Hiking Thai

Hiking Thai => เที่ยวเมืองไทย..ยังไม่ไปก็รู้ => Topic started by: designbydx on มีนาคม 26, 2018, 04:22:55 pm

Title: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 26, 2018, 04:22:55 pm
“แผ่นดินไทยในอดีต”

ชมสุดยอดโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยม ทุกยุคสมัยของประเทศไทย ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ (เวลาทำการ ๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์-อังคาร)

จุดประสงค์ คือ ต้องการให้ผู้สนใจ ได้เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของมรดกศิลปวัฒนธรรมเพื่ออนุรักษ์ให้คงสืบไป

***ถ่ายมาแค่บางส่วนนะครับ
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 26, 2018, 04:32:13 pm
มีหนังสือออกมาขายด้วยนะ 380 บาท ซื้อในงาน ใครไปวันแรกแจกฟรีๆๆๆๆ
ผลิตโดย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
พิมพ์ครั้งที่ 1

พิมพ์ที่ บ. รุ่งศิป์การพิมพ์(1977) จำกัด
555 ม. 12 ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม 73210 โทร.021183555
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 26, 2018, 04:47:00 pm
แผ่นดินไทยในอดีต เขาแบ่งงานศิลปเป็น 8 กลุ่มด้วยกัน
1. ก่อนประวัติศาสตร์
2. ทวารวดี
3. ศรีวิชัย
4. ลพบุรี
5. ล้านนา
6. สุโขทัย
7. อยุธยา
8. รัตนโกสินทร์

ผมก็ไปดูเพื่อจะซึมซับวัฒธรรมอดีตเข้าไปบ้างนะครับ ก็จะเห็นการพัฒนาทางศิลปเป็นรุ่นๆ ไป ซึ่งมีความนิยมที่แสดงออกมาเห็็นแตกต่างอย่างชัดเจน ไปๆ ดูกัน รายละเอียดก็มาจากหนังสือ กับป้ายที่กำกับไว้ที่วัตถุแต่ละชิ้น

1. ยุคก่อนประวัติสาตร์ ประมาณ 2,000-500,000 ปีมาแล้ว
แบ่งโดย เป็นช่วงที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐอักษรมาใช้ มีแต่ภาษาพูดน่ะ (สรุปๆ มา)

1.1 กลองมโหระทึก

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 2,000-500,000 ปีมาแล้ว
สำริดสูง 53 ซม.
เส้นผ่าศูนย์กลาง 25 ซม.
พบภายในบริเวณวัดเกษมจิตตาราม อ.เมืองอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์
เมื่อ พ.ศ. 2470

กลองมโหระทึกหล่อจากสำริดซึ่งเป็นโลหะผสมที่มีทองแดงและดีบุกเป็นส่วนประกอบหลักใช้วิธีหล่อแยกเป็นชิ้นแล้วนำมาเชื่อมต่อกัน ลวดลายสำคัญบนหน้ากลองคือ ดวงอาทิตย์ หรือลายดาว 10 แฉก บุคคลสวมเครื่องประดับศรีษะตกแต่งด้วยขนนก นกบินทวนเข็มนาฬิกา และลายเรขาคณิต สันนิษฐานว่ากลองมโหระทึกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณื เช่น พิธีขอฝน การใช้กลองมโหระทึกเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของชนชาติในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันยังคงมีการใช้กันอยู่ในกลุ่มชนพื้นเมืองบางกลุ่มทางตอนใต้ของประเทศจีน พม่า และเวียดนาม


Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 26, 2018, 04:54:55 pm
1.2 ต่างหูรูปสัตว์สองหัว

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราวพุทธศตวรรษที่ 1-5(2,000-25,000 ปีมาแล้ว)
หินยาว 4.5 ซม. สูง 3 ซม.
พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

ต่างหูรูปสัตว์สองหัวเป็นเครื่องประดับที่ทำขึ้นในยุคก่อนประวัติศาสาตร์ตอนปลาย(สมัยเหล็ก) วัฒนธรรมซาหุญ ในประเทศเวียดนามตอนกลาง ต่างหูแบบนี้เป็นที่ต้องการของชุมชนร่วมสมัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ค้นพบอยู่ตามแหล่งโบราณคดีต่างๆ เช่น ที่บ้านดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ที่เมืองอู่ทอง จ.สุพรรณบุี รวมทั้งยังค้นพบในประเทศฟิลิปปินส์ด้วย เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงเครือข่ายทางการค้าในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายระหว่างชุมชนโบราณในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งบนผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 26, 2018, 04:56:15 pm
1.3 ไก่และสุ่ม

สมัยเหล็ก ประมาณ 1,700-2,300 ปี มาแล้ว
สำริดสูง 16 ซม.
พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

ไก่สำริด สันนิษฐานว่าเป็นไก่ตัวผู้ เนื่องจากมีหงอน และแผงคอ และมีเดือยแหลม ส่วนล่างสุดหล่อให้เห็นว่ากำลังจับอยู่บนเสาคอน ปลายเสามีเดือยเล็ก ปากคาบส่ิ่งของบางอย่างคล้างแมลง แม้ว่าในขณะขุดค้นไม่พบว่าไก่สำริดยืนอยุ่บนสุ่มไก่ เพียงแต่พบอยู่ใกล้กัน แต่ก็สันนิษฐานได้ว่า เดิมคงตั้งวางในลักษณะยืนบนสุ่ม เพราะมีรูที่อยู่ตอนบนของสุ่มสวมใส่ได้พอดีกับเดือย และที่บริเวณหางไก่สำริด ยังมีเศษผ้าถักทอจากป่านกัญชา(hemp) ติดอยู่ด้วยซึ่งอาจเป็นผ้าที่ผุ้ตายสวมใส่ หรือผ้าห่อศพ หรือห่อสิ่งของที่ฝังรวมกับศพ

ผลการวิเคราะห์ส่วนผสมของเนื้อโลหะของไก่สำริดนี้พบว่า มีทองแดง 72-78% มีดีบุก 23-28% ถือเป็นเนื้อโลหะสำริดที่มีส่วนผสมของดีบุกสูง ซึ่งปริมาณดีบุกมีส่วนสำคัญต่อคุณสมบัติของสำริดคือ มีผลต่อสี ความแข็ง จุดหลอมเหลว และความทนทานต่อการกัดกร่อนของสำริด การผสมดีบุกจำนวนมาก จะช่วยให้จุดหลอมเหลวของทองแดงบริสุทธิ์ที่มีจุดหลอมเหลวประมาณ 1,083 องศาเซลเซียสลดลง แต่จะทำให้โหละผสมเปราะ จึงมักมีการผสมตะกั่วลงไปด้วย เพื่อแทนที่ดีบุกและลดจุดหลอมเหลวของโลหะผสม โดยไม่ทำให้โลหะผสมเปราะมากเกินไป
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 26, 2018, 04:56:46 pm
1.4 ด้ามทัพพีสำรีดรูปนกยูง

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราวพุทธศตวรรษที่ 3-4 เมื่อประมาณ 2,200-2,300 ปีมาแล้ว
สำริด สูง 7.5 ซม.
พบที่ที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

นกยูงเป็นสัตว์พื้นเมืองของอินเดีย เป็นสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์และราชวงศ์โมริยะ (โมริยะ แปละว่า นกยูง เป็นชื่อราชวงศ์ผู้ปกครองอินเดีย มีกษัตริย์องค์สำคัญคือ พระเจ้าอโศกมหาราช) ด้านทัพพีรูปนกยูงทำขึ้นด้วยวิธีการหล่อสำริดแบบขับขี้ผิึ้ง(Lost-wax casting) นอกจากพบที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรแล้ว ยังพบที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองท่าสำคัญในภาคใต้ของไทยทางฝั่งทะเลตะวันออก ด้ามทัพพีสำริดรูปนกยูงเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนไทยได้ติดต่อกับอินเดียมาแล้วเมื่อกว่าสองพันปี
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 27, 2018, 06:52:14 am
2. ทวารวดี(พุทธศตวรรษที่ 11-16 ประมาณ 1,000-1,500 ปีมาแล้ว)

ทวารดี ตามรูปศัพท์แปลว่า ประกอบด้วยประตู เป็นชื่อเรียกอนาจักร เมือง หรือรัฐ วัฒนธรรม และศิลปะโบรานกำเนิดขึ้นในประเทศไทยราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 หรือประมาณ 1,000-1,500 ปีมาแล้ว นักวิชาการสัญนิษฐานว่า ทวารวดี หมายถึง อณาจักร โถโลโปตี้ ในจดหมายเหตุของพระภิกษุชาวจีนสมัยราชวงศ์ถังซื่อ เหี้ยนจัง ซึ่งเดินผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยระบุว่ามีอนณาจักรโลโปตี้อยู่ระหว่างศรีเกษตร(เมียนมาร์) และอศานปุระ(กัมพูชา) ต่อมามีการค้นพบเหรียญเงินระบุข้อความ ศรีทวารวดี ศวรปุณย แปลว่า บุญของพระราชาแห่งทวารวดี ที่นครปฯมและเมืองโบราณอีกหลายแห่งในภาคกลาง วัฒนธรรมทวาระวดีได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียวไม่ว่าจะเป็นศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาและตัวอักษร รวมทั้งระเบียบแบบแผนทางสังคมเข้ามาใช้และปรับให้ผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองดั้งเดิม ซึ่งต่อมาได้พัฒาเป็นลักษณะเฉพาะของตอนเอง เห็นได้จาศิลปกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ได้แรงบันดาลใจจากพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธรูป ศาสนาพุทธที่หยั่งลึกลงในแผ่นดินไทยสมัยทวารวดี ถือเป็นรากเหง้าของพื้นฐานวัฒนธรรมที่พัฒนาขึ้นเป็นสยามประเทศ หรือชาติไทยในเวลาต่อมา

2.1 ธรรมจักร และกวางหมอบ
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12(1,400 ปีมาแล้ว)
หินสูง 105 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 89 ซม.
พบที่วัดเสน่หา อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม

ธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางพุทธศาสนา หมายถึงการ ประกาศพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการหมุนกงล้อแห่งธรรมให้เคลื่อนไป ในวัฒนธรรมทวารวดีนิยมสร้างธรรมจักรคู่กับรูปกวางหมอบ เป็นสัญลักษณ์แทนการแสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสปตนมฤคทายวันเมืองพรานสี ประเทศอินเดีย ธรรมจักรชิ้นนี้มีจารึกอักษรอินเดียโบราณสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ภาษาบาลี กล่าวเปรียบเทียบว่า จักร คือ พระธรรม ของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงถึงอริยสัจ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุท้ย นิโรธ มรรค โดยหมุนวนครบ 3 รอบเป็นสัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ มีอาการ 12 อย่าง

