Author Topic: Hello Iran ตอนเขาหาว่าผมเป็นแขก(อีกแล้ว) (10วัน)  (Read 108986 times)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Hello Iran จำนวนผู้เดินทาง 5 คน

10 เม.ย. 60 เดินทางด้วยสายการบิน Mahan Air จาก สุวรรณภูมิ-Tehran บินตอน 4 ทุ่ม ใช้เวลา 7.40 ชม.(เวลาช้ากว่ากัน 3 ชม. 30 นาที)

11 เม.ย. 60 ถึง Tehran ทำวีซ่า กับประกัน(ทำที่สนามบิน) เดินทางไปที่พักที่ได้จองไว้แล้ว (Persian Hostel)
                  - Golestan Palace พระราชวังสวนกุหลาย
                  - Tehran Bazaar ตลาด
                  - National Jewels Museum (ไม่ได้เที่ยวเพราะปิด เนื่องจากเป็นวัน Father day)
                  - Tabiat Bridge(ไม่ได้ไป)
                  - Milad Tower ดูมุมสูงเมือง Tehran

12 เม.ย. 60 Tehran-Shiraz ฝากเป๋าไว้ก่อน เดินทางด้วยรถบัสข้ามเมืองตอนเย็น(19.00 น.)
                  - Tajrish Bazaar เป็นตลาดท้องถิ่นเล็กๆ
                  - Darband เป็นหมู่บ้านทีมีกระเช้าขึ้นภูเขาหิมะ แต่ไม่ได้ขึ้นนะ ฝนตกๆๆๆ
                  - Azadi Tower ตึกวายคว่ำ (ไม่ได้ไป เวลาไม่พอ)

13 เม.ย. 60 Shiraz พักที่ Niayesh Boutique Hoste(ที่พักนี้โอเคเลยนะ แนะนำ)
                  - เดินเที่ยวตลาด Vakil Bazaar ทีมีพรมขายเยอะๆ
                  - Karim Khan Fort ป้อม
                  - Narenjestan e Ghavam คฤหาสห์ของคหบดีตระกูลสูง
                  - Ali Ibn Hamza มัสยิด(ไม่ต้องไปหรอกนะอันนี้)
                  - Vakil Mosque ใหญ่มาก คุมเข้มการเข้า(แนะนำให้เข้า)

14 เม.ย. 60 เช็คเอ๊า เหมารถ(230 us)ไปเมือง Yard เที่ยวระหว่างทาง ไม่ต้องย้อนกลับเข้าเมือง
                   - Pink Mosque หรือ Nasir ol Molk Mosque มัสยิสสีชมพู
                   - Persepolis เมืองโบราณ
                   - ถึงเมือง Yard เข้าที่พัก Orient Hotel (ที่นี่ไม่โอเคน่ะ) ถึงเย็นมืดๆ
                   - Kabir Jameh Mosque ติดที่พัก

15 เม.ย. 60 - Amir Charhmaq Mosque
                   - ตอนบ่ายไปกับทัวร์ Maybod, Kharanaq, Chak Chak, Ice House, Caravan มาถึง โรงแรมประมาณ 2 ทุ่ม
                   - นอนอีกคืน

16 เม.ย. 60 เดินทางไปเมือง Esfahan ด้วยรถประจำทาง ขึ้นตอน 10.45 น.
                   - ถึง Esfahan ประมาณ 14.00 น.
                   - เข้าที่ัพัก Amir Kabir Hoste ที่นี่บริการดีนะ แต่อย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง
                   - Naqsh-e Jahan ซึ่งจะมีมัสยิดรอบๆ
                   - Ali Qapu Palace พระราชวัง
                   - Pol-e Khaju สะพานคาจูร์ข้ามลำน้ำ Zayade

17 เม.ย. 60 - เที่ยวต่อรอบๆ Naqsh-e Jahan
                   - Masjed-e Imam หรือ Masjed-e shah
                   - Masjed-e Sheikh Lotfollah เล็กกว่าอันบน
                   - ช๊อปปิ้งๆๆๆๆ
                   - Masjed-e Jameh มัสยิดวันศุกร์
                   -  Vank Caterdral
                   - Pol-e Si-o-Seh สะพาน 33 โค้ง (ฟ้าปิดเซ็ง)

