Author Topic: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย  (Read 103342 times)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
181.วัดพระเจดีย์ซาวหลัง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ต้นธงชัย
เขต/อำเภอ : เมืองลำปาง
จังหวัด : ลำปาง
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 18.32198, 99.515

**เปิดตลอด

เป็นวัดที่มีความสำคัญและเก่าแก่ของจังหวัดลำปาง คำว่า "ซาว" เป็นภาษาเหนือแปลว่า ยี่สิบ ส่วนคำว่า "หลัง" แปลว่า องค์ วัดนี้จึงแปลว่ามีเจดีย์ 20 องค์ องค์พระธาตุเจดีย์ซาวองค์ใหญ่เป็นศิลปะแบบล้านนาผสมกับศิลปะพม่า ข้ามหมู่พระเจดีย์มีวิหารหลังเล็กประดิษฐานพระพุทธรูปสำริด ปางสมาธิ ศิลปะเชียงแสน ชาวบ้านเรียกว่า พระพุทธรูปทันใจ ด้านหลังพระอุโบสถเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงโบราณวัตถุที่ชาวบ้านนำมาถวาย จากหลักฐานที่ได้พบ สันนิษฐานว่าวัดนี้ สร้างมานานกว่าพันปี

นอกจากนี้ชาวบ้านได้ขุดพบพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์หนัก 100 บาท 2 สลึง และมอบให้เป็นสมบัติของวัด มีชื่อว่า "พระยาแสนแซ่ทองคำ" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ 21 สามารถถอดออกเป็นชิ้นได้ 32 ชิ้นที่พระเศียรมีพระบรมธาตุติดอยู่ด้วย เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเคารพนับถือมา

ที่มา : ป้ายในวัด


« Last Edit: มิถุนายน 09, 2022, 06:47:44 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
182.วัดบุญวาทย์วิหาร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : หัวเวียง
เขต/อำเภอ : เมืองลำปาง
จังหวัด : ลำปาง
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 18.29019, 99.50184

**ไปวันมีงานพอดี

วัดบุญวาทย์วิหาร เป็นวัดโบราณสร้างมาแล้วกว่า 400 ปี เดิมชื่อ "วัดกลางเวียง" เป็นวัดสำคัญประจำเมืองลำปาง เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ในสมัยการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในปี พ.ศ.2347 สมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าหลวงคำโสมเจ้าผู้ครองนครลำปาง ได้รื้อพระวิหารเก่าออกแล้วได้สร้างพระวิหารหลวงหลังหนึ่ง พระประธานองค์หนึ่ง เจดีย์องค์หนึ่ง กุฏิหลังหนึ่ง และหอไตรหลังหนึ่ง เมื่อสร้างเสร็จเปลี่ยนชื่อว่า "วัดกลางหลวงไชยสัณฐาน"

ครั้งกาลเวลาล่วงไป 108 ปี(พ.ศ.2455) เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางเห็นโบราณวัตถุต่างๆ ภายในอารามชำรุดทรุดโทรม จึงให้รื้อพระวิหารหลวง หอไตร กุฏิ และกำแพงวัดทั้งหมด แล้วให้หลวงประสานไมตรีราษฏร ไปดูแบบพระอารามหลวงในกรุงเทพมหานครเพื่อสร้างขึ้นใหม่ โดยได้สร้างพระวิหารหลังหนึ่ง เสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2457 และเสนอขอเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "วัดหลวงบุญวาทย์บำรุง"

ปี พ.ศ.2458 เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต พร้อมด้วยพระธรรมจินดานายก(ผาย) เจ้าอาวาสซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าคณะลำปาง ครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูภูริโสภณ และข้าราชการได้ทำการฉลองวัดเป็นการใหญ่ พร้อมกับผูกพัทธสีมาโดยรอบพระวิหารหลวง มีพระสงฆ์ร่วมทำสังฆกรรม จำนวน 120 รูป เปลี่ยนพระวิหารหลวงเป็นพระอุโบสถ ปรากฏตามความในแผ่นจารึกที่หน้าพระอุโบสถ ต่อมาพระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาส ได้นำความกราบบังคมทูลขอวัดหลวงบุญวาทย์บำรุงเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดยกฐานะพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2458 และพระราชทานนามว่า "วัดบุญวาทย์วิหาร"

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

« Last Edit: มิถุนายน 08, 2022, 09:58:07 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
183.วัดพระพุทธบาทตากผ้า

