Hiking Thai

Hiking Thai => เที่ยวเมืองไทย..ยังไม่ไปก็รู้ => Topic started by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 07:46:09 pm

Title: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 07:46:09 pm
The History of Japanese Art: Life and Faith

นิทรรศการ วิถีแห่งศรัทธาจากศิลปทัศน์ญี่ปุ่น นิทรรศการนี้
จัดแสดงสมบัติของชาติและสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศญี่ปุ่น

วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560 – วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 (ปิดทุกวันจันทร์ และ อังคาร)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

*** เป็นภาพบางส่วนเท่านั้นนะครับ

ภาพด้านล่าง คือ

พระพุทธรูปปางประสูติ

สำริด
สมัยอาซึกะ พุทธศตรรษที่ 12-13

ประติมากรรมรูปพระพุทธเจ้าในลักษณะทารก แสดงพุทธประวัติตอนประสูติ พระหัตถ์ขวาชี้ขึ้นเบื้องบน พระหัตถ์ซ้ายทอดลงแนบพระวรกาย ประทับบนดอกบัว พระพุทธรูปปางประสูติพบไม่มากนัก ปรากฏครั้งแรกในสมัยอาซึกะ ซึ่งเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเข้ามาประดิษฐานในญี่ปุ่น
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 08:06:25 pm
ปฐมบทศิลปะญีปุ่น

การศึกษาแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ ทำให้ทราบว่า ก่อนพระพุทธศาสนาเผยแผ่มายังดินแดนญี่ปุ่น มีผู้คน 3 กลุ่มที่มีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตเป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ประกอบด้วยวัฒนธรรม โจมน ยาโยอิ และโคฟุน วัฒนธรรมแห่งบรรพชนเหล่านี้เป็นปฐมบทหรือรากเหง้าของสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ผู้คนในวัฒนธรรมโจมนดำรงชีพด้วยการเก็บของป่า ล่าสัตว์ เป็นสังคมที่ต้องการพึ่งพาธรรมชาติ จึงมีความเชื่อ ในเรื่องอำนาจ และความศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ ภาชนะดินเผาทรงเปลวไฟ และตุ๊กตาดินเผาโดกู รูปร่างอ้วนท้วนแสมบูรณ์ แสดงถึงศิลปกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรม สะท้อนถึงพัฒนาการทางศิลปะ ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมของคนยุนั้นได้เป็นอย่างดี

ต่อมาในวัฒนธรรมยาโยอิ มีการติดต่อกับผู้คนภายนอก จากจีนและคาบสมุทรเกาหลีทำให้รู้จักเพาะปลูกพืชโดยเฉพาะข้าว ซึ่งต่อมากลายเป็นอาหารหลัก เครื่องใช้ประเภทภาชนะดินเผามีรูปทรงหลากหลายยิ่งขึ้น รวมทั้งรู้จักหล่อโลหะโดยเฉพาะสำริด เป็นเครืองมือเกษตกรรม และอาวุธ ซึ่งนอกจากใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว ยังเป็นเครื่องบ่งบอกสถานะทางสังคม หรือใช้ในพิธีกรรมความเชื่อด้วย

การพัฒนาของสังคมเกษตรกรรมข้างต้นนำไปสู่การรวมตัวกันของชุมชนต่างๆ กลายเป็นสังคมเมืองที่มีผู้นำหรือผู้ปกครอง อันเป็นจุดกำเนิดของวัฒนธรรมโคฟุนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น คือ การสร้างสุสานขนาดใหญ่ ภายในสุสานนอกจากบรรจุศพแล้ว ยังพบเครื่องประดับ อาวุธ ชุดเกราะ อุปกรณ์ขึ่ม้า คันฉ่อง ของมีค่าทำด้วยอัญมณีและครื่องประกอบพิธีกรรมซึ่งล้วนแสดงถึงอำนาจและบานมีของผู้ปกครองหรือกษัตริย์
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 08:11:52 pm
ภาชนะดินเผาทรงเปลวไฟ

สมัยโจมนตอนกลาง อายุราว 4500 ปีมาแล้ว
พบที่แหล่งโบราณคดีโดจิตเตะ ชุนันมาจิ จังหวัดนึกะตะ ซึนันโซ

ภาชนะดินเผาตกแต่งด้วยลวดลายที่ให้ความรู้สึกคล้ายเปลวไฟ พบเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำชินาโนกาวา จังหวัดนีกาตะ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีหิมะตกหนักและมีอากาศรุนแรงจึงสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นภายใต้ความเชื่อว่าเปลวไฟให้ความอบอุ่นทำให้ผ่านฤดุหนาวได้อย่างปลอดภัย
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 08:17:22 pm
ตุ๊กตาดินเผ่า "โดกู"

สมัยโจมนตอนปลายหรือสมัยหินใหม่ของญี่ปุ่น 1000-2500 ปีมาแล้ว
พบที่ บิชุดะ อาซาเอะ ทาจิริคาบุกุริ เมืองโอซากิ จึงหวัดมิยากิ

ประติมากรรมรูปบุคคลมีดวงตาโต ลักษณะคล้ายดวงตาแมลง สวมชุดที่ตกแต่งเป็นลวดลายต่างๆ แขนและขามีลักษณะคล้ายเต้านมมือเท้าเล็ก สันนิษฐานว่าแสดงถึงความเชื่อเรื่องการคลอดบุตร และความอุดมสมบูรณ์ ถือเป็นโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 08:21:24 pm
ระฆังสำริด "โดตะกุ"

สมัยยาโยอิตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 6-9
พบที่อาชะโออิวะยามะ โคชิโนฮาระ เมืองยาซึ จึงหวัดซิกะ

สมัยยาโยอิตอนปลาย สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากระฆังสำริด ของจีนและเกาหลี เป็นระฆังทรงสูง ด้านบนและข้างของระฆังทำขอบเป็นเส้นโค้ง ภาพบุคคลกำลังตำข้าวหรือภาพยุ้งฉางที่ปรากฏบนระฆังสันนิษฐานว่าใช้ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการเพาะปลูก
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 08:25:38 pm
ตุ๊กตาดินเผา "ฮานิวะ"

สมัยโคฟุน ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12
พบที่ชิโมฟุเรโช เมืองอิเชชะกิ จังหวัดกุมมะ

ตุ๊กตา "ฮานิวะ" หมายถึง ตุ๊กตาที่ใช้ในพิธีกรรมฝังศพ ถูกจัดวางเรียงรอบสุสานของผุ้มีอำนาจ ตุ๊กตาแต่ละตัวมีลักษณะแตกต่างกัน ตามหน้าที่หรืออาชีพ ตุ๊กตาที่เห็นทำรูปผู้ชายผูกผมข้างใบหู สวมต่างหู บ่าซ้ายแบกจอบ สันนิฐานว่า หมายถึง หัวหน้าเกษตรกร หรืออาจเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสุสาน
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 08:29:09 pm
คันฉ่องสำริด

สมัยโคฟุนตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ 10

คันฉ่องสำริด ทรงกลม ได้รับอิทธิพลจากคันฉ่องจีน ตรงกลางทำเป็นกลุ่มกลมตกแต่งด้วยลายรูปสัตว์ที่มีหัวเดียวแต่มีสองลำตัว สันนิษฐานว่าได้รับแรงบันดาลใจจากมังกร และจระเข้ของจีน ความละเอียดของลวดลายและเทคนิคการหล่อ อันประณีตแสดงความชำนาญของช่างชาวญี่ปุ่น
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 08:32:27 pm
ภาชนะดินเผา

สมัยโคฟุน พุทธศตวรรษที่ 11-12
พบที่ซึจิกาตานิ อุชิมาโดโซ เมืองเซะโตอุจิ จังหวัดโอกายามะ

ภาชนะดินเผ่ามีปากบาน ฐานสูง ปลายฐานผายอก ตกแต่งฐานโดยเจาะเป็นช่อง ตัวภาชนะทรงกลม ตกแต่งส่วนบ่าด้วยตุ๊กตาขนาดเล็กกำลังต่อสู้กัน ซึ่งอาจหมายถึงการเล่นซูโม่ ด้านหนึ่งรูปหมูป่ากำลังถูกสุนัขวิ่งไล่ และอีกด้านหนึ่งเป็นรูปคนกำลังขี่ม้า สันนิษฐานว่าใช้ในพิธีกรรมฝังศพ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 08:53:33 pm
พุทธศิลป์วิวัฒน์

ในรัชสมัยพระจักรพรรดิคินเมแห่งญี่ปุ่น ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 11 กษัตริย์แห่งอาณาจักรแพกเจบนคาบสมุทรเกาหลี ได้พระราชทานพระพุทธรูปสำริด พระบฏ และคัมภีร์พระพุทธศาสนาให้ประเทศญี่ปุ่นนับเป็นการหยั่งรากพระพุทธศาสนาบนแผ่นดินญี่ปุ่นคร้งแรก ต่อมา พระพุทธศาสนาได้รับการรับถืออย่างรวดเร็ว ในหมู่ชนชั้นปกครองโดยเฉพาะตระกูล "โซกะ" ผู้มีอำนาจทางการเมือง ทำให้เกิดการสร้างวัด และพระพุทธรูปขึ้นเป็นจำนวนมาก สมัยนาระ ประชาชนเชื่อกันว่า พระพุทธศาสนาเหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มครองประเทศพระจักรพรรดิ จึงโปรดฯ ให้สร้างรูปรพะมหาไวโรจนะพุทธเจ้าขนาดใหญ่ขึ้นที่วัดโทไดจิ กลางเมืองนาระ

สมัยเฮอัน พระพุทธศาสนานิกายเท็นได และนิกายชินกง หรือวัชรยานจากจีน เป็นที่เคารพเลื่อมใสในหมู่ขุนนางและชนชั้นสูง เกิดการสร้างสรรค์ศิลปกรรมเนื่องในพระศาสนา หรือ "พุทธศิป์" ชิ้นเยี่ยมเป็นจำนวนมาก ระยะแรกยังคงได้รับอิทธิพลจากศิปะจีน ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 16 พระพุทธปฏิมามีความอ่อนโยน นุ่มนวลตามแบบญี่ปุ่นมากขึ้น และยิ่งเพิ่มความวิจิตรด้วยการทาสีสันสดใส รวมทั้งมีการลงรักหรือกะไหล่ด้วยทองคำ และเงินในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 นับเป็นยุคทองของพุทธศิลป์

สมัยคามากุระ พระพุทธศาสนานิการเชนจากจีนได้รับความนิยมยกย่องในหมู่ชนชั้นนักรบ ผุ้มีบทบาททางการเมือง การปกครองของญี่ปุ่น รวมทั้งประชาชนทั่วไป พุทธศิลป์ได้รับอิทธิพลจากศิปะจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง อย่างชัดเจน คือ เน้นความเป็นธรรมชาติ และความเรียบง่าย ที่เรียกว่าแบบสัจนิยม

ตั้งแต่สมัยคามากุระเป็นต้นมา พระพุทธศาสนาได้แตกสาขาออกไปหลายลัทธิ หลากนิกาย แม้ไม่ปรากฏ พุทธศิลป์ที่โดดเด่นเหมือนในสมัยเฮอัน แต่ความศรัทธาในงานพุทธศิลป์ยังคงสืบทอดกันมา
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 08:58:18 pm
พระอมิตาภะ และพระโพธิสัตว์

สมัยคามากุระ พุทธศักราช 1797
สำรัดกะไหล่ทอง

พระอมิตาภาะ เป็นพระธยานิพุทธจ้า ประจำทิศตะวันตก กำเนิดจากพระิาทิพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าสูงสุดความเชื่อของพุทธศาสนา นิกายมหายาน นิยมสร้างพร้อมรูปปพระโพิธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระมหาสถามปราบปต์ รวม 3 องค์ เรียกว่า "พระอมิตาภะไตรอัด"
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 09:05:56 pm
พระไภษัชยคุรุ

สมัยเฮอัน พุทธศตวรรษที่ 14-15
ไม้ลงรักปิดทอง

พระไภษัชยคุรุ เป็นพระพุทธเจ้าทางการแพทย์ มักปรากฏภาชนะ บรรจุยารักษาโรคอยู่บนพระหัตถ์ ซ้ายเป็นสัญลักษณ์ พระพุทธรูปองค์นี้มีพระวรกายอวบอ้วน พระพักต์ก้มต่ำ จีวรเป็นริ้วตามธรรมชาติประทับบนฐานบัว แสดงถึงศิลปะที่อ่อนช้อยสวยงาม ด้วยเทคนิคการใช้ยางรักผสมกับผงไม้ปั้นทับนแกนไม้เพื่อสร้างรายละเอียด
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 09:09:48 pm
พระโพธิสัตว์

สมัยอาซึกะ พุทธศตวรรษที่ 12-13
สำริดกะไหล่ทอง
พบที่นาจิซัน นาจิกาซึอูระโซ จังหวัดวากายามะ

พระโพธิสัตว์ประทับห้อยพระบาทบนฐานบัว ยกพระบาทขวาขึ้นวางบนพระเพลาซ้าย ในลักษณะนั่งไขว่ห้าง พระหัตถ์ขวายกขึ้นแนบพระปราง(แก้ม) แสดงอารมณ์แห่งการครุ่นคิด อาจหมายถึงเพื่อการหลุดพ้น พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระบาทที่ยกขึ้น ถือเป็นงานศิปะชิ้นเยี่ยมที่แสดงออกถึงภวังค์แห่งธรรม
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 09:22:53 pm
พระโพธิสัตว์จินดามณีจักร

สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-19
ไม้ทาสี ประดับเส้นทองคำเปลว

เป็นภาคหนึ่งของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ประจำยุคปัจจุบัน ตามความเชื่อของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน แกะสลักจากไม้ทาสีดำ ตกแต่งด้วยแผ่นทอง ฝังหินมีค่าที่พระเนตร พระโพธิสัตว์ประทับขันพระชานุขวามี 6 กร พระกรซ้ายบนถือกงล้อที่กำลังหมุน หรือจินดามณีจักรเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อการอธิฐานขอพร หรือสิ่งต่างๆ ที่ประสงค์ โดยอิทธิฤทธิ์ของจินดามณีจักรที่อยุ่ในพระหัตถ์
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 09:32:49 pm
พระมหาไวโรจนะ