18 เม.ย. 60 - พักอีกคืน ตืนเช้าเดินทางไปเมือง Kashan ด้วยรถประจำทาง ประมาณ 3 ชม.
                   - พักที่ Ehan Historic house ที่พักโอเค
                   - Abbasian Historical House
                   - Sultan Amir Ahmad Bathhouse
                   - Borujerdi Historical House
                   - Tabatabaei Historical House(จริงๆ มีหลายที่แต่เลือกเขาแค่นี้ คิดว่าสถาปัตย์คงเหมือนๆ กัน)

19 เม.ย. 60  พักอีกคืน
                   - Aqa Bozorg Mosque
                   - Fin garden
                   - Abyaneh
                   - Salt Lake
                   - Maranjab Desert ดูพระอาทิตย์ตก บางคนไปดูขึ้น
                   - พักกลางทะเลทราบเป็น Caravasaral (มีน้ำอุ่นอาบนะ แต่ที่นอนไม่สบายเท่าไรแมลงวันเยอะ)

20 เม.ย. 60  - เดินทางกลับ Tehran ด้วยรถประจำทาง มีเวลาเหลือเลยแวะไปเที่ยว
                   - Azade Tower
                   - ไปสนามบิน บินกลับ
 


อุปกรณ์ กล้อง Fuji xt1, samyang 8 mm and 12 mm, fuji 55-250
canon 5dMark III + 40 mm pancake
gopro


ค่าใช้จ่ายตลอด 10 วัน เฉลี่ยวันละ 2000 บาท ค่าเครื่อง 16,000 บาท
เบ็ดเสร็จ รวม 36,000 บาท ช็อป 4,000 บาท เป้ใส่ไม่หมด

Download โบว์ชัวร์ของประเทศอิหร่าน ลองไปอ่านดูลิงค์ด้านล่างนี้นะครับ

http://hikingthai.com/Download/Iran/GateofAllNations_Iran.pdf

« Last Edit: พฤษภาคม 10, 2017, 11:38:36 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
อิหร่าน 60 ข้อที่สะดุด