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : มะกอก
เขต/อำเภอ : ป่าซาง
จังหวัด : ลำพูน
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 18.45464, 98.92137

**ขอให้หลวงพี่เปิดให้

วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นวัดโบราณถือว่าเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะมีรอยพระพุทธบาทและผาลาดเป็นรอยตากผ้ารูปตารางคล้ายตาจีวร วัดนี้จึงได้ชื่อว่า "วัดพระพุทธบาทตากผ้า"

ในปี พ.ศ. 1200 พระนางจามเทวี ราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้(ลพบุรี) ได้เสด็จมาครองนครหริภุญชัย พระนางได้สร้างอุโมงค์ครอบรอยพระพุทธบาทไว้เพื่อเป็นพุทธบูชา เสร็จแล้วได้จัดให้มีการสมโภชเฉลิมฉลอง

ปี พ.ศ. 1824 เมืองหริภุญชัย สมัยของพระยายีบาได้เสียให้แก่พระเจ้าเม็งรายมหาราชกษัตริย์ในราชวงศ์เม็งราย ได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงสืบมาจนสิ้นราชวงศ์เม็งราย บ้างเมืองเกิดศึกสงครามต้องรกร้างว่างเปล่า พระพุทธบาทแห่งนี้ก็มีอันต้องทรุดโทรม
ลง

ปี พ.ศ. 2375 พระเถระหลายรูป มีพระครูบาป๋าบารมี วัดสะปุ๋งหลวง เป็นประธานได้นำทายกทายิกาสร้างพระวิหารหลังใหญ่ครอบพระอุโมงค์พระพุทธบาทอีกชั้นหนึ่ง เพื่อเป็นที่พักอาศัยสำหรับสาธุชนที่ขึ้นมาสักการบูชา

ปี พ.ศ.2472 คณะสงฆ์จังหวัดลำพูน มีพระครูพุทธวงศ์ธาดา เจ้าคณะอำเภอป่าซางวัดฉางข้าวน้อยเหนือเป็นประธาน ฝ่ายฆราวาสมีหลวงวิโรจน์รัฐกิจ(เปรื่อง โรจนกุล) นายอำเภอป่าซางเป็นประธาน พร้อมกับศรัทธาประชาชนได้พร้อมใจกันไปนิมนต์ครูบาศรีวิชัย นักบุญลือชื่อแห่งล้านนาไทยวัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มาเป็นประธานในการก่อสร้างวิหารจตุรมุข ครอบรอยพระพุทธบาท

เนื่องจากบริเวณที่เป็นวัดพระพุทธบาทตากผ้า มีทำเลที่เหมาะสมแก่การบำเพ็ญสมณธรรมอย่างยิ่ง ดังนั้น ในปี พ.ศ.2486 พระมงคลญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดลำพูน วัดพระยืนและพระครูพิศาลพุทธิธร เจ้าคณะอำเภอป่าซาง วัดป่าซางงาม เป็นพระธานฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายฆราวาสมีนายหอม พรหมสิงห์ นายอำเภอป่าซางเป็นประธาน พร้อมด้วยศรัทธาประชาชน ได้พร้อมใจกันไปนิมนต์ ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก(พระสุพรหมยานเถร) วัดป่าหนองเจดีย์ ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนมาเป็นประธานในการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่น พระอุโบสถ กำแพง ถังเก็บน้ำ โรงเรียนปริยัติธรรม ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ เป็นต้น และตั้งแต่บัดนั้นมา วัดพระพุทธบาทตากผ้าก็ได้มีพระสงฆ์อยู่ประจำมาโดยตลอด และเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ ได้รบยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.2521

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม




« Last Edit: มิถุนายน 05, 2022, 08:17:11 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
« Reply #183 on: พฤศจิกายน 24, 2020, 07:56:53 pm »
184.วัดพระแท่นดงรัง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : พระแท่น
เขต/อำเภอ : ท่ามะกา
จังหวัด : กาญจนบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง : -

**เปิดตลอด


Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย (ขาวดำ)
« Reply #184 on: พฤศจิกายน 24, 2020, 07:58:23 pm »
185.วัดไชยชุมพลชนะสงคราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บ้านใต้
เขต/อำเภอ : เมืองกาญจนบุรี
จังหวัด : กาญจนบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง : -

**ทำว้ตรเย็น 17.00 น.

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #185 on: พฤศจิกายน 24, 2020, 07:59:56 pm »
186.วัดเทวสังฆาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : บ้านเหนือ
เขต/อำเภอ : เมืองกาญจนบุรี
จังหวัด : กาญจนบุรี
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 14.02722, 99.52656

**เปิดตลอด


« Last Edit: พฤษภาคม 26, 2022, 09:31:30 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #186 on: ธันวาคม 12, 2020, 01:57:32 pm »
187.วัดสุทธจินดา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองนครราชสีมา
จังหวัด : นครราชสีมา
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ. 2467
พิกัด : 14.97037, 102.09742

**ทำวัตรเย็น 17.00 น.

วัดสุทธจินดาสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2467 โดยการรวมวัด 2 วัดให้เป็นวัดเดียวกัน คือ วัดสมบูรณ์จิ๋ว และวัดบรมจินดา เนื่องจากทางราชการได้ย้ายศาลาว่าการมณฑลนครราชสีมา จากกลางเมืองอยู่ทางทิศเหนือของวัดพระนารายณ์มหาราช มาตั้งที่มุมกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยสร้างเป็นอาคาร 2 ชั้น ได้รื้อกำแพงเมืองทางทิศตะวันตก เพื่อให้มองเห็นศาลาว่าการและสนามภายในถนัดชัดแจ้ง และเป็นเหตุให้มองเห็นวัดบรมจินดาและวัดสมบูรณ์จิ๋ว ซึ่งเป็นวัดที่กำลังอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมไม่รับกันกับศาลาว่าการที่สร้างขึ้น ทางราชการคิดที่จะพัฒนาวัดขึ้นใหม่ให้มีสภาพที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ บรรดาข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน คหบดี และพ่อค้า มีพระยาเพ็ชรปาณี(ดั่น รักตประจิต) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา เห็นว่านครราชสีมาเป็นเมืองใหญ่เป็นเมืองเอกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมวัดสมบูรณ์จิ๋วกับวัดบรมจินดา ให้เป็นวัดเดียวกันและสร้างขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นที่สถิตของพระมหาเถระผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล ได้กราบทูลพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าสกลมหาสังฆปรินายก ขอประทานพระอนุมัติรวมวัดสร้างใหม่

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ประทานอนุมัติ และได้ประทานนามวัดว่า "วัดสุทธจินดา" และโปรดให้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.2478

ที่มา : พระอารามหลวงเล่มที่ 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


« Last Edit: เมษายน 28, 2022, 08:23:29 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #187 on: ธันวาคม 12, 2020, 01:58:57 pm »
188.วัดวชิราลงกรณวราราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : วรวิหาร
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : หนองน้ำแดง
เขต/อำเภอ : ปากช่อง
จังหวัด : นครราชสีมา
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2506
พิกัด : 14.64556, 101.35388

**บอกหลวงพี่มาเปิดให้

วัดวชิราลงกรณวราราม สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2506 โดยนางทิพย์ นิยมเหตุ มีความประสงค์จะสร้างวัด เพื่อเป็นจุดรวมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร และเป็นสถานศึกษาทางโลก คือโรงเรียนกลางดง(หนองน้ำแดง) ถนนมิตรภาพ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้เป็นสถานศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมควบคู่กันไป จึงได้หารือกับพระธรรมปาโมกข์(ทิม อุฑาฒิโม) เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ในปี พ.ศ.2504 ได้เข้าไปวัดสุทธจินดา ปรึกษากับพระราชสุทธาจารย์(โชติ คุณสมปนโน) เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา(ธรรมยุต) ขอความอนุเคราะห์สนับสนุนแล้วเสร็จ พร้อมนี้ นางทิพย์ นิยมเหตุ ได้ขอร้องท่านเจ้าคุณ พระธรรมปาโมกข์(ทิม) นำความกราบทูลขอพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า เธอมีความประสงค์ที่จะสร้างวัด ถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นามวัดว่า "วัดวชิราลงกรณ" เป็นวัดในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฏราชกุมาร

วันที่ 18 กรกฏาคม พ.ศ. 2506 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ได้แต่งตั้งให้พระราชสุทธาจารย์ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก

วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกวัดวชิราลงกรณวราราม เป็นพระอารามหลวง เพื่อเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2515