สมัยเฮอัน พุทธศตวรรษที่ 16-18
ไม้ลงรักปิดทอง

พระมหาไวโรจนะเป็นพระอยานิพุทธเจ้า หนึ่งในห้าพรองค์ที่ครองอยู่ในทิศต่างๆ ของโลก กำเนิดจากพระอาทิพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าสูงสุดของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามากมายประหนึ่งเม็ดทรายในมหาสมุทร พระมหาไวโรจนะ แกะสลักด้วยไม้ลงรักปิดทอง พระพักต์แสดงถึงอารมณ์แห่งความสงบ ลึกซึุง พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นระดับอุระแสดงปางที่เรียกว่า "วัรมุทรา" ตามนิกายวัชรยาน ถือเป็นงานแกะสลักชิ้นเยี่ยมของประติมากรญี่ปุ่นในอดีต
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 09:47:34 pm
วัชระ

สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-19
สำริดกะไหล่ทอง

เป็นเครื่องประกอบพิธีกรรมสำคัญในศาสนาพุทธมหายาน นิกายวัชรยานทำด้วยสำริดกะไหล่ทอง ปลายทั้ง 2 ข้างแหลมงุ้ม มี 5 แฉก ด้ามจับตรงกลางเป็นลายลูกแก้วเรียกว่า "ตายักษ์" ประกอบกับลายกลีบบัวเป็นลักษณะของศิลปะสมัยคามากุระ วัชระมีความหมายถึง พระปัญญาอันแรงกล้าของพระพุทธเจ้า มีหน้าที่ปกป้องผู้บำเพ็ญบารมีจากสิ่งชั่วร้าย และมีพลังทำลายกิเลสที่เกิดจากใจ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 09:50:52 pm
กระดิ่งพิธีกรรม

สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-19
สำริดกะไหล่ทอง

กระดิ่งมีด้ามจับเป็นรูปวัชระ 5 แฉก เรียกว่า "วัชระฆัณฏา" ใช้ในเวลาเริ่มและจบพิธีกรรม เชื่อว่าเสียงสั่นของกระดิ่งทำให้สถานที่ประกอบพิธีกรรมบริสุทธิ์ และยังเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าและเทพดจ้า ใช้ในการทำพิธีร่วมกับวัชระ ซึ่งวัชระนี้มีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าปกติ สีของโลหะ และสีทองของวัสระนี้เป็นเอกลักษณะที่พบในสมัยคามากุระ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 09:53:43 pm
วัชระคู่

สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-19
สำริดกะไหล่ทอง

เป็นเครื่องประกอบพิธีกรรม ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "คะซึมะ" ประกอบด้วยวัชระสามแฉก 2 อัน แฉกกลางเป็นแท่งตรงแฉกด้านข้างมีปลายแหลมงุ้มเข้าหาแฉกกลาง วางทับเป็นรูปกากบาท กึ่งกลางเป็นลายลูกแก้ว ล้อมด้วยลายดอกบัวบานแปดกลีบ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 09:57:58 pm
จักร

สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-19
สำริดกะไหล่ทอง

จักรเป็นเครื่องประกอบพิธีกรรม เป็นหนึ่งใน 7 รัตนะของพระจักรพรรดิราช ความเชื่อในพระพุทธศาสนา จักรเป็นสัญลักษณ์ ของการทำลายกิเลสตามคำสอนพระพุทธิจ้า จักรรูปแปดเหลี่ยมประดับด้วยดอกบ้ว  8 กลีบ เป็นลักษณะเฉพาะของสมัยคามากุระ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 23, 2018, 10:01:56 pm
เครืองประดับภายในวิหาร "เคมัง"

สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-20
สำริด

"เคมัง" ใช้สำหรับแขวนตกแต่งขื่อวิหาร หรือที่สถิตของเทพเจ้ามีห่วงสำหรับแขวน ทำเป็นรูปพวงมาลัยร้อยเป็นรูปพัด ตรงกลางมีประภามณฑล ที่มีรัศมีเป็นเปลวเพลิง มีดอกบัวรองรับกึ่งกลางมีตัวอักษรอินเดียโบราณ "เทวนาครี" หมายถึงมนต์แห่งพระมหาไวโรจะ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 07:11:25 am
รูปเคารพในพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้า ชาวญี่ปุ่นนิยมเรียกพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ว่า "เนียวไร" พระพุทธเจ้าที่ขาวญ๊่ปุ่นนับถือมากได้แก่ พระศากยมุนี พระอมิตาภะ พระมหาวไวโรจนะ และพระไภษัชยคุรุ

พระโพธิสัตว์ ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า โพสัตสึ(Bosatsu) ได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์เมไตรยะ พระโพธิสัตว์มัญชูศรี พระโพธิสัตว์สมันตภัทร และพระโพธิสัตว์กษิติครรภ

เทพธรรมบาล ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า เมียวโอ(Myoo) เป็นเทพในนิกายมหายานตันตระ ซึ่งรับอิทธิพลมาจากเทพในศาสนาฮินดู ช่วยเหลือทุกคนแม้กระทั่งผู้ที่ไม่เชื่อในธรรมะ สีหน้าแสดงความดุร้าย

เทพหรือเทวดา ชาวพุทธในประเทศญี่ปุ่นเรียกเทวดาว่า เตน(Ten) โดยผนวกเอาเทพส่วนหนึ่งในศาสนาฮินดูเข้ามาเป็นเทพหรือเทวดาในศานาพุทธ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 07:16:47 am
จิตกรรมภาพพระพุทธเจ้าปรินิพพาน

สมัยเฮอัน พุทธศตวรรษที่ 17-18
ผ้าไหมเขียนสี

ภาพพระพุทธเจ้าปางปรินิพานใช้ในงานพิธีกรรมรำลึกถึงการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า(วันวิสาขบูชา) ประกอบด้วยภาพแม่น้ำกกุธานธีเป็นพื้นหลัง ภาพพระพุทธเจ้าประทับนอนตะแคงขวาบนฐานรัตนะระหว่างต้นสาละ 2 ต้น ล้อมรอบด้วยพระโพธิสัตว์พระอัครสาวก 10 องค์ อสูร เทวดา นาค สัตว์ แมลง และสรรพสัตว์ทั้งหลายที่มารวมกันแสดงความอาลัย ด้านบนของภาพปรากฏพระนางสิริมหามายา พระพุทธเจ้ามารดาเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดังส์ ภาพนี้ถูกเขียนขึ้นในสมัยเฮอัน มีลักษณะพิเศา คือรูปบุคคลมีขนาดใหญ่ใช้่เทคนิคการปิดแผ่นทองคำและเงินขนาดเล็กประกอบลวดลายถือเป็นเอกลักษณ์ ของภาพเนื่องในพุทธศาสนาสมัยเฮอัน
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 07:20:14 am
พระบฏภาพพระอมิตาภะเสด็จลงมารับดวงวิญญาณ

สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-20
ผ้าไหมปัก

พระอมิตาภะประทับเหนือเมฆ มีภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระโพธิสัตว์มหาสถามปราบต์ ประทับอยู่เบื้องล่าง ด้านซ้ายและขวา เชื่อว่าหมายถึงการเสด็จลงมาจากสวรรค์เพื่อรับดวงวิญญาณด้านข้างของภาพมีอักษรจีน มีความหมายถึง แสงสว่างแห่งพระอมิตาภะ และการสวดชื่อของพระองค์จะทำให้ไปถึงสวรรค์ ชั้นสุขาวดี
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 07:23:58 am
พระสูตรอนันตนีรเดชะในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร(วัดคุโนจิ)

สมัยเฮอัน พุทธศตวรรษที่ 17-18
กระดาษสีเชียนด้วยหมึกดำ

เป็นพระสูตรในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร ซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ตกทอดมาจากวัด "คุโนจิ" จึงเรียกว่า "คัมภีร์คุโนจิ" ใช้วิธีเขียนหมึกดำบนกระดาษสี มีการโรยผงแร่ ประดับด้วยทองคำเปลวหินที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 07:27:10 am
กล่องบรรจุคัมภีร์

สมัยเออัน พุทธศตวรรษที่ 17-18
ไม้ลงรัก โรยผงทอง(มากิเอะ)

เป็นกล่องที่ใช้เก็บคัมภีร์สำคัญ ตัวกล่องเป็นไม้ทารักสีดำ ด้านบนและด้านข้างของฝากล่อง ตกแต่งด้วยลวดลายรูปดอกบัว และนกสีทองโดยใช้เทคนิคการโรงทองที่เรียกว่า "มากิเอะ" เป็นผลงานชิ้นเยี่ยมที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางศิลปะสมัยเฮอันตอนปลาย
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 07:39:47 am
เดรื่องแต่งกายขุนนางในราชสำนัก

ขุนนางในราชสำนักของสมัยเฮอันจะสวมใส่เครื่องแต่งกายที่เรียกว่า "คาริคินุ" เมื่อยามว่างเช่น เดินทาง หรือล่าสัตว์ ช่วงแขนและลำตัวจะถูกเย็บติดกันเฉพาะหัวไหล่อย่างเดียว สามารถผูกและมัดชายแขนเสื้อที่กว้างให้กระชับ เพื่อที่จะสามารถขยับร่างกายได้อย่างอิสระ เมื่อทำการสวมใส่ชุด"คาริคินุ" จะใส่ชุดที่มีชื่อว่า "โคะโซะเดะ" ไว้ด้านในและสวมเสื้อคลุมชั้นใน"ฮิโตะเอะ" ที่มีความยาวสั้นลงมาถึงระดับเอว และสวม "อาโกะแมะ" ทับซึ่งเป็นเสื้อที่มีผ้าซ้อนกันสองชั้น มีความยาวถึงเอว ด้านล่างสวม "ซาซินุกิ" และสามารถผูมัดชายผ้าได้เพื่อทำให้เดินได้อย่างอิสระ ชุด "คาริคินุ" แบ่งเป็น 2 แบบคือ แบบที่ใส่ในฤดูร้อน และแบบที่ใส่ในฤดูใบไม้ผลิ ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว จากการที่ไม่ีกฏเกณฑ์ของชุดนี้จึงมีการทอลวดลายที่งดงานและเชื่อกที่ใช้ในการมัดขายแขนย้อมสีสลับกันระหว่างสีม่วง สีเขียว สีขาวและสีอื่นๆ อย่างงดงาม

ชุด"ชาชินุกิ" มีการปักลายนูนสีม่วงอ่อนแบบประเพณี โดยใช้ด้านแนวขวางสีขาว ซึ่งเป็นชุด "ซาชินุกิ" ของวัยรุ่น ผู้ชายระดับขุนนางจะสวมชุดเช่นี้พร้อมกับสวมหมวกที่เรียกว่า "เอะโบะชิ" ในยามที่ออกไปท่องเที่ยว
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 08:48:09 pm
นฤมิตศิลป์แห่งราชาสำนัก

ตั้งแต่สมัยเฮอันจนถึงสมัยเอโดะ(ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24) แม้ว่าญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การปกครองระบบจักรพรรดิ แต่ยังมกีการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างสองชนชั้น คือ ขุนนาง และนักรบ เกิดขึ้นอยู่เสมอ

สมัยเฮอัน ขุนนางตระกุล "ฟูจิวาระ" มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับพระจักรพรรดิ จึุงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินช่วยบริหารบ้านเมือง ต่อมาในสมัยคามากุระ นักรบตระกูล "ไทระ" และ "มินาโมโตะ" ได้ทำการยึดอำนาจไว้ จากนั้นจึงเกิดการแย่งชิงอำนาจในราชสำนักญี่ปุ่นระหว่าชนชั้นขุนนาง และนักรบเรื่อยมา

ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยเฮอัน ตระกูลขุนนางผู้มีอำนาจในราชสำนักญี่ปุ่น ได้หันมาสนใจศึกษา ฟื้นฟู พัฒนา และสร้างสรรค์งานศิลป์สาขาต่างๆ ทั้งจิตรกรรม และปติมากรรม ประณีตศิลป์ และวรรณกรรม บนพื้นฐานของวัฒนธรรมพื้นเมืองดั้งเดิมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น โดยสะท้อนความรู้สึก ความสุนทรีย์ ที่สอดคล้องกับ ธรรมชาติ ภูมิอากาศ และบริบททางสังคมของญี่ปุ่น "วัฒนธรรมในราชสำนักชนชั้นขุนนาง" นี้ได้รับการสืบทอดมายาวนานและเป็นรากฐานหนึ่งในวัฒนธรรมญี่ปุ่น

นอกจากนี้ปลายสมัยเฮอัน ถึงสมัยคามากุระเกิด "วัฒนธรรมในราชสำนักชนชั้นนักรบ" ซึ่งแสดงถึงความเข้มแข็ง หนักแน่น และความสุนทรีย์ของตระกูลนักรบนั้น เห็นได้จากโบราณวัตถุประเภทอาวุธ และชุดเกราะ ที่สืบทอดต่อมาในสมัยเอโดะ

แม้ว่ารูปแบบศิลปะที่นฤมิต หรือสร้างสรรค์โดยราชสำนักทั้งสองตระกูลจะมีความหลากหลาย ในที่สุดก็หลอมรวมเป็นวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะของญี่ปุ่นในเวลาต่อมา
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 08:56:40 pm
ชุดเกราะ "นัมบัง"

สมัยอะซึจิโมโมะยามะถึงสมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 21-23
เหล็ก ขนจามรี หนัง

ช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ญี่ปุ่นเริ่มมีการคัดเย็บชุดเกราะที่เรียกว่า "นัมบัง" ขึ้นในชุดประกอบด้วย ส่วนป้องกันลำตัว ศรีษะ ต้นแขน หน้ากาก แขน เข่าและหน้าแข้ง ส่วนป้องกันลำตัวสร้างเลียนแบบชุดเกราะที่นำเข้ามายังญี่ปุ่น ส่วนหน้าอกนุนเป็นสัน บริเวณกลางเสื้อเกราะ มีการประดับอย่างสวยงาม ข้างหลังประดับเป็นรูปภูเขาฟูจิ ส่วนยอดของภูเขาประดับด้วยสีเงินแสดงถึงหิมะ ส่วนหมวกเกราะมีการติดหูกระต่างที่เป็นเอกลักษณ์ ส่วนที่ป้องกันคอประดับลายมังกรและเมฆด้วยเทคนนิคการโรยทอง "มากิเอะ"
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 08:57:10 pm
หูกระต่าย น่ารัก ลดความดุร้าย
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 08:58:21 pm
อักษรหมายถึงอะไรไม่ได้บอกไว้
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 09:06:23 pm
"จิมบะโอริ" ขนสีดำประดับอักษร เลขห้า

สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 24-25
ขนจามรี ทองเหลืองกะไหล่เงิน

ชุด"จิมบะโอริ" ทอด้วยด้ายฝ้ายเส้นหนาและเย็บติดต้วขนจามรีเป็นพวงเล็กๆ จำนวนมาก อีกทั้งใช้ยางรักยึดโคนของแต่ละช่อเพื่อไม่ให้ขนจามรีหลุดร่วง ส่วนปกคอและส่วนผืนผ้าด้านในใช้ผ้าขนสัตว์สีเทาปนเขียวน้ำตาลนำเข้าเรียกว่า "ราชะ"(Raxa) แถบปกด้านหน้าเย็บติดลายฆ้อนเป็นซี่วงล้ออันเป็นลายเฉพาะของญี่ปุ่น ด้านหลังเย็บประดับด้วยอักษร เลขห้า ด้วยโลหะ การใช้วัสดุที่หายากและรูปร่างที่ต่างกันไปของแต่ละบุคคลจึงเป็นเอกลักษณ์ของชุด "จิมบะโอริ" ชุดนี้เล่าสืบกันมาว่าเป็นชุดของคนทำหน้าที่ เป็นฑูตระหว่างรัฐบาลเจ้าเมือง
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 09:15:14 pm
หน้ากากโนะ "มัมบิ"

สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 22-24
ไม้ ระบายสี

หน้ากากนี้เป็นหนัากากหญิงสาวที่มีแก้มป่อง สร้างขึ้นสำหรับบทหญิงสูงศักดิ์ที่มีเสน่ห์ในเรื่อง "โมมิจิการิ" ตามเนื้อเรื่องหญิงสาวจะชวนนักรบไปงานเลี้ยงและแสดงการร่ายรำอย่างสวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจท่ามกลางแสงจันทร์ เมื่อนักรบผุ้นั้นเผลอหลับไปก็จะแปลงกายเป็นยักษ์ แต่หน้ากากหญิงสาวนี้ก็ยังใช้กับบทหญิงสาวทั่วไปในบทบาทที่แสดงถึงความรักอีกด้วย
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 09:19:48 pm
หน้ากากโนะ "ฮันเนีย"

สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 22-24
ไม้ ระบายสี

"ฮันเนีย" เป็นยักษ์ผู้หญิงที่แสดงถึงแรงแค้นของผู้หญิงที่มีต่อผู้ชาย ซึ่งไม่ยอมรับรักของตน หรือ ความหึงหวงต่อผู้ช่ายเจ้าชู้ มีเขา 2 เขา แววตาเป็นประกายสีทอง ผมยุ่งเหยิง ริมฝีปากฉีกกว้าง คิ้วขมวด แสดงให้เห็นถึงความแค้นอย่างรุนแรงที่อยู่ในใจ อีกทั้งแสดงถึงความโดดเดี่ยวและเศร้าโศกของสตรีสูงศักดิ์ เขาและฟันทาด้วยสีทองตาใช้วัสดุทองแดงชุบทอง
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 09:24:38 pm
หน้ากากโนะ "โอโทบิเดะ"

สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 22-24
ไม้ ระบายสี

หน้ากากนี้เป็นหน้ากากที่ใช้ในการเล่นละครโนะ ในบทของเทพเจ้าชื่อ "ชะโอโกนเกน" แสดงหน้าตาที่ดุร้าย มีผิวกายและฟันเป็นสีทองตาที่เบิกกว้างปิดด้วยแผ่นทองแดงชุบทอง อ้าปากกว้างเห็นลิ้น ประติดมากรรมของเทพองค์นี้ยังปรากฏตามวัดต่างๆ มีหน้าที่ช่วยคุ้มครองมนุษย์
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 09:29:49 pm
อานม้า

สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-19
ไม้ลงรักประดับมุก

อานม้าที่ชาวญี่ปุ่นใช้กันโดยทั่วไปแผงด้านหน้าและหลังทำจากไม้โอ๊คเป็นทรงโค้งสูงด้านหน้าทั้งสองข้างเซาะไม้เป็นร่องสำหรับมือจับ ที่นั่งทำจากไม้เกาลัด "ชาวะกริ" ลงรักประดับมุกเป็นลายดอกซากุระที่บานสะพรั่ง โดยใช้เปลือกหอยมุกมาตัดเป็นชิ้นต่างขนาดเพื่อสร้างเป็นลวดลาย ลายต้นซากุระเป็นลวดลายที่นิยมในญี่ปุ่นมายาวนาน อานม้าชิ้นนี้มีความงดงามมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวแทนของอานม้าประดับมุกในสมัยคามากุระ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 09:32:17 pm
การแบ่งยุคสมัย ทางประวัติศาสตร์ และศิลปะของญี่ปุ่น
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 09:37:18 pm
พลวัตวัฒนธรรมเอโดะ

วัฒนธรรมแรกเริ่มของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากจีน ต่อมามีการผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิม จนเป็นลักษณะหรือแบบเฉพาะของญี่ปุ่น เช่น ช่วงต้นสมัยมุโรมาจิ ปรากฏรูปแบบเฉพาะในสังคมของชนชั้นสูงภายในวัง วัด หรือศาลเจ้า กระทั้งพุทธศักราช2146 โชกุนตระกูลโทกุกาวะได้รับการแต่งตั้งจากพระจักรพรรดิให้เป็นรัฐบาล มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองเอโดะ(กรุงโตเกียวในปัจจุบัน) มั่นคงยาวนานกว่า 200 ปี

สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 22-24 มีชาวต่างชาติโดยเฉพาะขาวยุโรปเดินทางเข้ามาญี่ปุ่นเพื่อค้าขายและเผยแผ่พระคริสต์ศาสนา รัฐบาลโทกุกาวะอนุญาตให้ชาวดัตช์หรือฮอลันดาแวะพักที่เกาะเดชิมะ เมืองนางาซากิได้เท่านั้น แม้ญี่ปุ่นมีนโยบายปิดประเทศ แต่เครื่องถ้วยลายครามและเครื่องถ้วยเขียนลายสี กลับเป็นที่นิยมในยุโรปทำให้กิจการผลิตเครื่องถ้วยภายในประเทศญี่ปุ่นพัฒนาอย่างรวดเร็ว

ผู้เป็นพลังขับเคลื่อนให้วัฒนธรรมเอโดะ มีความหลากหลายยิ่งขึ้น คือชาวเมืองซึ่งเป็นสามัญชนที่มีฐานะทางสังคมเศรษฐิกจมั่งคงและมั่งคั่ง หลักฐานสำคัญได้แก่จิตรกรรมหรือภาพเขียนโดยจิตรกรมีชื่อเสียงสกุลช่างต่างๆ ที่เหลืออยู่เป็นจำนวนมาก บางรายยังคงสือบทอดเทคนิคการวาดมาจนทุกวันนี้ เช่น สกุลช่าง "คาโน" วาดภาพ "มุซาซิโนะ" บนฉากโดยได้รับแรงบันดาลใจจากทิวทัศน์ที่สวยงามประทับใจ สกุลช่าง "ริมปะ" ก่อตั้งโดยจิตรกรนามว่า "ทาวารายะโซตาซึ" สืบทอดต่อมาโดย "โอกาตะโคริน" และ "ซากาอิ โฮอิซึ"