1. ไม่มีหมูให้กิน มีแต่ไก่ แกะ อูฐ ผัก แป้งที่เป็นแผ่นๆ(แทนข้าว)
2. น้ำมีจำกัด แต่เห็นเขาใช้ไม่รู้สึกว่ามีจำกัด บางเมืองต้องเอาน้ำจากอีกเมืองมาใช้ไกลมาก
3. ทิชชู่ หนามาก
4. น้ำไหลแรง และบางที่ดื่มได้
5. ห้องน้ำเป็นแบบนั่งยองส่วนใหญ่ ไม่มีโถปัสสาวะ
6. ห้องน้ำนิยมเรียกว่า WC
7. อาคารโครงสร้างเหล็กแทนเสาคอนกรีต แต่ก่ออิฐเป็นผนัง
8. ร้านค้าเปิดประมาณ 9.00 น. ปิดประมาณ 12.00-14.00 น. เปิดอีกที่ 14.00 น.เป็นต้นไป ถึงดึก
9. รถไฟใต้ดินแยกโบกี้ชายหญิง
10. มาม่าหากยากมากก แทบพลิกแผ่นดิน
11. อาคารหรือบ้านจะมีชั้นใต้ดินทุกที่
12. พรมเปอร์เซีย พรมปูพื้นคิดว่า ไม่เคยซัก
13. มิเตอร์ประปา เจออันเดียว เดิน 10 วัน ส่วนใหญ่จะเจอแต่ท่อส่งแก๊ส
14. อากาศแห้ง ไม่มีความชื้น ตากถุงเท้า ไม่ทันจะข้ามวันก็แห้ง
15. ออยทาผิว เกือบเอาไม่อยู่ ปากแห้งมากแนะให้เอาลิปมันไปด้วย
16. ไม่ค่อยฉี่ แต่กินน้ำได้เยอะมาก ไม่รู้มันระบายออกไปตอนไหน ยังไง
17. ผลไม้มีรสเข้มข้นมาก ทุกอย่างอร่อย
18. ราคาแท็กซี่ ต้องต่อทุกครั้งอย่างน้อย 30-50%
19. รถยนต์คันเล็กมาก มักไม่ล้าง ห้องโดยสารส่วนใหญ่ ไม่สะอาดและมีรอยขีดรอบคัน
20. ชอบเปิดกระจกรถ และเปิดเพลงฟัง ไม่รู้แยกประสาทยังไง
21. ผู้หญิงมักชอบ แอบเปรี้ยวใต้ผ้าคลุมสีดำ ถ้าเห็นใครทำผมทอง มั่นใจได้เลย
22. ผู้ชายแต่ตัวเรียบร้อย เสื้อแนบในกางเกงตลอด และนิยมใส่เสื้อแขนยาว
23. เสื้อกันหนาวไม่เห็นใส่ แต่ใส่ประเภทเสื้อสูทกันหนาวแทน
24. น้ำดืมขวดราคาไม่แพง ไม่เกิน 10 บาท
25. รุ่นเก่าพูดอังกฤษ
26. ชอบชวนกิน ชอบชวนคุย พาเที่ยว(แต่เราไม่ชอบ)
27. ไอติม แพงมากกก(แต่รสชาติก็เข้มข้นนะ)
28. วิธีรดน้ำต้นไม้ริมถนน จะเปิดน้ำให้ไหลไปในรางต้นไม้เลย
29. ขับรถกันแบบไม่เคารพกฏ แต่ก็ไปได้ 10 วันยังไม่เห็นชนกัน
30. ไม่มีแอลกอฮอล์ขาย ไม่ดูทีวี ชอบไปปิดนิคนอกบ้านกันวันหยุด