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: เมษายน 28, 2022, 05:35:26 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #188 on: ธันวาคม 12, 2020, 02:00:49 pm »
189.วัดบึง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองนครราชสีมา
จังหวัด : นครราชสีมา
พ.ศ.ที่สร้าง : ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๒๒๐ ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา
พิกัด : 14.97388, 102.10027

**เปิดตลอด

วัดบึงสร้างเมื่อปี พ.ศ.2220 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่า เป็นวัดที่เจ้านาย หรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่สมัยนั้นสร้างขึ้น เพราะมีหลักฐานทางโบราณคดีทั้งทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ภายในวัดประกอบด้วย ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เช่น พระอุโบสถ ตู้พระธรรม และภาพจิตกรรม เป็นต้น ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ได้รับการอนุรักษ์ ปรับปรุงและปฏิสังขรณ์ให้คงสภาพเดิมตลอดมา โดยเหตุที่วัดนี้ตั้งอยู่กลางบึงจึงเรียกว่า "วัดบึง" ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ.2537

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: เมษายน 27, 2022, 05:23:02 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #189 on: ธันวาคม 12, 2020, 02:01:46 pm »
190.วัดพายัพ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองนครราชสีมา
จังหวัด : นครราชสีมา
พ.ศ.ที่สร้าง : สร้างสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พิกัด : 14.97858, 102.09892

**เปิดตลอด

วัดพายัพสร้างสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อครั้งทรงครองกรุงศรีอยุธยา ทรงเลือกสถานที่ในการสร้างเมืองนครราชสีมา ให้ช่างชาวฝรั่งเศสเขียนแปลนก่อสร้างเป็นรูปเหลี่ยม มีคูคลองน้ำล้อมรอบกั้นข้าศึก มีกำแพงประตู 4 มุมเมือง และได้ทรงสร้างวัดขึ้นมาภายในกำแพงเมือง จำนวน 6 วัด คือ วัดพระนารายณ์มหาราช วัดบูรพ์ วัดสระแก้ว วัดบึง วัดพายัพ และวัดอิสาน ในวัดพายัพมีวัตถุโบราณ คือ พระพุทธรูปหินทรายแกะสลัก ลงรักปิดทอง พระอุโบสถลักษณะทรงเรือสำเภาโต้คลื่น และใบเสมาพระอุโบสถหลังเก่า เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์กว่า 300 ปี

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: เมษายน 26, 2022, 08:25:28 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #190 on: ธันวาคม 12, 2020, 02:02:29 pm »
191.วัดสะแก

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองนครราชสีมา
จังหวัด : นครราชสีมา
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2230
พิกัด : 14.97687, 102.09652

**เปิดตลอด

วัดสะแก สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2230 สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดที่ได้รับการพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ อยู่นอกเขตกำแพงเมือง สาเหตุที่ชื่อวัดสะแก ยังไม่ทราบความเป็นมาที่แน่ชัดสันนิษฐานว่าคงจะเรียกกันมาตามสภาพภูมิประเทศที่ตั้งวัด แต่เดิมบริเวณแถวนี้เป็นที่ราบสูง มีป่าไม้นานาชนิดโดยเฉพาะต้นสะแก คงจะมีอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อทางราชการได้ย้ายตัวเมืองมาสร้างขึ้น ณ บริเวณนี้(ที่ตั้งปัจจุบัน) ทำให้มีความเจริญมากขึ้น สภาพสิ่งแวดล้อมเดิมได้เปลี่ยนแปลงไป คงเหลือไว้แต่ชื่อเสียงเท่านั้นที่ปรากฏเท่าทุกวันนี้

วัดสะแกอยู่นอกเขตกำแพงเมือง มีเจดีย์เก่าอยู่องค์หนึ่ง ในปี พ.ศ.2519 เจดีย์ได้พังมาเพราะชำรุดทรุดโทรม กรุพระแตกออกมา ปรากฏว่าเป็นพระเก่าสมัยอยุธยา หรืออาจนานไปถึงสมัยลพบุรีมีพระนาคปรก พระอู่ทอง พระมงคลวัดตะไกร พระขุนแผน พระดังกล่าวเป็นเนื้อชิน จึงได้สันนิษฐานว่าวัดนี้คงจะสร้างมาก่อนการสร้างเมืองนครราชสีมา หรือไล่เลี่ยกับการสร้างเมืองนครราชสีมา ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2529

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: เมษายน 29, 2022, 06:54:58 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #191 on: ธันวาคม 12, 2020, 02:12:45 pm »
192.วัดชูจิตธรรมาราม

