขวง/ตำบล   : ปากคลองภาษีเจริญ
เขต/อำเภอ   : ภาษีเจริญ   
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร   
พ.ศ. ที่สร้าง :

วัดนวลนรดิศ เดิมชื่อว่า "วัดมะกอกใน" เป็นวัดคู่กับวัดมะกอกนอก หรือ วัดอรุณราชวรารามในปัจจุบัน สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ท่านผู้หญิงนวล ภรรยาเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์(ดิศ บุนนาค) บุตรท่านผู้หญิงนวล ได้ช่วยกันปฏิสังขรณ์ แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง

พระบาทสมเด็นพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานนามว่า "วัดนวลนรดิศ" เพื่อระลึกถึงท่านผู้หญิงนวล และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์(ดิศ บุนนาค) ผู้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด

Wat Nual Noradit
Wat Nual Noradit was an ancient temple dating back to the Ayutthaya period. It was renovated during the reign of King Rama II and III by Thanphuying Nual and her son, Somdet Chao Phraya Maha Prayurawong(Dit Bunnag)

ที่มา : The Royal Monastery-Bangkok Vol.3, Ronyoot Chitradon, Ph.D. (ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน)


***ไปวันวิสาขบูชา
« Last Edit: มีนาคม 15, 2022, 08:23:26 pm by designbydx »