การค้นพบธรรมจักรและกวางหมอบนี้ เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาแผ่เข้ามา ณ นครปฐม ในดินแดนประเทศไทยเมื่อพันกว่าปีมาแล้ว
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 27, 2018, 07:22:03 pm
2.2 แผ่นทองคำ ภาพพระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม

ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13-14(1,200-1,300 ปีมาแล้ว)
ทองและสำริด กว้าว 13 ซม. สูง 18.3 ซม.
พบที่วัดพระประโทน  อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทองคำเป็นโลหะธาตุที่มีค่าสูงสุดที่ถูกนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ และรูปเคารพทางศาสนา แผ่นทองคำทำเป็นพระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรมสองพระหัตถ์ (พระอังคุฐ หรือนิ้วหัวแม่มือ และพระดัชนีหรือนิ้วชี้ จรดเป็นวง) หรือทีเรียกว่า วิตรรกะมุทรา ขนาบด้วยรูปเทวดาหรือพระโพธิสัตว์ทำด้วยสำริด ถือดอกบ้วที่พระหัตถ์ด้านที่อยู่ติดกับพระพุทธรูป และยืนอยู่เหนือดอกบัวซึ่งมีก้านแยกออกจากดอกบัวที่รองรับพระพุทธรูปตรงกลางนี้ แสดงถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างสูงของคนในวัฒนธรรมทวารวดี และยังแสดงถึงความรู้ ความสามารถของช่างที่รังสรรค์งานศิลปะชิ้นนี้ได้ อย่างยอดเยี่ยม อนึ่ง พระพุทธรูปที่ทำด้วยทองคำพบน้อยมากในวัฒนธรรมทวารวดี
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 27, 2018, 07:36:30 pm
2.3 พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม

ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13-14(1,200-1,300 ปีมาแล้ว)
สำริดสูง 51 ซม.
พบที่วัดเชิงท่า อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี

ส่วนองค์พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรมพระพักต์ค่อนข้างกลม พระขนงโค้งเป็นสันบางจรด สันเหนือตั้งพระนาสิก พระเนตรเหลือบลงต่ำ ปลายพระเนตรชี้ขึ้นข้างบน พระนาสิกเล็ก พระโอษฐ์หนาขมวดพระเกศาเล็ก เรียงเป็นแนวอย่างเป็นระเบียบอุษณ๊ษะทรงกรวยสูง ไม่มีพระรัศมี ทรงครองจีวรห่มคลุม จีวรบางไม่มีริ้ว พระกรยกขึ้นระหว่างพระอุระ พระหัตถ์สองข้างแสดงปางประทานธรรมพระหัตถ์ซ้ายมีชายวีวรพันที่ข้อพระหัตถ์ และปล่อยชายตกลงทางด้านข้าง พระพักตร์ของพระพุทธรูปแสดงถึงการผสมผสานอิทธพล พระพุทธรูปอินเดียสมัยคุปตะ(พุทธศตวรรษที่ 10-11) กับลักษณะพื้นเมืองทวารวดีอย่างงดงาม ชายจีวรที่พันไว้ที่ข้อพระหัตถ์ซ้ายแทนการยิดไว้ในพระหัตถ์ เนื่องจากพระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นแสดงปาง ปรากฏอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปศิลาสมัยก่อนเมืองพระนคร ซึ่งสร้างขึ้นร่วมสมัยกับทวารดี ราวพุทธศตวรรษที่ 12-14
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 28, 2018, 07:24:37 am
2.4 พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม

ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13-14(1,200-1,300 ปีมาแล้ว)
สำริด
พบที่บ้านฝ้าย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

พระพุทธรูปองค์นี้ ถือเป็นพระพุทธรูปสำริด ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบในปัจจุบัน มีความสูง 109 ซม. พระพักตร์ของพระพุทธรูปยังคงลักษณะของศิลปะอินเดียอยู่มาก
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 28, 2018, 07:32:31 am
2.5 พระพุทธรูปนาคปรก

ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13-15 (1,100-1,300 ปีมาแล้ว)
หิน
จากจัดประดู่ทรงธรรม. จ.พระนครศรีอยุธยา

ในศิลปะทวารดีมีความนิยามในการสร้างพระพุทธรูปนาคปรกเชื่อกันว่าพระุทธรู)นาคปรกถูกสร้างขึ้นตามเรื่องราวในพุทธประวัติ ภาพหลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วในสัปดาห์ที่ 6 พระพุทธองค์ประทับอยู่ใต้ต้นมุจลินทร์หรือ ต้นจิก ได้เกิดพายุฝนตกหนัก พญานาคชื่อว่า มุจลินทร์ที่อาศัยอยู่ในสระน้ำบริเวณใกล้เคียงกัน ได้เลื้อยขึ้นมาแผ่พังพานปกป้องพระพุทธเจ้า

Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 28, 2018, 07:45:06 am
2.6 ใบเสมาสลักพุทธประวัติ ตอนโสตถิยพราหมณ์ถวายหญ้าคา

ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 14-16 (1,000-1,200 ปีมาแล้ว)
หิน
พบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จ.กาฬสินธุ์

ใบเสมาทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าลายโค้ง สลักภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าทรงรับหญ้าคาจากพราหมณ์ชื่อ โสตถิยะ ก่อนทรงนำมาปูรองเป็นที่ประทับใต้ต้นโพธิ์ กระทั่งตรัสรู้ในที่สุดใบเสมาสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องกำหนดเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา เช่น การปักล้อมรอบพระอุโบสถ สถูปเจดีย์หรือเนินดินสำคัญ บอกให้ราบว่าพื้นที่แห่งนั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรืออาจสร้างขึ้นเพื่อการเคารพบูชา ลักษณะเดียวกับสถูปเจดีย์ หรือพระพุทธรูปใบเสมาภาพเล่าเรื่องสลักด้วยหินทรายขนาดใหญ่ ถือเป็นลักษณะเฉพาะอันโดดเด่นของวัฒนธรรมทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 28, 2018, 07:50:15 am
2.7 พระพุทธรูปยืนปางประทานพร

ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13 (1,300 ปีมาแล้ว)
หิน
จากจัดรอ จ.พระนครศรีอยุธยา

ลักษณะพระพุทธรูปยังคงแสงถึงแรงบันดาลใจที่ได้รับจากศิลปะอินเดีย ขณะที่พระพักตร์แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะพื้นเมือง สมัยทวารวดีช่างนิยมสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ด้วยศิลาหรือหิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหินปูน ส่วนพระพุทธรูปขนาดเล็กนิยามหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ พระพุทธรูปยืนที่มีพระหัตถ์แสดงปางประทานพรลักษณะนี้ ในประเทศไทยค้นพบเป็นจำนวน้อยมาก
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 28, 2018, 08:24:09 pm
2.8 พระวิษณุจตุรภุช

ปลายพุทธศตวรรษที่ 12 (1,200-1,300 ปีมาแล้ว)
หินทรายสูง 185 ซม.
พบที่เขาพระเหนอ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา


รูปพระวิษณุจตุรภุช หรือ พระวิษณุ 4 กร สวมหมวกทรงกระบอกไม่สวมเสื้อ พระอุระผึ่งผายพระพาหาแสดงให้เห็นมัดกล้าม นุ่งผ้ายาวแบบผ้าโสร่งของอินเดีย คาดทับด้วยเข็มขัด มีชายผ้านุ่งยาวตกลงมาทางด้านหน้ายึดติดอยู่กับฐาน มีรูปแบบที่สง่างาม สมบูรณ์ สลักกล้ามเนื้อได้อย่างถูกหลักกายวิภาค แสดงถึงความสามารถของช่างในการแกะสลัก ถือเป็นประติมากรรมชิ้นเยี่ยม ทั้งนี้เทวรูปพระวิษณุจตุรภุช หรือ พระนารายณ์ 4 กร ส่วนใหญ่ค้นพบในภาคใต้ และภาคตะวันออกของประเทศไทย แถบจังหวัดปราจีนบุรี นับเป็นหลักฐานที่แสดงถึงร่องรอยการนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ยุคแรกๆบนผืนแผ่นดินไทยปัจจุบัน
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 28, 2018, 08:28:09 pm
2.9 พระวิษณุจตุรภุช(พระวิษณุสี่กร)

ราวพุทธศตวรรษที่ 13 (1,300 ปีมาแล้ว)
หินทรายสูง 207 ซม.
พบที่เมืองโบราณศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์

พระวิษณุสีกร ซึ่งเป็นเทพเจ้าสำคัญในศาสนาฮินดู ศิราภรณ์ทรงกระบอกสูง และแสดง 4 กร บ่งบอกว่าเทวรูปนี้คือ พระวิษณุ จึงเรียกว่า พระวิษณุจตุรภุช(จตุร หมายถึง สี่ ภุช หมายถึง กรหรือแขน) ลักษณะกานุ่งผ้าโจงกระเบนสั้นรวมทั้งการยืนเอียงแบบตริภังค์(ยืนเอียงสามส่วน) แสดงอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรโบราณในเมืองโบราณศรีเทพในช่วงแรก
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 28, 2018, 08:34:26 pm
2.10 พระพุทธรูปยืน ปางแสดงธรรม

ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13-14 (1,200-1,300 ปีมาแล้ว)
สำริด
พบที่บ้านฝ้าย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

พระพุทธรูปองค์นี้ ถือเป็นพระพุทธรูปสำริด ศิปะทวารวดีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบในปัจจุบันมีความสูง 109 ซม. พระพักตร์ของพระพุทธรูปยังคงลักษณะศิลปะอินเดียอยู่มาก
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 29, 2018, 07:49:54 am
3. ศรีวิชัย