31. ตอนเช้าจะพบเจอคนได้น้อยมากๆ จนกว่าจะ 08.00-09.00 น. จะเริ่มมีคนพลุกพล่าน
32. ค่าโรงแรมแพงมาก นอนดรอม ก็ไม่ต่ำกว่าหัวละ 15US
33. อาหารเช้า เป็นแป้ง ผลไม้ ขนมปัง ซึง ก็กินไม่ค่อยได้ ไม่อร่อย
34. ความเร็วอินเตอร์เนตต่ำมาก เฟสเล่นไม่ได้ ถ้าจะเล่นต้องผ่านโปรแกรม VPN อีกที อัพรูปทีเหนื่อย
35. มัสยิด จะเวอร์วังอลังการสุดๆ
36. มีหิมะตกนะประเทศนี้
37. หน้าตาคนจะคล้ายกันมาก ส่วนใหญ่ไม่สูงมาก
38. ผู้ชาย และหญิง จะนิยมทำจมูก คือ เอาลงมันโด่งไป
39. พูดถึงประเทศไทย เขาจะบอกว่า พัทยา ภูเก็ต ไม่รู้มันทำไมจำได้แม่นขนาดนี้ และก็จำแค่ 2 เมืองนี้
40. รถมอไซด์ เหมือนรถยุคคุณพ่อวัยรุ่น
41. ร้านสะดวกซื้อไม่มี
42. เสื้อผ้า ก็ดูเหมือนโบเบ้ ราคาก็แพงอยู่นะ บางร้านมีเกงมวยไทยขาย
43. ในมัสยิด ตั้งขาตั้งกล้องได้ มีแค่บางที่ห้าม
44. เขาคิดว่าผมเป็นแขก มาเลเซีย เลยชอบเข้ามาทัก มาคุย (ทั้งที่ผมผิวขาว)
45. รถบัสข้ามเมือง เป็น VIP มีขนมน้ำแจก เบาะใหญนั่งสบาย แต่ก็จอดเรียกคนเหมือนบ้านเรา แต่ทุกคนแต่งตัวดี เสื้อเน็บใน ผมเรียบ แต่รถก็ไม่ค่อยเต็ม
46. น้ำมันราคาถูก เหมือนจะไม่ถึง 10 บาท
47. ซอย มักจะแคบ พอดีตัวรถ
48. แทกซีเป็นสีเหลือง
49. เห็นแต่โค๊ก ส่วนใหญ่
50. ไม่เห็นคนอิหร่านถือกล้อง ส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวที่ถือกล้อง
51. ไม่ค่อยเห็นตำรวจ ไม่รู้อยู่ไหน
52. ค่าเข้าสถานที่ ส่วนใหญ่ 200 บาท ราคาเดียวทุกที่
53. เบาะรถ เก้าอี้ ไม่นิยมแกะพลาสติกออก
54. สถาปัตยกรรม ดูไกลๆ สวย ดูใกล้ๆ งานหยาบมาก
55. หากสะพายเป้ด้านหลังระวังตกส้วมตอนเข้าห้องน้ำ ตอนหมุนตัว
56. รถไฟใต้ดินขาออก เดินออกไปเลย ไม่ต้องแตะบัตรอะไรให้วุ่นวาย
57. สีเสื้อผ้า ส่วนใหญ่เป็นสีทึมๆ
58. ผู้หญิงจะไม่เข้าใกล้ผุ้ชาย แม้จะเป็นรุ่นป้าก็ตาม
59. มีซีดี หนัง เถื่อนขายเหมือนกัน ไม่พลาดที่ซื้อ mp3 มาด้วย
60. หน้าปกเพลงมีแต่รูปผู้ชาย