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : สนับทึบ
เขต/อำเภอ : วังน้อย
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ.ที่สร้าง : -
พิกัด : 14.26443, 100.78256

**ไปขอสำนักงานวัดเปิดให้

วัดชูจิตธรรมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นายฉบับ คุณนายสงวน ชูจิตตารมย์ ได้มีจิตศรัทธาถวายที่ดินจำนวน 186 ไร่ ที่ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ต่อมาได้มีผู้บริจาคซื้อถวายเพิ่มเติมเป็น 736 ไร่) เพื่อตั้งเป็นสถานศึกษาของคณะสงฆ์ ตามพระดำริของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี) วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เริ่มแรกใช้ชื่อว่า สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย สาขาวังน้อย หรือรู้จักทั่วไปว่า วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย ในปี พ.ศ. 2519 ได้ขอตั้งเป็นวัดชื่อ "วัดชูจิตธรรมาราม" เพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์สกุลชูจิตารมย์ผู้ถวายที่ดินเพื่อการก่อตั้งครั้งแรก[1]

วัดชูจิตธรรมารามได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549[2] ทางวัดเริ่มเปิดรับพระสงฆ์และสามเณรเข้าศึกษามาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 ปัจจุบันเปิดสอนพระปริยัติธรรม แผนกนักธรรมบาลี แผนกสามัญ ในระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา ปัจจุบัน มีพระราชวัชราภรณ์ เป็นเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์และสามเณร จำนวน 250 รูป (พ.ศ. 2563) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัยและพุทธศาสนิกชนทั่วไป รวมทั้งด้านการรักษาพยาบาลจากมูลนิธิสิรินธร[3]

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1#:~:text=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99,%E0%B8%9E.%E0%B8%A8.%202563)%20%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87
« Last Edit: กรกฎาคม 17, 2022, 07:09:14 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #192 on: ธันวาคม 12, 2020, 04:56:19 pm »
193.วัดทรงศิลา

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองชัยภูมิ
จังหวัด : ชัยภูมิ
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2414
พิกัด : 15.80989, 102.03331

**ไปขอเจ้าอาวาสเปิดให้

วัดทรงศิลา เดิมเรียกว่า "วัดหินตั้ง" ตามชื่อหมู่บ้านสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2414 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้หลวงวิเศษภักดี(ที) พระบุตรพระยาภักดีชุมพล(แล) เป็นพระภักดีชุมพล(ที) ตำแหน่งเจ้าเมืองชัยภูมิ(ในระหว่างปี พ.ศ.2406-2418) โดยพระภักดีชุมพลได้พิจารณาเห็นว่า บ้านหินตั้ง(ที่ตั้งจังหวัดชัยภูมิในปัจจุบัน) มีทำเลกว้างขวางมีชัยภูมิที่ดี จึงได้ย้ายเมืองจากโนนปอปิด(บริเวณปรางค์กู่กับหนองบัว ซึ่งเป็นเมืองเก่า) มาตั้งเมืองใหม่ที่บ้านหินตั้ง และอยู่จนมาถึงทุกวันนี้ และภายหลังจากการย้ายเมืองมาเรียบร้อยแล้ว ได้ตั้งชื่อวัดขึ้นใหม่ว่า "วัดทรงศิลา"

ปี พ.ศ.2467 พระยาภูมิพิชัย(เฮง ศรีไชยยันต์) เจ้าเมืองชัยภูมิ และหลวงบรรจงวิชาเชิด(เชย สาคริชานนท์) ธรรมการจังหวัดพร้อมชาวบ้านได้รื้อพระอุโบสถหลังเก่าออกแล้วสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทน เมื่อสร้างอุโบสถเสร็จแล้วจึงสร้างหลวงพ่อโตเป็นพระประธานประจำอุโบสถ ซึ่งยังคงประดิษฐานมาตลอดจนถึงปัจจุบัน การสร้างอุโบสถดังกล่าวนี้คงสร้างในที่เดิมแต่ขยายตัวอาคารออกไปกว้างกว่าเดิม

เมื่อสร้างอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้วทางวัดพร้อมด้วยพ่อค้าประชาชน ข้าราชการได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขอให้ยกวัดทรงศิลาขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2525