พุทธศตวรรษที่่ 13-18(ประมาณ 800-1,300 ปีมาแล้ว)
ศรีวิชัย ตามรูปศัพท์แปลว่า ชัยชนะอันดีงาม เป็นชื่อเรียกอณาจักร วัฒนธรรมและศิลปะ บนแผ่นดินไทย บริเวณคาบสมุทรภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ลงไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส ครอบคุมพื้นที่ ทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก แหลมมาลายูซึ่งเป็นประเทศมาเลเซีย และกลุ่มเกาะของประเทศอินโดนีเซีย เช่น เกาะชวา เกาะสุมาตรา ที่เจริญขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18 หรือประมาณ 800-1,300 ปีมาแล้ว อณาจักรหรือสมาพันธรัฐศรีวิชัยเกิดจากรัฐหรือเมืองใหญ่น้อยหลายแห่งที่เติบโตขึ้นจากการเป็นเมืองท่าติดต่อค้าขายกับชาวโพ้นทะเลไกลโดยเฉพาะอินเดีย บางแห่งติดต่อทางการฑูตกับจีนตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-8 เป็นต้นมา มารวมตัวกันเพื่อให้มีอำนาจต่อรองทางการเมืองและเศรษฐกิจกับเมืองอื่นๆ ในฐานะศูนย์กลางการค้าขายฝั่งทะเลและข้ามคาบมหาสมุทร ศูนย์กลางอณาจักรตอนบนอาจอยู่ที่ีเมืองไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี ส่วนตอนล่างอาจอยู่ที่เมืองปาเล็มบังบนเกาะสุมาตรา อนึ่งเดิมชุมชนต่างๆ นับถือทั้งศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และศาสนาพุทธ เมื่ออณาจักรศรีวิชัยเป็นปึกแผ่นขึ้น ศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน จึงรุ่งเรืองขึ้นอย่างมากเห็นได้จากความนิยมสร้างรูปพระโพธิสัตว์เป็นรูปเคารพ

3.1 พระวิษณะจตุรภุช(พระวิษณุสีกร)

ศิลปะศรีวิชัย ปลายพุทธศตวรรษที่ 10-11(1,600-1700 ปีมาแล้ว)
หินทรายสูง 68.5 ซม.
พบที่วัดศาลาทึง อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี

พระวิษณุประทับยืนตรง ศิราภรณ์ทรงกระบอกสูง แสดงพระกรทั้่งสี่ ถือสิ่งของสัญลักษณ์ประจำของพระวิษณุที่ยังปรากฏอยู่คือสังค์ และกระบอง อีกสองพระกรหักหายไป นุ่งผ้ายาวคาด มีชายผ้านุ่งยาวตกลงมา และผ้าห้องเป็นวงโค้งด้านหน้า แม้จะแสดงถึงรูปแบบของท้องถิ่น แต่เครื่องตกแต่งแสดงอิทธิพลศิลปะอินเดียสมัยอมราวดี(พุทธศตวรรษที่ 7-10  ประมาณ 1,600-1,900 ปีมาแล้ว)
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 29, 2018, 05:14:41 pm
3.2 พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

ศิลปะศรีวิชัย ปลายพุทธศตวรรษที่ 12(-1,400 ปีมาแล้ว)
หินทรายสูง 115 ซม.
พบที่วัดศาลาทึง อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ห่อมหนังกวางนุ่งผ้าเรียบแนบลำตัว ยืนเอียงสามส่วน เรียกว่าตริภังค์แสดงลักษณะศิลปกรรมแบบอินเดียอยู่มาก คำว่า "อวโลกิเตศวร" แปลว่า พระผู้มองลงต่ำ ชาวพุทธฝ่ายมหายานเชื่อว่า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรจะคอยอยู่ช่วยเหลือมนุษย์และสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ภัยต่างๆ ได้ จึงนิยมสร้างรูปเคารพของพระองค์
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 29, 2018, 05:22:23 pm
3.3 พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

ศิลปะศรีวิชัย ปลายพุทธศตวรรษที่ 14(1,200 ปีมาแล้ว)
หินทรายสูง 72 ซม.
พบที่วัดพระบรมธาตุ อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร แกดกรประทับยืนตรงเบื้องหน้าของชฎามกุฎหรือมวยพระเกศาทรงสูงประดับรูปพระอมิตาภะพุทธเจ้าปางสมาธิ พระเนตรเหลือบลงต่ำ ทรงเครื่องประดับต่างๆ อาทิ สร้อยประคำ กรองศอ พระอังสาหรือไหล่ด้านซ้ายทรางคล้องผ้าเฉวียงบ่า และคล้องทับด้วยสายมงคลนักบวชใช้คล้องโดยมีหัวกวางประดับอยู่บนสายนั้น พระกรทั้งแปดชำรุด พระวรกายท่อนล่างชำรุดหายไป

ลักษณะเกล้าชฎามกุฎ ที่มีพระเกษาขมวยย้อยลงมาเป็นวงโค้งซ้อนกัน ศิราภรณ์และเครื่องประดับ ได้รับอิทธิพลจากอินเดียภาคใต้และศิลปะชวาภาคกลางเช่นเดียวกับประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรครึ่งองค์จากวัดเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 29, 2018, 05:28:13 pm
3.4 พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

ศิลปะศรีวิชัย ปลายพุทธศตวรรษที่ 14(1,200 ปีมาแล้ว)
หินทรายสูง 63.5 ซม.
พบที่วัดเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี

ส่วนองค์ท่อนบนของพระโพธิสัตว์องค์นี้ลักษณะเอียงพระวรกาย ทรงศิราภรณ์ ซึ่งส่วนบนหักหายไป พระเนตเหลือบลงต่ำ ทรงเครื่องประดับต่างๆ อาทิ สร้อยประคำ กรองศอ ครองผ้าเฉวียง พระอังสาหรือไหล่ซ้าย สายมงคลซึ่งมีหัวกวางกระดับอยู่บนสาย ซึ่งคล้องเฉวียงไหล่ซ้ายนั้นเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่บอกให้รทาบว่าประติมากรรมนี้คือรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นรูปเคารพของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน เชื่อกันว่าพระองค์เป็นผู้คุ้มครองชาวโลกทั้งปวง รูปเคารพนี้เป็นหลักฐานแสดงถึงการนับถือศาสนาพุทธศาสนาฝ่ายมหายานของผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าว
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 29, 2018, 08:29:01 pm
3.5 พระไวโรจนะพุทธเจ้า

ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 14-15(1,100-1,200 ปีมาแล้ว)
สำริดสูงพร้อมฐาน 32 ซม.
พบที่อำเภอโกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม

พระไวโรจนะพุทธเจ้าประทับนั่งบนฐานบัวโดยมีสัตว์คล้ายสิงห์รองรับอยู่ พระหัตถ์อยู่ในท่าหมุนธรรมจักรสองข้างของพระพุทธองค์มีรูปสตรียืนถือดอกบัว ซึ่งเป็ฯนางคู่บารมีของพระองค์

คำว่า “ไวโรจนะ” เป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า ผู้ให้แสงสว่างทรงเป็นพระพุทธเจ้าหนึ่งในห้าพระองค์ของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแบบวัชรยานตันตระ ซึ่งใความนิยมสร้างรูปพระพุทธเจ้าประจำทิศทั้งสี่ โดยเชื่อว่า พระพุทธเจ้าไวโรจนะประจำอยู่ทิศทั้งสี่ โดยเชื่อว่า พระพุทธเจ้าไวโรจนะประจำอยู่ทิศเบื้องบนและสถิตอยู่กลางสถูป มีสัญลักษณ์ประจำพระองค์ คือ ธรรมจักรสีขาว ด้วยเหตุนี้พระหัตถ์ของพระพุทธเจ้าไวโรจนะจึงอยู่ในท่าหมุนธรรมจักร ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของคติการสร้างพระพุทธเจ้าไวโรจนะ คือ พระพุทธเจ้าไวโรจนะที่ศาสนสถานโบโรบูดูร์ ประเทศอินโดนีเซีย สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 14(1,200 ปีมาแล้ว) เป็นพระไวโรจนะพุทธเจ้า ที่ปรดิษฐานในสถูป บนลานชั้นบนของศาสนสถานดังกล่าว

กาค้นพบรูปพระไวโรจนะพุทธเจ้าในกลุ่ม ประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สะท้อนถึงการยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแบบวัชรยานตันตระจากอินเดียในอดีต
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 29, 2018, 08:30:11 pm
3.6 พระพุทธรูปปางมารวิชัยนาคปรก

ศิลปะศรีวิชัย พุทธศักราช 1726 หรือพุทธศักราช 1822-1834
สำริดสูงพร้อมฐาน 160 ซม.
หน้าตักกว้าง 25 ซม.
พบที่วัดเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี

พระพุทธรูปองค์นี้ มีพระพักต์ค่อนข้างเหลี่ยม พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัยหล่อแยกเป็นสามส่วน ได้แก่ ส่วนองค์พระพุทธรูปพังพานนาค และขนดนาค พระพุทธรูปนาคปรกที่พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัยพบได้น้อยมาก ซึ่งโดยทั่วไป พระพุทธรูปนาคปรกมักมีพระหัตถ์แสดงปางสมาธิเสมอ ที่สำคัญคือ ฐานของพระพุทธรูปองค์นี้มีจารึกเป็นภาษาเขมรโบราณ กล่าวถึงการหล่อพระพุทธรูปในหมาศักราช 1108 เถาะนักษัตร 1726 เพื่อให้ประชาชนผู้ศรัทธาได้กราบไว้บูชา ศาสตราจารย์ฌอร์ฌ เซแด็ส วิเคราะห์ตรงกับพุทธศักราช 1726 แต่ศาสตราจารย์เจจี เอด กาสปารี วิเคราะห์ว่า ต้องอยู่ในรอบระหว่างปีพุทธศักราช 1822-1834
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 29, 2018, 08:34:23 pm
3.7 พระนางจุนทา

ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 14(1,200 ปีมาแล้ว)
สำริดสูงพร้อมฐาน 17.7 ซม.
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน แก่พิพิธภัณฑ์สถานสำหรับพระนคร เมื่อพุทธศักราช 2469

พระจางจุนทาประทับขัดสมาธิเพชร บนฐานบัว เบื้องหลังมีประภามณฑลทรงโค้ง พระนางจุนทางองค์นี้มี 6 กร พระหัตถ์คู่หน้าประสานกันที่พระเพลา คล้ายกับการแสดงปางสมาธิ พระหัตถ์ขวาล่างแสดงปางประทานพร โดยมีมณีอยู่กลางฝ่าพระหัตถ์ พระหัตถ์ขวาบนและพระหัตถ์ซ้ายบนทรงถือสิ่งของแต่เห็นไม่ชัดเจน ส่วนพระหัตถ์ซ้ายล่างชำรุดหักหายไป พระพักต์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกค่อนข้างแบน พระโอษฐ์หนา ทรงสวมเครื่องศิราภรณืเป็นชฎามกุฎ ซึ่งมี่รูปสถูปจำลองอยู่ด้านหน้าทรงสวมเครื่องประดับ ได้แก่ กณฑล(ต่างหู) พาหุรัด(กำไลต้นแขน) และทองพระกร(กำไลข้อมือ) สำหรับปติมานวิทยาของพระนางจุนทาองค์นี้ ซึ่งพระหัตถ์ประสานกันที่พระเพลาแต่ไม่มีบาตรปรากฏนั้น นับว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับพระนางจุนทาที่ถ้ำเอลโลล่า และศิลปะชวาภาคกลาง
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on มีนาคม 31, 2018, 10:45:39 am
4. ลพบุรี (หรือเขมรโบราณในประเทศไทย)
พุทธศตวรรษที่ 12-18(800-1,400 ปีมาแล้ว)

