Author Topic: Black and White เทคนิคเนรมิตภาพถ่ายไสตล์ขาวดำ  (Read 14777 times)

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
Black and White เทคนิคเนรมิตภาพถ่ายไสตล์ขาวดำ
เขียนโดย John Batdorff
แปลโดย นิพัทธ์ ไพบูลย์พรพงศ์
สรุปโดย Hikingthai.com
« Last Edit: เมษายน 08, 2016, 06:06:01 am by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
การถ่ายภาพก็ใช้หลักการทั่วไป แต่สำหรับภาพขาวดำ ถามว่า ภาพแบบไหนควรเป็นขาวดำ เมื่อไหร่ควรถ่ายเป็นขาวดำ แสงแบบไหน ฯลฯ???
1.   เมื่อไหร่ควรถ่ายเป็นขาวดำ ในหนังสือบอกว่า “เมื่อไหร่ควรแปลงภาพหนึ่งให้เป็นสีต่างหาก” เขาบอกว่าภาพขาวดำเป็นภาพที่ให้ความรู้สึกไร้กาลเวลา เป็นอิสระ ภาพขาวดำที่ดีต้องมีน้ำหนักคอนทราสต์ที่เต็มไปด้วยพลัง นอกจากนี้พื้นผิวที่มีรายละเอียดมากๆ เส้นสายที่ดูแรง รูปทรง หรือลวดลายต่างๆ ก็มีส่วนช่วยให้เกิดเป็นภาพขาวดำที่น่าสนใจได้

ตารางที่เขาแนะนำความเร็วชัตเตอร์ที่สัมพันธ์กับระยะเลนส์ ที่ใช้มือถือกล้องถ่ายได้โดยไม่สั่นเบลอ
« Last Edit: กันยายน 26, 2016, 02:29:53 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
2.   ความเข้าใจเกี่ยวกับสี ปกติองค์ประกอบจะมี 3 ส่วนได้แก่ Hue-สีสัน, Saturation-ความสด, Lightness-ความสว่าง สรุปสั้นๆ ง่ายๆ คือ ภาพที่ทำให้ขาวดำสวยๆ ต้องคอนทราสต์สูง ซึ่งหมายความว่า Saturation กับ Lightness มีความสำคัญเนื่องจากมีผลต่อคอนทราสต์ ส่วน Hue ไม่มีผล ดูจากวงล้อสีได้เปรียบเทียบเองนะ อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน 555

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
3.   น้ำหนักของ คอนทราสต์ แบ่งได้เป็น 3 ระดับ สูง ธรรมดา และต่ำ พื้นที่มีน้ำหนักคอนทราสต์สูงจะมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นขาวและดำ มีสวนที่เป็นสีเทาน้อยมาก และมีฮิสโตแกรมเป็นรูปทรงตัว U ขนาดใหญ่
« Last Edit: กันยายน 27, 2016, 02:45:17 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
ฮีสโตแกรมที่เป็นตัว U
« Last Edit: กันยายน 27, 2016, 02:45:33 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
4.   ทำอย่างไรจะให้มองเห็นคอนทราสต์ และฮีสโตแกรม ได้ง่ายๆ แนะนำว่า ตั้งกล้องถ่ายเป็น RAW และปรับเป็นแบบ Monochrome
5.    วิธีอ่านฮิสโตแกรม ฮิสโตแกรมคือการนำเสนอภาพของคุณในรูปแบบ 2 มิติ โดยใช้กราฟฮิสโตแกรมที่คุณต้องให้ความสนใจคือ ฮิสโตแกรมแบบที่แสดงระดับความสะว่าง(Luminance) ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับประเมินการเปิดรับแสง ในภาพที่ 3.7 จะเป็นภาพเหมือนภูเขา แสดงว่าช่วงโทนน้ำหนักทั้งหมดที่กล้อสามารถบันทึกได้ตั้งแต่ขาวที่ขาวที่สุด จนถึงดำที่ดำที่สุด ด้านซ้ายเป็นฝั่งของสีดำ ส่วนอีกด้านตรงข้ามจะเป็นฝั่งของสีขาว จุดสูงสุดต่างๆ คือจำนวนพิกเซลต่างๆ ที่มีค่าความสว่างเหล่านั้น(ยอดสูงตรงกลางมีความหมายว่า ภาพของคุณมีพิกเซลที่สว่างปานกลางอยู่เป็นจำนวนมาก)