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
« Last Edit: เมษายน 25, 2022, 08:08:00 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #193 on: ธันวาคม 12, 2020, 04:57:23 pm »
194.วัดชัยสามหมอ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : หนองไผ่
เขต/อำเภอ : แก้งคร้อ
จังหวัด : ชัยภูมิ
พ.ศ.ที่สร้าง : 2525
พิกัด : 16.1122, 102.25862

**ไปขอสำนักงานวัดเปิดให้

วัดชัยสามหมอมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านอำเภอแก้งคร้อเข้าไปสักการะขอพรกันเป็นประจำคือ "พระชัยมงคง" ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในภายในพระอุโบสถ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525 เป็นอาคาร 2 ชั้น ทรงจัตุรมุขบานประตูและหน้าต่างเป็นไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับแก้วสวยงาม ภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนสีเป็นภาพประเพณีอีสาน ภาพการดำรงชีวิตของคนสมัยโบราณ และที่ชั้นล่างของพระอุโบสถมีพระพุทธรูปปางต่างๆ เป็นจำนวนนับร้อยองค์ วัดชัยสามหมอได้รับการยกฐานนะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2555

ที่มา : พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.รณยุทธ์ จิตรดอน
« Last Edit: เมษายน 25, 2022, 09:50:45 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
195.วัดธาตุ

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองขอนแก่น
จังหวัด : ขอนแก่น
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2340 กรุงรัตนโกสินทร์
พิกัด : 16.41928, 102.83519

**เปิดตลอด

วัดธาตุ ชาวบ้านเรียกว่า "วัดธาตุเมืองเก่า" บ้าง "วัดธาตุนครเดิม" บ้าง สร้างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ.2340 โดยท้าวเมืองแพน ตำแหน่งเพี้ย หลานเจ้าแก้วมงคล อยู่บ้านซีโหล่น เมืองสุวรรณภูมิได้ชักชวนชาวบ้านประมาณ 300 คน  อพยพมาตั้งเมืองใหม่ที่บ้านบึงบอน ตั้งชื่อเมืองว่า เมืองขอนแก่นซึ่งต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยานครศรีบริรักษ์ บรมราชภักดี นับเป็นเจ้าเมืองขอนแก่นคนแรก และเนื่องจากชนชั้นปกครองเมืองต่างๆ ในภาคอีสานที่มีเชื้อสายนครเวียงจันทร์ เมื่อสร้างเมืองแล้วจะต้องสร้างวัดเป็นของคู่บ้านคู่เมืองถึง 4 วัด

ดังนั้น พระยานครศรีบริรักษ์ บรมราชภักดี จึงได้สร้างวัดตามประเพณีโบราณ คือ
1.วัดเหนือสำหรับเป็นสถานที่ชุมนุมทำบุญของเจ้าเมืองขอนแก่น(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดธาตุ")
2.วัดกลาง เป็นที่ชุมนุมทำบุญของข้าราชการ(ปัจจุบันยังคงเรียกว่า "วัดกลาง" เช่นเดิม)
3.วัดใต้เป็นวัดที่ชุมนุมทำบุญของประชาชนทั่วไป(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดหนองแวง")
4.วัดแขก หรือวัดท่าแขก สำหรับคนหรือพระต่างถิ่นจะมาพักอยู่อาศัยหรือทำบุญต่างๆ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น"วัดโพธิ์บ้านโนนทัน")

วัดธาตุเมื่อสร้างแล้วก็มีพระธาตุเจดีย์เป็นสัญลักษณ์อยู่ เนื่องจากมีเจดีย์หลายองค์ เมื่อเวลาล่วงไปนานเจดีย์แต่ละองค์ชำรุดพังทลายไปเกือบหมด จนไม่สามารถสังเกตได้ว่าองค์ไหนเป็นพระธาตุดั้งเดิม ดังนั้นในปี พ.ศ. 2513 ทางวัดจึงได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นครององค์เดิมไว้ทั้งหมด โดยสร้างให้ใหญ่และสูงกว่าองค์เดิมให้นามว่า เจดีย์พระธาตุนครเดิม วัดพระธาตุได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.2512 และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2523

ที่มา พระอารามหลวงเล่ม 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม, พระอารามหลวงของไทย สมบัติจำปาเงิน
« Last Edit: มิถุนายน 23, 2022, 06:38:56 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
196.วัดหนองแวง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองขอนแก่น
จังหวัด : ขอนแก่น
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2332
พิกัด : 16.4094, 102.83414