ลพบุรีมาจากชื่อเมืองหรือรัฐ ลวปุระ ซึ่งปรากฏครั้งแรกในพุทธศตวรรษที่ 12 ใช้เรียกชื่อศิลปะ วัฒณธรรมสมัยหรือช่วงเวลาที่วัฒรธรรมเขมรในราชอาณาจักรกัมพูชาโบราณแพร่หลายเช้ามาในบ้านเมืองและชุมชนที่กระจายอยู่บนแผ่นดินไทยในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉีบงเหนือในราวพุทธศตวรรษที่ 12-18 หรือประมาณ 800-1,400 ปีมาแล้ว อิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสังคมและวัฒนธรรมในบ้านเมืองเหล่านั้น อาทิเช่น ความศรัทธาในศาสนาฮินดูที่นับถือพระศิวะ(พระอิศวร) หรือพระวิษณุ(พระนารายณ์) เป็นเทพสูงสุด ศาสนาพุทธฝ่ายมหายานที่นับถือพระโพธิสัตว์คติความเชื่อว่ากษัตริย์เมือนสมมติเทพการสร้างปราสาทหิน ประดิษฐานรูปเครารพศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง การใช้ภาษาและอักษรเขมรโบราณจารึกเรื่องราวเหตุการณ์ การสร้างอ่างเก็บน้ำที่เรียกว่า บาราย เป็นต้น อนึ่ง แม้วว่าศิลปกรรมโดยเฉพาะปรติมากรรมจะมีความคล้างคลึงกันทั้งที่พบในประเทศไทย และประเทศกัมพูชา แต่ต่างก็มีลักษณะเฉพาะถิิ่นของตนเองไว้ วัฒนธรรมลพบุรีหรือเขมรโบราณในประเทศไทยถือเป็นอีกรากฐานหนึ่งที่นำไปสู่การพัฒนาเป็นสยามประเทศหรือชาติไทยในเวลาต่อมา

4.1 ทับหลังภาพวิษณุอนันตสายิน(นารายณ์บรรทมศินธุ์)

ศิลปะลพบุรี(ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย)
แบบถาลาบริวัติ พุทธศตวรรษที่ 17(800 ปีมาแล้ว)
หินทราย
พบที่ปราสาทกู่สวนแตง จ.บุรีรัมย์

ทับหลังช้ินนี้สลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ หรือพระวัษณุอนันตสายินปัทมนาภะ ตอนที่พระนารายณ์กำลังบรรทมอยู่เหนือรพะยาอนันตนาคราชที่ทอดตัวอยู่เหนือตัวมังกรอีกต่อหนึ่ง โดยอยุ่ท่ามกลางเกษียรสมุทร หรือทะเลน้ำนม ภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์เป็นเหตุการณ์ตอนที่พระพรหมกำลังจะสร้างโลกมนุษย์ และสพรรพสิ่งต่างๆ


Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 02, 2018, 07:29:10 am
4.2 ทับหลังภาพหงส์และลายซุ้มพันธุ์พฤกษา

พุทธศตวรรษที่ 13(1,300 ปีมาแล้ว)
หินทราย
พบที่ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

ทับหลังเป็นชิ้นส่วนประกอบของอาคารที่เรียกว่าปราสาท พบในศิลปะเขมรโบราณในประเทศกัมพูชา และศิลปะเขมรโบราณที่พบในประเทศ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้วางอยู่เหนือกรอบประตู ทำหน้าที่รับ และถ่ายน้ำหนักส่วนบนของอาคารทับหลังชิ้นนี้ มีลวดลายที่เป็นลักษณะพิเศษหลายประการซึ่งไม่ปรากฏอยู่บนทับหลังสมัยเดียวกัน ในประเทศกัมพูชามาก่อน
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 02, 2018, 07:36:36 am
4.3 พระโพธิสัตว์เมตไตรย

ศิลปะลพบุรี(ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย)
พุทธศตวรรษที่ 13-14(1,200-1,300 ปีมาแล้ว)
สำริดสูง 66 ซม.
พบที่บ้านฝ้าย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

พระโพธิสัตว์เมตไตรยเป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน แสดงอิริยาบถยืนเดียงตน(ตริภังค์) มีสองกร เกล้าพระเกศาแบบที่เรียกว่าชฏามงกฎ ที่ประดับด้วยรูปสถูปทางด้านหน้า อันเป็นสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์องค์นี้ ทรงนุ่งผ้าสั้นสายรัดขมวดเป็นปม จากรูปแบบดังกล่าวกำหนดอายุได้ราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 13 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 14 หรือเมื่อกว่า 1,200 ปีมาแล้ว จัดอยู่ในกลุ่มประติมากรรมสำริด "ประโคนชัย" เป็นหลักฐานสำคัญแสดงถึงการยอมรับนับถือพุทธศาสนามหายานของผู้คนในภาคตะวัออกเฉลียงเหนือของไทย ณ ช่วงเวลานั้น
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 03, 2018, 07:41:22 am
4.4 เทวรูปแปดกร

ศิลปะลพบุรี(ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย)
พุทธศตวรรษที่ 17(900 ปีมาแล้ว)
สำริดสูง 22.7 ซม.
ซื้อมาจากหม่อมเข้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ส. 2479

เทวรูป 8 กรยืนย่อเข่า พระพักต์สี่เหลี่ยมพระขนงต่อกันเป็นเส้นตรง มีเส้นกรอบไรพระศกหนา เบิกพระเนตร พระโอษฐ์หนา ประดับเครื่องทรงที่ประกอบด้วย กระบังหน้า กุณฑล กรองศอ และพาหุรัด มี 8 กรถือสิ่งของแตกต่างกันไป เป็นต้นว่า ในพระหัตถ์ขวาล่างสุดปรากฏวัตถุทรงกลมขนาดเล็ก สันนิษฐานว่าเป็นก้อนดินเครื่องทรงตกแต่งด้วยแก้วสีขาว นุ่งผ้าจีบเป็นริ้ว ชักชายผ้าเยื้องออกทางด้านขวา ด้านหลังทำเป็นชายผ้ารูปทรงหางปลาจากลักษณะพระพักตร์และการแต่งพระวรกายดังที่กล่าวมานี้ อาจกำหนดอายุในช่างครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 17 ร่วมศิลปะขอมแบบนครวัด
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 03, 2018, 07:43:56 am
4.5 พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี

ศิลปะลพบุรี(ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย)
พุทธศตวรรษที่ 18(800 ปีมาแล้ว)
หินทราบ สูง 161 ซม.
พบที่ปราสาทเมืองสิงห์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี

ในประเทศไทยมีการค้นพบประติมากรรม พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี เพียง 5 องค์ การค้นพบในประเทศไทยเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงการแผ่ขยายอิทธิพลของพุทธศาสนานิการมหายาน จากอาณาจักรกัมพูชาโบราณเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทยได้เป็นอย่างดี


Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 03, 2018, 07:54:20 am
4.6 เครื่องใช้ในพิธีกรรมแสดงรูปพระวัชรสัตว์

ศิลปะลพบุรี(ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย)
พุทธศตวรรษที่ 18(800 ปีมาแล้ว)
สำริด

ช้ิ้นส่วนเครื่องใช้ในพิธีกรรมทางพุทธศาสนานิกายมหายาน แสดงรูปพระวัชรสัตว์มีสองกร พระหัตถ์ขวาถือวัชระ(สายฟ้า) พระหัตถ์ซ้่ายถือฆัณฎา(กระดิ่ง) เหนือพระเศียรมีพระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิ สัญนิษฐานว่าใช้สำหรับประดับเสลี่ยงคานหาม
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 07:30:04 am
4.7 พระอดีตพระพุทธเจ้า

ศิลปะลพบุรี(ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย)
พุทธศตวรรษที่ 18-19(700-800 ปีมาแล้ว)
สำริด
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประทานแก่พิพิธภัณฑสถาน เมื่อ พ.ศ. 2475

พระอดีตพุทธเจ้าเป็นคติการสร้างรูปเคารพในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งในยุคปัจจุบันหรือที่เรียกว่า ภัทรกัลป ได้มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาแล้วจำนวน 4 พระองค์ ได้แป่ กกุสันธ โกนาคม กัสสป และโคตะมะ(พระพุทธเจ้าศรีศากยมุนี องค์ปัจจุบัน)
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 07:32:20 am
4.8 พระตรีกาย

ศิลปะลพบุรี(ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย)
พุทธศตวรรษที่ 18(800 ปีมาแล้ว)
สำริด

พระพุทธรูปสามองค์แต่ละองค์ประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยบนฐานปัทม์ติดกันโดยเแฑาะองค์กลาง ทรงเทริด กรองศอ และพาหุรัด อาจหมายถึง พระอาทิพุทธซึ่งมีสถานะเป็นกายสาม ตามคติความเชื่อ ของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นิกายวัชรยาน อันเป็นที่เคารพนับถือในสมัยนั้น
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 07:35:08 am
4.9 เหวัชระ

ศิลปะลพบุรี(ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย)
พุทธศตวรรษที่ 17-18(800-900 ปีมาแล้ว)
สำริด
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้มาจากเมืองพระตะบอง

เหวัชระ เป็นหนึ่งในเทพผู้พิทักษ์ หรือยิดัมในพุทธศาสนามหายาน แบบวัชรยาน หรือตันตระ นิยมนับถือกันในกลุ่มประเทศเนปาล ทิเบต และอินเดียทางตอนเหนือ รูปเคารพเหวัชระในศิลปะเขมรโบราณ มีแปดพักต์ สิบหกกร นิยมบูชากันมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 หรือประมาณ 800 ปีมาแล้ว
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 07:37:25 am
4.10 ครุฑยุดนาค เครื่องประดับราชรถ

ศิลปะลพบุรี(ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย)
พุทธศตวรรษที่ 17-18(800-900 ปีมาแล้ว)
สำริด

ตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดู ครุฑเป็นพาหนะของพระวิษณุ หรือพระนารายณ์เป็นตัวแทนของพระเจ้าแผ่นดินหรือสถาบันพระมหากษัตริย์ ประติมากรรมสำริดรูปครุฑยุดนาคชิ้นนี้คงทำขึ้นเพื่อใช้ประดับราชรถของกษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูง
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 07:39:46 am
4.11 พระวิษณุ

ศิลปะลพบุรี(ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย)
พุทธศตวรรษที่ 17-18(800-900 ปีมาแล้ว)
สำริด

พระวิษณุ หรือพระนารายองค์นี้มีสีกร ทรงถือจักร สังข์ คฑาและก้อนดินเป็นเทวรูปที่มีลักษณะพิเศษ คือลักษณะมวยพระเกศาทรงสูงเรียบ การนุ่งผ้ายาวกรอมเท้าคล้ายเทวสตรี น่าจะเป็นรูปเคารพศิลปะลพบุรี หรือศิลปะเขมรโบราณฝีมือช่างพื้นถิ่น
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 07:45:53 am
4.12 พระพุทธรูปปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว

ศิลปะลพบุรี(ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย)
พุทธศตวรรษที่ 18-19(700-800 ปีมาแล้ว)
สำริด และไม้
ซื้อมาจากหม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ์ พ.ศ.2479

พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย อยู่ภายในซุมเรือนแก้ว พระพักตร์ค่อยข้างเหลี่ยม พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์หนา แย้มพระสรวลเล็กน้อย เม็ดพระศกเรียงต่อกันเป็นแถวตามแนวนอน พระรัศมีเป็นทรงกรวยขนาดใหย๋ ทรงครองจีวรห่มคลุม ส่วนฐานรองรับด้วยสิงห์แบก ลักษณะพระพักตร์แสดงให้เห็นถึงรูปแบบศิลปะขอมแบบบายน ส่วนที่เป็นซุ้มเรือนแก้วด้านหลังอค์พระพุทธรูปทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายอย่างวิจิตรบรรจงเป็ฯของที่ทำขึ้นในภายหลังมิใช่สร้างคราวเดียวกับส่วนองค์พระพุทธรูป
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 08:27:33 am
4.13 ไหรูปช้าง เคลือบสีน้ำตาล

ศิลปะลพบุรี(ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย)
พุทธศตวรรษที่ 17-18(800-900 ปีมาแล้ว)
ดินเผาเคลือบ
รบมาจากวัดสุทธจินดา พ.ศ.2472

ไหดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีน้ำตากเข้ม ประดับตกแต่งช่วงบนภาชนะเป็นรูปช้าง ซึ่งเป็นความโดดเด่นของภาชนะชิ้นนี้ สีน้ำตาลที่ใช้เคลือบมีส่วนผสมของเหล็กออกไซด์จัดเป็นรูปแบบเฉพาะของวัฒนธรรมเขมรโบราณที่พบในประเทศไทย โดยมีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ที่ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ สันนิษฐานว่าทำขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อของคนท้องถิ่นในสมัยนั้น
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 08:30:53 am
4.14 กระปุกรูปกรต่าย เคลือบสี้น้ำตาล

ศิลปะลพบุรี(ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย)
พุทธศตวรรษที่ 17-18(800-900 ปีมาแล้ว)
ดินเผาเคลือบ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานให้แก่พิพิธภัณฑสถาน พ.ศ.2474

กระปุกดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีน้ำตาลเข้ม ปั้นเป็นรูปทรงของกระต่าย เป็นรูปแบบเฉพาะของวัฒนธรรมเขมรโบราณในประเทศไทย ผลิตจากเตาในจังหวัดบุรีรัมย์ สันนิษฐานว่าทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเต้าปูน ส่วนฝาและหูภาชนะทำด้วยโลหะเป็นของใหม่ที่ทำในปัจจุบัน
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 08:47:12 am
5 ล้านนา

พุทธศตวรรษที่ 17-24(200-700 ปีมาแล้ว)

ล้านนา หมายถึงดินแดนที่มีผืนนาจำนวนมาก เป็นชื่อเรียกอาณาจักร วัฒนธรรม และศิลปะซึ่งเดิมเรียกว่า ศิลปะเชียงแสน ของกลุ่มคนไทยในดินแดนภาคเหนือตอนบน รวมพุทธศตวรรษที่ 19-24 ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดในปจจุบันได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ล้านนาเป็นนครรัฐอิสระปกครองดวยระบบกษัตริย์มาก่อนเป็นเมืองขึ้นของพม่า และรวมเข้ากับราชอาณาจักรสยามในเวลาต่อมา มีนครเชียงใหม่บนลุ่มแม่น้ำปิง เป็นราชธานี ชาวล้านนานับถือศาสนาพุทธแบบเถรวาทเป็นหลัก และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรหรือแว่นแค้วนข้างเคยง การสร้างสรรค์พุทธศิลป์ล้านนา จึงได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะหริภุญไชยแห่งเมืองลำพูนที่เจริญมาก่อน ศิลปะอินเดียแบบปาละผ่านทางศิลปะพุกามของพม่า ศิลปะลังกาผ่านทางศิลปะสุโขทัย และศิลปะล้านช้างจากหลวงพระบาง โดยนำมาผสมผสานและปรับให้เข้ากับรสนิยมจนเป็นรูปแบบเฉพาะของตอนเองโดยเฉพาะพระพุทธรูป ทั้งนี้ถือกันว่าพระพุทธรูปล้านนาหรือที่รู้จักในชื่อพระพุทธรูปเชียงแสน เป็นศิลปะที่งามที่สุดแบบหนึ่งของไทย นอกจากนี้ ศิลปะของอาณาจักรไทยร่วมสมัยทั้งสาม คือ ล้านนา สุโขทัย และอยุธยา ยังให้และรับอิทธิพลซึ่งกันและกันด้วย

5.1 พระพุทธรูปกางมารวิชัย
ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 20(600ปีมาแล้ว)
สำริด
พระบาทสมเด็จพระปกเล้าเจ้าอยุ่หัว พระราชทานเมื่อ พ.ศ.2469

พุทธลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปองค์นี้ คือ พระรัศมีเป็นต่อมกลมขมวดพระเกศาใหญ่ และพระพักตร์กลม พระวรกายอวบอ้วน แสดงกล้ามเนื้อ พระอุทรชัดเจน ครองจีวรห่มเฉียง มีชายวีวรสั้นพาดเหนือพระถัน ปลายจีวรเป็ฯลายเขี้ยวตะขาย ประทับขัดสมาธิเพชรเห็นฝ่าพระบาทสทั้งสองข้างบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 08:49:58 am
5.2 ผอบบรรจุพระธาตุ

ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21(500ปีมาแล้ว)
หินและทอง
พบที่อำเภอฮอด จ.เชียงใหม่

ผอบบรรจุพระธาตุหลายรูปแบบ เช่น ผอบทรงเจดีย์ ผอบรูปสัตว์ และผอบธรรมดา ส่วนใหญ่ทำจากหินสีขาวใส(แร่ควอทซ์) และหินสีเทา เคลื่อนย้ายมาจากโบราณสถานก่อสร้างเขื่อนภูมิพล ระหว่าง พ.ศ.2502-2504
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 08:50:42 am
หินขาวใส
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 08:51:02 am
ทรงเจดีย์
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 08:51:24 am
ทรงเจดีย์
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 08:53:47 am
5.3 พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21(500ปีมาแล้ว)
สำริด
ได้มาจากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กทม.

เป็นพระพุทธรูปแบบล้านนาที่นิยมเรีกว่าพระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นแรก หรือ "พระสิงห์ 1" นับว่าเป็ฯพุทธศิลป์แบบล้านนาที่งดงามจนเป็นแบบผย่างให้ช่างสมัยต่อมาสร้างจำลอง
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 08:56:59 am
5.4 พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21-22(500-600ปีมาแล้ว)
สำริด
พระยาวโรดมภักดีศรีอุตรดิฐนคร(อั้น หงสนันทน์) เจ้าเมืองอุตรดิตถ์ ระหว่างปี พ.ศ.2459-2467 มอบให้

มีพระรัศมีเป็นต่อมคล้ายดอกบัวตูม พระพักต์กลม ครองจีวรห่มเฉียงมีชายจีวรสั้นพาดเหนือพระถันปลายจีวรเป็นลายเขี้ยวตะขาบ ประทับขัดสมาธิเพชรเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 08:59:18 am
5.5 พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21(500ปีมาแล้ว)
สำริด
ย้ายมาจากห้องกลางกระทรวงมหาดไทย

เป็นพระพุทธรูปแบบล้านนา ที่นิยมเรียกว่าพระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นแรก หรือ "พระสิงห์ 1" ซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปะปาละของอินเดียผ่านทางอาณาจักรพุกามของประเทศพม่า
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 09:02:27 am
5.6 พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21(500ปีมาแล้ว)
สำริด
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยุ่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2469

พระพุทธรูปทรงเครื่องในศิลปะล้านนาเป็นพระพุทธรูปที่จัดว่ามีความงาม และได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคทอง(ช่วงต้นถึงกลางพุทธศตรววษที่ 21) ซึ่งน่าจะมีคติการสร้างมาจากเรื่อง ชมพูบดีสูตร หรือพุทธประวัติตอน พระพุทธเจ้าทรงทรมานพญาหมาชมพู
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 09:07:02 am
5.7 พระพุทธรูปปางเปิดโลก

ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 24-25(100-200ปีมาแล้ว)
สำริด
สมบัติของพิพิธภัณฑสถานแห่งขาติ พระนคร

พระพุทธรูปองค์นี้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงเหตุการณ์ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าไปโปรดพระพุทธมารดาแล้ว ขณะเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้เกิดปาฏิหารย์เปิดโลกทั้งสามคือ เทวโลก มนุษยโลก และยมโลก ทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งสามโลกมองเห็นกันและกัน
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 09:08:42 am
5.8 พระพุทธรูปปางประทับรอบพระพุทธบาท

พระพุทธรูปปางประทับรอยพระพุทธบาท
ศิลปะล้านนา พ.ศ.2024
สำริด

จารึกที่ฐานพระพุทธรูปเรียกชื่อเป็นภาษาถิ่นว่า "พระเจ้าไว้รอยตีน" สร้างขึ้นเมื่อ พ.ส. 2024 หมายถึง พระสมณโคดม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันประทับพระบาทลงในรอยพระพุทธบาทของอดีตพระพุทธเจ้า 3 องค์ ได้แก่ พระกกุสันโธ พระโกนาคม และพระกัสสป จึงนับรอยที่ประทับของพระสมณโคดมเป็นรอยที่ 4 ตามความเชื่อเรื่องการบูชาพระพุทธเจ้า 4 พระองค์
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 09:11:42 am
5.9 พระพุทธรูปปางไสยาสน์

ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 22(400ปีมาแล้ว)
สำริด
ได้มาจากเมืองโบราณเวียงท่ากาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

พระพุทธรูปประทับไวยาสน์ ได้พระเศียรและพระบาทมีหมอนรองสองใบฐานเจาะเป็นช่องโปร่ง
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 06:03:24 pm
6 สุโขทัย


พุทธศตวรรษที่ 19-20( 500-700 ปีมาแล้ว)

สุโขทัย ตามรูปศัพท์แปลว่า รุ่งอรุณแห่งความสุขเป็นชื่อเรียกอาณาจักร วัฒนธรรม และศิลปะของกลุ่มคนไทยที่เกิดขึ้นบริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศ ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 หรือประมาณ 500-700 ปีที่ผ่านมา มีกรุงสุโขทัยซึ่งตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำยมเป็นราชธานี ถือเป็ฯอาณาจักรแรกของคนไทย เป็นสมัยที่มีการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เป็นครั้งแรก โดยพัฒนามาจากอักษรมอญและเขมรโบราณ อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรที่มีความยิ่งใหญ่สามารถขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง มีสัมพันธไมตรีกับบ้านเมืองต่างๆ ทั้งใกล้และไกล กษัติย์เปรียบเสมือนบิดาปกครองบุตร ทำให้บ้านเมืองเจริญในทุกๆ อ้านไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจการค้า ศาสนา ซึ่งมีศาสนาพุทธแบบเถรวาทเป็นแกนหลัก ศิลปกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนา แม้ว่าได้รับคตินิยมมาจากกัมพูชา พม่า ลังกา และล้านนา แต่ก็นำมาพัฒนาให้เป็นรูปแบบเฉพาะของตนเอง ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ คือ พระพุทธรูปลีลา และเจดีย์ทรงพุ่ม ข้า่วบิณฑ์ นับเป็นยุคทองของศิลปะไทยและเป็นรัฐในอุดมคติของคนไทยในเวลาต่อมา

6.1 ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย พุทธศักราช 1835
หินทรายแป้ง
พบที่ เนินปราสาทเมืองโบราณสุโขทัย

"ลายสือไทย" หรืออักษรไทยมีลักษณะแตกต่างไปจากอักษรขอม และอักษรมอญที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม ลักษณะที่สำคัญคือ เป็นอักษรที่ลากขึ้นลงเป็นเส้นตรง รูปอักษรอยู่ในทรงเหลี่ยมเรียกว่า อักษรเหลี่ยม การเขียนเริ่มต้นจากหัวอักษร ลากเส้นสืบต่อกันไปโดยไม่ต้องยกเครื่องมือเขียนขึ้น วางรูปสระอยู่ในบรรทัดเดียวกับรูปพยัญชนะ และมีเครื่องหมายวรรณยุกต์ เอกและโท ใช้ประกอบการเขียนเพื่อให้อ่านได้ครบตามเสียงในภาษาไทย
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 06:04:08 pm
ดูแบบชัดๆ
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 06:09:32 pm
6.2 พระพุทธรูปปางลีลา

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19-20(600-700 ปีมาแล้ว)
สำริด
ได้จากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กทม.

พระพุทธรูปปางลีลา เป็นพระพุทธปฏิมาในอิริยาบถเดิน พบแพร่หลายในงานศิลปกรรมสุโขทัย พุทธประวัติตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ นิยมเลือกพระพุทธรูปลีลามาแสดง เนื่องจากเป็นทางทางการก้าวย่างลงมาตามบันได มีปรากฏมาแล้วในศิลปะลังกา ตั้งแต่ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17-19 หรือประมาณ 700-900 ปีมาแล้ว และอาจส่งอิทธิพลมายังศิลปะสุโขทัย
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 06:16:06 pm
6.3 พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20(600ปีมาแล้ว)
สำริด
เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รับมาจากกรมคลัง กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2482

ฐานด้านหน้าพระพุทธรูปองค์นี้มีจารึกด้วยตัวอักษรสุโขทัยว่า "พระพุทธรูปองค์นี้ ทิดไสหง นางแก้ว เป็นผู้สร้าง" แต่ไม่ระบุปีที่สร้าง อย่างไรก็ตามจากลักษณะพระพุทธรูปเป็นพระพุทธรูปสุโขทัยแบบหมวดใหญ่ ซึ่งมีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 20 เมื่อเปรียบเทียบกับพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยที่พระระเบียงวัดพระเชตุพนฯ กทม. ซึ่งมีจารึกที่ฐานว่า สร้างในปี พ.ศ. 1965 แล้ว จึงสันนิษฐานว่าพระพุทธรูปองค์นี้คงสร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน เมื่อประมาณ 600 ปีมาแล้ว
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 06:19:52 pm
6.4 พระอิศวร

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19-20(600-700ปีมาแล้ว)
สำริด
ได้จากเทวสถานสำหรับพระนคร(โบสถ์พราหมณ์) กทม

เทวรูปพระอิศวร ความสูงรวมฐาน 3.05 ม. รูปพระอิศวรทรงยืนบนฐานซึ่งมีรางน้ำมนต์น้ำยื่อนออกมาด้านข้าง พระพักต์มีลักษณะเดียวกับพระพักตร์ของพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่ จากรูปแบบเครื่องประดับสามารถกำหนดอายุได้ในราวรัชกาลของพระยาลิไท ระหว่าง พ.ศ. 1890-1919
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 06:23:12 pm
6.5 พระวิษณุ

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19-20(600-700ปีมาแล้ว)
สำริด
ได้จากเทวสถานสำหรับพระนคร(โบสถ์พราหมณ์) กทม

พระวิษณุองค์นี้อาจเป็นเทวรูปที่สร้างพร้อมกับพระอิศวร ซึ่งพระยาลิไททรงสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1902 และประดิษฐานในหอเทวาลัยมหาเกษตร เมืองสุโชทัย เพื่อเป็นที่สักการบูชาของเหล่าพราหมณ์ และดาบสทั้งหลาย ตามที่ปรากฏในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง อันแสดงถึงการยอมรับนับถือศาสนาพราหมณ์ของอาณาจักรสุโขทัย
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 06:28:37 pm
6.6 รอยพระพุทธบาท

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20-21(500-600ปีมาแล้ว)
สำริด
ได้จากวัดเสด็จ อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร

รอยพระพุทธบาทเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กลางฝ่าพระบาทสลักภาพมงคล 108 ประการ ขอบบนเป็นภาพแถวของพระพุทธรูป ขอบล่างเป็ฯภาพแถวของพระสาวก มีจารึกอักษรขอมสุโขทัย ภาษาทไย อยู่ที่ขอบ นักวิชาการสันนิษฐานกันว่า รอยพระพุทธบาทชิ้นนี้คงสร้างขึ้นในช่วงที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ณ เมืองกำแพงเพชร
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 06:35:03 pm
6.7 พระหริหระ

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20(600ปีมาแล้ว)
สำริด
ได้จากเทวสถานสำหรับพระนคร(โบสถ์พราหมณ์) กทม

พระหริหระ เป็นภาคผสมระหว่างพระวิษณุ(หริ) กับพระศิวะ(หระ) สัญลักษณ์ของพระวิษณุคือ มีสีการ จักรและสังข์เป็นอาวุธคู่กาย สัญลักษณ์ของพระศิวะ คือ พระเนต ที่สามบนพระนลาฏ และสังวาลรูปนาคหรืองูที่สวมคล้องพระวรกาย สันนิษฐานว่าหล่อขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 1(พญาลิไท) ดังปรากฏในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 06:40:14 pm
6.8 พระเทวี

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20(600ปีมาแล้ว)
สำริด
ได้จากเทวสถานสำหรับพระนคร(โบสถ์พราหมณ์) กทม

พระเทวีสองกร ประทับยืนตรงแม้จะไม่มีสัญลักษณ์บ่งว่าเป็นพระเทวีองค์ใด แต่จากลักษณะท่าทางการยกพระหัตถ์ขวา และงอพระหัตถ์เป็นช่องสำหรับใส่ดอกไม้สดจากผู้มาบูชา เรียกว่า ท่ามือแบ "กฏกะ"(กฏกหัสตะ) และพระหัตถ์ซ้ายทอดลงข้างพระวรกาย เทียบเคียงได้กับรูปพระอุมาที่พบทั่วไปในศิลปะอินเดีย

ลักษณะของเครื่องทรงบางชิ้นของพระเทวีองค์นี้ อาทิ เข็มขัดที่มีเฟื่องอุบะห้อย และการชักชายพกพระภูษาออกมาที่ด้านข้างพระองค์ คล้ายลักษณะของรูปเคารพในศิลปะลพบุรีหรือศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นในดินแดนแถบนี้มาก่อน
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 09:14:36 pm
6.9 เศียรพระพุทธรูป

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19(700ปีมาแล้ว)
สำริด

เศียรพระพุทธรูป พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อย พระเนตเหลือบมองต่ำ เป็นลักษณะของพระพุทธรูปสุโขทัย หมวดใหญ่ ซึ่งแม้ว่าพระรัศมีจะหักหายไปแต่สันนิษฐานได้ว่า เป็นรูปเปลว พระพุทธรูปในหมวดนี้พบเป็นจำนวนมากกว่าพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหมวดอื่นๆ
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 09:17:27 pm
6.10 เศียรพระพุทธรูป

ศิลปะสุโขทัย สกุลช่างกำแพงเพชร พุทธศตวรรษที่ 20-21(500-600ปีมาแล้ว)
สำริด

ลักษณะพระพักตร์ตอนบนกว้าง พระหนุเสี้ยม ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวเพลิงสุงมาก แตกต่างจากพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยทั่วไปนับเป็นแบบศิลปะเฉพาะถิ่นสกุลช่างกำแพงเพชร
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 09:20:12 pm
6.11 พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20(600ปีมาแล้ว)
สำริด
จากอำเภิสวรรคโลก จ.สุโขทัย

พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย พระพักต์รูปไข่ พระเนตรยาวรี พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อย พระรัศมีเป็นเปลวเพลิง สังฆาฏิยาว ปลายลายเขี้ยวตะขาบ ฐานหน้ากระดานเรียบ จัดเป็นพุทธลักษณะเฉพาะของศิลปะสุโขทัยที่งดงามยิ่ง
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 09:22:37 pm
6.12 พระพุทธรูปไสยาสน์

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20(600ปีมาแล้ว)
สำริด

พระพุทธรูปองค์นี้ มีพระพักตร์รูปไช่ แย้มสรวลเล็กน้อย การครองจีวรห่อมคลุม สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี และไสยาสน์อยู่บนฐานหน้ากระดานเรียบไม่มีลวดลาย จัดเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยที่พบทั่วไปพระพุทธรูปไสยาสน์ศิลปะสุโขทัยพบอยู่น้อยมาก
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 09:26:30 pm
6.13 มกร

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19-20(600-700 ปีมาแล้ว)
ดินเผาเคลือบเขียนลายสีน้ำตากล สูง 86.5 ซม.

