Author Topic: หลักการถ่ายให้ฉากหลังขาว เบื้องต้น  (Read 12676 times)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
ถ่ายฉากหลังให้ขาว

ลอกมาจากบางส่วนของ คอลัมน์ Lighting Conner ตอน Basic Natural Lighting Control
นิตยสาร Dramatic Photoart Issue 04 หนังสือเพื่อคนรักถ่ายภาพ อย่างมีศิลปะ อ.ไม้หลัก
โดย สามเกลอหัวแข็ง
ภาพ นัฐวุฒิ แสงทอง

พิมพ์โดย Hikingthai.com

เคยมีปัญหาเรื่องการถ่ายยังไงๆ ฉากหลังก็ไม่ขาวไหม เขาบอกว่าทำอย่างงี้นะครับ

1. หาสถานที่ที่มีแสงพอเหมาะ เริ่มต้นง่ายๆ กับการมองหาสภาพแวดล้อมที่มีแสงจากธรรมชาติ คอยเป็นตัวช่วยเราอยู่ อาจจะเป็นโต๊ะ ที่ตั้งอยู่ริมหน้าต่างที่แสงสาดเข้ามาบริเวณที่เราจะตั้งตัวแบบ หรือที่เราเรียกว่า Window Light ซึ่งการถ่ายภาพครั้งนี้ได้ตั้งตัวแบบเอาไว้ในร่มใต้หลังค่า แสงจึงสาดเข้ามาไม่แรงมาก เป็นแสงนุ่มๆ เพื่อป้องกันการเกิดเงาแข็งชัดเจน

การวางระนาบของกล้องนั้นควรวางในระนาบที่ไม่ทำให้สิ่งที่เรากำลังจะถ่ายเสียรูปทรงจนบิดเบี้ยว แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของชิ้นงานที่ได้รับมาด้วย ส่วนสีของตัวแบบขอลองฝึกเป็นโทนสีอ่อนๆ โดยเลือกพื้นหลังที่เป็นสีขาวหรือถ้าไม่มีก็จัดหาตัวช่วยอื่นๆ เช่น กระดาษ A4 สีขาว หรือ ผ้าสีขาว แล้ววางวัตถุที่ต้องการจัดถ่ายให้ได้ตามมุมที่ต้องการ

เลนส์ที่เราใช้นั้น ขึ้ยอยู่กับขนาดของพื้นที่ ขนาดตัวแบบ และระยะห่างของเรากับตัวแบบด้วย ในตัวอย่างนี้ใช้เลนส์ 105mm (มาโคร) เพื่อเก็บรายละเอียดบนตัวของสินค้าและขนาดของตัวแบบไม่เล็กเกินไปนัก สำหรับกล้องที่เป็นรุ่นใหญ่ๆ ต้องแอบกระชิบบอกเอาไว้สักนิดว่าก่อนจะลงมือถ่ายภาพให้เปิดคำสั่งลดขอบดำ(Vignette) ในกล้องเสียก่อนก็จะดีมากเพราะงานนี้เราต้องการภาพใสๆ สว่างๆ

Picture Style จะใช้เป็น Standard ไม่ปรับค่าอะไรเลยในนั้นเลย เพื่อให้ภาพมี Contrast น้อย และป้องกันความเมื่อยมาเยือน ท่านอาจใช้ขาตั้งก็ได้ครับ เพราะการถ่ายภาพครั้งนี้ใช้มุมเดียวกัน เปลี่ยนเฉพาะค่าตั้งกล้องเท่านั้น

2.วัดแสงโดยการหาค่าแสงที่ตัวแบบก่อน อันดับแรก คือ การห่าค่าแสงที่ตัวแบบในที่นี้เราจะถ่ายภาพด้วยการวัดแสงแบบเฉพาะจุด(Spot) เพื่อให้สามารถควบคุมแสงได้ง่ายกว่า และสะดวกกว่าแบบอื่น ใช้โหมด M หรือ Manual ในการถ่ายภาพเพื่อให้เราสามารถควบคุมความเร็วชัตเตอร์ และค่ารูรับแสงเองทั้งหมด

3.ขยับจุดวัดแสงไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ค่าที่พอใจ เรามาลุยกันต่อเลย ขั้นตอนนี้เราต้องการให้ภาพที่ขุ่นๆ กลับสว่างขึ้น ด้วยการใช้ค่าแสงที่จุดอื่นที่มีอยู่บนตัวแบบนำมาถ่าย โดยค่อยๆ ขยับจุดโฟกัสของเราไปในส่วนที่มีความมืดมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่า Scale แสงติดลบให้เราปรับลดค่า Speed Shutter ลงจน Scale แสงที่ติดลบกลับมาอยู่ที่ตรงกลางเหมือนเดิม โฟกัสและลองถ่ายใหม่อีกครั้ง หากภาพยังไม่ได้โทนที่ต้องการ ให้ทำซ้ำโดยการขยับจุดโฟกัสเพื่อหาค่าแสงที่มืดลงไปเรื่อยๆ แล้วลองถ่ายภาพดู หรือดูที่ค่า Histogram ประกอบจะทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น หากค่า Histogram ที่ได้เบ้ไปทางขวา จนติดขอบนั่นหมายถึงจุดสิ้นสุดการทำฉากหลังให้ขาวโพลนนั่นเอง แล้วเราค่อยมาเริ่มดึงรายละเอียดของตัวแบบต่อไป

« Last Edit: เมษายน 12, 2016, 01:07:15 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: ถ่ายฉากหลังขาว
« Reply #1 on: เมษายน 12, 2016, 11:54:53 am »
4.การยืมแสงนอกตัวแบบ หากเราวัดแสงบนตัวแบบจนทั่วแล้ว แต่ภาพโดยรวมที่ได้ยังไม่สว่างหรือขาวเท่าที่ต้องการ ถึงคราวที่เราจะต้องยืมแสงจากนอกตัวแบบ โดยลองมองหาแสงรอบๆ ตัวที่มืดกว่า แล้วลองวัดแสงดู สังเกตค่า Scale จะเลื่อนไปทาง under หาจุดวัดแสงที่มีค่าประมาณ -1Stop แล้วปรับค่า Speed Shutter ลงมาให้ Scale แสงกลับมาอยู่ตรงกลางเช่นเดิม แล้วลองถ่ายภาพดู จะเห็นว่าภาพสว่างขึ้นและให้เราปรับ Speed Shutter ลงมาอีก -1 Stop จนได้ภาพที่ฉากหลังขาวสว่างจ้า และกินรายละเอียดของสินค้าไปด้วย ทีนี้จะทำอย่างไรต่อล่ะ

5. ดึงรายละเอียดตัวแบบกลับคืนมา เมื่อเราได้ฉากหลังที่ขาวสมใจอยากแล้ว แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาคือแสงที่ Over นั้นกินเข้าไปที่ตัวแบบด้วย ทำให้รายละเอียดบนตัวแบบหายไป วิธีกู้รายละเอียดกลับคืนมาก ก็โดยการปรับค่ารูปรับแสงหรือ f-stop ให้แคบลงทีละ 0.3 stop เพื่อค่อยๆ ดึงรายละเอียดของตัวแบบกลับมา ตามภาพจะเห็นได้ว่ารายละเอียดของตัวแบบกลับคืนมาแล้ว และไม่กระทบฉากหลังมากนัก

*** ท่านคงสงสัยว่าทำไมไม่ปรับ Speed Shutter เพื่อกู้รายละเอียดล่ะ คำตาอบคือ ค่า Speed Shutter จะมีผลกับแสงทั้งภาพ แต่จะเริ่มที่ฉากหลังก่อนแล้วจึงมาที่ตัวแบบและส่งผลต่อตัวแบบเพียงเล็กน้อย ส่วนค่ารูรับแสง จะส่งผลต่อสภาพแสงที่ฉากหน้าหรือตัวแบบและระยะชัดลึกโดยที่ฉากหลังไม่กระทบมากนัก เราจึงเลือกปรับที่ค่ารูรับแสงแทน เพื่อกู้รายละเอียดเฉพาะตัวแบบกลับคืนมาก่อน ซึ่งอาจมีผลต่อฉากหลังบ้างแต่ไม่มากนัก

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Re: ถ่ายฉากหลังขาว
« Reply #2 on: เมษายน 12, 2016, 11:56:15 am »
ภาพที่ได้จากล้องภาพสุดท้าย จากการปรับค่ารูรับแสงทีละ 0.3 Stop มาสิ้นสุดที่ f/6.3 จนสามารถกู้รายละเอียดของตัวแบบกลับมาครบ และฉากหลังสีขาวมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแสงธรรมชาติที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงการถ่ายภาพ ฉากหลังสีขาวที่นำมาใช้ และการปรับตั้งค่า White Balance อาทำให้มีสีหลงเหลือปะปนอยู่