**ไปเจอตอนงานบวชพอดี

วัดหนองแวงสร้างเมื่อปี พ.ศ.2332 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 หลังจากทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงเทพมหานครเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2328 ล่วงมาอีก 4 ปีได้โปรดยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็นเมืองขอนแก่น และโปรดให้เลื่อนยศท้าวเพี้ยเมืองแพนหรือเรียกสั้นๆ ว่าท้าวเมืองแพน(เพี้ย = พญา หรือ พระยา) ผู้สร้างเมืองเป็นพระนครศรีบริรักษ์ บรมราชภักดีเป็นเจ้าเมืองขอนแก่น

ในคราวสร้างเมืองขึ้นนั้นพระนครศรีบริรักษ์ได้สร้างวัดประจำเมืองขึ้น 4 วัด(ดูเรื่องราววัดธาตุ) วัดหนองแวงเป็นวัดหนึ่งในจำนวนนั้น วัดหนองแวงได้รับการทะนุบำรุงตลอดมาจากท่านเจ้าเมืองต่อๆ มามิได้ทอดทิ้ง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2442 เป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมากเนื่องจากมีการพัฒนาทุกด้านจนได้รับยกยอ่งให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง และได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงใน พ.ศ.2527 นับว่าเป็นเกียรติยิ่งวัดหนึ่งในภาคอีสาน

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน

« Last Edit: มิถุนายน 23, 2022, 09:05:08 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: พระประธาน อารามหลวง เมืองไทย
« Reply #196 on: ธันวาคม 12, 2020, 05:20:50 pm »
197.วัดศรีจันทร์

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : ธรรมยุต
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองขอนแก่น
จังหวัด : ขอนแก่น
พ.ศ.ที่สร้าง : พ.ศ.2398 สมัยรัชกาลที่ 4
พิกัด : 16.43073, 102.83943

**ขอให้คนดูแลเปิดให้ ของหายเลยต้องปิด

วัดศรีจันทร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2398(สมัยรัชกาลที่ 4) ท่านญาคูหลักคำ(พระครูพิมพ์) เป็นผู้สร้างและเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ก่อนหน้านี้ท่านญาคูหลักคำจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีนวล เหตุที่มาสร้างวัดขึ้นใหม่เพราะเป็นสถานที่เงียบสงบ บริเวณเป็นเนินดินสมบูรณ์ ชาวบ้านเรียกว่าโคกป่าโจด เมื่อสร้างเสร็จแล้วใช้ชื่อว่า "วัดศรีจันทร์" ใกล้เคียงกับชื่อวัดศรีนวล ประชาชนนิยมเรียกชื่อวัดศรีจันทร์ ว่าวัดนอกเพราะตั้งอยู่คุ้มนอกบ้าน เรียกชื่อวัดศรีนวลว่าวัดใน เพราะตั้งอยู่ในคุ้มบ้าน

วัดศรีจันทร์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2468 ได้ทำพิธีผูกพัทธสีมา พ.ศ.2476 ต่อมาใน พ.ศ.2507 ได้รับยกย่องเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงในปี พ.ศ. 2521 เป็นวัดสำคัญของจังหวัด มีสำนักบริหารคณะสงฆ์ เจ้าคณะจังหวัดพำนักอยู่ที่วัดนี้ เป็นศูนย์อบรมพระพุทธศาสนาแก่เยาวชน และเป็นที่ตั้งสำนักงานยุวพุทธิกสมาคม

ที่มา : พระอารามหลวงของไทย สมบัติ จำปาเงิน
« Last Edit: มิถุนายน 21, 2022, 06:13:33 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
198.วัดป่าแสงอรุณ 

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : -
แขวง/ตำบล : ในเมือง
เขต/อำเภอ : เมืองขอนแก่น
จังหวัด : ขอนแก่น
พ.ศ.ที่สร้าง : -

**เปิดตลอด

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
199.วัดตานีนรสโมสร

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : อาเนาะรู
เขต/อำเภอ : เมืองปัตตานี
จังหวัด : ปัตตานี
พ.ศ.ที่สร้าง : -

**เปิดตลอด

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
200.วัดมุจลินทวาปีวิหาร หรือวัดตุยง

ลำดับชั้น : วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิด : สามัญ   
นิกาย : มหานิกาย
แขวง/ตำบล : ตุยง
เขต/อำเภอ : หนองจิก
จังหวัด : ปัตตานี
พ.ศ.ที่สร้าง : -

**ขอเจ้าอาวาสเปิดให้