มกรเป็นสัตว์ผสมในจินตนาการ ส่วนบนมีหัวและลำตัวเหมือนสัตว์บก ส่วนล่างมีลักษณะคล้ายสัตว์น้ำ มกรขิ้นนี้ทำจากดินเผาเคลือบ เขียนลายสีน้ำตาลเข้ม ผลิตจากเตาเผาสังคโลกที่เมืองศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ใช้เป็นส่วนประดับสถาปัตยกรรม เช่น ช่อฟ้า หัวบันได
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 04, 2018, 09:30:58 pm
6.14 ไหเคลือบสีเขียว

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19-20(600ปีมาแล้ว)
ดินเผาเคลือบ ปากกว้าง 16.8 ซม.สูง รวมฝา 40 ซม.

ไหพร้อมฝาทำจากดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีเขียว ผลิตจาแหล่งเตาที่เมืองศรีสัชนาลัย บริเวณบ้านเกาะน้อย ในอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเครื่องสังคโลกที่ผลิตขึ้นในระยะแรกสุด ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากเครื่องเคลือบสีเขียวของจีนสมัยราชวงศ์เยวี๋ยน กำหนดอายุอยู่ในปลายช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 หรือประมาณ 600 ปีมาแล้ว
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 07:39:51 am
7 อยุธยา

พุทธศักราช 1893-2310

อยุธยา สันนิษฐานว่ามาจาก อโยธยา เมืองของพระรามในรามเกียรติ์ เป็นชื่อเรียกอาณาจักร วัฒนธรรม และศิลปะของกลุ่มคนไทยที่มีความยิ่งใหญ่ขึ้นมาต่อจากอาณาจักรสุโขทัย สถาปนาขึ้นเมื่อพุทธศักราช 1893 บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีที่มีแม่น้ำสามสายได้แก่ เจ้าพระยา ป่าสัก และลพบุรีล้อมรอบเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม ทั้งในด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจ มีการตอดต่อสัมพันธ์กับต่างชาติทั้งตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น และตะวันตก เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา(เนเธอร์แลนด์) ฝรั่งเศส อังกฤษ มีสถานะเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นอาณาจักที่มีความเจริญมั่งคั่งและมีอแสนยานุภาพต่อเนื่องกันมาเป็นเวลายาวนานถึง 417 ปี และล่มสลายลงเมื่อพุทธศักราช 2310 ช่างอยุธยามีพระพุทธศาสนาเป็นแรงบันดาลใจหลักในการสร้างสรรค์งานศิลปะ พุทธศิลป์ เช่น พระพุทธรูป ในระยะแรกยังคงปรากฏอิทธิพลของศิลปะลพบุรีผสมผสานกับศิลปะทราวดีที่เรียกว่า ศิลปะอู่ทอง ศิลปะสุโขทัย แต่ต่อมาได้พัฒนารูปลักษณ์และความงามตามคตินิยมของตนเอง เช่น การสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ สำหรับงานประณีตศิลป์ถือว่ามีความรุ่งเรืองมากที่สุดปรากฏหลักฐาน อาทิ การลงรักปิดทอง การทำลายรดน้ำ และการประดับมุกบนเครื่องไม้แกะสลัก การทำเครื่องถ้วยลายเบญจรงค์ เป็นต้น ภูมิปัญญา และฝีมือช่างเหล่านี้ได้รับการสืบทอดในสมัยต่อมา

7.1 แผ่นศิลาจำหลักยันต์

ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 23(300 ปีมาแล้ว)
ได้จากวัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จันทรเกษม จ.พระนครศรีอยุธยา

แผ่นศิลาจารึกพระยันต์โสฬสมงคลนี้ เคยติดอยู่เหนือประตูทางเข้าพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากรึกพระยันต์โดยใช้ตัวเลขลงในชื่องสี่เหลี่ยม ลักษณะเป็นตารางแทนส่ิงมงคล 16 อย่าง เป็นต้นว่า เลข 5หมายถึงพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ในภัทรกัลป์นี้ยันต์โสฬมงคลนี้ มีความเชื่อว่า เป็นพระยันต์ขั้นสูง ป้องกันภยันตรายต่างๆ มิให้มาแผ้วพานแม้กระทั้งอสนีบาต หรือฟ้าผ่า ก็สามารถป้องกันได้ จึงมักประดิษฐานไว้ยังสถานที่สำคัญ เป็นต้นว่า อุโบสถ หรือวิหาร แผ่นจารึกนี้ถือเป็นหลักฐานพระยันต์เก่าแก่ที่สุดแสดงถึงความเชื่อเรื่องอักขระเลขยันต์ที่พบในปัจจุบัน
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 07:50:54 am
7.2 พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ศิลปะก่อนอยุธยา หรือศิลปะอู่ทอง พุทธศตวรรษที่ 19(700 ปีมาแล้ว)
สำริด
ได้จากเมืองสรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท

ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระโอษฐ์กว้าง มีไรพระศก พระเตุมาลาสูง เป็นพุทธลักษณะที่โดดเด่นสืบทอดจากศิลปะลพบุรี หรือศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย เดิมเรียกกันว่า "พระพุทธรูปแบบอุ่ทองรุ่นที่ 1"
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 07:54:02 am
7.3 พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ศิลปะอยุธยาตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 20(600 ปีมาแล้ว)
สำริด
ได้จากวัดเสาธงทอง อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี

พระพักตร์ยังคงออกเหลี่ยม แต่ขนาดเม็ดพระศกเล็กลง จัดเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนต้น ซึ่งเดิมเรียกว่า พระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ 2
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 07:57:07 am
7.4 พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ศิลปะอยุธยาตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 20(600 ปีมาแล้ว)
สำริด

พระพักตร์รูปไข่ พระขนงเป็นเส้นเล็กบางโค้ง พระเกตุมาลาสูง พระรัศมีรูปเปลวไย ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะสุโขทัย แม่เม็ดพระศกเล็ก พระวรกายผอมศูง และฐานหน้ากระดานเว้าเป็นร่องคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ 2 เดิมนิยมเรียกกันว่า พระพุทธรูปแบบอุูทองรุ่นที่ 3
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 07:59:37 am
7.5 พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 21-22(400-500 ปีมาแล้ว)
สำริด ลงรักปิดทอง
เดิมประดิษฐานที่วัดรพะศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

พระพุทธรูปองค์นี้ นอกจากแสดงปางมารวิชัยแล้ว ฐานพระพุทธรูปยังทำเป็นภาพพระพุทธประวัติตอนมารผจญ โดยมีพระแม่ธรณีบีบมวยผมหลั่งน้ำจนท่วงกองทัพพญามารพ่ายแพ้ไป
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 06:53:58 pm
7.6 พระสถูปพระบรมธาตุ

ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 21(500 ปีมาแล้ว)
พบในพระวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา

พระสถูปจำลองขนาดลดหลั่นซ้อนกัน 8 ชั้น ทำด้วยวัสดุหลากหลายชนิด ได้แก่ ศิลา เหล็ก สำริด เงิน ทอง และแก้วผลึก พระสถูปขนาดเล็กชั้นในสุดทำด้วยแก้วผลึกใช้บรรจุพระบรมธาตุ การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุหรือพระบรมธาตุภายในพระสถูปศูนย์กลางของบ้านเมือง เป็นคติความเชื่อที่สืบทอดมายาวนาน
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 06:58:01 pm
7.7 ชามเบญจรงค์

ศิลปะอยุธยาตอนปลาย ถึงรัตนโกสินทร์ ต้นพุทธศตวรรษที่ 24(200-300 ปีมาแล้ว)
เนื้อกระเบื้อง เขียนสีลงยาบนเคลือบ ของหลวงพระราชทานยืม เมื่อ พ.ศ. 2471

ชามเบญจรงค์ เขียนลายลงยาสีบนเคลือบทั้งด้านนอกและด้านใน ตกแต่งลายไทยเป็นลายกระหนกเปลวและลายพุ่มข้าวบิณฑ์ เครื่องเบญจรงค์เป็ฯของที่สยามสั่งทำเฉพาะจากประเทศจีน เพื่อใช้ในราชสำนัก กลุ่มชนชั้นสูง และคหบดี
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 07:00:41 pm
7.8 กระปุกลายคราม พร้อมฝา

ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 23(300 ปีมาแล้ว)
เนื้อกระเบื้อง เขียนลายครามใต้เคลือบ
พระยาดำรงธรรมสาร(สร่าง วิเศษศิริ) มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2484

กระปุกพร้อมฝา เขียนลายครามใต้เคลือบ ลายดอกไม้ก้านขด ซึ่งเป็นลายไทย โดยลงรายละเอียดของลวดลายด้วยเส้นขาวบนพื้นสีคราม เป็นเอกลักษณ์ อันโดดเด่นของเครื่องลายครามสมัยอยุทธยาตอนปลายที่สั่งทำพิเศษจากราชสำนักจีน
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 07:09:03 pm
7.9 พระเศียรพระพุทธรูป

ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 21(500 ปีมาแล้ว)
สำริด สูง 167 ซม.
ขุดพบในพระวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังโบราน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นำมาเมื่อเดือนเมษายน พ.ส. 2470

พระเศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่ สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นช่วงเวลาที่ศิลปกรรมอยุธยาได้พัฒนารูปแบบจนเกิดพระพุทธรูปที่แสดงถึงลักษณะพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาอย่างแท้จริง โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย พุทธลักษณสำคัญคือ พระพักตร์ค่อนข้างกลมถึงรูปไข่ แต่สั้นกว่าพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย พระขนงโก่ง พระเนตรเรียว ปลายพระเนตรตวัดขึ้นเล็กน้อย พระนาสิกค่อนข้างยาว ปลายประนาสิกโด่ง พระโอษฐ์กว้าง ขมวดกระเกศาเล็กละเอียด เช่นเดียวกับพระพุทธรูปแบบอู่ทอง 2 และ 3 มีไรพสืบเนื่องจากศิลปะอู่ทอง แต่ทำเป็นแถบขนาดเล็ก อุณาโลมที่กึ่งกลางพระนลาฏ ระหว่างพระขนง แต่เดิมคงเคยฝังอัญมณีหรือหินกึ่งมีค่า ซึ่งสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในศิลปะสุโขทัยหวมดพระพุทธชินราช ส่วนพระเนตรเดิมน่าจะเคยฝังมุกและนิล