6.ปรับแต่งคุณภาพไฟล์เพิ่มเติมด้วยโปรแกรมแต่งภาพ หลังจากที่ได้ภาพของตัวแบบและวัตถุที่ขาวจนเป็นที่พอใจแล้วเพื่อให้งานดูเรียบร้อยมากขึ้นและพร้อมนำไปใช้งาน เราอาจจะเก็บรายละเอียดของงานในโปรแกรมตกแต่งภาพต่อได้ โดยการลบสีที่ไม่สม่ำเสมอหรือฉากหลังที่เป็นรอยด่างออกไป อาจจะปรับเพิ่มความสะว่างของภาพขึ้นอีกนิดหน่อยก็ได้ไม่ว่ากัน เพียงแต่ระวังอย่าให้แสงมากจนรายละเอียดของตัวแบบหายไปด้วยเท่านั้นเองครับ

เพียงเท่านี้เราก็ได้ภาพโทนสว่างๆ จากการถ่ายภาพด้วยแสงธรรมชาติมาใช้งานแล้ว ในการฝึกถ่ายภาพและการปรับตั้งค่ากล้องเพื่อให้ได้ภาพโทนสว่างครั้งนี้ เพียงเพื่อให้เราได้จึกษาและเข้าใจสภาพแสงเบื้องต้นในแง่มุมต่างๆ หากเราต้องไปเจอกับงานจริงๆ เช่น ถ่ายภาพสาวๆ ท่ามกลางธรรมชาติให้ออกโทนสว่างๆ สดใส จะได้เข้าใจว่าควรเริ่มต้นที่ตรงไหนก่อนนั่นเอง

ขอบคุณผู้เขียนที่เขียนมาให้อ่านนะครับ และขอบคุณที่เข้ามาอ่าน
Hikingthai.com

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
สรุปหลักการก็คือ
1.หา Speed Shutter ที่เหมาะสมของฉากหลังที่ทำให้ขาวสว่างจนเป็นที่พอใจเป็นอันดับแรก ล็อค f ไว้ที่ต้องการ(อาจจะเผื่อไว้ เช่น จริงๆ ต้องการ f/8 อาจจะตั้งไว้ที่ f/11 ก่อนเผื่อไว้ตอนปรับในข้อ 2) ทดไว้ในใจก่อน
2.หา f เหมาะสมที่ทำให้ฉากหน้าสว่างพอดี คือปรับไปเรื่อยๆ (speed shutter คงที่ตามข้อ 1) แต่ปัญหาคือ f อาจจะไม่ได้ตามต้องการตามข้อ 1 คือ f/8 ตามที่เขาเขียน เขาก็แนะนำให้หาฉากใหม่( เขาทำในแสงธรรมชาติน่ะครับ) แต่ถ้าเราไม่หา เราก็ต้องหาแสงมาเพิ่มเอง จัดตามหลักการจัดแสง

*** ตามเหตุผลที่เขาใด้ให้ไว้ *** ท่านคงสงสัยว่าทำไมไม่ปรับ Speed Shutter เพื่อกู้รายละเอียดล่ะ คำตาอบคือ ค่า Speed Shutter จะมีผลกับแสงทั้งภาพ แต่จะเริ่มที่ฉากหลังก่อนแล้วจึงมาที่ตัวแบบและส่งผลต่อตัวแบบเพียงเล็กน้อย ส่วนค่ารูรับแสง จะส่งผลต่อสภาพแสงที่ฉากหน้าหรือตัวแบบและระยะชัดลึกโดยที่ฉากหลังไม่กระทบมากนัก เราจึงเลือกปรับที่ค่ารูรับแสงแทน เพื่อกู้รายละเอียดเฉพาะตัวแบบกลับคืนมาก่อน ซึ่งอาจมีผลต่อฉากหลังบ้างแต่ไม่มากนัก

น่าจะแบบนี้นะครับ
 ;D ;D ;D
« Last Edit: เมษายน 16, 2016, 05:54:34 pm by designbydx »

Offline nicemagic

  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
 :) :) ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ค่ะ
หลังขาวขึ้นได้ดังใจ ขึ้นอีกเยอะ
 ;D ;D