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
10 เม.ย. 60 เดินทางด้วยสายการบิน Mahan Air จาก สุวรรณภูมิ-Tehran บินตอน 4 ทุ่ม ใช้เวลา 7.40 ชม.(เวลาช้ากว่ากัน 3 ชม. 30 นาที)
« Last Edit: เมษายน 27, 2017, 09:13:03 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
ก่อนอื่นมาอ่านประวัติย่อๆ กัน การเที่ยวครั้งนี้จะได้สนุกขึ้นนะ

200,000 ปีที่แล้ว มนุษย์โบราณสร้างชุมชนและเครื่องมือหินต่างๆ
12,000 ปีที่แล้ว หลักฐานการเริ่มปลูกข้าว
9,000 ปีที่แล้ว การผลิตไหดินเผาเพื่อบรรจุไวน์ที่โชกามิช
5,000 ปีที่แล้ว ซิกกูแรต(ไม่รู้คือไรเหมือนกัน)แห่งแรกของโลกที่เทเปซิอัก(เนินดินใกล้เมือง Kashan)
4,500 ปีที่แล้ว ชาวอีลาม(Elam) เรื่องสร้างนครซูซา
3,300 ปีที่แล้ว กษัตริย์อุนทุช นาปิริชา(Untash Naporisha) สร้างโชกาซานบิล(Choqa Zabil)
647 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าอัสซูร์บานิปาล(Ashurbanipal) ทำลายซูซา
836 ปีก่อนคริสตกาล ชาวมีดีสสร้างเมืองหลวงที่ เอคบาตานา
559 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าไซรัสมหาราชสถาปนาจักรวรรดิอเคเมนิด ก่อนจะพิชิต มีดีส และ ลีเดีย
500 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าดาริดุสมหาราช สร้างนครเปอร์เซโพลิส และปกครองจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลก
331 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เอาชนะ กองทัพหลวงของเปอร์เซีย
323 ปีก่อนคริสตกาล เซลิวคัส แม่ทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ตั้งราชวงศ์เซลิวซิด
247 ปีก่อนคริสตกาล นักรบพาร์เทียนจากแถบแคสเปียนตั้งราชวงศ์หใม่ขึ้นครองอิหร่าน
100 ปีก่อนคริสตกาล จักรวรรดิพาร์เทียน ครอบครองดินแดนจาดรมันจรดจีน
ค.ศ.25 ราชทูตพาร์เทียนนำสิงโตไปถวายจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่นของจีน
ค.ศ.224 อดาซีร์โค่นอำนาจกษัตริย์พาร์เทียนตั้งราชวงศ์ ซัสซานิด ขึ้นครองอิหร่าน
ค.ศ.260 พระเจ้าซาปูร์ที่ 1 เอาชนะกองทัพโรมัน และจับจักรพรรดิวาเลอเรียน เป็นเฉลยศึก
ค.ศ. 637 นักรบมุสลิม เข้าทำลายนครหลวงเทซิฟอนของราชวงศ์ซัสซานิด
ค.ศ. 331-750 กาหลิบวงศ์อุมัยหยัด ปกครองตะวันออกลางจากนครดามัสกัส
ค.ศ. 820-900 ราชวงศ์ท้องถิ่นในอิหร่านแยกตัวจากกาหลิบวงศ์อับบาสิด
ค.ศ. 1051 พวกเซลจุกจากเอเซียกลางเข้าปกครองอิหร่าน
ค.ศ. 1256 ฮูลากู หลานเจงกิสข่าน ทำลายพวกอับบาสิด ตั้งราชวงศ์อิลข่าน
ค.ศ. 1271-1295 มาร์โค โปโล เดินทางผ่าน ตาบริช คาซาน ยาซด และฮอร์มุช
ค.ศ. 1389 ติมูร์ หรือ ทาเมอร์เลน จากอุสเบกิสถาน ปกครองอิหร่าน
ค.ศ. 1501 อิสมาอิล ซาฟาวี ตั้งราชวงศ์ซาฟาวิด ทำสงครามกับ ออตโตมันและอุสเบก
ค.ศ. 1587 พระเจ้าอับบาสมหาราช ปกครองจักรวรรดิ ซาฟาวิดจากนครหลวง อิสฟาฮาน
ค.ศ. 1738 ขุนศึกนาเดิร์ซาห์ รบชนะกษัตริย์อินเดียได้เพชรและสมบัติล้ำค่า กลับมาจำนวนมาก
ค.ศ. 1750 การิมข่านย้ายเมืองหลวง ไปชิราช และปกครองในนามข้าหลวง
ค.ศ. 1794 อกา โมฮัมหมัด ตั้งราชวงศ์กาจาร์ ขึ้นครองอิหร่าน โดยมีเตหะรานเป็นเหมืองหลวง
ค.ศ. 1848-1896 รัชสมัยของนาเซอร์ อัล-ดิน ซาห์ กษัตริย์นักปฏิรูป
ค.ศ. 1906 การปฏิวัติที่นำไปสู่การยอมรับ รัฐธรรมนูญ อิหร่านมีรัฐสภา
ค.ศ. 1925 เรซาข่านนำกองทัพเข้ายึดอำนาจปิดฉากยุคราชวงศ์กาจาร์ และเริ่มต้นราชวงศ์ปาห์เลวี
ค.ศ. 1951 การยิดกิจการน้ำมันทั้งหมดให้ตกเป็นของรัฐ
ค.ศ. 1978-1979 ความปั่นป่วนทางการเมือง โมฮัมหมัด เรซาซาห์ ปาห์เลวี กษัตริย์สุดท้ายหนีออกจากอิหร่านวันที่ 16 มกราคม
ค.ศ. 1979 อยาดุลเลาะห์โคมัยนี เดินทางกลับถึงเตหะรานในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ก่อนจะเปลี่ยนอิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลาม
ค.ศ. 1980-1988 สงครามอิรัก-อิหร่าน ที่มีผู้เสียชีวิตเกือบล้านคน
ค.ศ. 1989 อยาตุลเลาะห์ อาลี คาเมใน(Ayatollah Ali Khamenei) เป็นผู้นำสูงสุดหลังมรณกรรมของอิหม่ามโคมัยนี ชาวอิหร่านเรียนขานท่านในฐานะ อิหม่าม หรือ นักบุญ

ที่มา IRAN The Crossroads Civilization จุดบรรจบอารยธรรมโลก
ผู้จัดทำ KTC guidezine wongklom journey
« Last Edit: เมษายน 27, 2017, 10:21:23 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
11 เม.ย. 60 ถึง Tehran ทำวีซ่า กับประกัน(ทำที่สนามบิน) เดินทางไปที่พักที่ได้จองไว้แล้ว (Persian Hostel)
                  - Golestan Palace พระราชวัง
                  - Tehran Bazaar ตลาด
                  - National Jewels Museum (ไม่ได้เที่ยวเพราะปิด เนื่องจากเป็นวัน Father day)
                  - Tabiat Bridge(ไม่ได้ไป)
                  - Milad Tower ดูมุมสูงเมือง Tehran