นอกจากนี้ยังมีภาพิมพ์อุกิโยเอะ จากแม่พิมพ์ไม้เป็นภาพหลากสีสันเรียกว่า "นิซิกิเอะ" ถ่ายทอดชีวิตความเป็นอยู่ของสามัญชน เช่น นักแสดงคาบูกิ หญิ่งสาวในสถานบันเทิง การแต่งกายของหญิงสาวขาวเมืองเอโดะ ด้วยชุด"โคโซะเดะ" เสียบหวีและปิ่นประดับผม และตุ๊กตาฮินะ ล้วนแสดงถึงวัฒนธรรมตามวิถีชีวิตจริง
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 09:39:45 pm
ตุ๊กตา "ฮินะ"

ศักราช "เคียวโฮ"
สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 23-25
ไม้ทาสีขาว ผ้าไหมหลากสี
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 09:40:06 pm
ผู้ชาย
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 09:44:54 pm
โถหกเหลี่ยมลายเขียนสี

สมัยเอโดะ ต้นพุทธศตวรรษที่ 23
เนื้อกระเบื้อง เขียนลายบนเคลือบ

โถหกเหลี่ยมลายเขียนสี เป็นศิลปะ "คากิเอะมง" จากเตาอิมาริ แคว้นฮิเซน ซึ่งส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา เป็นงานที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในราชสำนักและชนชั้นสูงในยุโรปมีเนื้อละเอียด ออกแบบลวดลายได้งดงาม โถใบนี้ตัวโถเขียนภาพนกศักดิ์สิทธิ์ และใบไม้ที่กำลังเปลี่ยนสี ต้นบ๊วย และภาพนกศักดิ์สิทธิ์กับต้นสน ส่วนบนและฝาเขียนลายพันธู์พฤกษาและดอกไม้ มีสีสันสดใสบนพื้นที่ขาวน้ำนม
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 10:05:28 pm
ปิ่นปักผม

สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 24-25

ปิ่นปักผมในสมัยโบราณมีบทบาทเป็นเครื่องรางเพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย เมื่อเข้าสู่สมัยเอโดะได้พัฒนาเป็นเครื่องประดับ ส่วนปลายของปิ่นปักผมมีลักษณะเป็นช้อน ซึ่งโบราณนั้นใช้เป็นที่แคะหู ช่วงศักราช "เก็นโรกุ" ปิ่นปักผมนิยมประดับทองคำและเงินเป็นรูปต่างๆ

เมื่อถึงช่วงกลางสมัยเอโดะ มีการประดับปิ่นปักผมด้วยตุ้งติ้ง เวลาเคลื่อนไหวทำให้ตุ้งติ้งสั่นไหวและเกิดเสียงทำให้รู้สึกเพลินเพลินในสัยเอโดะตอนปลาย ปิ่นปักผมทำจากทองคำ และเงิน นิยมประดับรูปลายมงคล และลายพันธุ์พฤกษา 4 ฤดู ห้องตุ้งติ้งหลายเส้น นอกจากนี้นิยมประดับรูปขนาดเล็ก เช่น ผีเสื้อ ดอกสากุระ หรือนก การประดับรูปลายมงคล และสัตว์ตัวเล็กๆ หรือของใช้น่ารัก แสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวและความนิยมในความงามของผู้หญิ่งสมัยนั้น
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 10:05:59 pm
อีกแบบ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 24, 2018, 10:06:15 pm
อีกแบบ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 25, 2018, 07:58:20 am
ดาบญี่ปุ่น

ดาบเหล็กญี่ปุ่นสร้างครั้งแรกในพุทธศตวรรษที่ 10 สมัยบโคฟุน เป็นดาบตรงซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากจีนและคาบสมุทรเกาหลีญี่ปุ่นเริ่มสร้างดาบที่มีความโค้งงอนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 สมัยคามากุระ พุทธศตวรรษที่ 18-19 เป็นช่วงที่ดาบญี่ปุ่นมีความเจริญมากที่สุด และสร้างอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ แสดงลักษณะเฉพาะของแต่ละภูมิภาค มีช่างดาบที่สำคัญ เช่น อาวาตากุจิ โยชิมิซึ ที่เกียวโต มาซามุเนะ ที่คามากุระ ในแคว้นซากะมิ(จังหวัดคานากาวะ ในปัจจุบัน) อิจิมงจิ โยชิฟุซะ ที่ฟุกุโอกะ ในแคว้นบิเซน(จังหวัด โอกายามะในปัจจุบัน) มิซึคาดะ จากโอซาฟุเนะ เป็นต้น

ช่วงปลายสมัยมุโระมาจิ คนญี่ปุ่นพกดาบใหญ่ไว้ที่เข็มขัด แทนทะจิ โดยห้อยประดับจากเอวหันใบดาบลงด้านล่าง ดาบในสมัย เอโดะเรียกว่า "ชินโต" (ดาบใหม่) ดาบในสมัยก่อนหน้านี้เรียกว่า "โคโต" ช่างดาบมักอาศัยอยู่ที่เกียวโต โซาก้า และเมืองต่างๆ ที่มีปราสาทประจำเมืองโดยตีดาบที่มีรูปแบบใหม่มีความแอ่นโค้งน้อย และมีลายบนใบดาบ ส่วนประกอบของดาบนอกจากด้ามดาบ และฝักดาบแล้วยังมี กำบัง เครื่องประดับด้ามจับ ประดับด้วยทองคำเงิน และทองแดงมีความละเอียด และส่งอิทธพลให้เครื่องประดับโลหะชนิดอื่นๆ ด้วย
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 25, 2018, 08:01:30 am
ดาบพร้อมฝัก

สมัยเฮอัน พุทธศตวรรษที่ 17-18
ฝักดาบ เทคนิคโรยผงทอง "นาชิจิ" ประดับมุกและกะไหล่ทอง

ดาบชนิดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแต่งกายเต็มยศของชนชั้นสูงเมื่อต้องเข้าร่วมพิธีต่างๆ ในราชสำนัก ผุ้ที่ได้รับพระราชทานอนุญาตเท่านั้นที่จะสามารถพกดาบได้ เดิมเป็นดาบที่ใช้ในพิธีกรรม นำเข้าจากราชวงศ์พังของจีน ในสมัยอาซึกะและนาระ มีการทำสืบทอดกันต่อมาโดยรักษารูปแบบเดิมไว้ และเลียนแบบลวดลายของราชวงศ์ถังด้วย
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 25, 2018, 08:01:54 am
ดาบ "ทะจิ"