เวลาดูภาพอย่างเดียว อยากที่จะบอกได้ว่าช่วงของความสว่างและมืดต่างๆ มีอยู่ที่บริเวณไหนบ้าง แต่ถ้าดูที่ฮิสโตแกรม คุณจะเห็นว่าจุดสูงสุดของกราฟอยู่ตรงกลาง และค่อยๆ ลาดลงไปจรดขอบทั้งสองข้าง ภาพส่วนใหญ่ของคุณควรมีฮิสโตแกรมลักษณะนี้ เพราะมันแสดงให้เห็นว่า คุณบันทึกช่วงโทนน้ำหนักลงในภาพได้ทั้งหมด ตั้งแต่ส่วนที่มืดจนถึงส่วนที่สว่าง

ข้อมูลนี้นอกจากจะมีไว้ให้คุณรับทราบเฉยๆ แล้ว ยังมีประโยชน์ด้วย การมีฮิสโตแกรมที่มีจุดยอดอยู่ชิดซ้าย หรือขวา นั่นหมายความว่ามีการสูญเสียรายละเอียด(หรือที่เรียกกันว่า Clipping) ในภาพของคุณ โดยคุณกำลัง พยายามบันทึกค่าที่มืดหรือสว่างกันกว่าที่เซ็นเซอร์จะทำได้อย่างถูกต้อง ซึ่งปกติแล้วมักจะบ่งบอกว่าภาพนั้นมีการเปิดรับแสงที่โอเวอร์หรือไม่ก็อันเดอร์ และยังหมายความด้วยว่า คุณจะต้องปรับแก้ค่าเปิดรับแสงเพื่อที่รายละเอียดสำคัญๆ จะได้ไม่ถูกบันทึกพิเซลดำทึบหรือขาวทึบ (อันเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีการสูญเสียรายละเอียด)

แต่อย่างไรก็ดีบางครั้งการมี Clipping บ้างก็เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ถ้าคุณกำลังถ่ายภาพฉากฉากหนึ่งที่มีดวงอาทิตย์อยู่ในเฟรม ก็คาดได้เลยว่าจะเกิด Clipping ไม่มากก็น้อย เนื่องจากดวงอาทิตย์นั้นสว่างเกินกว่าที่จะมีรายละเอียดจริงๆ และในทำนองเดียวกัน ถ้าคุณกำลังถ่ายอะไรบางอย่างที่มืดสนิท ก็จะมีสีดำสนิทที่ไม่มีรายละเอียดอะไร จุดมุ่งหมายหลักในที่นี้อยู่ที่การทำให้แน่ใจว่า คุณไม่ได้สูญเสียรายละเอียดที่มีความสำคัญกับภาพ ซึ่งนั้นก็สามารถทำได้ด้วยการคอยตรวจฮิสโตแกรมของคุณ

ภาพที่ 3.8ฮิสโตแกรมที่อยู่ในภาพแบบที่มีลักษณะเทไปทางฝั่งซ้ายอย่างรุนแรง แทบไม่มีส่วนไหนแตะฝั่งขวาเลย นี่เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับฮิสโตแกรมของภาพที่ถ่ายมาอันเดอร์ และอีกภาพเป็นการถ่ายภาพที่เก็บรายละเอียดได้ครบถูกต้อง

6. การอ่าน Histogram ช่วยได้เยอะนะ สำหรับคนถ่าย Raw เพราะไม่ได้ต้องการสวยหลังกล้อง แต่จบหลังคอมแทน จึงต้องเก็บรายละเอียดให้มาให้มากที่สุด จริงๆ เขาบอกว่าให้เก็บแบบปริ่มๆ เกือบล้น กราฟจะเทไปด้านขวามากๆ ให้สุดๆชิดขอบเลย แต่ห้ามเกินนะครับ ด้วยเหตุผลที่ว่าการดึงรายละเอียดจากสว่างให้มืดทำได้ดีกว่า การดึงจากมืดให้ไปสว่าง
« Last Edit: กันยายน 27, 2016, 03:33:29 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
6.   การใช้ฟิลเตอร์ชนิดต่างๆ จุดประสงค์หลักก็คือจะควบคุมคอนทราสต์เพิ่มมากขึ้น แต่ว่าจะเลือกให้อันไหน สีอะไรชุดฟิลเตอร์ จะมีสีด แดง,เหลือง,เขียว และส้ม พวกมันทำงานโดยการซึมซับแสงและทำให้สีต่างๆ ที่ใกล้เคียงมันดูสว่างขึ้น ในขณะสีอื่นๆ จะถูกทำให้มืดลง ฟิลเตอร์ที่มีสีอ่อนจะมีผลกับเพียงเล็กน้อย ส่วนสีเข้มจะให้ผลที่รุนแรงกว่า แต่ปัจจุบันเราจะให้ฟิลเตอร์ดิจิตอลแล้ว อย่างเช่นปลั๊กอิน silver Efex Pro จึงมักไม่ค่อยใช้ฟิลเตอร์ตอนถ่ายแล้ว
***อยากให้สีอะไรสว่างขึ้นในภาพ ก็ใสฟิลเตอร์ สีนั้น สีอื่นๆ ก็จะมืดและเข้มเอง
*** ภาพที่แสดงต่อข้างล่างที่เป็นขาวดำเป็นผลลัพธ์จากการใช้โปรแกรม silver Efex Pro