เขาบอกว่า อยากดูอิหร่านสมัยใหม่ ที่ Tehran จะเป็นตัวแทนได้เป็นอย่างดี เมืองนี้อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1200 ม. มีประชากรเกือบ 20 ล้านคน ที่เห็นหลังภาพคือ เทือกเขาอัลบอร์ซ(Alborz)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
ถึง Tehran ทำวีซ่า กับประกัน(ทำที่สนามบิน) เดินทางไปที่พักที่ได้จองไว้แล้ว (Persian Hostel) เป็นแบบ Drom ก็แคบๆ พออยู่ได้ ห้องน้ำสะอาดอยู่ ที่สำคัญอยู่ใกล้สถานีรถไฟใต้ดิน ทำให้เดินทางไปไหน มาไหน สะดวกมาก
ราคา Drom หัวละ 15us ส่วน Private room 45us(ไม่รู้มีกี่เตียง)
« Last Edit: เมษายน 28, 2017, 09:50:41 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
อยู่ใกล้สถานี Shahid Mofateh Metro Station เดินประมาณ 2 นาทีก็ถึง

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
ค่ารถไฟใต้ดิน 7 บาทตลอดสาย แตะบัตรขาเข้า ขาออกเดินออกเลย

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
เข้าไปก็จะกลายเป็นตัวประหลาดทันที ทุกสายตาจะจ้องมาที่เราทันที ถ้ามาคนเดียวคงจะเขินมาก โบกี้แยกชายหญิง ถ้าหญิงจะขึ้นโบกี้ชาย ต้องมีคนไปด้วย

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
สัญลักษณ์รถไฟใต้ดินบ้านเขา และตั๋วรถไฟ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
เรามาถึง โรงแรมเช้ามากประมาณ 07.00 น. ประตูก็ปิด จนพี่แทกซี่ต้องเตะประตู ให้เสียงดังจึงมีคนมาเปิดให้ มารู้ตอนหลังคนที่นี่เหมือนจะเริ่มทำงานกันสายๆ ไม่เหมือนบ้านเรา เข้ามาได้ก็ฝากกระเป๋าไว้ก่อนเพราะ เช็คอินได้บ่ายสอง รออะไร ก็ไปเที่ยวก่อนสิ หน้าตาพี่แทกซี่ ดูดีเชียวนะลุง

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
ก็นั่งรถไฟใต้ดินไปเที่ยว World Heritage site of Golestan Palace พระราชวังสวนกุหลาบ ถ้าจำไม่ผิดจะลงที่สถานี Panzdah Khordad Metro Station

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
แต่เปิด 09.00 น. จึงไปเดิน Bazaar หาข้าวกินก่อน หายากมาก สอบถามคนแถวนั้นบอกว่าเป็นวันพ่อเขาจะหยุดหมด เวงงงง เดินหาตั้งนานก็มาเจอร้านนึง หน้าตาอาหารเป็นแบบนี้ เรียกไม่ถูก แต่รสชาติไม่ต้องพูดถึง

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
เงียบป่ะละ

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
พระราชวังเปิดแระ ไปเที่ยวดีกว่า เขาเปิด 09.00-16.00 น. เปิด ศุกร์-เสาร์ กับ จันทร์-พุธ ค่าเข้าแยกตามอาคาร
พระราชวังแห่งนี้ คือ อนุสรณ์สถานความรุ่งเรืองเฟื่องฟุ้ง ของราชวงศ์กาจาร์เมื่อ 200 กว่าปีที่แล้ว

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
ห้องสำคัญๆ มีตัวอย่างให้ดู

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
เดินตามที่แผนที่แนะนำเลย มาดู อันแรกกัน Iwan-e Takht-e marmar(Marble Throne Terrace) บัลลังก์หินอ่อน

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
ภายใต้ผ้าม่านเป็นแบบนี้

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
เดินวนทวนเข็ม สถาปัตย์ประเทศนี้ นิยมทำแบบสมมาตรกันน่ะ อันต่อไป Khalvat-e Karim Khai เป็นที่ประทับของการิมข่าน ตรงระเบียงด้านข้างเปิดออกสู่สวน เป็นมุมพระสำราญที่สูบมอระกู่ของพระเจ้านาเซอร์ อัล-ดินซาห์(Naser al-din Shah) โดยมีเสียงน้ำพุจากหินอ่อนขับกล่อม

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
มาดูด้านในกัน ฟิตอายถึงจะเอาอยู่นะ วายไม่พอ