สมัยเฮอัน พุทธศตวรรษที่ 17-18
เหล็ก

เอกลักษณ์ของดาบญี่ปุ่นคือ มีใบดาบที่เรียวและโค้งงอน มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ช่วงกลาง ของสมัยเฮอัน "ยุกิฮิระ" เป็นช่างตีดาบของแคว้น "บุงโกะ"(ส่วนหนึ่งของจังหวัดโออิตะในปัจจุบัน) ในช่วงต้นของสมัยคามากุระ ดาบนี้มีใบดาบที่เรียวบาง โค้งงอนตั้งแต่ดาบจับเนื้อโลหะดูอ่อนและเหนียว อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของช่างดาบในแถบคิวชู ปรากฏจารึกด้านหนึ่งของวส่วนที่สวมด้ามจับ ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของดาบที่ตีโดยช่าง "ยุกิฮิระ"
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 25, 2018, 08:09:17 am
ดาบ "คาตะนะ"

สมัยโมโมะยามะ พุทธศตวรรษที่ 22
ศิลปิน ฮังเก
เหล็ก

"โนะตะ เซนซิโร ฮังเก" เป็นช่างฝีมืองของโชกุน โทกุกาวะ อิเอะยาสุ ผู้สถาปนารัฐบาลเอโดะ เดิมเป็นข่างปืนและเปลี่ยนมาเป็นช่างตีดาบแทน แม้ว่าผลงานจะดูเรียบง่ายแต่ก็ยังดูแข็งแกร่ง ดาบเล่มนี้มีใบดาบที่กว้าง ปลายดาบมีขนาดใหญ่กว่าปกติ มีรูปทรบค่อนข้างตรง ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของดาบแบบใหม่ในสัยโมโมะยามะ พื้นดาบปรากฏลวดลายคล้ายลายไม้ขนาดใหญ่เกิดจากการพับและตีดาบซ้ำกันหลายรอบ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 25, 2018, 07:08:03 pm
กระเป๋าถือ "ฮาโกะเซโกะ"

สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 24-25


กระเป๋า "ฮาโกะเซโกะ" คือกระเป๋าใส่กระดาษของหญิงสาวชนขั้สสูง ภายในซ่อนกระเป๋าใบเล็กสำหรับใส่ปิ่นปักผม หรือกระจก เมื่อเสียบเก็บลงไปบริเวณหน้าอกเพียงครึ่งเดียวจึงปรากฏให้เห็นปิ่นปักผม ที่มีการประดับตุ้งติ้งไหวไปมา ผิวด้านนอกของกระเป๋า ใช้วัสดุนำเข้าจากต่างประเทศที่หายากเช่น ผ้าทอขนสัตว์ หรือผ้ากำมะหยี่ หุ้มทับบนกระดาษแข็งที่รองเป็นพื้น ปักลายสามมิติเป็นลายดอกไม้ 4 ฤดู ลายมงคล ลายสิ่งของต่างๆ ของญี่ปุ่น เป็นต้น เรียกว่า "โอชิโอะไซคุ" มีที่ยึดกระเป๋าเป็นแถบอยู่จุดกึ่งกลาง และมีการติดถุงหอมเล็กๆ ห้อยลงมา เพื่อไม่ให้กระเป๋าตกเมื่อเสียบไว้ที่คาดเอว "โอบิ"
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 25, 2018, 07:09:07 pm
อีกใบ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 25, 2018, 07:10:32 pm
ผ้าปักลายต่างๆ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 25, 2018, 07:11:21 pm
ผ้าปักลายต่างๆ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on มกราคม 25, 2018, 07:11:44 pm
ผ้าปักลายต่างๆ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 05, 2018, 04:40:16 pm
จิตรกรรมภาพ "มุซาชิโนะ" บนฉาก

สมัยเอะโดะ พุทธศตวรรษที่ 22-23
ภาพอกฮากิ ดอกคิกุ ดอกเบญจมาศป่า และหญ้าคา บนฉากขนาดใหญ่ 1 ชุดที่ประกอบด้วย 6 แผ่นพับ วาดพระจันทร์สีเงินซ่อนอยู่ด้านหลัง ุท่งหญ้าคาที่มีพื้นหลังเป็นเมฆสีทอง ภาเภูเขาฟูจิ ขนาดใหญ่ถูกปกคุลมด้วยเมฆ เป็นการออกแบบภาพตามโลกในจินตนาการจากบทกวีในสมัยเอโดะ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 05, 2018, 04:43:16 pm
จิตกรรมภาพดอกไม้ และนกบนพัด

ภาพเขียนบนพัดรูปนก "ฮาทุโทโอ" เกาะอยู่บนกิ่งกุหลาบเมื่อเปิดพัดจากด้านหนึ่งจะเริ่มเห็นดอกกุหลาบที่บานสะพรั่งจากนั้นจะปรากฏภาพนก เมื่อเปิดจนหมดทำให้เห็นถึงโครงสร้างภาพที่สมส่วนกับรูปทรงโค้งของกระดาษ ศิลปินผู้เชียนภาพนี้คือ "ยามาโมะโตะ ไบอิซึ" เป็นจิตกรในสมัยปลายเอเโดะ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 05, 2018, 04:45:55 pm
จิตกรรมภาพนกยูง

ภาพนกยูงเกาะบนก้อนหินกำลังไซ้ขน ขนนกยูงวาดขึ้นโดยใช้น้ำหมึกสีดำ ทั้งที่ควรจะมีสีสันสดใส ขับให้เห็นโครงสร้างปีก ที่มีความซับซ้อน วาดโดยศิลปินชื่อ "โอกาโมโตะ โทโยฮิโกะ" เป็นจิตกรสมัยปลายเอะโดะ ได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นภาพที่สมจริงและเรียบง่าย ในขณะเดียวกันก็แสดงถึงความรู้สึกด้วย
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 05, 2018, 04:49:08 pm
กังสดาล

กังสดาลใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทำเป็นรูปต่างๆ เช่น ผีเสื้อ ดอกบัว และอื่นๆ โดยทั่วไปกังสดาลของญี่ปุ่นจะมีมีรูปทรงโค้งคล้ายภูเขา ด้านซ้่ายและขวาสมมาตรกัน ส่วนบนทำหูเพื่อแขวน และทำดุมลายดอกบัวที่จุดศูนย์กลางเป็นจุดสำหรับตีระฆังด้านซ้ายและขวาประดับรูปนกยูง
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 05, 2018, 05:04:31 pm
นิกายเซนกับพิธีชงชา


พิธีชงชาในญี่ปุ่น เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ชนชั้นสูง ขุนนาง และนักรบ รวมทั้งตามวัดต่างๆ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นิกายเชน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากพระสงฆ์ และพ่อค้าชาวจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง ตั้งแต่สมัยเฮอัน จนถึงสมัยคามากุระประมาณ 1000 ปีที่แล้ว