ตัวอย่าง ฟิลเตอร์สีส้ม ดูดซับสีน้ำเงิน และน้ำเงินเขียว ช่วยทำให้เกิดคอนทราสต์ในภาพทิวทัศน์ต่างๆ
« Last Edit: กันยายน 28, 2016, 03:39:36 pm by designbydx »

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
ตัวอย่าง ฟิลเตอร์สีิดง ทำงานด้วยการดูดซับสีน้ำเงิน/เขียว และทำให้ผิวสว่างขึ้น

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
ฟิลเตอร์สีเหลือง ดูดซับสีน้ำเงิน และจะทำให้ท้องฟ้า และหญ้าสีเขียวดูเข้มขึ้น ในขณะที่อะไรก็ตามที่เป็นสีเหลืองจะสว่างขึ้น

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
7.   คำแนะนำ

สำหรับถ่ายภาพวิว
7.1 ใช้ iso ต่ำ
7.2 ปิดกันสั่น
7.3 ล็อคกระจก หากใช้ Mirrorless ไม่ต้อง
7.4 Manual Focus

สำหรับภาพ Portrait
7.5 เขาบอกว่าเทคนนิคการถ่ายไม่ได้มีอะไรมากเท่ากับ ตัวแบบที่เราจะต้องทำให้เขาไว้ใจว่าเราจะถ่ายภาพออกมาแล้วดูดีที่สุด แบบจะได้ผ่อนคลาย แสดงออกได้เต็มที่ พูดคุย บอกจุดเด่น เสน่ห์ของแบบเป็นต้น
7.6 ใช้ทางยาวโฟกัส 50-85 มม.
7.7 หลีกเลี่ยงฉากหลังที่ยุ่งๆ หรือวัตถุประหลาดๆ ที่ดูแล้วเหมือนงอกออกจากหัว
7.8 ระยะชัดลึก 2.8-5.5 เพื่อให้ฉากหลังนุ่มๆ และหน้าตา และดวงตาจะได้เด่นๆ
7.9 การโปรเซสภาพ จะเลื่อน Clarity ใน Lightroom ให้ต่ำลงเพื่อให้มีโทนผิวนุ่ม

สำหรับภาพบอกเรื่องราว
7.10 มองหาภาพที่บอกเรื่องราวได้ในภาพเดียว
7.11 บันทึกข้อมูลของสถานที่รอบข้างและผู้คนด้วย
7.12 มองให้ออกว่าเรื่องราวที่แท้จริงคืออะไร เพราะมันอาจจะไม่เหมือนที่เราคิดไว้ก็ได้ เราจะสื่อด้วยภาพออกมาได้อย่างถูกต้อง

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
แทรกนิดนึง บทความเรื่อง

Digital Black and White Photo ภาพขาว-ดำ ระบบดิจิตอล(ภาคสมบูรณ์)
โดย : Somchai Suriyasataporn


http://www.cameraeyes.net/home/index.php/articles/128-digital-black-and-white-photo

Offline designbydx

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
    • View Profile
มาดูของอีกคนแนะนำ

John Batdorff

จากหนังสือ
Composition ถ่ายภาพให้เฉียบสวย ด้วยองค์ประกอบศิลป์
เขียนโดย Laurie Excell, John Batdorff, David Brommer, Rick Rickman and Steve Simon
แปลโดย สุวัฒน์ สุขไทย