เศียรพระพุทธรูปองค์นี้ นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าอาจได้แก่เศียรพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งสมเด็จพระรามาธิดีที่ 2 โปรดฯ ให้หล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2043 เนื่องจากขุดค้นพบในพระวิหารหลวง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระศรีสรรเพชญ์ โดยมีรูปแบบศิลปกรรมที่สร้างขึ้นในช่วง ระยะเวลาครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 21 และขนาดใกล้เคียงกับเศียรพระศีสรรเพชญ์ ที่ระบุไว้ในพระราชพงศาวดารว่า พระพักตร์มีขนาด 4 ศิกห รือราว 200 ซม.อย่างไรก็ดี มีการระบุว่าพระพุทธปรูปพระศีสรรเพชญ์แกนภายในหล่อด้วยสำริด ชั้นนอกหุ้มทองคำหนักถึง 286 ชั่ง หรือประมาณ 171 กก. ส่วนพระพักตร์คงตีหุ้มทองคำทั้งหมด หากแต่เศียรพระพุทธรูปองค์นี้ไม่มีร่องรอยที่เกิดจากการตีบุหุ้มทองแต่อย่างใด ขนาดอาจเล็กว่าเศียรพระศรีสรรเพชญ์เล็กน้อย
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 07:17:45 pm
อีกมุม
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 07:18:12 pm
ด้านข้าง
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 07:23:08 pm
7.10 หีบพระธรรม

ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 23(300 ปีมาแล้ว)
ได้จากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กทม. เมื่อ พ.ศ. 2464

หีบฝาดัดตกแต่งลายรดน้ำภาพสัตว์หีมพานต์ต่างๆ ท่ามกลางลายกระหนกเปลวเครือเถา อาจให้เป็นหีบบรรจุเครื่องนุ่งห่มมาก่อน เมื่อเจ้าของเสียชีวิตจึงอุทิศถวายวัดเพื่อใช้เก็บพระคัมภีร์
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 07:23:50 pm
8 รัตนโกสินทร์

พุทธศักราช 2325-ปัจจุบัน

รัตนโกสินทร์ หมายถึง สถานที่สถิตของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) เป็นชื่อเมืองหลวงใหม่ต่อจากกรุงศีรอยุธยา คือ กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ กรุงเทพมหานคร ของราชอาณาจักรสยามหรือประเทศไทยปัจจุบันที่สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2325 บริเวณฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวต่างชาติรู้จักในนาม บางกอก และใช้เรียกชื่อรูปแบบศิลปกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นนับจากนั้นจนถึงปัจจุบัน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองและความก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิ วิทยาการสมัยใหม่ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการฟื้นฟูวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปะที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาอาณาประชาราษฏร์อยู่เย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมีของพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ศิลปกรรมระยะแรกสืบทอดมาจากสมัยอยุธยาตอนปลาย ต่อมามีการผสมผสานกับศิลปะจีน และเมื่อมีการติดต่อกับชาติตะวันตกโดยเฉพาะยุโรป อเมริกามากยิ่งขึ้นก่อให้เกิดศิลปะสมัยใหม่ที่เรียกว่า ศิลปะร่วมสมัย กระทั่งวันนี้

8.1 พระพุทธรูปทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิ

ศิลปะรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2411
ทองเหลืองปิดทองคำเปลว สูงพร้อมฐาน 248 ซม.
วัดวิเศษการ นำมาจัดแสดงเมื่อ พ.ศ. 2502

พระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างพระมหาจักรพรรดิ ในสมัยรัตนโกสินทร์จะทรงเครื่องราชาภรณ์มากยิ่งขึ้นกว่า สมัยอยุธยา อาทิ ทรงพระธำรงค์ครงทั้ง 10 นิ้ว ทรงฉลองพระบาท รวมถึงจีวรที่ทรงมีการตกแต่งด้วยลวดลายอันวิจิตร
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 07:46:25 pm
8.2 พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร

ศิลปะรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2434
ทองเหลืองปิดทองคำเปลว
ได้จากวัดวิเศษการ เมื่อ พ.ศ.2502

พระพุทธรูปครองจีวรลายดอก เป็นหนึ่งในการแสดงออกแบบสัจนิยมตามความเป็นจริง ซึ่งพระสงฆ์ในสมัยนั้นนิยมห่อมจีวรที่ย้อมจากผ้าแพรจีนมีลวดลาย แต่ก็ยังคงสืบทอดจารีตเดิมโดยพระพุทธรูปยังคงมีลักษณะงามตามแบบอุดมคติ
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 07:53:50 pm
8.3 ตู้หุ่นจำลองเรื่องรามเกียรติ์ประกอบงานพระเมรุมาศ

ศิลปะรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2423
สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ใช้ประดับตกแต่งพระเมรุมาศงานพระศพสมเด็พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ ในพระบาทสมเ็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ท้องสนามหลวง เมื่อ พ.ศ.2423
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 07:57:35 pm
8.4 ชามลายน้ำทอง

ศิลปะรัตนโกสินทร์ ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 24(200 ปีมาแล้ว)
เนื้อแกร่ง เขียนสีลงยาบนเคลือบ
สมเด็จพระจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประทานแก่พิพิธภัณฑสถาน เมื่อ พ.ศ. 2475

ชามลายน้ำทองใบใหญ่ เขียนลายใบเทศก้านต่อดอกบนพื้นสีแดง ภายในชามเคลือบสีเขียวเป็นเครื่องเบญจรงค์ลายน้ำทองที่สั่งทำจากประเทศจีน ช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 24 ก้นชามมีตราครั้งสีแดง "เต๊กช้วน" แสดงรางวัลที่ได้รับจากการประกวดเครื่องโต๊ะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 08:00:20 pm
8.5 พระพุทธรูปคันธาราฐ

ศิลปะรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2453
สำริดกะไหล่ทอง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ช่างชาวอิตาเลียน ปั้นตามแบบพระพุุทธรูปคันธาราฐของอินเดียแต่มีกล้ามเนื้อ และจีวรเป็นริ้วเสมือนจริง ตามแบบศิลปะตะวันตกเป็นพระพุทธรูปแสดงท่าที่เรียกว่า ปางขอฝน หรือ พระขอฝน
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 08:03:29 pm
8.6 พระพุทธรูปปางสมาธิ

ศิลปะรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2457
หินหยกรัสเซีย สูงพร้อมฐาน 17 ซม. หน้าตักกว้าง 11 ซม.
ฝีมือช่างฟาแบร์เช่ ประเทศรัสเซีย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยุ่หัว พระราชทานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฏางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา

Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 08:05:47 pm
8.7 พระชัย

ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24(200ปีมาแล้ว)
สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ตั้งแต่คร้้งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินทางสร้างพระชัยประจำรัชกาล สำหรับบูชา และอัญเชิญไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคงและมีชัยชนะเหนือสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 08:08:31 pm
8.8 พระพุทธรูปปางปรินิพพาน

ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24(200ปีมาแล้ว)
สำริด ไม้ กระจก

พระพุทธรูปในท่าสีหไสยา บรรทมตะแคงขวา พระกรรองรับพระเศียร มีพระเขนยรองรับ บรรทมเหนือฐานสิงห์ใต้ต้นรังคู่ หมายถึงตอนพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน เืองพระชนมายุ 80 พรรษา ประติมากรรมชิ้นนี้น่าจะทำขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธองค์
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 08:11:39 pm
8.9 พระเจ้าห้าพระองค์นาคปรก

ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24(200ปีมาแล้ว)
งา

พระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว 5 องค์ บนงาช้างที่บิดเป็นเกลียวปลายงาสลักเป็นเศียรพญานาค คนไทยถือว่างาช้างเป็นสิ่งสูงค่า นิยมนำมาแกะสลัก เป็นพระพุทธรูปโดยพระพุทธรูป 5 องค์ หมายถึง พระพุทธเจ้าในกัลป์ปัจจุบัน ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคม พระสัสสปะ พระโคตมะ และพระศรีอาริยเมตไตรย
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 08:11:56 pm
อีกภาพ
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 08:14:49 pm
8.10 พระนารายณ์ทรงปืน

ศิลปะรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2458
ฝีมือนายอัลฟอนโช ทอร์นาเรลลี ประติมากรชาวอิตาลี

ประติมากรรมช้ินนี้เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 และเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เหตุที่เรียก "ทรงปืน" ทั้งที่พระหัตถ์ถือธนู เนื่องจากในสมัยโบราณอาวุธที่ยิงให้วัตถุพุ่งไปข้างหน้าเช่น ธนู หรือหน้าไม้ จะเรียกว่า "ปืน"
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 08:17:44 pm
8.11 พระครูปะกำ

ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 25(100ปีมาแล้ว)
รับมาจากกรมช้างต้น กระทรวงวัง เมื่อ พ.ศ. 2472

เป็นรูปเคารพที่หมอช้างและควาญช้างใช้ในพิธีคล้องช้าง รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นเพื่อประดิษฐานคุ่กับพระคเณศที่เพนียดคล้องช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 08:19:06 pm
8.12 พระแม่ธรณีบีบมวยผม

ศิลปะรัตนโกสินทร์
พุทธศตวรรษที่ 25(100ปีมาแล้ว)
โลหะผสม

ตามพระพุทธประวัติตอนมารผจญ พระแม่ธรณีจะปรากฏกายขึ้นแล้วบีบมวยผมหลั่งน้ำให้ท่วมจนกองทัพพญามารพ่ายแพ้ไปทำให้พระศากยมุนีได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 08:21:49 pm
8.13 พัดงาสาน

ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษ?ี่ 24(200ปีมาแล้ว)

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถวายแด่สมเด็จพระสังฆราช(สุก ญาณสังวร) เป็นพิเศษ สมเด็จพระสังฆราชองค์นี้รู้จักกันในนาม "พระสังฆราชไก่เถื่อน" เพราะเชื่อกันว่าทรงสามารถทำให้ไก่เถื่อนเชื่องได้เหมือนไก่บ้าน
Title: Re: แผ่นดินไทยในอดีต Thailand's Past
Post by: designbydx on เมษายน 05, 2018, 08:22:11 pm
จบแล้วครับ
หวังว่าจะมีประโยชน์บ้างนะครับ