ในสมัยมุโรมาจิ โชกุนตระกูลอะชิคากะ นิยมนำเอางานศิลปกรรม และส่งของเครื่องใช้ที่นำเข้าจากจีน และเก็บสะสมไว้ มาประดับตกแต่งห้องและนำมาใช้ในพิธีชงชา เพื่อแสดงถึงอำนาจทางการเมืองของตนเอง เมื่อโชกุนเสื่อมอำนาจลง สามัญชนมีบทบาทยิ่งขึ้น ความนิยมในเรื่องสถานที่ที่ใช้ในพิธีชงชา และอุปกรณืที่ใช้ก็เปลี่ยนแปล่งไป ไม่ได้ให้ความสำคัญกับงานศิลปกรรมจีนอย่างเดียว แต่เริ่มเห็นคุณค่าของสิ่งของที่มีอยู่ และหาได้ในชีวิตประจำวัน เรียกว่า "ซึกิ" จนทำให้เกิด "วาบิซะ" คือการค้นพบสิ่งที่ต้องการหรือความพึงพอใจในชีวิต ผู้ริเริ่มแนวคิด วาบิซะ คือ พระภิกษุในสมัยมูโรนาจินามว่า "ชุโค"(พุทธศักราช 1966-2045) ซึ่งสอดคล้องกับหลับธรรมของเซน คือ การปฏิบัติสมาธิฝึกอบรมจิต เพื่อให้เข้าถึงแก่นแท้ของความรู้ที่เรียกว่า "ฌาน"

ลูกศิษย์ของภิกษุชุโคนามว่า "ทาเกะโนะ โจโอ" พ่อค้าผู้มั่งคั่งปลายสมัยมุโรมาจิ(พุทธศักราช 2045-2098) และเป็นนักประพันธ์บทกลอน "เรงกะ" ได้สร้างสรรค์พิธีชงชา ที่เปี่ยมไปด้วยบรรยากาศ และความงามตามแบบวัฒนธรรมประเพณีญี่ปุ่น โดยนำสิ่งของเครื่องใช้ของญี่ปุ่น และภาพจิตรกรรมเขียนด้วยพู่กันของพระสงฆ์นิกายเซนมาใช้ และประดับตกแต่งห้องชงชา

ต่อมาลูกศิษย์ของโจโอนามว่า "เซนโนะ ริคิว"(พุทธศักราช 2065-2134) ได้รับเกียรติให้เป็นครูสอนชงชาของ "โอะดะ โนบุนางะ" และโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ" ผู้ปกครองประเทศ "ริคิว" เป็นผู้สร้างสรรค์ศิลปการชงชาแบบ "วาบิซะ" ที่มีชื่อเสียงแบบฉบับเฉพาะคน

"ฟุรุตะ โอริเบะ" ลูกศิษย์คนสำคัญของริคิว(พุทธศักราช 2087-2157) ได้สรรหาอุปกรณ์เครื่องใช้แบบใหม่ๆ โดยเฉพาะเครื่องถ้วยมาใช้ในพิธีชชา ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ชนชั้นนักรบสมัยอะซึจิโมโมะยามะ จนถึงสมัยเอโอะตอนต้น มีการสั่งผลิตเครื่องถ้ายหลากหลายรูปแบบจากจีน รวมทั้งมีการผลิตภายในประเทศญึ่ปุ่นปริมาณมากขึ้น
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 05, 2018, 05:11:04 pm
ภาชนะบรรจุผงชา(มัตชะ)

ภาชนะชิ้นนี้ใช้สำหรับบรรจุมัตชะ(ใบชา) สร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ที่ชาซิมะ  ทรงกลมคล้ายแอปเปิ้ล ที่เรียกว่าทรง "บุนริง" ปากบานเล็กน้อยเคลือบด้วยน้ำเคลือบสีน้ำตาล น้ำเคลือบสีขาวขุ่นและน้ำเคลือบดำตามลำดับ ช่วงคอถึงใหล่มีสีดำสะท้อนแสงแวววาว จาการเคลือบด้วยเหล์กออกไซด์ คล้ายกับพระจันทร์เต็มดวงท่ามกลางความมืดมิด จึงถูกเรียกว่า "โมจิซึกิ" (แปลว่า พระจันทร์เต็มดวง) มีผ้าคลุมภาชนะชิ้นนี้ 3 ชิ้นหลงเหลือถึงปัจจุบัน
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 05, 2018, 05:12:01 pm
ผ้าคลุมถ้วย
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 05, 2018, 05:13:14 pm
หม้อน้ำ

พิธีชงชามีอุปกรณ์หลายชนิด หม้อน้ำถูกจัดวางตรงหน้าแขกที่เข้าร่วมตั้งแต่เริ่มทำพิธีกระทั่งจบพิธี หม้อน้ำชิ้นนี้หล่อจากเหล็ก มีรูปทรบที่กลมพองที่เรียกว่าทรง "ชินนาริ" หูจับเป็นรูปสิงห์ ตัวหม้อมีลายรูปไก่ 2 ตัว รวมทั้งภาพธารน้ำ ชายหาด และใบเมเปิ้ลกำลังร่วงหล่น หม้อน้ำของอาชิยะ ได้รับความนิยมในหมู่ชนชั้นสูง นักรบและนักบวชในเมืองเกียวโต จนได้รับการขนานนามว่า ถ้าหากเป็นหม้อน้ำต้องเป็นของ อาซิยะ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 05, 2018, 10:14:47 pm
ถ้วยชา "รากุ"

ถ้วยชา "รากุ" มีเอกลักษณ์เฉพาะคือ ไม่ใช้แป้นหมุนขึ้นรูป แต่ใช้มือขึ้นรูปอย่างอิสระ จากนั้นจึงนำเข้าเตา "อุจิคามะ" ซึ่งเป็นเตาเล็กๆ ภายในอาคาร ต้นกำเนิดของการผลิตเครื่องถ้วยเช่นนี้มาจากตระกูล "รากุ" ซึ่งเป็นช่างที่มีชื่อเสียงที่เกียวโต และยังคงสืบทอดตระกูลมาถึงปัจจุบัน ถ้วยชานี้สร้างขึ้นโดยโคนิว รุ่นที่ 3 ของตระกูลรากุ ตรงกลางถ้วยคอดเหมาะสำหรับจับ มีเนื้อค่อนข้างบาง ทน้ำเคลือบเหล็กออกไซด์สีดำหนา แสงแวววาวสีดำที่ปรากฏบนถ้วยชาใบนี้ เป็นลักษณะเฉพาะในถ้วยชาของโคนิว ซึ่งเมื่อมองจากมุมที่ต่างกัน จะเห็นเป็นสีน้ำเงิน
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 05, 2018, 10:16:32 pm
ถ้วยชาเขียนลายคลื่น และพระจันทร์เสี้ยว

ฝีมือช่าง โนโนมุระ นินเซ
สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 22-23
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 05, 2018, 10:18:17 pm
ไม้ตักชา "จะชากู"

ฝีมือช่าง ฟุจิมูระ โยเก็น
สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 22-23
ไม้ไผ่
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 05, 2018, 10:19:52 pm
หม้อน้ำลายคราม

ศิลปะจีน ราชวงศ์หมิงพุทธศตวรรษที่ 22
เนื้อกระเบื้อง
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 05, 2018, 10:21:17 pm
ชาม "โดราบาจิ"

ศิลปะจีน ราชวงศ์หมิง พุทธศตวรรษที่ 22
เนื้อกระเบื้อง
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 05, 2018, 10:22:28 pm
แจกัน

สมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 22-23
ดินเผาเคลือบ
Title: Re: The History of Japanese Art: Life and Faith
Post by: designbydx on กุมภาพันธ์ 05, 2018, 10:22:55 pm
ขอบคุณครับที่ติดตาม จริงๆ มีอีกหลายอย่างไม่ได้ถ่ายมานะครับ รีบไปดูกัน