บท ภาพขาว ดำ

เมื่อใดควรเปลี่ยภาพเป็นขาวดำ
คนเขียนเขาคุ้นเคยการอ่านหนังสือพิมพ์ที่เป็นขาวดำมาตั้งแต่เด็ก ทำให้คุ้นเคยภาพขาวดำมากกว่าภาพสี แสดงว่า เมื่อเรามองภาพก็ให้มองเป็นขาวดำเลย ยากจัง

เรียนรู้ที่จะอยู่และมองดูโลกในแบบขาวดำ
เขาบอกว่าเขาจะไม่ใส่ใจสีสักเท่าไร จะถอดสีออกไปจากหัว และวาดภาพจินตนาการตามความเข้มของภาพแทน การมองแบบนี้ต้องอาศัยการฝึกฝนประจำ นอกจากจะใช้กับภาพขาวดำแล้ว เทคนิคนี้ก็ยังใช้ภับภาพสีได้เช่นกัน ภาพขาวดำจะทำให้คุณหลุดพ้นจากองค์ประกอบสำคัญอย่างสี แล้วมุ่งไปยังองค์ประกอบอื่นที่มีผลต่อความรู้สึกนึดคิดการมองภาพมากกว่า

1.ระดับคอนทราสต์ แบ่งได้ 3 ระดับ สูง ปานกลาง และต่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่มีคอนทราสต์สูง ขาวก็ขาว ดำก็ดำ ไปเลย หลักสำคัญพยายามเลี่ยงสีที่มีความเข้มใกล้เคียงกัน เช่น ถ้าถ่ายภาพกุหลาบมีแดงเข้ม ที่อยู่หน้าใบไม้สีเขียวเข้ม พอเปลี่ยนเป็นภาพขาวดำจะดูไม่สวยเลยเวลาที่คุณจะเรียนรู้ที่จะมองเป็นภาพขาวดำนั้น ให้ฝึกมองโดยแยกแยะความหลากหลายของแต่ละโทนสี แทนที่จะไปใส่ใจกับความหลากหลายของสีสรร
2. พื้นผิว นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเพิ่มมิตอให้กับภาพ และทำให้ภาพขาวดำมีชีวิต เวลาที่คุณกำลังเล่นกับพื้นผิว แนะนำให้คุณทำงานกับพื้นผิวที่มีคอนทราสต์จัดๆ ภาพจะได้ดูพิเศษและเด่นสะดุดตา
3. แสง ช่วงเวลานาทีทองคือ ช่วงไม่กี่ชั่วโมงของแสงแรก และแสงสุดท้ายของวัน เป็นช่วงที่สดีสำหรับการถ่ายภาพที่มีพื้นผิวเข้ามาเกี่ยวข้อง อยางถ้าเราตั้งใจถ่ายภาพในสถานที่ที่เต็มไปด้วยพื้นผิวอย่าง เช่น ทุ่งข้าวสาลี บนเนินเขาที่ม้วนตัวขึ้นลงละก็พยายามถ่ายภาพในช่วงเวลานาทีทองให้จงได้  นอกจากนี้แสงแบบนี้ก็ใช้ถ่ายภาพพอร์ตเทรตก็ดูสวยไม่แพ้กัน
4. รูปทรงและลวดลาย เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ พอกับพื้นผิวเลยก็ว่าได้ สังเกตได้จากรูปร่าง เส้นนำสายตา และลวดลายที่เกิดขึ้นซ้ำๆ สิ่งนี้จะส่งผลต่อภาพถ่ายอย่างยิ่งเวลาที่คุณมองหาทิวทัศน์สำหรับถ่ายภาพแบบขาวดำ
5. ภาพบุคคล  สรุปๆ นะครับปกติคนจะแต่งตัวอ้วยสีสรรหลากหลาย แต่เมื่อภาพสีถูกถอดออกจะเหลือแต่ขาวดำ ดังนั้นมันจึงทำให้หน้าตาคนดูเด่นขึ้นมาได้ ประมาณนี้
6. ภาพทิวทัศน์ สรุปๆ ก็คือเวลาที่มีสภาพอากาศเลวร้าย ควรไปถ่ายเพราะว่าจะมีลาดลาย มีความน่าสนใจมากกว่าสภาพอากาศปกติ

จบ


« Last Edit: กันยายน 10, 2018, 10:42:13 am by designbydx »